วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 01:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2010, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.พ. 2008, 10:00
โพสต์: 724

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: ปฏิบัติวิปัสสนา
อายุ: 0
ที่อยู่: เกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


ลองพิจารณาตามเหตุตามผล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร
แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ประภัสสร
และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา
พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ
ย่อมมีการอบรมจิต
สฬายตนวรรค สุตตันตปิฎก

อุปกิเลส
1. อภิชฌาวิสมโลภะ คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร
2. พยาบาท คิดร้ายเขา
3. โกธะ ความโกรธ
4. อุปนาหะ ความผูกโกรธ
5. มักขะ
ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น
6. ปลาสะ ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน
7. อิสสา ความริษยา
8. มัจฉริยะ ความตระหนี่
9. มายา มารยา
10. สาเถยยะ ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด
11. ถัมภะ ความหัวดื้อ, กระด้าง
12. สารัมภะ ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน
13. มานะ ความถือตัว, ทะนงตน
14. อติมานะ ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา
15. มทะ ความมัวเมา
16. ปมาทะ ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ

อุปกิเลสทั้ง ๑๖ ข้อนี้คืออกุศลเจตสิกทั้งนั้น พระพุทธพจน์ตรัสแยกออกมาจากจิตเลยทีเดียว ตีความ
อย่างไรก็กล่าวไม่ได้ว่าจิตและเจตสิกเป็นอันเดียวกัน
และกล่าวไม่ได้ว่าสามารถอบรมเจตสิกได้ เพราะวรรคท้ายของพระพุทธพจน์ที่อ้างอิงมานั้น
(และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา , ย่อมมีการอบรมจิต)
แสดงว่าอบรมจิตเพื่อให้พ้นจากอุปกิเลส(อุปกิเลสคืออกุศลเจตสิกนั่นเอง)

ลองพิจารณาดูครับว่าจะอบรมเจตสิกกันได้ไหม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณเช่นนั้นได้อธิบายว่า,,,,เจตสิกธรรม ธรรมในจิต ประกอบกับจิต เกิดร่วมเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกันกับจิต
เมื่อปฏิบัติธรรมอบรมจิต ก็คือการอบรมเจตสิกธรรมนี้นี่เอง

แต่เราเรียกกันว่า อบรม"จิต" ด้วยเหตุว่า จิตและ เจตสิกหลอมรวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน จึงเรียกง่ายๆ เพื่อความเข้าใจ ว่า นั่นคือ "อบรมจิต",,,,,,,
จิตจึงเป็นธาตุรู้ เป็นมนายตนะ
"รู้ทุกสิ่งทุกอย่างตามคุณภาพของเจตสิกที่ประกอบอยู่"
คุณภาพจิต จะดี จะเลว จะหยาบ จะประณีต ก็เนื่องด้วย เจตสิกธรรม
ธาตุรู้ หรือที่เป็นจิต ไม่ได้เลือกที่จะ "รู้อารมณ์" หรือ "ไม่รู้อารมณ์" เพราะไม่ใช่กิจของ วิญญาณธาตุ



เจตสิกธรรม จึงมีความหลากหลายเป็นร้อยเป็นพันนัย


ส่วนตัวผมคิดว่า,,,,ศัพท์หลายๆอย่างมัน ยาก ต่อการเข้าใจ หลายคนก็เข้าใจไม่เหมือนกัน การสทนาธรรมจึงบังเกิด :b16: (โปรดใช้วิจารณญาณ)


(ส่วนนึงของคำอธิบายคุณมหาราชันย์)ว่า,,,ทำเจตสิกธรรมให้บริสุทธิ์ครับ
เพราะจิตหรือวิญญาณขันธ์นั้นทำหน้าที่รู้แจ้งอย่างเดียวครับ
ในกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง ในอกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง
ในจิตเหตุจิตก็รู้แจ้ง ในจิตผลจิตก็รู้แจ้ง


ปัญญาซึ่งเป็นเจตสิกธรรม ทำหน้าที่รู้ชัดรู้ละเอียด
ทำหน้าที่ทำลายกิเลสสังโยชน์ ทำให้เจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ

เมื่อเจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ เรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ


เจริญธรรมทุกท่านครับ


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 07 ก.พ. 2010, 08:33, แก้ไขแล้ว 13 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลับอยุ่ เขียน:
การปฏิบัติธรรม อบรมจิต หรือ เจตสิกธรรม ต้องปฏิบัติอย่างไร?บ้างครับ?




มหาราชันย์ เขียน:
ตอบ....อบรมที่เจตสิกธรรมครับ
ทำเจตสิกธรรมให้บริสุทธิ์ครับ
เพราะจิตหรือวิญญาณขันธ์นั้นทำหน้าที่รู้แจ้งอย่างเดียวครับ
ในกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง ในอกุศลจิตจิตก็รู้แจ้ง
ในจิตเหตุจิตก็รู้แจ้ง ในจิตผลจิตก็รู้แจ้ง


ปัญญาซึ่งเป็นเจตสิกธรรม ทำหน้าที่รู้ชัดรู้ละเอียด
ทำหน้าที่ทำลายกิเลสสังโยชน์ ทำให้เจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ

เมื่อเจตสิกบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ เรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ






ถาม....ต้องปฏิบัติอย่างไร?บ้างครับ ?

เจริญฌานเป็นโลกุตตระ อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก นำไปสู่นิพพาน เพื่อบรรลุอริยมัคคจิต 4
เจตสิกจึงจะบริสุทธิ์ขาวรอบ เราเรียกว่า จิตบริสุทธิ์ครับ และเรียกว่า จิตที่หลุดพ้นครับ



กามโภคี เขียน:
ไม่เข้าใจครับ อบรมเจตสิก อบรมกันอย่างไร วิธีไหน
เช่น โทสะเจตสิก เราก็รู้คือโทสะ อบรมทำไมครับ รู้สึกว่าจะเป็นอกุศลด้วย อกุศลนี้ต้องไม่ให้เกิดมีเลย
พระพุทธเจ้าท่านสอนให้ละโลภะ โทสะ โมหะ เมื่อให้ละ แล้วจะอบรมได้อย่างไร

หากอบรมเจตสิกได้ ก็แสดงว่า เจตสิกคือจิตซิครับ ในความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะจิตมีลักษณะ
พิเศษคือ รับรู้อารมณ์ได้ แต่เจตสิกไม่สามารถรับรู้อารมณ์ได้ เจตสิกเองกลับเป็นอารมณ์ที่จิตรู้ซะอีก ในผู้ที่ปฏิบัติตามสติปัฎฐานสูตร สามารถรับรู้สภาวะของเจตสิกที่เกิดขึ้นและดับไปได้อย่างรวดเร็ว เช่นการรับรู้สภาวะของโทสะที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ชอบหรือไม่พอใจ





สวัสดียามบ่ายครับคุณกามโภคี


ก่อนจะแสดงภูมิปัญญาออกมากรุณาอ่านโจทย์ให้เข้าใจเสียก่อนครับ
ใช้ไหวพริบปฏิภาณในการอ่านบ้างนะครับ


การตอบคำถามผมตอบตามผู้ถามครับ
คุณหลับอยู่ถามมาเจตนาอย่างไร ผมตอบไปตามนั้นครับ

เจตสิกมีทั้งดีและไม่ดี
ผู้มีปัญญาเขาเลือกสิ่งดี ๆ มาไว้ในจิตใจตนครับ
กำจัด ละ และดับสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตใจตนครับ


มรรคมีองค์ 8 เป็นเจตสิก ไม่ใช่จิต การปฏิบัติธรรมบรรลุธรรมด้วยมรรคมีองค์ 8 ครับ
อบรมมรรคมีองค์ 8 หรือเจตสิกนี่เอง ไม่ได้อบรมจิต
แต่เนื่องจากเจตสิกและจิตหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน แต่เจตสิกมีจิตเป็นใหญ่เป็นประธาน เขาจึงเรียกที่ประธานว่าอบรมจิต แต่ในความเป็นจริงคือการอบรมเจตสิกครับ


คงพอจะเข้าใจนะครับ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการอบรมเจตสิก



สติ สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ เหล่านี้เป็น เจตสิก




ที่ซึ่งมีสติ และเป็นสติที่บริสุทธิ์ คือสติในจตุตถฌานจิตครับ

สติที่บริสุทธิ์เป็นอริยะทรัพย์คือปัญญา
การอบรมสติหรือเจริญสติ ก็คือการอบรมเจตสิก
แต่เวลาเรียกเขาเรียกอบรมจิต เพราะเมื่ออบรมเจตสิกให้บริสุทธิ์ได้เมื่อใด จิตย่อมพลอยบริสุทธิ์ไปด้วยครับ



สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ??

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน
เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า
ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข


เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 12:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างการอบรมเจตสิก



ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี
ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า?




ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ



กุมฺภูปมํ กายมิทํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสิโนสิยา.


บัณฑิตรู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ,
กั้นจิตอันเปรียบด้วยนคร,
พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา
พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่.





เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2009, 20:26
โพสต์: 1589

แนวปฏิบัติ: อรหัตตมัคค
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฎก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี“กิเลสเพียงดังเนิน”
ปราศจากความเศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน
ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้


เรานั้นจึงน้อมจิตไปเพื่อ “อาสวักขยญาณ”

ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า .........
....นี้ทุกข์
....นี้ทุกข์สมุทัย
....นี้ทุกขนิโรธ
....นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

....เหล่านี้อาสวะ
....นี้อาสวสมุทัย
....นี้อาสวนิโรธ
....นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้จิตก็หลุดพ้น .......
แม้จากกามาสวะ
แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ

เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า
“หลุดพ้นแล้ว ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี”

เราบรรลุ“วิชชาที่ ๓” นี้ ใน“ปัจฉิมยาม” แห่งราตรี

กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาก็เกิดขึ้น
กำจัดความมืดได้แล้ว ความสว่างก็เกิดขึ้น
เหมือนบุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ฉะนั้น



ลองพิจารณาดูนะครับว่า ปัญญานี้เป็นจิตหรือเป็นเจตสิก ??
การบรรลุธรรมนั้นต้องอบรมปัญญาเจริญปัญญาหรือไม่ ??



เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2010, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ม.ค. 2010, 14:34
โพสต์: 16

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนที่ไม่เข้าใจเรื่องธรรมะ ถามอาจารย์ที่ไม่เข้าใจธรรมะ ผลก้คือ....มั่ว และไม่รู้เรื่อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2010, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


??? :b14:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.พ. 2010, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




cat2.jpeg
cat2.jpeg [ 5.13 KiB | เปิดดู 5208 ครั้ง ]
เจตสิก คือ รังของกิเลสทั้งปวง อุปมาเหมือนรังโจร

ที่สมควรกำจัด ปราบปราม เข้าค่ายอบรมให้กลับเป็นพลเมืองดี ต่อไป

ชาวบ้าน ๆ พอเข้าใจกันบ้างเนอะ

แบบว่าเหงา ๆ นอนอยู่ริมลาน เลยหาว ๆ ละเมอ ๆ ออกมา

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2010, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แมวขาวมณี เขียน:
เจตสิก คือ รังของกิเลสทั้งปวง อุปมาเหมือนรังโจร

ที่สมควรกำจัด ปราบปราม เข้าค่ายอบรมให้กลับเป็นพลเมืองดี ต่อไป

ชาวบ้าน ๆ พอเข้าใจกันบ้างเนอะ

แบบว่าเหงา ๆ นอนอยู่ริมลาน เลยหาว ๆ ละเมอ ๆ ออกมา


cool สวัสดีครับ คุณแมวขาวมณี cool

ขอเสริมความเห็น.....เล็กน้อยครับ

เจตสิก มีทั้ง ฝ่ายอกุศล ฝ่ายโสภณ และที่เข้าได้ทั้ง 2 ฝ่าย (นก 2 หัว)

-อกุศลเจตสิก มี 14 ชนิด เช่น โลภ โทส โมหะ อุทธัจจะ...วิจิกิจฉา เป็นต้น

-โสภณเจตสิก มี 25 ชนิด เช่น สติ หิริ โอตตัปปะ อโทสะ ...ปัญญา เป็นต้น

-นก 2 หัว มี 13 ชนิด เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา .... ฉันทะ เป็นต้น

ดังนั้น หากจะเหมาว่า เจตสิก คือ รังของกิเลสทั้งปวง จึงถูก 1/2 ครับ

การจะกำจัดเจตสิกฝ่ายที่อยู่ในรังโจร

ก็ต้องอาศัย เจตสิกฝ่ายโสภณ เช่น สติ ปัญญา


onion onion onion
ขออนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Eikewsang เขียน:

cool สวัสดีครับ คุณแมวขาวมณี cool

ขอเสริมความเห็น.....เล็กน้อยครับ

เจตสิก มีทั้ง ฝ่ายอกุศล ฝ่ายโสภณ และที่เข้าได้ทั้ง 2 ฝ่าย (นก 2 หัว)

-อกุศลเจตสิก มี 14 ชนิด เช่น โลภ โทส โมหะ อุทธัจจะ...วิจิกิจฉา เป็นต้น

-โสภณเจตสิก มี 25 ชนิด เช่น สติ หิริ โอตตัปปะ อโทสะ ...ปัญญา เป็นต้น

-นก 2 หัว มี 13 ชนิด เช่น ผัสสะ เวทนา สัญญา .... ฉันทะ เป็นต้น

ดังนั้น หากจะเหมาว่า เจตสิก คือ รังของกิเลสทั้งปวง จึงถูก 1/2 ครับ

การจะกำจัดเจตสิกฝ่ายที่อยู่ในรังโจร

ก็ต้องอาศัย เจตสิกฝ่ายโสภณ เช่น สติ ปัญญา


onion onion onion
ขออนุโมทนาครับ


อนุโมทนาด้วยค่ะ
-อกุศลเจตสิก มี 14 ชนิด เช่น โลภ โทส โมหะ อุทธัจจะ...วิจิกิจฉา เป็นต้น
นี่แหละค่ะโจร มีมาก มีชุกชุม มีอยู่ทั่วไป

-โสภณเจตสิก มี 25 ชนิด เช่น สติ หิริ โอตตัปปะ อโทสะ ...ปัญญา เป็นต้น
อันนี้คือผ่านหลักสูตรอบรมเข้มมาแล้ว เป็นพลเมืองดี ที่อาศัยสร้างประโยชน์ได้บ้าง อิ อิ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มี.ค. 2010, 03:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ม.ค. 2010, 04:38
โพสต์: 376

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แมวขาวมณี เขียน:
เจตสิก คือ รังของกิเลสทั้งปวง อุปมาเหมือนรังโจร

......ฯลฯ......


ลืมชม

"รูปแมวสวยดีนะครับ"

ไม่ทราบว่าพันธ์อะไร

ขออนุโมทนาครับ


แก้ไขล่าสุดโดย Eikewsang เมื่อ 04 มี.ค. 2010, 03:18, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 01:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cool :b1: :b36: :b37: :b45: :b45: :b45: :b40:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:






เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ



เจริญในธรรมครับ[/color]

:b8: :b8: :b8:
:b34: shocked


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหาราชันย์ เขียน:
เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ
เจริญในธรรมครับ


สติบริสุทธิ์
กั้นจิตจากกระแสกิเลสทั้งปวง จึงเรียกว่าสติบริสุทธิ์

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 25 มี.ค. 2010, 14:15, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 88 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร