วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 22:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธรรม>วิปัสสนา>นาม-รูป>..
อ้างคำพูด:
ท่านก็ถามดิฉันว่า รู้จัก นามรูป แล้วหรือยัง เพราะว่าคนที่เรียนอภิธรรมแล้ว ต้องรู้จักนาม รู้จักรูปนะคะ
รู้จักนามรูปแล้ว หรือยัง
ดิฉันก็บอกว่า ยังไม่รู้
ท่านก็บอกว่า เอ๊ะ ! เมืองไทยเขาไปไม่ทำวิปัสสนากันบ้างหรือ
ดิฉัน บอกว่า ทำค่ะ เมืองไทยนี่ มีวิปัสสนาทั้งนั้นเลย
ทุกแห่งเป็นวิปัสสนาหมด
สมถะไม่มีใครทำ เขาทำวิปัสสนากันทั้งนั้น แหละค่ะ
ท่านก็บอกว่า เอ๊ะ ! เขาทำวิปัสสนา เขาไม่มีรูปมีนาม แล้วเขาเอาอะไรไปทำ ท่านก็ถามมาอย่างนั้นนะคะ



อ้างคำพูด:
ประวัติการปฏิบัติธรรม

ของ อุบาสิกาแนบ มหานีรานนท์
แสดง ณ อภิธรรมมูลนิธิ วัดพระเชตุพนฯ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2519



http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-preach-index-page.htm


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ท่านก็บอกว่า ต้องให้เข้าใจรูปนามเสียก่อน ท่านจึงบอกให้คุณหลวงประพันธ์สอนดิฉัน อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ที่เรียกว่า อารมณ์ในการปฏิบัตินี่น่ะ จะต้องไม่พ้นจากรูปนาม

เพราะธรรมชาติ ที่มีอยู่แท้จริง ก็คือ รูปกับนามเท่านั้น

นี่น่ะ ธรรมะทั้งหมดจะอยู่ที่รูปกับนามเท่านั้น ทีนี้ ท่านก็ให้สอนรู้ว่า รูปอะไร นามอะไร ที่จะกำหนดก่อนในทีแรก ๆ ท่านบอกให้คุณหลวงประพันธ์สอน ก็ไม่ต้องมากแหละค่ะ สอนกันอยู่ 2 วันเป็นอย่างมาก เพราะเราสนใจอยู่แล้ว พอได้รูปนามแล้ว ท่านก็ให้วิธีปฏิบัติว่า เวลานั้นต้องรู้ที่นั่น อย่างนี้ แล้วท่านห้ามภาษาบาลี ดิฉันก็ถูกใจอย่างหนึ่ง ห้ามไม่ให้คุณหลวงพูดภาษาบาลีเลยนะคะ

เพราะฉะนั้น ต่อมาทีหลังนี้น่ะ คนที่จะเป็นอาจารย์ ห้ามไม่ให้พูดบาลีกับคนที่ไม่รู้ภาษาบาลี ท่านบอกว่า การจะพูดภาษาบาลี ต้องพูดกับคนที่รู้และเข้าใจภาษาบาลี เพราะฉะนั้น ความเข้าใจอันนั้น มันจะได้หยั่งลงถึงสภาวะที่เป็นเหตุผลแท้จริงได้ เพราะรู้แต่ชื่อก็ไม่รู้อะไร มันก็เข้าถึงสภาวะไม่ได้ ชื่อมันอาจจะมีมากมาย ทีนี้บอกว่า จักขุวิญญาณเห็นรูปไม่เอา จักขุวิญญาณมีหน้าที่อะไร เห็นรูป จักขุวิญญาณไม่ให้พูดถึงเลย ไม่ต้องพูดถึงจักขุวิญญาณ แล้วก็เห็นรูปารมณ์ก็ไม่เอาทั้งนั้น ให้ใช้คำว่า เห็น ไม่ต้องใช้จักขุวิญญาณน่ะ ชื่อมัน แต่ว่าการงานของมันคืออะไร ?

ธรรมชาติจริง ๆ ของมันน่ะ อะไร คือ การเห็น นั่นเอง การเห็นนี่แหละ เป็นหน้าที่ และเป็นกิจของจักขุวิญญาณ ทีนี้ เมื่อพูด เห็น แล้ว เราก็เข้าใจ ที่เห็นนี่ เราก็รู้ใช่ไหมคะ ว่าทางไหน อะไรต่ออะไรเราก็รู้ว่า เห็นด้วยตานี่อย่างนี้

เพราะฉะนั้น ท่านถึงให้พูดให้ใช้คำว่า เห็น แทนที่จะพูดว่า จักขุวิญญาณ แปลว่า ความรู้สึกของเรานี่น่ะเวลาทำงาน จะต้องเอาสภาวะมาทำงาน เพราะฉะนั้น คำว่าเห็นนี่ง่าย เขารู้จักสภาวะแล้ว เขาก็จะต้องมีสติอยู่ที่การเห็น เพราะเห็นนี่ มันเป็นสภาวธรรม ทีนี้ก็สอนอยู่อย่างนี้น่ะ 2 วัน ท่านก็มาสอนเอง ทีแรกท่านก็บอกตามอารมณ์ 6 ก่อนนะคะ แต่ที่จริงก็เป็นอย่างนั้น

การสอนวิปัสสนา ควรจะสอนให้รู้ทั้ง 6 อารมณ์ แต่โดยมาก ดิฉันก็เห็นว่า แหม 6 อารมณ์นี่ยากจริง เพียงแต่อิริยาบถ 4 อย่างนี่ ยังยากมาก กว่า จะรู้นะคะ หลายวันกว่าจะเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นก็ให้เอา 4 อย่าก่อน เพราะ 4 อย่างก็บรรลุถึงนิพพานได้ เป็นพระอรหันต์ได้เหมือนกัน โดยมาก พระอรหันต์ที่สำเร็จอิริยาบถก็มีมาก ถึงได้เอาแต่เพียง 4 อย่างก่อนเถอะ มีมากนักกลัวจะจำไม่ไหว แล้วพวกเราในประเทศไทย ก็มีความเข้าใจอภิธรรมกันน้อยนะคะ เพราะฉะนั้น การทำวิปัสสนานี่ ต้องถือเอาเนื้อความตามสภาวะในอภิธรรม ท่านก็บอกว่า ให้มีสติรู้นะเวลาเห็นนี่น่ะ เห็นเป็นนาม เวลาเห็นต้องรู้ขณะเห็นว่า นามเห็น นะคะ




ผู้โพสต์-> จิต-เจตสิก เห็น. จิต-เจตสิก=นามธรรม. นาม=เห็น


อ้างคำพูด:
นามให้เห็นรู้อย่างนั้นแล้วก็ให้รู้อยู่ที่เห็น เพราะการเห็นนี่เป็นปัจจุบันธรรม เห็นตรงที่ กำลังเห็นอยู่ เพราะฉะนั้น เราจะเห็นความไม่เที่ยงของจักขุวิญญาณนี้น่ะ เราต้องมีสติรู้กำลังเห็น
หรือเห็นความไม่เที่ยงของโสตวิญญาณ เราจะต้องมีสติรู้อยู่ในขณะได้ยิน เราถึงจะรู้ว่า เที่ยงหรือไม่เที่ยง เพราะฉะนั้นตามธรรมดาสภาวะนี่น่ะ เขาต้องมีการเกิดดับอยู่เรื่อย เสมอทีเดียว

เพราะฉะนั้น อะไรเกิดดับจักขุวิญญาณไม่เที่ยงเกิดดับ ถ้าเอาชื่อจักขุวิญญาณไม่เที่ยงเกิดดับ เราก็ดูไม่ถูกสภาวะ เราไม่เข้าใจนะคะ เอาเห็นนี่แหละ นามเห็นนี่แหละ ไม่เที่ยง เพราะฉะนั้น จะต้องดูที่เห็น ถึงจะเห็นว่า ไม่เที่ยง เพราะเห็นนี่ เป็นสภาวธรรมของวิญญาณจิตขณะหนึ่ง ซึ่งมีอายุเพียงอุปาทะฐีติ ภังคะ เท่านั้น

เพราะฉะนั้น เราก็ดู พอท่านสอนว่าตาเห็น หูนี่ได้ยินนะ ขณะนั้นน่ะขณะที่ได้ยินน่ะ ต้องรู้ขณะได้ยินนั้นว่า เป็นนามนี่ ต้องรู้ขณะได้ยิน ไม่ใช่รู้ตามหนังสือ

ถ้าปฏิบัติละก็ต้องรู้ ขณะนี้สิ่งนั้นกำลังเกิดขึ้น ถ้าไม่มีสิ่งนั้น ก็ไม่มีอะไรจะให้ความจริงแกเรา

แหม
ดิฉันก็ดีใจแล้วละ เวลานั้นก็ยังไม่ได้ปฏิบัติอะไรเห็นอะไรเลย แต่รู้ เพราะอาจารย์บอกให้รู้อยู่ที่เห็นนี่ อยู่ที่นามเห็น แต่เวลานั้น ดิฉันไม่รู้ ดิฉันก็รู้อยู่แล้วว่า ที่เห็น แต่ดิฉันไม่รู้ว่า เห็นเป็นนาม เพราะมันรู้เอง เวลานั้น อภิธรรมก็ไม่มีเรียนกันเลย ไม่มีเลยในประเทศไทย ทีนี้ก็พอกำหนดอย่างนั้น ดิฉันก็ดีใจ รู้สึกว่า ศรัทธาก็มาเพิ่มนะคะ ก็สนใจในการปฏิบัติ ท่านก็พยายามเคร่งครัดให้รู้อยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 10 ต.ค. 2010, 13:24, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 14:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อุปปัตติเหตุให้เกิด จักขุวิญญาณจิต

๑. จักขุปสาท มีประสาทตาดี มีนัยตาดี

๒. รูปารมณ์ มีรูป คือ สีต่าง ๆ

๓. อาโลกะ มีแสงสว่าง

๔. มนสิการ มีความสนใจ (ปัญจทวาราวัชชนะ)


http://www.abhidhamonline.org/aphi/p1/026.htm


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 20 ธ.ค. 2010, 09:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อุปปัตติเหตุให้เกิด โสตวิญญาณจิต

๑ โสตปสาท มีประสาทหูดี
๒. สัททารมณ์ มีเสียง
๓. วิวรากาส มีช่องว่างของหู ( มีอากาศ )
๔. มนสิการ มีความสนใจ ( ปัญจทวาราวัชชนะ )


http://www.palipage.com/jm/index.php?option=com_content&view=article&id=100%3A2010-07-08-23-18-48&catid=46%3A2010-05-10-14-56-54&Itemid=37&limitstart=5


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 20 ธ.ค. 2010, 09:54, แก้ไขแล้ว 6 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2010, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ถ้าว่าเรารู้อย่างต่ำ ก็สามารถที่จะปกครองตัวเองได้ใช้ตัวเองเป็น ปกครองตัวเองได้ใช้ตัวเองฟัง ไม่ปล่อยให้ไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา เราทั้งหลายลองนึกดูว่า บางคนทำไมถึงดื่มสุรายาเมา สูบฝิ่นกินกัญชา เสพผงขาวเฮโรอีน หรือชอบมัวเมาเล่นการพนัน คบมิตรชั่ว เป็นต้น เพราะเหตุไร เพราะว่าไม่รู้รูปรู้นาม หากว่ารู้รูปรู้นามดีแล้ว สามารถบอกตัวเองได้ ใช้ตัวเองฟัง บอกตัวเองได้ใช้ตัวเองเป็น ไม่ตกเป็นทาสกิเลสตัณหา มานะทิฏฐิ สามารถลดความเห็นแก่ตัวลงได้ แต่สำหรับผู้รู้รูปรู้นามไม่ชัด คือรู้อยู่แต่ไม่ชัด จะมีความเห็นแก่ตัวมาก หลงยึดมั่นถือมั่นว่ารูปนี้เป็นอัตตะ เป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเรา ใครจะมาแตะต้องไม่ได้ บางทีมองหน้ากันหน่อยก็ไม่ได้ถึงกับฆ่ากัน ยิงกันตาย บางทีถูกเหยียบเท้าหน่อย ก็ว่าทำไมมึงมาเหยียบเท้ากู เท่านั้นแหละฆ่ากันตายแล้ว เวลาทำกรรมฐานก็เหมือนกัน ผู้ที่รูปนามไม่ชัด พอเจ็บนั่นปวดนี้ขึ้นมา ก็จะนึกว่า ทำไมหนอวันนี้เราจึงปวดเหลือเกิน เราจึงเมื่อยเหลือเกิน เราช่างไม่สบายเหลือเกิน คำว่าเราๆ นี้ มันจะโผล่ขึ้นมาเรื่อยๆ โดยไม่มีความกระดากละอายในจิตใจในของตัวเอง แต่สำหรับผู้ที่รูปนามชัดแล้วจะไม่คิดอย่างนี้ จะไม่พูดอย่างนี้ เพียงแต่คิดว่า ทำไมหนอวันนี้เราจึงปวดจึงเมื่อยเหลือเกิน เพียงคิดแค่นี้ก็จะเกิดความสลดสังเวชในจิตในใจขึ้นมาว่า ไม่น่าจะคิดอย่างนี้เลย เพราะคำว่าเราว่าเขานี้มันไม่มี มีแต่รูปแต่นามเท่านั้น

ตัวอย่างพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งลาราชการมาบวชปี ๒๕๑๕ เวลาประพฤติปฏิบัติรูปนามของแกชัดดี จะเดินไปทางไหนแกจะบ่นว่า คนนี้มันไม่มี มันมีแต่รูปแต่นามเท่านั้น ผลสุดท้ายไปหาหลวงพ่อว่า “หลวงพ่อ คำว่าคนนี้ไม่มี เขาเรียกว่าคนแต่ประเทศไทย ประเทศลาวประเทศเขมรเท่านั้น” สำหรับประเทศอื่นเขาไม่เรียกคน ผมออกไปนี้ผมจะไปพิมพ์หนังสือตีแผ่ทั่วโลกให้ผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นในรูปนาม นี้ว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเรานั้น ให้รู้ว่าคนนั้นไม่มี มีแต่รูปแต่นามเท่านั้น

หลวงพ่อก็ได้แต่คิดว่าพระรูปนี้รูปนามชัดเจนดี นี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นแล้วว่าผู้รูปนามชัดแล้วจะไม่เห็นแก่ตัว สามารถละทิฏฐิมานะลงได้ทำให้สามารถรักษาจิตของตนให้เป็นอิสระ ไม่ตกอยู่ภายใต้กิเลส

เหตุนั้นขอให้ท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายอย่าได้ชะล่าใจ ความทุกข์เล็กๆ น้อยๆ ที่ได้รับอยู่ทุกวันนี้ มันเป็นธรรมดาอยู่เองในการเจริญพระกรรมฐานต้องมีการเจ็บที่นั้นปวดที่นี้ บ้าง บางทีเกิดความหวิวหวามตกใจง่าย บางทีมีอาการเบื่อ บางทีมีอาการกลุ้มใจ จิตฟุ้งซ่านคิดมาก ท่านทั้งหลายก็จะคิดว่าทำกรรมฐานนี้เป็นทุกข์เหลือทน เราหลงมาปฏิบัติตั้งแต่เมื่อไรหนอ ถ้าคิดอย่างนี้ขึ้นมาขอให้ท่านทั้งหลายคิดว่า ความทุกข์ที่เราได้รับอยู่นี้เป็นทุกข์ก็จริง แต่เป็นทุกข์เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น สมมติว่าเราเดินเป็นทุกข์ มันเจ็บ มันปวด เราไปนั่งก็หาย หรือขณะที่นั่งมันเจ็บมันปวด เราออกไปเดินมันก็หาย ทุกข์นี้เป็นทุกข์นิดหน่อยเท่านั้น หากว่าเราไปตกในอบายภูมิ ไปเกิดในนรก ยิ่งจะมีความทุกข์มากกว่านี้ เป็นหลายๆ พันล้านเท่า หากว่าไปเกิดเป็นเปรตเป็นอสุรกาย ก็ได้รับความลำบาก ไม่มีอาหารสำหรับที่จะบริโภคไม่มีเครื่องนุ่งห่มเฉพาะตัว ต้องถูกทรมานด้วยอำนาจกรรมจนกว่าจะสิ้นกรรมหมดเวร ถ้าไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ยิ่งร้ายกว่าปัจจุบันนี้ เพราะสัตว์เดรัจฉานไม่มีอิสระเฉพาะตัว ไม่มีโอกาสที่จะสั่งสมอบรมคุณงามความดี นี่เป็นโชคดีแล้วหนอที่เราได้มีโอกาสเข้ามาปฏิบัติพระวิปัสสนากรรมฐาน ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ได้บรรลุอริยมรรคอริยผล เราเชื่อมั่นได้ว่า ตายแล้วจะไม่ไปสู่อบายภูมิ จะมีสุคติโลกมนุษย์ สวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า หากเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ก็จะมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นสัมมาทิฏฐิ จะได้เข้าหานักปราชญ์อาจารย์ บางทีจะได้พบพระพุทธเจ้า สาวกของพระพุทธเจ้า จะได้ฟังธรรมปฏิบัติธรรม และจะได้บรรลุอริยมรรคอริยผลในโอกาสข้างหน้า ขอให้เราใช้ปัญญาเตือนสติตนอย่างนี้ตลอดเวลา



http://www.watpit.org/index.php?option=com_content&view=article&id=212:2009-12-18-20-27-18&catid=86:2009-12-17-06-19-38&Itemid=131


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 22:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


บทที่ ๑

ปรมัตถธรรม ๔
หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" โดย Nina Van Gorkom (แปลโดย ดวงเดือน บารมีธรรม) ของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-02.htm


อ้างคำพูด:
สภาพธรรมมี ๒ อย่าง คือ นามธรรม และ รูปธรรม นามธรรมเป็นสภาพรู้ รูปธรรมเป็นสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร เช่น การเห็นเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง เป็นสภาพธรรมที่รู้สี สีเป็นรูป สีไม่รู้อะไร สิ่งที่เรายึดถือว่าเป็นตัวตนนั้น เป็นแต่เพียงนามธรรมและรูปธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป

ในวิสุทธิมัคค์ ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีข้อความว่า

เหมือนอย่างว่า
เพราะอวัยวะเครื่องปรุง
จึงมีเสียงเรียกว่ารถฉันใด
เมื่อขันธ์ ทั้งหลายยังมีอยู่
ย่อมมีสมมุติเรียกว่าสัตว์ฉันนั้น

(ขันธ์ ๕ ได้แก่ นามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง)

"......เมื่อเป็นเช่นนี้ นามรูปนั่นแหละ ท่านจึงแสดงแล้วโดยพระสูตรตั้งหลายร้อย
ไม่ใช่แสดงถึงบุคคลฯ ดุจเมื่อเครื่องสัมภาระ (ของรถ)
อันเป็นอวัยวะ มีเพลา ล้อ เรือนรถ งอน เป็นต้น ปรุงคุมกันเข้าโดยอาการอันเป็นอันเดียวกัน
จึงมีโวหารมาตรว่ารถ

แต่เมื่อจะพิจารณาแยกองค์ออกเป็นอย่าง ๆ โดยทางปรมัตถ์
ชื่อว่ารถหามีไม่..... เหตุนั้น....จึงมีโวหารว่าสัตว์ ว่าบุคคล แต่โดยปรมัตถ์

เมื่อจะแยกพิจารณา แยกธรรมออกเป็นอัน ๆ ขึ้นชื่อว่าสัตว์ อันเป็นวัตถุแห่งการยึดถือว่า
มีเราหรือว่าเป็นเราดังนี้หามีไม่

โดยปรมัตถ์คงมีนามรูปเท่านั้น ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า
ยถาภูตทัสสนะ
เห็นตามเป็นจริง ๆ "


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 11 ต.ค. 2010, 22:51, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 22:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


หนังสือ "พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน" โดย Nina Van Gorkom (แปลโดย ดวงเดือน บารมีธรรม) ของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา

http://www.dharma-gateway.com/ubasika/nina/abhidham-02.htm


อ้างคำพูด:
ในวิสุทธิมัคค์ ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีข้อความว่า

"อนึ่ง นามธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มีเดช ไม่อาจเพื่อจะเป็นไปด้วยเดชของตน..
..กินไม่ได้
ดื่มไม่ได้
ขวนขวายไม่ได้
ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้
แม้รูปก็ไม่มีเดช
ไม่อาจจะเป็นไปด้วยเดชของตน
เพราะว่ารูปนั้นไม่มีความใคร่จะกิน
ไม่มีความใคร่จะดื่ม
ไม่มีความใคร่จะขวนขวาย
ไม่มีความใคร่สำเร็จอิริยาบถ

อันที่แท้รูปอาศัยนามจึงเป็นไป

แม้นามก็ต้องอาศัยรูปจึงเป็นไปฯ

ก็เมื่อมีนามธรรมเป็นผู้ใคร่กิน ใคร่ดื่ม ใคร่ขวนขวาย ใคร่สำเร็จอิริยาบถ รูปจึงกิน จึงดื่ม จึงขวนขวาย จึงสำเร็จอิริยาบถฯ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 23:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/081.htm


อ้างคำพูด:
๒. ที่ว่าเห็นแจ้งในรูปและนามนั้น
มีบาลีว่า ลกฺขณ รส ปจฺจุปฏฺฐาน ปทฏฺฐาน วเสน นามรูปปริคฺคโห ทิฏฺฐิวิสุทฺธินาม การกำหนดรู้รูปนามด้วยสามารถ แห่งลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน นั้นชื่อว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือจะต้องเห็นแจ้งในลักขณาทิจตุกะแห่งรูปนาม จึงจะได้ชื่อว่า เห็นแจ้งในรูปนาม

ลักขณาทิจตุกะ ของรูป (ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท)

(๑) รุปฺปนลกฺขณํ มีการสลาย แปรปรวน เป็นลักษณะ

(๒) วิกิรณรสํ มีการแยกออกจากกันได้ (กับจิต) เป็นกิจ

(๓) อพฺยากตปจฺจุปฏฺฐานํ มีความเป็นอพยากตธรรม เป็นอาการปรากฏ

(๔) วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้

ลักขณาทิจตุกะของนามจิต (ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท)

(๑) วิชฺชานนลกฺขณํ มีการรู้อารมณ์ เป็นลักษณะ

(๒) ปุพฺพงฺคมรสํ เป็นประธานแก่เจตสิกและรูป เป็นกิจ

(๓) ปฏิสนฺธิปจฺจุปฏฺฐานํ มีการสืบต่อระหว่างภพเก่ากับภพใหม่ เป็นอาการปรากฏ

(๔) สงฺขารปทฏฺฐานํ มีสังขาร ๓ เป็นเหตุใกล้

(วา) วตฺถารมฺมณํ ปทฏฺฐานํ หรือ มีวัตถุกับอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

ลักขณาทิจตุกะของนามเจตสิก (ตามนัยแห่งปฏิจจสมุปปาท)

(๑) นมนลกฺขณํ มีการน้อมไปสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ

(๒) สมฺปโยครสํ มีการประกอบกับจิต และประกอบกันเองโดยอาการ เอกุปฺปาท เป็นต้น เป็นกิจ

(๓) อวินิพฺโภคปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่แยกออกจากจิต เป็นอาการปรากฏ

(๔) วิญฺญาณปทฏฺฐานํ มีวิญญาณ เป็นเหตุใกล้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 23:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p9/081.htm


****
วิธิ ปฎิบัติ วิปัสนาภวนา พิจณา นามรูป ที่ ถูกต้อง ****
ตามคัมภีร์พ ร ะ อ ภิ ธั ม มั ต ถ สั ง ค ห ะ

ราวพุทธศักราชที่ ๑๕ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎก ท่านหนึ่ง
นามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ***
ปริจเฉทที่ ๙ กัมมัฏฐานสังคหวิภาค

อ้างคำพูด:
๔. ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจไว้อย่างแน่นอนว่า การเจริญวิปัสสนาภาวนา นั้นต้องมี ปรมัตถอารมณ์ เป็นกัมมัฏฐาน จะมีอารมณ์เป็นบัญญัติหรือเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนา หาได้ไม่

ปรมัตถอารมณ์ ที่จะต้องพิจารณาให้เห็นแจ้งเป็นประเดิมเริ่มแรกก็คือ รูปนาม การที่จะให้เห็นแจ้งใน รูปนาม ก็ต้องดำเนินการตามนัยแห่ง สติปัฏฐาน วิธีเดียว จะดำเนินการอย่างอื่นใดให้ปรากฏรูปนาม ตามสภาพแห่งความเป็นจริงนั้น หาได้ไม่


อ้างคำพูด:
ในชั้นต้นต้องพิจารณา กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
คือ ให้มีสติตั้งมั่นในการพิจารณารูปก่อน
กำหนดดูทั้งรูปที่เกิดจาก
อิริยาบถใหญ่
อันได้แก่ เดิน ยืน นั่ง นอน
และอิริยาบถย่อย
อันได้แก่ การเคลื่อนไหวกายทำการงานต่าง ๆ
ทุกอย่างที่ให้ดูรูปเหล่านี้ก่อน ก็เพราะรูปเหล่านี้เป็นของหยาบ เห็นได้ง่ายกว่ารูปอื่น ๆ

การดูก็จะต้องดูด้วยความมีสติสัมปชัญญะ คือ ให้รู้ตัวอยู่ทุกขณะจิตว่า ขณะนี้กำลังดูรูปอะไร อย่าให้เผลอไปนึกคิดอะไรอื่นเสีย

อิริยาบถใหญ่ คือ อิริยาบถบัพพะ
อิริยาบถย่อย คือ สัมปชัญญบัพพะ
เหล่านี้เป็นรูปทั้งนั้น
จิตที่รู้อาการต่าง ๆ แห่งอิริยาบถเหล่านี้เป็นนาม

๖. ในขณะที่กำลังกำหนด กำลังพิจารณาอิริยาบถต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ อาจเกิด เวทนา ปรากฏขึ้นมา
เช่น นั่งนานไปหน่อยก็เมื่อย หรือมีตัวแมลงมากัดต่อยเจ็บปวด ทำให้เกิด
ทุกขเวทนา ก็ให้มากำหนดในเวทนาที่กำลังปรากฏอยู่ อันเป็นการพิจารณาเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

เวทนาที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเป็นนาม(นามเจตสิก), จิตที่รู้เวทนานั้นก็เป็นนาม (นามจิต), หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้จิตเจตสิกเกิดนั้นเป็นรูป ถ้าเวทนานั้นปรากฏเกิดที่กาย กายที่เวทนาเกิดนั้นก็เป็นรูป

๗. ในขณะที่กำหนดอิริยาบถต่าง ๆ อยู่นั้น อาจมีรูปารมณ์มาปรากฏเฉพาะหน้า ก็ให้มากำหนดในการเห็น อันเป็นการพิจารณา จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

การกำหนดการเห็นนั้น ให้รู้แค่เห็น อันเป็นปรมัตถเท่านั้น
ไม่ให้คิดเลยไปว่า รูปที่เห็นนั้นเป็นอะไร อันจะเป็นบัญญัติไป เพราะการเจริญวิปัสสนาภาวนาเพื่อให้เห็นแจ้งรูปนามอันเป็นปรมัตถ ไม่ได้มีความประสงค์จะให้รู้บัญญัติ ดังที่ได้กล่าวแล้วในข้อ ๔ ข้างต้นนี้

สิ่งที่เห็นนั้นเป็นรูปและเป็นธรรมภายนอก มากระทบประสาทตาอันเป็นรูปเหมือนกัน แต่เป็นธรรมภายใน จึงทำให้เกิดการเห็นขึ้น การเห็น คือ จักขุวิญญาณนี้เป็นนาม จิตที่รู้ว่าเห็นก็เป็นนาม

๘. ถ้ามีเสียงมาปรากฏเฉพาะหน้า ก็ให้กำหนดในการได้ยิน และให้รู้แค่ได้ยินเสียงเท่านั้น
ไม่ให้คิดรู้เลยไปว่า เสียงนั้นเป็นเสียงอะไร พูดเรื่องอะไร ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดปัญญาให้รู้ว่า
เสียงเป็นรูปภายนอกมากระทบประสาทหูอันเป็นรูปภายใน จึงทำให้ได้ยิน คือ เกิดโสตวิญญาณ อันเป็นนาม จิตที่รู้ว่าได้ยินก็เป็นนาม

๙. ถ้ามี คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ มาปรากฏเฉพาะหน้า ก็ให้กำหนด ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ตามควรแก่กรณี ทำนองเดียวกับ รูปารมณ์ สัททารมณ์ ที่กล่าวมาแล้วนั้น

๑๐. มีข้อที่ควรกล่าวตรงนี้ เช่น การกำหนดทางกายทวารนั้น ถ้ากำหนด พิจารณา กายวิญญาณก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน กายวิญญาณเป็นนาม กายปสาท ที่เป็นที่ตั้งเป็นที่เกิดแห่งกายวิญญาณนั้นเป็นรูป

ถ้ากำหนดพิจารณาทุกข์สุขที่เกิดพร้อมกับกายวิญญาณนั้น ก็เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนาเป็นนาม กายปสาทอันเป็นที่อาศัยเกิดแห่งเวทนานี้ ก็เป็นรูป

ถ้ากำหนดพิจารณาสิ่งที่มากระทบ คือ โผฏฐัพพารมณ์ อันได้แก่ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง
ซึ่งเป็นรูปขันธ์ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
โผฏฐัพพารมณ์ที่มา กระทบก็ดี กายปสาทที่รับกระทบก็ดี เป็นรูป จิตที่รู้กระทบนั้นเป็นนาม

ถ้ากำหนดพิจารณาการกระทบถูกต้อง คือ ผัสสะ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผัสสก็ดี จิตที่เกิดพร้อมกับผัสสะก็ดี เป็นนาม กายปสาทที่เป็นที่อาศัยที่เกิดแห่งกายวิญญาณและเจตสิกนี้เป็นรูป

๑๑. บางทีในเวลาที่กำหนดพิจารณาอิริยาบถอยู่ จิตอาจเลื่อนลอยไปคิดอะไรอื่นที่ไม่ใช่อิริยาบถที่กำหนด ซึ่งเรียกว่าฟุ้งไปก็ดี
หรือว่าเกิดท้อใจน้อยใจ
ที่ได้พยายามกำหนดมาเป็นหนักหนา ก็ยังไม่ได้เห็นธรรมอะไรสักอย่าง
อันเป็นการเกิดโทสะขึ้นมาก็ดี หรืออยากรู้อยากเห็นธรรมอย่างนั้นอย่างนี้ อันเป็นโลภะก็ดี

ถ้ากำหนด จิตที่ฟุ้ง จิตที่เป็นโทสะ จิตที่มีโลภะ ก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ถ้ากำหนดดู ความฟุ้ง ความไม่พอใจ ความอยากได้ ก็เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

จิตฟุ้ง โทสจิต โลภจิต เป็นนาม (นามจิต) ความฟุ้ง ความไม่พอใจ ความอยากได้เป็นนาม (นามเจตสิก)
หทยวัตถุอันเป็นที่อาศัยให้เกิด จิตเจตสิก เหล่านี้นั้น เป็นรูป


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 11 ต.ค. 2010, 23:29, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 23:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


แม้นั่งสมาธิอยู่ ตาก็ปิดอยู่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ แต่หูยังได้ยินชัดเจนหากเสียงใดเสียงหนึ่งดังเข้ามากำหนดเสียงได้ มีสติอยู่ย่อมรู้ทันว่า เสียงดังแว่วมาแล้ว เสียงดับลงแล้ว

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นามญฺจ รูปญฺจ อิธตฺถิ สจฺจโต

น เหตฺถ สตฺโต มนุโชว วิชฺชติ

สุญฺญํ อิทํ ยนฺตมิวาภิสงฺขตํ

ทุกฺขสฺส ปุญฺโช ติณกฏฺฐสาทิโส


แปลความว่า

ว่าโดยสัจจะแล้ว นามและรูป มีอยู่ในโลกนี้ แต่ทว่า

สัตว์และมนุษย์หามีอยู่ในโลกนี้ไม่ นามและรูปนี้เป็นของ

ว่าเปล่า ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เหมือนตัวหุ่น เป็นกองทุกข์

เช่นเดียวกับ (กอง) หญ้าและ (กอง) ไม้


http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%93_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91%E0%B9%98_%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%96_-_%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%90


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ยมกํ นามรูปญฺจ อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา

เอกสฺมึ ภิชฺชมานสฺมึ อุโภ ภิชฺชนฺติ ปจฺจยา.


แปลความว่า

อันว่านามและรูปเป็นของคู่กัน ทั้งสองอย่างต่างอาศัย

กันและกัน เมื่อย่างหนึ่งแตกทำลายไป สิ่งอาศัยกันทั้งสอง

อย่างก็แตกทำลายด้วย

อนึ่ง เสียงเป็นไป (เกิดขึ้น) เพราะอาศัยกลองที่เขาตีด้วยไม้ กลองเป็นอย่างหนึ่ง เสียงเป็นอีกอย่างหนึ่ง กลองและเสียงไม่ปะปนกัน (มิใช่สิ่งเดียวกัน) กลองก็ว่างจากเสียง เสียงก็ว่างจากกลอง ฉันใด นามก็เป็นไปเพราะอาศัยรูป กล่าวคือ วัตถุ ทวารและอารมณ์ รูปเป็นอย่างหนึ่ง นามและรูปไม่ปะปนกัน (มิใช่สิ่งเดียวกัน) นามก็ว่างเปล่าจากรูป รูปก็ว่างเปล่าจากนาม ฉันนั้นนั่นแล อีกประการหนึ่ง นามอาศัยรูปจึงเป็นไปเหมือนเสียงอาศัยกลอง (จึงดังขึ้น) เพราะฉะนั้น ท่านผู้รู้แต่โบราณทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า


อ้างคำพูด:
(๑)น จกฺขุโต ชายเร ผสฺสปญฺจมา

น รูปโต โน จ อุภินฺนมนฺตรา

เหตํ ปฏิจฺจ ปภวนฺติ สงฺขตา

ยถาปิ สทฺโท ปหฏาย เภริยา.

ฯลฯ ฯลฯ



(หน้าที่ 250)



แปลความว่า

(๑) สภาวธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ มิได้เกิดขึ้นจากตา มิได้เกิด

ขึ้นจากรูป และมิได้เกิดขึ้นในระหว่าตาและรูปทั้งสองอย่าง เป็น

สภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น เหมือนเมื่เขาตีกลอง

เสียงก็เกิดขึ้น ฉะนั้น


(๒) สภาวธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ มิได้เกิดขึ้นจากหู มิได้เกิด

เกิดขึ้นจากเสียง และมิได้เกิดขึ้นระหว่างหูและเสียงทั้งสอง เป็นสภาว

ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น เหมือนเมื่อเขาตีกลอง เสียงก็

เกิดขึ้น ฉะนั้น


(๓) สภาวธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ มิได้เกิดขึ้นจากจมูก (ฆานะ)

มิได้เกิดขึ้นจากกลิ่น และมิไดเกิดขึ้นในระหว่างจมูกและกลิ่นทั้งสอง

เป็นสภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น เหมือนเมื่อเขาตีกลอง

เสียงก็เกิดขึ้น ฉะนั้น


(๔) สภาวะธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ มิได้เกิดขึ้นจากลิ้น มิได้เกิด

ขึ้นจากรส และมิได้เกิดขึ้นระหว่างลิ้นและรสทั้งสอง เป็นสภาวธรรมที่

ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น เหมือนเมื่อเขาตีกลอง เสียงก็เกิดขึ้น

ฉะนั้น


(๕) สภาวธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕ มิได้เกิดขึ้นจากกาย มิได้เกิด

ขึ้นจากผัสสะ และมิได้เกิดขึ้นในระหว่างกายและผัสสะทั้งสอง เป็น

สภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น เหมือนเมื่อเขาตีกลอง

เสียงก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้น


(๖) สภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลาย มิได้เกิดขึ้นจากวัตถุรูป อีกทั้ง

มิได้ออกจาธัมมายตนะทั้งหลายด้วย สังขตธรรมทั้งหลายอาศัยเหตุ

เกิดขึ้น เหมือนเมื่อเขาตีกลอง เสียงก็จะเกิดขึ้น ฉะนั้น


อีกประการหนึ่ง บรรดานามและรูปนี้ นามไม่มีเดช ไม่สามารถเป็นไปได้ด้วยเดชของตนเอง ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่พูด ไม่สำเร็จอริยาบถ ถึงแม้รูปก็ไม่มีเดช ไม่สามารถเป็นไปได้ด้วย


เดชของตนเอง เพราะรูปนั้นไม่มีความต้องการที่จะกิน อีกทั้งไม่มีความต้องการที่จะดื่ม ไม่มีความต้องการที่จะพูด ไม่มีความปรารถนาที่จะสำเร็จอริยาบถ รูปเป็นไปได้ก็เพราะอาศัยนาม (และ) นามก็เป็นไปได้เพราะอาศัยรูปโดยแท้แล แต่ทว่าเมื่นามนั้นมีความปรารถนาที่จะกิน มีความปรารถนาที่จะดื่ม มีความปรารถนาที่จะพูด มีความปรารถนาที่จะสำเร็จอริยาบถ รูปจึงกิน จึงดื่ม จึงพูด จึงสำเร็จอริยาบถ


วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๘ ทิฎฐิวิสุทธินิเทศ หน้าที่ ๒๕๑ - ๒๕๓


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อนึ่ง เพื่อต้องการให้เข่าใจเนื้อความนี้ชัดแจ้ง พระอาจารย์ทั้งหลายจึงยกข้ออุปมาขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ดังต่อไปนี้ –

อันว่าชายตาบอดแต่กำเนิด ๑ และชายเปลี้ย ๑ ต่างปรารถนาจะไปยัง (สถานที่โน้น) ทิศทั้งหลาย ชายตาบอดแต่กำเนิดจึงพูดกะชายเปลี้ยอย่างนี้ว่า “นี่แน่ะเพื่อน ข้า ฯ สามารถทำกิจที่พึงทำด้วยเท้าได้ แต่ข้าฯ ไม่มีตาที่จะใช้ทางราบ ทางลุ่ม” ชายเปลี้ยก็พูดกะชายตาบอดแต่กำเนิดอย่างนี้ว่า “นี่แน่ะเพื่อน ข้าฯ สามารถทำกิจที่พึงทำด้วยตาได้ แต่ข้าฯ ไม่มีเท้าที่จะใช้เดินไปข้างหน้า หรือเดินกลับ” ชายตาบอดแต่กำเนิดนั้นก็ดีใจ ชอบใจ ยกชายเปลี้ยขึ้นจะงอยบ่า ชายเปลี้ยก็นั่งอยู่บนจะงอยบ่าของชายตาบอดแต่กำเนิดแล้วบอกอย่างนี้ว่า “อย่าไปซ้าย จงไปขวา อย่าไปขวา จงไปซ้าย” ชาย ๒ คนนั้น ถึงแม้ชายตาบอดแต่กำเนิดก็ไม่มีเดช เป็นทุพพลภาพ ไม่ไปได้ด้วยเดชของตนเอง ด้วยกำลังของตนเอง ถึงแม้ชายเปลี้ยก้ไม่มีเดช ทุพพลภาพ ไม่ไปได้ด้วยเดชของตนเอง ด้วยกำลังของตนเอง แต่เพราะชายทั้งสองคนนั้นอาศัยกันและกันแล้ว ก็ไปไหนไปได้ ฉันใด ถึงแม้นามก็ไม่มีเดช มิได้เกิดขึ้นมาด้วยเดชของตนเอง มิได้เป็นไปในกิริยานั้น ๆ (ด้วยเดชของตนเอง) ถึงแม้รูปก็ไม่มีเดช มิได้เกิดขึ้นมาด้วยเดชของตนเอง มิได้เป็นไปในกิริยานั้น ๆ (ด้วยเดชของตนเอง) แต่การเกิดขึ้นมาหรือการเป็นไปของนามและรูปนั้น มีขึ้นเพราะอาศัยกันและกัน เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า


น สเกน พเลน ชายเร โนปิ สเกน พเลน ติฏฐเร

ปรธมมวสานุวตติโน ชายเร สงขตา อตตทุพพลา

ปรปจจยโต จ ชายเร ปรอารมมณโต สมุฏฐิตา

อารมมณปจจเยหิ จ ปรธมเมหิ จิเม ปภาวิตา.



(หน้าที่ 252)


แปลความว่า

สภาวธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง (สังขตะ) ทั้งหลาย

ทุพพลภาพอยู่ในตัวเอง หาเกิดขึ้นด้วยกำลังของตนเอง

ได้ไม่ อีกทั้งธำรงอยู่ด้วยกำลังของตนเอง ก็หาไม่ ดำเนิน

ไปด้วยอำนาจของสภาวะธรรมอย่างอื่น สภาวธรรมที่ปัจจัย

ปรุงแต่งเหล่านี้ เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่น ตั้งขึ้นจากอารมณ์อื่น

เกิดขึ้นด้วยอารมณ์และปัจจัยและด้วยธรรมอื่นด้วย






อ้างคำพูด:
ยถาปิ นาวํ นิสสาย มนุสสา ยนติ อณณเว

เอวเมว รูปํ นิสสาย นามกาโย ปวตตติ.


ยถา มนุสเส นิสสาย นาวา คจฉติ อณณเว

เอวเมว นามํ นิสสาย รูปกาโย ปวตตติ.


แปลความว่า

มนุษย์ทั้งหลายเดินทางไปในห้วงน้ำ เพราะอาศัยเรือ

แม้ฉันใด นามกายเป็นไปได้เพราะอาศัยรูป ก็เช่นกันฉันนั้น

เรือแล่นไปในห้วงน้ำเพราะอาศัยมนุษย์ ฉันใด รูปกายเป็น

ไปได้เพราะอาศัยนามก็เช่นกันฉันนั้น









อ้างคำพูด:
อุโภ นิสสาย คจฉนติ มนุสสา นาวา จ อณณเว

เอวํ นามญจ รูปญจ อุโภ อญโญญญนิสสิตา.

แปลความว่า

มนุษย์และเรือทั้งสองต่างอาศัยกัน จึงเดินทางไปใน

ห้วงน้ำได้ นามและรูปก็ฉันนั้น ทั้งสองต่างอาศัยกันและกัน

ด้วยประการฉะนี้




อ้างคำพูด:
การเห็นนามและรูปตามเป็นจริง ซึ่งครอบงำสัตตสัญญา (คือ ความสำคัญหมายถึงรู้ว่า มีสัตว์) เสียได้ แล้วตั้งอยู่ในภูมิที่ไม่ลุ่มหลง ของโยคาวจรผู้กำหนดรู้นามและรูปโดยนัย



(หน้าที่ 253)


ต่าง ๆดังกล่าวมานี้ พึงทราบว่าเป็น
“ทิฏฐิวิสุทธิ (คือ ความเห็นบริสุทธิ์)”
แม้คำว่า
“นามรูปววัฏฐาน การกำหนดรู้นามและรูป”
ก็ดี คำว่า
“สังขารปริจเฉท - การกำหนดรู้สังขาร”
ก็ดี
เป็นชื่อของการเห็นนามและรูปตามเป็นจริงนี้เหมือนกัน


แก้ไขล่าสุดโดย นัน555 เมื่อ 13 ต.ค. 2010, 22:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไป

อะไร ฤ? เป็น เหตู ปัจจัย แห่ง นาม รูป?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2010, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ย. 2007, 13:40
โพสต์: 464

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ
อ้างคำพูด:
รูปซึ่งเกิดขึ้นอย่างนี้นั้น มีธรรมเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ๕ อย่าง คือ อวิชชา ๑ ตัณหา ๑ อุปาทาน ๑ กรรม ๑ เหล่านี้เป็นเหตุ


ที่มา
วิสุทธิมรรค เล่ม ๓ ภาคปัญญา ปริเฉทที่ ๑๙ กังขาวิตรณวิสุทธินิเทศ หน้าที่ ๒๕๔ - ๒๖๐
http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%A1_%E0%B9%93_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2_%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%91%E0%B9%99_%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8_%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%94_-_%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%90


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 21 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 91 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร