วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 19:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2010, 11:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 10 พ.ย. 2009, 10:41
โพสต์: 4463

อายุ: 0
ที่อยู่: วัฏสงสาร

 ข้อมูลส่วนตัว




Y9296500-22.jpg
Y9296500-22.jpg [ 39.79 KiB | เปิดดู 6193 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา
สาวัตถีนิทาน



[๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ
ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่ง
สมถะและวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน
ว่าตรัสรู้ความ
สมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่งอารมณ์ ว่าตรัสรู้ความประคองจิตที่
หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉยแห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสอง
อย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง ว่า
ตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๘๑๕๔ - ๘๔๔๘. หน้าที่ ๓๓๘ - ๓๔๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

:b42: :b42: :b42:
:b44: :b44: :b44:
:b8: :b8: :b8:


แก้ไขล่าสุดโดย หลับอยุ่ เมื่อ 15 มิ.ย. 2010, 11:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มิ.ย. 2010, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ในสมัยพุทธกาลมีแต่คำว่า

บำเพ็ญธรรม

เป็นการรวมทั้ง คันธธุระ กับวิปัสนาธุระ(รวมสมถะ) ครับ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระอภิธรรมปิฏก

http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0

[๘๖๗] สมถะ เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถะ.
วิปัสสนา เป็นไฉน?
ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิอันใด นี้เรียกว่า
วิปัสสนา.
[๘๖๘] สมถนิมิต เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า สมถนิมิต.
ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหนิมิต.
[๘๖๙] ปัคคาหะ เป็นไฉน?
การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหะ.
อวิกเขปะ เป็นไฉน?
ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ อันใด นี้เรียกว่า อวิกเขปะ.
[๘๗๐] สีลวิบัติ เป็นไฉน?
ความล่วงละเมิดทางกาย ความล่วงละเมิดทางวาจา ความล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา
อันใด นี้เรียกว่า สีลวิบัติ.
ความเป็นผู้ทุศีลแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลวิบัติ
ทิฏฐิวิบัติ เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การบวงสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่ง
กรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี บิดาไม่มี มารดาไม่มี สัตว์ที่จุติและอุปบัติไม่มี
สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไม่มีในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้และโลกอื่น
ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ไม่มีในโลก ดังนี้ ทิฏฐิ ความเห็นไปข้างทิฏฐิ ฯลฯ
การถือโดยวิปลาส มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า ทิฏฐิวิบัติ.
มิจฉาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิวิบัติ.
[๘๗๑] สีลสัมปทา เป็นไฉน?
ความไม่ล่วงละเมิดทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดทางวาจา ความไม่ล่วงละเมิดทางกายและ
ทางวาจา นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.
สีลสังวรแม้ทั้งหมด จัดเป็น สีลสัมปทา.
ทิฏฐิสัมปทา เป็นไฉน?
ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมมีผล การบูชาย่อมมีผล การบวงสรวงย่อมมีผล
ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกอื่นมีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ที่จุติและ
อุปบัติมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์ที่ทำให้แจ้ง ซึ่งโลกนี้
และโลกอื่นด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้มีอยู่ในโลก ดังนี้ ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิมีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา.
สัมมาทิฏฐิแม้ทั้งหมด จัดเป็น ทิฏฐิสัมปทา.



-------------------------------------------------
พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙

กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

สมถะ-วิปัสสนา
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/001.htm

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 06:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณหลับอยู่ครับ วิชามโนมยิทธิ และ วิชาธรรมกาย ที่คุณเชื่อ

นั่งสมาธิแล้วไปเห็น นรก สวรรค์ แดนพระนิพพาน นั้นยังไม่ใช่ สัมมาสมาธิ หรือ สมาธิวิสุทธิ(จิตตวิสุทธิ)

เห็นแล้วมีแต่เกิดความเป็นอัตตา ตัวตน เที่ยงแท้ เป็นอมตะมหานิรันดร์กาล


------------------------------------------------

คุณ mes ครับ อัตตโนมติของอาจารย์คุณที่ วิจารณ์ธรรมมากเกินไป กล่าวโจมตีพระอภิธรรม จนนำความวิบัติมาสู่ทิฏฐินั้น ก็ควรระมัดระวังในการเผยแพร่ให้ดีครับ


อรรถกถา

ว่าด้วยวิบัติ ๓ ประเภท
อนึ่ง ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระวินัย เป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่มีโทษใน
ผัสสะที่มีใจครองเป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว โดยความเสมอ
ด้วยสัมผัสมีเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่ม มีสัมผัสเป็นสุขเป็นต้นที่ทรงอนุญาต
แล้ว เหมือนคำที่พระอริฏฐะกล่าวว่า เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้าแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายอันกระทำอันตรายที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสแล้วนี้ ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้เสพอยู่ได้*(วินย. ๒. ๖๖๒
/๔๓๑) ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นผู้ทุศีล.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระสูตร ไม่รู้คำอธิบาย เหมือนในประโยคมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้มีอยู่ มีปรากฏอยู่ในโลก ดังนี้
ย่อมถือเอาผิด ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาตรัสไว้ว่า บุคคลมีอัตตาอัน
ถือเอาผิด ย่อมกล่าวตู่เราด้วย ย่อมขุด (ทำลาย) ซึ่งตนด้วย และย่อมประสบ
สิ่งมิใช่บุญเป็นอันมากด้วย ดังนี้ ต่อจากนั้น เธอก็ถึงความเป็นมิจฉาทิฏฐิ.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระอภิธรรมจะวิจารธรรมเกินไป ย่อมคิดแม้สิ่งที่
ไม่ควรคิด (อจินไตย) ต่อจากนั้น ก็จะถึงความฟุ้งซ่านแห่งจิต สมกับพระ
ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ เหล่านี้
บุคคลไม่ควรคิด ซึ่งเมื่อคิดอยู่ ก็พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า แห่งความ
คับแค้น*(องฺ จตุกฺก. ๒๑. ๗๗/๑๐๔) ดังนี้.
ภิกษุผู้ปฏิบัติผิดในพระไตรปิฎกนี้ ย่อมถึงความวิบัติอันต่างด้วยความ
เป็นผู้ทุศีล ความเป็นมิจฉาทิฏฐิ และความฟุ้งซ่านแห่งจิตนี้ โดยลำดับ
ด้วยประการฉะนี้.


จากกระทู้ ของคุณ mes


32633.อรรถกถา อภิธรรมสู่สภาวะธรรมไม่ได้
viewtopic.php?f=2&t=32633

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 08:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


chalermsak เขียน:

นั่งสมาธิแล้วไปเห็น นรก สวรรค์ แดนพระนิพพาน นั้นยังไม่ใช่ สัมมาสมาธิ หรือ สมาธิวิสุทธิ (จิตตวิสุทธิ)

เห็นแล้วมีแต่เกิดความเป็นอัตตา ตัวตน เที่ยงแท้ เป็นอมตะมหานิรันดร์กาล



<=ขอแนะนำสหายธรรมเทียบเคียงคำพูดข้างบน กับ...จะเรียกว่าอะไรก็ได้นี้=>

อ้างคำพูด:
เวลาผมนั่งสมาธิ พอภาวนาไปซักพัก เริ่มตัดภาวนาไปแล้วทีนี้ก็จะเกิดอาการ ขนลุกเย็นทั้งตัว

แล้วหลังจากนั้นก็จะมีภาพ คน สัตว์ แมลง ที่เราเคยทำร้ายเคยทำให้เค้าตายหรือเจ็บลอยมาให้เห็นครับ

คือ แปลกใจว่า บางเรื่องเป็นเรื่องที่นานมาก บางเรื่องเป็นเรื่องสมัยเด็กๆอยู่ด้วยซ้ำครับ

ซึ่งบางทีนึกถึงยังนึกไม่ออกเลยครับ เพราะนานมาก แต่พอมานั่งสมาธิ ก็ลอยมาให้เห็นเฉยเลย


ต่างกันตรงไหน เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น แล้วจะพ้นจากสภาพนั้นได้อย่างไร พ้นแล้วจะประสบกันสันติ

สุขทางจิตวิญญาณยังไง :b1: :b28:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พึงทราบการปรุงแต่ง หรือ สังขาร มี ๒ อย่าง ได้แก่ สังขารในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) กับ สังขาร ในไตรลักษณ์ (สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์...)

-สังขาร ซึ่งเป็นข้อที่ ๔ ในขันธ์ ๕ หมายถึง สภาวะที่ปรุงแต่งจิต ให้ดี ให้ชั่ว ให้เป็นกลาง ได้แก่คุณสมบัติต่างๆ ของจิต มีเจตนาเป็นตัวนำ ที่ปรุงแปรการตริตรึกนึกคิดในใจ และการแสดงออกทางกาย วาจา ให้เป็นไปต่างๆ เป็นตัวการของการทำกรรม เรียกง่ายๆว่า เครื่องปรุงของจิต เช่น ศรัทธา สติ หิริ โมหะ โลภะ โทสะ เป็นต้น

-สังขาร ที่กล่าวถึงในไตรลักษณ์ หมายถึง สภาวะที่ถูกปรุงแต่ง คือ สภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัย
ปรุงแต่งขึ้นทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ตาม เป็นด้านร่างกายหรือจิตใจก็ตาม มีชีวิตหรือไร้ชีวิตก็ตาม อยู่ในจิตใจหรือเป็นวัตถุภายนอกก็ตาม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังขตธรรม คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง เว้นแต่นิพพาน

จะเห็นว่า สังขาร ในขันธ์ ๕ มีความหมายแคบกว่า สังขาร ในไตรลักษณ์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของสังขารในไตรลักษณ์นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 05:53
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้ ละ ดับ ออก คืออุบายสำคัญในการปฏิบัติ

รู้ คือ กำหนดรู้
ละ คือ กำหนดละ
ดับ คือ กำหนดดับ กำหนดรู้ความดับไป
ออก คือ กำหนดออก ออกจาก...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คุณ mes ครับ อัตตโนมติของอาจารย์คุณที่ วิจารณ์ธรรมมากเกินไป กล่าวโจมตีพระอภิธรรม จนนำความวิบัติมาสู่ทิฏฐินั้น ก็ควรระมัดระวังในการเผยแพร่ให้ดีครับ


มาลอบกัดที่นี่เอง

เหลิมนั่นแหละระวังตัวเองให้ดี

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 17:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
viewtopic.php?f=2&t=21062



สมาธิคือการนั่งหลับตาเฉยๆ

วิปัสสนาคือจินตนาการ

แค่นี้ก็บ้าแล้ว

มีหน้าไปเตือนคนอื่นอีก

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 17:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/kalamasuta.html


อ้างคำพูด:
หลักความเชื่อ ๑๐
หลักนี้มีที่มาใน กาลามสูตร และสูตรอื่นๆ ที่ตรัสไว้สำหรับให้ทุกคน มีความเชื่อ
ในเหตุผลของตนเอง ในเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นว่า สิ่งที่มีผู้นำมากล่าวหรือสั่งสอนนั้น
ตนควรจะเชื่อถือเพียงไรหรือไม่ มีผู้ไปทูลถามว่า เขาได้รับความลำบากใจ ในการ
ที่สมณะพราหมณ์พวกหนึ่ง ก็สอนไปอย่างหนึ่ง สมณะพราหมณ์พวกอื่นก็สอนไป
อย่างอื่น หลายพวกหลายอย่างด้วยกัน จนไม่รู้ว่า จะเชื่อใครดี ในที่สุด พระองค์
ตรัสหลักสำหรับ ทำความเชื่อแก่คนพวกนั้น มีใจความว่า

๑. มา อนุสฺสาเวน อย่าเชื่อโดยฟังตามกันมา
๒. มา ปรมฺปราย อย่าเชื่อโดยเหตุสักว่าตามสืบๆ กันมา
๓. มา อิติ กิราย อย่าเชื่อโดยตื่นข่าว
๔. มา ปิฎกสัมฺปทาเนน อย่าเชื่อโดยอ้างปิฎก
๕. มา ตกฺกเหตุ อย่าเชื่อโดยนึกเดาเอาเอง
๖. มา นยเหตุ อย่าเชื่อโดยคาดคะเน
๗. มา อาการปริวิตกฺเกน อย่าเชื่อโดยการตรึกตรองตามอาการ
๘. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนกฺขนฺติยา อย่าเชื่อโดยเห็นว่าถูกตามลัทธิของตน
๙. มา ภพฺพรูปตาย อย่าเชื่อโดยเห็นว่า ผู้พูดควรเชื่อได้
๑๐. มา สมโฌ โน ครุ อย่าเชื่อโดยถือว่า สมณะนี้เป็นครูของเรา

แต่ให้เชื่อ การพิจารณาของตนเอง ว่า คำสอนเหล่านั้น เมื่อประพฤติ กระทำตาม
ไปแล้ว จะมีผลเกิดขึ้นอย่างไร ถ้ามีผลเกิดขึ้น เป็นการทำตนเองและผู้อื่น ให้เป็น
ทุกข์ เดือดร้อน ก็เป็นคำสอน ที่ไม่ควรปฏิบัติตาม ถ้าไม่เป็นไป เพื่อทำตนเอง และ
ผู้อื่นให้เดือดร้อน แต่เป็นไปเพื่อ ความสุข ความเจริญ ย่อมเป็นคำสอน ที่ควรทำ
ตาม ตัวอย่างเช่น เมื่อมีการพูดถึง ราคะ โทสะ โมหะ ว่าเป็นสิ่ง ควรละหรือไม่
ผู้ฟังจะต้องพิจารณา ให้เห็นชัด ด้วยตนเองว่า ราคะ โทสะ โมหะ เป็นสิ่งที่นำมา
ซึ่ง ความทุกข์ หรือ ความสุข ให้เห็นชัดแก่ใจ ของตนเสียก่อน เมื่อเห็นว่า ราคะ
โทสะ โมหะ เป็นของร้อน จึงละเสีย ตามคำสอน ถ้ายังพิจารณา ไม่เห็นแม้แต่เล็ก
น้อย ก็เป็นสิ่งที่ให้รอไว้ก่อน ยังไม่ปฏิบัติตาม จนกว่า จะได้พิจารณาเห็นแล้ว จึง
ปฏิบัติตาม โดยสัดส่วน ของการพิจารณาเห็น ไม่ยอมเชื่อ และปฏิบัติตาม สักว่า
โดยเหตุ ๑๐ อย่าง ดังกล่าวแล้วข้างต้น

หลักนี้ เป็นการแสดงถึงความที่พระพุทธศาสนา ให้ความเป็นอิสระ ในความเชื่อ
อย่างถึงที่สุด พึงรู้ไว้ในฐานะ เป็นอุปกรณ์ แห่งการควบคุม ความเชื่อของตน ให้
เป็นไปในทาง ที่จะปฏิบัติ ให้เป็นผลสำเร็จได้จริงๆ

คำว่า ฟังตามกันมา หมายถึง สิ่งที่บอกเล่า ต่อๆ กันมาตาม ธรรมเนียม เป็นต้น
คำว่า ทำตามสืบๆ กันมา หมายถึง การทำตามสืบๆ กันมา โดยไม่ต้องคำนึง ถึง
เหตุผล แต่ถือเอาการที่ทำสืบๆ กันมานั้นเองเป็น เหตุผล ลักษณะเช่นนี้เรียก
กันว่า เถรส่องบาตร
คำว่า ตื่นข่าว หมายถึง สิ่งน่าอัศจรรย์ ที่กำลังลือกระฉ่อน กันอยู่ในขณะนั้น
คำว่า อ้างปิฎก หมายถึง มีหลักฐานที่อ้างอิงในตำรับตำรา หรือแม้แต่ในพระ
ไตรปิฎก
คำว่า นึกเดาเอาเอง คำว่า คาดคะเนเอาเอง และ คำว่า ตรึกตรองตามอาการ ทั้ง
สามนี้ คล้ายกันมาก หากแต่ว่า หนักเบากว่ากัน ตามลำดับ คำว่า เดา หมาย
ถึง การใช้เหตุผลชั่วแล่น ชั่วขณะ ตามวิสัยของคนธรรมดาทั่วไป คำว่า
คาดคะเน ก็มีลักษณะอย่างนั้น หากแต่ว่ามีการเทียบเคียงโดยนัยต่างๆ ที่
รัดกุมกว่า ซึ่งเป็นวิสัยของผู้มีปัญญา คำว่า ตรึกตามอาการ คือการใช้เหตุ
ผล หรือใช้สิ่งแวดล้อมเป็นเหตุผลตามที่มีปรากฏ อยู่เฉพาะหน้า ในที่นั้นๆ
ซึ่งรัดกุมยิ่งไปกว่า การคาดคะเน
คำว่า ต้องตามลัทธิของตน หมายความว่าเข้ากันได้กับ ความคิดเห็นของตน หรือ
เข้ากับลัทธิ ที่ตนถืออยู่แล้วแต่ก่อน
คำว่า ผู้พูดควรเชื่อได้ หมายความว่า ผู้พูดเป็นผู้ที่ใครๆ พากันเชื่อถือ เพราะเป็น
บัณฑิต นักปราชญ์เป็นคนเฒ่าคนแก่เป็นคนเคยไปในที่นั้นๆ มาแล้ว เป็นต้น
คำว่า ถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา หมายความถึง ครูบาอาจารย์โดยตรง

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


เหลิมอ่าน


http://www.buddhadasa.com/rightstudydham/kalamasuta.html


ติดตำราจะติดตัง


จงรักษา ดวงใจ ให้ผ่องแผ้ว

อย่าทิ้งแนว การถือ คือเหตุผล

อย่าถือแต่ ตามตำรา จะพาตน

ให้เวียนวน ติดตัง นั่งเปิดดู



อย่าถือแต่ ครูเก่า เฝ้าส่องบาตร

ต้องฉลาด ความหมาย สมัยสู

อย่ามัวแต่ อ้างย้ำ ว่าคำครู

แต่ไม่รู้ ความจริง นั้นสิ่งใด



อย่ามัวแต่ ถือตาม ความนึกเดา

ที่เคยเขลา เก่าแก่ แต่ไหนๆ

ต้องฉลาด ขูดเขลา ปัดเป่าไป

ให้ดวงใจ แจ่มตรู เห็นลู่ทางฯ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างอิงคำพูด:
คุณ mes ครับ อัตตโนมติของอาจารย์คุณที่ วิจารณ์ธรรมมากเกินไป กล่าวโจมตีพระอภิธรรม จนนำความวิบัติมาสู่ทิฏฐินั้น ก็ควรระมัดระวังในการเผยแพร่ให้ดีครับ



เหลิมด่าพระไม่เว้น

ชีวิตจะวิบัติ

.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 มิ.ย. 2007, 21:13
โพสต์: 2631

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://larndham.org/index.php?/topic/23396-%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%84/page__st__20


อ้างคำพูด:
นำบทความ ธรรมมะมาฝาก พี่เฉลิมศักดิ์ครับ


------------------------------------------------------------------------


ว่าด้วยปริยัติ ๓ ประเภท

จริงอยู่ ปริยัติมี ๓ ประเภท คือ
๑. อลคัททูปมปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษร้าย)
๒. นิสสรณัตถปริยัติ (ปริยัติเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก)
๓. ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง).



------------------------------------------------------------------------


(ปริยัติเปรียบด้วยอสรพิษร้าย)


บรรดาปริยัติเหล่านั้น

ปริยัติที่ถือเอาไม่ดี คือเรียนเพื่อเหตุแห่งการโต้แย้งเป็นต้น
ชื่อว่า อลคัททูปมปริยัติ

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการอสรพิษมีพิษร้าย
ย่อมแสวงหาอสรพิษมีพิษร้าย เมื่อเที่ยวแสวงหาอสรพิษมีพิษร้าย
เขาเห็นอสรพิษมีพิษร้ายด้วยใหญ่ ก็พึงจับอสรพิษนี้นั้น ที่ขนดหรือที่หาง
อสรพิษนั้นพึงแว้งขบเอาที่มือ หรือแขน หรืออวัยวะน้อยใหญ่แห่งใดแห่งหนึ่ง
ของบุรุษนั้น บุรุษนั้นพึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตาย
เพราะการขบกัดนั้นเป็นเหตุ

ข้อนั้นเพราะเหตุแห่งอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อสรพิษร้ายอันบุรุษจับแล้วไม่ดี
แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตะ ฯลฯ เวทัลละ
บุรุษเหล่านั้นครั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น
ด้วยปัญญา เมื่อโมฆบุรุษเหล่านั้นไม่ใคร่ครวญอรรถด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น
ย่อมไม่ทนต่อการเพ่ง โมฆบุรุษเหล่านั้น มีการโต้แย้งเป็นอานิสงส์
และมีการยังตน ให้พ้นจากวาทะนั้น ๆ เป็นอานิสงส์ ย่อมเรียนธรรม
และย่อมเรียนธรรมเพื่อประโยชน์แก่ธรรมใด ย่อมไม่เสวยผลแห่งธรรมนั้น

ธรรมเหล่านั้นอันโมฆบุรุษเหล่านั้นเรียนแล้วไม่ดี
ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเพราะเหตุแห่งอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่
ธรรมทั้งหลายอันโมฆบุรุษนั้นเรียนแล้วไม่ดี ดังนี้.


------------------------------------------------------------------------


(ปริยัติเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก)


ส่วนปริยัติใด อันบุคคลเรียนดีแล้ว
คือหวังอยู่ซึ่งความบริบูรณ์แห่งคุณมีสีลขันธ์เป็นต้น เรียนแล้ว
มิใช่เรียนเพราะเหตุการโต้แย้งเป็นต้น

ปริยัตินี้ ชื่อว่า นิสสรณัตถปริยัติ (มีความต้องการเพื่อสลัดออก)

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงตรัสไว้ว่า ธรรมเหล่านั้น
อันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล
และเพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้น เพราะเหตุแห่งอะไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะธรรมทั้งหลาย อันกุลบุตรเรียนดีแล้ว.


------------------------------------------------------------------------


(ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง).


ส่วนพระขีณาสพผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ละกิเลสแล้ว มีมรรคอัน
เจริญแล้ว มีธรรมไม่กำเริบอันแทงตลอดแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งแล้ว
ย่อมเรียนปริยัติใด เพื่อรักษาประเพณี เพื่อรักษาวงศ์อย่างเดียว

ปริยัตินี้ ชื่อว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ (ปริยัติเปรียบด้วยขุนคลัง) ดังนี้

บัณฑิตพึงทราบประเภท
แห่งปริยัติ ๓ อย่าง ในพระไตรปิฎกเหล่านั้น ดังกล่าวมาแล้ว.


(ข้อความจาก อัฏฐสาลินี อรรถกถา)

------------------------------------------------------------------------




ขออำนาจ คุณพระศรีรัตนตรัย
จงดลบันดาลให้
ปริยัติของ พี่เฉลิมศักดิ์ ได้เป็นไปในแบบ

นิสสรณัตถปริยัติ หรือ ปริยัติเพื่อประโยชน์แก่การสลัดออก

ด้วยเทอญ :09: :09: :09:


.....................................................
นิพพานที่นี่ เดี๋ยวนี้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓. สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

[๕๓๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่
ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อ
ใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด
ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรม-
*ชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก
ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น
เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๕๘๔๖ - ๕๘๘๘. หน้าที่ ๒๔๖ - ๒๔๗.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=531

---------------------------------------------------------------
๗. อาณิสูตร
[๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า
ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา
โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก
ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา

[๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา
กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
จบสูตรที่ ๗

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672

-------------------------------------------------------------------

อย่าถือแต่ ครูเก่า เฝ้าส่องบาตร

ต้องฉลาด ความหมาย สมัยสู

อย่ามัวแต่ อ้างย้ำ ว่าคำครู

แต่ไม่รู้ ความจริง นั้นสิ่งใด



อย่ามัวแต่ ถือตาม ความนึกเดา

ที่เคยเขลา เก่าแก่ แต่ไหนๆ

ต้องฉลาด ขูดเขลา ปัดเป่าไป

ให้ดวงใจ แจ่มตรู เห็นลู่ทางฯ
เหลิมอ่าน

-----------------------
viewtopic.php?f=2&t=32633
เรียนวิปัสสนา เพิ่งมีมา ต่อภายหลัง

ไม่เคยฟัง ในบาลี ที่ตถา

ไม่แยกเป็น คันถะ วิปัสสนา

มีแต่ว่า ตั้งหน้า บำเพ็ญธรรม


เห็นการร้อยกรองของปราชญ์ อาจารย์ใหญ่คุณ mes ที่นำมาเผยแพร่แล้ว

นึกถึง อาณิสูตร ครับ

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2010, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.พ. 2009, 05:07
โพสต์: 372


 ข้อมูลส่วนตัว


พระบาลี เกี่ยวกับ สมถะม วิปัสสนา และการนำองค์ฌานจากสมถะมาเจริญวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049

อ้างคำพูด:
อานิสงส์ของสมถะและวิปัสสนา
http://www.84000.org/true/568.html

สมถะหรือวิปัสสนาก่อน?
http://www.84000.org/true/220.html

พระพุทธพจน์เกี่ยวกับวิปัสสนา
http://geocities.com/toursong1/kam/pt.htm



---------------------------------------------

บทร้อยกรองของปราชญ์ผู้เป็นอาจารย์ ของคุณ mes


อย่าถือแต่ ครูเก่า เฝ้าส่องบาตร

ต้องฉลาด ความหมาย สมัยสู

อย่ามัวแต่ อ้างย้ำ ว่าคำครู

แต่ไม่รู้ ความจริง นั้นสิ่งใด
------------------------------------

เรียนวิปัสสนา เพิ่งมีมา ต่อภายหลัง

ไม่เคยฟัง ในบาลี ที่ตถา

ไม่แยกเป็น คันถะ วิปัสสนา

มีแต่ว่า ตั้งหน้า บำเพ็ญธรรม


มีพระพุทธพจน์ สาวกภาษิต มากมายในพระไตรปิฏก อรรถกถา ที่กล่าวถึง สมถะ - วิปัสสนา รายละเอียดในการปฏิบัติ

หรือว่า จะสู้บทร้อยกรองสมัยนี้ไม่ได้

.....................................................
สมถะ (ฌาน, สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21049

ผู้บรรลุธรรม จากสมถะ มีจำนวนน้อยกว่าผู้ไม่มี
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=21062

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=2&t=29201

ควรศึกษาอัตตโนมติ ของท่านพุทธทาสหรือไม่ ?
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17187


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร