วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 06:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อเสวะนา จะ พาลนัง ปัณฑิตานัยจะ เสวนา

เรื่องที่เหลิมยกขึ้นมาด่าท่านพุทธทาสเป็นเรื่องซ้ำซาก

ผมชี้แจงข้อเท็จจริงไปหลายครั้งแล้ว

แต่ด้วยความย่ามใจว่าเวปนี้เหลิมจะด่าว่าพระสงฆ์องคเจ้าอย่างไรเหลิมก็ด่าได้อย่างเสรี

ทั้งท่านพุทธทาส พลวงพ่อฤาษีลิงดำ หลวงพ่อสด สุดแต่เหลิงเกลียดใครก็จิกหัวขึ้นมาด่าได้ตามใจชอบ

เวปนี้เขาไม่ทำอะไรเหลิมหรอก

ก็เอา

แต่สำหรับผมคงไม่ลดตัวลงมาสนทนาเกลือกกลั่วกับคนเลวไม่มีศีลธรรมอีกแล้ว

ผมได้ทำหน้าที่แล้ว อย่างพอเพียงแล้ว

สังคมเห็นว่าที่เหลิมกระทำนั้นถูกต้อง

ผมว่าผิด

ก็ไม่เป็นไร

ในเมื่อจะเกิดยุคที่มีคนอัปปรีย์ย่ำยีพระเจ้าได้ตามใจชอบ

ผมไม่ขอร่วมในขบวนการนี้

แทนที่จะสนทนาธรรม

กลับทำลายล้างศาสนาพระตถาคต

ผมละอายใจ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes เขียน

ในเมื่อจะเกิดยุคที่มีคนอัปปรีย์ย่ำยีพระเจ้าได้ตามใจชอบ

ผมไม่ขอร่วมในขบวนการนี้

แทนที่จะสนทนาธรรม

กลับทำลายล้างศาสนาพระตถาคต

ผมละอายใจ


ขอขยายความ ในเรื่อง ยุค จาก พระธรรมกถึกผู้ทรงพระไตรปิฏก ผู้นำพระอภิธรรม มาเผยแพร่ อีกท่านหนึ่งนะครับ พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ

จากหนังสือ พระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ที่จะตรัสรู้ต่อจาก "เจ้าชายสิทธัตถะ โดย อ.บารมี

ยุคในพระพุทธศาสนามี ๔ ยุค

๑. กตยุค มีระยะเวลา ๑,๗๒๘,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีทั้งสิ้น
๒.เตฺรตายุค มีระยะเวลา ๑,๒๙๖,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีมากถึง ๓ ส่วน และจะมีอันธพาลคนชั่วเพียง ๑ ส่วน
๓. ทฺวาปรยุค มีระยะเวลา ๘๖๔,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีครึ่งหนึ่ง และจะมีอันธพาลคนชั่วครึ่งหนึ่ง
๔. กลิยุค มีระยะเวลา ๔๓๒,๐๐๐ ปี
มนุษย์ที่เกิดในยุคนี้จะมีสัปปบุรุษคนดีมากถึง ๑ ส่วน และจะมีอันธพาลคนชั่วเพียง ๓ ส่วน

พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อธิบายว่า ในปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ได้ผ่านกลิยุคมาแล้วเป็นเวลา ๕,๐๗๗ ปี เหลือเวลาอีก ๔๒๖,๙๒๓ ปี จึงจะถึงเวลาสิ้นสุดกลิยุค และจะเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า "กตยุต" อันเป็นยุคที่มีแต่สัปปบุรุษคนดีทั้งสิ้น

--------------------------------------------------------------------



อนึ่ง ในสมัยก่อน จะมี พระอาจารย์ด้านพระอภิธรรม ได้เปิดสำนักวิปัสสนา ขึ้น เพื่อให้ ผู้ศึกษาด้านปริยัติธรรม (คันถธุระ) ได้ปฏิบัติวิปัสสนา อันเป็นธุระที่สำคัญยิ่ง

และมีหลาย ๆ ท่านที่ได้รับอานิสงส์ จากพระวิปัสสนาจารย์เหล่านั้น ได้มีความเข้าใจในหลักปฏิบัติ สมถะ-วิปัสสนา ได้มีสถานที่ในการฝึกหัดปฏิบัติวิปัสสนา

ดังปรากฏใน บทท้าย ๆ ของ พระอภิธัมมัตถสังคหะ ว่า

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/111.htm
๓๙. ภาเวตพฺพํ ปนิจฺเจวํ ภาวนา ทฺวยมุตฺตมํ ปฏิปตฺติ รสสฺสาทํ ปตฺถยนฺเตน สาสเน ฯ

ก็ผู้ปรารถนายินดีในรสแห่งการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา จึงเจริญภาวนาทั้ง ๒ อย่าง อันอุดม มีนัยดังบรรยายมาด้วยประการ ฉะนี้แล

ภาวนาทั้ง ๒ อย่างอันอุดม คือ

๑. สมถภาวนา เป็นการทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งความสงบระงับจากกิเลส สมถภาวนามีสมถกัมมัฏฐาน คือ บัญญัติเป็นต้น อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางใจเป็นสิ่งสำหรับเพ่งพินิจ เพื่อให้เกิดความสงบ

๒. วิปัสสนาภาวนา เป็นการทำให้เกิดขึ้นให้มีขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วยปัญญา ให้พ้นจากกิเลสโดยเด็ดขาด วิปัสสนาภาวนามีวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือ รูปนาม เป็นสิ่งสำหรับพิจารณาให้เกิดปัญญา

ความปรารถนาและความยินดีในรสแห่งการปฏิบัติกัมมัฏฐานก็ดี การเจริญวิปัสสนาภาวนาจนบรรลุมัคคผลก็ดี ย่อมมี บารมี เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ในอันที่จะให้เป็นไปเช่นนั้น เหตุนี้จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะได้ทราบเรื่อง บารมีไว้บ้าง

http://abhidhamonline.org/aphi/p9/125.htm

เรื่องบารมีนี้ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ไม่ได้กล่าวไว้ด้วย จึงนำมาแทรกไว้ ณ ที่นี้แต่โดยย่อ ด้วยมีความมุ่งหมายว่า จะมีผลแก้ข้อข้องใจในบางท่านที่ว่าบุญบารมียังน้อยอยู่ จึงได้ลังเลใจจนถึงกับละเลยในการที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนา

พุทธศาสนิกชนผู้มีบุญทั้งหลาย ที่ได้ศึกษาพระอภิธัมมัตถสังคหะมาจนถึงเพียงนี้แล้ว ไม่เป็นการสมควรเลยที่จะคาดคิดเอาเองว่ายังมีบุญบารมีน้อยอยู่ เพราะการคาดคิดเช่นนี้เป็นการเดาเอาโดยแท้ และเป็นการเดาที่ไม่เป็นคุณแก่ตนเลย แม้จะสมมติว่าบารมียังมีน้อยจริง ก็ไม่เป็นการสมควรละ หรือที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อสร้างสมบุญบารมีให้พอกพูนเพิ่มมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป จะได้เต็มเปี่ยมในกาลภายหน้าที่ไม่เนิ่นนานนัก

นักศึกษาพระอภิธรรมผู้มีปัญญาทั้งหลาย คงได้พิจารณาเห็นแล้วว่า สังขารนี้ไม่ยั่งยืน จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะพากเพียรให้ถึงซึ่งธรรมอันไม่จุติ ตัดขาดจากความเยื่อใยในสิ่งที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่ต้องสืบต่อภพใหม่ชาติใหม่อีก จักเสวยแต่วิมุตติสุข อันประเสริฐสุดกว่าสุขทั้งปวง

มิฉะนั้นก็จะเป็นเหมือนอย่างที่ปรากฏใน สัทธัมมัปปกาสินี ว่ามีเหมือนไม่มี ๔ ประการ คือ

ทุกฺขเมว น โกจิ ทุกฺขิโต ทุกข์มีจริง แต่คนเป็นทุกข์ไม่มี

การโก น กิริยา ว วิชฺชติ ผู้ทำไม่มี แต่การกระทำมีอยู่แท้

อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา ความดับมีอยู่ แต่ผู้ดับไม่มี

มคฺโค อตฺถิ คม โก น วิชฺชติ ทางมีอยู่ แต่ผู้เดินไม่มี

ดังนั้น จงเบื่อหน่ายในกามให้สมตามนัยที่ ขุทฺทกนิกาย ธมฺมปท แสดงไว้ว่า อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา อิทิ วิญฺญาย ปณฺฑิโต อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รติ โส นาธิคจฺฉติ ฯ

กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมไม่ยินดีในกาม แม้เป็นของทิพย์

---------------------------------------------


แต่ท่านพุทธทาส ก็ยังมีอคติกัยสำนักวิปัสสนา อีกเช่นเคย ถึงกับวิจารณ์

ในหนังสือ อภิธรรมคืออะไร? ว่า


ทีนี้ถ้าว่าเกินไปกว่านั้น ก็ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ ขอให้ระวังให้ดี มันจะเผลอถึงกับใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ แสวงหาเรื่องกิน เรื่องกาม เรื่องเกียรติ โดยใช้อภิธรรมเป็นเครื่องมือ อย่างนี้แล้วหมดเลย. มันผิดความประสงค์ มันผิดอะไรหมด ขอให้ระวังในส่วนนี้ด้วย ว่าประโยชน์มันจะเลยขอบเขตไปถึงอย่างนี้. ถ้ามันถึงอย่างนี้แล้วนักอภิธรรมนั้นจะตกอยู่ในธรรมดำ มีจิตใจประกอบไปด้วยกิเลส หวงแหน หรือว่าขายเป็นสินค้า หรือว่าใครไปแตะต้องเข้านิดเดียวก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ. อาตมาพูดประโยคเดียวว่าอภิธรรมมิได้อยู่ในรูปของพุทธวจนะ นี้ถูกด่าตั้งกระบุงโดยพวกที่หวงอภิธรรม. นี่คือมันหลงยึดมั่นถือมั่นเรื่องขลังศักดิ์สิทธิ์มากเกินไปแล้ว.

ทีนี้เลยไปกว่านั้น ก็ว่าเดี๋ยวนี้ถูกเขาใช้อภิธรรมเป็นเครดิตของสำนักวิปัสสนา. สำนักวิปัสสนาไหนต้องยกอภิธรรมขึ้นป้ายเป็นเครดิต เอามาเรียนกันก่อน เป็นนักอภิธรรมกันก่อน. ครั้งพุทธกาลไม่เคย และไม่เกี่ยวกันกับนักวิปัสสนา. อภิธรรมเป็นข้าศึกกันกับวิปัสสนา; เดี๋ยวนี้เอาอภิธรรมมาเป็นป้าย เป็นยี่ห้อ เป็นเครื่องมือ โฆษณาชวนเชื่อของวิปัสสนา.

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ชาติสยาม เขียน:
คนที่มันคิดว่าเข้าใจคำพูดพระพุทธเจ้าอย่างถ่องแท้นี่ก็น่าเป็นห่วง

ในทางตรรกะ ก็เท่ากับบอกว่าตัวเองนั้นมีปัญญาเสมอพระพุทธเจ้าแล้ว
ถึงเข้าใจพุทธพจน์เสมอพระพุทธเจ้าไม่คลาดเคลื่อน

แถมเหยียดพระเถราจารย์ด้วย ว่าไม่ได้เข้าใจเหมือนตน (ที่เ้ข้าใจพระพุทธเจ้า)

ถือดี อวดดี

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ชาติสยาม เขียน:
คนที่มันคิดว่าเข้าใจคำพูดพระพุทธเจ้าอย่างถ่องแท้นี่ก็น่าเป็นห่วง

ในทางตรรกะ ก็เท่ากับบอกว่าตัวเองนั้นมีปัญญาเสมอพระพุทธเจ้าแล้ว
ถึงเข้าใจพุทธพจน์เสมอพระพุทธเจ้าไม่คลาดเคลื่อน

แถมเหยียดพระเถราจารย์ด้วย ว่าไม่ได้เข้าใจเหมือนตน (ที่เ้ข้าใจพระพุทธเจ้า)

ถือดี อวดดี


นึกถึง ทิฏฐิของท่านพุทธทาส ที่มีต่อ พระอภิธรรมปิฏก พระไตรปิฏก อรรถกถา รวมทั้ง พระเถราจารย์ผู้ทรงคุณ นามว่า พระพุทธโฆษาจารย์


หนังสือ อภิธรรมคืออะไร ของท่านพุทธทาส

http://topicstock.pantip.com/religious/ ... 30962.html

ทีนี้ดูอีกแง่หนึ่งว่าสุตตันตปิฏกทุกเรื่องที่เกิดขึ้นจะระบุสถานที่ที่เกิดเรื่อง แล้วพระพุทธเจ้าตรัส แล้วตรัสแก่ใคร บอกเป็นเรื่องๆ ไปเลย ส่วนในพระอภิธรรมปิฏกไม่บอก ไม่มีบอกว่าตรัสแก่ใครที่ไหน ไม่มีบอกว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์ ที่ว่าตรัสแก่พุทธมารดาในสวรรค์นั้น มันคนทีหลังว่า ไม่มีอยู่ในตัวพระไตรปิฏกเอง ไม่มีอยู่ในอรรถกถาของอภิธรรมโดยตรงเอง มีแต่ในหนังสือที่คนชั้นหลังแต่ง ชั้นหลังว่า นี่พวกเรามันโง่ว่าพระพุทธเจ้าว่าหรือว่าในอภิธรรมปิฏกมันว่า มันเป็นอย่างนี้ ขออภัยพูดหยาบคายหน่อย ในอภิธรรมปิฏกมันไม่มีบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสที่นั้นที่นี่ มันโผล่ขึ้นมาก็เป็น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมาเลย แล้วเป็นสำนวนสอนในโรงเรียน ไม่ใช่สำนวนพูดกับคน

ทีนี้ที่น่าคิด : สุตตันตปิฏกมีหลักฐานเรื่องที่พูด ; เรื่องคนฟังอะไรเสร็จหมด แล้วก็ไม่ขู่ใครๆว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ในตัวสุตตันตปิฏกเองก็ไม่ได้ขู่ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก. พระอรรถกถาจารย์ของสุตตันตปิฏกทั้งหลายก็ไม่ขู่ใครว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก แต่อภิธรรมปิฏกนี้ประหลาดมีการขู่โดยใครก็ตามใจ กระทั่งเดี๋ยวนี้ว่าถ้าไม่เชื่อจะตกนรก ทำไมของดีวิเศษจะต้องมาขู่กันอย่างนี้ นี่ก็ช่วยเอาไปคิดดูด้วย เมื่ออภิธรรมปิฏกมีปาฏิหาริย์ถึงอย่างนี้แล้ว ว่าพระพุทธเจ้าไปเทศน์บนดาวดึงส์ก็เชื่อแล้ว ทำไมจะต้องเอามาขู่ว่า ถ้าไม่เชื่อจะต้องตกนรกอีกล่ะ มันขัดขวางกันอย่างยิ่ง

ทีนี้ที่ประหลาดต่อไปอีกก็คือว่า มันพูดแต่เรื่องตัวหนังสือขยายาความ พูดเป็นอักษรศาสตร์ การขยายความ ทางตรรกวิทยา ทางจิตวิทยา, ไม่พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เลย. เรื่องสมถะ เรื่องวิปัสสนา มีนิดเดียว หรือเรียกได้ว่าไม่มีในอภิธรรมปิฏก. ในอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท นั้น มีอยู่สักครึ่งปริเฉทเท่านั้นที่จะพูดถึงตัวการปฏิบัติ, แล้วก็เอ่ยถึงสักแต่ว่าชื่อ แล้วก็ไม่แปลกออกไปจากสุตตันตปิฏกที่ตรงไหนเลย. แต่ไปพูดเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องเหตุ เรื่องอะไรต่าง ๆ ไม่รู้กี่ปริเฉทต่อกี่ปริเฉท มากมายหลายหมื่นหลายแสนคำพูด ; นี้มันน่าสงสัย


จากหนังสือ ปฏิจจสมุปบาท ของท่านพุทธทาส

เรื่องส่วนตัวพระพุทธโฆษาจารย์

ทีนี้จะวิจารณ์เรื่องส่วนตัวของพระพุทธโฆษาจารย์กันบ้าง ไม่ใช่จ้วงจาบ ไม่ใช่นินทา ไม่ใช่ใส่ร้าย แต่เอามาเป็นเหตุผลสำหรับการอธิบาย ปฏิจจสมุปบาทของท่าน(บางส่วนที่คร่อมภพชาติ ซึ่งท่านพุทธทาสถือว่าผิดจากหลักบาลี ) ซึ่งมันมีแง่ให้เราตั้งข้อสังเกตว่าพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิดท่านเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพราหมณ์ ท่านจบไตรเพทอย่างพราหมณ์คนหนึ่ง มีวิญญาณอย่างพราหมณ์ แล้วจึงมาบวชในพระพุทธศาสนานี้ แล้วได้รับการสมมุติกันในหมู่คนบางพวกว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง เมื่อ พศ. ร่วมพันปี นักโบราณคดีถือว่าท่านเกิดที่อินเดียใต้ มิใช่ชาวมคธ บางพวกดึงท่านมาเป็นมอญก็มี ไม่เหมือนในอรรถกถา ที่ถือว่าท่านเป็นชาวมัธยมประเทศ ท่านเป็นพราหมณ์โดยเลือดเนื้อมาเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนานี้ แล้วถ้าเกิดไปอธิบายปฏิจจสมุปบาทของพุทธให้กลายเป็นพราหมณ์อย่างนี้ มันยิ่งสมเหตุสมผล คือท่านเผลอไปก็ได้ ถ้าท่านเผลอท่านก็ไม่ใช่พระอรหันต์เป็นแน่นอน ข้อนี้จะว่าอย่างไรก็ต้องพูดอย่างที่เรียกว่า ขอฝากไว้ให้ท่านผู้มีสติปัญญาพิจารณาดูเถิด

ทีนี้ของประหลาดๆในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์นั้นยังมีอีกบางเรื่องดังที่ผมพูดเมื่อตะกี้นี้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทคร่อม ๓ ชาตินี้ก็เรื่องหนึ่งแล้ว เราพูดกันเข้าใจแล้ว ทีนี้ก็เรื่องที่ท่านอธิบายอะไรๆในพระพุทธศาสนากลับกลายไปเป็นพราหมณ์อย่างนี้มันมีอยู่หลายเรื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่นเรื่องโลก ,หรือโลกวิทู
เมื่อท่านอธิบายโลกวิทู ซึ่งเป็นพระพุทธคุณบทนี้ ท่านอธิบายโลกแบบโลกอย่างพราหมณ์ไปหมด ตามที่เขาพูดกันอยู่ ท่านไม่อธิบายโลกอย่างที่พระพุทธเจ้าอธิบายโลกอย่างพระพุทธเจ้าอธิบายนั้น ท่านอธิบายโลกก็ดี เหตุให้เกิดโลกก็ดี ความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลกก็ดี ตถาคตได้บัญญัติไว้ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่งที่ยังเป็น ๆ ที่มีสัญญาและใจ

ข้อนี้หมายความว่าในร่างกายที่ยาววาหนึ่งเท่านั้น มีทั้งโลก มีทั้งเหตุให้เกิดโลก มีทั้งความดับสนิทแห่งโลกและทางให้ถึงความดับสนิทแห่งโลก คือพรหมจรรย์ทั้งหมดมีอยู่ในร่างกายที่ยาววาหนึ่ง และเป็นร่างกายที่ยังเป็น ๆ อยู่ ตายแล้วไม่มี ในร่างกายที่มีชีวิตมีความรู้สึกปกตินี้ในนั้นมันมีครบ พระพุทธเจ้าท่านเป็น “โลกวิทู” เพราะท่านรู้โลกอันนี้ เพราะว่าโลกอันนี้คืออริยสัจจ์ทั้งสี่ โลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทของโลก, ทางให้ถึงความดับสนิทของโลก มันคือเรื่องอริยสัจจ์

ถึงทีจะอธิบายโลกวิทูให้พระพุทธเจ้าหรือถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธโฆษาจารย์ท่านไม่อธิบายโลกอย่างนี้ ที่ท่านอธิบายนั้นผมว่ามันไม่เป็นพุทธ คือท่านไปอธิบายโลกอย่างที่เป็นโอกาสโลกเหมือนที่เราได้ยินเรื่องปรัมปราในไตรภูมิพระร่วงอะไรทำนองนั้น มันมาจากความเชื่อปรัมปราของพวกพราหมณ์ว่าโลกกลมเท่าไร กว้างเท่าไร ลมหนาเท่าไร แผ่นดินหนาเท่าไร น้ำหนาเท่าไร ลมหนาเท่าไร เขาพระสุเมรุสูงเท่าไร เขาบริวารสูงเท่าไร หิมวันต์ใหญ่เท่าไร ต้นหว้าใหญ่เท่าไร ไม้ประจำโลก ๗ ต้นเป็นอย่างไร ดวงอาทิตย์ขนาดเท่าไร ดวงจันทร์ขนาดเท่าไร ทวีปอีก ๓ ทวีปใหญ่เท่าไร ฯลฯ นี่มันไม่ใช่เรื่องของพุทธเลย อธิบายโอกาสโลกอย่างนี้ เพื่ออธิบายคำว่าโลกวิทู ว่าพระพุทธเจ้ารู้เรื่องนี้อย่างนี้ นี่ผมไม่เชื่อเลย นี่ขอให้คิดดู อธิบายโอกาสโลก อย่างนี้มันเป็นพราหมณ์ เรื่องของฮินดูเก่าก่อนพุทธกาล

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2010, 14:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว


โง่งั่งเหลิมมั้นเป็นนักอภิธรรม ลวงโลก กลับไปถามอาจารย์เอ็งว่า สมถะ กับวิปัสสนาเกิดร่วมกันในจิตเดียวกันหรือเปล่า ฟาย เหลิม เอ๋ยยยย :b32:

เชิญคุณเช่นนั้นมา อธิบายให้มันหน่อยก็ดีนะครับ smiley


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 89 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร