วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 19:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(๒. ปัจจยปริคคหญาณ)

ส่วนว่า ญาณซึ่งข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป (ดังกล่าวมาแล้ว) นั้นนั่นแล ชื่อว่า กังขาวิตรณวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ด้วยข้ามพ้นความสงสัย

พระภิกษุผู้ปรารถนาบรรลุกังขาวิตรณวิสุทธินั้น รำพึงถึงการค้นหาเหตุและปัจจัยของนามและรูปนั้นอยู่ เหมือนนายแพทย์ผ่าตัดผู้ฉลาด ครั้นเห็นโรคก็ค้นหาสมุฏฐานของโรคนั้นอยู่ ก็หรือ เหมือนบุรุษผู้มีเมตตา ครั้นเห็นเด็กเล็กอ่อนวัยนอนหงายแบเบาะอยู่ในตรอก จึงรำพึงอยู่ว่า “เด็กนี้เป็นบุตรน้อยของใครหนอ” ฉะนั้นเทียว


(กำหนดรู้เหตุและปัจจัยของนามและรูป)

พระภิกษุนั้นเห็นเป็นแน่แท้มาแต่ต้นเลยดังนี้ว่า “ก่อนอื่น นามและรูปนี้จะไม่มีเหตุหามิได้ เพราะนามและรูปทุกอย่าง ถึงความเป็นอย่างหนึ่งอย่างเดียวกันทั้งหมดในที่ทุกแห่งและในกาลทุกเมื่อ (นามและรูปนั้น) จะมีเทพเจ้าเช่นพระอิศวรเป็นต้นเป็นเหตุ หามิได้ เพราะนอกไปจากนามและรูปแล้ว หามีเทพเจ้าเช่นพระอิศวรเป็นต้นไม่ เพราะถึงแม้ศาสดาพวกใดจะกล่าว (ทึกทักเอา) ว่า นามรูปเป็นประมาณนั่นแหละ คือเทพเจ้ามีพระอิศวรเป็นต้นนามและรูปที่เขากล่าวว่าคือเทพเจ้ามีพระอิศวร เป็นต้นของพระศาสดาเหล่านั้น ก็ถึงภาวะเป็นของหาเหตุมิได้ เพราะฉะนั้น นามและรูปนั้นต้องมีเหตุมีปัจจัย เหตุและปัจจัยเหล่านั้นคืออะไรหนอแล” ดังนี้



(หน้าที่ 255)



พระภิกษุนั้นครั้นรำพึงถึงเหตุและปัจจัยของนามและรูปอย่างนี้แล้ว

ก็กำหนดรู้เหตุและปัจจัยของรูปกายนี้ก่อนอย่างนี้ว่า “กายนี้เมื่อเกิดขึ้นมา มิได้เกิดขึ้นภายในดอกบัวอุบล (บัวขาบ) ดอกบัวปทุม (บัวหลวง) ดอกบัวบุณฑริก (บัวขาว) และดอกบัวจงกลนี (บัวแดง) อันมีกลิ่นหอมเป็นต้น มิได้เกิดขึ้นภายในแก้วมณีและแก้วมุกดาหารเป็นต้น

หากแต่เกิดขึ้นในระหว่างกระเพาะอาหารใหม่และกระเพราะอาหารเก่า เอาพื้นห้องไว้ข้างหลัง เอากระดูกสันหลังไว้ข้างหน้า แวดวงไว้ด้วยไส้ใหญ่และไส้น้อย แม้ตัวเองก็ปฏิกูลไว้ด้วยของที่น่าเกลียดมีกลิ่นเหม็น อยู่ในที่คับแคบมาก ซึ่งปฏิกูลด้วยของน่าเกลียดมีกลิ่นเหม็น ดุจตัวหนอนที่เกิดขึ้นในปลาเน่าในขนมบูด ในบ่อน้ำครำ และในหลุมโสโครก เป็นต้น

รูปซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้นั้น มีธรรมเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ๕ อย่าง คือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ อุปาทาน ๑ กรรม ๑ เหล่านี้เป็นเหตุ

เพราะเป็นผู้ให้เกิดขึ้น (และ) อาหารเป็นปัจจัย เพราะเป็นผู้อุปถัมภ์ ๑
แม้ในธรรมเหล่านั้น ธรรม ๓ อย่างมีอวิชชาเป็นต้น เป็นที่เข้าอยู่อาศัยของกายนี้ เปรียบเหมือนมารดาเป็นที่เข้าอยู่อาศัยของทารก กรรมเป็นผู้ให้เกิด เปรียบเหมือนบิดาเป็นผู้ทำให้บุตรเกิดอาหารเป็นผู้ค้ำจุน (กายนี้) เปรียบเหมือนพี่เลี้ยงคอยอุ้มชูทารก

พระภิกษุนั้นครั้นกำหนดรู้ปัจจัยของรูปกายอย่างนี้แล้ว จึงทำการกำหนดรู้ปัจจัยของนามกายต่อไป โดยนัยเป็นต้นว่า “จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุและรูปทั้งหลาย” ดังนี้


(ละความสงสัย ๑๖ ประการ)

พระภิกษุนั้นครั้นเห็นความเป็นไปของนามและรูปโดยปัจจัยดังกล่าวนี้แล้ว ก็เห็นอยู่เสมอเนือง ๆว่า
“นามและรูปนี้เป็นไปอยู่ทั้งใน (ปัจจุบัน) บัดนี้
ฉันใด ถึงแม้ในอดีตกาลก็ได้เป็นไปแล้วโดยปัจจัย
อีกทั้งในอนาคตกาลก็จักเป็นไปโดยปัจจัย ฉันนั้น”

เมื่อพระภิกษุนั้นเห็นอยู่เสมอเนืองๆ อย่างนี้ ก็ละความสงสัยแม้ทุกอย่าง คือ ความสงสัยซึ่งท่านปรารภที่สุดเบื้องต้น (คือ อดีตกาล) แล้วกล่าวไว้ ๕ อย่างดังนี้ว่า


๑. ในอดีตกาล ข้าพเจ้าได้เป็นแล้วหรือหนอ ?

๒. ในอดีตกาล ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นมาแล้วหรือหนอ ?

๓. ในอดีตกาล ข้าพเจ้าได้เป็นอะไรมาแล้วหรือหนอ ?



(หน้าที่ 256)



๔. ในอดีตกาล ข้าพเจ้าได้เป็นอย่างไรมาแล้วหนอ ?

๕. ในอดีตกาล ข้าพเจ้าเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรมาแล้วหนอ ?


อีกทั้งความสงสัย ซึ่งท่านปรารภที่สุดเบื้องปลาย (คือ อนาคตกาล) แล้วกล่าวไว้ ๕ อย่าง ดังนี้ว่า


๑. ในอนาคตกาล ข้าพเจ้าจักเป็นหรือหนอ ?

๒. ในอนาคตกาล ข้าพเจ้าจักไม่เป็นหรือหนอ ?

๓. ในอนาคตกาล ข้าพเจ้าจักเป็นอะไรหนอ ?

๔. ในอนาคตกาล ข้าพเจ้าจักเป็นอย่างไรหนอ ?

๕. ในอนาคตกาล ข้าพเจ้าเป็นอะไรแล้วจึงได้เป็นอะไรมาแล้วหนอ ?


อีกทั้งความสงสัยซึ่งท่านปรารภการปัจจุบัน ก็หรือว่าเป็นผู้มีความสงสัยภายในปรารภกาลปัจจุบันในบัดนี้ แล้วกล่าวไว้ (อีก) ๖ อย่างดังนี้ว่า


๑. ข้าพเจ้าเป็นอยู่หรือหนอ ?

๒. ข้าพเจ้าจักมิได้เป็นอยู่หรือหนอ ?

๓. ข้าพเจ้าเป็นอะไรอยู่หนอ ?

๔. ข้าพเจ้าเป็นอย่างไรอยู่หนอ ?

๖. สัตว์นี้มาจากไหนหนอ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


...เนื้อความ ขอ ข้าม มา ตอน จบ กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ..เลย


อ้างคำพูด:
มื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่เสมอเนือง ๆ อย่างนี้ก็ละความสงสัยทั้งหมด 16 ประการซึ่งท่านปรารภที่สุดเบื้องต้น (อดีตกาล) เป็นต้น แล้วกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า “ข้าพเจ้าได้เป็นมาแล้วหรือหนอ ?
ในภพ (๓)
โยนิ (๔)
คติ (๕)
ฐิติ (๗)
และนิวาส (๙)
ทั่วทั้งหมด
ก็ปรากฏอยู่แต่เพียงนามและรูป

ซึ่งเป็นไปอยู่ด้วยความสัมพันธ์ของเหตุและผล
เท่านั้น นอกเหนือไปจากเหตุพระภิกษุนั้นมิได้เห็นการก (ผู้สร้าง) นอกเหนือจากความเป็นไปของผล ก็มิได้เห็นผู้เสวยผลจึงเป็นอันว่า

พระภิกษุนั้นเห็นดีแล้วด้วยปัญญาโดยชอบว่า เมื่อมีเหตุ บัณฑิตทั้งหลายก็พากันกล่าวด้วยเพียงหมายรู้มันว่า “มีผู้สร้าง” เมื่อมีความเป็นไปของวิบาก ก็กล่าวว่า “มีผู้เสวย” ดังนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านผู้รู้แต่โบราณทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า


กมมสส การโก นตถิ วิปากสส จ เวทโก

สุทธธมมา ปวตตนติ เอเวตํ สมมทสสนํ.


แปลความว่า

ผู้สร้างกรรมไม่มี และผู้เสวยผล (ของกรรม) ก็ไม่มี

ธรรมล้วน ๆ เป็นไปอย่างเดียว นี้เป็นสัมมาทัสสนะ (คือ

ความเห็นโดยชอบ)



เอวํ กมเม วิปาเก จ วตตมาเน สเหตุเก

พีชรุกขาทิกานํ ปุพพา โกฏิ น นายติ.



แปลความว่า

เมื่อกรรมและวิบากพร้อมทั้งเหตุเป็นไปอย่างนี้ ก็

ไม่มีใครรู้เบื้องต้น (และ) เบื้องปลาย ดุจไม่มีใครรู้เบื้องต้น

(และ) เบื้องปลายของเมล็ดพืชและต้นไม้เป็นต้น ฉะนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 13 ต.ค. 2010, 22:38, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(หน้าที่ 262)



สตตสญญํ คเหตวาน สสสตุจเฉททสสิโน

ทวาสฏฐิทิฏฐี คณหนติ อญญมญญํ วิโรธิตา.


แปลความว่า

แม้ในอนาคตกาล ความไม่เป็นไปในสังสารวัฏก็ไม่

ปรากฏ พวกเดียรถีย์ทั้งหลายไม่รู้ความข้อนี้ ทั้งตนเองก็ไม่มี

ความเชี่ยวชาญจึงยึดถือสัตตสัญญา (ความสำคัญหมายว่ามี

สัตว์บุคคล) แล้วมีความเห็นว่าเที่ยง ว่าขาดสูญ ยึดถือทิฏฐิ

๖๒ ประการ ต่างโต้แย้งกันและกันอยู่


ทิฏฐิพนธนพนธา เต ตณหาโสเตน วุยหเร

ตณหาโสเตน วุยหนตา น เต ทุกขา ปมุจจเร.


แปลความว่า

พวกเดียรถีย์เหล่านั้นซึ่งมีเครื่องผูกพันธ์คือทิฏฐิผูกพัน

ไว้ จึงถูกกระแสแห่งตัณหาพัดพาไป เมื่อถูกกระแสตัณหา

พัดพาอยู่ พวกเขาก็ไม่พ้นจากทุกข์








อ้างคำพูด:
เอวเมตํ อภิญญาย ภิกขุ พุทธสส สาวโก

คมภีรํ นิปุณํ สุญญํ ปจจยํ ปฏิวิชฌติ.


แปลความว่า

พระภิกษุผู้เป็นสาวกของพระสาวกของพระพุทธเจ้ารู้ความนี้ด้วย

ปัญญารู้ยิ่งดังกล่าวมานี้ จึงเห็นชัดซึ่งปัจจัย (ของนามและ

รูป) อันลึกซึ้ง ละเอียด ว่างเปล่า


กมมํ นตถิ วิปากมหิ ปาโก กมเม น วิชชติ

อญญมญญํ อุโภ สุญญา น จ กมมํ วินา ผลํ.



(หน้าที่ 263)



แปลความว่า

กรรมไม่มีอยู่ในวิบาก วิบากก็ไม่มีอยู่ในกรรม กรรม

และวิบากทั้งสอง ต่างว่างเปล่าซึ่งกันและกัน แต่ปราศจาก

กรรมเสียแล้ว ผลก็หามีไม่


ยถา น สูริเย อคคิ น มณิมหิ น โคมเย

น เตสํ พหิ โส อตถิ สมภาเรหิ จ ชายติ.

ตถา น อนโต กมมสส วิปาโก อุปลพภต

พหิทธาปิ น กมมสส น กมมํ ตตถ วิชชติ.


แปลความว่า

ไฟไม่มีในดวงอาทิตย์ ไม่มีในแก้วมณี (ที่ใช้ส่อง) ไม่

มีในมูลโค ไฟนั้นมิได้มีอยู่ภายนอกสิ่วทั้ง ๓ เหล่านั้น แต่

มันเกิดขึ้นด้วยการประกอบกัน (ของสิ่งทั้ง ๓)
ฉันใด

วิบาก

ก็ฉันนั้น หาไม่ได้ภายในกรรม แม้ภายนอกกรรมก็ไม่ได้

(เพราะ) กรรมมิได้มีอยู่ในวิบากนั้น


ผเลน สุญญํ ตํ กมมํ ผลํ กมเม น วิชชติ

กมมญจ โข อุปาทาย ตโต นิพพตตี ผลํ


แปลความว่า

กรรมนั้นว่างเปล่าจากผล ผลก็มิไดมีอยู่ในกรรม แต่

เพราะอาศัยกรรมแล ผลจึงเกิดขึ้นจากกรรมนั้น


น เหตถ เทโว พรหมมา วา สํสารสสตถิ การโก

สุทธธมมา ปวตตนติ เหตุสมภารปจจยา.


แปลความว่า

ความจริง ในโลกนี้ ไม่มีเทพเจ้า หรือพระพรหม

ผู้สร้างสังสารวัฏฏ์ ธรรมแท้ ๆ เป็นไปเอง เพราะการ

ประกอบกันของเหตุเป็นปัจจัย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(หน้าที่ 264)



เมื่อพระภิกษุนั้นทำการกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูปทางกัมมวัฏฏ์และวิปาก วัฏฏ์แล้วละความสงสัยใน ๓ กาลได้ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็เป็นอันได้รู้ธรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน สิ้นทั้งปวงแล้ว โดยทางจุติและปฏิสนธิ ความรู้เช่นนั้นของพระภิกษุนั้นเป็น ญาตปริญญา คือ การกำหนดรู้สิ่งที่ปรากฏอยู่แล้ว


พระภิกษุนั้นรู้แจ้งชัดอย่างนี้ว่า “ขันธ์ทั้งหลายเหล่าใดเกิดแล้วในอดีต เพราะกรรม (ในอดีต) เป็นปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายเหล่านั้นได้ดับไปแล้วในอดีตนั้นนั่นเอง ส่วนขันธ์ทั้งหลายที่เกิดในภพนี้ เพราะกรรมในอดีตเป็นปัจจัย ก็เป็นอีกพวกหนึ่ง หามีธรรมแม้แต่สิ่งเดียวจากภพในอดีตมาสู่ภพนี้ไม่ ขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้วแม้ในภพนี้ เพราะกรรมเป็นปัจจัยก็จักดับ ขันธ์ทั้งหลายจักเกิดขึ้นในภพหน้า ก็เป็นพวกอื่น หามีธรรมแม้สิ่งเดียวจากภพนี้จักไปยังภพหน้ามิได้


อีกประการหนึ่งแล เปรียบเหมือนการสาธยาย (การท่องบ่น) จากปากของอาจารย์ หาเข้าไปสู่ปากของอันเตวาสิกไม่
แต่การสาธายายในปากของอันเตวาสิกนั้น จะไม่มีดำเนินไปเพราะการสาธยายของอาจารย์นั้นเป็นปัจจัย ก็หามิได้ (อุปมา ๑)

เปรียบเหมือนน้ำมนต์ที่ตัวแทนดื่มมิได้เข้าท้องของคนเป็นโรค แต่โรคของคนเป็นโรคนั้นจะไม่สงบลงเพราะการดื่มน้ำมนต์ของตัวแทนเป็นปัจจัย นั้น หามิได้ (อุปมา ๒)


วิธีประดับตกแต่งใบหน้า ไม่ไปถึงเงาหน้าในแผ่นกระจกเงาเป็นต้น แต่วิธีประดับตกแต่งจะไม่ปรากฏในแผ่นกระจกเงาเป็นต้นนั้น เพราะวิธีประดับตกแต่งนั้นเป็นปัจจัย หามิได้ (อุปมา ๓)

เปลวประทีปของไส้ (ตะเกียง) ไส้หนึ่ง จะไม่ลามไปยังอีกไส้หนึ่ง แต่เปลวประทีปในไส้ (ตะเกียงอีกอันหนึ่ง) นั้นจะไม่เกิดขึ้น เพราะไส้ (ตะเกียงอันก่อน) นั้นเป็นปัจจัยหามิได้ (อุปมา ๔)

ฉันใด ธรรมอะไร ๆ จากภพในอดีต มิได้ก้าวมาสู่ภพนี้ หรือจากภพนี้มิได้ก้าวไปสู่ภพหน้า เหมือนกันฉันนั้นนั่นแล

แต่ขันธ์ อายตนะและธาตุทั้งหลายจะไม่เกิดขึ้นในภพนี้ เพราะมีขันธ์ อายตนะและธาตุทั้งหลายในภพอดีตเป็นปัจจัยหามิได้ หรือว่าขันธ์ อาตนะและธาตุทั้งหลายในภพหน้าจะไม่เกิดขึ้นเพราะมีขันธ์ อายตนะและธาตุทั้งหลายในภพนี้เป็นปัจจัยหามิได้ ฉะนี้แล


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยเถว จกขุวิญญาณํ มโนธาตุอนนตรํ

น เจว อาคตํ นาปิ น นิพพตตํ อนนตํ.



(หน้าที่ 265)



ตเถว ปฏิสนธิมหิ วตตเต จิตตสนตติ

ปุริมํ ภิชชตี จิตตํ ปจฉิมํ ชายตี ตโต.

เตสํ อนตริกา นตถิ วีจิ เตสํ น วิชชติ

น จิโต คจฉติ กิญจิ ปฏิสนธิ จ ชายติ.


แปลความว่า

จักขุวิญญาณมาในลำดับของมโนธาตุ และมิได้มาอีก

ทั้งมิได้เกิดในลำดับ (แห่งมโนธาตุ) หามิได้ ฉันใด ความสืบ

เนื่องของจิตเป็นไปใน (ลำดับของ) ปฏิสนธิ ฉันนั้นเช่นกัน

จิตดวงก่อนแตกดับไป จิตดวงหลังก็เกิด (ต่อ) จากนั้น ไม่มี

ระหว่างคั่นของจิต ๒ ดวงนั้น จิต ๒ ดวงนั้นมีช่องว่างหา

มิได้ ทั้งจิตไร ๆ ก็มิได้ (จุติ) ไปจากจิตดวงนี้ และปฏิสนธิ

(จิต) ก็เกิดขึ้น ดังนี้


(ปัจจยปริคคหญาณ ในชื่ออื่น)

ปัจจยปริคคหญาณ (ญาณกำหนดรู้ปัจจัย) ของนามรูป ของพระภิกษุผู้รู้แล้วซึ่งธรรมทุกอย่างโดยทางจุติและปฏิสนธิด้วยประการดัง กล่าวมานี้ เป็นญาณถึงการมีกำลังโดยอาการทั้งปวง

พระภิกษุนั้นก็ละความสงสัย 16 อย่างได้ดียิ่ง และมิใช่ละได้แต่ความสงสัย 16 อย่างเท่านั้น
ถึงความสงสัย ๘ อย่างซึ่งเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า “สงสัยในพระบรมศาสดา” ดังนี้ เธอก็ละได้ด้วยเหมือนกัน ทิฏฐิ ๖๒ ประการก็ระงับไปด้วย



ญาณข้ามพ้นความสงสัยในกาลทั้ง ๓ (อดีต อนาคต ปัจจุบัน) ด้วยการกำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูปโดยนัยต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้
พึงทราบว่าเป็น
“กังขาวิตรณวิสุทธิ”
คำว่า “ธัมมฐิติญาณ - ญาณกำหนดรู้การตั้งอยู่ด้วยธรรมเป็นปัจจัย” ก็ดี
คำว่า ยถาภูตญาณ

(หน้าที่ 266)

ญาณกำหนดรู้ตามเป็นจริง” ก็ดี
คำว่า สัมมาทัสสนะ- ความเห็นโดยชอบ” ก็ดี เป็นไวพจน์ของคำว่า
กังขาวิตรณวิสุทธิ” นี้นั่นเอง

วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๙ กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ หน้าที่ ๒๖๑ - ๒๖๗


{comment ผู้โพสต์: ตรงนี้ คือ ตัด สังโยชน์ วิจิกิจฉา ขาด หรือไม่ ..ลองไป คิด ต่อดู}


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 13 ต.ค. 2010, 22:50, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ผล อะไร จะได้ จาก การ พิจารณา นาม รูป?
อ้างคำพูด:
อนึ่ง ท่านผู้เจริญวิปัสสนา(วิปัสสก) ซึ่งประกอบด้วยญาณ (ดังกล่าวมา) นี้ เป็นผู้ได้ความเบาใจแล้ว ได้ที่พึ่งในพระพุทธศาสนาแล้ว เป็นผู้มีคติ (ภูมิที่ดำเนินไปภายหน้า) แน่นอนมีนามว่า พระจูฬโสดาบัน


ตสมา ภิกขุ สทา สโต นามรูปสส สพพโส

ปจจเย ปริคคณเหยย กงขาวิตรณตถิโก.


เพราะฉะนั้น พระภิกษุผู้มีความประสงค์จะข้ามพ้น

ความสงสัย พึงเป็นผู้มีสติ กำหนดรู้ปัจจัยของนามและรูป

โดยประการทั้งปวงทุกเมื่อแล


จบ...


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 80 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร