วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "สังขารธรรม" .มีมากในวิสุทธิมรรค..ถ้าไม่เข้าใจคำนี้ ก็จะอ่านคัมภีร์....ไม่เข้าใจ?
...ค้นใน พจนานุกรม ก็ไม่พบ
จึง
บันทึก ที่ มา ที่ พอ จะ
พูดถึง สังขารธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dharma-gateway.com/ubasika/sujin/sujin-paramat_4.htm
http://www.dhammastudy.com/thpar1.html

ปรมัตถธรรมสังเขป
โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์

นิพพานปรมัตถ์

อ้างคำพูด:
สภาพธรรมใดที่เกิดขึ้น สภาพธรรมนั้นต้องมีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น เมื่อไม่มีปัจจัยก็ไม่เกิด ท่านพระสารีบุตรเกิดความเลื่อมใสในคำสอนของพระผู้พระภาค ก็เพราะได้เห็นท่านพระอัสสชิ ซึ่งเป็นภิกษุรูปหนึ่งในภิกษุปัจจวัคคีย์ ท่านพระสารีบุตรเห็นท่านพระอัสสชิมีความน่าเลื่อมใสเป็นอันมาก จึงได้ตามท่านพระอัสสชิไป และถามท่านพระอัสสชิว่าใครเป็นศาสดา และศาสดาของท่านสอนท่านว่าอย่างไร ท่านพระอัสสชิตอบว่า
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต (อาห)
เตสญฺจ โย นิโรโธ เอวํวาที มหาสมโณติ ฯ
[พระวินัยปิฏก มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ ข้อ ๖๕]
ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะทรงสั่งสอนอย่างนี้


อ้างคำพูด:
ถ้าพระผู้มีพระภาคไม่ทรงแสดงธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ พร้อมทั้งเหตุปัจจัยของธรรมนั้นๆ ก็จะไม่มีผู้ใดรู้ว่าธรรมใดเกิดจากเหตุปัจจัยใด ไม่มีผู้ใดรู้ว่าจิตปรมัตถ์ เจตสิตปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ แต่ละประเภทนั้นเกิดขึ้น เพราะมีธรรมใดเป็นปัจจัย พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง พระองค์จึงได้ทรงแสดงว่าธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดจึงเกิดขึ้น และทรงแสดงเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดธรรมนั้นๆ ธรรมทั้งปวงที่เกิดขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นโดยไม่มีปัจจัยไม่ได้


อ้างคำพูด:
ที่กล่าวว่า คนเกิด สัตว์เกิด เทวดาเกิด เป็นต้นนั้น คือ จิต เจตสิก รูป เกิดนั่นเอง เมื่อจิต เจตสิก ประเภทหนึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับรูป ก็บัญญัติว่าคนเกิด เมื่อจิต เจตสิก เกิดขึ้นพร้อมกับรูปของเทวดา ก็บัญญัติว่าเทวดาเกิด เป็นต้น การเกิดของคน สัตว์ เทวดา เป็นต้นนั้น ต่างกันเพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดนั้นต่างกัน เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดนั้นมีมาก และสลับซับซ้อนมาก แต่ด้วยพระสัพพัญญุตญาณของพระผู้มีพระภาค ผู้ทรงตรัสรู้ธรรมทั้งปวง พร้อมทั้งเหตุปัจจัยของธรรมทั้งปวงนั้น พระองค์จึงได้ทรงแสดงธรรม ตามสภาพความจริงของธรรมแต่ละประเภท ว่าธรรมใดเกิดขึ้น ธรรมนั้นมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นสังขารธรรม
ที่รู้ได้ว่ามีจิต เจตสิก รูป ก็เพราะว่า จิต เจตสิก รูปเกิดขึ้น และที่จิต เจตสิก รูปเกิดขึ้นก็เพราะมีปัจจัย จิต เจตสิกและรูปเป็นสังขารธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 09 ต.ค. 2010, 18:25, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
พระธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคนั้น สมบูรณ์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ ธรรมข้อใดที่อาจจะมีผู้เข้าใจผิดได้ พระองค์ก็ทรงบัญญัติคำกำกับให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้ผู้ใดเข้าใจความหมายของธรรมข้อนั้นผิด เมื่อพระองค์ทรงบัญญัติว่า ธรรมที่เกิดขึ้นมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้นเป็นสังขารธรรม เพื่อไม่ให้ผู้ใดเข้าใจผิดว่าธรรมที่เกิดขึ้นนั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ตั้งอยู่ตลอดไปเรื่อยๆ พระองค์จึงทรงบัญญัติว่า ธรรมที่เป็นสังขารธรรม (ธรรมที่มีสภาพปรุงแต่ง) นั้นเป็นสังขตธรรม (ธรรมที่ปรุงแต่งแล้ว) สังขตธรรม คือ ธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป [อังคุตรนิกาย ติกนิบาต จูฬวรรคที่ ๕ สังขตสูตร ข้อ ๔๘๖] พระองค์ทรงบัญญัติคำว่าสังขตธรรม กับคำว่าสังขารธรรม เพื่อให้รู้ว่าธรรมใดที่เกิดขึ้น ธรรมนั้นมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น เมื่อปัจจัยดับ ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้นก็ต้องดับไป สังขตธรรมคือธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ฉะนั้นสังขารธรรมคือธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งนั้น จึงเป็นสังขตธรรม [ธรรมสังคณีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ จูฟันตรทุกะ ข้อ ๗๐๒] จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ เป็นสังขารธรรม เป็นสังขตธรรม
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาฯ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สพฺเพ สงฺขารา ทุกขาฯ สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาฯ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
[ขุททกนิกาย มหานิทเทส สุทธัฎญกสุตตนิทเทส ข้อ ๑๓๑]


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ธรรมทั้งปวง ได้แก่ปรมัตถธรรมทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตนไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของบุคคลใด
นิพพานเป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีจริง นิพพานไม่ใช่สังขารธรรม เป็นวิสังขารธรรม คือ เป็นธรรมที่ไม่เกิด [ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ญาณกถา ข้อ ๒๘] ตรงกันข้ามกับสังขารธรรม สังขารธรรม คือธรรมที่เกิดขึ้น มีปัจจัยปรุงแต่ง วิสังขารธรรมคือธรรมที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง


นิพพาน เป็นอสังขตธรรม ไม่ใช่สังขตธรรม [อังคุตตรนิกาย อสังขตสูตร ข้อ ๔๘๗] สังขตธรรม คือธรรมที่เกิดดับ อสังขตธรรมคือธรรมที่ไม่เกิดดับ นิพพานไม่มีปัจจัยจึงไม่เกิดดับ

จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เป็นโลกียะ คำว่าโลกียะ หมายถึงแตกดับทำลาย ส่วนนิพพานเป็นวิสังขารธรรมเป็นโลกุตตระ คำว่า โลกุตตระ หมายถึง พ้นจากโลก

นามธรรม (รู้อารมณ์) จิตปรมัตถ์ ๘๙ หรือ ๑๒๑, เจตสิกปรมัตถ์ ๕๒ (สังขารธรรม สังขตธรรม)
รูปธรรม รูปปรมัตถ์ ๒๘ (สังขารธรรม สังขตธรรม)
นามธรรม (ไม่รู้อารมณ์) นิพพานปรมัตถ์ (วิสังขารธรรม อสังขตธรรม) [ธรรมสังคณีปกรณ์ นิกเขปกัณฑ์ ข้อ ๘๔๔ วิภังคปกรณ์ ขันธวิภังค์ ข้อ ๑]
นิพพานปรมัตถ์ อสังขตธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


คำว่า สังขตธรรม นับเป็นสิ่งหรือคำ ที่มีค่ายิ่ง
เพื่อชี้ให้เห็นว่า ขันธ์เกิดและดับ
แต่เรา อยากจะทราบ หลักฐานที่ว่า ขันธ์มันเกิดและดับ ด้วยความเร็ว มากๆ
ปรากฏที่ไหน มีคำกล่าวที่ไหน
ไม่งั้นจะพาล เข้าใจว่า คนเกิดคือขันธ์เกิด คนตายคือขันธ์ดับ

สรุปได้แบบคนพาลว่า

ขันธ์5 เกิดขึ้น ตั้งอยู่ 100 ปี แล้วดับ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.dharma-gateway.com/ubasika/sujin/sujin-paramat_3.htm


อ้างคำพูด:
รูปปรมัตถ์

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/sujin/sujin-paramat_3.htm

อ้างคำพูด:
รูปปรมัตถ์เป็นสภาวะธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ [ธรรมสังคณีปกรณ์ รูปกัณฑ์ ข้อ ๕๐๓] มีปัจจัยปรุงแต่ง จึงเกิดขึ้นและดับไป เช่นเดียวกัน กับจิตและเจตสิก


อ้างคำพูด:
รูปเป็นสภาพธรรมที่เล็กละเอียดมาก เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา รูปกลาปหนึ่งเกิดขึ้น จะดับไปเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะจิตที่เห็น และจิตที่ได้ยินขณะนี้ ซึ่งปรากฏเสมือนว่าพร้อมกันนั้น ก็เกิดดับห่างไกลกันเกินกว่า ๑๗ ขณะจิต ฉะนั้น รูปที่เกิดพร้อมกับจิตที่เห็น ก็ดับไปก่อนที่จิตได้ยินจะเกิดขึ้น

รูปแต่ละรูปเล็กละเอียดมาก ซึ่งเมื่อแตกย่อยรูปที่เกิดดับรวมกันอยู่ออกจนละเอียดยิบ จนแยกต่อไปไม่ได้อีกแล้วนั้น ในกลุ่มของรูป (กลาปหนึ่ง) ที่เล็กที่สุดที่แยกอีกไม่ได้เลยนั้น ก็มีรูปรวมกันอย่างน้อยที่สุด ๘ รูป เรียกว่า อวินิพโภครูป ๘ คือ

มหาภูตรูป (รูปที่เป็นใหญ่เป็นประธาน) ๔ ได้แก่

ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) เป็นรูปที่อ่อนหรือแข็ง ๑ รูป

อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) เป็นรูปที่เอิบอาบ หรือเกาะกุม ๑ รูป

เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) เป็นรูปที่ร้อน หรือเย็น ๑ รูป

วาโยธาตุ (ธาตุลม) เป็นรูปที่ไหวหรือตึง ๑ รูป

มหาภูตรูป ๔ นี้ต่างอาศัยกันเกิดขึ้น จึงแยกกันไม่ได้เลย และมหาภูตรูป ๔ นี้เป็นปัจจัย โดยเป็นที่อาศัยเกิดของรูปอีก ๔ รูปที่เกิดร่วมกับมหาภูตรูปในกลาปเดียวกัน คือ

วัณโณ (แสงสี) เป็นรูปที่ปรากฏทางตา ๑ รูป

คันโธ (กลิ่น) เป็นรูปที่ปรากฏทางจมูก ๑ รูป

รโส (รส) เป็นรูปที่ปรากฏทางลิ้น ๑ รูป

โอชา (อาหาร) เป็นรูปที่เป็นปัจจัยให้เกิดรูป ๑ รูป

รูป ๘ รูปนี้แยกกันไม่ได้เลย เป็นกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด ที่เกิดพร้อมกันและดับพร้อมกันอย่างรวดเร็ว จะมีแต่มหาภูตรูป ๔ โดยไม่มี อุปาทายรูป (รูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด) ๔ รูปนี้ไม่ได้เลย

มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัย โดยเป็นที่อาศัยของอุปาทายรูปที่เกิดร่วมกันในกลาปเดียวกัน แต่แม้ว่าอุปทายรูป จะเกิดพร้อมกับ มหาภูตรูปในกลาปเดียวกัน แต่อุปทายรูป ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยให้มหาภูตรูปเกิด ฉะนั้น มหาภูตรูป ๔ จึงเกิดพร้อมกับอุปาทายรูป โดยมหาภูตรูปเป็นปัจจัย คือเป็นที่อาศัยของอุปาทายรูป และอุปาทายรูปเกิดพร้อมกับมหาภูตรูปโดยอาศัยมหาภูตรูป แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยให้มหาภูตรูปเกิด

รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป เป็นมหาภูตรูป ๔ เป็นอุปาทายรูป ๒๔ เมื่อมหาภูตรูป ๔ ไม่เกิด อุปาทายรูป ๒๔ ก็มีไม่ได้เลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2010, 22:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
รูปเป็นสภาพธรรมที่เล็กละเอียดมาก เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา รูปกลาปหนึ่งเกิดขึ้น จะดับไปเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะจิตที่เห็น และจิตที่ได้ยินขณะนี้ ซึ่งปรากฏเสมือนว่าพร้อมกันนั้น ก็เกิดดับห่างไกลกันเกินกว่า ๑๗ ขณะจิต ฉะนั้น รูปที่เกิดพร้อมกับจิตที่เห็น ก็ดับไปก่อนที่จิตได้ยินจะเกิดขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 00:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

ที่ เกิดวิปลาส คือ มีความเห็นผิด เข้าใจผิด จำผิดขึ้นก็เพราะไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ที่ไม่แจ้งในไตรลักษณ์ ก็เพราะมีสิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์อยู่ สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์ คือ
๑. สันตติ ปิดบัง อนิจจัง สันตติ คือ ความสืบต่อของรูปนามที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างรวดเร็วเหลือเกิน จึงทำให้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของนามและของรูป ทำนองเดียวกับที่เห็นแสงไฟที่ธูป ซึ่งแกว่งหมุน
เป็นวงกลมอย่างเร็ว ๆ ในที่มืด ๆ จึงทำให้เห็นไปว่าแสงไฟนั้นติดกันเป็นพืด เป็นวงกลมไปเลย ฉะนั้น เมื่อไม่เห็น
ความเกิดดับ ก็ทำให้เข้าใจผิดไปว่ารูปนามนี้ไม่มีการเกิดดับ เป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นตัวตนเราเขา เป็นของสวย
งามน่าชื่นชมยินดี ต่อเมื่อได้กำหนดจนเกิดปัญญาเห็นความดับไปของนามของรูปอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง แล้ว จึงจะทำลายความวิปลาสที่เห็นว่าเที่ยงว่ายั่งยืน และประหาณ มานะได้
๒. อิริยาบถ ปิด บังทุกข์ อันความทุกขเวทนาทั้งหลาย ตามปกติเป็นส่วนมากนั้นเกิดจากอิริยาบถ เช่น นั่งมากก็เมื่อยเกิดทุกขเวทนาขึ้นมาแล้วทนอยู่ไม่ได้ เดินมากก็เมื่อยทนไม่ได้ ยืนมากก็ทนไม่ไหว แม้แต่นอน
มากก็ลำบากทนอยู่ไม่ได้นานเหมือนกัน อิริยาบถเก่าเป็นทุกข์นั้นย่อมรู้เห็นกันทั่วไปได้โดยง่าย เมื่อนั่งนานก็
เมื่อยทนไม่ได้จึงลุกเดิน ก็นึกว่าการเดินนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเมื่อย เดินนานหน่อยก็เหนื่อยทนไม่ได้อีก
จึงนอน ก็นึกว่าการนอนนั้นเป็นสุขสบายเพราะหายเหนื่อย คือเห็นว่าอิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่นั้นเป็นสุข เพราะ
ขณะที่เปลี่ยนใหม่ ๆ นี้ ทุกขเวทนายังไม่ทันเกิด แท้จริงอิริยาบถเก่าเป็นทุกข์ อิริยาบถที่เปลี่ยนใหม่ก็จะเป็น
ทุกข์อีกเหมือนกัน รวมความว่า หนีทุกข์เก่าไปสู่ทุกข์ใหม่นั้นเอง อิริยาบถเก่านั้นเห็นทุกข์ได้ง่าย เพราะ
ทุกขเวทนากำลังมีอยู่ แต่อิริยาบถใหม่ก็ไม่สามารถพ้นทุกข์ไปได้ จะต้องสำแดงให้ทุกข์ปรากฏขึ้นมาอย่าง
แน่นอนไม่เร็วก็ช้า
อิริยาบถเก่าที่กำลังมีทุกข์เวทนาอยู่ เป็นที่ตั้งแห่ง โทมนัส อิริยาบถใหม่ที่นึกว่าเป็นสุขนั้นก็เป็นที่ตั้งแห่ง
ตัณหา คือ อภิชฌา แต่ว่าการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น เพื่อกำจัดอภิชฌา และโทมนัส ทั้งสองอย่าง
ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงการเห็นทุกขเวทนา ซึ่งผู้ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานย่อมจะเห็นทุกขเวทนา
ก่อนเป็นเบื้องต้น เพราะทุกขเวทนาเป็นของหยาบ เห็นได้ง่าย ขั้นที่สอง จึงจะเห็นสังขารทุกข์ที่จะต้องถูกเบียด
เบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ ต่อไปก็เห็น ทุกขลักษณะ คือ ความเกิดดับเป็นขั้นที่สาม และจะปรากฏทุกขสัจจ
เป็นขั้นสุดท้าย



หน้า ๘๕

ทุกขเวทนา เห็นได้ในอิริยาบถเก่า เห็นสังขารทุกขได้ในอิริยาบถใหม่ เห็นทุกขลักษณะได้เมื่อกำหนดนามรูป
จนสันตติขาด และจะเห็นทุกขสัจจ ได้ในสังขารุ เบกขาญาณที่แก่กล้า มีกำลังพอที่จะอนุโลมให้เห็น อริยสัจจ ทั้ง ๔ ได้
เมื่อเห็นทุกข์ ก็ทำลายวิปัลลาสธรรมที่เห็นว่าสุขว่าสบายนั้นได้ และประหาณตัณหาลงได้
๓. ฆนสัญญา ปิดบังอนัตตา ฆนสัญญา คือ ความสำคัญว่าเป็นก้อน เป็นแท่ง ความสำคัญว่าเป็นก้อนเป็น
แท่งนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้เห็นว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นคนเป็นสัตว์ ที่ว่าเป็นคนก็สำคัญเอาหมดทั้งก้อนหมดทั้งแท่งนี้ว่า
เป็นคน ถ้าย่อยก้อนนี้แท่งนี้ออกไปแล้ว ก็จะมีแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เท่านั้นเอง หาสิ่งที่เป็นคน
เป็นตนเป็นตัวนั้นไม่มีเลย ถ้ายังถือทั้งก้อนทั้งแท่งว่าเป็นคนอยู่ ก็ย่อมจะเข้าใจผิดไปว่าเป็นของเที่ยง เพราะยั่งยืน
อยู่นับสิบ ๆ ปี เป็นสุข เป็นสาระ สวยงามน่ารักน่าใคร่
เมื่อเห็นอนัตตา ก็ทำลายวิปลาสว่า เป็นตัวเป็นตนบังคับบัญชานั้นได้ และประหาณทิฏฐิลงได้
การทำลายสิ่งที่ปกปิดไตรลักษณ์ เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์นั้น มีวิธีเดียว คือ การกำหนดเพ่งรูปนามตาม
วิธีที่เรียกว่า เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่กำลังศึกษาอยู่บัดนี้


http://www.watnai.org/live/index.php?option=com_content&view=article&id=120:--9---81-90&catid=41:-1-&Itemid=71


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร