วันเวลาปัจจุบัน 19 เม.ย. 2024, 20:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของเจตสิก
เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยจิตเกิด ประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ

มีลักษณะ 4 ประการ คือ
1. เกิดพร้อมกับจิต เอกุปปาทะ 2. ดับพร้อมกับจิต เอกนิโรธ
3. มีอารมณ์เดียวกับจิต เอกาลัมพนะ 4. อาศัยวัตถุเดียวกับจิต เอกวัตถุ
กะ

จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง
เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด
จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น

สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้

1. ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
2. หน้าที่ ของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
3. อาการที่ปรากฏ ของเจตสิกคือ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต
4. เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นหรือ เหตุใกล้เคียง คือ การเกิดขึ้นของจิต


เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม
แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด
ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน
ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้
ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน

จึงกล่าวได้ว่า ธรรมชาติของเจตสิกนั้น เกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์
หรือธรรมชาติ ที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ ชื่อว่า เจตสิก


การที่ต้องแบ่งจิตออกไปมากมายนั้น เพราะเจตสิกที่ประกอบจิต มีประเภทต่าง ๆ กัน
จิตสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยการเข้าไปรับรู้โลกเป็นอารมณ์
แต่การรับรู้นั้นต้องอาศัยเจตสิกที่เป็นตัวกระทบอารมณ์ครั้งแรก(ผัสสะเจตสิก) เป็นต้น
และเจตสิกอื่น ๆ ก็จะร่วมปรุงแต่งจิตให้เป็นไปในอาการต่าง ๆ

การปรุงแต่งของเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับจิตนั้น ทำให้จิตมีความสามารถในการรู้อารมณ์พิเศษ
แตกต่างกันออกไป เช่น รู้เรื่องของกามคุณอารมณ์ เรื่องของรูปฌาน อรูปฌาน
จนถึงรู้นิพพานอารมณ์

ที่กล่าวว่าเจตสิก คือ กลุ่มนามธรรมที่เกิดในจิต โดยเป็นไปเนื่องกับจิต
หมายถึง กลุ่มธรรมอันมีผัสสะเป็นต้นนั้น มีความเป็นไปของกลุ่มธรรม ที่คล้ายเป็นอันเดียวกับจิต
ด้วยลักษณะมีการเกิดขณะเดียวกับจิตนั่นเอง
ข้อความนี้แสดงว่า เหมือนดั่งดอกไม้ ที่เนื่องอยู่ในขั้วเดียวกัน ในช่อดอกไม้ช่อหนึ่ง

สภาพธรรม คือเจตสิก มีใจเป็นผู้นำ มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ

หมายความว่า ผัสสะ เป็นต้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีจิต แต่จิตเป็นไปได้
แม้จะไม่มีเจตสิกบางดวงเกิดร่วม เช่น กลุ่มปัญจวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีวิตกเจตสิกร่วมด้วย
เป็นต้น จิตก็ต้องมีเจตสิกเสมอ อาจมาก หรือ น้อย ตามเหตุปัจจัย

พระบาลีว่า “ สำเร็จด้วยใจ” หมายความว่า ถูกจิตกระทำให้สำเร็จ กล่าวคือ เป็นอาการของจิต

2. ประเภทของเจตสิก

เจตสิกมีลักษณะที่แตกต่างกัน รวม 52 ลักษณะ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

2.1 อัญญสมานาเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ ที่สามารถเข้าประกอบกับจิตได้ ทั้งกลุ่มกุศลจิต กลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มจิตที่ไม่ใช่กุศล / อกุศล (อัพยากตะจิต)
อัญญสมานาเจตสิกมี 13 ดวง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม(แถว) ได้แก่
1. กลุ่มเจตสิก 7 ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตทั่วไปทุกดวง (89 หรือ121ดวง) เจตสิกกลุ่มนี้เวลาเข้าประกอบ จะเข้าพร้อมกันทั้ง 7 ดวง แยกจากกันไม่ได้ จึงเรียกเจตสิกกลุ่มนี้ว่า สัพพสาธารณะเจตสิก 7
2. กลุ่มเจตสิก 6 ดวง เป็นกลุ่มเจตสิกที่เข้าประกอบได้กับจิตทั่วไปเช่นกัน แต่เวลาเข้า ประกอบ จะเข้าไม่พร้อมกันก็ได้ แยกกันประกอบได้ เจตสิกกลุ่มนี้เรียกว่า ปกิณณกะเจตสิก 6

2.2 อกุศลเจตสิก หมายถึง เจตสิกฝ่ายอกุศล เป็นกลุ่มเจตสิกที่ประกอบได้กับจิตที่เป็นอกุศลเท่านั้น กลุ่มอกุศลจิต มี 14 ดวง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ความหมายของแต่ละดวง จะกล่าวในบทต่อไป ในที่นี้จะแสดงเพียงชื่อของกลุ่ม และเจตสิกในกลุ่มก่อน กล่าวคือ
1. กลุ่มโมหะเจตสิก 4 ดวง(โมจตุกะ 4) ได้แก่ โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
2. กลุ่มโลภะเจตสิก 3 ดวง(โลติกะ3) ได้แก่ โลภะ ทิฏฐิ มานะ
3. กลุ่มโทสะเจตสิก 4 ดวง(โทจตุกะ 4) ได้แก่ โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
4. กลุ่มที่ทำให้หดหู่ ท้อถอย(ถีทุกะ2) ได้แก่ ถีนะเจตสิก มิทะเจตสิก
5. กลุ่มความลังเลสงสัย(วิจิกิจฉา1) ได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก (มีเพียง 1 ดวง)

2.3 โสภณเจตสิก หมายถึง กลุ่มเจตสิกฝ่ายดีงาม เป็นกลุ่มที่ประกอบได้กับโสภณจิต (ยกเว้นกลุ่มอกุศลจิต และกลุ่มอเหตุกจิตแล้ว จิตที่เหลือชื่อว่าโสภณะจิต) โสภณเจตสิกมี 25 ดวง แบ่งเป็น 4 กลุ่มดังนี้
1. โสภณสาธารณะเจตสิก 19 ได้แก่ สัทธา สติ หิริ โอตัปปะ..... เป็นต้น
2. วิรตีเจตสิก 3 ได้แก่ สัมมาวาจาเจตสิก สัมมากัมมันตะเจตสิก สัมมาอาชีวะเจตสิก
3. อัปมัญญาเจตสิก 2 ได้แก่ กรุณาเจตสิก มุฑิตาเจตสิก
4. ปัญญาเจตสิก 1 ได้แก่ ปัญญาเจตสิก หรือปัญญินทรีย์เจตสิก

การที่จิตและเจตสิกจะประกอบกันได้จำต้องมีคุณสมบัติที่คล้ายกัน จึงอยู่ในที่เดียวกันได้
เช่น โลภะเจตสิก จะต้องประกอบได้กับโลภะมูลจิตเท่านั้น เมื่อประกอบกันแล้วโลภะจิตดวงนี้
จึงจะสามารถแสดงอำนาจความอยากได้ออกมา
โทสะเจตสิกก็ต้องประกอบกับโทสะมูลจิตเท่านั้น โทสะเจตสิกจะ ประกอบกับโลภะจิตไม่ได้
เพราะเป็นสภาพธรรมที่ตรงข้ามกัน คือ โลภะเจตสิกมีสภาพติดใจในอารมณ์
ส่วนโทสะเจตสิกมีสภาพประทุษร้ายทำลายอารมณ์ จึงเข้ากันไม่ได้
ในทำนองเดียวกัน เจตสิกฝ่ายอกุศล ก็จะเข้ากับโสภณเจตสิกก็ไม่ได้เช่นกัน


กล่าวโดยสรุป ธรรมชาติของเจตสิกนั้นเกิดพร้อมกับจิต หรือประกอบกับจิตเป็นนิตย์
เมื่อประกอบแล้ว ทำให้จิตเป็นบุญ(กุศล) หรือเป็นบาป(อกุศล) ตามการเข้าประกอบ
เจตสิกแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ


เจตสิกฝ่ายกลาง เข้าได้กับจิตทุกกลุ่ม เรียกว่า อัญญสมานาเจตสิก มี 13 ดวง
กลุ่มที่ 2 คือ เจตสิกฝ่ายอกุศลได้แก่ อกุศลเจตสิกมี 14 ดวง เข้าได้กับ กลุ่มอกุศลจิตเท่านั้น
กลุ่มสุดท้ายคือเจตสิกฝ่ายดีงาม เข้าได้กับกลุ่มโสภณจิตเท่านั้น โสภณเจตสิกมี 25 ดวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติม

ได้มาจากสหายธรรม เชื้อสายอินเดีย เจตสิกมาจากคำว่า
เจต คือ มาจาก เจตนา
สิก คือ ซิก(ไม่รู้พิมพฺอักษรถูกหรือเปล่า เพราะฟังมาแต่ออกเสียงแบบนี้ :b9: ) แปลว่า เกี่ยวกัน เกี่ยวข้อง


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 14 พ.ค. 2010, 21:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
การปฏิบัติธรรม อบรมจิต หรือ เจตสิกธรรม ต้องปฏิบัติอย่างไร?บ้างครับ?




มหาราชันย์ เขียน:
ตอบ....อบรมที่เจตสิกธรรมครับ
ทำเจตสิกธรรมให้บริสุทธิ์ครับ
เพราะจิตหรือวิญญาณขันธ์นั้นทำหน้าที่รู้แจ้งอย่างเดียวครับ
ในกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง ในอกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง
ในจิตเหตุจิตก็รู้แจ้ง ในจิตผลจิตก็รู้แจ้ง


ปัญญาซึ่งเป็นเจตสิกธรรม ทำหน้าที่รู้ชัดรู้ละเอียด
ทำหน้าที่ทำลายกิเลสสังโยชน์ ทำให้เจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ

เมื่อเจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ เรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ






ถาม....ต้องปฏิบัติอย่างไร?บ้างครับ ?

เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุอริยมัคคจิต 4
เจตสิกจึงจะบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ และเรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ



กามโภคี เขียน:
ไม่เข้าใจครับ อบรมเจตสิก อบรมกันอย่างไร วิธีไหน
เช่น โทสะเจตสิก เราก็รู้คือโทสะ อบรมทำไมครับ รู้สึกว่าจะเป็นอกุศลด้วย อกุศลนี้ต้องไม่ให้เกิดมีเลย
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ละโลภะ โทสะ โมหะ เมื่อให้ละ แล้วจะอบรมได้อย่างไร

หากอบรมเจตสิกได้ ก็แสดงว่า เจตสิกคือจิตซิครับ ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะจิตมีลักษณะ
พิเศษคือ รับรู้อารมณ์ได้ แต่เจตสิกไม่สามารถรับรู้อารมณ์ได้ เจตสิกเองกลับเป็นอารมณ์ที่จิตรู้ซะอีก ในผู้ที่ปฏิบัติตามสติปัฎฐานสูตร สามารถรับรู้สภาวะของเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไปได้อย่างรวดเร็ว เช่นการรับรู้สภาวะของโทสะที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ชอบหรือไม่พอใจ





สวัสดียามบ่ายครับคุณกามโภคี


ก่อนจะแสดงภูมิปัญญาออกมากรุณาอ่านโจทย์ให้เข้าใจเสียก่อนครับ
ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการอ่านบ้างนะครับ


การตอบคำถามผมตอบตามผู้ถามครับ
คุณหลับอยู่ถามมาเจตนาอย่างไร ผมตอบไปตามนั้นครับ

เจตสิกมีทั้งดีและไม่ดี
ผู้มีปัญญาเขาเลือกสิ่งดี ๆ มาไว้ในจิตใจตนครับ
กำจัด ละ และดับสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจตนครับ


[color=#FF00BF]อิอิ

จิตใจตน ตนชอบดีๆ ดีของตนๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
หลับอยุ่ เขียน:
การปฏิบัติธรรม อบรมจิต หรือ เจตสิกธรรม ต้องปฏิบัติอย่างไร?บ้างครับ?


ถาม....การปฏิบัติธรรม อบรมจิต หรือ เจตสิกธรรม ?

ตอบ....อบรมที่เจตสิกธรรมครับ
ทำเจตสิกธรรมให้บริสุทธิ์ครับ
เพราะจิตหรือวิญญาณขันธ์นั้นทำหน้าที่รู้แจ้งอย่างเดียวครับ
ในกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง ในอกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง
ในจิตเหตุจิตก็รู้แจ้ง ในจิตผลจิตก็รู้แจ้ง


ปัญญาซึ่งเป็นเจตสิกธรรม ทำหน้าที่รู้ชัดรู้ละเอียด
ทำหน้าที่ทำลายกิเลสสังโยชน์ ทำให้เจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ

เมื่อเจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ เรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ






ถาม....ต้องปฏิบัติอย่างไร?บ้างครับ ?

เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุอริยมัคคจิต 4
เจตสิกจึงจะบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ และเรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ



เจริญในธรรมครับ


อิอิ

จิตหลุดพ้น ไม่หลุดพ้นจากจิต ละจ้าๆ


อนุโมทนาสาธุจ้า :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สวัสดีท่านหลับอยู่

ง่ายอย่างนี้นะครับ
ขันธ์ 5 เว้นรูป และ วิญญาณขันธ์ แล้ว
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ล้วนเป็นเจตสิกธรรม

เจตสิกธรรม ธรรมในจิต ประกอบกับจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต
เมื่อปฏิบัติธรรมอบรมจิต ก็คือการอบรมเจตสิกธรรมนี้นี่เอง

แต่เราเรียกกันว่า อบรม"จิต" ด้วยเหตุว่า จิตและ เจตสิกหลอมรวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเรียกง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ ว่า นั่นคือ "อบรมจิต"

จิตจึงเป็นธาตุรู้ เป็นมนายตนะ "รู้ทุกสิ่งทุกอย่างตามคุณภาพของเจตสิกที่ประกอบอยู่"
คุณภาพจิต จะดี จะเลว จะหยาบ จะประณีต ก็เนื่องด้วย เจตสิกธรรม
ธาตุรู้ หรือที่เป็นจิต ไม่ได้เลือกที่จะ "รู้อารมรณ์" หรือ "ไม่รู้อารมณ์" เพราะไม่ใช่กิจของ วิญญาณธาตุ

เจตสิกธรรม จึงมีความหลากหลายเป็นร้อยเป็นพันนัย

เจริญธรรม


อิอิ

เจตสิก.. ง่ายอย่างนี้นะ

อ้างคำพูด:
จิตจึงเป็นธาตุรู้ เป็นมนายตนะ "รู้ทุกสิ่งทุกอย่างตามคุณภาพของเจตสิกที่ประกอบอยู่"
คุณภาพจิต จะดี จะเลว จะหยาบ จะประณีต ก็เนื่องด้วย เจตสิกธรรม

จิตเสื่อมสมรรถภาพ ละจ้าๆ

อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ค. 2010, 23:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2010, 15:07
โพสต์: 313

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
สติบริสุทธิ์
กั้นจิตจากกระแสกิเลสทั้งปวง จึงเรียกว่าสติบริสุทธิ์

เช่นนั้น เขียน:
ธาตุรู้ หรือที่เป็นจิต ไม่ได้เลือกที่จะ "รู้อารมรณ์" หรือ "ไม่รู้อารมณ์" เพราะไม่ใช่กิจของ วิญญาณธาตุ

อิอิ

เช่นนั้น กั้น ทำไม ละจ้าๆ

อนุโมทนาสาธุจ้า
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[url]http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เจตสิก[/url]


Quote Tipitaka:
[355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)

ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
14. โมหะ (ความหลง - delusion)
15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)

2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)
23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)

ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)
32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)

3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)

4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แก้ไขล่าสุดโดย mes เมื่อ 29 มิ.ย. 2010, 13:50, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ผมยกมาแสดง

หมายถึงว่าถ้าเราจะอธิบายเจตสิกให้กว้างขวางครอบคลุมต้อกางตำราทั้งเล่มเลยครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 28 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร