วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 16:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 เม.ย. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




lordbuddha.jpg
lordbuddha.jpg [ 126.09 KiB | เปิดดู 8164 ครั้ง ]
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุปกรณ์


จิตตฐิติกถา

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๖๖๔๓ - ๖๗๗๙. หน้าที่ ๒๗๔ - ๒๘๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php ... agebreak=0

:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 เม.ย. 2010, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาคร๊าบ นักขุด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ค. 2010, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

อนุโมทนาด้วยค่ะ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณที่นำพระอภิธรรมปิฏกมาลงให้อ่านครับ :b8:

ขออนุญาตนำเนื้อความที่ผมเคยตั้งกระทู้เอาไว้ (31668.เรื่อง ความตั้งอยู่ของจิต) มาลงเสริมความเข้าใจในประเด็นนี้ครับ กันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ ดังนี้

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
พระอภิธรรมข้างบนมีความซับซ้อนซ่อนอยู่ภายใน ดังนั้นจึงขออธิบายเพิ่ม
เติมรวมทั้งยกคำของอรรถกถาจารย์มาอธิบายเพิ่มเติมด้วยเช่นกันดังนี้
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>


ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สกวาที คือใคร ทำหน้าที่อะไร, ปรวาที คือใคร ทำหน้าที่อะไร ดังนี้

สกวาที : ผู้ถาม, ผู้ทำหน้าที่ปรับความเห็นผิด
ปรวาที : ผู้ตอบ, ผู้ที่ถูกปรับความเห็นผิด (ผู้ที่มีความเห็นของลัทธิอื่นนอกพุทธศาสนาปะปนอยู่)

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ต่อไปเป็นคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ (พระพุทธโฆษาจารย์)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งจิต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการตั้งอยู่แห่งจิต. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่ง
ชนเหล่าใดว่า จิตดวง ๑ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เพราะ
เห็นจิตแห่งสมาบัติ และภวังคจิตอันเป็นไปติดต่อกันโดยลำดับ ดุจลัทธิ
นิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง
เพื่อชำระลัทธินั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้
แม้ตลอดวันหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่.

ในปัญหาว่า กึ่งวันเป็นขณะเกิด นี้ ท่านทำคำถามด้วย
สามารถแห่งความเกิดและความดับโดยนัยเทศนาว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
โดยไม่ถือเอาขณะตั้งอยู่แห่งจิต.

ถูกสกวาทีถามว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่า
จิตหรือ ปรวาทีนั้นเมื่อไม่เห็นธรรมทั้งหลายเกิดดับเร็วกว่าจิต จึง
ตอบปฏิเสธ ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านปรารถนาความตั้งอยู่อันเป็นเวลา
นานแห่งจิตใด โดยหมายเอาจิตนั้น จึงตอบรับรอง.

ในปัญหาทั้งหลายว่า จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ
หรือ ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธโดยเว้นอรูป และย่อมตอบ
รับรองผู้ที่เกิดในอรูปด้วยสามารถแห่งพระบาลีว่า เทวดาทั้งหลาย
เหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัปป์ เป็นต้น ดังนี้.

ในปัญหาว่า จิตย่อมเกิดขึ้นครู่หนึ่ง. เป็นของปรวาที
สกวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตรว่า สังขารทั้งหลายมี
ความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นต้น แต่
ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาความตั้งอยู่แห่งจิตด้วยสามารถแห่งลัทธิของ
ตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา จบ

ที่มา : เล่ม ๘๐ อรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก กถาวัตถุปกรณ์ จากพระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2010, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


545 จิตเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด

ปัญหา อะไรเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียวที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย....”

บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๔๙)
ตบ. ๒๐ : ๑๑ ตท. ๒๐ : -
ตอ. G.S. ๑ : ๗-๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 06:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณศิรัสพล เขียน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สกวาที คือใคร ทำหน้าที่อะไร, ปรวาที คือใคร ทำหน้าที่อะไร ดังนี้

สกวาที : ผู้ถาม, ผู้ทำหน้าที่ปรับความเห็นผิด
ปรวาที : ผู้ตอบ, ผู้ที่ถูกปรับความเห็นผิด (ผู้ที่มีความเห็นของลัทธิอื่นนอกพุทธศาสนาปะปนอยู่)

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ต่อไปเป็นคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ (พระพุทธโฆษาจารย์)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งจิต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการตั้งอยู่แห่งจิต. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่ง
ชนเหล่าใดว่า จิตดวง ๑ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เพราะ
เห็นจิตแห่งสมาบัติ และภวังคจิตอันเป็นไปติดต่อกันโดยลำดับ ดุจลัทธิ
นิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง
เพื่อชำระลัทธินั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้
แม้ตลอดวันหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่.

ในปัญหาว่า กึ่งวันเป็นขณะเกิด นี้ ท่านทำคำถามด้วย
สามารถแห่งความเกิดและความดับโดยนัยเทศนาว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
โดยไม่ถือเอาขณะตั้งอยู่แห่งจิต.

ถูกสกวาทีถามว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่า
จิตหรือ ปรวาทีนั้นเมื่อไม่เห็นธรรมทั้งหลายเกิดดับเร็วกว่าจิต จึง
ตอบปฏิเสธ ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านปรารถนาความตั้งอยู่อันเป็นเวลา
นานแห่งจิตใด โดยหมายเอาจิตนั้น จึงตอบรับรอง.

ในปัญหาทั้งหลายว่า จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ
หรือ ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธโดยเว้นอรูป และย่อมตอบ
รับรองผู้ที่เกิดในอรูปด้วยสามารถแห่งพระบาลีว่า เทวดาทั้งหลาย
เหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัปป์ เป็นต้น ดังนี้.

ในปัญหาว่า จิตย่อมเกิดขึ้นครู่หนึ่ง. เป็นของปรวาที
สกวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตรว่า สังขารทั้งหลายมี
ความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นต้น แต่
ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาความตั้งอยู่แห่งจิตด้วยสามารถแห่งลัทธิของ
ตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา จบ

ที่มา : เล่ม ๘๐ อรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก กถาวัตถุปกรณ์ จากพระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน


สาธุครับ คุณศิรัสพล ที่นำอรรถกถามาศึกษาให้เข้าใจเพิ่มขึ้น



545 จิตเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุด (จากพระสูตร)
http://84000.org/true/545.html

ปัญหา อะไรเป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วที่สุด ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียวที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย....”

บาลีแห่งเอกธรรม เอก. อํ. (๔๙)
ตบ. ๒๐ : ๑๑ ตท. ๒๐ : -
ตอ. G.S. ๑ : ๗-๘
------------------------------------------------------------------------

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๐๓ - ๒๐๙. หน้าที่ ๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=42

------------------------------------------------------------------------



อายุของจิตและรูป จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

http://abhidhamonline.org/aphi/p4/005.htm

อนึ่งจิต ๑๗ ขณะ เท่ากับอายุของรูปธรรมรูป ๑ มีความหมายว่า จิตเกิดดับ ไป ๑๗ หน รูปจึงดับไปหนหนึ่ง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า รูปแต่ละรูปมีอายุเท่ากับ จิตเกิดดับไป ๑๗ ดวง หรือ ๑๗ ขณะ หรือ ๑๗ หน ดังนั้นรูปแต่ละรูปจึงมีอายุ เท่ากับ ๕๑ อนุขณะ หรือ ๕๑ ขณะเล็ก เป็น อุปาทขณะ คือขณะที่รูปเกิดขึ้น ๑ อนุขณะ, เป็นฐีติขณะ คือขณะที่รูปตั้งอยู่ ๔๙ อนุขณะ และเป็นภังคขณะ คือขณะที่รูปดับไป ๑ อนุขณะ

จากคู่มือการศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะ

“ วิถีจิต “ หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๖ และตามทวารทั้ง ๖ เรียกว่า วิถีจิตหนึ่ง

นามธรรมคือจิต – เจตสิก ที่เกิดขึ้นก่อนๆ นั้น ย่อมเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนให้จิต - เจตสิกที่เกิดขึ้นภายหลังให้เกิดสืบต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีระหว่างคั่นและเกิดขึ้นโดยลำดับ เป็นแถวเป็นแนว เมื่อจิตดวงก่อนเกิดขึ้นแล้วดับไป ก็ยังมีอำนาจช่วยอุดหนุนให้จิตดวงหลังเกิดขึ้นแทน สืบต่อกันอยู่เช่นนี้ตลอดไปไม่มีเวลาว่างเว้นเลย จนกว่าจิตนั้นจะได้ทำหน้าที่เป็นจุติจิตของพระอรหันต์จึงจะไม่มีอำนาจอุดหนุนให้จิตดวงอื่นๆ เกิดสืบต่อไปอีกได้
ฉะนั้น การเกิดขึ้นของจิตจึงมีสภาพคล้ายกับจะเป็นแถวเป็นแนว หรือ เป็นกระแสสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย เป็นอยู่อย่างนี้มาหลายต่อหลายภพหลายชาติ จิตที่เกิดขึ้นสืบต่อกันเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นกระแสนี้

----------------------------------------------------------------------------------

อรรกถาได้อธิบายไว้ว่า ชั่วลัดมือเดียวจิตเกิดดับแสนโกฏิขณะ



จากหนังสือ อภิธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่ ศ.ดร. ระวี ภาวิไล

๓๓.๔ ตามหลักวิชาอภิธรรมนั้น รูปารมณ์มีอายุเท่ากับ ๑๗ ขณะจิต ในช่วงเวลาหนึ่งลัดนิ้วมือ ( ซึ่งเป็นหน่วยวัดเวลาในอดีต สมัยอรรถกถา เทียบเท่ากับ ๑/๔ วินาที) จิตเกิดดับได้แสนโกฏิดวง

จากนี้คำนวณได้ว่า รูปารมณ์มีอายุเพียง ๑๗ *๑/๔ *๑๐ ยกกำลัง – 12 วินาที หรือ เศษ ๔.๒๕ ส่วนล้านล้านวินาที ( ๔.๒๕/๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ วินาที) ซึ่งนับว่าสั้นมาก ข้อนี้หมายความว่า ถ้ารูปารมณ์ คือสีเหลือของมะม่วงและสีขาวของจาน สีทั้งสองจะต้องปรากฏขึ้นและดับไป สลับกันอยู่ประมาณ ๒๓๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้งต่อวินาที ซึ่งเราไม่ได้เห็นการเกิดดับนั้น เราเห็นแต่ลูกมะม่วงและจาน ซึ่งคงอยู่โดยไม่เปลี่ยนแปร ดังนั้น สิ่งที่เราเห็น หรือคิดว่าเห็น ก็ไม่ใช่รูปารมณ์ แต่เป็นบัญญัติอันถูกจิตปรุงแต่งขึ้น โดยอาศัยรูปารมณ์

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิดว่าเราเห็น ในโลกรอบตัว ก็เป็นบัญญัติธรรมโดยนัยเดียวกันนี้

เพื่อให้หลักการที่กล่าวถึงข้างบนชัดเจน ผู้ศึกษาควรพิจารณาจากประสบการณ์จริง ๆ โดยจะเพ่งพิจารณาสิ่งใดก็ได้ ที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า

๓๓.๕ หลักการทางอภิธรรมอีกประการหนึ่ง ซึ่งควรนำเข้ามาประกอบการพิจารณาวิเคราะห์เรื่องนี้ก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางจักขุทวาร จะต้องเป็นรูปารมณ์ หรือรูปายตนะเท่านั้น บัญญัติธรรมนั้นไม่ปรากฏทางจักขุทวาร แต่จะเป็นอารมณ์ทางมโนทวาร

ดังนั้นที่ว่าเรา เห็น มะม่วง ซึ่งมีรูปร่างสัณฐานเป็นก้อน เป็นลูกมีสาระนั้น แท้จริงต้องไม่ใช่การ “เห็น” แต่เป็น ความคิด ที่สืบเนื่องต่อจากการเห็นที่แท้จริง ดังนั้น ความมีรูปร่างสัณฐาน ฯลฯ รวมทั้งความเป็น มะม่วง ก็เป็นบัญญัติธรรมที่วิถีจิตทางมโนทวารปรุงแต่งขึ้น

และโดยนัยอันเดียวกันนี้ เราก็อนุมานได้ว่า โลกและชีวิตดังที่ปรากฏเป็นสรรพสิ่งหลากหลาย แผ่กระจายในกาลอวกาศ มีรูปร่างสัณฐานนานัปการ ล้วนเป็นบัญญัติธรรม อันวิถีจิตเนรมิตสร้างสรรค์ขึ้นโดยอาศัยเริ่มต้นจากรูปปรมัตถ์ที่ปรากฏทางทวาร ๕ กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่ต้องกาย แต่โลกแห่งบัญญัติธรรมนี้เอง ที่มีอำนาจครอบงำคุมขัง พันธนาการบุคคลไว้ ทั้งที่มันเป็นเพียงมายาการอันสูญเปล่า จากแก่นสารใด ๆ ทั้งสิ้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สกวาที : ผู้ถาม, ผู้ทำหน้าที่ปรับความเห็นผิด
ปรวาที : ผู้ตอบ, ผู้ที่ถูกปรับความเห็นผิด (ผู้ที่มีความเห็นของลัทธิอื่นนอกพุทธศาสนาปะปนอยู่)


หากอ่านพระอภิธรรม โดยขาดความรู้พื้นฐาน อาจจะเข้าใจผิดเช่น พวก ปรวาทีได้

เช่นกัน กับแนวทางการปฏิบัติบางแนว ที่อาศัยสมถะ แต่ไม่ทันที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนาเลย

กลับเห็น จิต หรือ รูป นาม เป็นของเที่ยง

เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระอรหันต์ เห็นแดนพระนิพพาน

แล้วยึดถือนิมิตนั้น เป็นอาการของจิตที่เข้าถึงสภาพนิพพาน ที่ ๆ จิต เกิดเป็นอมตะ มหานิรัดร์กาล

แนวปฏิบัติแบบนี้ มักอ้างว่าค้นพบโดย อาจารย์ในรุ่นหลัง เช่น วิชามโนมยิทธิ วิชาธรรมกาย เป็นต้น

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 07:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
เช่นกัน กับแนวทางการปฏิบัติบางแนว ที่อาศัยสมถะ แต่ไม่ทันที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนาเลย

กลับเห็น จิต หรือ รูป นาม เป็นของเที่ยง

เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระอรหันต์ เห็นแดนพระนิพพาน

แล้วยึดถือนิมิตนั้น เป็นอาการของจิตที่เข้าถึงสภาพนิพพาน ที่ ๆ จิต เกิดเป็นอมตะ มหานิรัดร์กาล

แนวปฏิบัติแบบนี้ มักอ้างว่าค้นพบโดย อาจารย์ในรุ่นหลัง เช่น วิชามโนมยิทธิ วิชาธรรมกาย เป็นต้น


หุ..หุ..หุ..เหลิมกะลังกล่าวหาว่า..วิชามโนมยิทธิ วิชาธรรมกาย ..สอนว่า..รูปนามเป็นของเที่ยง

ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ไปศึกษาให้ดีก่อนเลยนิ..ว่าเขาสอนอย่างนั้นหรือเปล่า :b32: :b32:

คิดเอง..มั่วเอง :b12:

เหลิมกลับไปอ่านปฏิจจสมุปบาท..ใหม่ไป..
จิตอวิชชา..ไปจนถึง..รูปนาม..(ขันธ์5)..มันอันเดียวกันหรือเปล่า :b28:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 07:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ลองศึกษาคำสอนหลวงปู่มั่น..หน่อยซิ
เหลิมจะว่าหลวงปู่สอนผิด..ไหม??

http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1123.php
..............................
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)
มุตโตทัย
โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
การปฏิบัติเป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคตเมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) ไป แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐาน ในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย
เพราะฉะนั้น เมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติธรรมถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจ กำจัดเหล่ากะปอมก่า คือ อุปกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย
ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
ปุริสทัมมสารถิ สัตถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควา สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัด พระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สัตถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กัลยาโณ กิตติสัทโท อัพภุคคโต เสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจาตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้
แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกันปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรมสั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้วและทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทโท โหติ คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจาตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในกาลก่อนทั้งหลาย ฯลฯ

มูลการของสังสารวัฏฏ์
ฐีติภูตํ อวิชชาปัจจยา สังขารา อุปาทานัง ภโว ชาติ คนเราทุกรูปทุกนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้นกล่าวคือ มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติ ปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชชาปัจจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไร? ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่พวกเราก็ยังมีบิดามารดา อวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเอง เป็นพ่อแม่ของอวิชชา
ฐีติภูตํ ได้แก่จิตดั่งเดิม เมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจาก ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยอวิชชา จึงไม่รู้เท่าอาการทั้งหลาย แต่เมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงนี่พิจารณาด้วย วุฏฐานคามินีวิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํเป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่ามูลตันไตร
เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏให้ขาดสูญจึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชา รู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงก็จะหายหลงแล้วไม่ก่อการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏด้วยประการฉะนี้


อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคผลนิพพาน

อคคํ ฐานํ มนุสเสสุ มัคคํ สัตตวิสุทธิยา ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ฐานะอันเลิศนั้นเป็นทางดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ อธิบายว่าเราได้รับมรดกมาแล้วจาก นโม คือ บิดา มารดา กล่าวคือ ตัวของเรานี้แลอันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นชาติสูงสุดเป็นผู้เลิศ ตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีคือ มีกายสมบัติ วจีสมบัติ และมโนสมบัติบริบูรณ์จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก คือ ทรัพย์สินเงินทองอย่างไรก็ได้ จะสร้างสมเอาสมบัติภายในคือมรรค ผล นิพพาน ธรรมวิเศษ ก็ได้
พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติแก่มนุษย์เรานี้เอง มิได้ทรงบัญญัติแก่ช้างม้าโคกระบือ ฯลฯ ที่ไหนเลย มนุษย์นี้เองจะเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนมีบุญวาสนาน้อย เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้ว ทำให้ยิ่งได้ สมด้วยเทศนา

................................................................


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 26 มิ.ย. 2010, 07:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


[url]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=29&A=2600&w=จิตดวงเดียว[/url]


Quote Tipitaka:
จิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปด
หมื่นสี่พันกัป แม้เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง
ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลกนี้ดับ
แล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกัน ดับไปแล้ว มิได้สืบ
เนื่องกัน ขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใด
แตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่ดับ
ไปในปัจจุบันกับขันธ์เหล่านั้น มิได้มีในลักษณะ สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคต
ขันธ์ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่ง
จิตนี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายแปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไป
ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสายเพราะ
อายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่
กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ เหมือน
เมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น ก็ความแตกแห่ง
ธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น
ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ มิได้เจือปนกับขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อม
ตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ
ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ.
ชื่อว่า ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้.

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

หุ..หุ..หุ..เหลิมกะลังกล่าวหาว่า..วิชามโนมยิทธิ วิชาธรรมกาย ..สอนว่า..รูปนามเป็นของเที่ยง

ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ไปศึกษาให้ดีก่อนเลยนิ..ว่าเขาสอนอย่างนั้นหรือเปล่า :b32: :b32:

คิดเอง..มั่วเอง :b12:

เหลิมกลับไปอ่านปฏิจจสมุปบาท..ใหม่ไป..
จิตอวิชชา..ไปจนถึง..รูปนาม..(ขันธ์5)..มันอันเดียวกันหรือเปล่า :b28:



แสดงว่ากบน้อยอ่านเข้าใจ ไม่ธรรมดาๆ :b8: :b35: :b35: :b35:

ไอ้เหลิมมันโง่ อวดงั่ง อีกต่างหาก แหมทำเป็นมาคุยแยกนามรูป ขำว่ะ :b32: :b32: :b32:


หากอาจารย์เอ็งเก่งนัก ก็ปรับอายตนะไปดูสิว่า อดีตคน ช่วงก่อนไปเป็นสัตว์นรกอเวจีกันกี่ตัว แม้เหลิมก็ต้องไปเหมือนกัน ก่อนตายเหลิมจะฟุ้งซ่านมาก คิดว่าเดาเล่นละกันนะ :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 05:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติม ชราสูตร ที่คุณ mes อ้างถึง เพราะมีคำว่า จิตดวงเดียว


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑
ขุททกนิกาย มหานิทเทส


ชราสุตตนิทเทสที่ ๖
[๑๘๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชีวิตนี้น้อยหนอ มนุษย์ย่อมตายภายในร้อยปี แม้หากว่ามนุษย์ใดย่อม
เป็นอยู่เกินไป มนุษย์ผู้นั้นย่อมตายเพราะชราโดยแท้แล.
ว่าด้วยชีวิตเป็นของน้อย
[๑๘๒] คำว่า ชีวิตนี้น้อยหนอ มีความว่า ศัพท์ว่า ชีวิต ได้แก่อายุ ความตั้งอยู่
ความดำเนินไป ความให้อัตภาพดำเนินไป ความเป็นไป ความหมุนไป ความเลี้ยง ความเป็น
อยู่ ชีวิตินทรีย์ อนึ่ง ชีวิตน้อย คือชีวิตนิดเดียวโดยเหตุ ๒ ประการ คือ ชีวิตน้อยเพราะ
ตั้งอยู่น้อย ๑ ชีวิตน้อยเพราะมีกิจน้อย ๑.
ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างไร? ชีวิตเป็นอยู่แล้วในขณะจิตเป็นอดีต ย่อมไม่เป็น
อยู่ จักไม่เป็นอยู่. ชีวิตจักเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นอนาคต ย่อมไม่เป็นอยู่ ไม่เป็นอยู่แล้ว. ชีวิต
ย่อมเป็นอยู่ในขณะจิตเป็นปัจจุบัน ไม่เป็นอยู่แล้ว จักไม่เป็นอยู่.
สมจริงดังพระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชีวิต อัตภาพ สุขและทุกข์ทั้งมวล เป็นธรรมประกอบกันเสมอด้วย
จิตดวงเดียว ขณะย่อมเป็นไปพลัน เทวดาเหล่าใดย่อมตั้งอยู่ตลอดแปด
หมื่นสี่พันกัป แม้เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่เป็นผู้ประกอบด้วยจิตสองดวง
ดำรงอยู่เลย ขันธ์เหล่าใดของสัตว์ที่ตายหรือของสัตว์ที่เป็นอยู่ในโลกนี้ดับ
แล้ว ขันธ์เหล่านั้นทั้งปวงเทียว เป็นเช่นเดียวกัน ดับไปแล้ว มิได้สืบ
เนื่องกัน ขันธ์เหล่าใดแตกไปแล้วในอดีตเป็นลำดับ และขันธ์เหล่าใด
แตกไปแล้วในอนาคตเป็นลำดับ ความแปลกกันแห่งขันธ์ทั้งหลาย ที่ดับ
ไปในปัจจุบันกับขันธ์เหล่านั้น มิได้มีในลักษณะ สัตว์ไม่เกิดด้วยอนาคต
ขันธ์ย่อมเป็นอยู่ด้วยปัจจุบันขันธ์ สัตว์โลกตายแล้วเพราะความแตกแห่ง
จิตนี้เป็นบัญญัติทางปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายแปรไปโดยฉันทะ ย่อมเป็นไป
ดุจน้ำไหลไปตามที่ลุ่ม ฉะนั้น ย่อมเป็นไปตามวาระอันไม่ขาดสายเพราะ
อายตนะ ๖ เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว มิได้ถึงความตั้งอยู่
กองขันธ์มิได้มีในอนาคต ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่ เหมือน
เมล็ดพันธุ์ผักกาดตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม ฉะนั้น ก็ความแตกแห่ง
ธรรมขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วนั้น สกัดอยู่ข้างหน้าแห่งสัตว์เหล่านั้น
ขันธ์ทั้งหลายมีความทำลายเป็นปกติ มิได้เจือปนกับขันธ์ที่เกิดก่อน ย่อม
ตั้งอยู่ ขันธ์ทั้งหลายมาโดยไม่ปรากฏ แตกแล้วก็ไปสู่ที่ไม่ปรากฏ
ย่อมเกิดขึ้นและเสื่อมไป เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศ.
ชื่อว่า ชีวิตน้อยเพราะตั้งอยู่น้อยอย่างนี้.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๒๕๘๖ - ๓๐๘๓. หน้าที่ ๑๐๙ - ๑๓๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=181

บัดนี้ เพื่อจะแสดงโดยปรมัตถ์ พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวคำว่า ขนฺธานํ เภโท เป็นต้น.
ก็โดยปรมัตถ์ ขันธ์เท่านั้นแตก ชื่อว่าสัตว์ไม่มีใครตาย แต่เมื่อขันธ์แตก สัตว์ย่อมตาย จึงมีโวหารว่า เมื่อขันธ์ทั้งหลายแตกแล้ว สัตว์ตายแล้ว และในที่นี้ ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายย่อมมีด้วยสามารถแห่งจตุโวการะและปัญจโวการะ การทอดทิ้งร่างกาย ย่อมมีด้วยสามารถแห่งเอกโวการะ.
อีกอย่างหนึ่ง ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยสามารถแห่งจตุโวการะเท่านั้น พึงทราบความทอดทิ้งร่างกาย ด้วยสามารถแห่งโวการะทั้งสองที่เหลือ. เพราะเหตุไร? เพราะเกิดร่างกายกล่าวคือรูปกายในกรรมภพทั้งสอง.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้น ย่อมแตกไปเลย ไม่ทอดทิ้งอะไรๆ ไว้ ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลายจึงมีด้วยสามารถแห่งขันธ์เหล่านั้น มนุษย์เป็นต้นมีการทอดทิ้งร่างกาย ก็ในที่นี้ท่านกล่าวมรณะว่า การทอดทิ้งร่างกาย เพราะเหตุแห่งการทอดทิ้งร่างกาย ชื่อว่ามรณะย่อมมีแก่ร่างกายที่เนื่องด้วยอินทรีย์เท่านั้น ด้วยบทว่า ชีวิตินฺทริยสฺส อุปจฺเฉโท นี้ ร่างกายที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ ย่อมไม่มีมรณะ พระสารีบุตรเถระแสดงดังนี้.
ส่วนคำว่า นายบุษตาย นายดิษตาย เป็นเพียงโวหารเท่านั้น แต่โดยเนื้อความคำทั้งหลายเห็นปานนี้ ย่อมแสดงถึงความสิ้นไปและความเสื่อมไปของข้าวกล้าเป็นต้นนั่นเอง.


----------------------------------------------------------


พระอภิธัมมัตถสังคหะ
ปริจเฉทที่ ๘ ปัจจยสังคหวิภาค
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/056.htm

อปรันตภวจักร์ ที่กล่าวว่าได้แก่ปฏิจจสมุปปาท ๕ องค์นั้น ก็ทำนองเดียวกัน คือมุ่งหมายแสดงเฉพาะองค์ที่ปรากฏออกหน้า ซึ่งในขณะที่ ๕ องค์ คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ และชรามรณะ นี้หมุนวนอยู่นั้น อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา อีก ๗ องค์นี้ก็หมุนตามไปด้วย

เมื่อพิจารณาองค์ปฏิจจสมุปปาทตามนัยแห่ง บุพพันตภวจักร์ และ อปรันต ภวจักร์ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็จะเห็นได้ว่า

ก. อวิชชา สังขาร และตัณหา อุปาทาน กัมมภพ ที่เกิดมีปรากฏขึ้นในภพ ก่อนนั้น สงเคราะห์เป็น บุพพันตภวจักร์

ข. ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ และ อวิชชา สังขาร ที่เกิดมีปรากฏอยู่ในภพนี้ นั้น สงเคราะห์เป็นอปรันตภวจักร์

ค. วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา และ ชาติ ชรามรณะ อัน ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายตั้งแต่เริ่มเกิดจนกระทั่งตายในภพนี้นั้น สงเคราะห์เป็น บุพพันต ภวจักร์

ง. ชาติ ชรามรณะ และวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ที่จะเกิด ปรากฏขึ้นใหม่ในภพข้างหน้า อันได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่จะเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ต่อไปข้างหน้านั้น สงเคราะห์เป็น อปรันตภวจักร์

ทั้งนี้ก็มีความหมายว่า เป็นการหมุนวนเกิดขึ้นสืบเนื่องกันระหว่างภพก่อนกับ ภพนี้ และภพนี้กับภพหน้า อันเป็นการหมุนวนอยู่ในวัฏฏสงสาร วัฏฏทุกข์นั่นเอง

เท่าที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็พอจะทำให้เห็นได้แล้วว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน สังสารวัฏฏ ไม่ใช่เป็นการเกิดขึ้นของสัตว์บุคคลใด แต่เป็นการเกิดขึ้นติดต่อกัน ของขันธ์ ธาตุ อายตนะ อันได้แก่ ปฏิจจสมุปปาทธรรมนั่นเอง ในอัฏฐสาลินี อรรถกถา แสดงไว้ว่า “การเกิดขึ้นและเป็นไปโดยติดต่อกันอย่างไม่ขาดสายแห่ง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เหล่านี้แหละ เรียกว่า สังสาระ”

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ mes ครับ จากชราสูตร ที่กล่าวถึงจิตดวงเดียวนั้น หมายถึง การเกิดดับของจิต ที่อาศัยเหตุปัจจัย เกิดดับสืบเนื่องอยู่ตลอดเวลา

หากยกขึ้นมาลอย ๆ อาจจะเข้าใจผิดได้ว่า มีจิตดวงเดียว ตลอดภพชาติ ไม่มีการดับ เหมือนที่พวก ปรวาที ที่มีความเข้าใจผิด เป็นสัสสตทิฏฐิ

จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไปเกิดในภพต่าง ๆ ได้ตามกรรม

เช่น พระสาติ ที่มีความเข้าใจเช่นนี้ จนถูกพระพุทธเจ้าตำหนิ

ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเปลื้องสาติภิกษุจากทิฏฐิ
[๔๔๑] เมื่อภิกษุเหล่านั้น ไม่อาจปลดเปลื้องสาติภิกษุ ผู้เกวัฏฏบุตรจากทิฏฐินั้นได้
จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายอภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ สาติภิกษุมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มี
พระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ครั้งนั้น พวก
ข้าพระองค์เข้าไปหาสาติภิกษุแล้วถามว่า ดูกรท่านสาติ ได้ยินว่า ท่านมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้
เกิดขึ้นว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่อง-
*เที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ? เมื่อพวกข้าพระองค์ถามอย่างนี้ สาติภิกษุได้บอกพวก
ข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า
วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป มิใช่อื่น



เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๘๐๔๒ - ๘๕๐๖. หน้าที่ ๓๓๐ - ๓๔๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=440
--------------------------------------------------------


อีกครั้งครับ กับ จิตตฐิติกถา

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๖๗๐๘ - ๖๗๗๙. หน้าที่ ๒๗๗ - ๒๘๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

อรรถกถา

สกวาที : ผู้ถาม, ผู้ทำหน้าที่ปรับความเห็นผิด
ปรวาที : ผู้ตอบ, ผู้ที่ถูกปรับความเห็นผิด (ผู้ที่มีความเห็นของลัทธิอื่นนอกพุทธศาสนาปะปนอยู่)

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
ต่อไปเป็นคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ (พระพุทธโฆษาจารย์)
>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งจิต

บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการตั้งอยู่แห่งจิต. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่ง
ชนเหล่าใดว่า จิตดวง ๑ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เพราะ
เห็นจิตแห่งสมาบัติ และภวังคจิตอันเป็นไปติดต่อกันโดยลำดับ ดุจลัทธิ
นิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง
เพื่อชำระลัทธินั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้
แม้ตลอดวันหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่.

ในปัญหาว่า กึ่งวันเป็นขณะเกิด นี้ ท่านทำคำถามด้วย
สามารถแห่งความเกิดและความดับโดยนัยเทศนาว่า สังขารทั้งหลาย
ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
โดยไม่ถือเอาขณะตั้งอยู่แห่งจิต.

ถูกสกวาทีถามว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่า
จิตหรือ ปรวาทีนั้นเมื่อไม่เห็นธรรมทั้งหลายเกิดดับเร็วกว่าจิต จึง
ตอบปฏิเสธ ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านปรารถนาความตั้งอยู่อันเป็นเวลา
นานแห่งจิตใด โดยหมายเอาจิตนั้น จึงตอบรับรอง.

ในปัญหาทั้งหลายว่า จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ
หรือ ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธโดยเว้นอรูป และย่อมตอบ
รับรองผู้ที่เกิดในอรูปด้วยสามารถแห่งพระบาลีว่า เทวดาทั้งหลาย
เหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัปป์ เป็นต้น ดังนี้.

ในปัญหาว่า จิตย่อมเกิดขึ้นครู่หนึ่ง. เป็นของปรวาที
สกวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตรว่า สังขารทั้งหลายมี
ความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นต้น แต่
ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาความตั้งอยู่แห่งจิตด้วยสามารถแห่งลัทธิของ
ตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา จบ


อ้างคำพูด:
คุณหลับอยู่ เขียน
หากอาจารย์เอ็งเก่งนัก ก็ปรับอายตนะไปดูสิว่า อดีตคน ช่วงก่อนไปเป็นสัตว์นรกอเวจีกันกี่ตัว แม้เหลิมก็ต้องไปเหมือนกัน ก่อนตายเหลิมจะฟุ้งซ่านมาก คิดว่าเดาเล่นละกันนะ


คุณหลับอยู่ ครับ ฝากพิจารณาคำสอนของอาจารย์ ที่นั่งสมาธิแล้วมาบอกว่า เห็นนรก สวรรค์ แดนนิพพาน , เห็นคน ๆ นั้น ไปเกิดในนรกอเวจี หรือ ไปเกิดบนชั้นดาวดึงส์ ด้วยวิธีที่ค้นพบใหม่ อย่าง มโนมยิทธิ+ธรรมกาย

ทิฏฐิเหล่านั้น อาจไม่ต่างจาก พระสาติ ที่เป็น สัสสตทิฏฐิ ก็ได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณกบ ฯ เขียน
ลองศึกษาคำสอนหลวงปู่มั่น..หน่อยซิ
เหลิมจะว่าหลวงปู่สอนผิด..ไหม??

http://thai.mindcyber.com/buddha/why2/1123.php

ฐีติภูตํ อวิชชาปัจจยา สังขารา อุปาทานัง ภโว ชาติ คนเราทุกรูปทุกนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้นกล่าวคือ มีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติ ปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชชาปัจจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไร? ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่พวกเราก็ยังมีบิดามารดา อวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเอง เป็นพ่อแม่ของอวิชชา
ฐีติภูตํ ได้แก่จิตดั่งเดิม เมื่อ ฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจาก ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยอวิชชา จึงไม่รู้เท่าอาการทั้งหลาย แต่เมื่อ ฐีติภูตํ กอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงนี่พิจารณาด้วย วุฏฐานคามินีวิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํเป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่ามูลตันไตร
เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏให้ขาดสูญจึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชา รู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริงก็จะหายหลงแล้วไม่ก่อการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏด้วยประการฉะนี้

..............................

คุณกบครับ หลวงปู่ ท่านอธิบายตามหลักธรรม ปัจจยาการ , ปฏิจจสมุปบาท ตามหลักอภิธรรม ครับ

ศึกษาเพิ่มเติมใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๗ เทวมูลานิ
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/055.htm

มูล คือ ที่ตั้งหรือต้นเหตุแห่งวัฏฏ ซึ่งทำให้หมุนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์ อัน ได้แก่ ภพทั้ง ๓ (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) นั้นไม่มีที่สิ้นสุด มูลนี้มี ๒ ได้แก่ อวิชชา และตัณหา

อวิชชา คือ ความไม่รู้ เป็น อดีตมูล เป็นที่ตั้งหรือเป็นเค้ามูลให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ จึงถึงเวทนา

ตัณหา คือ ความทะยานอยาก เป็น ปัจจุบันมูล เป็นที่ตั้ง หรือเป็นเค้ามูล ให้เกิด อุปาทาน กัมมภพ ชาติ จนถึง ชรามรณะ


ภวจักร์
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/056.htm

ภวจักร์ เขียนแบบบาลีเป็น ภวจกฺก แปลว่าหมุนวนไปในภพต่าง ๆ ซึ่งเป็น ความหมายเดียวกับ ปฏิจจสมุปปาท ที่ว่าวนเวียนในสังสารวัฏฏ

ปฏิจจสมุปปาทธรรมนี้ เมื่อกล่าวตามนัยที่เรียกว่า ภวจักร์ ก็จำแนกได้เป็น ๒ คือ

๑. ปุพฺพนฺตภวจกฺก เป็นภวจักร์แรก นับแต่อดีตเหตุ จนถึงปัจจุบันผล ซึ่ง ได้แก่ ปฏิจจสมุปปาท ๗ องค์ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา ใน ๗ องค์นี้ อวิชชาเป็นต้นเหตุหรือเป็นที่ตั้งนำให้ถึงเวทนา

๒. อปรนฺตภวจกฺก เป็นภวจักร์หลัง นับแต่ปัจจุบันเหตุถึงอนาคตผล ซึ่ง ได้แก่ ปฏิจจสมุปปาท ๕ องค์ คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ และชรามรณะ ใน ๕ องค์นี้ ตัณหา เป็นต้นเหตุ หรือเป็นที่ตั้ง นำให้ถึง ชรามรณะ

บุพพันตภวจักร์ ที่กล่าวว่าได้แก่ปฏิจจสมุปปาท ๗ องค์นั้น หมายเฉพาะ องค์ที่ปรากฏออกหน้า ซึ่งในขณะที่ ๗ องค์ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา นี้หมุนวนอยู่นั้น ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ อีก ๕ องค์ ห็หมุนตามไปด้วยเหมือนกัน

อปรันตภวจักร์ ที่กล่าวว่าได้แก่ปฏิจจสมุปปาท ๕ องค์นั้น ก็ทำนองเดียวกัน คือมุ่งหมายแสดงเฉพาะองค์ที่ปรากฏออกหน้า ซึ่งในขณะที่ ๕ องค์ คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ และชรามรณะ นี้หมุนวนอยู่นั้น อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา อีก ๗ องค์นี้ก็หมุนตามไปด้วย


อนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านศึกษาพระอภิธรรม จนสามารถที่จะบรรยาย ปรมัตถ์ธรรมได้ดังนี้

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... _12_01.htm

หวังว่าคุณกบ คงจะไม่ไปกล่าวตู่คำสอนหลวงปู่ ในแบบสัสสตทิฏฐิ ที่มีจิตดวงเดียวท่องเที่ยวไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ นะครับ

ส่วน คุณหลับอยู่ ที่ไปอ้างว่า คำบอกเล่าสืบทอดกันมา ในเรื่อง พระพุทธเจ้าเสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น เพื่อจะยืนยันทิฏฐิของอาจารย์ ในเรื่อง แดนพระนิพพาน, มโนมยิทธิ+ธรรมกาย ฝากใช้หลักกาลามสูตรพิจารณาการกล่าวอ้าง นั้นด้วย อย่าพึ่งเชื่อ เพราะเข้ากับลัทธิของตน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 06:11, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
กระทู้ 32449.ออกจากภพนี้ไปสู่บุรีคือนิพพานอันอุดม... ในพระไตรปิฏก โดยคุณหลับอยู่
viewtopic.php?f=2&t=32449&st=0&sk=t&sd=a

ประวัติหลวงปู่มั่น ตอนที35พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น

--------------------------------------------------------------------------------

พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จมาอนุโมทนา



บทธรรมบรรยาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... _12_01.htm

๓. อนุปาทาปรินิพาน

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงอนุปาทาปรินิพพานของพระอริยสาวก ผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ แก่อุปสีวมาณพ โดยหลีกเลี่ยงสัสสตวาทะและอุจเฉทวาทะทั้งสองเสีย จึงตรัสพระคาถาว่า

อจฺจิ ยถา วาตเวเคน ขิตฺตา อตฺถํ ปเลติ น อุเปติ สงฺขํ เอวํ มุนี นามกายา วิมุตฺโต อตถํ ปเลติ น อุเปติ สงขํ

แปลว่า เปลวเพลิงอันกำลังลมพัดดับไปย่อมนับไม่ได้ว่าไปไหนฉันใด ท่านผู้เป็นมุนี พ้นพิเศษแล้วจากนามกาย ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ นับไม่ได้ ว่าไปไหนฉันนั้น

วาตา อันว่าลมทั้งหลาย โดยปริยายในนิเทศ ว่าลมมาทิศบูรพา ปัจฉิม อุดร ทักษิณ ลมมีธุลี ลมไม่มีธุลี ลมเย็น ลมร้อน ลมกล้า ลมเวรัมภา พัดมา แต่พื้นดินขึ้นไปได้โยชน์หนึ่ง ลมปีกสัตว์ ปีกครุฑ ลมใบตาล ลมเปลวเพลิง อันกำลังลมเหล่านั้นพัดแล้วเปลวเพลิงย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมดังสงบรำงับไป ย่อมไม่ถึงซึ่งอันนั้น ย่อมไม่ถึงซึ่งโวหาร ว่าเปลวเพลิงไปแล้วยังทิศโน้นๆ ดังนี้ฉันใด บุคคลผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติเป็นเสขมุนีนั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากรูปกายในกาลก่อนเป็นปกติ ให้มรรคที่ ๔ เกิดขึ้นในสมาบัตินั้น เป็นผู้พ้นวิเศษแล้วจากนามกายอีก เพราะความที่พ้นจากนามกาย อันท่านได้กำหนดรู้แล้ว เป็นอุปโตภาควิมุตติ พ้นวิเศษแล้วจากส่วนสองด้วย ส่วนสองเป็นขีณาสวะอรหันตร์ ถึงซึ่งอันไม่ตั้งอยู่คืออนุปาทาปรินิพพาน แล้วตรัสพระคาถาต่อไปว่า

อตฺถงฺตสฺส น ปมาณมตฺถิ เยน นํ วชฺชุ ตํ ตสฺส นตฺถิ สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ

แปลว่า สิ่งสภาวะเป็นประมาณของพระขีณาสพอัสดงคตดับแล้วย่อมไม่มี บุคคลทั้งหลายจะพึงกล่าวว่าท่านนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นของท่านก็ไม่มีธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระขีณาสพถอนขึ้นพร้อมแล้ว แม้ทางวาทะทั้งปวงที่บุคคลจะพึงกล่าวพระขีณาสพท่านก็ตัดขึ้นพร้อมแล้ว

สิ่งสภาวะอันเป็นธรรมนั้น ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว ท่านเผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร และวัฏฏะ ท่านถอนขึ้นเสียแล้ว ตัดเสียขาดแล้ว มีอันไม่บังเกิดต่อไป เป็นธรรมดา วาทะ อันเป็นคลองเป็นทางที่จะกล่าวด้วยกิเลสและขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเพิกถอน สละละวางเสียสิ้นทุกประการแล้ว ด้วยประการฉะนี้ฯ

--------------------------------------

ระหว่างการอ้างสืบต่อ ๆ กันมา ของคุณหลับอยู่ เพื่อสนับสนุน วิชามโนมยิทธิ + ธรรมกาย ที่เป็นอัตตโนมติ

กับ บทธรรมบรรยาย

ผมเชื่อใน บทธรรมบรรยาย เพราะสอดคล้องกับ นิพพาน ในความหมาย พระไตรปิฏก อรรถกถา ของเถรวาท ดังนี้ครับ

http://larndham.org/index.php?showtopic=24144&st=1

๒. อนุปาทิเสสนิพพาน

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายความว่า นิพพานที่ไม่มีขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูปเหลืออยู่ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ที่ปรินิพพานแล้ว ดังแสดงวจนัตถะว่า
นตฺถิ อุปาทิเสโส ยสฺสาติ = อนุปาทิเสโส
แปลความว่า ขันธ์ ๕ คือ วิบากและกัมมชรูปที่เหลือไม่มีแก่นิพพานใด ฉะนั้น นิพพานนั้นชื่อว่า อนุปาทิเสส
ในปรมัตถทีปนีฏีกาแสดงว่า
จุติ อนนฺตเร ขนฺธานํ อนุปฺปาโท อนุปาทิเสส นาม ฯ แปลความว่า สภาพที่ไม่เกิดซึ่งขันธ์หลังการดับของพระอรหันต์นั้นชื่อว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
การแสดงนิพพานมี ๒ ประเภท ที่แสดงโดยการณูปจารนัย คือโดยปริยายแห่งเหตุนี้ หมายความว่า วิบากและกัมมชรูปที่ยังเหลืออยู่ และไม่มีเหลืออยู่ ทั้ง ๒ ประเภทนี้ เป็นเหตุให้รู้ถึงสภาวะของพระนิพพาน ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงแสดงพระนิพพาน มี ๒ ประเภท ตามเหตุดังกล่าวแล้วนั้น เป็นการแสดงโดยปริยาย
อีกประการหนึ่ง สอุปาทิเสสนิพพาน จะเรียกว่า ทิฏฐธัมมนิพพาน ก็ได้ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายผู้เข้าไปรู้แจ้งพระนิพพานนั้นยังมีชีวิตอยู่
ส่วน อนุปาทิเสสนิพพาน จะเรียกว่า สัมปรายิกนิพพาน ก็ได้ เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อเข้าถึงปรินิพพานแล้ว ภพหน้าต่อไปก็ไม่มี จึงเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร