วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 16:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มี.ค. 2010, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิก ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก หมายถึง "ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕"
คำว่าธรรมที่ประกอบกับจิต แท้จริงแล้ว ก็คือบรรดา ความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคม นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ ที่ได้รับจาก บิดามารดา (ปู่,ย่า,ตาทวด,ยายทวด ฯลฯ) และยังหมายรวมไปถึงการที่ร่างกายปรุงแต่งความรู้ ความเข้าใจต่างๆ ก่อให้เกิด อารมณ์ ความรู้สึก นานับ ประการ อันนี้ท่านทั้งหลายคงรู้กันดีว่า มีอารมณ์ ความรู้สึกอย่างไรบ้าง ดังนั้น ธรรมที่ประกอบกับจิต จึงหมายถึง ความรู้ในด้านต่างๆ รวมไปถึงการได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรมจารีตประเพณี และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ฯ สิ่งที่ได้กล่าวไปจะถูกจดจำ เก็บไว้ เป็นข้อมูลภายในร่างกาย ก่อให้เกิด อุปนิสัย ความต้องการ ความชอบ ความไม่ชอบ รัก เกลียด โลภ โกรธ หลง และความรู้ ความเข้าใจอันเรียกว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต นี้ ย่อมเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอวัยวะต่างๆภายในร่างกายของบุคคลนั้นๆ เพราะ จิต ก็คือ อวัยวะต่างๆของร่างกาย และรวมไปถึง ระบบการทำงานร่วมกันของอวัยวะต่างๆอีกด้วย ท่านทั้งหลายหากท่านสามารถระลึกได้ คือมีสติ ท่านก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และทึ่ง ในหลักพระอภิธรรมปิฎก ที่สามารถเข้ากันได้และเป็นแบบเดียวกันกับหลักวิทยาศาสตร์ ชีวะวิทยา สรีระร่างกายของมนุษย์ เพียงแต่ศัพท์ภาษาที่ใช้แตกต่างกันเท่านั้น
เมื่อท่านทั้งหลายรู้แล้วว่า เจตสิก คือ ความรู้ ความเข้าใจ ในด้านต่างๆ รวมไปถึง การได้รับการขัดเกลาทางสังคม วัฒนธรรมจารีตประเพณี และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ นับตั้งแต่กรรมพันธุ์ เป็นต้นมา แต่คงมีหลายๆท่านที่ยังไม่เข้าใจในคำว่า ธรรมที่ประกอบกับจิต คงคิดว่า เป็นหลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาเท่านั้น ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว ความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมฯลฯ ล้วนเป็นข้อปลีกย่อยของหลักธรรมะ ไม่ว่าท่านทั้งหลาย จะประกอบกิจกรรม หรือดำเนินชีวิต ในรูปแบบใด ก็ล้วนเป็นข้อปลีกย่อยของหลักธรรมะทั้งสิ้น เหตุก็เพราะ "ธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติของการดำเนินชีวิตในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต"
ธรรมะ ทั้งหลายที่มีในทางศาสนา ก็คือ หลักการ หรือวิธีการ หรือแม่แบบแห่งสภาพสภาวะจิตใจ พฤติกรรม การกระทำ ทั้งทางกาย (วาจา) และใจ แต่ธรรมดาในธรรมชาติของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) ล้วนย่อมมีพฤติกรรม และการกระทำ รวมไปถึงสภาพสภาวะจิตใจ ทั้งในทางที่ค่านิยมของสังคมเรียกว่า ดี และทั้งในทางที่ค่านิยมของสังคมเรียกว่า ไม่ดี
พฤติกรรม การกระทำ และสภาพสภาวะจิตใจ เหล่านั้น ล้วนย่อมเป็นผลจากความรู้ ความเข้าใจ การได้รับการขัดเกลาทางสังคมด้านต่างๆ จึงทำให้เกิดเป็นสิ่งที่หลักพระอภิธรรมเรียกว่า "เจตสิก" นั่นเอง


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 83 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร