ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

จิตคืออะไร ?
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=31615
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 11 พ.ค. 2010, 22:25 ]
หัวข้อกระทู้:  จิตคืออะไร ?

เชิญว่ากันไปได้เลยครับทุกท่าน smiley

เจ้าของ:  วิริยะ [ 12 พ.ค. 2010, 13:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

จิต คือ ผู้รู้ หรือ ธาตุรู้
จิต คือ ผู้คิดผู้นึก ผู้ส่ายแส่ ผู้ปรุงแต่ง

ถ้าคิดนึกตาม กิเลสตัณหา เรียกว่า สังขาร
ถ้าคิดนึกตาม ธรรม เรียกว่า ปัญญา

แหะ แหะ..ผิดพลาดขออภัย ความรู้น้อยขอรับ.. :b8:

เจ้าของ:  alef [ 18 พ.ค. 2010, 10:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

(ความคิดเห็นครับ ผิดถูกขอคำชี้แนะ)
จิต เป็นคำเรียก ของ จุดที่ เจตสิกถูกปรุงแต่ง
เป็นจุดที่ ศีล สมาธิ ปัญญา ให้ผลได้

ถ้าในเรื่องกลไกแห่งทุกข์ หรือ ปฏิจจสมุปบาท
เป็นส่วนกลางๆ ที่เราสามารถเข้าไปตัดการปรุง
เพื่อไม่เกิด ผลที่ต่อเนื่องไป ได้

เจ้าของ:  หลับอยุ่ [ 20 พ.ค. 2010, 00:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

push เรียนเชิญอีกครั้งครับทุกท่าน smiley

เจ้าของ:  อินทรีย์5 [ 21 พ.ค. 2010, 19:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

จิต เป็นที่รับรู้และบันทึกอารมณ์ผ่านทางทวารหรืออายตนะทั้ง6
และเป็นที่สำหรับฝึกสมถะ(เพื่อศึกษาขวนขวายจากการฝึกสมาธิ)
และฝึกวิปัสสนา(เพื่อรู้แจ้งด้วยปัญญาตามความเป็นจริงของกระบวนการหรือสภาวะโดยใช้รูป-นาม
เป็นอารมณ์วิปัสสนา)

จิตคือบ่อบุญ-บ่อบาป ทำให้เกิดกฏแห่งกรรม และเกิดวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิดใน 32 ภพภูมิ

.................................................................................................
:b40: :b40: :b40: :b40:

เจ้าของ:  Narin [ 21 พ.ค. 2010, 21:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

จิต มี 2 อย่าง

1. จิตสังขาร หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท หรือ จิตในพระอภิธรรม = จิตคิดปรุงแต่ง
2. จิตบริสุทธิ์ที่สุด หรือ จิตหลุดพ้น หรือ จิตพุทธะ หรือ จิตพ้นวิเศษ หรือนิพพานจิต = จิตไม่คิดปรุงแต่ง

ต้องรู้ให้ชัดเจนก่อนว่า คุณหลับอยู่พูดถึงจิตประเภทไหน

จิต ที่เป็นบ่อบุญ-บ่อบาป ทำให้เกิดกฏแห่งกรรม และเกิดวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิดใน 32 ภพภูมิ = จิตสังขาร หรือ จิตในปฏิจจสมุปบาท หรือ จิตคิดปรุงแต่ง

จิตบริสุทธิ์ที่สุด เป็นจิตที่มีปัญญา จิตตัวนั้นจึงเป็น ผู้รู้ หรือ ธาตุรู้ หรือเป็นจิตที่ไม่คิดปรุงแต่ง

ธรรมชาติที่รู้แจ้ง คือ นิพพาน นิพพานนี้ก็เป็นจิต แต่เป็นจิตหลุดพ้น หรือจิตพ้นวิเศษ หรือนิพพานจิต หรือ จิตที่ไม่คิดปรุงแต่ง

เจ้าของ:  วรานนท์ [ 24 พ.ค. 2010, 17:59 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

:b8: :b8: :b8:


อินทรีย์5 เขียน:
จิตคือบ่อบุญ-บ่อบาป ทำให้เกิดกฏแห่งกรรม และเกิดวัฏจักรเวียนว่ายตายเกิดใน 32 ภพภูมิ


อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  ลิ้มธรรม [ 26 พ.ค. 2010, 22:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?


(มหาตัณหาสังขยสูตร)

จิตนั้นมีอยู่ แต่ไม่มีตัวตน ไม่ใช่ของตัวตน เกิดดับ เกิดดับ...ขึ้นตามเหตุปัจจัยการกระทบกัน
ดังข้างต้นในมหาตัณหาสังขยสูตร จึงขึ้นหรืออิงอยู่กับเหตุปัจจัย
จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวตนที่หมายถึงเราหรือของเรา
จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้ตามปรารถนาอย่างแท้จริง

ที่หมายถึงเมื่อกระทบกันของอายตนะภายนอกและอายตนะภายใน ในผู้ยังดำรงขันธ์
หรือชีวิตินทรีย์อยู่ ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ
แต่เพราะความที่ไปควบคุมเหตุบางประการได้ระยะหนึ่งเท่านั้น
จึงเกิดมายาหลอกลวงจิตให้เห็นผิดไปว่าควบคุมบังคับมันได้

จิตจึงแปรปรวนไปตามเหตุหรือสิ่งที่กระทบสัมผัสอันเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติ
โดยอาศัยส่วนหนึ่งของกายเป็นประตูหรือทวารเชื่อมอีกด้วยโดยอายตนะภายในต่างๆนั่นเอง
และกายก็ยังเป็นแหล่งแสดงผลของจิตอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้นแม้แต่กายจริงๆแล้วก็เป็นส่วนหนึ่งหรือเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตอีกด้วย
ตลอดจนขันธ์ต่างๆของจิตเองอันมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ต่างก็ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งขึ้นทั้งสิ้นเช่นกัน
จึงต่างก็ล้วนมีเหตุมีปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น

ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง จิตจึงเป็นสิ่งที่แปรปรวน ลึกลับสุดหยั่ง และควบคุมบังคับได้ยาก
เพราะเกิดแต่เหตุปัจจัยมากหลายดังที่กล่าวมา
และยังมีมายาของจิตนั่นเองที่พยายามเสกสรรปั้นแต่งด้วยอำนาจของตัณหา
อันยังให้เกิดอุปาทานให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นของตัวของตนอย่างแท้จริง

ด้วยธรรมชาติของชีวิตดังนี้นี่เอง เมื่อใจคิดนึกปรุงแต่ง กล่าวคือฟุ้งซ่าน
ก็ย่อมเกิดจิตต่างๆขึ้นเป็นธรรมดา และเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา
ดังได้กล่าวโดยละเอียดไว้แล้วในขันธ์ ๕

ด้วยเหตุนี้นี่เองจึงจำเป็นต้องมีสติรู้เท่าทันจิต กล่าวคือจิตสังขารที่ครอบคลุมทั้งเวทนา
และจิตสังขารคิด แล้วหยุดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งเสีย
กล่าวคือเมื่อยังปรุงแต่งฟุ้งซ่านอยู่ย่อมยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้นได้เป็นธรรมดา

ดังนั้นเราจึงพอให้แค่ความหมายแก่จิต เพียงเพื่อใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกันว่า

จิต คือ องค์ประกอบอันสำคัญยิ่งของชีวิตทั้งหลาย
ส่วนที่นอกเหนือไปจากส่วนรูปหรือรูปขันธ์(ร่างกายหรือตัวตน)
แต่ถึงกระนั้นกายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตอีกด้วย หรือ

จิต คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ กล่าวคือ สภาวธรรมของชีวิตที่รับรู้อารมณ์
กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ที่กระทบ, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ;

ส่วนคำถามที่ว่า จิตอยู่ที่ไหน? นั้น เป็นคำตอบเดียวเช่นกับเงานั่นเอง
กล่าวคือจิตไม่มีตัวตนแท้จริงเป็นอนัตตาเหมือนดังเงาดังที่กล่าวข้างต้น

เมื่อมีเหตุเป็นปัจจัยกัน จิตหนึ่งก็เกิดขึ้น ไม่มีเหตุก็ไม่เกิด จึงอิงหรือขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
ไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง กล่าวคือในผู้มีชีวิตินทรีย์อยู่
เมื่ออายตนะภายนอกกระทบหรือประจวบกับอายตนะภายใน
จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

จิตหรือวิญญาณ จึงเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ดีแล้ว ในมหาตัณหาสังขยสูตรตอนหนึ่งว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น

เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระเดชพระคุณเจ้าพระธรรมปิฏก
ก็ได้กล่าวถึงจิตไว้ดังนี้

"จิต มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน
ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น
คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป

เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕
จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์.

ส่วนคัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว
เเจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน ๘๙ หรือโดยพิสดารมี ๑๒๑ เรียกว่า จิต ๘๙ หรือ ๑๒๑

แบ่ง โดยชาติหรือลักษณะของการเกิดแบบต่างๆ เป็น อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ (พิสดารเป็น ๓๗)
วิปากจิต ๓๖ (๕๒) และกิริยาจิต ๒๐;
แบ่ง โดยภูมิ เป็น กามาวจรจิต ๕๔ รูปาวจรจิต ๑๕ อรูปาวจรจิต ๑๒ และโลกุตตรจิต ๘ (พิสดารเป็น ๔๐)."

ดังคำอรรถกถาธิบายข้างต้น จะเห็นการจำแนกจิต
จิต โดยตามความเป็นจริงแล้วจึงเกิดได้หลายดวง

ดวงที่เป็นเพียงสรรพนามที่มีความหมายถึงอาการ
จึงหมายถึงว่า จิตเกิดอาการของจิตได้หลายอาการในชั่วขณะหนึ่งเช่นกัน
ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

และในขณะเดียวกันนั้นหูก็กระทบในเสียงก็ย่อมมีจิตอีกดวงย่อมเกิดขึ้นร่วมด้วยเป็นธรรมดา
และถ้าในขณะนั้นธรรมารมณ์(เช่นคิด)กระทบใจ ก็ย่อมมีอีกจิตหนึ่งร่วมเกิดขึ้นด้วยอีกเป็นธรรมดา ฯ.

จึงเกิดจิตได้หลายดวงหรืออาการในขณะหนึ่งๆ เพียงแต่ว่าจิตดวงใดเด่นหรือเป็นเอกอยู่ในขณะนั้นๆ
หมายถึงแสดงอาการออกมาอย่างเด่นชัดที่สุดในขณะนั้นๆนั่นเอง

อุปมาได้ดังพลุที่ยิงขึ้นท้องฟ้าในงานเทศกาล อันย่อมประกอบด้วยพลุจำนวนมากนับสิบนับร้อย
แต่ ณ ขณะหนึ่งๆนั้น ย่อมมีพลุที่งามเด่นในสายตาอยู่หนึ่ง
แต่แล้วต่างก็ล้วนต้องดับไปเป็นที่สุด จิตก็เป็นไปเช่นดังพลุ หรือดังเงาที่กล่าวข้างต้นนั่นเอง

เงานั้นเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น วัตถุทึบแสง และแสง
เมื่อสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือเหตุ มีอาการแปรปรวนอันใดเป็นธรรมดา
เงานั้นก็ต้องแปรปรวนหรืออิงขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยนั้นๆ
มิสามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นไปตามปรารถนา
เพราะแปรปรวนหรืออิงกับเหตุอันมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันเหล่านั้นเป็นธรรมดาอย่างจริงแท้แน่นอน
ไม่มีตัวตนที่แท้จริง หรือตัวตนไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง จิตก็เช่นเดียวกัน

แต่เงานั้นเมื่อมีอาการแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแล้ว เป็นทุกข์ไหม?
ย่อมไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาทะยานอยากหรือไม่อยากใดๆในเงานั้นนั่นเอง
อันเป็นสิ่งที่เราพึงต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นเช่นนั้นต่อจิตหรือผลของจิตเช่นกัน

เนื่องจากจิตเกิดแต่เหตุได้มากหลาย มาเป็นปัจจัยกัน
จิตจึงกวัดแกว่ง แปรปรวนได้ง่าย ควบคุมบังคับได้ยาก
จึงต้องหัดควบคุมจิตไม่ให้กวัดแกว่ง แปรปรวน หรือฟุ้งซ่าน

เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการฝึกจิตให้มีสติ ระลึกรู้เมื่อปรุงแต่ง
และมีปัญญาอย่างแจ่มแจ้งไม่คิดนึกปรุงเพราะรู้เข้าใจว่า
ถ้าคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่านเสียแล้วย่อมก่อให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นนั่นเอง

:b8: :b8: :b8:






เจ้าของ:  govit2552 [ 17 ส.ค. 2010, 04:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

จิต โดยตามความเป็นจริงแล้วจึงเกิดได้หลายดวง

ดวงที่เป็นเพียงสรรพนามที่มีความหมายถึงอาการ
จึงหมายถึงว่า จิตเกิดอาการของจิตได้หลายอาการในชั่วขณะหนึ่งเช่นกัน
ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป จิตหนึ่งหรือวิญญาณหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา

และในขณะเดียวกันนั้นหูก็กระทบในเสียงก็ย่อมมีจิตอีกดวงย่อมเกิดขึ้นร่วมด้วยเป็นธรรมดา
และถ้าในขณะนั้นธรรมารมณ์(เช่นคิด)กระทบใจ ก็ย่อมมีอีกจิตหนึ่งร่วมเกิดขึ้นด้วยอีกเป็นธรรมดา ฯ.


ไม่เห็นด้วยครับ

จิตย่อมเกิดได้ทีละดวงเท่านั้น

สิ่งที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต ก็คือ จิต

เจ้าของ:  govit2552 [ 17 ส.ค. 2010, 05:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมสังคณี [๓. นิกเขปกัณฑ์]
ทุกนิกเขปะ มหันตรทุกะ

๒. จิตตทุกะ
[๑๑๙๓] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต
[๑๑๙๔] สภาวธรรมที่ไม่เป็นจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปทั้งหมด และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เป็นจิต


...............................................................................................
๗. จิตตสหภูทุกะ
[๑๒๐๓] สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัติ และวจีวิญญัติ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่าเกิดพร้อมกับจิต
[๑๒๐๔] สภาวธรรมที่ไม่เกิดพร้อมกับจิต เป็นไฉน
จิต รูปที่เหลือ และธาตุที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าไม่เกิด
พร้อมกับจิต

................................................................................................
จิตไม่เกิดพร้อม กับ จิต...............ให้สังเกตุ.

เจ้าของ:  ลิ้มธรรม [ 17 ส.ค. 2010, 07:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

govit2552 เขียน:
๒. จิตตทุกะ
[๑๑๙๓] สภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นจิต


ในขณะที่คุณกำลังทานอาหารอยู่...
ตามองเห็นอาหารมั้ย?
หูได้ยินเสียงมั้ย?
จมูกได้กลิ่นอาหารที่คุณกำลังกินมั้ย?
ลิ้นได้รับรู้รสของอาหารที่คุณกำลังเคี้ยวมั้ย?
มือสัมผัสกับช้อนคุณรู้สึกมั้ย?
ใจคุณรู้สึกอย่างไรกับรสชาติอาหารคำนี้ อร่อยมั้ย?

แต่ทั้งหมดนี้...มันจะมีตัวที่โดดเด่นที่สุดออกมาเพียงตัวเดียว


***ขอบคุณที่ค้นหาอภิธรรมมาให้เป็นความรู้ สะดวกต่อการเทียบเคียง

เจ้าของ:  govit2552 [ 17 ส.ค. 2010, 20:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

วิธีการที่จะพิสูจน์เรื่องนี้ ต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วย

มีหลอดไฟสิบดวง เราป้อนกระแสไฟฟ้าให้หลอดไฟทีละหลอด ไม่ให้พร้อมกัน (คือเป็นอนุกรม)
แบบไฟวิ่งนั่นเอง

แล้วเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในการดับจากดวงหนึ่งไปติดอีกดวงหนึ่ง

สุดท้ายเร็วขึ้นถึงจุดหนึ่ง คุณจะเห็นว่า หลอดไฟทั้งสิบ ติดพร้อมกัน

หลักการแบบนี้ ใช้ในคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน

เวลาเราเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เราจะเขียนที่ละคำสั่งทีละบรรทัด
เวลาเครื่องทำงาน มันก็จะทำทีละคำสั่ง เป็นอนุกรมเช่นกัน แต่เวลาผลงานที่ออกมา
ด้วยความเร็วของสัญญาณนาฬิกา จึงทำให้เสมือนหนึ่ง ทำงานหลายคำสั่งพร้อมกัน

เจ้าของ:  ลิ้มธรรม [ 18 ส.ค. 2010, 22:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

govit2552 เขียน:
วิธีการที่จะพิสูจน์เรื่องนี้ ต้องใช้วิทยาศาสตร์เข้าช่วย


เอาวิทยาศาสตร์เข้าช่วย พิสูจน์เรื่องจิต คงรู้เเจ้ง เข้าสักวันนะ :b1:


พุทธศาสตร์..ชี้ให้เห็นปัญหา..เหตุของปัญหา..วิธีเเก้ปัญหา..เเละผลลัพธ์ เสร็จสรรพในตัวเเล้ว
เพียงเเต่..เอาตัวคุณเองเข้าไปพิสูจน์เท่านั้น ความสงสัยของคุณ ก็จะหมดไป

เจ้าของ:  govit2552 [ 19 ส.ค. 2010, 03:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

กฏอันหนึ่งของ จิต ก็คือ การสลับกันระหว่าง จิตพ้นวิถี และวิถีจิต

ราวกับ ศูนย์กับหนึ่ง ของระบบ ดิจิตอล เลยทีเดียว

จิตพ้นวิถี แล้ววิถีจิต จิตพ้นวิถี แล้ววิถีจิต จิตพ้นวิถีแล้ววิถีจิต จิตพ้นวิถีแล้ววิถีจิต

สลับกันไป ตราบเท่าที่ จิตยังมีอยู่ในวัฏฏสงสาร

หรือพูดอีกคำพูดหนึ่งก็คือ ภวังคจิต กับ วิถีจิต

ภวังคจิต กับวิถีจิต ภวังคจิตกับวิถีจิต ภวังคจิตแล้ววิถีจิต

สลับกันไปเรื่อยๆ ตลอดวัฏฏะสงสาร

หมายเหตุ ภวังคจิต ก็คือ วิถีวิมุตจิต ก็คือ จิตพ้นวิถี ..........สามคำนี้คือ คำเดียวกัน

เจ้าของ:  ลิ้มธรรม [ 20 ส.ค. 2010, 22:49 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: จิตคืออะไร ?

govit2552 เขียน:
กฏอันหนึ่งของ จิต ก็คือ การสลับกันระหว่าง จิตพ้นวิถี และวิถีจิต

ราวกับ ศูนย์กับหนึ่ง ของระบบ ดิจิตอล เลยทีเดียว

จิตพ้นวิถี แล้ววิถีจิต จิตพ้นวิถี แล้ววิถีจิต จิตพ้นวิถีแล้ววิถีจิต จิตพ้นวิถีแล้ววิถีจิต

สลับกันไป ตราบเท่าที่ จิตยังมีอยู่ในวัฏฏสงสาร

หรือพูดอีกคำพูดหนึ่งก็คือ ภวังคจิต กับ วิถีจิต

ภวังคจิต กับวิถีจิต ภวังคจิตกับวิถีจิต ภวังคจิตแล้ววิถีจิต

สลับกันไปเรื่อยๆ ตลอดวัฏฏะสงสาร

หมายเหตุ ภวังคจิต ก็คือ วิถีวิมุตจิต ก็คือ จิตพ้นวิถี ..........สามคำนี้คือ คำเดียวกัน


ไม่ใช่อย่างนั้นนะ คุณgovit2552 เรียนปริยัติ อ่านทำความเข้าใจอย่างที่เขาเขียน
อย่าเอาไปตีความตามใจ เเตกความออกไปเดี๋ยวจะหลงทาง
ครูบาอาจารย์ท่านว่า...ให้เอาตำราใส่เข้าตู้..เเล้วลงมือปฏิบัติ...


หลวงพ่อชา :b8: ...ท่านกล่าวว่า..

...ปฏิบัติธรรม..ไม่อยู่ในหนังสือหรอก
เเต่..ธรรมที่ชี้ทาง..อยู่ในหนังสือ

คนอยากจะรู้เรื่อง..ก็อ่านเเต่หนังสือ..ตรัสรู้ธรรมในหนังสือ
ก็เลย..พูดเเต่เรื่องในหนังสือ..เรื่อยๆไป

กิเลสฟุ้ง...ก็ไม่รู้เรื่อง


หน้า 1 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/