วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2010, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

คุณกบครับ หลวงปู่ ท่านอธิบายตามหลักธรรม ปัจจยาการ , ปฏิจจสมุปบาท ตามหลักอภิธรรม ครับ

ศึกษาเพิ่มเติมใน

ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๗ เทวมูลานิ
http://abhidhamonline.org/aphi/p8/055.htm


อนึ่ง หลวงปู่มั่น ท่านศึกษาพระอภิธรรม จนสามารถที่จะบรรยาย ปรมัตถ์ธรรมได้ดังนี้

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... _12_01.htm

หวังว่าคุณกบ คงจะไม่ไปกล่าวตู่คำสอนหลวงปู่ ในแบบสัสสตทิฏฐิ ที่มีจิตดวงเดียวท่องเที่ยวไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ นะครับ



พวกที่ 1
เป็นพวกที่คิดว่า..มีดวงจิต..หรือดวงวิญญาณ..ล่องลอย..ตุ๊บป่อง ๆ..ไปเกิด..นี้..เป็นการเข้าใจผิดมาก..ต้องถูกอบรมอีกเยอะ

พวกที่2
เป็นพวกที่เข้าใจว่า..จิตมีแต่เกิด..แล้วก็ดับ..ไม่มีอะไรเลย..จริง ๆ แล้วแม้แต่จิตก็ไม่มี...พวกนี้ยังต้องถูกอบรมต่ออีกนิดหน่อย..แต่อาจจะยากกว่าพวกที่1..อีก :b12:

แล้วอันที่ถูกละ..ต้องเป็นอย่างไร??

ไหน..คนเก่ง บอกมาซิ..ที่ถูกนั้นเป็นอย่างไร

บอกได้คำเดียวว่า..หากยังคิดว่า..ความคิดข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง..ถูกต้องแล้ว..

คุณเหลิมไม่มีทางเข้าใจ..ธรรมะที่หลวงปู่มั่นฝากใว้..ได้ถูกต้องเลย

จะเข้าใจได้..ทำได้ง่าย ๆ นิดเดียว..คือ..วางความคิดทั้ง 2 พวกข้างต้นนั้นเสียก่อน..แล้ว..คิดตามคำสอน..ตรง ๆ ..อย่างมั่วแต่คิดไปเทียบเคียง..ธรรมข้อนั้น..ข้อนี้..อัตตา..อนัตตา..นั้น..วางใว้ก่อน..

พิจารณาลงไปตรง ๆ ..ทำได้หรือเปล่า??

เท่าที่พบมา..พวกที่เรียนมามาก..รู้มามาก..จนคิดว่าตัวเองเก่งแล้วนี้..สัญญามันเยอะ..มันวางไม่ค่อยลงหรอก :b12:

เมื่อวางไม่ลง..ก็ขาดโอกาสที่จะรู้ตามความเป็นจริง..

คุณเหลิมเชื่อไม๊ว่า..เมื่อเข้าใจธรรมที่หลวงปู่มั่น..สอนเรื่อง..ฐีติภูตํ ได้แก่จิตดั่งเดิม ..แล้วนี้..คุณจะไม่มีปัณหากับพวกที่คิดแบบ.. ..พวกที่1 หรือ พวกที่ 2 ..เลย

เพราะอะไรรู้ไหม??..เพราะคุณจะรู้ว่า..เด็กประถม..เด็กมัธยม..ต่อไปมันก็จบปริญญาได้..งั้ย :b12: :b12:


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 30 มิ.ย. 2010, 21:43, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


viewtopic.php?f=66&t=31382

พระพุทธศาสนาจำกัดความคำว่า จิต ไปในทางธาตุรู้หรือธาตุคิด ที่มีกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปตามองค์ประกอบหรือคุณภาพต่าง ๆ ที่เรียกว่า เจตสิก กระบวนการนี้เกิดดับไปตามแต่ที่จิตจะเหนี่ยวสิ่งใดขึ้นมาจับไว้ จิตจึงเป็นความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ ส่วนใหญ่ใช้คู่กับคำว่า ใจ แต่คำว่าใจเมื่อประสมกับคำอื่นมักจะบ่งถึงสภาพความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่าจะเป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดดับ ตัวอย่างเช่น เสียใจ บ่งสภาพความเศร้าโศก ดีใจบ่งสภาพความดียินดี ในที่นี้คำว่าใจจึงบอกถึงสภาพของสิ่งหนึ่ง ที่เป็นศูนย์กลางของความรู้สึกมากกว่าจะเป็นกระบวนการของความคิด เหมือนอย่างคำว่า จิต

(ประพจน์ อัศววิรุฬหการ และ สุวรรณา สถาอานันท์, “จิตใจ” ใน คำ : ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย : 2537 หน้า 313)


ตามหลักการทางพระพุทธศาสนา จิตเป็นจุดเริ่มต้น เป็นจุดรวม และเป็นจุดสูงสุด คือ จิตที่หลุดพ้นแล้วของพระอริยะ ดังปรากฏในพระธรรมบทว่า



มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า

มโนเสฏฐา มโนมยา มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

มนสา จ ปทุฏเฐน ถ้าบุคคลมีใจชั่วแล้ว

ภาสติ วา กโรติ วา พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมชั่ว)

ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมตามบุคคลนั้นไป

จกฺกํ ว วหโต ปทํ ดุจล้อหมุนตามรอยเท้าแห่งโคที่นำแอกไปอยู่ฉะนั้น

มนสา จ ปสนฺเนน ถ้าบุคคลมีใจดีแล้ว

ภาสติ วา กโรติ วา พูดอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม (ย่อมดี)

ตโต นํ สุขมเนฺวติ เพราะความดีนั้น สุขย่อมตามบุคคลนั้นไป

ฉายาว อนุปายินี ดุจเงาติดตามตนฉะนั้น


(ขุ. ธรรมบท 25 / 15)


ลักษณะสภาวะการเกิดของจิตมี 4 อย่าง (บุญมี เมธางกูร และ วรรณสิทธิ์ ไวทยะเสวี 2530 : 28) คือ

วิชชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ

ปุพฺพงฺคมรสํ มีการเกิดก่อนและเป็นประธานในธรรมทั้งปวง หรือทำให้ดวงหนึ่งต่อดวงหนึ่งเกิดติดต่อกันเป็นกิจ

สนฺธานปจฺจุปฏฺฐานํ มีการเห็น การได้ยิน ฯลฯ สืบต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เป็นความปรากฏของจิต

นามรูปปทฏฺฐานํ มีนามและรูป เป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น



จิตเป็นปรมัตถธรรมประเภทหนึ่ง มีสามัญลักษณะของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสภาวะรู้อารมณ์อย่างเดียว เช่น การนึกคิดถึงบ้านเรือน ต้นไม้ ก็รู้เฉพาะบ้านเรือนอย่างเดียวแล้วดับไป จึงมารู้ต้นไม้ใหม่ เป็นต้น จิตนี้แม้จะเป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างตัวตน เพียงแต่แสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่มีอำนาจพิเศษ หรือเรียกว่า ความวิจิตร ซึ่งทำให้เกิดความเป็นไป 6 อย่าง (พระครูสังวรสมาธิวัตร 2521 : 12-15) คือ



1. วิจิตรด้วยการกระทำ หมายความว่า วัตถุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ประดิษฐ์กรรมอันวิจิตรตระการตามีภาพลวดลายต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องยนต์กลไกทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นศิลปวิทยาที่เกิดขึ้นด้วยจิตของนายช่างทั้งสิ้น

2. วิจิตรด้วยตนเอง หมายถึง จิตทำจิตเอง ให้เป็นกุศลบ้าง เพราะปราศจากโลภ โกรธ หลง เป็นบาปอกุศลบ้าง เพราะประกอบด้วย โลภ โกรธ หลง หรือเป็นผลของบุญผลของบาป ที่เรียกว่า วิบากบ้าง หรือเป็นจิตของพระอรหันต์ที่เรียกว่ากิริยาจิตบ้าง ยิ่งกว่านั้นยังแบ่งบุคคลให้ต่างด้วยเพศ ต่างด้วยสัญญา และต่างด้วยคติอีกด้วย

3. สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เองหาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่เรียกว่า ขันธสันดาน

4. รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส

5. สั่งสมสันดานของตนเอง หมายความว่า จิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับลง เป็นปัจจัยให้จิตอีกดวงหนึ่งเกิดขึ้นติดต่อกันไม่ขาดสาย เป็นสันตติสืบเนื่องกันไป ลงสู่ภวังค์แล้วเกิดขึ้นใหม่อีก

6. มีการวิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง ๆ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรู้อารมณ์ต่าง ๆ จิตขณะที่รู้อารมณ์นี้ จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วิญญาณ เช่น จิตทางตารู้รูปารมณ์ (เห็นสี) ก็จะเรียกว่า จักขุวิญญาณ หรือจิตทางหู รู้สัททารมณ์ (ได้ยินเสียง) จิตทางจมูก รู้คันธารมณ์ 12 (รู้กลิ่น) จิตทางลิ้น รู้รสารมณ์ (รู้รส) จิตทางกาย รู้โผฏฐัพพารมณ์ (เครื่องกระทบ เย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง) จิตทางมโนรู้ธรรมารมณ์ (รู้เรื่องราวต่าง ๆ มีปสาทรูป 5 สุขุมรูป 16 จิต เจตสิก นิพพาน บัญญัติ)



อ้างคำพูด:
คุณกบเขียน
ไหน..คนเก่ง บอกมาซิ..ที่ถูกนั้นเป็นอย่างไร

บอกได้คำเดียวว่า..หากยังคิดว่า..ความคิดข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง..ถูกต้องแล้ว..


ท่านผู้รู้ ได้สรุปไว้ข้างต้นแล้ว ผมว่า คำสอนเช่นนี้แหละ ที่จะป้องกัน สัสสตทิฏฐิ ว่า มีจิตดวงเดิมล่องลอยไปเกิดได้ตามกรรม หรือ อุจเฉททิฏฐิ ที่เชื่อว่า เมื่อตายแล้ว จุติจิตดับ ก็ไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธิจิต ปุถุชนตายแล้วก็ขาดสูญกันไป

นิพพาน เถรวาท
http://larndham.org/index.php?showtopic=24144&st=1
พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ความปรารถนานิพพาน ที่จัดว่าเป็นวิภวตัณหาได้นั้น คือผู้ที่ไม่เข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของนิพพานดีพอ เมื่อได้ยินว่านิพพานนั้นไม่มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แต่ประการใด มีแต่ความสุข เพราะเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เช่นนี้แล้วก็เกิดความอยากได้นิพพาน เพราะต้องการความสุขกาย สุขใจ ที่ไม่เกี่ยวกับโลก และไม่ต้องการความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่คิดไม่ถึงว่าสภาพความไม่เกิดของนิพพานนั้นคืออะไร (ธรรมดาความสุขกาย สุขใจ จะเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ที่อยู่ในภูมิต่างๆนั้นไม่มี) ฉะนั้น ความปรารถนานิพพานของบุคคลจำพวกนี้ จึงจัดเป็นวิภวตัณหา



ส่วน แนวคิด ในเรื่อง วิภวตัณหา ที่กล่าวอ้างสืบต่อ ๆ กันมาว่า พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ เสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่ เพื่อยืนยันทิฏฐิในเรื่อง แดนพระนิพพาน, วิชามโนมยิทธิ+ธรรมกายแนวใหม่ ที่คุณหลับอยู่นำมาอ้างบ่อย ๆ

ผมไม่เชื่อตามง่าย ๆ หรอกครับ เพราะสำนักนี้ ทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ทิฏฐิตนเองถูกต้อง

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 06:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับอัตตโนมติของอาจารย์คุณ mes ผู้ที่ปฏิเสธพระไตรปิฏก เถรวาท ได้แสดงแนวคิดเรื่องการเกิดดับของจิต ในหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ว่า

เหตุที่ทำให้อธิบายผิด
ทีนี้เหตุที่ทำให้อธิบายผิด อย่างที่เรียกว่าไม่ใช่ในทางร้าย ไม่ใช่มีใครแกล้งเป็นหนอนบ่อนไส้ แต่เป็นไปในทางที่มันผิดเองเพราะโง่ไม่รู้ มันก็มีอย่างที่ว่ามาแล้วว่าเพราะไม่เข้าใจในภาษาธรรม ; เข้าใจแต่ภาษาคน ; ภาวะที่เคยเข้าใจในภาษาธรรมมันก็เลือนหายไปหมด จนเหลือแต่ภาษาคน. ทีนี้ก็อธิบายกันไปตามภาษาคน มันก็เป็นสัสสตทิฏฐิขึ้นมา. เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำความเข้าใจในภาษาคนและภาษาธรรมกันในส่วนที่สำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง คือคำว่า “ คน” กับคำว่า “ นามรูป” .
ถ้าเราเรียกกันตามภาษาชาวบ้านหรือภาษาคนก็เรียกตัวเรานี่ว่า “คน” ; ถ้าเรียกในภาษาธรรมเราไม่เรียกว่า “ คน “ แต่เราเรียกว่า “ นามรูป “ คือกายกับใจ. ทีนี้จะเรียกว่าคนหรือจะเรียกว่านามรูปก็ตามใจเถิด มันยังมีปัญหาอยู่ที่ว่ามันมีการเกิดดับเท่าไหร ? อย่างไร ? คนหรือนามรูปนี่แหละมันมีการเกิดดับอยู่อย่างไร ?
ถ้าถามอย่างนี้คำตอบมีถึง ๓ ชั้น ลึกซึ้งกันอยู่ถึง ๓ ชั้น คือ : --
(๑). นามรูปเกิดดับ เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิตนี้ จัดเป็นชั้นที่ไม่มีใครรู้ หรือไม่มีใครอยากรู้ และไม่จำเป็นจะต้องรู้ ว่านามรูปกายใจของเราเกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต . นี้เป็นภาษาอภิธรรมเกินความต้องการ ; เพราะจิตนั้นมันมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามระยะของสิ่งที่เรียกว่า ภวังคจิต : แล้วก็ยังเร็วยิ่งกว่ากระพริบตาเสียอีก ; ฉะนั้น ตามความหมายนี้เขาถือว่า “ นาม -- รูป “ หรือว่าคน ๆ หนึ่งนี้เกิดดับ ๆ ๆ ๆ อยู่ทุกขณะจิต นับไม่ทัน : เราไม่มีปากที่จะนับมันทันเพราะว่าขณะจิตมันเร็วกว่าปากจะนับทัน.
นามรูปหรือคนนี้เกิดดับอยู่ทุกขณะจิต นี้ความหมายหนึ่ง. มันเทียบกับ frequency ของ ไดนาโม ไฟฟ้านั้น ; รอบหนึ่งก็คือไฟฟ้าออกมาทีหนึ่ง รอบหนึ่งไฟฟ้าก็ออกมาทีหนึ่ง ทีนี้มันนาทีหนึ่งละพันกว่ารอบมันก็เลยดูไม่ทัน แต่มันก็อาจติดกันเป็นดวงแดงโร่ที่หลอดไฟไม่มีกระพริบที่หลอดอย่างนี้ . ทีนี้จิตก็เหมือนกัน : มันถี่ยิบขนาดนั้นจนเราไม่รู้สึกว่าเราเกิดดับ ๆ ๆ เราต้องอาศัยการศึกษาเรื่องทางจิตชนิดนั้น จึงจะรู้ว่านามรูปหรือคนนี้มันเกิดดับ ๆ อย่างถี่ยิบอยู่ทุกขณะจิต หรือเร็วยิ่งกว่า frequency ของกระแสไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ทุก ๆ วันนี้เสียอีก. นี้มันเป็น เรื่องเกิดดับ ๆ อีกชนิดหนึ่งไม่เกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้หมายถึงการเกิดดับชนิดนี้.
การเกิดดับทุกขณะจิตนี้มันเป็นกลไกทางจิตล้วน ๆ เป็นความรู้ส่วนเกิน ประเภทอภิธรรมเฟ้อโดยไม่ต้องเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. และคำว่า “เกิด” ในกรณีอย่างนี้ เขาไม่ใช้คำว่า “ชาติ” แต่เขาไปใช้คำอื่นว่า อุปาทะ มี “อุปาทะ” : อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ, อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ , อุปาทะ – ฐิติ – ภังคะ ฯลฯ อย่างนี้เรื่อยไป. อุปาทะ = เกิด, ฐิติ = ตั้งอยู่ , ภังคะ = ดับไป. ใช้คำว่า อุปาทะ, มิได้ใช้คำว่าชาติ ; แต่ก็แปลว่า “เกิด” เหมือนกัน. เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ -- ดับไป ๆ ถี่ยิบนับไม่ทัน นั่นแหละนามรูปหรือคนเราเกิดดับอยู่อย่างนั้นชนิดหนึ่ง
(๒) อีกชนิดหนึ่ง. นามรูปเกิดดับเหมือนคนธรรมดาสามัญรู้ คือว่า พอเกิดจากท้องแม่ก็เรียกว่าเกิดออกมา; พอตายเข้าโลงก็เรียกว่าดับ. ตั้งอยู่ ๘๐ ปีบ้าง ถึง ๑๐๐ ปี ก็มี. ตามธรรมดานี้ชั่ว ๘๐ ปี ๑๐๐ ปี นี้มีเกิดหนเดียวมีดับหนเดียว . นี้เกิดดับแค่คำพูด ๒ คำนี้เท่านั้นเอง. พูดว่า “เกิด” ขึ้นมาคำหนึ่งแล้วทิ้งระยะไว้นานถึง ๘๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี จึงพูดว่า “ ดับ “ นามรูปหรือคนเกิดหรือดับทำนองนี้ กินเวลาตั้ง ๘๐ ปีหรือ ๑๐๐ ปี นี้อย่างหนึ่ง เป็นคำพูดในภาษาคน. ส่วนภาษาอภิธรรมเฟ้อนั้นเกินถี่ยิบจนนับไม่ทัน . คนเกิดดับ ๆ ถี่ยิบจนนับไม่ทัน. ทีนี้เกิด -- ดับอย่างภาษาโลกนี้มันเกินเวลาตั้ง ๘๐ ปี ๑๐๐ ปี ทนนับไม่ค่อยไหว . นับว่า “เกิด” ครั้งหนึ่ง แล้วรอไปอีก ๑๐๐ ปี จึงจะนับว่า “ดับ” . ภาษาอภิธรรมเฟ้อฝ่ายโน้นมันก็เกินไป ภาษาคนฝ่ายนี้มันก็เกินไป.
(๓) ทีนี้มันยังมีตรงกลาง คือที่เป็นภาษาปฏิจจสมุปบาทที่กำลังกล่าวถึงนี้. ความเกิดดับของภาษาปฏิจจสมุปบาทก็คือเกิดขึ้นแห่งเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็เกิดตัณหา แล้วก็อุปาทาน แล้วก็มี
ภพ แล้วก็ชาติ . ในหัวใจของคนเราเกิดความรู้สึกเป็น “ตัวกู” ครั้งหนึ่งก็เรียกว่าชาติหนึ่ง ภพหนึ่ง . และมันก็อาจนับได้. ถ้าขยันสังเกตก็จดไว้ วันหนึ่ง ๆ เราอาจจะพบและจดได้เลย ว่าวันนี้เราเกิด “ตัวกู” กี่ครั้ง พรุ่งนี้เกิดกี่ครั้ง มะรืนเกิดกี่ครั้ง ก็คอยจดไว้ได้. นี้ไม่ได้ถี่ยิบจนนับไม่ทันแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าเกิดจากท้องแม่ แล้วก็ดับคืนเข้าโลง. มันเป็นการเกิดดับ, เกิดดับของคนเราหรือนามรูปในลักษณะที่เป็น “ ตัวกู -- ของกู ” ที่ถูกปรุงแต่งด้วยอวิชชาครั้งหนึ่ง ๆ .

-------------------------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณ mes ยกมา
viewtopic.php?f=66&t=32572&st=0&sk=t&sd=a&start=15
คนที่มันคิดว่าเข้าใจคำพูดพระพุทธเจ้าอย่างถ่องแท้นี่ก็น่าเป็นห่วง

ในทางตรรกะ ก็เท่ากับบอกว่าตัวเองนั้นมีปัญญาเสมอพระพุทธเจ้าแล้ว
ถึงเข้าใจพุทธพจน์เสมอพระพุทธเจ้าไม่คลาดเคลื่อน

แถมเหยียดพระเถราจารย์ด้วย ว่าไม่ได้เข้าใจเหมือนตน (ที่เ้ข้าใจพระพุทธเจ้า)

ถือดี อวดดี


จากความเห็นดังกล่าว ผมกลับนึกถึง อาจารย์คุณ mes ทันที ที่อ้างว่า ตนเองเข้าใจพระธรรม ของพระพุทธเจ้า ดีที่สุด จนกล้าคิดแทนพระองค์ วิจารณ์พระไตรปิฏก อรรถกถา เถราจารย์อย่าง พระพุทธโฆษาจารย์ (วิสุทธิมรรค) และ พระอนุรทธาจารย์ (อภิธัมมัตถสังคหะ)

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2010, 07:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

3. สั่งสมกรรมและกิเลส หมายความว่า กรรมหรือการกระทำอันเกิดขึ้นด้วยเจตนาและกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เมื่อทำแล้วสั่งสมไว้ที่จิตนี้เองหาได้สั่งสมไว้ที่อื่นไม่เรียกว่า ขันธสันดาน

4. รักษาไว้ซึ่งวิบากที่กรรมและกิเลสสั่งสมไว้ หมายความว่า จิตนี้ย่อมรักษาผลของการกระทำและผลของกิเลส ซึ่งได้สั่งสมอำนาจไว้มิได้สูญหายไปไหน เกิดขึ้นกับจิตที่เป็นวิบาก เพื่อรับผลของกรรมนั้น ๆ เมื่อมีโอกาส



พวกที่เชื่อ..จิตมีแต่เกิด..แล้วก็ดับ..จริง ๆ แล้วแม้แต่จิตก็ไม่มี...ก็พยายามอธิบาย..เรื่องกรรม..เรื่องวิบาก..ว่า..ส่งผ่านไปสู่อีกจิต..ที่เกิดใหม่..

พูดไปแล้วตัวเองก็ยัง..งง..ๆ ว่า..ข้อมูลเป็น ล้าน ๆ จิก..ส่งผ่านได้ภายใน..1 ในล้าน ๆ วินาทีได้ยังงัย??.. :b10: :b10:

แต่ก็พยายามเชื่อให้ได้..เพราะกลัว..ว่าความเชื่อเท่ ๆ ของตัวเองจะผิด..หรือไม่ก้อ..ไม่รู้จะไปเชื่ออะไรแบบไหนอีก..

น่าสงสาร

ยิ่งพอมาเจอเรื่องหลวงปู่มั่น...พระพุทธเจ้า...มาโมทนากับหลวงปู่..เมื่อแรกหลุดพ้นจากกิเลส...

ก็ยิ่งงง..ไปใหญ่..ครั้นจะไปว่าหลวงปู่ท่านผิด..ก็ไม่ได้อีก..มันก็เลยจุกที่อก..อยู่เงียบ ๆ ..เลือกที่จะไม่โวยวาย..ไปงั้ยแหละ

แต่ก็แปลก..บรรดาสาธุชนที่นับถือหลวงปู่ฤาษี..หลวงปู่สด..กลับไม่งง..ไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกอะไร..ทั้งๆ ที่..มากันคนละสายกับ..หลวงปู่มั่น..หลวงตาบัว..ฯลฯ..นะนี้

อรหันต์..กับ..อรหันต์..ไม่มีอะไรขัดแย้งกันจริง ๆ :b8: :b8:

ส่วน..อะไรหัน..นี้..ยังมีกิจต้องทำต่อไป..อย่าหยุดนะท่าน

:b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 04:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน เถรวาท
http://larndham.org/index.php?showtopic=24144&st=1
พระอภิธัมมัตถสังคหะ

ความปรารถนานิพพาน ที่จัดว่าเป็นวิภวตัณหาได้นั้น คือผู้ที่ไม่เข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของนิพพานดีพอ เมื่อได้ยินว่านิพพานนั้นไม่มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจ แต่ประการใด มีแต่ความสุข เพราะเป็นธรรมที่พ้นจากโลก เช่นนี้แล้วก็เกิดความอยากได้นิพพาน เพราะต้องการความสุขกาย สุขใจ ที่ไม่เกี่ยวกับโลก และไม่ต้องการความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่คิดไม่ถึงว่าสภาพความไม่เกิดของนิพพานนั้นคืออะไร (ธรรมดาความสุขกาย สุขใจ จะเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับการเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม ที่อยู่ในภูมิต่างๆนั้นไม่มี) ฉะนั้น ความปรารถนานิพพานของบุคคลจำพวกนี้ จึงจัดเป็นวิภวตัณหา

บทบรรยายธรรมหลวงปู่มั่น
๓. อนุปาทาปรินิพาน
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... _12_01.htm

อตฺถงฺตสฺส น ปมาณมตฺถิ เยน นํ วชฺชุ ตํ ตสฺส นตฺถิ สพฺเพสุ ธมฺเมสุ สมูหเตสุ สมูหตา วาทปถาปิ สพฺเพ

แปลว่า สิ่งสภาวะเป็นประมาณของพระขีณาสพอัสดงคตดับแล้วย่อมไม่มี บุคคลทั้งหลายจะพึงกล่าวว่าท่านนั้นด้วยกิเลสใด กิเลสนั้นของท่านก็ไม่มีธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น อันพระขีณาสพถอนขึ้นพร้อมแล้ว แม้ทางวาทะทั้งปวงที่บุคคลจะพึงกล่าวพระขีณาสพท่านก็ตัดขึ้นพร้อมแล้ว

สิ่งสภาวะอันเป็นธรรมนั้น ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ย่อมไม่มีแก่ท่าน ท่านละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว ท่านเผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เมื่อขันธ์ อายตนะ ธาตุ คติ อุบัติ ปฏิสนธิ ภพ สังขาร และวัฏฏะ ท่านถอนขึ้นเสียแล้ว ตัดเสียขาดแล้ว มีอันไม่บังเกิดต่อไป เป็นธรรมดา วาทะ อันเป็นคลองเป็นทางที่จะกล่าวด้วยกิเลสและขันธ์ และอภิสังขาร ท่านเพิกถอน สละละวางเสียสิ้นทุกประการแล้ว ด้วยประการฉะนี้ฯ

--------------------------------------
http://larndham.org/index.php?s=e30ad1f ... ntry667986

อรหัตตมรรค เมื่อเกิดขึ้นจะปหาณกิเลสเบื้องสูงให้หมดลงไปคือ

อกุศลมูล ที่ถูกทำลาย มี ๕ ดวง คือ โลภะมูลจิตที่เป็นทิฏฐิคตวิปปยุตที่เหลือ ๔ ดวง และ โมหะมูลจิตที่เป็นอุทธัจจะ ๑ ดวง

อาสวะ ที่ถูกทำลาย คือ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ

สังโยชน์ ที่ถูกทำลายคือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา

เมื่อใดที่บุคคลนั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ขณะนั้นอกุศลมูลทั้ง ๑๒ อาสวะทั้ง ๔ รวมแล้วคือกิเลส ตัณหาต่างๆ ได้ถูกกำจัดไปอย่างหมดสิ้น เป็น ผู้ลอยบาปลอยบุญ หมายความว่า กรรมทั้งที่เป็นบุญ และบาปจะไม่เกิดกับท่านอีกต่อไป ต้นตอของวัฏฏะ คือ อวิชชา ตัณหา ถูกทำลายสิ้น เมื่อกิเลสไม่มี กรรมย่อมไม่เกิด แต่เมื่อยังต้องมีชีวิตอยู่ในชาตินั้นซึ่งเป็นภพชาติสุดท้าย ท่านจึงต้องเสวยวิบาก อันเป็นผลของกรรมเก่าที่ได้กระทำในอดีตชาติที่ผ่านๆ มา แต่เหตุปัจจุบัน คือ ตัณหา อุปาทาน กรรมภพ ที่จะต้องทำให้เกิดอนาคตผลนั้นไม่มีแล้ว ฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านกระทำจึงล้วนเป็นกิริยาทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อเป็นกริยาก็จะไม่มีผลอันเป็นวิบากได้อีกต่อไป ครั้นถึงเวลาที่ท่านต้องดับขันธ์ปรินิพพาน อำนาจที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นอีกจึงไม่มี เพราะถูกถอนรากถอนโคนหมดสิ้นแล้วทั้งตัณหา และอวิชชา ฉะนั้นทันทีที่จุติจิตของพระอรหันต์ดับลง ก็จะไม่มีจิตดวงต่อไปเกิดขึ้นได้อีก

นี่คือ... จุดจบแห่งสังสารวัฏ เป็นกาลอวสานของชีวิต ซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการมีชีวิตอย่างแท้จริง เพราะเป็นการจบสิ้นแล้วซึ่งการเกิดขึ้นของ จิต เจตสิก และกรรมชรูป ที่เคยมีมานับภพนับชาติไม่ถ้วน และเป็นชีวิตของผู้ที่หลุดพ้นแล้วซึ่งกองทุกข์ทั้งปวง

พระอรหันต์ จึงเป็นบุคคลประเภทเดียวที่พบสันติสุข และได้รับอมตสุขอย่างถาวรตลอดนิรันดร์กาล


--------------------------------------------


อ้างคำพูด:
คุณกบ เขียน
พอมาเจอเรื่องหลวงปู่มั่น...พระพุทธเจ้า...มาโมทนากับหลวงปู่..เมื่อแรกหลุดพ้นจากกิเลส...

ก็ยิ่งงง..ไปใหญ่..ครั้นจะไปว่าหลวงปู่ท่านผิด..ก็ไม่ได้อีก..มันก็เลยจุกที่อก..อยู่เงียบ ๆ ..เลือกที่จะไม่โวยวาย..ไปงั้ยแหละ

แต่ก็แปลก..บรรดาสาธุชนที่นับถือหลวงปู่ฤาษี..หลวงปู่สด..กลับไม่งง..ไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกอะไร..ทั้งๆ ที่..มากันคนละสายกับ..หลวงปู่มั่น..หลวงตาบัว..ฯลฯ..นะนี้


ผมไม่งงครับ ผมถือตามหลักการในพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท เมื่อจุติจิตของพระอรหันต์ดับลง จะไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธิจิต รูปขันธ์ ในภพใด ๆ อีกต่อไป

แม้ อัตตโนมติของ อาจารย์ต่าง ๆ ในยุคหลัง ๆ จะอ้างว่า นั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ ตั้งแต่องค์ปฐม ถึง องค์ปัจจุบัน และยังเข้าไปถึงแดนพระนิพพานได้ด้วย

และมีการกล่าวตู่หลวงปู่มั่น ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาอนุโมทนา เพื่อให้เข้ากับ ทิฏฐิของสำนักตน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2010, 04:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


กรณีธรรมกาย
http://members.tripod.com/~b2b2/tmk/

ถ้าหลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน


เมื่อสงสัยคำหรือความใดแม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อทันทีอย่างผูกขาด แต่สามารถตรวจสอบก่อน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้แล้ว ซึ่งสำหรับพวกเราบัดนี้ก็คือการใช้คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก ตรวจสอบแม้แต่คำสั่งสอนในพระไตรปิฎกด้วยกันเอง กล่าวคือ หลักมหาปเทส 4 ได้แก่ ที่อ้างอิงใหญ่ หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียง เริ่มแต่หมวดแรก ที่เป็นชุดใหญ่ ซึ่งแยกเป็น

1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)

นอกจากนั้น ถ้าเป็นปัญหาหรือข้อสงสัยที่จำกัดลงมาในส่วนพระวินัย ก็สามารถใช้หลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม่กล่าวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131)

เมื่อพิจารณากว้างออกไป โดยครอบคลุมถึงคำสอนรุ่นหลังๆ หรือลำดับรองลงมา ท่านก็มีหลักเกณฑ์ที่จะให้ความสำคัญในการวินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑ์วินิจฉัยคำสอนความเชื่อและการปฏิบัติ เป็น 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา 3/352)

1. สุตตะ ได้แก่ พระไตรปิฎก
2. สุตตานุโลม ได้แก่ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาด้วย)
3. อาจริยวาท ได้แก่ อรรถกถา (พ่วงฎีกา อนุฎีกาด้วย)
4. อัตตโนมติ ได้แก่ มติของบุคคลที่นอกจากสามข้อต้น

"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า

" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)

" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)

พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไม่ได้ขึ้นสู่สังคายนาทั้ง 3 ครั้งใหญ่) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญ่ที่จัดเป็นหินยานที่สืบต่อจากภิกษุวัชชีบุตร และต่อมาพัฒนาเป็นมหายาน) ท่านก็จัดเข้าเกณฑ์ไว้แล้วว่า

"...ไม่พึงยึดถือ ควรตั้งอยู่ในอัตตโนมตินั่นแหละ หมาย ความว่า อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสำคัญกว่าสูตรที่นำมาจากนิกายอื่น " (วินย.ฎีกา 2/72)

---------------------------------------------------
อ้างคำพูด:
คุณกบ เขียน
พอมาเจอเรื่องหลวงปู่มั่น...พระพุทธเจ้า...มาโมทนากับหลวงปู่..เมื่อแรกหลุดพ้นจากกิเลส...

ก็ยิ่งงง..ไปใหญ่..ครั้นจะไปว่าหลวงปู่ท่านผิด..ก็ไม่ได้อีก..มันก็เลยจุกที่อก..อยู่เงียบ ๆ ..เลือกที่จะไม่โวยวาย..ไปงั้ยแหละ

แต่ก็แปลก..บรรดาสาธุชนที่นับถือหลวงปู่ฤาษี..หลวงปู่สด..กลับไม่งง..ไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกอะไร..ทั้งๆ ที่..มากันคนละสายกับ..หลวงปู่มั่น..หลวงตาบัว..ฯลฯ..นะนี้


คุณกบครับ บรรดาคนที่ ที่ปักใจเชื่อตาม อัตตโนมติของอาจารย์ ไม่งง ไม่สงสัย ก็ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่า ผู้นั้น จะเกิดสัมมาทิฏฐิ นะครับ

คุณกบครับ บรรดานักปฏิบัติตามวิธีใหม่ ๆ ของอาจารย์ (อัตตโนมติ) ที่นั่งแล้วไปเห็น แดนพระนิพพาน นั้น เห็นแล้วผมงง ครับ งงว่าชักจะเหมือนนิกายอื่น เช่น นิกายมหายาน ที่นับถืออาจารย์เป็นใหญ่ แล้วอาจารย์บางคนอัตตโนมติก็ต่างกันอีก

อัตตโนมติเรื่อง มโนมยิทธิ กับ ธรรมกาย ก็เห็นไม่ตรงกันก็มากอยู่นะครับ เพราะเป็นศิษย์คนละสำนักกัน

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แก้ไขล่าสุดโดย chalermsak เมื่อ 02 ก.ค. 2010, 08:02, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 02:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
--------------------------------------------

อ้างคำพูด:
คุณกบ เขียน
พอมาเจอเรื่องหลวงปู่มั่น...พระพุทธเจ้า...มาโมทนากับหลวงปู่..เมื่อแรกหลุดพ้นจากกิเลส...

ก็ยิ่งงง..ไปใหญ่..ครั้นจะไปว่าหลวงปู่ท่านผิด..ก็ไม่ได้อีก..มันก็เลยจุกที่อก..อยู่เงียบ ๆ ..เลือกที่จะไม่โวยวาย..ไปงั้ยแหละ

แต่ก็แปลก..บรรดาสาธุชนที่นับถือหลวงปู่ฤาษี..หลวงปู่สด..กลับไม่งง..ไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกอะไร..ทั้งๆ ที่..มากันคนละสายกับ..หลวงปู่มั่น..หลวงตาบัว..ฯลฯ..นะนี้


ผมไม่งงครับ ผมถือตามหลักการในพระไตรปิฏก อรรถกถา เถรวาท เมื่อจุติจิตของพระอรหันต์ดับลง จะไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธิจิต รูปขันธ์ ในภพใด ๆ อีกต่อไป


ถูกแล้วครับ..
จุติจิตของพระอรหันต์ดับลง จะไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด ปฏิสนธิจิต รูปขันธ์ ในภพใด ๆ อีกต่อไป

..นิพพานไม่ใช่ภพ...ภพไม่มีในนิพพาน..นิพพานมี..นิพพานไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน..ครับผม :b12:

อ้างคำพูด:
แม้ อัตตโนมติของ อาจารย์ต่าง ๆ ในยุคหลัง ๆ จะอ้างว่า นั่งสมาธิติดต่อพระพุทธเจ้าได้ ตั้งแต่องค์ปฐม ถึง องค์ปัจจุบัน และยังเข้าไปถึงแดนพระนิพพานได้ด้วย

และมีการกล่าวตู่หลวงปู่มั่น ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาอนุโมทนา เพื่อให้เข้ากับ ทิฏฐิของสำนักตน


:b32: :b32: :b32: เหลิมก็ทำได้แค่นี้แหละ..ลงท้ายก็ใส่ร้ายผู้อื่น.. :b32: :b32:
น่าสงสาร :b7: :b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 08:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
อ้างคำพูด:
สกวาที : ผู้ถาม, ผู้ทำหน้าที่ปรับความเห็นผิด
ปรวาที : ผู้ตอบ, ผู้ที่ถูกปรับความเห็นผิด (ผู้ที่มีความเห็นของลัทธิอื่นนอกพุทธศาสนาปะปนอยู่)


หากอ่านพระอภิธรรม โดยขาดความรู้พื้นฐาน อาจจะเข้าใจผิดเช่น พวก ปรวาทีได้

เช่นกัน กับแนวทางการปฏิบัติบางแนว ที่อาศัยสมถะ แต่ไม่ทันที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนาเลย

กลับเห็น จิต หรือ รูป นาม เป็นของเที่ยง

เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระอรหันต์ เห็นแดนพระนิพพาน

แล้วยึดถือนิมิตนั้น เป็นอาการของจิตที่เข้าถึงสภาพนิพพาน ที่ ๆ จิต เกิดเป็นอมตะ มหานิรัดร์กาล

แนวปฏิบัติแบบนี้ มักอ้างว่าค้นพบโดย อาจารย์ในรุ่นหลัง เช่น วิชามโนมยิทธิ วิชาธรรมกาย เป็นต้น


ควายเหลิมเอ๋ย โง่ซ้ำซาก
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 08:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
หวังว่าคุณกบ คงจะไม่ไปกล่าวตู่คำสอนหลวงปู่ ในแบบสัสสตทิฏฐิ ที่มีจิตดวงเดียวท่องเที่ยวไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ นะครับ
ทิฐิเดียรถีย์แบบเหลิมนะสิ ลัทธิเหลิม พัน ติป ลานอธรรมเสวนา :b32: :b32: :b32:
ส่วน คุณหลับอยู่ ที่ไปอ้างว่า คำบอกเล่าสืบทอดกันมา ในเรื่อง พระพุทธเจ้าเสด็จมาอนุโมทนาหลวงปู่มั่น เพื่อจะยืนยันทิฏฐิของอาจารย์ ในเรื่อง แดนพระนิพพาน, มโนมยิทธิ+ธรรมกาย ฝากใช้หลักกาลามสูตรพิจารณาการกล่าวอ้าง นั้นด้วย อย่าพึ่งเชื่อ เพราะเข้ากับลัทธิของตน



เอ็งเอากามสูตรมาใช้ก็ผิดข้อสิบโดย ออโต้แล้ว ไอ้นรกเหลิม
:b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 08:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
อ้างคำพูด:

ยิ่งพอมาเจอเรื่องหลวงปู่มั่น...พระพุทธเจ้า...มาโมทนากับหลวงปู่..เมื่อแรกหลุดพ้นจากกิเลส...

เสด็จมาหาหลวงปู่มั่นก่อนบรรลุด้วย
ก็ยิ่งงง..ไปใหญ่..ครั้นจะไปว่าหลวงปู่ท่านผิด..ก็ไม่ได้อีก..มันก็เลยจุกที่อก..อยู่เงียบ ๆ ..เลือกที่จะไม่โวยวาย..ไปงั้ยแหละ

แต่ก็แปลก..บรรดาสาธุชนที่นับถือหลวงปู่ฤาษี..หลวงปู่สด..กลับไม่งง..ไม่เห็นเป็นเรื่องแปลกอะไร..ทั้งๆ ที่..มากันคนละสายกับ..หลวงปู่มั่น..หลวงตาบัว..ฯลฯ..นะนี้
อ่านพะรไตรปิฏกก็ไม่งงครับคุณกบ พวกเดียสัทธรรมปฏิรูป เอา อัตตาอนัตตา มาใช้เปอะเปื้อนมั่วตั่วไปหมดแล้ว หาได้ใช้สมองแยกแยะไม่ เช่น สังขต ธาตุสังขตธรรม อสังขต ธาตุอสังขตธรรม อมตะธาตุอมตะธรรม สังขาร กับ วิสังขาร
ๆลๆลๆลๆลๆ ๆลๆ
:b23: :b23: :b23:



อรหันต์..กับ..อรหันต์..ไม่มีอะไรขัดแย้งกันจริง ๆ :b8: :b8:

ส่วน..อะไรหัน..นี้..ยังมีกิจต้องทำต่อไป..อย่าหยุดนะท่าน

:b12: :b12:

เหลิมไงครับ ที่แย้ง :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:


ถ้าหลักคำสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยู่ไปได้ถึงลูกหลาน

ถึงสิถึงแบบ มาตราเดียรถีย์ทิฐิวิบัติแบบเหลิมไง :b32:


เมื่อสงสัยคำหรือความใดแม้แต่ในพระไตรปิฎก ก็ไม่จำเป็นต้องเชื่อทันทีอย่างผูกขาด แต่สามารถตรวจสอบก่อน ดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักทั่วไปไว้แล้ว ซึ่งสำหรับพวกเราบัดนี้ก็คือการใช้คำสั่งสอนในพระไตรปิฎก ตรวจสอบแม้แต่คำสั่งสอนในพระไตรปิฎกด้วยกันเอง กล่าวคือ หลักมหาปเทส 4 ได้แก่ ที่อ้างอิงใหญ่ หรือหลักใหญ่สำหรับใช้อ้างเพื่อสอบสวนเทียบเคียง เริ่มแต่หมวดแรก ที่เป็นชุดใหญ่ ซึ่งแยกเป็น

1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจ้าขึ้นอ้าง)
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๕๕๐ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๖ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=33&i=157


2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆ์ทั้งหมู่ขึ้นอ้าง)
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๕๕๐ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๖ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=33&i=157


3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจำนวนมากขึ้นอ้าง)

Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๕๕๐ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๖ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=33&i=157

4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอ้าง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)

Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๕๕๐ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๖ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=33&i=157



"สุตตะ" คือพุทธพจน์ที่มาในพระไตรปิฎกนั้น ท่านถือเป็นมาตรฐานใหญ่ หรือเกณฑ์สูงสุด ดังคำที่ว่า

" แท้จริง สุตตะ เป็นของคืนกลับไม่ได้ มีค่าเท่ากับการกสงฆ์ (ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผู้ทำสังคายนาครั้งที่ 1) เป็นเหมือนครั้งที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังสถิตอยู่" (วินย.อ. 1/272)

" เพราะว่า เมื่อค้านสุตตะ ก็คือ ค้านพระพุทธเจ้า" (วินย.ฎีกา.2/71)
Quote Tipitaka:
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๔๕๕๐ - ๔๘๘๗. หน้าที่ ๑๙๖ - ๒๑๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/att ... b=33&i=157

เหลิมกับ ไงค้าน
คุณกบครับ บรรดาคนที่ ที่ปักใจเชื่อตาม อัตตโนมติของอาจารย์ ไม่งง ไม่สงสัย ก็ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่า ผู้นั้น จะเกิดสัมมาทิฏฐิ นะครับ
เหลิมไง มิจฉาทิฐิ ปฏิเสธ สมถะ ปฏิเสธ ฌาณ ให้คุณmes ทำลิงค์หรือคำเหลิมมาดูกันได้ :b28:

คุณกบครับ บรรดานักปฏิบัติตามวิธีใหม่ ๆ ของอาจารย์ (อัตตโนมติ) ที่นั่งแล้วไปเห็น แดนพระนิพพาน นั้น เห็นแล้วผมงง ครับ งงว่าชักจะเหมือนนิกายอื่น เช่น นิกายมหายาน ที่นับถืออาจารย์เป็นใหญ่ แล้วอาจารย์บางคนอัตตโนมติก็ต่างกันอีก
หรอ เอ จำได้ว่าlส่วนใหญ่ ข้า ลอกมาแต่ เวป 84000
อัตตโนมติเรื่อง มโนมยิทธิ กับ ธรรมกาย ก็เห็นไม่ตรงกันก็มากอยู่นะครับ เพราะเป็นศิษย์คนละสำนักกัน


แต่อัตโนเหลิม เส้นขนานกับ ศาสนาพุทธ ว่ะ :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

ผมไม่เชื่อตามง่าย ๆ หรอกครับ เพราะสำนักนี้ ทำทุกวิถีทาง เพื่อให้ทิฏฐิตนเองถูกต้อง


ข้าไม่ได้ต้องการให้เอ็งเชื่อ เพราะเอ็งมันเดียรถีย์ปริพาชก2012 อ่า...

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 09:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:

:b32: :b32: :b32: เหลิมก็ทำได้แค่นี้แหละ..ลงท้ายก็ใส่ร้ายผู้อื่น.. :b32: :b32:
น่าสงสาร :b7: :b7:


smiley กบน้อยยังจำคำพูดผมที่เราหัวเราะกันได้ไหม คำนั้นคือ เหมือนโดนอะไรลวกเข้าที่ใจ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:
คุณหลับอยู่ ครับ ฝากพิจารณาคำสอนของอาจารย์ ที่นั่งสมาธิแล้วมาบอกว่า เห็นนรก สวรรค์ แดนนิพพาน , เห็นคน ๆ นั้น ไปเกิดในนรกอเวจี หรือ ไปเกิดบนชั้นดาวดึงส์ ด้วยวิธีที่ค้นพบใหม่ อย่าง มโนมยิทธิ+ธรรมกาย
ไม่รับฝากว่ะเหลิม เพราระเอ็งมันปริพาชก อ่า เป็นหมันวาทะ โมฆะวจี


ต่างสิ แต่ต่างจาก โมฆะ บุรุษเดียรถีย์ปริพาชก2012แบบแกไงเหลิม

กร๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ5555555555555555

:b32: :b32: :b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2010, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ท่านหลับอยู่

ผมตัดสินใจคว่ำบาตรเหลิมเดียรถย์ครับ

ไม่ขอร่วมขบวบการนรกแตกแปะพระไตรปิฎกแล้วชี้หน้าด่าผู้อื่นแม้แต่พระเจ้า

ชี้แจงเสร็จในกระทู้เดี่ยวกันมันก็ยกเอาคำด่าโจมตีอีก เวียนเทียนซ้ำซาก

มันไม่สนทนาธรรมหรอกครับ

เจตนามันจ้องจะด่าพระ

ผมไมเออ ไม่ออ กับมันเพื่อให้มันใช้เป็นจุดต่อเชื่อมให้มันด่าพระได้

พูดภาษาคนกับคนอย่างเหลิมมันไม่รู้เรื่องหรอก

แวก็ทำให้ตัวเองตกต่ำด้วย

มันด่าพระพอเราตอบโต้ มันไปก๊อปกระทู้ท่านพระพุทธฎีกามาว่าผู้ทนต่อคำด่าว่าได้ถือว่าประเสรฐ ทั้งที่เริ่มต้นที่มันด่าพระ

ผมเจอคนเลวมาก็มาก

แต่ยังไม่เคยเจอคนที่เลวได้อย่างยับเยินเหมือนเหลิมมัน

ผมจึงไม่ขอร่วมขบวบการนรกแตกกับคนเลวๆอย่างมัน

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร