วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 08:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 00:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 12:44
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมเด็จพระสังฆราชกล่าวชัดเจนว่า จิตมีดวงเดียว

ตัดจาก : ความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม (๒)
พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... -01-02.htm

......โดยปรกติจิตก็มีดวงเดียว จิตจะเป็นต่างๆก็เพราะมีเจตสิก แปลว่าธรรมะที่มีในใจ มีเจตสิกเป็นอย่างไรจิตก็เป็นอย่างนั้น เจตสิกจึงเป็นสิ่งที่มีผสมอยู่ในจิต เทียบเหมือนดั่งว่าน้ำกับสีที่ผสมอยู่ในน้ำ น้ำโดยปรกติก็เป็นอย่างเดียว แต่เมื่อใส่สีลงไปน้ำจึงเป็นน้ำสีนั้น น้ำสีนี้ ฉะนั้น ในอภิธรรมที่แจกจิตไว้ถึง ๘๙ ดวง ก็ด้วยอำนาจของเจตสิกนี้เอง บกเจตสิกออกแล้ว จิตก็เป็นอันเดียวเท่านั้น

คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121"

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 14&gblog=1

ด้วยเหตุนี้ จะเรียก 89/121 ว่า สภาพจิต หรือจะเรียก อาการ/อารมณ์ ของจิตก็ได้ แต่มันไม่ใช่ตัวจิต(สังขาร)ซึ่งมีอยู่ดวงเดียว


แก้ไขล่าสุดโดย ฟ้าหัวเราะเยาะข้า เมื่อ 10 ก.พ. 2010, 00:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 01:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


ถูกแล้ว ตรงนี้ไม่มีใครเถียงครับ ทราบกันทุกคน

จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ จำแนกตามสภาวะ เพื่อให้ศึกษาได้ง่าย

จิตมีเพียงขณะเดียว คือ ขณะปัจจุบัน จะเป็น อุปปาทะ ฐีติ หรือ ภังคะ

หรือ นับ ละเอียด ก็ตามวิถีแห่งจิต ตามประเภทนั้น ๆ



แต่ ไม่มีจิต ที่ไม่ประกอบด้วยเจตสิกครับ

จิตไม่สามามารถยกเจตสิกออกได้ครับ

เพราะเจตสิก เกิด ดับ พร้อมจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต มีที่อาศัยเดียวกันกับจิต

(เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ เอกวัตถุกะ)


:b53: :b53: :b53:


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 10 ก.พ. 2010, 01:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 01:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมนิดนึงครับ

จิต ใน ขันธ์ ๕ ไม่เรียกว่า สังขาร


เวทนา เจตสิก เป็นเวทนาขันธ์

สัญญาเจตสิก เป็น สัญญาขันธ์

เจตสิกที่เหลือ (จะเกิดครบหรือไม่ก็ตาม) เป็นสังขารขันธ์ (สังขารที่นี้แปลว่าปรุงแต่งจิต)

จิต จัดเป็นวิญญาณขันธ์

ทั้งหมดเรียก นามขันธ์ ๔ จะแยกจากกันไม่ได้ (จตุโวการ)

แต่ รูป แยก จากนามได้


:b47: :b47: :b47:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตแบบพลศักดิ์มีดวงเดียว
ดวงเดียวกันเดียวไม่มีเกิดไม่มีดับ

เพราะเขาคิดว่าตอนนี้เขานิพพานแล้ว
เป็นกระทั่งพระพุทธเจ้าอวตาร
คุณจะไปเอาอะไรกับเขาล่ะ

หมอนี่ เอานู่นมาอ้าง เอานี่มาอ้าง
แล้วแอบสอดไส้หลอกตัวเองไปวันๆ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 10:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ขอบคุณครับ ตรงนี้คุยกันเล่น ๆ นะครับ ไม่ถือว่าจริงจังอะไร

๒ แนวคิดในเรื่องจิต

จิต ในแนวคิดเถรวาท

- มีธรรมชาติ รู้อารมณ์ คิดอารมณ์ เก็บอารมณ์ ก่อให้เกิดผล ทำให้วิจิตรพิสดารต่าง ๆ
- เกิดพร้อมกับเจตสิกเสมอ
- มีการเกิดดับตลอด ไวจนหาที่เปรียบไม่ได้ หาเบื้องต้นไม่เจอ หาเบื้องปลายไม่รู้ จนกว่าจะนิพพาน (จริมกจิต)
- เป็นวิญญาณขันธ์


- มีแต่ปัจจุบันขณะ เป็นขณะเดิมกับขณะที่แล้วหรือไม่ จะตอบ ใช่ ก็ได้ ไม่ใช่ก็ได้

ถ้าตอบใช่ เพราะเหตุว่า อาศัยต่อเนื่องจากขณะที่แล้วเกิด ขณะที่แล้วเป็นเหตุ

ถ้าตอบว่าไม่ใช่ เพราะเหตุว่า คนละขณะกัน


(เหมือนตัวเรา เมื่อวัยเด็ก กับตอนนี้ จะตอบว่าคนเดียวกัน หรือ คนละคนก็ได้)

...........................
จิต ในแนวคิดมหายาน บางนิกาย

จิต ถือว่าเที่ยง อมตะ

อยู่ในกลุ่มของจิตอมตวาที (จิตเที่ยงแท้ จริงแท้) นิกายใหญ่ๆในกลุ่มนี้ เช่น นิกายจิตอมตวาท ,
นิกายวิชญาณวาท , นิกายโยคาจาร , นิกายธรรมลักษณะ(ฮวบเซี่ยงจง)


กลุ่มนิกายจิตอมตวาทเป็นนิกายที่เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์คุปตะ ได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูมาก
คำสอนของกลุ่มนิกายนี้ ถือว่าจักรภพมีพื้นฐานจากสมบูรณภาพ ภาวะอันเป็นแก่นเดิมของโลกเป็นความจริงแท้
เป็น นิตยัม สุขัม ศานตัม


(มีอธิบายไว้ตามแนวเถรวาทเราไว้หลายที่ ความเชื่อเช่นนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากว่า

ผู้ที่บรรลุฌาน จะมีความรู้สึกเหมือนจิตเป็นหนึ่งเสมอ ชวนะแห่งฌานวิถีเกิดติดต่อกันตลอด
คล้ายดั่งว่าเป็นหนึ่งเดียว(คงเหมือนกับเรามองหลอดนีออนว่าติดไฟ สว่างตลอดเวลา
ที่จริงกระพริบไวมาก)

ยิ่งผู้ที่เกิดเป็นพรหม เนื่องจากมีอายุยืนยาวมากเกินไป จะมีความรู้สึกว่า อมตะ ไม่ตาย เที่ยงแท้ )

ขอบคุณครับ
............


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 12:44
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ไวโรจนมุเนนทระ"ครับ



จิต ไม่จัดเป็นวิญญาณขันธ์ ครับ เป็นความเข้าใจผิดของพระปริยัติ และพวกที่ฝึกแต่วิปัสสนา

วิญญาณขันธ์ เป็นหนึ่งในขันธ์ 5 ซึ่งเป็นนามรูป

ในปฏิจจสมุปบาท สังขาร เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณ ....วิญญาณตัวนี้คือ วิญญาณธาตุ

วิญญานเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป (รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์)

ชัดเจนอยู่แล้วว่า วิญญาณ(ธาตุ) เป็นปัจจัยให้เกิด วิญญาณขันธ์ (และนามรูปตัวอื่นในขันธ์ 5)

ถ้าคุณไม่ยึดทิฏฐิจากการศึกษาในอดีต คุณย่อมเข้าใจที่ผมพูดทันที แต่ถ้าคุณมีทิฏฐิเพราะครูฉันไม่ได้สอนอย่างนี้ ชาตินี้คุณย่อมยอมรับสิ่งที่ผมพูดไม่ได้

พระอานนท์เข้าไปเฝ้าและทูลว่า


“อัศจรรย์จริง พระเจ้าข้า ประหลาดจริง พระเจ้าข้า ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นธรรมลึกซึ้ง แต่ก็ปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นธรรมง่ายๆ”

พระศาสดาตรัสว่า

อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง และปรากฏเป็นธรรมลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่แทงตลอดซึ่งปฏิจจสมุปบาทนี้แหละ หมู่สัตว์จึงวุ่นวายเหมือนเส้นด้ายที่ขอดกันยุ่ง ขมวดเหมือนกลุ่มด้ายที่ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ผ่านพ้น อบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปไม่ได้”
(สํ. นิ. ๑๖/๑๑๐-๑๑๑ ข้อ ๒๒๔-๕)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2010, 12:44
โพสต์: 23

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ"ไวโรจนมุเนนทระ"ครับ(ต่อ)



พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ในมหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ว่า:

"ดูกรอานนท์เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป..."

ด้วยเหตุนี้ หลักฐานจึงชัดว่า วิญญาณในนามรูป (วิญญาณขันธ์) เป็นคนละตัวกับ วิญญาณที่เกิดจากจิตสังขารในปฏิจจสมุปบาท

อีกหลักฐานหนึ่ง!!!

สูตรที่ ๕ มหาวรรค อภิสมยสํยุตต์ นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๖/๒๕๐. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่เชตวัน.

ทรงค้นลูกโซ่แห่งทุกข์ ก่อนตรัสรู้

...เพราะ วิญญาณ นั่นแล มีอยู่ นามรูป จึงได้มี : เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความฉงนนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เมื่ออะไรมีอยู่หนอ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีอะไรเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้สึกอย่างยิ่งด้วยปัญญา เพราะการทำในใจโดยแยบคายได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "เพราะ นามรูป นั่นแล มีอยู่ วิญญาณ จึงได้มี : เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ" ดังนี้.

ภิกษุ ท.! ความรู้แจ้งนี้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า "วิญญาณนี้ ย่อมเวียนกลับจากนามรูป : ย่อมไม่เลยไปอื่น; ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ สัตว์โลกนี้ พึงเกิดบ้าง พึงแก่บ้าง พึงตายบ้าง พึงจุติบ้าง พึงอุบัติบ้าง : ข้อนี้ได้แก่การที่ เพราะมีนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ; เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป


แก้ไขล่าสุดโดย ฟ้าหัวเราะเยาะข้า เมื่อ 10 ก.พ. 2010, 11:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


....
ขอถามสนุก ๆ นะครับ

ไม่ทะเลาะ ไม่รู้จะเอาชนะทำไม


ขอคำอธิบายด้วยนะครับ
............



ขันธ์คืออะไร

ขันธ์มีเท่าไร

ขันธ์มีอะไรบ้าง ขอสภาวะ หรือ องค์ประกอบรายละเอียดด้วย


........
ธรรมที่นอกเหนือจากขันธ์มีอะไรบ้าง

ตอบตรงนี้ก่อนนะครับ จะสนทนากันต่อได้

"ขันธ์และธรรมที่นอกเหนือจากขันธ์"

ขอแค่นี้ครับ

ถ้าตอบตรงนี้ได้ จะดีใจด้วยครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

อนุโมทามิ
....


แก้ไขล่าสุดโดย ไวโรจนมุเนนทระ เมื่อ 10 ก.พ. 2010, 12:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:

แต่ ไม่มีจิต ที่ไม่ประกอบด้วยเจตสิกครับ

จิตไม่สามารถยกเจตสิกออกได้ครับ


เข้าใจว่า ภาวะที่จิตไม่มีเจตสิก คือสภาวะที่เรียกว่า นิพพาน การฝึกจิตก็คือการพยายามดับเจตสิกลงไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย คือลดการปรุงแต่ง ลดอุปทานไปเรื่อยๆ อันนี้เข้าใจเอาเองนะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2007, 09:17
โพสต์: 239

ที่อยู่: สุโขทัยธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
555555 ถุย!
(ฟ้ากำลังหัวเราะ)



:b9: อัตตาตัวอ้วนดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 22:46
โพสต์: 167

แนวปฏิบัติ: buddhism
อายุ: 0
ที่อยู่: nontaburi

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:

เข้าใจว่า ภาวะที่จิตไม่มีเจตสิก คือสภาวะที่เรียกว่า นิพพาน การฝึกจิตก็คือการพยายามดับเจตสิกลงไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย คือลดการปรุงแต่ง ลดอุปทานไปเรื่อยๆ อันนี้เข้าใจเอาเองนะ...


ขอบคุณครับ

เจตสิกจะมี 3 กลุ่ม (52 สภาวะ) คือ สภาพเป็นกลางทั่วไป(อัญญสมานเจตสิก 13)
เจตสิกฝ่ายดี (โสภณเจตสิก 25) เจตสิกฝ่ายไม่ดี (อกุศลเจตสิก 14)

พูดถูกครับ พระอริยเจ้าจะลด อกุศลเจตสิก ลงไปตามลำดับ ตามภูมิธรรม

และ ในพระอรหันต์ จะไม่มีอกุศลเกิดครับ

แต่เจตสิกที่ดี ยังคงมีอยู่ครับผม


อนุโมทนาครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตะแง๊ว เขียน:
:b9: อัตตาตัวอ้วนดี



ก็อัตตานั่นแหละ ที่เห็น"อัตตาคนอื่น" แล้วไม่ชอบใจ

เกลียดความไม่ดี เป็นอัตตา จำไว้นะ
กินนมนอนได้แล้ว ไป๊


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 22:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


murano เขียน:
ไวโรจนมุเนนทระ เขียน:

แต่ ไม่มีจิต ที่ไม่ประกอบด้วยเจตสิกครับ

จิตไม่สามารถยกเจตสิกออกได้ครับ


เข้าใจว่า ภาวะที่จิตไม่มีเจตสิก คือสภาวะที่เรียกว่า นิพพาน การฝึกจิตก็คือการพยายามดับเจตสิกลงไปเรื่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย คือลดการปรุงแต่ง ลดอุปทานไปเรื่อยๆ อันนี้เข้าใจเอาเองนะ...


ผมว่าน่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนนะครับ จิตที่ไม่มีเจตสิกจะเกิดขึ้นไม่ได้, จิตทุกดวงที่เกิดจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเสมอ ต้องแยกอย่างนี้ครับ

อธิบายแบบแรก ธรรมมี 2 ชนิด คือ สังขตธรรม และ อสังขตธรรม

สังขตธรรม = "สังขารธรรม" คือ จิต เจตสิก รูป = ขันธ์ ๕ = นามรูป

อสังขตธรรม ที่เป็นนิพพาน เป็นนิพพานปรมัตถ์ อธิบายให้ละเอียดคือ

ปรมัตถธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง มี ๔ ประเภท

คือ

รูปปรมัตถ์ จิตปรมัตถ เจตสิกปรมัตถ์ นิพพานปรมัตถ์ = รูป จิต เจตสิก นิพพาน
จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ (รูป จิต เจตสิก) เป็น "สังขารธรรม"


แต่นิพพาน เป็น "สภาพธรรมที่ดับสังขารธรรมทั้งปวง"

เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ที่ดับขันธปรินิพพาน จึงไม่มีการเกิดอีกเลย ต้องดับทั้งจิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ และรูปปรมัตถ์ (ดับ จิต เจตสิก และรูป) จึงจะเข้านิพพานที่สมบูรณ์(อนุปาทิเสสนิพพาน คือ ดับทั้งกิเลสพร้อมกับดับขันธ์ 5 หรือ เบญจขันธ์)

อธิบายแบบที่ 2

นิพพาน เป็น "วิสังขารธรรม" (หมายถึง สภาพธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เกิด จึงไม่ดับ)
แต่ นิพพาน ไม่ใช่ จิต และ เจตสิก เพราะสภาพธรรมที่เป็น นิพพาน ไม่เกิดและไม่ดับ
คุณต้องดับจิตและเจตสิกที่เป็นสังขารธรรมก่อน จึงจะเข้าถึงนิพพาน

อธิบายแบบที่ 3

จิต และ เจตสิก เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์ โดยอาศัยรูปอยู่
แต่ นิพพาน เป็นนามธรรมที่ไม่รู้อารมณ์

ด้วยเหตุนี้ คุณต้องดับจิต และ เจตสิก พร้อมดับรูปด้วย = ดับสัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปขันธ์ และวิญญาณขันธ์ คือต้องปิดสวิตช์นามรูปในภพ 3 ก่อน จึงจะเข้าสู่นิพพานที่สมบูรณ์ได้ (อนุปาทิเสสนิพพาน)

เรื่องที่คุณกล่าวเป็นเรื่องใหญ่มากๆ และผมตอบโดยไม่มีการทบทวนใดๆ จึงอาจผิดได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงยังไม่ขอยืนยันว่าคำตอบของผมถูกต้องสมบูรณ์ 100%


แก้ไขล่าสุดโดย คนดีที่โลกลืม เมื่อ 11 ก.พ. 2010, 00:01, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 ก.พ. 2010, 13:35
โพสต์: 355

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
ตะแง๊ว เขียน:
:b9: อัตตาตัวอ้วนดี



ก็อัตตานั่นแหละ ที่เห็น"อัตตาคนอื่น" แล้วไม่ชอบใจ

เกลียดความไม่ดี เป็นอัตตา จำไว้นะ
กินนมนอนได้แล้ว ไป๊


นั่นไม่ใช่อัตตาครับ เขาเรียกว่า อัตตานุทิฏฐิ หรืออัตตาอุปทาน

อัตตา คือ ธรรม
อัตตา คือ เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
อัตตา คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
อัตตา คือ อายตนะนิพพาน (ธรรมกาย)

ไม่มีอัตตาใน 3 ภพ มีแต่ อัตตานุทิฏฐิ หรืออัตตาอุปทาน เท่านั้น
พระพุทธเจ้าเรียก อัตตานุทิฏฐิ หรืออัตตาอุปทาน ว่า อนัตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 08:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


หลังจากอ่านเรื่องจิตดวงเดียวกับสีในน้ำนั้นของสมเด็จพระสังฆราช
แล้วมาอ่านปฏิจจสมุปบาทที่ทั่นข้างบนไล่ตามตำรา
เอามาพิจารณาดูว่าน่าจะเป็นวิญญาณในปฏิจจสมุปบาทเพราะสังขารทำให้เกิดวิญญาณ(สังขารในที่นี้คือ ๑การทำบุญ ๒ การทำบาป ๓ อรูปฌาน๔) วิญญาณคือเป็นจุติจิต
ส่วนสีในน้ำนั้น ไม่เข้าใจว่าท่านหมายถ฿งอะไร เพราะผมเข้าใจว่าเป็นกรรมดีกรรมชั่วที่ส่งผลให้เกิดชาติใหม่ในรูปอะไร

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 81 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร