วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 03:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 17:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
การศึกษาพระวินัยปิฎกโดยไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้ทุศีล
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=1071

การศึกษาพระสุตตันตปิฎกแบบไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้มีความเห็นผิด
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=1072

การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกแบบไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเป็นบ้า
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=1073
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2010, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
สรุปประเด็นธรรม
http://www.dhammahome.com/front/videoclip/show.php?tof=pl&id=1074
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 05:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การศึกษาพระวินัยปิฎกโดยไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้ทุศีล
http://www.dhammahome.com/front/videocl ... pl&id=1071

การศึกษาพระสุตตันตปิฎกแบบไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้มีความเห็นผิด
http://www.dhammahome.com/front/videocl ... pl&id=1072

การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกแบบไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเป็นบ้า
http://www.dhammahome.com/front/videocl ... pl&id=1073


เพิ่มเติมครับ จาก อรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยวิบัติ ๓ ประเภท

ว่าโดยศาสนะ
อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกชื่อว่า ยถาปราธศาสนะ เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มี
ความผิดมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนตามที่มีความผิดในพระวินัยปิฎก
นี้ปิฎกที่สอง เรียกชื่อว่า ยถานุโลมศาสนะ เพราะเหล่าสัตว์ที่มีอัธยาศัย อนุสัย
จริยา และอธิมุติมิใช่น้อย พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งสอนไปตามลำดับ
ในพระสุตตันตปิฎกนี้ ปิฎกที่สาม เรียกชื่อว่า ยถาธัมมศาสนะ เพราะสัตว์
ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวสักว่ากองแห่งธรรมว่า เรา ของเรา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอน ตามควรแก่ธรรมในพระอภิธรรมปิฎกนี้.
ว่าโดยกถา
อนึ่ง ปิฎกที่หนึ่ง เรียกว่า สังวราวรกถา เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ความสังวรน้อยใหญ่ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อความประพฤติผิดไว้ในพระวินัยปิฎกนี้.
คำว่า สังวราสังวร นี้ ได้แก่ สังวรน้อยและใหญ่ เหมือนกัมมากัมมะ (กรรม
น้อยใหญ่) และผลาผล (ผลน้อยใหญ่). ปิฎกที่สอง เรียกว่า ทิฏฐิวินิเวฐนกถา
เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการเปลื้องทิฏฐิอันเป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิ ๖๒
ไว้ในพระสุตตันตปิฎกนี้. ปิฎกที่สาม เรียกว่า นามรูปปริจเฉทกถา เพราะ
ตรัสถึงการกำหนดนามและรูปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อธรรม มีราคะเป็นต้นไว้ใน
พระอภิธรรมปิฎกนี้.
ว่าโดยสิกขาเป็นต้น
อนึ่ง ในปิฎกแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ บัณฑิตพึงทราบสิกขา ๓ ปหานะ ๓
และคัมภีรภาพ ๔ อย่าง.
จริงอย่างนั้น ว่าโดยนัยพิเศษ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิศีลสิกขาไว้ใน
พระวินัยปิฎก ตรัสอธิจิตตสิกขาไว้ในพระสุตตันตปิฎก และตรัสอธิปัญญาสิกขา
ไว้ในพระอภิธรรมปิฎก. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปหาน (การละ) วิติกกม-
กิเลสไว้ในพระวินัยปิฎก เพราะความที่ศีลเป็นปฏิปักษ์ต่อการก้าวล่วงของ
กิเลส (วีติกกมกิเลส) ตรัสการปหานปริยุฏฐานกิเลสไว้ในพระสุตตันตปิฎก
เพราะความที่สมาธิเป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสที่กลุ้มรุม (ปริยุฏฐานกิเลส) ตรัสการ
ปหานอนุสัยกิเลสไว้ในพระอภิธรรมปิฎก เพราะความที่ปัญญาเป็นปฏิปักษ์
ต่ออนุสัยกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการละกิเลสทั้งหลายด้วย
ตทังคปหาน (ละชั่วคราว) ในสองปิฎกนอกนี้ตรัสการละกิเลสด้วยวิกขัมภนปหาน
และสมุจเฉทปหาน อีกอย่างหนึ่ง ในปิฎกที่หนึ่งตรัสการปหานสังกิเลสคือทุจริต
ในสองปิฎกนอกนี้ ตรัสการปหานสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิ.
ว่าโดยคัมภีรภาพ ๔ อย่าง
อนึ่ง ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎกพึงทราบคัมภีรภาพ (ความลึกซึ้ง)
๔ อย่าง คือ โดยธรรม โดยอรรถ โดยเทศนา และโดยปฏิเวธ.
บรรดาคัมภีรภาพเหล่านั้น พระบาลี (ตนฺติ) ชื่อว่า ธรรม. เนื้อความ
แห่งพระบาลีนั้น ชื่อว่า อรรถ. การแสดงบาลีตามที่กำหนดไว้อย่างดีด้วยใจ
นั้น ชื่อว่า เทศนา. การตรัสรู้ตามความเป็นจริงซึ่งธรรมและอรรถแห่งบาลี
นั้น ชื่อว่า ปฏิเวธ. จริงอยู่ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ ในปิฎก
ทั้ง ๓ นั้น ชื่อว่า ลึกซึ้ง เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญาน้อยหยั่งลงได้ยาก
เป็นที่พึ่งอันบุคคลผู้มีปัญญาน้อยไม่พึงได้ เปรียบเหมือนมหาสมุทร อันสัตว์
เล็กทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งให้ถึงได้โดยยาก ทั้งเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ฉะนั้น
บัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพแม้ทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎกทั้ง ๓ นี้แต่ละปิฎก ด้วย
ประการฉะนี้.
อีกนัยหนึ่ง เหตุชื่อว่า ธรรม เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ญาณในเหตุ ชื่อว่า
ธรรมปฏิสัมภิทา. ผลของเหตุ ชื่อว่า อรรถ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ญาณในผล
ของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. บัญญัติ ท่านหมายเอาการกล่าวธรรมสมควร
แก่ธรรม ชื่อว่า เทศนา หรือว่าการกล่าวธรรมด้วยสามารถแห่งอนุโลม
ปฏิโลม สังเขป และพิสดารเป็นต้น ชื่อว่า เทศนา. การตรัสรู้ ชื่อว่า ปฏิเวธ.
ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ อธิบายว่า การหยั่งรู้ในธรรม
ทั้งหลายสมควรแก่อรรถ ในอรรถทั้งหลายสมควรแก่ธรรม ในบัญญัติทั้งหลาย
สมควรแก่คลองแห่งบัญญัติ โดยวิสัย(อารมณ์) โดยอสัมโมหะ(ความไม่หลงลืม)
หรือว่า ความที่ธรรมเหล่านั้นๆ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นั้น ๆ
เป็นธรรมไม่วิปริตเป็นไปกับด้วยลักษณะ อันพึงแทงตลอดได้.
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพแม้ทั้ง ๔ อย่าง ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้
แต่ละปิฎกทีเดียว เพราะในปิฎกเหล่านี้ ธรรมหรืออรรถใด ๆ หรือเทศนาซึ่ง
ส่องเนื้อความนั้น ๆ โดยประการที่ควรรู้เนื้อความซึ่งตรงต่อญาณของผู้ฟังโดย
ประการนั้นๆ ก็หรือว่า การแทงตลอด กล่าวคือการหยั่งลงสู่ธรรมอันไม่วิปริต
ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้อันใด หรือความที่ธรรมเหล่านั้นๆ ซึ่งมีสภาพไม่วิปริต
กล่าวคือกำหนดได้อันพึงแทงตลอด ธรรมทั้งหมดนั้น คนมีปัญญาน้อยไม่
สร้างกุศลสมภารไว้หยั่งลงได้โดยยาก ทั้งจะเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้เปรียบเหมือน
มหาสมุทร สัตว์เล็กมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งให้ถึงได้ยาก ทั้งจะเป็นที่พึ่งไม่
ได้ฉะนั้น.
ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นอันข้าพเจ้ากล่าวถึงเนื้อความคาถา
นี้ว่า
บัณฑิตพึงแสดงประเภทเทศนา
ศาสนะ กถา สิกขา ปหานะ และคัมภีรภาพ
ในปิฎกทั้ง ๓ เหล่านี้ ตามสมควร ด้วย
ประการฉะนี้.
แต่ในคาถานี้ว่า
ภิกษุย่อมบรรลุประเภทปริยัติ สมบัติ
และแม้วิบัติอันใด ในปิฎกใด โดยประการ
ใด พึงเจริญเนื้อความแม้นั้นทั้งหมด โดย
ประการนั้น ดังนี้.
บัณฑิตพึงเห็นความแตกต่างกันแห่งปริยัติ ๓ อย่างในพระไตรปิฎก
ทั้ง ๓ ดังต่อไปนี้.
ว่าด้วยปริยัติ ๓ ประเภท
จริงอยู่ ปริยัติมี ๓ ประเภท คือ
๑. อลคัททูปมปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษร้าย)
๒. นิสสรณัตถปริยัติ (ปริยัติเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก)
๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง).
บรรดาปริยัติเหล่านั้น ปริยัติที่ถือเอาไม่ดี คือเรียนเพื่อเหตุแห่งการ
โต้แย้งเป็นต้น ชื่อว่า อลคัททูปมปริยัติ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการอสรพิษมีพิษร้าย ย่อม
แสวงหาอสรพิษมีพิษร้าย เมื่อเที่ยวแสวงหาอสรพิษมีพิษร้าย เขาเห็นอสรพิษมี
พิษร้ายตัวใหญ่ ก็พึงจับอสรพิษนี้นั้น ที่ขนดหรือที่หาง อสรพิษนั้นพึงแว้งขบ
เอาที่มือ หรือแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่งของบุรุษนั้น บุรุษ
นั้นพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย เพราะการขบกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้น
เพราะเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อสรพิษร้ายอันบุรุษ
จับแล้วไม่ดี แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตะ ฯลฯ เวทัลละ บุรุษ
เหล่านั้นครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา เมื่อโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่ใคร่ครวญอรรถด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น
ย่อมไม่ทนต่อการเพ่ง โมฆบุรุษเหล่านั้นมีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์ และมีการ
ยังตนให้พ้นจากวาทะนั้นๆ เป็นอานิสงส์ ย่อมเรียนธรรม และย่อมเรียนธรรม
เพื่อประโยชน์แก่ธรรมใด ย่อมไม่เสวยผลแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้นอัน
โมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนแล้วไม่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ
ทุกข์สิ้นกาลนานข้อนั้นเพราะเหตุแห่งอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่
ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษนั้นเรียนแล้วไม่ดี ดังนี้.
ส่วนปริยัติใด อันบุคคลเรียนดีแล้ว คือหวังอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่ง
คุณมีสีลขันธ์เป็นต้นเรียนแล้ว มิใช่เรียนเพราะเหตุการโต้แย้งเป็นต้น ปริยัตินี้
ชื่อว่า นิสสรณัตถปริยัติ (มีความต้องการเพื่อสลัดออก) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูล และเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลาย อันกุลบุตรเรียนดีแล้ว.
ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ละกิเลสแล้ว มีมรรคอัน
เจริญแล้ว มีธรรมไม่กำเริบอันแทงตลอดแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว ย่อม
เรียนปริยัติใด เพื่อรักษาประเพณี เพื่อรักษาวงศ์อย่างเดียว ปริยัตินี้ ชื่อว่า
ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง) ดังนี้ บัณฑิตพึงทราบประเภท
แห่งปริยัติ ๓ อย่าง ในพระไตรปิฎกเหล่านั้น ดังที่กล่าวมาแล้ว.
ว่าด้วยสมบัติ ๓ ประเภท
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้ว (สุปฏิปนฺโน) ในพระวินัยอาศัยสีลสัมปทา
ย่อมบรรลุวิชชา ๓ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งวิชชา ๓ เหล่านั้นนั่นแหละไว้ใน
พระวินัยนี้. ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระสูตร อาศัยสมาธิสัมปทา ย่อมบรรลุ
อภิญญา ๖ ก็เพราะตรัสประเภทแห่งสมาธิเหล่านั้นนั่นแหละไว้ในพระสูตรนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระอภิธรรม อาศัยปัญญาสัมปทา ย่อมบรรลุปฏิสัมภิทา ๔
ก็เพราะตรัสประเภทแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้นนั่นแหละไว้ ในพระอภิธรรมนั้น.
ภิกษุผู้ปฏิบัติดีแล้วในพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมเหล่านี้ ย่อมบรรลุสมบัติ
อันต่างด้วยวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ นี้โดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้.
ว่าด้วยวิบัติ ๓ ประเภท
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระวินัย เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีโทษใน
ผัสสะที่มีใจครองเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว โดยความเสมอ
ด้วยสัมผัสมีเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่ม มีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นที่ทรงอนุญาต
แล้ว เหมือนคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายอันกระทำอันตรายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่ได้*(วินย. ๒. ๖๖๒
/๔๓๑) ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นผู้ทุศีล.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระสูตร ไม่รู้คำอธิบาย เหมือนในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้
ย่อมถือเอาผิด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า บุคคลมีอัตตาอัน
ถือเอาผิด ย่อมกล่าวตู่เราด้วย ย่อมขุด (ทำลาย) ซึ่งตนด้วย และย่อมประสบ
สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระอภิธรรมจะวิจารธรรมเกินไป ย่อมคิดแม้สิ่งที่
ไม่ควรคิด (อจินไตย) ต่อจากนั้น ก็จะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต สมกับพระ
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ เหล่านี้
บุคคลไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อคิดอยู่ ก็พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความ
คับแค้น*(องฺ จตุกฺก. ๒๑. ๗๗/๑๐๔) ดังนี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความ
เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ โดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.
-------------------------------

จริงอยู่ ได้ยินว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมเท่านั้น ชื่อว่า พระธรรมกถึก
นอกจากนี้แม้กล่าวธรรม ก็ไม่ใช่เป็นพระธรรมกถึก เพราะเหตุไร เพราะว่า
ภิกษุผู้ไม่ทรงพระอภิธรรมเหล่านั้นเมื่อกล่าวธรรม ย่อมกล่าวลำดับกรรม ลำดับ
วิบาก กำหนดรูปอรูป ลำดับธรรมให้สับสน ส่วนภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมย่อม
ไม่ให้ลำดับธรรมสับสน เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม จะกล่าวธรรม
หรือมิได้กล่าวก็ตาม แต่ในเวลาที่เธอถูกถามปัญหาแล้วก็จักกล่าวแก้ปัญหานั้น
ได้ พระศาสดาทรงหมายถึงคำนี้ว่า ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมนี้เท่านั้น ชื่อว่า
เป็นพระธรรมกถึกอย่างยิ่ง ดังนี้ จึงทรงประทานสาธุการแล้ว ตรัสว่า
โมคคัลลานะกล่าวดีแล้ว ดังนี้.
ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร
บุคคลเมื่อคัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้
ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา
ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกร
วัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุกเขปนิยกรรม นิยสกรรม
ตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคน
กินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้.

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การศึกษาพระวินัยปิฎกโดยไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้ทุศีล
http://www.dhammahome.com/front/videocl ... pl&id=1071

การศึกษาพระสุตตันตปิฎกแบบไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้มีความเห็นผิด
http://www.dhammahome.com/front/videocl ... pl&id=1072

การศึกษาพระอภิธรรมปิฎกแบบไม่แยบคายย่อมเป็นเหตุให้ถึงความเป็นบ้า
http://www.dhammahome.com/front/videocl ... pl&id=1073


การศึกษาและปฏิบัติ หากขาดกัลยาณมิตร เช่น ครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระไตรปิฏก อาจจะทำให้ผู้นั้นมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปwfh

เกิดอาการ ติดอาจารย์, ติดสำนัก ฯลฯ

พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ไม่น่าปรารถนาที่มักเกิดกับนักศึกษาธรรมะ(นักปฏิบัติธรรม) บางท่าน
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=16059

ข.มีพฤติกรรม สวนกระแสพระสัทธรรม เช่น
๑)อติมานี มีมานะจัด มีนิสัยหยาบกระด้าง (ปากร้าย ชอบทะเลาะ เบาะแว้ง ) บุคคลอื่นแนะนำตักเตือนไม่ได้
๒)โกธาภิภูโต มักโกรธ หงุดหงิดรำคาญง่าย ไร้เหตุผล
๓)พหุภาณี พูดมาก ไม่รู้จักกาลเวลา ไม่เลือกสถานที่ และบุคคล ขาดความสุภาพ
๔)สาเถยยมายาวี เป็นคนเจ้าเล่ห์ มารยา มีเจตนาแอบแฝงที่ไม่ดี หน้าด้าน ไม่รู้จักอาย เป็นคนแก้อยาก

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร