วันเวลาปัจจุบัน 20 เม.ย. 2024, 05:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก : ฉบับธรรมทาน
http://www.fungdham.com/tripitaka02.html

พระไตรปิฎก : ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
http://www.fungdham.com/tripitaka01.html

พระไตรปิฎก ออนไลน์
http://www.tipitaka.com/

รูปภาพ

รูปภาพ

พระไตรปิฎก
เป็นคัมภีร์หรือตำราทางพระพุทธศาสนา ซึ่งรวบรวมคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ไว้เป็นหมวดหมู่ แบ่งออกเป็น 3 ปิฎก ด้วยกันคือ
1. พระวินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของ ภิกษุและภิกษุณี
2. พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาโดยทั่วไป มีประวัติและท้องเรื่องประกอบ
3. พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วน ไม่มีประวัติ และท้องเรื่องประกอบ
แผนผังพระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
1. มหาวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัยที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของพระภิกษุ เป็นศีลของภิกษุที่มาในปาติโมกข์
2. ภิกษุณีวิภังค์ ว่าด้วยข้อห้าม หรือวินัย ของพระภิกษุณี
3. มหาวัคค์ ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย แบ่งออกเป็นขันธกะ
10 หมวด
4. จุลลวัคค์ ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัย ความเป็นมาของพระภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา แบ่งออกเป็นขันธกะ 12 หมวด
5. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย เป็นการย่อหัวข้อสรุปเนื้อความ วินิจฉัยปัญหาใน 4 เรื่องข้างต้น
พระสุตตันตปิฎก มีอยู่ 5 หมวดด้วยกันคือ
1. ทีฆนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดยาว มี 34 สูตร
2. มัชฌิมนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาขนาดกลาง ไม่ยาวและไม่สั้นเกินไป
มี 152 สูตร
3. สังยุตตนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนา ที่ประมวลธรรมะไว้เป็นพวก ๆ เรียกว่า สังยุต เช่นกัสสปสังยุต ว่าด้วยเรื่องของพระมหากัสสป โกศลสังยุต ว่าด้วยเรื่องในแคว้นโกศล มัคคสังยุต ว่าด้วยเรื่องมรรคคือข้อปฎิบัติ เป็นต้น มี 7,762 สูตร
4. อังคุตตรนิกาย ว่าพระพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเป็นข้อ ๆ ตามลำดับจำนวน เช่น ธรรมะหมวด 1 ธรรมะหมวด 2 ธรรมะหมวด 10 แต่ละข้อก็มีจำนวนธรรมะ 1, 2, 10 ตามหมวดนั้น
มี 9,557 สูตร
5. ขุททกนิกาย ว่าด้วยพระสูตร หรือพระธรรมเทศนาเบ็ดเตล็ด รวมทั้งภาษิตของพระสาวก ประวัติต่าง ๆ และชาดก รวบรวมหัวข้อธรรมที่ไม่จัดเข้าใน 4 หมวดข้างต้น แบ่งเป็นหัวข้อใหญ่มี 15 เรื่อง
[SIZE=+2<]
พระอภิธรรมปิฎก[/SIZE] แบ่งออกเป็น 7 เรื่องด้วยกันคือ
1. ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะ รวมเป็นหมวดเป็นกลุ่ม
2. วิภังค์ ว่าด้วยธรรมะแยกเป็นข้อ ๆ
3. ธาตุกถา ว่าด้วยธรรมะจัดระเบียบความสำคัญโดยถือธาตุเป็นหลัก
4. ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ 6 ชนิด และแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอันเกี่ยวกับบุคคล
5. กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบในหลักธรรม จำนวนหนึ่งประมาณ 219 หัวข้อ เพื่อถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรม
6. ยมก ว่าด้วยธรรมะที่รวมเป็นคู่ ๆ
7. ปัฏฐาน ว่าด้วยปัจจัย คือสิ่งที่เกื้อกูลสนับสนุน 24 อย่าง
ความเป็นมาของพระไตรปิฎก
1. พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย สมัยเมื่อนิครนถ์ นาฎบุตร เจ้าลัทธิสำคัญคนหนึ่งสิ้นชีพ พวกสาวกเกิดแตกกัน พระจุนทเถระเกรงจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น ในพระพุทธศาสนา จึงพร้อมกับพระอานนท์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงตรัสบอกพระจุนทะ ให้รวบรวมธรรมภาษิตของพระองค์ และทำสังคายนา คือจัดระเบียบทั้งโดยอรรถและพยัญชนะ เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นต่อไป
2. พระสารีบุตรแนะนำให้ร้อยกรองพระธรรมวินัย ในห้วงเวลาเดียวกันนั้น ค่ำวันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงธรรมจบแล้ว ได้มอบหมายให้พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อ พระสารีบุตรได้แนะนำให้รวบรวม ร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่ในหมวดนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เห็นว่าบรรดาพระภิกษุทั้งหลายยังใคร่จะฟังธรรมต่อไปอีก พระองค์จึงได้มอบหมายให้พระสารีบุตร แสดงธรรมแทน พระสารีบุตรได้ แนะนำให้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัย โดยจัดหมวดหมู่ธรรมะเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่ข้อ ๑ ถึงข้อ ๑๐ ว่ามีธรรมะใดบ้างอยู่หมวด ๑ หมวด ๒ จนถึงหมวด ๑๐ ซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงรับรองว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้อง
3. พระมหากัสสป เป็นผู้ริเริ่มให้มีการสังคายนา จัดระเบียบพระพุทธวจนะให้เป็นหมวดหมู่
4. พระอานนท์ เป็นผู้ที่ทรงจำพระพุทธวรนะไว้ได้มาก เป็นพุทธอุปฐาก ได้ขอพร หรือขอรับเงื่อนไขจาก พระพุทธเจ้า 8 ประการ ในเงื่อนไขประการที่ 7 และประการที่ 8 มีส่วนช่วยในการ สังคายนาพระธรรมวินัยมาก กล่าวคือ
ประการที่ 7 ถ้าความสงสัยของข้าพระองค์เกิดขึ้นเมื่อใด ขอให้ได้เข้าเฝ้าทูลถามเมื่อนั้น
ประการที่ 8 ถ้าพระองค์แสดงข้อความอันใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ ครั้นเสด็จมาแล้ว จักตรัสบอกข้อความอันนั้น แก่ข้าพระองค์
ทั้งนี้โดยเฉพาะประการที่ 8 อันเป็นข้อสุดท้ายมีเหตุผลว่า ถ้ามีใครถามท่านในที่ลับหลัง พระพุทธเจ้าว่า คาถานี้ สูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาดแสดงที่ไหน ถ้าพระอานนท์ตอบไม่ได้ ก็จะมีผู้กล่าวว่า พระอานนท์ตามเสด็จพระศาสดาไปดุจเงาตามตัว แม้เพียงเรื่องเท่านี้ก็ไม่รู้
ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระอานนท์จึงได้รับหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับพระธรรม ในคราวสังคายนาครั้งแรก หลังพุทธปรินิพพาน 3 เดือน
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเรื่องราวไว้ เป็นตัวอักษรอย่างกว้างขวางเช่นในปัจจุบัน มนุษย์จึงต้องอาศัยความจำเป็นเครื่องสำคัญ ในการบันทึกเรื่องราวนั้น ๆ ไว้ แล้วบอกเล่าต่อ ๆ กันมา การทรงจำและบอกต่อ ๆ กันมาด้วยปากนี้ เรียกว่า มุขปาฐะ
5. พระอุบาลี เป็นผู้ที่สนใจและจดจำพระธรรมพระวินัยได้เป็นพิเศษ มีความเชี่ยวชาญใน พระวินัย ในการทำสังคายนาครั้งแรก พระอุบาลีได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบคำถามเกี่ยวกับ พระวินัยปิฎก
6. พระโสณกุฎิกัณณะ เป็นผู้ที่ทรงจำได้ดีมาก เคยท่องจำบางส่วนของ พระสุตตันตปิฎก เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ได้รับสรรเสริญว่าทรงจำได้ดีมาก รวมทั้งท่วงทำนองในการกล่าว ว่าไพเราะ สละสลวย แสดงให้เห็นถึง การท่องจำพระธรรมวินัย ได้มีมาตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้า
การสังคายนาพระไตรปิฎก

พระ พุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ สมัยเมื่อใกล้จะปรินิพพานว่า ธรรมวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จะเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว
ตามหลักฐานของพระเถระฝ่ายไทย กล่าวว่า การสังคายนามี 9 ครั้ง

การสังคายนาครั้งที่ 1 กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 3 เดือน มีพระอรหันต์ประชุมกัน 500 รูป พระมหากัสสปเป็นประธานและเป็นผู้สอบถาม พระอานนท์เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้ตอบข้อซักถามทางพระวินัย พระเจ้าอชาติศัตรูเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 7 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้มีปรากฎอยู่ในพระวินัยปิฎก

การสังคายนาครั้งที่ 2 กระทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดียปัจจุบัน กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 100 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 700 รูป พระยสะ กากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พร้อมพระผู้ใหญ่อีก 8 รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบปัญหาทางพระวินัย ที่เกิดขึ้น กระทำอยู่ 8 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ มีปรากฎในพระวินัยปิฎก

การสังคายนาครั้งที่ 3 กระทำที่อโศการาม กรุงปาตลีบุตร ประเทศอินเดีย กระทำเมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 235 ปี มีพระสงฆ์ประชุมกัน 1,000 รูป พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ เป็นหัวหน้า พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 9 เดือน จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคลีบุตรได้แต่งกถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมเพิ่มขึ้น เมื่อทำสังคายนาเสร็จแล้วได้ส่ง คณะทูต ไปประกาศพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ พระมหินทเถระได้นำพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานในลังกา

การสังคายนาครั้งที่ 4 กระทำที่อินเดียภาคเหนือ ณ เมืองชาลันทร แต่บางหลักฐานก็ว่า กระทำที่เมืองกาษมีระหรือแคชเมียร์ ภิกษุที่เข้าประชุมมีทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน กระทำเมื่อ พ.ศ. 643 มีกษัตริย์ประเทศราชมาร่วม 21 พระองค์ มีทั้งพระสงฆ์ผู้คงแก่เรียนและพราหมณ์ผู้ทรงความรู้ประชุมกัน การสังคายนาครั้งนี้จึงมีลักษณะผสมคือ มีทั้งพุทธและพราหมณ์ ภาษาที่ใช้สำหรับพระไตรปิฎกไม่เหมือนกัน คือฝ่ายเถรวาทใช้ภาษาบาลี ฝ่ายมหายานใช้ภาษาสังสฤต (บางครั้งก็ปนปรากิต) การสังคายนาครั้งนี้ ไม่มีบันทึกหลักฐานทางฝ่ายเถรวาท
การนับสังคายนาของไทย
ไทยเรายอมรับรองการสังคายนาครั้งที่ 1,2 และ 3 ในอินเดีย และครั้งที่ 1, 2, 3 และ 4 ในลังกา ซึ่งกระทำเมื่อ พ.ศ. 238, พ.ศ. 433, พ.ศ. 956 และ พ.ศ. 1587 รวมกันเป็น 7 ครั้ง
การสังคายนาครั้งที่ 8 ทำในประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2020 พระเจ้าติโลกราช
แห่ง เชียงใหม่ได้อาราธนาพระภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกหลายร้อยรูปช่วยกันชำระพระ ไตรปิฎกที่วัดโพธาราม ใช้เวลา 1 ปี จึงแล้วเสร็จ การสังคายนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 1 ในประเทศไทย
การสังคายนาครั้งที่ 9 ทำในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ได้ทรงอาราธนาพระสงฆ์ให้ชำระพระไตรปิฎก มีพระสงฆ์ 218 รูป กับราชบัณฑิตาจารย์อุบาสก 32 คน ช่วยกันชำระพระไตรปิฎก แล้วจารึกลงในใบลาน แล้วเสร็จใน 5 เดือน นับเป็นการสังคายนาครั้งที่ 2 ในประเทศไทย
การชำระและจารึกกับการพิมพ์พระไตรปิฎกในประเทศไทย
สมัยที่ ๑ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่เมืองเชียงใหม่ สมัยพระเจ้าติโลกราช ประมาณ พ.ศ. ๒๐๒๐ ตัวอักษรที่ใช้ในการจารึก คงเป็นอักษรแบบไทยล้านนา ซึ่งคล้ายกับอักษรพม่า
สมัยที่ ๒ ชำระและจารลงในใบลาน กระทำที่กรุงเทพ ฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๑ รัช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ฯ ให้ชำระและแปลฉบับอักษรลาวและอักษรรามัญ เป็นอักษรขอม ใส้ตู้ไว้ใน หอมณเฑียรธรรม และถวายพระสงฆ์ไว้ทุกพระอารามหลวง
สมัยที่ ๓ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัช สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๖ ได้คัดลอกตัวอักษรขอมในคัมภีร์ใบลาน เป็นตัวอักษรไทย และชำระแก้ไข แล้วพิมพ์เป็นเล่มหนังสือรวม ๓๙ เล่ม มีการประกาศสังคายนา แต่คนทั่วไป ไม่ถือว่าเป็นการสังคายนา พิมพ์ออกมา ๑,๐๐๐ ชุด นับว่าเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยตัวอักษรไทย ในการพิมพ์ครั้งนี้พิมพ์ได้ ๓๙ เล่มชุด ยังไม่ได้พิมพ์อีก ๖ เล่ม มาพิมพ์เพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ
สมัยที่ ๔ ชำระและพิมพ์เป็นเล่ม กระทำที่กรุงเทพ ฯ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ เรียกว่าพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ พิมพ์ ๑,๕๐๐ จบ พระราชทานในพระราชอาณาจักร ๒๐๐ จบ พระราชทานในนานาประเทศ ๔๕๐ จบ อีก ๘๕๐ จบ พระราชทานแก่ผู้บริจาคทรัพย์ขอรับหนังสือพระไตรปิฎก
ผลจากการส่งพระไตรปิฎกไปต่างประเทศ ทำให้มีผู้พยายามอ่านอักษรไทย เพื่อให้สามารถ อ่านพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยได้ และได้มีภิกษุชาวเยอรมันเขียนหนังสือสดุดีไว้ว่า พระไตรปิฎกฉบับ ของไทยสมบูรณ์กว่าฉบับพิมพ์ด้วยอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ์ในอังกฤษ เป็นอันมาก
ลำดับชั้นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๑ เรียกว่า พระบาลี
อรรถกถาหรือวัณณนา เป็นคำอธิบายพระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้น ๒ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖
ฎีกา เป็นคำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้น ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๕๘๗
อนุฎีกา เป็นคำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้น ๔
การแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลีเป็นภาษาไทย
การ แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ได้กระทำกันมาช้านานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดแปลไว้เป็นจำนวนมาก ในรัชสมัยต่อ ๆ มา การแปลก็ยังคงดำเนินไปเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่จะแปลพระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎกมีน้อย สำนวนโวหารในการแปลก็ผิดกันมาก เพราะต่างยุคต่างสมัย
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๓
สมเด็จ พระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทว) วัดสุทัศน์เทพวราราม ทรงปรารภว่า พระไตรปิฎกเป็นภาษาบาลี ผู้ใคร่ศึกษาต้องรู้ภาษาบาลีอย่างลึกซึ้ง จึงจะศึกษาได้สมประสงค์ แม้มีผู้รู้แปลสู่ภาษาไทยอยู่บ้าง ก็เลือกแปลเฉพาะบางตอน ไม่ตลอดเรื่อง ถ้าสามารถแปลจบครบบริบูรณ์ ก็จะเป็นอุปการคุณแก่ พุทธบริษัทชาวไทยอย่างใหญ่หลวง ในต่างประเทศ ได้มีนักปราชญ์อุตสาหะแปลบาลีพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท ออกเป็นภาษาของเขาแล้ว สำหรับฝ่ายมหายานนั้น ได้มีการแปลพระไตรปิฎก จากฉบับภาษาสันสกฤต ออกเป็นภาษาของชาวประเทศที่นับถือลัทธิมหายาน มาแล้วช้านาน การที่นักปราชญ์ดังกล่าวจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาของเขา ก็ด้วยเห็นประโยชน์ที่มหาชนชาวประเทศนั้น ๆ จะพึงได้รับการศึกษาพระไตรปิฎกเป็นสำคัญ จึงเป็นการสมควรด้วยประการทั้งปวง ที่จะคิดจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทยให้ตลอดสาย จะเป็นเครื่องเฉลิมพระเกียรติแห่งพระมหากษัตริย์ และประเทศไทยให้ปรากฎไปในนานาประเทศ แต่เนื่องด้วยการนี้เป็นการใหญ่ เกินวิสัยที่เอกชนคนสามัญจะทำให้สำเร็จได้ จึงขอให้กระทรวงธรรมการ นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงมีพระราชดำริเห็นชอบ จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้รับการจัดแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถวายให้สมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานในการนี้ ให้กรมธรรมการเป็นผู้อำนวยการฝ่ายคฤหัสถ์ จัดพิมพ์ พระไตรปิฎกเป็นสมุดตีพิมพ์และลงในใบลาน เพื่อเผยแพร่แก่พุทธบริษัทสืบไป
คณะกรรมการแปลพระไตรปิฎก เริ่มดำเนินการแปลตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ
๑. แปลโดยอรรถ ตามความในบาลีพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ สำหรับพิมพ์เป็นเล่มสมุด เรียกว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทย"
๒. แปลโดยสำนวนเทศนา สำหรับพิมพ์ลงใบลาน เป็นคัมภีร์เทศนา เรียกว่า "พระไตรปิฎกเทศนาฉบับหลวง" แบ่งออกเป็น ๑,๒๕๐ กัณฑ์ โดยถือเกณฑ์พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป เมื่อคราวจตุรงคสันนิบาตในสมัยพุทธกาล เป็นพระวินัยปิฎก ๑๘๒ กัณฑ์ พระสุตตันตปิฎก ๑,๐๕๔ กัณฑ์ พระอภิธรรมปิฎก ๑๔ กัณฑ์ พิมพ์ลงใบลานเสร็จเรียบร้อยเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๒
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ รัฐบาลไทยดำริจะจัดทำพิธีฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐
คณะ สังฆมนตรีพิจารณาเห็นสมควร จัดสร้างพระไตรปิฎกภาษาไทย ซึ่งคณะสงฆ์ได้ตั้งกรรมการจัดแปล และกำลังตรวจสำนวน ทำต้นฉบับสำหรับพิมพ์อยู่แล้วนั้น เพื่อเป็นอนุสาสนีย์เนื่องในงานนั้นด้วย
จึงได้กำหนดจำนวนหนังสือที่จะพิมพ์ จากจำนวนที่กำหนดไว้เดิม ๑,๐๐๐ จบ เป็น ๒,๕๐๐ จบ เพื่อให้เหมาะสมแก่งานฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ กรมศาสนาได้ดำเนินการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ ๒ เห็นว่าจำนวนเล่มที่พิมพ์ ครั้งแรกชุดละ ๘๐ เล่ม เพื่อให้ไม่หนาเกินไป และมีจำนวนเล่มเท่าจำนวนพระชนมายุของพระพุทธเจ้า แต่ทำให้การอ้างอิงไม่ตรงกับเล่มในฉบับบาลี ซึ่งมีอยู่ ๔๕ เล่ม ในการพิมพ์ครั้งนี้จึงพิมพ์จบละ ๔๕ เล่ม และประจวบกับปี พ.ศ. ๒๕๑๔ นับเป็นมหามงคลสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสด็จ เถลิงถวัลยราชสมบัติมาบรรจบครบ ๒๕ ปี ทางราชการได้จัดพระราชพิธีรัชดาภิเษก ถวายเป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงตกลงเรียกพระไตรปิฎกฉบับนี้ว่า "พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง" จัดพิมพ์จำนวน ๒,๐๐๐ จบ จบละ ๔๕ เล่ม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


พระวินัยปิฎก เล่ม 1 มหาวิภังค์ ปฐมภาค
นะโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺ ธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เวรัญชกัณฑ์

เรื่อง เวรัญชพราหมณ์
(1) โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ โคนไม้สะเดา เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ 500 รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าว ทราบกิติศัพท์สรรเสริญพระผู้มีพระภาคว่า ทรงเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ บรรลุวิชชาและจรณ เสด็จไปดี ทราบโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพุทธะ เป็นพระผู้มีพระภาค ทรงนำโลกนี้พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญา อันยิ่งของพระองค์เอง แล้วสอนหมู่สัตว์ พร้อมสมณะพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงานในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่งการเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเป็นความดี

เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
(2) เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสำนัก ทูลปราศัยกับพระผู้มีพระภาค ฯลฯ แล้วจึงนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามว่า ข้าพเจ้าได้ทราบว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับ พวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมาตามลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ในโลกทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ ฯลฯ
ว. ท่านพระโคดม มีปกติไม่ใยดี
พ. จริงเช่นนั้น เพราะความใยดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้วตัด รากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดานี้แหละนี้แหละที่เขากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. พระโคดมไม่มีสมบัติ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพผะ เหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
ว. พระโคดมกล่าวการไม่ทำ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมกล่าวการขาดสูญ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมช่างรังเกียจ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัด ราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อจำกัดสภาพที่เป็นบาปกุศลหลายอย่าง ฯลฯ
ว. พระโคดมช่างเผาผลาญ
พ. จริงเช่นนั้น เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ซึ่งผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ
ว. พระโคดมไม่ผุดเกิด
พ. จริงเช่นนั้น เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดในภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วตัดรากขาดแล้ว ฯลฯ

ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
(3) ดูกร พราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไข่หลายฟอง อันแม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว ลูกไก่ตัวใด ทำลายฟองไข่ออกมาได้โดยสวัสดีก่อนเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง
ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา

ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม
พ. เรา ก็เหมือนอย่างนั้น เมื่อประชาชนตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายฟองคือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้ว ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง
ปฐมฌาน เรานั้นแลสงัดแล้วจากกาม จากอกุศลกรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ทุติยฌาน เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ* ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก วิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปิติและสุข ซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่
ตติฌาน เรา มีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไป ได้บรรลุตติยญาณ ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติมีสุขอยู่
จตุตถฌาน เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่องไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้วได้น้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เเป็นอันมาก คือ ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง...แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขอย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นแล้ว ได้เกิดมาในภพนี้ เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ วิชชาที่หนึ่งนี้เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้วความมืดส่งจิตไปแล้ว ฉะนี้ ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่งของเรานี้แล ได้เเป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น
จุตูปปาตญาณ เรานั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ดังนั้น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตใจเพื่อญาณเครื่องรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต ผิวพรรณดี ผิวพรรณทรามได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงกรรมว่า หมู่ สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ หมู่สัตว์ที่เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ ฯลฯ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผุ้เข้าถึงตามกรรมด้วยประการฉะนี้ วิชชาสองนี้ เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สองเรานี้ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น
อาสวักขยญาณเรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ได้ น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เป็นเหตุได้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นจาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี วิชชาสามนี้ เราได้บรรลุในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ฯลฯ ความชำแรกออกครั้งที่สามของเรานี้ ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากฟองของลูกไก่ ฉะนั้น

เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
(4) เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูลว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ภาษิต ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ไพเราะนัก ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยายอย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ พระองค์ทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงรับอาราธนาอยู่จำพรรษา ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด
พระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นพราหมณ์ทราบแล้ว ได้ลุกจากที่นั่งกราบบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไป

เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
(5) สมัยนั้น เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำไม่ได้ง่าย ครั้งนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะ ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสำหรับภิกษุ รูปละแล่งไว้ที่คอกม้า เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตรในเมือง เมื่อไม่ได้บิณฑบาตร จึงเที่ยวไปบิณฑบาตรที่คอกม้า รับข้าวแดงรูปละแล่งนำไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวแดงแล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยพระกระยาหารนั้น และได้สดับเสียงครกอยู่

พระพุทธประเพณี
พระ ตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถามก็มี พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระองค์ ทรงกำจัดด้วยข้อปฏิบัติ พระองค์ย่อมทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยอาการสองอย่างคือ จักทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จักทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอีกอย่างหนึ่ง ครั้งนั้น พระองค์ตรัสถามพระอานนท์ว่านั่นเสียงครกหรือหนอ พระอานนท์จึงทราบทูลให้ทรงทราบ ฯลฯ

พระมหาโมคคัลลานะเปล่งสีหนาท
(6) ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบบังคม แล้วนั่งในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผุ้มีพระภาคว่า บัดนี้เมืองเวรัญชามีภิกษาหารน้อย ฯลฯ พื้นเบื้องล่างแห่งแผ่นดินใหญ่นี้ สมบูรณ์ ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าจะพึงพลิกแผ่นดินภิกษุทั้งหลายจักได้ฉันง้วนดิน พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า ดูกร โมคคัลลานะ ก็สัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเล่าเธอจะทำอย่างไรแก่สัตว์เหล่านั้น ฯลฯ
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักนิรมิตฝ่ามือข้างหนึ่ง ให้เป็นดุจแผ่นดินใหญ่ ยังสัตว์ผู้อาศัยแผ่นดินเหล่านั้นให้ไปอยู่ในฝ่ามือนั้น จักพลิกแผ่นดินด้วยมืออีกข้างหนึ่ง
พ. อย่าเลย การพลิกแผ่นดิน เธออย่าพอใจเลย สัตว์ทั้งหลายจักพึงได้รับผลตรงกันข้าม
ม. ขอภิกษุทั้งหมดพึงไปบิณฑบาตรในอุตรกุรุทวีป
พ. ภิกษุผู้ไม่มีฤทธิ์เล่า เธอจะทำอย่างไรกับภิกษุเหล่านั้น
ม. ข้าพระพุทธเจ้าจักทำให้ภิกษุทั้งหมดไปได้
พ. อย่าเลย การที่ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไปบิณฑบาตรถึงอุตรกุรุทวีป เธออย่าพอใจเลย

เหตุให้พระศาสนาดำรงอยู่ไม่นานและนาน
(7) ครั้งนั้น พระสารีบุตรไปในที่สงัดหลีกเร้นอยู่ ได้มีความปริวิตกแห่งจิตเกิดขึ้นว่า พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ไหนไม่ดำรงอยู่นาน ของพระองค์ไหนดำรงอยู่นาน ครั้น เวลาเย็นท่านออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลความปริวิตกนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า พระศาสนาของพระผู้มี พระภาค พระนาม วิปัสสี พระนาม สิขีและพระนาม เวสสภู ไม่ดำรงอยู่นาน ส่วนพระผู้มีพระภาค พระนาม กกุสันธะ พระนามโกนาคมนะ และพระนามกัสสปะ ดำรงอยู่นาน
ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคทั้งสามดังกล่าวไม่ดำรงอยู่นาน
พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม ทรงท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมโดยพิสดารแก่สาวกทั้งหลาย อนึ่ง สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิตวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เว ทัลละ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามมีน้อย สิกขาบทก็มิได้ทรงบัญญัติ ปาติโมกข์ก็มิได้ทรงแสดงแก่สาวก เพราะอันตรธานแห่งพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น เพราะอันตรธานแห่งสาวกผู้ตรัสรู้ตาม สาวกชั้นหลังที่ต่างชื่อกัน ต่างโคตรกัน ต่างชาติกัน ออกบวชจากตระกูลต่างกัน จึงยังพระศาสนานั้นให้อันตรธานโดยฉับพลันฯลฯ
ส. อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้พระศาสนาของพระผู้มีประภาคทั้งสาม ดำรงอยู่นาน
พ. พระผู้มีพระภาคทั้งสาม มิได้ทรงท้อพระหฤทัยเพื่อจะทรงแสดงธรรม โดยพิศดารแก่สาวกทั้งหลายอนึ่งสุตตะ ฯลฯ ของพระผู้มีพระภาคทั้งสามนั้นมีมาก สิกขาบทก็ทรงบัญญัติ ปาติโมข์ก็ทรงแสดงแก่สาวก จึงดำรงพระศาสนาไว้ได้ตลอดระยะกาลนาน

ปรารภให้ทรงบัญญัติสิกขาบท
(8) ลำดับนั้น พระสารีบุตรลุกจากอาสนะ นำผ้าอุตรสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ถึงเวลาแล้วที่จะทรงบัญญัติสิกขาบท ที่จะทรงแสดงปาติโมข์แก่สาวกอันจำเป็นเหตุให้พระศาสนานี้ยั่งยืนดำรงอยู่ได้นาน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า จงรอก่อน ยับยั้งก่อน ตถาคต ผู้เดียวจักรู้กาลในกรณีนั้น พระศาสดายังไม่บัญญัติสิกขาบท ยังไม่แสดงปาติโมกข์แก่สาวก ตลอดเวลาที่ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ต่อเมื่อใดอาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น อา สวัฏฐานิยธรรมบางเหล่า ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ในศาสนานี้ ตลอดเวลาที่สงฆ์ ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยภิกษุผู้บวชนาน ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ยังไม่ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภ ต่อเมื่อใดสงฆ์ถึงความเป็นหมู่ใหญ่ ถึงความเป็นหมู่ใหญ่โดยแพร่หลาย ถึงความเป็นหมู่ใหญ่เลิศโดยลาภแล้ว และอาวาสวัฏฐานิยธรรมบางเหล่าย่อมปรากฎในหมู่สงฆ์ในศาสนานี้ เมื่อนั้นพระศาสดาจึงจะบัญญัติสิกขาบท แสดงปาติโมกข์แก่สาวก เพื่อกำจัดอาสวัฏฐานิยธรรมเหล่านั้น ก็ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียด ไม่มีโทษ ปราศจากมัวหมอง บริสุทธิ์ผุดผ่อง ตั้งอยู่ในสารคุณ เพราะบรรดาภิกษุห้าร้อยรูป ผู้ทรงคุณธรรมอย่างต่ำก็เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ผู้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า

เสด็จนิเวศน์เวรัญชพราหมณ์
(9) ครั้นปวารณาพรรษาแล้ว พระผู้มีพระภาคเรียกพระอานนท์มารับสั่งว่า พระตถาคตทั้งหลายยังมิได้บอกลาผู้ที่นิมนต์ให้อยู่จำพรรษาแล้ว จะไม่หลีกไปสู่ที่จาริกในชนบททั้งนี้เป็นประเพณีของพระตถาคตทั้งหลาย
ขณะ นั้นพระผู้มีพระภาคทรงอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวร มีพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จไปสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ครั้นถึงแล้วประทับเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย
เว รัญชพราหมณ์กราบบังคมนั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระองค์รับสั่งว่า ดูกร พราหมณ์เราขอบอกลาท่าน เราปรารถนาจะหลีกไปสู่ที่จาริกในชนบท
เวรัญชพราหมณ์ ทูลขอให้พระองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์รับภัตตาหารเพื่อเจริญบุญกุศล และปิติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้แก่ตัวเขาเอง
พระองค์ ทรงรับอัชเฌสนาโดยดุษณียภาพแล้วทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ
เว รัญชพราหมณ์สั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวฉันอันประณีตในนิเวศน์ตน ผ่านราตรีนั้นแล้ว ให้เจ้าพนักงานไปกราบทูลภัตกาลแด่ พระผู้มีพระภาคว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดม ภัตตาหารเสร็จแล้ว
ขณะ นั้น เป็นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคเสด็จสู่นิเวศน์เวรัญชพราหมณ์ ถึงแล้วประทับนั่งเหนือที่ประทับพร้อมภิกษุสงฆ์ เวรัญชพราหมณ์อังคาสพระภิกษุสงฆ์ อันมีพระผู้มีพระภาคเป็นประมุขด้วยขาทนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตนจนให้ห้ามภัตรแล้ว ได้ถวายไตรจีวรแด่ พระผู้มีพระภาคผู้เสวยเสร็จทรงนำพระหัตถ์ ออกจากบาตรแล้วให้ทรงครอง และถวายผ้าคู่ ให้ภิกษุครองรูปละสำรับ จึงพระองค์ทรงชี้แจงให้ เวรัญชพราหมณ์เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ ครั้นพระองค์ประทับอยู่ที่เมือง เวรัญชาตามพระพุทธารมย์แล้ว เสด็จไปยังเมืองท่าปยาคะ ไม่ทรงแวะเมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสสะ เมืองกัณณกุชชะ ข้ามแม่น้ำคงคาที่เมืองท่าปยาคะ เสด็จถึงพาราณสี ครั้นประทับอยู่ที่พาราณสีแล้ว เสด็จจาริกไปนครเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเวสาลี

จบเวรัญชกัณฑ์


ปาราชิกกัณฑ์
ปฐมปาราชิกสิกขาบท
เรื่องพระสุทินน์
สมัยนั้น ไม่ห่างจากเวสาลีมีบ้านตำบลหนึ่งชื่อ กลันทะ มีบุตรชาวบ้านกลันทะผู้หนึ่งชื่อ สุทินน์ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคประทับแสดงธรรมอยู่ สุทินน์เห็นพระผู้มีพระภาค คิดว่าไฉนเราจะพึงได้ฟังธรรมบ้าง รำพึงว่า ด้วยวิธีอย่างไร เราจึงจะรู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์แสดงแล้ว อันบุคคลที่ยังครองเรือนอยู่ จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ทำไม่ได้ง่าย เราพึงปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เขาได้เข้าไปเฝ้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ขอพระองค์โปรดให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า บิดามารดาอนุญาตให้บวชเป็นบรรพชิตแล้วหรือ สุทินน์ตอบว่า ยังไม่ได้อนุญาต
พ. ตถาคตทั้งหลาย ย่อมไม่บวชบุตรที่มารดา บิดายังไม่ได้อนุญาต
ส. ข้าพระพุทธเจ้าจักกระทำโดยวิธีที่มารดา บิดา อนุญาต
ขออนุญาตบวช
สุทินน์ เข้าหามารดาบิดา แล้วกล่าวขอบวช มารดา บิดา กล่าวแก่เขาว่า เจ้าเป็นบุตรคนเดียว ฯลฯ เหตุไฉน เราจักอนุญาติให้เจ้าบวชเป็นบรรพชิตได้เล่า
แม้ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม สุทินน์ขอบวช แต่ มารดา บิดาก็ไม่ยินยอม สุทินน์ตัดสินใจว่า การตายหรือการบวชจักมีแก่เราในที่นี้แล้ว เขาไม่ยอมบริโภคอาหาร
มารดาบิดาไม่อนุญาต
มารดาบิดาของเขาก็ยังยืนยันคำเดิมอยู่ แม้ครั้งที่สอง ละครั้งที่สามแต่สุทินน์ก็ได้แต่นิ่ง
พวกสหายช่วยเจรจา
พวกสหายช่วยกันพูดในทำนองเดียวกัน แม้ครั้งที่สองและครั้งที่สาม แต่สุทินน์ก็ได้แต่นิ่งอยู่ เมื่อไม่สำเร็จพวกสหายจึงสรุปผลว่า ถ้ามารดาบิดาไม่อนุญาตให้เขาออกบวชก็จะตาย ดังนั้น ขอจงอนุญาตให้สุทินน์ออกบวชเถิด มารดาบิดาจึงยินยอมให้เขาออกบวช
สุทินน์กลันทบุตรออกบวช
สุทินน์ก็ได้รับบรรพชาในพุทธสำนัก เมื่อพระสุทินน์อุปสมบทแล้วไม่นาน ได้ประพฤติสมาทานธุดงค์คุณคือ เป็นผู้ถืออรัญญิก ปิณฑปาติก ปังสุกูลิก สมาทานจาริกธุดงค์ พำนักอยู่ใกล้หมู่บ้านชาววัชชีตำบลหนึ่ง
พระสุทินน์เยี่ยมสกุล
สมัยนั้นวัชชีชนบทอัตคัตอาหาร ฯลฯ พระสุทินน์ มี ความคิดว่าก็แลญาติของเราในเวสาลีมีมาก ฯลฯ เราพึงเข้าไปพำนักอยู่ใกล้หมู่ญาติ แม้หมู่ญาติก็จักได้อาศัยเราให้ทานบุญ และภิกษุทั้งหลายจักได้ลาภทั้งเราจักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตร ดังนั้น พระสุทินน์จึงไปสู่เวสาลี พำนักอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวันบรรดาญาติพระสุทินน์ ทราบข่าว จึงนำภัตตรหารไปถวาย พระสุทินน์สละภัตตาหาร เหล่านั้นถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วเข้าไปบิณฑบาตรยังกลันทคาม พอดีทาสีญาติพระสุทินน์ จำพระสุทินน์ได้ จึงรีบเข้าไปหามารดาพระสุทินน์ แจ้งว่าพระสุทินน์กลับมาแล้ว
ขณะที่พระสุทินน์กำลังอาศัยพะไลเรือนแห่งหนึ่ง ฉันขนมสดอยู่นั้น พอดีบิดาพระสุทินน์ แลเห็นจึงเดินเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า พ่อควรไปเรือนของตนมิใช่หรือ พระสุทินน์ตอบว่า รูปได้ไปสู่เรือนคุณโยมแล้ว บิดาพระสุทินน์จับแขนท่านแล้วว่า เราจักไปเรือนกัน พระสุทินน์ได้เดินตามไปสู่เรือนบิดา บิดาท่านได้กล่าวกับท่านว่า จงฉันเถิดพ่อสุทินน์ พระสุทินน์ตอบว่า อย่าเลยคุณโยมภัตกิจในวันนี้รูปทำเสร็จแล้ว บิดาท่านจึงอาราธนาว่า พ่อสุทินน์ จงรับนิมนต์ฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้เถิด พระสุทินน์รับนิมนต์แล้วกลับไป
บิดาวิงวอนให้สึก
มารดาพระสุทินน์สั่ง ให้จัดกองทรัพย์เป็นกองใหญ่ ให้ปิดกองทรัพย์ด้วยลำแพน ให้จัดอาสนะไว้ในท่ามกลาง แล้วเรียกปุราณทุติยิกาของพระสุทินน์มาสั่งว่า เจ้าจงแต่งกาย
อันจะเป็นเหตุให้ลูกสุทินน์เกิดความรักใคร่พอใจ
เช้าวันนั้น บิดาพระสุทินน์เข้าไปหาท่าน แล้วให้คนเปิดกองทรัพย์เหล่านั้นออกกล่าวว่า พ่อสุทินน์พ่อจงกลับมาเป็นคฤหัส จะได้ใช้สอยโภคสมบัติและบำเพ็ญบุญ
พระสุทินน์ตอบว่า รูปไม่อาจ ไม่สามารถ รูปยังยินดีประพฤติพรหมจรรย์อยู่ แม้ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม แต่พระสุทินน์ก็ปฏิเสธ และกล่าวว่ารูปขอพูดกะคุณโยมบ้าง
บ. พูดเถิด พ่อสุทินน์
ส. คุณโยมจงสั่งให้เขาทำกระสอบป่านใหญ่ ๆ บรรจุเงินและทองให้เต็มบรรทุกเกวียนไป แล้วให้จมลงในแม่น้ำคงคา เพราะความกลัวก็ดี ความหวาดเสียวก็ดี อันมีทรัพย์เป็นเหตุ ที่จักเกิดแก่คุณโยมนั้น
บิดาของท่านไม่พอใจว่าไฉนพระสุทินน์จึงพูดอย่างนี้ และแล้วได้เรียกปุราณทุติยิกาของพระสุทินน์
มาบอก ว่า บางทีลูกสุทินน์จะพึงทำตามคำของเจ้าบ้าง นางได้จับเท้าพระสุทินน์ถามว่า นางอัปสรผู้เป็นเหตุ ให้ท่านประพฤติพรหมจรรย์นั้นชื่อเช่นไร พระสุทินน์ตอบว่า น้องหญิง ฉันไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสรเลย พระสุทินน์กล่าวกับบิดาว่า คุณโยม ถ้าโภชนะที่จะพึงให้มีก็จงให้เถิด อย่ารบกวนรูปเลย มารดาบิดาของท่านจึงกล่าวว่า ฉันเถิดพ่อสุทินน์ แล้วอังคาสท่านด้วยขาทนียโภชนียาหาร อันประณีตด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัต แล้วมารดาของท่านจึงกล่าวว่า พ่อควรกลับมาเป็นคฤหัส ฯลฯ
พระสุทินน์ตอบว่า รูปไม่อาจ ฯลฯ
แม้ครั้งที่สอง พระสุทินน์ก็ยังยืนยันเช่นเดิม
ในครั้งที่สาม มารดาของท่านได้กล่าวเพิ่มเติมว่า พ่อจงให้พืชพันธุ์ไว้บ้าง พวกเจ้าลิจฉวีจะได้ไม่ริบทรัพย์สมบัติของเรา อันหาบุตรผู้สืบสกุลมิได้ไปเสีย
พระสุทินน์ตอบว่าเฉพาะเรื่องนี้รูปอาจทำได้ แล้วกลับไป
เสพเมถุนธรรม
หลังจากนั้น มารดาของท่านสั่งกำชับปุราณทุติยิกาของท่านว่า เมื่อใดเจ้ามีระดูพึงบอกแม่ นางรับคำ ต่อมานางมีระดู มารดาพระสุทินน์ จึงพานางเข้าไปหาพระสุทินน์ที่ป่ามหาวัน มารดาของท่านได้กล่าว ขอในเรื่องพืชพันธุ์ พระสุทินน์ตอบว่า เรื่องนี้อาจทำได้ ท่านตอบแล้วจึงจูงแขนปุราณทุติยิกาพาเข้าป่ามหาวัน เป็นผู้มีความเห็น ว่าไม่มีโทษ เพราะสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ จึงให้มารยาทของคนคู่เป็นไปใน ปุราณทุติยิกา 3 ครั้ง นางได้ตั้งครรภ์ เพราะอัชฌาจารนั้น
เทพเจ้ากระจายเสียง
เหล่าภุมเทพกระจายเสียงว่า ภิกษุสงฆ์ไม่มีเสนียดไม่มีโทษ พระสุทินน์ก่อเสนียดขึ้นแล้ว ก่อโทษขึ้นแล้ว เทพ ชั้นจาตุมหาราชได้สดับแล้วกระจายเสียงต่อไป เทพชั้นดาวดึงส์ เทพชั้นยามา เทพชั้นดุสิต เทพชั้นนิมมานรดี เทพชั้นปรนิมมิตวสวดี เทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้สดับเสียง เสียงได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลก
สมัยต่อมา ปุราณทุติยิกาของพระสุทินน์คลอดบุตร ตั้งชื่อทารกนั้นว่าพัชกะ
ตั้งชื่อปุราณทุติยิกาพระสุทินน์ว่า พัชกมาตา ตั้งชื่อพระสุทินน์ว่าพัชกปิตา
ภายหลังเขาทั้งสองได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตแล้ว
พระสุทินน์เกิดวิปฏิสาร
ครั้งนั้นความเดือดร้อนได้เกิดแก่พระสุทินน์ว่า เราได้ชั่วแล้วหนอเพราะเราบวชในพระธรรม วินัยที่พระผู้มีภาคตรัสไว้อย่างนี้แล้ว ยังไม่สามารถประพฤติพรหมจรรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต เพราะความเดือดร้อนนี้ท่านได้ซูบผอม เศร้าหมองมีใจหดหู่ มีทุกข์โทมนัส มีวิปฎิสังขารซบเซาแล้ว
บรรดาภิกษุที่เป็นสหาย ได้กล่าวแก่ท่านว่า คุณจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์กระมังหนอ
พระสุทินน์ตอบว่า มิใช่ว่าผมจะไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ แต่เพราะบาปกรรมที่ผมทำไว้มีอยู่ ผมได้เสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกา ผมจึงได้มีความเดือดร้อน ฯลฯ
อาวุโส สุทินน์ การที่คุณบวชในพระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว อย่างนี้แล้วยังไม่สามารถ ประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตนั้น พอที่คุณจะเดือดร้อน
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยเอนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด
ไม่ใช่เพื่อมีความกำหนัด เพื่อความพรากไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่นไม่ ใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่หรือ เพื่อธรรมชื่อนั้น เพื่อคลายกำหนัด คุณยังจะคิดเพื่อมีความกำหนัด เมื่อทรงแสดงเพื่อความพราก คุณยังคิดเพื่อความประกอบ เมื่อทรงแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น คุณยังจักคิดเพื่อความถือมั่น
อาวุโส ธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยเอนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สว่างแห่งความเบา (เพื่อเป็นที่) ดับสูญแห่งความกระหาย (เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งอาลัย) (เพื่อเป็นที่) เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ (เพื่อเป็นที่) สิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อความดับทุกข์ เพื่อนิพพานมิใช่หรือ
อาวุโส การละกาม การกำหนดรู้ความหมายในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเดี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม พระผู้มีพระภาคตรัสบอกไว้โดย เอนกปริยายมิใช่หรือ
อาวุโส การกระทำของคุณนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้การกระทำของคุณนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
ภิกษุสหายเหล่านั้น ติเตียนพระสุทินน์ โดยเอนกปริยายดังนี้แล้ว
ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระสุทินน์ว่า ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรมในปุราณทุติยิกาจริงหรือ พระสุทินน์ตอบว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาค ทรงติเตียนว่า โมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่สมไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ เธอบวชในธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้แล้ว ไฉน จึงไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิตเล่า
ดูกร โมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงโดยเอนกปริยาย เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อ ความพราก ไม่ใช่เพื่อความประกอบ เพื่อความไม่ถือมั่น ไม่ใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่หรือ เมื่อธรรมชื่อนั้น อันเราแสดงแล้ว เพื่อคลายความกำหนัด เธอยังจักคิดเพื่อมีความกำหนัด เราแสดงเพื่อความพราก เธอยังจักคิดเพื่อความประกอบ เราแสดงเพื่อความไม่ถือมั่น เธอยังจักคิดเพื่อมีความถือมั่น
ดูกร โมฆบุรุษ ธรรมอันเราแสดงแล้วโดยเอนกปริยาย เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งราคะ เพื่อเป็นที่สว่างแห่งความเบา เพื่อเป็นที่ดับสูญแห่งความระหาย เพื่อเป็นที่หลุดถอนแห่งความอาลัย เพื่อเป็นที่เข้าไปตัดแห่งวัฏฏะ เพื่อเป็นที่สิ้นแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่สำรอกแห่งตัณหา เพื่อเป็นที่ดับแห่งตัณหา เพื่อออกไปจากตัณหาชื่อวานะ มิใช่หรือ
ดูกร โมฆบุรุษ การละกาม การกำหนดความหมายในกาม การกำจัดความระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกอันเกี่ยวด้วยกาม การระงับความกลัดกลุ้มเพราะกาม เราบอกไว้แล้วโดยเอนกปริยาย
ดูกร โมฆบุรุษ องค์กำเนิด อันเธอสอดเข้าไปในปากอสรพิษที่มีพิษร้ายยังดีกว่า อันองค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามไม่ดีเลย ฯลฯ องค์กำเนิดที่เธอสอดเข้าในหลุมถ่านไฟ ที่ไฟติดลุกโชนยังดีกว่า ฯลฯ
ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะบุคคลผู้สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากอสรพิษเป็นต้นนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกการตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้ทำการสอดองค์กำเนิด เข้าในองค์กำเนิดของมาตุคามนั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุ
ดูกร โมฆบุรุษ เมื่อการกระทำนั้น มีโทษอยู่ เธอยังชื่อว่าได้ต้องอสัทธรรม อันเป็นเรื่องของชาวบ้าน เป็นมรรยาทของคนชั้นต่ำ อันชั่วหยาบ มีน้ำเป็นที่สุด มีในที่ลับ เป็นของคนคู่ อันคนคู่พึงร่วมกันเป็นไป เธอเป็นคนแรกที่กระทำอกุศลธรรม เป็นหัวหน้าของคนเป็นอันมาก การกระทำของเธอนั้น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว การกระทำของเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระสุทินน์ โดยเอนกปริยายดังนี้แล้ว ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความ เป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย ทรงกระทำธรรมมิกถา
ที่สมควรแก่เรื่องนั้นที่เหมาะแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์
10 ประการ คือ เพื่อ ความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 เพื่อช่วบบุคคลที่เก้อยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก 1 เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะอันเกิดในอนาคต 1 เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1 เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรมพระวินัย 1 พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้


พระปฐมบัญญัติ
ก็ภิกษุใด เสพเมถุนธรรม เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการฉะนี้
เรื่องลิงตัวเมีย
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเอาเหยื่อล่อลิงตัวเมียในป่ามหาวัน แล้วเสพเมถุนธรรมในลิงตัวนั้นเสมอ ครั้นเวลาเช้า ภิกษุนั้น เข้าไปบิณฑบาตรในเวสาลี
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเดินผ่านเข้าไปทางที่อยู่ของภิกษุนั้น ลิงตัวเมียนั้น จึงได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น ทำนินิต เบื้องหน้าภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงสันนิฐานว่า ภิกษุเจ้าของคงเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้แน่
แล้วแฝงอยู่ ณ ที่กำบังแห่งหนึ่ง
เมื่อภิกษุเจ้าถิ่น ถือบิณฑบาทกลับมาแล้ว ลิงตัวเมียนั้นได้เข้าไปหา จึงภิกษุนั้นเสพเมถุนธรรมในมัน
ทันใด ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ เหตุใดคุณจึงได้เสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมียนี้เล่า
ภิกษุนั้นยอมรับ แต่ค้านว่า พระบัญญัตินั้นเฉพาะหญิงมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
ภิกษุ เหล่านั้นกล่าวว่า พระบัญญัตินั้น ย่อมเป็นเหมือนกันหมดมิใช่หรือ การกระทำของคุณนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ฯลฯ ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ฯลฯ
ภิกษุเหล่านั้น ติเตียนภิกษุนั้นแล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติอนุบัญัติ 1
ลำดับนั้น พระ ผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ข่าวว่าเธอเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมีย จริงหรือ
ภิกษุนั้น ทูลสารภาพว่าจริง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ดูกร โมฆบุรุษ ฯลฯ องค์กำเนิดอันเธอสอดเข้าในปากอสรพิษที่มีพิษร้าย ยังดีกว่าที่เธอสอดเข้าในองค์กำเนิดลิงตัวเมีย ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้


พระอนุบัญญัติ 1
อนึ่ง ภิกษุใดเสพเมถุนธรรมโดยที่สุด
แม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียเป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่องภิกษุวัชชีบุตร
สมัยนั้น ภิกษุวัชชีบุตร หลาย รูป ทำในใจโดยไม่แยบคาย ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง ได้เสพเมถุนธรรม วัชชีบุตรพวกนั้นถูกความพินาศแห่งญาติ ถูกความวอดวายแห่งโภคะ ถูกความเสื่อม คือโรคเบียดเบียนแล้วบ้าง จึงเข้าไปหาพระอานนท์ กล่าวว่า พวกกระผมซึ่งบวชในพระธรรมวินัย ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์ ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์ได้ตลอดชีวิต ถ้าพวกกระผมพึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาค จะพึงเป็นผู้เห็นแจ้งซึ่งกุศลธรรม หมั่นประกอบความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม พวกกระผมขอโอกาส ขอท่านได้กราบทูลความข้อนี้ แด่พระผู้มีพระภาค
พระอานนท์รับคำ แล้วกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การที่ตถาคตจะพึงถอนปาราชิกสิกขาบทที่บัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งพวกวัชชี หรือพวกวัชชีบุตรนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส
ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ 2
ครั้งนั้น พระองค์ทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดแลเป็นภิกษุไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นสงฆ์ไม่พีงอุสมบทให้ ส่วนผู้ใดแลเป็นภิกษุบอกคืนสิกขา ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้งแล้ว เสพเมถุนธรรม ผู้นั้นสงฆ์พึงอุสมบทให้
พระอนุบัญญัติ 2
อนึ่ง ภิกษุใดถึงพร้อมซึ่งสิกขา และสาชีพของภิกษุทั้งหลาย
แล้วไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความเป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉาน เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่าเมถุนธรรม มีอธิบายว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ประเพณีของชาวบ้าน มรรยาทของคนชั้นต่ำ ธรรมอันชั่วหยาบ ธรรมอันมีน้ำเป็นที่สุด กิจที่ควรซ่อนเร้น ธรรมอันคนเป็นคู่ ๆ พึงปฏิบัติร่วมกัน นี้ชื่อว่า เมถุนธรรม
ที่ชื่อว่า เสพ ความว่า ภิกษุใด สอดนิมิตเข้าไปทางนิมิต สอดองค์กำเนิดเข้าไปในองค์กำเนิด โดยที่สุดแม้ชั่วเมล็ดงา ภิกษุนั้นชื่อว่า เสพ
คำว่า โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ความว่า ภิกษุเสพเมถุนธรรมแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
คำว่า เป็นปาราชิก ความว่าบุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ชื่อแม้ใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร
บทว่าหาสังวาสมิได้ ความว่าที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงทำร่วมกัน อุเทสที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน
บทภาชนีย มรรคภาณวาร
หญิง 3 จำพวก คือ มนุษย์ผู้หญิง 1 อมนุษย์ผู้หญิง 1 สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย 1
อุภโตพยัญชนก 3 จำพวก คือ มนุษย์อุภโตพยัญชนก 1 อมนุษย์อุภโตพยัญชนก 1 สัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก 1
บัณเฑาะก์ 3 จำพวก คือ มนุษย์บัณเฑาะก์ 1 อมนุษย์บัณเฑาะก์ 1 สัตว์ดิรัจฉานบัณเฑาะก์ 1
ชาย 3 จำพวก คือ มนุษย์ผู้ชาย 1 อมนุษย์ผู้ชาย 1 สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ 1
หญิง 3 จำพวก มีมรรคพวกละ 3 เป็น 9 ภิกษุเสพเมถุนธรรมใน 3 คือ วัจจมรรค ปัสสาวมรรค มุขมรรค ของมนุษย์ผู้หญิง ของอมนุษย์ผู้หญิง ของสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ต้องอาบัติปาราชิก
อุภโตพยัญชนก 3 จำพวก มีมรรคพวกละสาม เป็น 9 ภิกษุเสพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
บัณเฑาะก์ 3 จำพวก มีมรรคพวกละ 2 เป็น 6 ภิษุเสพเมถุนธรรมในมรรค 2 คือ วัจจมรรค มุขมรรค ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
ชาย 3 จำพวก มีมรรคพวกละ 2 เป็น 6 ภิกษุเสพเมถุนธรรมในมรรค 2 คือ วัจจมรรค มุขมรรค ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
อาบัติปาราชิก 30
เมื่อเสวนจิตปรากฎ ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้าในวัจจมรรคของมนุษย์ผู้หญิง ต้องอาบัติปาราชิก มี 3 ข้อ ของอมนุษย์ผู้หญิงมี 3 ข้อ ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมียมี 3 ข้อ ในอมนุษย์อุภโตพยัญชนกมี 3 ข้อ ในสัตว์ดิรัจฉานอุภโตพยัญชนก มี 3 ข้อ ในมนุษย์บัณเฑาะก์มี 2 ข้อ ในสัตว์ดิรัจฉานบัญเฑาะก์มี 2 ข้อ ในอมนุษย์บัณเฑาะก์มี 2 ข้อ ในมนุษย์ผู้ชายมี 2 ข้อ ในสัตว์ดิรัจฉานตัวผู้มี 2 ข้อ ต้องอาบัติปาราชิก
บทภาชนีย อสันถตภาวาร
1.หมวดมนุสสิตถี 27 จตุกะกะ
มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ
1. พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุษย์ผู้หญิงเข้ามาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด ด้วยวัจจมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว ยินดีการหยุดอยู่ ยินดีการถอนตัวออก ต้องอาบัติปาราชิก
ถ้าไม่ยินดีการเข้าไป แต่ยินดีการเข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
ถ้าไม่ยินดี ฯลฯ แต่ยินดีการถอนตัวออก ต้องอาบัติปาราชิก
ถ้าไม่ยินดี ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ฯลฯ
3. ให้อมองค์กำเนิดด้วยมุขมรรค ฯลฯ
4.-6. มนุสสิตถี ชาครันติจตุกกะ พามนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่นมาแล้วให้ ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
7.-9. มนุสสิตถี สุตตะจตุกกะ พามนุษย์ผู้หญิงผู้หลับมาแล้วให้ ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
10.-12. มนุสสิตถี มัตตะจตุกกะ พามนุษย์ผู้หญิงผู้เมามาแล้วให้ ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
13.-15. มนุสสิตถี อุมมัตตะจตุกกะ มนุษย์ พามนุษย์ผู้หญิงวิกลจริตมาแล้วให้ ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
16.-18. มนุสสิตถี ปมัตตะจตุกกะ พามนุษย์ผู้หญิงผู้เผลอสติมาแล้วให้ ทับ คร่อม อม
องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
19.-21. มนุสสิตถี มตอักขาปิตะจตุกกะ พามนุษย์ผู้หญิงที่ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดมาแล้วให้ ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
22.-24. มนุสสิตถี มตเยภุยอักขายิตะจุตกกะ พามนุษย์ผู้หญิงที่ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมากมา แล้วให้ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ
25.-27. มุนสสิตถี มตเยภุยยะขายิตะจุตกกะ พามนุษย์ผู้หญิงที่ตายแล้วถูกสัตว์โดยมากมาแล้วให้ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วย ฯลฯ ถ้ายินดีต้องอาบัติถุลลัจจัย
2.หมวดอมุสสิตถี 27 จตุกกะ
อนุสสิตถี สิทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุ เป็นข้าศึกพาอมนุษย์หญิง.....อมนุษย์ผู้หญิงผู้ตื่น.....ผู้หลับ ผู้เมา ผู้วิกลจริต ผู้เผลอสติ ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก มาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิด ด้วยวัจจมรรค ให้คร่อมองค์กำเนิดด้วยปัสสาวมรรค ให้อมองค์กำเนิดด้วยมุขมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ต้องอาบัติปาราชิก
ในอมนุษย์ผู้หญิง ผู้ตายแล้ว ถูกสัตว์กัดโดยมาก ถ้ายินดีต้องอาบัติถุลลัจจัย
3. หมวดดิรัจฉานคตติถี 27 จตุกกะ
ดิรัจฉานคติตถี สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกพาสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย.....สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียผู้ตื่น.....ผู้หลับ.....ผู้เมา.....
ผู้ วิกลตริต .....ผู้เผลอสติ.....ผู้ตายแล้วยังไม่ถูกสัตว์กัด.....ผู้ตายแล้วยังไม่ถูก สัตว์กัดโดยมากมาในสำนักภิกษุ แล้วให้ทับองค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค.....ด้วยปัสสาวมรรค.....ด้วยมุขมรรค ถ้าเธอยินดีการเข้าไป
ต้องอาบัติปาราชิก.....สัตว์ดิรัจฉานตัวเมียผู้ตายแล้วถูกกัดโดยมาก ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ถ้าไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
4.หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนะ 27 จตุกกะ
มนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พามนุสสะอุภโตพยัญชนะ ฯลฯถ้าเธอยินดีการเข้าไป ต้องอาบัติปาราชิกฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
5.หมวดอมนุสสะอุภโตพยัญชนะ 27 จตุกกะ
อมนุสสะอุภโตพยัญชนก สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาอมนุสสะอุภโตพยัญชนก ฯลฯ ถ้ายินดีการเข้าไป ต้องอาบัติปาราชิก ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
6.หมวดดิรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนะ 27 จตุกกะ
ดิรัจฉานคตะอุภโตพยัญชนะ สุทธิกะจตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก ฯลฯ ถ้ายินดีต้องอาบัติปาราชิก.....ถุลลัจจัย ถ้าไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
7.หมวดมนุสสะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
1.-18. มนุสสะบัณฑกะ สุทธิ กะจตุกกะ ชาครันตะจตุกกะ สุตตะจตุกกะ ปัตตะจตุกกะ อุมมัตตะจตุกกะ ปมัตตะจุตกกะ มตอักขายิตะจตุกกะ มตเยภุยยะอักขายิตรจตุกกะ มตเยภุยยะขายิตะจตุกกะ ทับ อม
8. หมวดอมนุสสะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
9. หมวดดิรัจฉานคตะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
10. หมวดมนุสสหุริสะ 18 จตุกกะ
11. หมวด อมนุสสปุริสะ 18 จตุกกะ
12. หมวดดิรัจฉานคตะปุริสสะ 18 จตุกกะ
บทภาชนีย สันกตภาณวาร
1. หมวดมนุสสิตถี 27 จตุกกะ (ทับ คร่อม อม)
1. มนุสสิสถี สุทธิกะจตุกกะ พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกพามนุษย์ผู้หญิงมาแล้วให้ทับ คร่อม อม องค์กำเนิดด้วยวัจจมรรค หญิงมีเครื่องลาด ภิกษุไม่มีเครื่องลาด 1 หญิง ไม่มีเครื่องลาด ภิกษุมีเครื่องลาด 1 หญิงมีเครื่องลาด ภิกษุก็มีเครื่องลาด 1 หญิงไม่มีเครื่องลาด ภิกษุก็ไม่มีเครื่องลาด 1 ถ้าเธอยินดีการเข้าไป ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก ไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
2.-3. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ คร่อม อม
4.-27. มนุ สสิตถี ชาครันตีจตุกกะ สุตตะจตุกกะ มัตตะจตุกกะ อุมมัตตะจตุกกะ ปมัตตะจตุกกะ มตะอักขายิตะจตุกกะ มตะเยภุยยะอักขายิตะจตุกกะ มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ ทับ คร่อม อม
2. หมวดอมนุสสิตถี 27 จตุกกะ
3. หมวดดิรัจฉานคติตถี 27 จตุกกะ
4. หมวดมนุสสะอุภโตพยัญชนะ 27 จตุกกะ
5.หมวดอมนุสละอุภโตพยัญชนะ 27 จตุกกะ
6.หมวดดิรัจฉานคตะพยัญชนะ 27 จตุกกะ
7.หมวดมนุสสะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
8.อมนุสสะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
9.หมวดดิรัจฉานนุคตะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
10.หมวดมนุสสปุริสะ 18 จตุกกะ
11.หมวดอมนุสสปุริสะ 18 จตุกกะ
12.หมวดดิรัจฉานคตะปุริสะ 18 จตุกกะ
บทภาชนีย อสันกตภาณวาร
1. หมวดมนุสสิตถี 27 จตุกกะ
มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ (ยอนวัจ) พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ผู้หญิง แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. หมวดอมนุสสิตถี 27 จตุกกะ
3. หมวดดิรัจฉานคติตถี 27 จตุกกะ
ฯลฯ
12. หมวดดิรัจฉานคตะปุริสะ 18 จตุกกะ
บทภาชนีย สันกตภาณวาร
1. หมวดมนุสสิตถี 27 จตุกกะ
1. มนุสสิตถี สุทธิกะจตุกกะ (ยอนวัจ) พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก พาภิกษุมาในสำนักมนุษย์ ผู้หญิง แล้วให้ยอนวัจจมรรคด้วยองค์กำเนิด คือของภิกษุมีเครื่องลาด ฯลฯ
ฯลฯ
27. มนุสสิตถี มตะเยภุยยะขายิตะจตุกกะ (ยอนปาก) ฯลฯ
2.หมวดอมนุสสิตถี 27 จตุกกะ
ฯลฯ
12. หมวดดิรัจฉานคตะบัณฑกะ 18 จตุกกะ
พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก เราให้พิศดารแล้วฉันใด พวกพระราชาผู้เป็นข้าศึก พวกโจรผู้ร้าย ผู้เป็นข้าศึก พวกนักเลงผู้เป็นข้าศึก พวกมนุษย์ผู้ตัดหัวใจผู้เป็นข้าศึก บัณฑิตพีงให้พิศดารฉันนั้น
ภิกษุสอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางมรรค ต้องอาบัติปาราชิก
สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคทางอมรรค ต้องอาบัติปาราชิก
สอดองค์กำเนิดเข้ามรรคทางอมรรค ต้องอาบัติปาราชิก
สอดองค์กำเนิดเข้าอมรรคทางอมรรค ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุปฏิบัติผิดในภิกษุผู้หลับ เธอตื่นขึ้นแล้วยินดี พระวินัยพึงมาสนะเสียทั้งสองรูป
เธอตื่นขึ้นแล้วไม่ยินดี พระวินัยธรพึงมาสนะภิกษุผู้ประทุษร้าย
ภิกษุปฏิบัติผิดในสามเณรผู้หลับ ฯลฯ
สามเณรปฏิบัติผิดต่อภิกษุผู้หลับ ฯลฯ
อนาบัติติวาร
ภิกษุไม่รู้สึกตัว 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน 1 ภิกษุผู้กระสับกระส่ายเพราะ เวทนา 1 ภิกษุอาทิกับมิกะ 1 เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ
วินีตวัตถุ อุทานคาถา
รวม 67 เรื่อง
เรื่องภิกษุวัชชีบุตร ภิกษุวัชชีบุตร เมืองเวสาลีหลายรูปด้วยกัน ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำความ
เป็นผู้ทุรพลให้แจ้ง แล้วเสพเมถุนธรรม ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯ
เรื่องลิงตัวเมีย ภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในลิงตัวเมีย ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯ
เรื่องปลอมเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักไม่อาบัติด้วยวิธีอย่างนี้แล้วปลอมเป็น
คฤหัสถ์เสพเมถุนธรรม ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องเปลือยกายภิกษุรูปหนึ่งคิดว่าเราจักไม่ต้องอาบัติด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วเปลือยกายเสพเมถุนธรรม ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯ
เรื่องปลอมเป็นเดียรถีย์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า ฯลฯ แล้วนุ่งคากรอง เสพเมถุนธรรม ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า ฯลฯ แล้วนุ่งเปลือกไม้ครอง ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ฯลฯ แล้วนุ่งเปลือกไม้ครอง ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
4. ฯลฯ แล้วนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยเส้นผม ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
5. ฯลฯ แล้วนุ่งผ้ากัมพลทำด้วยขนหางสัตว์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
6. ฯลฯ แล้วนุ่งผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้า ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
7. ฯลฯ แล้วนุ่งหนังเสือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องเด็กหญิง ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นเด็กหญิงนอนอยู่บนตั่งเกิดความกำหนัด จึงสอดนิ้วแม่มือเข้าไป
ในองค์กำเนิดเด็กหญิง ๆ นั้นตาย ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติสังฆทิเสส ฯ
เรื่องภิกษุณีชื่ออุปปลวัณณา มาณพคนหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ในภิกษุณี ชื่ออุปปลวัณณา เมื่อภิกษุณี
อุปปลวัณณา เข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตจึงเข้าไปซ่อนอยู่ในกุฏิ เวลาปัจฉิมภัตรภิกษุณีอุปปลวัณณา
กลับจากบิณฑบาตล้างเท้าแล้วเข้ากุฏินั่งบนเตียง มาณพนั้นจึงเข้าปลุกปล้ำประทุษร้ายภิกษุณีอุปลลวัณณา
นางจึงแจ้งเหตุนั้นแก่ภิกษุณีทั้งหลาย แก่ภิกษุณีทั้งหลาย, จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ภิกษุณีผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ,
เรื่องเพศกลับ 2 เรื่อง
1. เพศหญิงปรากฏแก่ภิกษุผู้หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค, ตรัสว่า เราอนุญาตอุปัชณาย์เดิม อุปสมบทเดิม พรรษาก็เหล่านั้น และให้อยู่ร่วมกับภิกษุณีทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายนี้ทั่วไป กับภิกษุณีทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้น
ในสำนักภิกษุณีทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุณีทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติเพราะอาบัติเหล่านั้น
2. เพศชายปรากฎแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ฯลฯ อาบัติเหล่าในของภิกษุณีทั้งหลายที่ทั่วไปกับภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ปลงอาบัติเหล่านั้นในสำนักภิกษุทั้งหลาย อาบัติเหล่าใดของภิกษุณีทั้งหลาย
ที่ไม่ทั่วไปกับภิกษุทั้งหลาย ไม่ต้องอาบัติเพราะอาบัติเหล่านั้น
เรื่องมารดา ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า ฯลฯ แล้วเสพเมถุนธรรมในมารดา ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องธิดา ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า ฯลฯ แล้วเสพเมถุนธรรมในธิดา ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องพี่น้องหญิง ภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า ฯลฯ แล้วเสพเมถุนธรรมในพี่น้องหญิง ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องภรรยาภิกษุรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่า ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องภิกษุมีหลังอ่อน ภิกษุรูปหนึ่งมีหลังอ่อน เธอถูกความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้อมองค์กำเนิดของ
ตนเองด้วยปาก ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องภิกษุมีองค์กำเนิดยาวภิกษุรูปหนึ่งมีองค์กำเนิดยาว ฯลฯ ได้สอดองค์กำเนิดของตน
เข้าสู่วัจจมรรคของตน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องแผล 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งได้พบศพ และที่ศพนั้นมีแผลอยู่ใกล้องค์กำเนิดจึง สอดองค์กำเนิดของตนเข้าในองค์
กำเนิดของศพ แล้วถอยออกทางแผล ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่งพบศพ ฯลฯ จึงสอดองค์กำเนิดของตนเข้าในแผล แล้วถอนออกทางองค์กำเนิด
ของศพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องรูปปั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิต แห่งรูปปั้นด้วยองค์กำเนิด ฯลฯ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่องตุ๊กตาไม้ ภิกษุรูปหนึ่งมีความกำหนัด ได้ถูกต้องนิมิตแห่งตุ๊กตาไม้ด้วยองค์กำเนิด ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่องภิกษุชื่อสุนทระภิกษุชื่อสุนทระ เดินไปตามถนนสตรีผู้หนึ่งเห็นท่านแล้วกล่าวว่านิมนต์หยุด
ประเดี๋ยวก่อน ดิฉันจักไหว้ นางไหว้พลางเลิกผ้าอันตรสาวกขึ้นแล้วอมองค์กำเนิดด้วยปาก เธอได้มีความ
รังเกียจว่า ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่าเธอยินดีหรือ
ภิ.ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า
พ. ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องสตรี 4 เรื่อง
1. สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมกันเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า การเรื่องนี้ไม่ควร สตรีนั้น แนะนำว่า ดิฉันจักพยายามเอง ท่านไม่ต้องพยายาม โดยวิธีนี้
อาบัติไม่มีแก่ท่าน ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. สตรีผู้หนึ่งพบภิกษุแล้วกล่าวคำนี้ว่า นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นห้ามว่า ฯลฯ
สตรีนั้นแนะนำว่า ท่านจงพยายามเอง ดิฉันจักไม่พยายาม ฯลฯ ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. สตรีผู้หนึ่ง ฯลฯ สตรีนั้นแนะนำว่า ท่านจงพยายามภายใน แล้วปล่อยสุกกะภายนอก
ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. สมัยนั้น สตรีผู้หนึ่ง ฯลฯ สตรีนั้นแนะนำว่าท่านจงพยายามภายนอก
แล้วปล่อยน้ำสุกกะภายใน ภิกษุนั้นได้ทำอย่างนั้นแล้ว ฯลฯ เธอต้องปาราชิกแล้ว
เรื่องป่าช้า 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งในป่าช้า เห็นศพยังไม่ถูกสัตว์กัด ได้เสพเมถุนธรรมในศพนั้น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นศพที่ยังไม่ถูกสัตว์กัดโดยมาก ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นศพที่ถูกสัตว์กัดโดยมาก ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิกแต่ต้องอาบัติถุลลัจจัย
4. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด ได้สอดองค์กำเนิดเข้าไปกระทบในปากที่อ้า ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นศพซึ่งมีศีรษะขาด ได้สอดองค์กำเนิดเข้าไปในปากที่อ้า ไม่ให้กระทบ ฯลฯ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องกระดูกภิกษุรูปหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ในสตรีผู้หนึ่ง สตรีนั้นถึงแก่กรรมแล้ว เขาทิ้งไว้ในป่าช้า
กระดูกเกลื่อนกลาด ภายหลังภิกษุนั้น เก็บกระดูกคุมกันเข้าแล้วจดองค์กำเนิดลงที่นิมิต ฯลฯ แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องนาคตัวเมียมีภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมในนาคตัวเมีย ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องนางยักษิณีภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมในยักษิณี ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องหญิงเปรตภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมในหญิงเปรต ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องบัณเฑาะก์ภิกษุรูปหนึ่ง เสพเมถุนธรรมในบัณเฑาะก์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องภิกษุผู้มีอินทรีย์พิการภิกษุรูปหนึ่งมีอินทรีย์พิการ เธอคิดว่า เราไม่รู้สึกสุขหรือทุกข์
อาบัติจักไม่มีแก่เรา จึงเสพเมถุนธรรม ฯลฯ โมฆะบุรุษนั้นรู้สึกก็ตาม ไม่รู้สึกก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่องจับต้องภิกษุรูปหนึ่งคิดว่า เราจักเสพเมถุนธรรมในสตรี ครั้นจับต้องตัวเข้าเท่านั้น
ก็เกิดความกินแหนง เธอมีความรังเกียจว่า ฯลฯ แต่ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องพระอรหันต์เมืองภัททิยะจำวัดหลับภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ในที่พักจำวัดหลับอยู่ อวัยวะใหญ่น้อย
ของภิกษุนั้นถูกลมรำเพยให้ตึงตัว สตรีผู้หนึ่งพบเข้าแล้วได้เข้านั่งอมองค์กำเนิด กระทำพอแก่ความประสงค์
แล้ว หลีกไป ภิกษุจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า องค์กำเนิดเป็นอวัยวะใช้การได้ด้วยอาการ 5 อย่างคือ กำหนัด 1 ปวดอุจจาระ 1 ปวดปัสสาวะ 1 ถูกลมรำเพย 1 ถูกบุ้งขน 1 องค์กำเนิดของภิกษุนั้น พึงเป็นอวัยวะใช้การได้ ด้วยความกำหนัดใด ข้อนั้นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติ
เรื่องภิกษุเมืองสาวัตถี 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักจำวัดหลับอยู่ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยินดีกริยาที่เข้าไป ที่เข้าไปถึงแล้ว ที่หยุดอยู่ ที่ถอนออก ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ สตรีเลี้ยงแพะคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองค์กำเนิดฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ สตรีหาฟืนคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ สตรีขนโคมัยคนหนึ่งพบเข้าจึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องภิกษุชาวมัลละเมืองเวสาลี 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักสตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด กระทำพอแก่ความประสงค์ แล้วยืนหัวเราะอยู่ใกล้ ๆ ภิกษุนั้นตื่นขึ้นแล้วถามสตรีนั้นว่า นี่เป็นการกระทำของเธอหรือสตรีนั้นตอบว่าใช่ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุ เธอรู้สึกตัวหรือ ภิ. ไม่รู้สึกตัว พระพุทธเจ้าข้า
พ. ภิกษุผู้ไม่รู้สึกตัว ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จำวัดพิงต้นไม้อยู่ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นรีบลุกขึ้นทันที ฯลฯ พ. เธอยินดีหรือ ภิ. ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า พ. ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ สตรีคนหนึ่งพบเข้า จึงนั่งคร่อมองค์กำเนิด ภิกษุนั้นยันให้กลิ้งไป ฯลฯ
พ. ภิกษุไม่ยินดีไม่ต้องอาบัติ
เรื่องภิกษุเปิดประตูนอน ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่พักกลางวันเปิดประตูจำวัดหลับอยู่
อวัยวะใหญ่น้อยของเธอ ถูกลมรำเพยให้ตึงตัว ครั้งนั้นสตรีหลายคนพบภิกษุนั้น แล้วได้นั่งคร่อมองค์กำเนิด
กระทำพอแก่ความประสงค์ แล้วกล่าวว่าภิกษุนี้องอาจนัก แล้วกลับไปภิกษุเห็นองค์กำเนิดเปรอะเปื้อน
จึงกราบทูล ฯลฯ เพราะภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ
ผู้จะพักผ่อนในกลางวัน ปิดประตูก่อนจึงพักผ่อนได้
เรื่องภิกษุชาวเมืองภารุกัจฉะฝันภิกษุรูปหนึ่ง ฝันว่าได้เสพเมถุนธรรมในภรรยาเก่าแล้วคิดดูว่า
เราไม่เป็นสมณะ จักสึกละพบท่านพระอุบาลีระหว่างทาง จึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ พระอุบาลีกล่าวว่า
อาวุโส อาบัติไม่มีเพราะความฝัน
เรื่องอุบาสิกาชื่อสุปัพพา 9 เรื่อง
1. อุบาสิกาชื่อสุปัพพา นางมีความเห็นว่า สตรีใดให้เมถุนธรรม สตรีนั้นชื่อว่าให้ทานอันเลิศ นางพบภิกษุแล้วได้กล่าวคำนี้ว่า นิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุห้ามว่า ฯลฯ นางแนะนำว่า ท่านจงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
2. - 9. อุบาสิกาชื่อสุปัพพา ฯลฯ ท่านจงพยายามที่สะดือ ที่เกลียวท้อง ที่ซอกรักแร้ ที่คอ ที่ช่องหู ที่มวยผม ที่ง่ามมือ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เรื่องอุบาสิกาชื่อสัทธา 9 เรื่อง
1. สมัยนั้น อุบาสิกาชื่อสัทธา ฯลฯ จงพยายามที่ระหว่างขาอ่อน ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
2.-9. อุบาสิกาชื่อสัทธา ฯลฯ ท่านจงพยายามที่สะดือ ที่เกลียวท้อง ที่ซอกรักแร้ ที่คอ ที่ช่องหู ที่มวยผม ที่ง่ามมือ ดิฉันจักพยายามด้วยมือให้สุกกะเคลื่อน ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
เรื่องภิกษุณี พวกลิจฉวีกุมาร จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติผิดในนางภิกษุณี เธอทั้งสองยินดี
พระวินัยธรพึงให้นาสนะเสียทั้งสอง เธอทั้งสองไม่ยินดีทั้งสองไม่ต้องอาบัติ
เรื่องสิกขมานาพวกลิจฉวี ฯลฯ จับภิกษุขืนให้ปฏิบัติในบางสิกขมานา ฯลฯ
เรื่องสามเณรี พวกลิจฉวี ฯลฯ ปฏิบัติผิดในสามเณรี ฯลฯ
เรื่องหญิงแพศยาพวกลิจฉวี ฯลฯ ปฏิบัติผิดในหญิงแพศยาฯลฯ
เรื่องบัณเฑาะก์ พวกลิจฉวี ฯลฯ ปฏิบัติผิดในบัณเฑาะก์ ฯลฯ
เรื่องสตรีคฤหัสถ์ พวกลิจฉวี ฯลฯ ปฏิบัติผิดในสตรีคฤหัสถ์ ฯลฯ
เรื่องให้ผลัดกันพวกลิจฉวี ฯลฯ จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในกันและกัน ฯลฯ
เรื่องภิกษุผู้เฒ่าภิกษุผู้เฒ่ารูปหนึ่ง ได้ไปเยี่ยมภรรยาเก่า นางได้จับบังคับว่า ท่านจงสึกมาเสียเถิด
ภิกษุนั้นถอยหลังล้มหงาย นางจึงขึ้นคร่อมองค์กำเนิด เธอได้มีความรังเกียจ ฯลฯ พ. เธอยินดีหรือเปล่า
ภ. ไม่ยินดี พระพุทธเจ้าข้า พ. ภิกษุผู้ไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องลูกเนื้อภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในป่า ลูกเนื้อมาสู่ที่ถ่ายปัสสาวะของเธอแล้ว
ได้อมองค์กำเนิดพลางดื่มปัสสาวะ ภิกษุนั้นยินดี ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
จบ ปฐมปาราชิกกัณฑ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยปาราชิกสิกขาบท
เรื่องพระธนิยะกุมภการบุตร
พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นภิกษุหลายรูป ทำกุฏีมุงบังด้วยหญ้า ณ เชิงภูเขาอิสิคิสิ แล้วอยู่จำพรรษา ท่านธนิยะ ภุมภการบุตรก็ทำกุฏีมุงบังด้วยหญ้า แล้วอยู่จำพรรษา ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาโดยล่วงไตรมาสแล้ว ได้ รื้อกุฏี เก็บหญ้าและตัวไม้ไว้ แล้วหลีกไปสู่จาริกในชนบท ส่วนท่านธนิยะเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต คนหาบหญ้า คนหาฟืน ได้รื้อกุฏีเสียแล้วขนหญ้าและตัวไม้ไป แม้ครั้งที่สองและครั้งที่สาม ท่านได้มีความคิดว่าเหตุการณ์ได้เกิดถึง สามครั้งแล้ว เรานี้เป็นผู้สำเร็จศิลปะในการช่างหม้อ เราพึงขยำโคลนทำกุฏีสำเร็จ
ด้วยดินล้วนเสียเอง แล้วท่านจึงขยำโคลนทำกุฏีด้วยดินล้วนแล้วรวบรวมหญ้าไม้
และโคมัยมาเผากุฏีนั้นจนงดงามน่าชม มีสีแดงเหมือนแมลงค่อมทอง มีเสียงเหมือนกระดึง
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นกุฏีนั้น จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลาย ครั้นภิกษุเหล่านั้นทูลให้
ทรงทราบแล้ว พระองค์ทรงติเตียนว่า การกระทำของโมฆบุรุษนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่
กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ความเอ็นดู ความอนุเคราะห์ ความไม่เบียดเบียนหมู่สัตว์มิได้มีแก่
โมฆบุรุษนั้นเลย พวกเธอจงไปทำลายกุฏีนั้น พวกเพื่อนพรหมจารีชั้นหลัง อย่าถึงความเบียดเบียน
หมู่สัตว์เลย อันภิกษุไม่ควรทำกุฏีด้วยดินล้วน ภิกษุใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุเหล่านั้นรับพุทธาณัติแล้ว
พากันไปที่กุฏีนั้นแล้วทำลายเสีย พระธนิยะจึงถามว่า พวกท่านทำลายกุฏีของผมเพื่ออะไร
ภิ. พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ทำลาย
ธ. ทำลายเถิด ถ้าพระผู้มีพระภาคผู้ธรรมสามีรับสั่งให้ทำลาย
กาลต่อมา พระธนิยะได้ดำริว่า เราพึงขอไม้เขามาทำกุฏีไม้ ครั้นแล้วท่านจึงไปหาพนักงานรักษาไม้
และขอไม้เขามาทำกุฏี
จ. ไม้ที่จะพึงถวายท่านนั้นไม่มี มีแต่ไม้ของหลวงที่สงวนไว้สำหรับซ่อมแปลงพระนคร เก็บไว้ใช้ในคราวมีอันตราย ถ้าพระเจ้าแผ่นดินสั่งให้พระราชทานไม้เหล่านั้น ท่านจงให้คนขนไปเถิด
ธ. ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานแล้วพนักงานรักษาไม้คิดว่า พระสมณเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้ประพฤติธรรม กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้พระเจ้าแผ่นดิน ก็ทรงเลื่อมใสในพระสมณเหล่านี้ยิ่งนัก พระธนิยะย่อมไม่บังอาจกล่าว สิ่งที่พระเจ้าแผ่นดิน ยังไม่ได้พระราชทานว่า พระราชทานแล้ว จึงยอมพระธนิยะสั่งให้ตัดไม้เหล่านั้น เป็นท่อนน้อยใหญ่ บรรทุกเกวียนไป แล้วนำไปทำกุฏีไม้
วัสสการพราหมณ์ตรวจราชการ
วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในมคธรัฐไปตรวจราชการ ใน กรุงราชคฤห์ ได้เข้าไปหาพนักงานป่าไม้ แล้วถามว่า ไม้หลวงที่สงวนไว้อยู่ที่ใด พนักงานป่าไม้ตอบว่า ไม้เหล่านั้น พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานแก่พระธนิยะไปแล้ว วัสสการพราหมณ์ไม่พอใจ
จึงเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลถามเรื่องการพระราชทานไม้หลวงนั้นแก่พระธนิยะ
พ. ใครพูดอย่างนั้น
ว. พนักงานป่าไม้พูด พระพุทธเจ้าข้า
พ. ถ้าเช่นนั้นจงให้คนไปนำพนักงานป่าไม้มา
วัสสการพราหมณ์จึงสั่งให้เจ้าหน้าที่ จองจำเจ้าพนักงานรักษาไม้มา
พระธนิยะ เห็นเจ้าพนักงานรักษาไม้ ถูกเจ้าหน้าที่จองจำนำ ไปจึงถามสาเหต ุเมื่อทราบแล้ว พระธนิยะจึงได้เข้าไปสู่ พระ ราชนิเวศน์ของพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสาร เสด็จเข้าไปหาพระธนิยะ อภิวาท แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร ตรัสถามว่า ไม้หลวงที่สงวนไว้นั้น พระองค์ได้ถวายแก่พระธนิยะจริงหรือ
ธ. จริงอย่างนั้น
พ. โยมเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีกิจมาก แม้ถวายแล้วก็ระลึกไม่ได้ ขอได้โปรดให้ระลึกได้ด้วย
ธ. ครั้งพระองค์ครองราชย์ใหม่ ๆ ได้ทรงเปล่งวาจาว่า หญ้าไม้และน้ำข้าพเจ้าถวายแก่สมณะและ
พราหมณ์ทั้งหลาย ขอให้สมณะพราหมณ์ทั้งหลายโปรดใช้สอยเถิด
พ. โยมระลึกได้ สมณะพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้มีความละอาย มีความรังเกียจใคร่ต่อสิกขามีอยู่
คำกล่าวนั้นโยมหมายถึงหญ้าไม้และน้ำนั้น อยู่ในป่าไม่มีใครหวงแหน พระคุณเจ้านั้นย่อมสำคัญเพื่อจะนำไม้
ที่เขาไม่ได้ให้ไปด้วยเลศนั้น พระเจ้าแผ่นดินเช่นโยมจะพึงฆ่า จองจำ หรือเนรเทศซึ่งสมณะหรือ
พราหมณ์อย่างไรได้ นิมนต์กลับไปเถิด พระคุณเจ้ารอดตัวเพราะบรรพชาเพศแล้ว แต่อย่าทำอย่างนั้นอีก
ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา
คนทั้งหลายเพ่งโทษว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เหล่า นี้ไม่ละอาย ทุศีล พูดเท็จ พระสมณะเหล่านี้ยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติพรหมจรรย์ กล่าวคำสัตย์ มีศีล มีกัลยาณธรรม ติเตียนว่า ความเป็นสมณะย่อมไม่มีแก่พระสมณะเหล่านี้
แม้พระเจ้าแผ่นดินยังหลอกลวงได้ ไฉนจักไม่หลอกลวงคนอื่นเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นเพ่งโทษ
ติเตียนบรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน
แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระธนิยะว่า เธอได้ถือเอาไม้หลวง
ที่เขาไม่ได้ให้ไป จริงหรือ พระธนิยะทูลรับว่า จริง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า โมฆบุรุษ
การกระทำของเธอนั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ มิใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ฯลฯ
สมัยนั้น มีมหาอำมาตย์ผู้พิพากษาเก่าคนหนึ่ง บวชในหมู่ภิกษุ พระองค์จึงตรัสถามว่า พระเจ้า
พิมพิสารจับโจรได้แล้ว ประหารชีวิตบ้าง จองจำบ้าง เนรเทศบ้าง เพราะทรัพย์ประมาณเท่าใด ภิกษุ
รูปนั้นกราบทูลว่า เพราะทรัพย์บาทหนึ่งบ้าง เพราะของควรค่าหนึ่งบาทบ้าง เกินบาทหนึ่งบ้าง
พระพุทธเจ้าข้า ในสมัยนั้นทรัพย์ 5 มาสก ในกรุงราชคฤห์เป็นหนึ่งบาท ครั้นพระผู้มีพระภาค
ทรงติเตียนพระธนิยะโดยอเนกปริยายแล้ว จึงตรัสโทษแห่งการเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก
ไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแก่ความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย
ความสันโดษ ความขัดเกลา ความจำกัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่เหมาะสม การปรารภความเพียร โดยเอนกปริยาย แล้วทรงกระทำธรรมมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุ ทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ คือ ความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ 1 ฯลฯ พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


พระปฐมบัญญัติ 2. ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย พระ ราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ถึงประหารเสียบ้าง จองจำไว้บ้าง เนรเทศเสียบ้าง ด้วยบริภาษว่า เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นขโมย ในเพราะถือเอาทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ เห็นปานใด ภิกษุถือเอาทรัพย์ อันเจ้าของไม่ได้ให้ เห็นปานนั้น แม้ภิกษุนี้ก็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่อง พระฉัพพัคคีย์
สมัยนั้น พระฉัพพัคคียได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมแล้วนำมาแบ่งปันกัน ภิกษุทั้งหลายพากันพูดว่า พวกท่านเป็นผู้ที่บุญมาก เพราะผ้าเกิดแก่พวกท่านมาก
ฉ. บุญพวกผมจักมีแต่ไหน พวกผมได้ลักห่อผ้าของช่างย้อมมา
ภิ. พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว เหตุใดพวกท่านจึงไปลักห่อผ้าของช่างย้อมมา
ฉ. จริงเช่นนั้น แต่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติเฉพาะในเขตบ้านไม่ได้บัญญัติไปถึงในป่า
ภิ. พระบัญญัตินั้นย่อมเป็นได้เหมือนกันทั้งนั้น การกระทำของพวกท่านไม่เหมาะ ฯลฯ
ครั้นภิกษุเหล่านั้น ติเตียน พระฉัพพัคคีย์โดยเอนกปริยายแล้ว ได้กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ฯลฯ พวกเธอพึงยกสิกขานี้ขึ้นแสดงว่าดังนี้

พระอนุบัญญัติ 2
ก. ภิกษุใด ถือเอาทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี พระราชาทั้งหลายจับโจรได้แล้ว ฯลฯ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ทรัพย์อันเจ้าของไม่ได้ให้ มีอธิบายว่า ทรัพย์อันใดอันเจ้าของไม่ได้ให้ ไม่ได้ละวาง
ยังรักษาปกครองอยู่ ยังถือกรรมสิทธิ์อยู่ว่าเป็นของเรา ยังมีผู้หวงแหน
บทว่าด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ได้แก่ จิตคิดขโมย คิดลัก ฯลฯ
บทว่า ถือเอา เอาไป เอาลง ยังอิริยาบทให้กำเริบ ให้เคลื่อนจากฐาน ให้ล่วงเลยเขตหมาย
ที่ชื่อว่าเห็นปานใด คือ หนึ่งบาทก็ดี ควรแก่หนึ่งบาทก็ดี เกินกว่าหนึ่งบาทก็ดี
ที่ชื่อว่า โจร มีอธิบายว่า ผู้ใดถือเอาสิ่งของอันเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา 5 มาสกหรือเกินกว่าก็ดี
ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย
บทภาชนีย มาติกา
ทรัพย์อยู่ในดิน ตั้งอยู่บนดิน ลอยอยู่ในอากาศ ตั้งอยู่ในที่แจ้ง ตั้งอยู่ในน้ำ
เรือและทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ยานและทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์ที่ตนนำไป สวนและทรัพย์ที่อยู่ในสวน ที่อยู่
ในวัด นาและทรัพย์ที่อยู่ในนา พื้นที่และทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ อยู่ในบ้าน ป่าและทรัพย์ที่อยู่ในป่า น้ำ ไม้
ชำระพัน ต้นไม้ เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ที่เขาฝากไว้ ภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์สี่เท้า
สัตว์มีเท้ามาก สัตว์สองเท้า ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก การนัดหมาย การทำนิมิต ฯ
ภูมมัฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน ภิกษุมีไถยจิต คิดจะลักทรัพย์ เที่ยวแสวงหาเพื่อนก็ตาม แสวงหาจอบหรือตะกร้าก็ตาม เดินไปก็ตาม ตัดไม้หรือเถาวัลย์
ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น คุ้ยโกยขึ้นซึ่งดินร่วน จับต้องหม้อ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้หม้อไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทำให้หม้อเคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไป ถูกต้องทรัพย์
ควรแก่ถึง 5 มาสก หรือเกินกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว จับที่สุดยกขึ้น
ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อโดยที่สุด แม้ชั่วเส้นผม ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถย
จิตดื่มเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ควรแก่ค่า 5 มาสก หรือเกินกว่า ด้วยประโยคอันเดียว
ต้องอาบัติปาราชิก ทำลายเสีย ทำให้หกล้น เทเสีย ทำให้บริโภคไม่ได้ ในที่นั้นเองต้องอาบัติทุกกฏ
กัลฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่บนพื้นดิน ได้แก่ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนพื้น ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ เที่ยวแสวงหาเพื่อน เดินไป ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
อากาสัฏฐวิภาค
ทรัพย์ลอยอยู่ในอากาศ ได้แก่ทรัพย์ที่ไปในอากาศ ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
เที่ยวแสวงหาเพื่อน เดินไป หยุดอยู่ ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก
เวหาสัฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่ในที่แจ้งได้แก่ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้งแม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
อุทกัฏฐวิภาค
ทรัพย์ตั้งอยู่ในน้ำ ได้แก่ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ เที่ยวแสวงหาเพื่อน เดินไป ดำลง โผล่ขึ้น ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับดอกอุบล เง่าบัว ปลา หรือเต่า ที่เกิดในน้ำ มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก
นาวัฏฐวิภาค
เรือ ได้แก่ พาหนะสำหรับข้ามน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ แก้เครื่องผูก แก้เครื่องผูกแล้ว ลูบคลำ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก
ยานัฏฐวิภาค
คาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
ภารัฏฐวิภาค
ทรัพย์ที่ตนนำไป ได้แก่ ภาระบนศรีษะ ที่คอ ที่สะเอว ที่หิ้วไป ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ภาระ บนศรีษะ อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวอาบัติถุลลัจจัย ลดลงสู่คอ อาบัติปาราชิก จับต้องการะที่เอว อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ถือไปด้วยมือ อาบัติปาราชิก
อาราปัฏฐวิภาค
สวน ทรัพย์ในสวน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวน โดยฐาน 4 คือ ฝังอยู่ในดิน 1 ตั้งอยู่บนดิน 1 ลอยอยู่ในอากาศ 1 แขวนอยู่ในที่แจ้ง 1 ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ จับต้องรากไม้
เปลือกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ที่เกิดในสวนนั้น ได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อน อาบัติปาราชิก ภิกษุตู่เอาที่สวน อาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยแก่เจ้าของอาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าจักไม่เป็นของเรา อาบัติปาราชิก ภิกษุฟ้องร้องยังโรงศาล ยังเจ้าของให้แพ้ อาบัติปาราชิก ถ้าแพ้เจ้าของอาบัติถุลลัจจัย
วิหารัฏฐวิภาค
ทรัพย์อยู่ในวัด ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัดโดยฐาน 4 ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
เขตตัฎฐวิภาค
บุพพัณชาติ หรือ อปรัณณชาติ เกิดในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา ทรัพย์ที่อยู่ในนา ภิกษุใดมีไถยจิต ฯลฯ ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือ ถมคันนาให้รุกล้ำ อาบัติทุกฏ เมื่ออีกประโยคหนึ่งจะสำเร็จ อาบัติถุลลัจจัย เมื่อประโยคนั้นสำเร็จอาบัติปาราชิก
วัตถุฏฐวิภาค
พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สวน พื้นที่วัด ทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
คามัฏฐวิภาค
ทรัพย์อยู่ในบ้าน ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
อรัญญัฏฐ
ป่า ได้แก่ ป่าที่มนุษย์หวงห้าม ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ ภิกษุมีไถยจิตจับต้องไม้เถาวัลย์ หญ้า ที่เกิดในป่านั้น ได้ราคา 5 มาสก หรือมากกว่า ฯลฯ
อุทกวิภาค
น้ำ ได้แก่ น้ำที่อยู่ในภาชนะ หรือที่ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือในบ่อ ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้อง น้ำ ได้ ราคา 5 มาสก หรือมากกว่า อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ทำให้ไหลเข้าภาชนะของตน อาบัติปาราชิก ภิกษุทำลายคันนา อาบัติทุกกฏ ทำลายคันนาแล้ว ทำน้ำให้ไหลออกไป ได้ราคา 5 มาสก หรือ เกินกว่า อาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลเกิน 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 5 มาสก อาบัตถุลลัจจัย
ทันตโปณวิภาค
ไม้ชำระพัน ได้แก่ ที่ตัดแล้วและยังไม่ได้ตัด ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
วนัปปติวิภาค
ต้นไม้ เจ้าป่า ได้แก่ ต้นไม้ที่คนทั้งหลายหวงห้าม เป็นไม้ที่ใชสอยได้ ภิกษุมีไถยจิตตัด อาบัติทุกกฏ ทุกครั้งที่ฟัน เมื่อมีการฟันอีกครั้งหนึ่งจะสำเร็จ อาบัติถุลลัจจัย เมื่อการตัดฟันนั้นสำเร็จ อาบัติปาราชิก
หรณวิภาค
ทรัพย์มีผู้นำไป ได้แก่ ทรัพย์ที่ผู้อื่นนำไป ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ ภิกษุคิดว่าจักนำทรัพย์ พร้อมกับคนผู้นำทรัพย์ไป แล้วให้ย่างเท้าเก้าที่หนึ่งไป อาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าก้าวที่สองไป อาบัติปาราชิก ภิกษุคิดว่าจักเก็บทรัพย์ที่ตก แล้วนำทรัพย์นั้นให้ตก มีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่ตก อันได้ราคา 5 มาสก หรือ
เกินกว่า อาบัติทุกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก
อุปนิธิวิภาค
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ ทรัพย์ที่ผู้อื่นให้เก็บไว้ ภิกษุรับของฝาก เพื่อเจ้าของกล่าวขอคืน ภิกษุกล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับของไว้ อาบัติทุกกฏ ยังความสงสัยให้เกิดแก่เจ้าของ อาบัติถุลลัจจัย เจ้าของทอดธุระว่าไม่ให้แก่เรา อาบัติปาราชิก ภิกษุฟ้องยังโรงศาล ฯลฯ
สุงกขาตวิภาค
ด่านภาษี ได้แก่ สถานที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งไว้ ภิกษุผ่านเข้าไปในด่านภาษีนั้น แล้วมีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี ซึ่งมีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหวย่างเท้า ก้าวที่หนึ่งล่วงด่านภาษีไป อาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าก้าวที่สอง ล่วงด่านภาษีไป อาบัติปาราชิก ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี อาบัติปาราชิก หลบเลี่ยงภาษี อาบัติทุกกฏ
ปาณวิภาค
สัตว์มีชีวิต หมายถึงมนุษย์ที่ยังมีลมหายใจ ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ ภิกษุคิดว่าจักพาให้เดินไปแล้วก้าวเท้าที่หนึ่ง อาบัติถุลลัจจัย ให้ก้าวเท้าที่สอง อาบัติปาราชิก
อุปทวิภาค
สัตว์ไม่มีเท้า ภิกษุมีไถยจิตจับต้องสัตย์ไม่มีเท้า มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า ฯลฯ
ทวิปทวิภาค
สัตว์ 2 เท้า ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ
จตุปทวิภาค
สัตว์ 4 เท้า ภิกษุมีไถยจิต ฯลฯ คิดว่าจักพาเดินไปแล้วก้าวที่ 1, 2, 3 อาบัติถุลลัจจัย ก้าวที่ 4 อาบัติปาราชิก
พหุปทวิภาค
สัตว์มีเท้ามาก ภิกษุมีไถยจิต จัขต้องสัตว์นั้นมีราคา 5 มาสก หรือ เกินกว่า ฯลฯ ภิกษุคิดว่า จักเดินนำไปแล้วย่างเท้าก้าวไป อาบัติถุลลัจจัย ทุก ๆ ก้าว ที่ 4 อาบัติปาราชิก
โอจรกวิภาค
ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุสั่งกำหนดทรัพย์ว่า ท่านจงลักทรัพย์ชื่อนี้ อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งนั้น ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง 2 รูป
โอณิรักขวิภาค
ภิกษุผู้รับของฝาก ภิกษุมีไถยจิตจับต้องทรัพย์นั้น มีราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า ฯลฯ
สังธารวหารวิภาค
การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ ภิกษุหลายรูปชักชวนกัน แล้วรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ อาบัติปาราชิกทุกรูป
สังเกตกัมมวิภาค
การนัดหมาย ภิกษุทำการนัดหมายว่าท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้า เย็น กลางคืน กลางวัน อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นตามคำนัดหมายนั้น อาบัติปาราชิกทั้งสองรูป ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้น ได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ผู้นัดหมายไม่อาบัติ ผู้ลักอาบัติปาราชิก
นิมิตกัมมวิภาค
การทำนิมิต ภิกษุทำนิมิตนั้น อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ภิกษุลักทรัพย์นั้นได้ก่อนหรือ หลังนิมิตนั้น ผู้ทำนิมิตนั้นไม่อาบัติ ผู้ลักอาบัติปาราชิก
อาณัติติกประโยค
ภิกษุสั่งภิกษุว่าท่านลงลักทรัพย์ชื่อนั้น อาบัติทุกกฎ ภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์นั้นแน่
แต่ลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่อาบัติ ภิกษุผู้ลักอาบัติปาราชิก ถ้าภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น แต่ลักทรัพย์นั้นมา
อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ถ้าภิกษุผู้ลักเข้าใจทรัพย์อย่างอื่น จึงลักทรัพย์อย่างอื่นมา ภิกษุผู้สั่งไม่อาบัติ ภิกษุผู้ลักอาบัติปาราชิก ภิกษุสั่งภิกษุว่า ท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อนี้มา ดังนี้อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งบอกแก่ภิกษุนอกนี้ อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักรับคำภิกษุผู้สั่งเดิม อาบัติถุลลัจจัย ภิกษุหลักลักทรัพย์นั้นมาได้ อาบัติปาราชิกทุกรูป ภิกษุสั่งภิกษุว่าท่านจงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จงไปบอกแก่ภิกษุผู้มีชื่ออย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีชื่อย่างนี้จงไปลักทรัพย์ชื่อสิ่งนี้มา อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งเดิมไม่อาบัติ ภิกษุผู้สั่งต่อและภิกษุผู้ลัก อาบัติปาราชิก ถ้าภิกษุรับคำสั่งให้ลักทรัพย์ไปแล้วกลับมาบอกว่า ผมไม่อาจลักทรัพย์นั้นได้ ภิกษุผู้นั้นสั่งใหม่ว่า ท่านสามารถเมื่อใด จงลักทรัพย์นั้นเมื่อนั้น อาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นมาได้ อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ถ้าภิกษุผู้สั่งให้ลักทรัพย์ ครั้นสั่งไปแล้วเกิดความร้อนใจ แต่ไม่พูดให้ได้ยินว่าอย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักทรัพย์นั้นมาได้ อาบัติปาราชิกทั้งสองรูป แต่ ถ้าเกิดความร้อนใจ แล้วพูดให้ได้ยินว่าอย่าลักเลย ภิกษุผู้ลักทรัพย์ตอบว่า ท่านสั่งผมแล้ว แล้วลักทรัพย์นั้นมาได้ ภิกษุผู้สั่งไม่อาบัติ ภิกษุผู้ลักอาบัติปาราชิก ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น รับคำว่าดีละแล้วงดเสีย ไม่อาบัติทั้งสองรูป
อาการแห่งอวหาร
อาการ 5 อย่าง
ปาราชิกาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของ ไม่ได้ให้ด้วยอาการ 5 อย่างคือ ทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก 1 ถุลลัจจัยาบัติพึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ 5 อย่าง คือ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 5 มาสก 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว อาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติถุลลัจจัย 1 ทุกฏาบัตร พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ 5 อย่าง คือ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา 1 มาสกหรือน้อยกว่า ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหวให้เคลื่อนจากฐานอาบัติทุกกฏ
อาการ 6 อย่าง
ปาราชิกกาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการ 6 อย่าง คือ
มิใช่มีความสำคัญว่าเป็นของตน 1 มิใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ 1 มิใช่ขอยืม 1 ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 1 ไถยจิตเกิดขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว อาบัติถุลลัจจัย ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติปาราชิก 1 ถุลลัจจัย พึงมีแก่ภิกษุ ฯลฯ ทรัพย์ที่มีค่าน้อยได้ราคาเกินกว่า 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว อาบัติทุกกฏ ให้เคลื่อนจากฐานอาบัติปาราชิก ทุกกฏอาบัติ ถึงมีแก่ภิกษุ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติทุกกฏ
อาการ 5 อย่าง
ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุผู้ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ให้ด้วยอาการ 5 อย่าง คือ ทรัพย์อันมิใช่ของผู้อื่นหวงแหน 1 มีความสำคัญว่าทรัพย์อันผู้อื่นหวงแหน 1 ทรัพย์มีค่ามากได้ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 1 ไถยจิตปรากฏขึ้น 1 ภิกษุลูบคลำ ทำให้ไหว ให้เคลื่อนจากฐาน อาบัติทุกกฏ ทุกกฏาบัติ พึงมีแก่ภิกษุ ฯลฯ ทรัพย์มีค่าน้อยได้ราคา 1 มาสก หรือหย่อนกว่า 1 ฯลฯ
วินีตวัตถุ อุทานคาถ
รวม 144 เรื่อง
เรื่องช่างย้อม 5 เรื่อง
1. พระฉัพพัคคีย์ ลักห่อผ้าของช่างย้อมไป ฯลฯ พวกเขาต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดแล้ว ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
3. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตจับต้องผ้านั้น ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
4. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้ไหวแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
5. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นผ้ามีราคามาก มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐาน ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ฯ
เรื่อง ผ้าห่มที่ตาก 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง พบผ้าห่มที่เขาตากไว้ มีราคามาก ยังไถยจิตให้เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติ เพราะเพียงแต่คิด
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตจับต้องแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตยังผ้านั้นให้ไหวแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตทำผ้านั้นให้เคลื่อนจากฐาน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง กลางคืน 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นทรัพย์ในกลางวัน แล้วทำนิมิตด้วยหมายใจว่า จักลักในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ จึงลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จักลักทรัพย์ในกลางคืน เธอเข้าใจทรัพย์อื่นแต่ลักทรัพย์นั้นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์อื่นจึงลักทรัพย์อื่นมาแล้ว ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เธอเข้าใจทรัพย์นั้นแน่ แต่ลักทรัพย์ของตนมาแล้ว ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง ทรัพย์ที่ภิกษุนำไปเอง 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งนำทรัพย์ผู้อื่นไป มีไถยจิตจับต้องภาระบนศรีษะแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิตยังภาระบนศีรษะให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิตลดภาระบนศรีษะลงสู่คอ ..... อาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีไถยจิตจับต้องภาระที่คอแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ..... มีไถยจิตยังภาระที่คอให้ไหว ..... ต้องอาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิตลดภาระที่คอลงสู่เอว ..... อาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ จับต้องภาระที่เอว มีความรังเกียจว่า ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ ..... มีไถยจิตยังภาระที่เอวให้ไหว ..... อาบัติถุลลัจจัย ..... มีไถยจิต ลดภาระที่เอวลงถือด้วยมือ ..... ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง วางภาระในมือลงบนพื้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ หยิบทรัพย์นั้นขึ้นจากพื้นดินแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ตอบตามคำถามนำ 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้กลางแจ้งแล้วเข้าไปสู่วิหารภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้เก็บไว้ด้วยคิดว่า จีวรนี้อย่าหายเสียเลย ภิกษุเจ้าของออกมา ถามภิกษุนั้นว่าจีวรของผมใครลักไป ภิกษุนั้นตอบว่า ผมลักไป พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่าเธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าตอบคำถามนำ ภ. ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง พาดจีวรไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
3. ภิกษุรูปหนึ่งพาดผ้านิสันทนะไว้บนตั่ง ภิกษุอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ
4. ภิกษุณี รูปหนึ่งผึ่งจีวรไว้ที่รั้ว ภิกษุณีอีกรูปหนึ่งเก็บไว้ ฯลฯ พระผู้มีพระภาค ตรัสว่าไม่เป็นอาบัติ เพราะตอบตามคำถามนำ
เรื่อง ลม 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นผ้าสาฏกถูกลมบ้าหมูพัดหอบไปจึงเก็บไว้ ตั้งใจว่าจักให้เจ้าของ เจ้าของโจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีไถยจิต พ. ภิกษุผู้ไม่มีไถยจิตไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ถือเอาผ้าโพกที่ถูกลมบ้าหมูหอบไปด้วยเกรงว่า เจ้าของจะเห็นเสียก่อน ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. คิดลัก พระพุทธเจ้าข้า พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ศพที่ยังสด
ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ศพสดและในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่ เปรตกล่าวว่า ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสาฏกของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อได้ถือเอาไป ศพนั้นได้ลุกตามภิกษุนั้นไป เมื่อภิกษุนั้นเข้าไปสู่วิหารปิดประตู ศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้น ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง สับเปลี่ยนสลาก
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตสับเปลี่ยนสลาก แล้วรับจีวรซึ่งภิกษุจีวรภาชกะแจกอยู่ไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง เรือนไฟ
พระอานนท์ สำคัญผ้าอันตรวาสกของภิกษุรูปหนึ่งในเรือนไฟ ว่าเป็นของตนจึงเอาไปนุ่ง ภิกษุนั้นถามพระอานนท์ว่า ไฉนท่านจึงนุ่งอันตรวาสกของผมเล่า พระอานนท์ตอบว่า ผมเข้าใจว่าเป็นของผม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุผู้มีความเข้าใจว่าของตนไม่ต้องอาบัติ ฯ
เรื่อง เนื้อเดนสัตว์ 5 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปลงจากภูเขาคิชฌกูฏพบเนื้อเดนราชสีห์ จึงให้อนุปสัมบันต้มแกงฉัน ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนราชสีห์
2. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนเสื้อโคร่ง
3. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้อเดนเสือดาว
4. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเป็นเนื้ออันสัตว์ดิรัจฉานหวงแหน
เรื่อง ส่วนไม่มีมูล 5 เรื่อง
1. ขณะที่ภัตตุทเทสก์กำลังแจกข้าวสุกของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า ขอท่านจงให้ส่วนของภิกษุอื่นอีก แล้วรับส่วนที่ไม่มีมูลไป ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
2. ภิกษุขัชชภาชกะกำลังแจกจ่ายของเคี้ยวของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
3. ภิกษุปุวภาชกะกำลังแจกขนมของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
4. ภิกษุอุจฉุภาชกะกำลังแจกอ้อยของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
5. ภิกษุผลภาชกะกำลังแจกผลมะพลับของสงฆ์อยู่ ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง ข้าวสุก
ภิกษุรูปหนึ่งไปที่ร้านขายข้าว แล้วมีไถยจิตลักข้าวสุกไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง เนื้อ
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปที่ร้านขายแกงเนื้อ มีไถยจิตลักเนื้อไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ขนม
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายขนม มีไถยจิตลักขนมไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง น้ำตาลกรวด
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายน้ำตาลกรวด แล้วมีไถยจิตลักน้ำตาลกรวดไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องปาราชิกแล้ว
เรื่อง ขนมต้ม
ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปในร้านขายขนมต้ม มีไถยจิตลักขนมต้มไปเต็มบาตร ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง บริขาร 5 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งเห็นบริขารในกลางวัน แล้วได้ทำนิมิตไว้ว่าจักลักในกลางคืน
ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ จึงลักบริขารนั้น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารอื่น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น แต่ลักบริขารนั้น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญว่าบริขารอื่น จึงลักบริขารอื่น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นสำคัญบริขารนั้นแน่ แต่ลักบริขารของตนว่า ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง ถุง
ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นถุงวางอยู่บนตั่ง แล้วคิดว่าถ้าเราถือเอาไปจากตั่งนี้ จักเป็นปาราชิก
จึงยกถือเอาพร้อมทั้งตั่ง ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ฟูก
ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดลักฟูกของสงฆ์ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ราวจีวร
ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักจีวรที่ราวจีวรไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ไม่ออกไป
ภิกษุรูปหนึ่ง ลักจีวรในวิหาร แล้วคิดว่าถ้าเราออกจากวิหารนี้ไปจักเป็นปาราชิก จึงไม่ออกจากวิหาร พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า โมฆบุรุษนั้นจะพึงออกไปก็ตาม ไม่ออกไปก็ตาม ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ถือวิสาสะฉันของเคี้ยว
ภิกษุสองรูปเป็นเพื่อกัน รูปหนึ่งเข้าไปบิณฑบาตในบ้าน รูปที่สองได้รับเอาของเคี้ยว
ของสงฆ์ที่ภิกษุภัตตุทเทสก์แจกอยู่อันเป็นส่วนของเพื่อน แล้วถือวิสาสะฉันส่วนของเพื่อนนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งทราบแล้วได้โจทภิกษุรูปที่สองว่าไม่เป็นสมณะ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าถือวิสาสะ พ. ไม่เป็นอาบัติ เพราะถือวิสาสะ
เรื่อง ฉันของเคี้ยวด้วยสำคัญว่าของตน 2 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปกำลังทำจีวรกันอยู่ภิกษุต่างนำของเคี้ยวของสงฆ์ซึ่งภิกษุขัชชภาชกะ
แจกอยู่ ที่เป็นส่วนของตนเก็บไว้ ภิกษุรูปหนึ่งสำคัญส่วนของภิกษุอีกรูปหนึ่งว่าของตนจึงฉัน ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าของตน
2. ภิกษุหลายรูป ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งได้เอาบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่งไป นำส่วนของตนมาเก็บไว้ ภิกษุเจ้าของบาตรสำคัญว่าของตนจึงฉัน ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ ฯลฯ
เรื่อง ไม่ลัก 7 เรื่อง
1. พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงให้หล่น แล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมยเหล่านั้นไป พวกขโมยทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่าเป็นของบังสุกุล จึงพากันเก็บมะม่วงห่อนั้นไปฉัน พวกเจ้าของโจทภิกษุเหล่านั้นว่าไม่เป็นสมณะ พระผู้มีพระภาค ตรัสถามว่า พวกเธอคิดอย่างไร
ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้าสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
พ. ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
2. - 7. พวกขโมยลักชมพู่ ลักขนุน สำมะลอ ลักขนุน ลักผลตาลสุก ลักอ้อย ลักมะพลับ ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นของบังสุกุล
เรื่อง ลัก 7 เรื่อง
1 สมัยนั้น พวกขโมยลักมะม่วง ทำมะม่วงหล่นแล้วห่อถือไป พวกเจ้าของติดตามพวกขโมย พวกขโมยจึงได้ทิ้งห่อมะม่วงหนีไป ภิกษุทั้งหลายคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็นแล้วมี ไถยจิตฉันเสียก่อน ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. - 7. พวกขโมยลักชมพู่ ลักขนุน สำมะลอ ลักขนุน ลักผลตาลสุก ลักอ้อย ลักมะพลับ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักมะม่วงของสงฆ์ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
2. - 7. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักชมพู่ของสงฆ์ ลักขนุนสำมะลอของสงฆ์ ลักขนุนของสงฆ์ ลักผลตาลสุกของสงฆ์ ลักอ้อยของสงฆ์ ลักมะพลับของสงฆ์ ฯลฯ อาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักดอกไม้ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักดอกไม้ที่เขาเก็บไว้ ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ
เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักเก็บดอกไม้ ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ อาบัติปาราชิก
เรื่อง พูดตามคำบอก 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อจะไปสู่บ้านได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า ผมจะบอกสกุลอุปัฏฐาก
ของท่านตามที่ท่านบอก ภิกษุนั้นไปถึงจึงให้เขานำผ้าสาฏกมาผืนหนึ่ง แล้วใช้เสียเอง ฯลฯ
เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุทั้งหลายไม่พึงกล่าวว่า ผมบอกตามที่ท่านบอก รูปใดกล่าวต้องอาบัติทุกกฎ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นจึงให้เขานำผ้าสาฏกมาคู่หนึ่ง แล้วใช้เสียเอง 1 ผืน ให้ภิกษุผู้บอก 1 ผืน ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุรูปนั้นจึงให้เขานำเนยใส 1 อาฬหก น้ำอ้อยงบ 1 ดุล ข้าวสาร 1 โทณะ มาแล้วฉันเสียเอง ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง นำแก้วมณีล่วงด่านภาษี 3 เรื่อง
1. บุรุษผู้หนึ่งนำแก้วมณีซึ่งมีราคามาก เดินทางไกลไปกับภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นบุรุษนั้น
เห็น ด่านภาษีจึงหย่อนแก้วมณีลงในถุงย่ามของภิกษุนั้น ผู้ไม่รู้ตัวเดินพ้นด่านภาษีไปแล้ว จึงถือนำไปเอง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ตัว พ. ภิกษุผู้ไม่รู้ตัวไม่ต้องอาบัติ
2. บุรุษผู้หนึ่ง ฯลฯ ครั้นบุรุษเห็นด่านภาษี จึงทำลวงว่าเป็นไข้ แล้วได้ให้ห่อของตนแก่ภิกษุนั้น ครั้นพ้นด่านภาษีแล้วจึงกล่าวว่าขอจงนำห่อของของผมมา ผมไม่ได้เป็นไข้ ภิกษุนั้นจึงถามว่า
ท่านทำเช่นนั้นเพื่ออะไร เมื่อบุรุษนั้นแจ้งความแก่ภิกษุนั้นแล้ว ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
เธอคิดอย่างไร
ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้ พ. ภิกษุผู้ไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ
3. ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไกลไปกับพวกเกวียน บุรุษหนึ่งเกลี้ยกล่อมภิกษุนั้นด้วยอามิส แล้วเห็นด่านภาษี จึงส่งแก้วมณีซึ่งมีราคามากให้ภิกษุนั้นโดยขอร้องว่า ขอท่านจงช่วยนำแก้วมณีนี้
ผ่านด่านภาษีด้วย ภิกษุนั้นนำแก้วมณีผ่านด่านภาษี ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยหมู 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสาร ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วง ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ
พ. ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ได้ปล่อยหมูที่ติดบ่วงไปเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจะเห็น ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีไถยจิต พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยเนื้อ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสารได้ปล่อยเนื้อที่ติดบ่วง ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะช่วยเหลือ
พ. ภิกษุผู้มีความประสงค์จะช่วยเหลือไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ปล่อยปลา 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสงสารได้ปล่อยปลาที่ติดลอบไป ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิต ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง กลิ้งทรัพย์ในยาน
ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นทรัพย์ในยานแล้วคิดว่า เราจักถือเอาไปจากยานนี้จักเป็นปาราชิก จึงเขี่ยให้กลิ้งถือเอาไป ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ชิ้นเนื้อ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งได้ถือเอาชิ้นเนื้อที่เหยี่ยวเฉี่ยวไป ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ฯลฯ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิต ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ไม้ 2 เรื่อง
1. คนทั้งหลายผูกไม้แพ แล้วให้ลอยไปตามกระแสในแม่น้ำอจิรวดี เมื่อเครื่องผูกขาด ไม้ได้ลอยกระจายไป ภิกษุทั้งหลายมีความสำคัญว่า เป็นของบังสุกุลจึงช่วยกันยกขนขึ้น ฯลฯ ภิกษุผู้มีความว่าเป็นของบังสุกุล ไม่ต้องอาบัติ
2. คนทั้งหลายผูกแพไม้แล้ว ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายมีไถยจิตช่วยกันขนขึ้นเสียก่อนด้วยคิดว่า พวกเจ้าของเห็น ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ผ้าบังสุกุล
คนเลี้ยงโคคนหนึ่ง พาดผ้าสาฏกไว้ที่ตนไม้ ภิกษุรูปหนึ่ง มีความสำคัญว่าเป็นผ้าบังสุกุล จึงถือเอาไป ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ข้ามน้ำ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งกำลังข้ามน้ำ ผ้าสาฏกที่หลุดจากมือพวกช่างย้อม ไปคล้องอยู่ที่เท้าภิกษุนั้น ๆ เก็บไว้ ด้วยตั้งใจว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ฯลฯ ภิกษุผู้หาไถยจิตมิได้ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตยึดเอาไว้เสียก่อน ด้วยคิดว่า พวกเจ้าของจักเห็น ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง ฉันทีละน้อย
ภิกษุรูปหนึ่งเห็นหม้อเนยใสแล้วฉันเข้าไปทีละน้อย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ชวนกันลักทรัพย์ 2 เรื่อง
1. ภิกษุหลายรูปชักชวนกันไป ด้วยตั้งใจว่าจักลักทรัพย์ ภิกษุรูปหนึ่งลักทรัพย์มาได้ ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราไม่เป็นปาราชิก ฯลฯ รูปใดลัก รูปนั้นเป็นปาราชิก ฯลฯ
2. ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์มาได้แล้วมาแบ่งกัน ภิกษุรูปหนึ่งได้ส่วนแบ่งไม่ครบ 5 มาสก จึงกล่าวว่าพวกเราไม่เป็นปาราชิก ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง กำมือ 4 เรื่อง
1. ในสาวัตถี มีข้าวแพง ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตคิดลักข้าวสารของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ
ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักถั่วเขียวของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ลักถั่วฝักยาวของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ลักงาของชาวบ้าน 1 กำมือ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง เนื้อเดน 2 เรื่อง
1. พวกโจรฆ่าโคกินเนื้อแล้ว ซ่อนส่วนที่เหลือไว้แล้วพากันไป ภิกษุทั้งหลายสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล จึงให้ถือเอาไปฉัน ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกโจร ฯลฯ ฆ่าหมู ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง หญ้า 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตลักหญ้าที่เขาเกี่ยวไว้ได้ราคา 5 มาสก ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง มีไถยจิตเกี่ยวหญ้า ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ให้แบ่งของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. พระอาคันตุกะทั้งหลายยังกันและกันให้แจกมะม่วงของสงฆ์แล้วฉัน ฯลฯ
พ. พวกเธอคิดอย่างไร ภิ. พวกข้าพระพุทธเจ้า คิดเพื่อต้องการฉัน
พ. คิดเพื่อต้องการฉัน ไม่ต้องอาบัติ
2. - 7. พระอาคันตุกะทั้งหลาย ฯลฯ ให้แจกชมพู่ ขนุนสำมะลอ ขนุน ผลตาลสุก อ้อย มะพลับของสงฆ์ แล้วฉัน ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ไม่ใช่เจ้าของ 7 เรื่อง
1. พวกคนรักษามะม่วงได้ถวายมะม่วงแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ เพราะคนรักษาถวาย
2. - 7. พวกคนรักษาชมพู่ ขนุนสำมะลอ ขนุน ผลตาลสุก อ้อย ผลมะพลับ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ยืมไม้ของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งขอยืมไม้ของสงฆ์ไปค้ำฝาที่อยู่ของตน ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า คิดขอยืม พ. ไม่ต้องอาบัติ เพราะคิดยืม
เรื่อง ลักน้ำของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักน้ำของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ลักดินของสงฆ์
ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักดินของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง หญ้า 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตเผาหญ้ามุงกระต่ายของสงฆ์ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพพระพุทธเจ้า คิดลัก พ. เธอต้องอาบัติทุกกฎแล้ว
เรื่อง เสนาสนะของสงฆ์ 7 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักเตียงของสงฆ์ ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าคิดลัก พ. เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
2.- 7. ภิกษุรูปหนึ่งมีไถยจิตลักตั่ง ลักฟูก ลักหมอน ลักบานประตู ลักม่านหน้าต่างลักไม้กลอน ของสงฆ์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง มีเจ้าของไม่ควรนำไปใช้
ภิกษุทั้งหลาย นำเสนาสนะอันเป็นเครื่องใช้สำหรับบริหารของอุบาสกคนหนึ่ง ไปใช้สอย ณ ที่แห่งหนึ่ง ฯลฯ เครื่องใช้สอยในที่แห่งหนึ่ง อันภิกษุไม่พึงใช้สอยในที่อีกแห่งหนึ่ง รูปใดใช้สอย ต้องอาบัติทุกกฎ
เรื่อง ของมีเจ้าของควรขอยืม
ภิกษุทั้งหลายมีความรังเกียจที่จะนำกระทั่งผ้าปูนั่งประชุมไปแม้ ณ โรงอุโบสถ จึงนั่งบนพื้นดิน เนื้อตัวก็ดี จีวรก็ดี แปดเปื้อนฝุ่น จึงกราบทูล ฯลฯ เราอนุญาตให้นำไปใช้ได้ชั่วคราว
เรื่อง ภิกษุณีชาวเมืองจัมปา
อันเตวาสิกา ของภิกษุณีถุลลนันทา ไปสู่สกุล อุปัฏฐากของภิกษุณีถุลลนันทา แล้วบอกว่า
แม้ เจ้าปรารถนาจะดื่มยาคู ตนสั่งให้เขาหุงหาให้แล้วนำไปฉันเสีย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุณีนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง ภิกษุณีชาวเมืองราชคฤห์
ภิกษุณีอันเตวาสิกา ฯลฯ แม่เจ้าปรารถนาจะฉันขนมรวงผึ้ง ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตีย์
เพราะสัมปชานมุสาวาท
เรื่อง พระอัชชุกะเมื่อเวสาลี
คหบดีอุปัฏฐากของท่านพระอัชชกะ มีเด็กชาย 2 คน คือบุตรชายคนหนึ่ง หลานชายคนหนึ่ง คหบดีได้สั่งพระอัชชุกะว่า เด็ก 2 คนนี้ คนใดมีศรัทธาเลื่อมใส จึงบอกสถานที่ซ่อนทรัพย์แก่คนนั้น ดังนี้แล้ว ได้ถึงแก่กรรม สมัยต่อมาหลานชายคหบดีนั้นเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส พระอัชชุกะจึงได้บอกสถานที่ฝังทรัพย์นั้น
แก่ หลายชาย ๆ รวบรวมทรัพย์และเริ่มบำเพ็ญทานด้วยทรัพย์สมบัตินั้น ภายหลังบุตรชายคหบดีนั้นได้ถาม พระอานนท์ว่า ใครเป็นทายาทของบิดาบุตรชายหรือหลานชาย พระอานนท์ตอบว่า ธรรมดาบุตรชายเป็น
ทายาท ของบิดา บุตรชายคหบดีกล่าวว่า พระอัชชุกะได้บอกทรัพย์สมบัติของตนให้แก่คู่แข่งขันของตน พระอานนท์จึงกล่าวว่า พระอัชชุกะไม่เป็นสมณะ พระอัชชุกะจึงขอให้พระอานนท์ให้การวินิจฉัยด้วย ครั้งนั้นพระอุบาลีเป็นฝ่ายพระอัชชุกะจึงถามพระอานนท์ว่า ภิกษุอันใดเจ้าของทรัพย์สั่งไว้ว่าให้บอกสถานที่ ฝังทรัพย์แก่บุคคลชื่อนี้แล้วบอกแก่บุคคลนั้น ภิกษุนั้นจะต้องอาบัติด้วยหรือ อ.ไม่ต้องอาบัติ โดยที่สุดแม้เพียง อาบัติทุกกฎ อุ.พระอัชชุกะไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง เมืองพาราณสี
สกุลอุปัฏฐากของพระปิสันทะวัจฉะ ถูกพวกโจรปล้น และเด็ก 2 คน ถูกพวกโจรนำตัวไป ดังนั้น พระปิสันทะวัจฉะนำเด็ก 2 คนนั้นมาด้วยฤทธิ์แล้วให้อยู่ในปราสาท ชาวบ้านเห็นเด็ก 2 คนนั้นแล้วต่างพากัน เลื่อมใสในพระปิสันทวัจฉะเป็นอย่างยิ่ง ว่านี้เป็นฤทธานุภาพของพระปิสันทวัจฉะ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาว่า ไฉนพระปิสันทวัจฉะ จึงได้นำเด็กที่ถูกพวกโจรนำตัวไปแล้วคืนมาได้เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติ เพราะวิสัยแห่งฤทธิ์ของภิกษุผู้มีฤทธิ์
เรื่อง ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี
ภิกษุ 2 รูป ชื่อปัณฑกะ 1 กปีละ 1 เป็นสหายกัน รูปหนึ่งอยู่ในหมู่บ้าน อีกรูปหนึ่งอยู่ในเมืองโกสัมพี ขณะเมื่อภิกษุนั้น เดินทางจากหมู่บ้านไปเมืองโกสัมพี ข้ามแม่น้ำในระหว่างทาง เปลวมันข้นที่หลุดจากมือของพวกคนฆ่าหมู ลอยติดอยู่ที่เท้า ภิกษุนั้นเก็บไว้ด้วยตั้งใจ ว่าจักให้แก่พวกเจ้าของ ๆ โจทภิกษุนั้นว่าไม่เป็นสมณะ สตรีเลี้ยงโคคนหนึ่ง เห็นภิกษุนั้นข้ามแม่น้ำขึ้นมาแล้ว กล่าวว่านิมนต์มาเสพเมถุนธรรมเถิด ภิกษุนั้นคิดว่า แม้โดยปกติเราก็ไม่เป็นสมณะแล้ว จึงเสพเมถุนธรรมในสตรีเลี้ยงโคนั้น เมื่อไปถึงเมืองโกสัมพีแล้ว จึงแจ้งเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ จึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า ภิกษุนั้นไม่ต้องอาบัติปาราชิกเพราะอทินนาทาน แต่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเสพเมถุธรรม
เรื่อง สัทธิวิหารริกพระทัฬหิกะเมืองสาคละ
ภิกษุสัทธิวิหารริกของพระทัฬหิกะในเมืองสาคละ ได้ลักผ้าโพกของชาวร้านไป แล้วกล่าวว่าผมไม่เป็นสมณะจะลาสิกขาเพราะลักผ้าโพกของชาวร้าน
พระ ทัฬหิกะจึงให้นำผ้าโพกไปให้ชาวร้านตีราคา ได้ราคาไม่ถึง 5 มาสก พระทัฬหิกะจึงชี้แจงว่า คุณไม่ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุนั้นยินดียิ่งนัก
จบ ทุติยปาราชิกสิกขาบท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยปาราชิกสิกขาบท
นิทานปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุหลายรูป
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน เวสาลี พระองค์ได้แสดงอสุภกถา พรรณาคุณแห่งอสุภกรรมฐาน และคุณอสุภสมาบัติเนือง ๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วสั่งว่า เราปราถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ผู้ใดอย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันว่า พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอสุภกถา ฯลฯ แล้วพากันประกอบความเพียร ในการเจริญอสุภกรรมฐานหลายอย่าง ภิกษุเหล่านั้นอึดอัดระอาเกลียดชังร่างกายตน จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกันให้ปลงชีวิตบ้าง บ้างก็ไปหามิคลัณฑิกสมณกุตตก์ แล้วขอให้ช่วยปลงชีวิตให้ โดยมีบาตรและจีวรเป็นของแลกเปลี่ยน ครั้งนั้น มิคสัณฑิกสมณกุตตก์ ได้ปลงชีวิตภิกษุเป็นอันมาก แล้วถือดาบเปื้อนเลือด ไปล้างที่แม่น้ำวัคคุมุนา ขณะที่ล้างอยู่เกิดมีความเดือดร้อนว่า ตนได้ทำชั่วได้สร้างบาปไว้มาก เพราะได้ปลงชีวิตภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
ขณะ นั้นมีเทวดาตนหนึ่ง นับอยู่ในหมู่มารได้กล่าวกับเขาว่า ดีแล้ว ท่านสัตบุรุษ ท่านได้สร้างบุญไว้มาก เพราะได้ช่วยส่งคนที่ยังข้ามไม่พ้นให้ข้ามพ้นได้ เมื่อเขาได้ยินดังนั้น จึงถือดาบเข้าไปสู่วิหาร สู่บริเวณ แล้วกล่าวว่า ใครยังข้ามไม่พ้น เราจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมเกิดมีแก่ภิกษุเหล่านั้น ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะแล้ว ความกลัว ความหวาดเสียว ความสยอง ย่อมไม่มีแก่ภิกษุเหล่านั้น ครั้งนั้น มิคลัณฑิกสมณกุตตก์ได้ปลงชีวิตภิกษุเสียวันละ 1 รูปบ้าง 10, 20, 30, 40, 50, 60 รูปบ้าง
รับสั่งให้ผะเดียงสงฆ์
ครั้นล่วงกึ่งเดือน พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น ได้ถามพระอานนท์ว่า เหตุใดภิกษุสงฆ์จึงดูเหลือน้อยลงไป พระอานนท์กราบทูลว่า เป็นเพราะพระองค์ได้แสดงอสุภกถา ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันประกอบความเพียร ในการเจริญอสุกรรมฐานเกิดการอึดอัด ระอา เกลียดชังร่างกายตน ฯลฯ จึงปลงชีวิตตนเองบ้าง ฯลฯ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ภิกษุสงฆ์นี้จะพึงดำรงอยู่ใน พระอรหัตตผลด้วยปริยายใด ขอพระผู้มีพระภาคจงตรัสบอกปริยายอื่นนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคจึงสั่งให้พระอานนท์ ผะเดียงภิกษุที่อาศัยนครเวสาลี อยู่ทั้งหมด มาประชุมกันที่อุปัฏฐานศาลา
ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
พระผู้มีพระภาค รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า แม้สมาธิในอานาปานสตินี้ อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณ สงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข ยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้งในท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกนอกฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้น ๆ ให้อันตรธานสงบไปได้โดยพลัน ฉะนั้น ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่ ณ โคนไม้ก็ตาม ในที่สงัดก็ตาม นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ บ่ายหน้าสู่กรรมฐาน ภิกษุนั้นย่อมมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้สึกว่าหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกว่าหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น หรือหายใจออกสั้น ก็รู้ว่าหายใจเข้าสั้น และหายใจออกสั้น ย่อมสำเหนียกว่าเราจักรู้แจ้ง ซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า หายใจออก เราจักรู้ระงับกายสังขารหายใจเข้า หายใจออก เราจักรู้แจ้งซึ่งปิติ ฯลฯ เราจักรู้แจ้งซึ่งสุข ฯลฯ เราจักรู้แจ้งซึ่งจิตสังขาร ฯลฯ เราจักระงับจิตสังขาร ฯลฯ เราจักรู้แจ้งซึ่งจิต ฯลฯ เราจักยังจิตให้บรรเทิง ฯลฯ เราจักตั้งจิตไว้มั่น ฯลฯ เราจักปล่อยจิต ฯลฯ เราจักพิจารณาเห็นธรรมอันไม่เที่ยง ฯลฯ เราจักพิจารณาเห็นวิราคะ ฯลฯ เราจักพิจารณาเห็นนิโรธ ฯลฯ เราจักพิจารณาเห็นปฏินิสสัคคะ ฯลฯ
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ฯลฯ ดังนี้ จริงหรือ ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่าจริง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของภิกษุเหล่านั้น ฯลฯ แล้วทรงแสดงธรรมมีกกถาที่สมควร ที่เหมาะสมกับเรื่องนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า เพราะเหตุนี้เราจักบัญญัติสิกขาบท แก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ ฯลฯ
พระปฐมบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด จงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต หรือแสวงหาศัตรา
อันจะปลิดชีวิต ให้แก่กายมนุษย์นั้น แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
อุบาสกคนหนึ่งเป็นไข้ ภริยาเขาเป็นคนสวย พวกพระฉัพพัคคีย์มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงนั้น จึงดำริว่าถ้าอุบาสกสามียังมีชีวิตอยู่ พวกเราจักไม่ได้นาง ฉะนั้น พวกเราจักพรรณาคุณแห่งความตายแก่อุบาสกนั้น ครั้นดำริดังกล่าวแล้ว จึงเข้าไปกาอุบาสกนั้น แล้วกล่าวว่า ท่านเป็นผู้ทำความดีไว้แล้ว ทำกุศลไว้แล้ว ไม่ได้ทำบาป ไม่ได้ทำชั่ว ท่านจักเข้าถึงสุคติโสกสวรรค์ จักได้รับบำเรอเพียบพร้อมอิ่มเอม
ด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์นั้น อุบาสกนั้นเห็นจริงดังนั้น เขาจึงรับประทานอาหารที่แสลง เกิดป่วยและถึงแก่กรรม ภริยาเขาจึงเพ่งโทษว่า พระสมณะเหล่านี้ ฯลฯ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเพ่งโทษ ต่างก็เพ่งโทษติเตียน แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค
ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติอนุบัญญัติ
พระผู้มีพระภาค รับสั่งให้ประชุมสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น เหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพคัคคีย์ ๆ ยอมรับว่าจริง พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ฯลฯ ทรงแสดงธรรมมีกถาที่สมควร และที่เหมาะสมกับเรื่องนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า เพราะเหตุนั้น เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการ ฯลฯ พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้

อนุบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใดจงใจพรากกายมนุษย์จากชีวิต
หรือ แสวงหาศัตราอันจะปลิดชีวิตให้แก่กายมนุษย์นั้น
หรือพรรณาคุณแห่งความตาย หรือชักชวนเพื่ออันตาย ด้วยถ้อยคำว่า
แนะท่านผู้เป็นชายจะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยชีวิตอันแสนลำบากยากแค้นนี้
ท่านตายเสียดีกว่าเป็นอยู่ เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนี้ มีความหมายหลายอย่างนี้
พรรณาคุณความตายก็ดี ชักชวนเพื่ออันตายก็ดี โดยหลายนัย แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้
สิกขาบทวิภังค์
บทว่า อนึ่ง ..... ใด ฯลฯ บทว่าภิกษุ ความว่าที่ชื่อว่าภิกษุ ฯลฯ บทว่าจงใจ ความว่าภิกษุใดรู้อยู่
รู้ ดีอยู่ พรากกายมนุษย์จากชีวิต การกระทำของภิกษุนั้น เป็นความตั้งใจพยายามละเมิด ที่ชื่อว่ากายมนุษย์ ได้แก่จิตแรกที่เกิดขึ้น คือปฐมวิญญาณที่ปรากฏขึ้น ในท้องมารดาตราบเท่าถึงกาลที่ตายอัตภาพ ในระหว่างนี้ชื่อว่ากายมนุษย์ บทว่าพรากจากชีวิต ความว่า ตัดทอน บั่นทอนซึ่งอินทรีย์คือชีวิต ทำความสืบต่อให้กำเริบ บทว่า แสวงหาศัตรา ฯลฯ ได้แก่ ดาบ หอก ฉมวก หลาว ฆ้อน หิน มีด ยาพิษ หรือ เชือก ฯ
บทภาชนีย์
มาติกา
ทำเอง ยืนอยู่ใกล้ สั่งทูต สั่งทูตต่อ ทูตไม่สามารถ ทูตไปแล้วกลับมา ที่ไม่ลับสำคัญว่าลับ ที่ลับสำคัญว่าไม่ลับ ที่ไม่ลับสำคัญว่าไม่ลับ ที่ลับสำคัญว่าลับ พรรณนาด้วยกาย พรรณนาด้วยวาจา พรรณนาด้วยกาย และวาจาพรรณนาด้วยทูต พรรณนาด้วยหนังสือ หลุมพราง วัตถุที่พิง การลอบวาง การนำรูปเข้าไป การนำเสียงเข้าไป การนำกลิ่นเข้าไป การนำรสเข้าไป การนำโผฏฐัพพะเข้าไป การนำธรรมารมณ์เข้าไป กริยาที่บอก การแนะนำ การนัดหมาย การทำนิมิต
มาติกาวิภังค์
สาหัตถิกประโยค ทำเอง
คำว่า ทำเอง คือฆ่าเอาด้วยกาย ด้วยเครื่องประหาร ที่เนื่องด้วยกาย หรือที่ซัดไป ยืนอยู่ใกล้คือยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า จงยิงอย่างนี้ จงประหารอย่างนี้ จงฆ่าอย่างนี้
อาณัตติประโยคสั่งทูต
ภิกษุสั่งภิกษุ ว่าจงปลงชีวิตบุคคลชื่อนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งเข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงชีวิต ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ถ้าปลงชีวิตบุคคลอื่น ผู้สั่งไม่อาบัติ ผู้ฆ่าอาบัติปาราชิก ผู้รับคำสั่งเข้าใจว่าบุคคลอื่น แต่ปลงชีวิตบุคคลนั้น อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ผู้รับคำสั่งเข้าใจว่าคนอื่น และปลงชีวิตคนอื่นนั้น ผู้สั่งไม่อาบัติ ผู้ฆ่าอาบัติปาราชิก
สั่งทูตต่อ
ภิกษุสั่งภิกษุว่า จงบอกแก่ภิกษุชื่อนี้ว่า จงไปบอกภิกษุชื่อนี้ว่า ภิกษุชื่อนี้จะปลงชีวิตคนชื่อนี้ดังนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งอาบัติทุกกฏ ผู้รับฆ่ารับคำสั่งผู้สั่งเดิม อาบัติกุลลัจจัย ผู้ฆ่าทำไม่สำเร็จ อาบัติปาราชิกทุกรูป ถ้าผู้รับคำสั่งผู้อื่นต่ออาบัติทุกกฏผู้ฆ่ารับคำ อาบัติทุกกฏ ผู้ฆ่าทำสำเร็จ ผู้สั่งเดิมไม่อาบัติ ผู้รับคำสั่งและผู้ฆ่าอาบัติปาราชิก
ทูตไม่สามารถ
ภิกษุผู้รับคำสั่งแล้วมาบอกว่าตนไม่สามารถฆ่าได้ ผู้สั่งสั่งใหม่ว่าถ้าสามารถ เมื่อใดให้ฆ่าเขาเมื่อนั้น อาบัติทุกกฏผู้รับคำสั่งฆ่าคนนั้นสำเร็จ อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป
ทูตไปแล้วกลับมา
เมื่อผู้สั่งสั่งแล้วร้อนใจ แต่พูดไม่ให้ได้ยินว่า อย่าฆ่า ผู้รับคำสั่งฆ่าคนนั้นสำเร็จ อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ถ้าสั่งแล้วร้อนใจ พูดให้ได้ยินว่าอย่าฆ่าเลย ผู้รับคำสั่งพูดว่าได้สั่งให้อย่าฆ่าเลย ผู้รับคำสั่งรับคำว่าดีแล้ว งดเสีย ไม่อาบัติทั้ง 2 รูป
ที่ไม่ลับสำคัญว่าลับ
ที่ไม่ลับ ภิกษุสำคัญว่าที่ลับพูดว่า ทำอย่างไรคนชื่อนี้พึงถูกฆ่า อาบัติทุกกฏ ที่ลับ สำคัญว่าไม่ลับ ที่ลับภิกษุสำคัญว่าไม่ลับ พูดว่า ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ที่ไม่ลับสำคัญว่าไม่ลับ พูดว่า ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ที่ลับภิกษุสำคัญว่าที่ลับ พูดว่า ฯลฯ อาบัติทุกกฏ
พรรณนาด้วยกาย
ภิกษุทำกายวิกาลว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ จะได้ทรัพย์ ยศ หรือไปสวรรค์ อาบัติทุกกฏ ผู้ใดคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ผู้พรรณาอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาตาย ผู้พรรณนาอาบัติปาราชิก ภิกษุกล่าวด้วยวาจาว่า ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก ภิกษุทำวิการด้วยกายหรือด้วยวาจา ฯลฯ อาบัติกุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก
พรรณนาด้วยทูต
ภิกษุสั่งทูตว่า ผู้ใดตายอย่างนี้ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ผู้ใดทราบคำบอกของฑูตไปใช้ได้ชั่วคราว แล้วคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด ผู้พรรณนา อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ ถ้าเขาตายผู้พรรณนาอาบัติปาราชิก ภิกษุเขียนหนังสือไว้ว่าผู้ใดตาย ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก
หลุมพราง
ภิกษุขุดหลุมพลางเจาะจงมนุษย์ไว้ว่าเขาจักตกตาย อาบัติทุกกฏ ผู้ใดตกแล้วได้รับ ทุกขเวทนาผู้ขุดอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาตายผู้ขุดอาบัติปาราชิก ถ้าผู้ขุดไม่ได้เจาะจงว่าผู้ใดจะตกตายอาบัติทุกกฏ คนตกไปในหลุมพลางนั้น ผู้ขุดอาบัติทุกกฏ เขาตกไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ผู้ขุดอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาตาย ผู้ขุดอาบัติปาราชิก ยักษ์ เปรต สัตว์ดิรัจฉาน แปลงเพศ เป็นมนุษย์ตกลงไปในหลุมพรางนั้น ผู้ขุดอาบัติทุกกฏ มันตกไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ผู้ขุดอาบัติทุกกฏ ถ้ามันตายผู้ขุดอาบัติถุลลัจจัย สัตว์ดิรัจฉานตกลงในหลุมพราง ตกไปแล้วได้รับทุกขเวทนา ผู้ขุดอาบัติทุกกฏทั้ง 2 กรณีถ้ามันตาย ผู้ขุดอาบัติปาจิตตีย์
วัตถุที่พิง
ภิกษุวางศัตราไว้ในที่สำหรับพิง ทายาพิษไว้ ทำให้ชำรุด วางไว้ริมบ่อ เหว หรือที่ชัน ด้วยหมายใจว่าคนจักตายด้วยวิธีนี้ อาบัติทุกกฏ ถ้าเขาได้รับทุกขเวทนาเพราะการกระทำนั้น ผู้ทำอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาตาย อาบัติปาราชิก
การลอบวาง
ภิกษุ วางศัตราไวัใกล้ ๆ ด้วยตั้งใจว่า บุคคลจักตายด้วยของสิ่งนี้ อาบัติทุกกฏ เขาคิดว่าจักตายด้วยของสิ่งนั้น แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด อาบัติถุลลัจจัย ถ้าเขาตายอาบัติปาราชิก
เภสัช
ภิกษุให้เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง หรือน้ำอ้อย ด้วยตั้งใจว่า เขาลิ้มเภสัชนี้แล้วจักตาย ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก
การนำรูปเข้าไป
ภิกษุนำรูปซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ น่ากลัว น่าหวาดเสียว เข้าไปด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักตกใจตาย อาบัติทุกกฏ เขาเห็นรูปแล้วตกใจ อาบัติถุลลัจจัย เขาตาย อาบัติปาราชิก ภิกษุนำรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ น่ารัก น่าจับเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เขาเห็นรูปนี้แล้วจักซูบผอมตายเพราะหาไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ เขาเห็นแล้วซูบผอมเพราะหาไม่ได้ อาบัติถุลลัจจัย เขาตาย อาบัติปาราชิก ภิกษุนำเรื่องซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก ภิกษุนำเสียงซึ่งเป็นที่ชอบใจ ภิกษุนำกลิ่นซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ภิกษุนำกลิ่นซึ่งเป็นที่ชูใจ ภิกษุนำรสซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ภิกษุนำรสซึ่งเป็นที่ชอบใจ ภิกษุนำโผฏฐัพพะซึ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ภิกษุนำโผฐฐัพพะซึ่งเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก
ภิกษุแสดงเรื่องนรกแก่คนผู้ควรเกิดในนรก ด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องนรกแล้ว จักตกใจตาย อาบัติทุกกฏ ฟังแล้วตกใจ อาบัติถุลลัจจัย ตายอาบัติปาราชิก
ภิกษุแสดงเรื่องสวรรค์แก่ผู้ทำความดีด้วยตั้งใจว่า เขาฟังเรื่องสวรรค์แล้วจักน้อมใจตาย อาบัติทุกกฏ เขาฟังแล้วคิดว่าจักน้อมใจตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิดอาบัติถุลลัจจัย เขาตาย อาบัติปาราชิก
กริยาที่บอก
ภิกษุถูกเขาถามแล้วบอกว่า จงตายอย่างนี้ ผู้ใดตายอย่างนี้ ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ยศ หรือไปสวรรค์ อาบัติทุกกฏ เขาคิดว่าเราจักตาย แล้วยังทุกขเวทนาให้เกิด อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ เขาตาย อาบัติปาราชิก ภิกษุอันเขาไม่ถาม แต่แนะนำว่าจงตายอย่างนี้ ฯลฯ อาบัติทุกกฏ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ อาบัติปาราชิก
การนัดหมาย
ภิกษุนัดหมายว่า จงฆ่าเขาเสียตามคำนัดหมายนั้น ในเวลาเช้าหรือเวลาเย็น ในเวลากลางคืนหรือกลางวัน อาบัติทุกกฏ เพราะการนัดหมายนั้น ผู้รับคำสั่งฆ่าเขาสำเร็จ อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ฆ่าเขาได้ก่อนหรือหลังคำนัดหมายนั้น ผู้สั่งเดิมไม่อาบัติ ผู้ฆ่าอาบัติทุกกฏ ภิกษุทำนิมิตว่า เมื่อขยิบตา ยักคิ้ว ผงกศรีษะ ให้ท่านฆ่าเขาตามนิมิตนั้น อาบัติทุกกฏ ผู้รับสั่งฆ่าเขาสำเร็จตามนิมิตนั้น อาบัติปาราชิกทั้ง 2 รูป ฆ่าเขาก่อนหรือหลังนิมิตนั้น ผู้สั่งเดิมไม่อาบัติ ผู้ฆ่าอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุไม่จงใจ ไม่รู้ ไม่ประสงค์จะให้ตาย วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่ายเพราะเวทนา อาทิกัมมิกะ เหล่านี้ไม่ต้องอาบัติ
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
รวม 99 เรื่อง
เรื่อง พรรณนา
ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พรรณนาคุณแห่งความตายแก่ภิกษุนั้น ด้วยความกรุณา ภิกษุนั้นมรณภาพแล้ว ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
เรื่อง นั่ง
สมัยนั้นภิกษุรูปหนึ่ง นั่งทับเด็กที่เขาเอาผ้าคลุมไว้บนตั่งตาย ฯลฯ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก อนึ่งพวกเธอไม่พิจารณาก่อนแล้ว อย่านั่งบนอาสนะ รูปใดนั่งต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง สาก
ภิกษุรูปหนึ่ง ได้หยิบสากอันหนึ่งในสากที่เขารวมกันไว้
สากอันที่สองได้ล้มฟาดลงที่ศีรษะเด็กคนหนึ่งตาย ฯลฯ
พ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้จงใจ
พ. ภิกษุไม่จงใจไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง ครก
สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งได้เหยียบขอนไม้ที่เขานำมาทำครก เซไปทับเด็กคนหนึ่งตาย ฯลฯ ภิกษุไม่จงใจไม่ต้องอาบัติ
เรื่อง พระผู้เฒ่า
1. บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ เมื่อเขาบอกภัตตากาลแล้วภิกษุผู้บุตร กล่าวกับผู้เป็นบิดาว่า พระสงฆ์กำลังคอยท่านอยู่แล้วดุนหลังผลักไป ผู้บิดาได้ล้มลงถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ
2. บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ ฯลฯ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิก
3. บิดาและบุตรบวชอยู่ในสำนักภิกษุ ฯลฯ ภิกษุผู้บุตรมีความประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ฯลฯ แต่ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง เนื้อติดคอ 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง ฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุรูปหนึ่งได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น เนื้อหลุดออกมาพร้อมโลหิต ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะทำให้ถึงมรณภาพ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ ได้ประหารที่คอ ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ เธอต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฉันอาหาร เนื้อติดคอ ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ถึงมรณภาพ
ได้ให้ประหารที่คอภิกษุนั้น ภิกษุนั้นไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ยาพิษ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งได้บิณฑบาตเจือยาพิษแล้วไปสู่โรงฉัน ได้ถวายบิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายให้ฉันก่อน ภิกษุเหล่านั้นถึงมรณภาพแล้ว ฯลฯ ภิกษุไม่รู้ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งประสงค์จะทดลองได้ให้ยาพิษแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่งฉัน ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง สร้างที่อยู่ 3 เรื่อง
1. พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีช่ายกันสร้างวิหารที่อยู่ ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างยกศิลาส่งขึ้นไป ภิกษุผู้อยู่ข้างบนรับไว้ไม่มั่น ศิลาจึงตกทับภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุชาวเมืองอาฬวี ฯลฯ ภิกษุผู้อยู่ข้างบน ประสงค์จะให้ตาย ได้ปล่อยศิลาลงถูกภิกษุอยู่ข้างล่าง ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. พวกภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ภิกษุอยู่ข้างบนประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ภิกษุอยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง อิฐ 3 เรื่อง
1. พวกภิกษุชาวอาฬวี ช่วยกันก่อฝาผนังวิหาร ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งอิฐขึ้นไป ภิกษุอยู่ข้างบนรับไม่มั่น ทำอิฐตกทับภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่จงใจไม่ต้องอาบัติ
2. พวกภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ภิกษุผู้อยู่ข้างบนประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ภิกษุผู้อยู่ข้างบนประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ภิกษุผู้อยู่ข้างล่างไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง มีด 3 เรื่อง
1. พวกภิกษุชาวอาฬวี ช่วยกันทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ข้างล่างส่งมีดขึ้นไป ฯลฯ มีดตกถูกภิกษุผู้อยู่ข้างล่างถถงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่จงใจไม่ต้องอาบัติ
2. พวกภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. พวกภิกษุ ชาวอาฬวี ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ไม้กลอน 3 เรื่อง
1. พวกภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่จงใจ ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. พวกภิกษุชาวอาฬวี ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ร่างร้าน 3 เรื่อง
1. พวกภิกษุชาวอาฬวี ผูกร่างร้านทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวกะอีกรูปหนึ่งว่า ท่านจงยืนผูกที่ตรงนี้ ภิกษุนั้นยืนผูก ณ ที่นั้น ได้พลัดตกลงมาถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกภิกษุ ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ พลัดตกถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. พวกภิกษุ ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ให้ลง 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง มุงวิหารเสร็จแล้วจะลง ภิกษุอีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านจงลงทางนี้ ภิกษุนั้นลงทางนั้นแล้วพลัดตกถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ มีความประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ไม่มรณภาพ ฯลฯต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ตก 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง ถูกความกระสันต์บีบคั้น จึงขึ้นเขาคิชฌกูฏแล้วโจนลง
ที่เขาขาด ทับช่างสามคนหนึ่งตาย ฯลฯ ภ. เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แล้วตรัสว่า อันภิกษุไม่ควรยังตนให้ตก รูปใดให้ตก ต้องอาบัติทุกกฏ
2. พวกฉฉพพัคคีย์ขึ้นเขาคิชฌกูฏ แล้วพากันกลิ้งศิลา ศิลานั้นตกทับคนเลี้ยงโคคนหนึ่งตาย ฯลฯ ภ.พวกเธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก แต่ภิกษุไม่ควรกลิ้งศิลาเล่น รูปใดกลิ้งต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง นึ่งตัว 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงให้ภิกษุรูปนั้นนึ่งตัว ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ ภิกษุไม่มีความประสงค์จะให้ตาย ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง อาพาธ ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ พวกเธอต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ อาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง นัยถ์ยา 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งปวดศีรษะ ภิกษุทั้งหลายได้นัยถ์ยาให้แก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง นวด 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายจึงนวดฟั้นภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ถึงมรณภาพ ฯลฯ อาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ให้อาบน้ำ 3 เรื่อง
ใจความทำนองเดียวกับเรื่องนวด ให้ทาน้ำมัน ให้ลุกขึ้น ให้ล้มลง ให้ตายด้วยข้าว ให้ตายด้วยน้ำมัน อย่างละ 3 เรื่อง
เรื่อง หญิงมีครรภ์กับชู้
สตรีคนหนึ่งมีครรภ์กับชายชู้ นางได้บอกเรื่องนี้แก่ภิกษุกุลุปกะว่า ขอท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้นรับคำ แล้วให้เภสัชนั้นแก่หญิงนั้นทารกตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง หญิงร่วมสามี 2 เรื่อง
1. บุรุษคนหนึ่งมีภรรยา 2 คน ๆ หนึ่งเป็นหมัน อีกคนหนึ่งมีปกติคลอด หญิงหมันได้เล่าเรื่องนี้แก่ภิกษุกุลุปกะว่า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตกแก่นาง ภิกษุนั้นรับคำแล้วให้เภสัชนั้นแก่หญิงนั้น ทารกตาย แต่มารดาไม่ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. บุรุษคนหนึ่ง ฯลฯ มารดาตายแต่ทารกไม่ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ฆ่าสองมารดาบุตรตาย
บุรุษคนหนึ่ง ฯลฯ มารดาและบุตรตายทั้งสองคน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ฆ่ามารดาบุตรไม่ตาย
บุรุษคนหนึ่ง ฯลฯ มารดาและบุตรไม่ตายทั้งสองคน ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ให้รัด
หญิงมีครรภ์คนหนึ่ง ได้บอกแก่ภิกษุกุลุปกะว่า ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ครรภ์ตก ภิกษุนั้น บอกว่า ท่านจงรัด นางจึงรัดให้ครรภ์ตกไป ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ให้ร้อน
ใจความทำนองเดียวกับเรื่องให้รัด
เรื่อง หญิงหมัน
หญิงหมันคนหนึ่ง ฯลฯ ท่านจงรู้เภสัชที่ทำให้ดิฉันคลอดบุตร ฯลฯ นางถึงแก่กรรม ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง หญิงมีปกติคลอด
หญิงมีปกติคลอดบุตรถี่คนหนึ่ง ฯลฯ ท่านจงรู้เภสัชที่ทำไม่ให้ดิฉันคลอดบุตร ฯลฯ นางถึงแก่กรรม ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง จี้
พระฉัพพัคคีย์ ยังภิกษุรูปหนึ่งให้หัวเราะ เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ ภิกษุนั้นเหนื่อย หายใจออกไม่ทัน ถึงมรรภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่อง ทับ
พวกภิกษุ ฯลฯ ช่วยกันทับภิกษุรูปหนึ่งฯลฯ ด้วยตั้งใจว่าจักลงโทษให้ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่อง ฆ่ายักษ์
ภิกษุหมอผีรูปหนึ่ง ปลงชีวิตยักษ์ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ส่งไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ 9 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ พวกยักษ์ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ พวกยักษ์ไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
4. ภิกษุรูปหนึ่ง สั่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่มีสัตว์ร้าย ๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
5. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ สัตว์ร้ายได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
6. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ สัตว์ร้ายไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
7. ภิกษุรูปหนึ่ง ส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่ทางกันดารที่ โจร ๆ ได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
8. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ โจรได้ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
9. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ โจรไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง สำคัญแน่ 4 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญว่าภิกษุผู้มีเวรแก่คนแน่ จึงฆ่าภิกษุนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ แต่ปลงชีวิตภิกษุอื่น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ แต่ปลงชีวิตภิกษุผู้มีเวรแก่ตน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
4. ภิกษุรูปหนึ่ง สำคัญว่าภิกษุอื่นแน่ จึงปลงชีวิตภิกษุอื่น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ประหาร 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งถูกผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งให้ประหารภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่งผีเข้า ภิกษุอีกรูปหนึ่งประสงค์จะให้ตาย จึงให้ประหารภิกษุนั้น ๆ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ผีเข้า ฯลฯ ภิกษุนั้นถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง พรรณาสวรรค์ 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งพรรณาเรื่องสวรรค์แก่คนผู้ทำความดี คนนั้นดีใจตาย ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ คนนั้นดีใจตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ คนนั้นดีใจแต่ไม่ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง พรรณนานรก 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งพรรณนานรกแก่ผู้ควรเกิดในนรก คนนั้นตกใจตาย ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ คนนั้นตกใจตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ คนนั้นตกใจตายแต่ไม่ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่อง ตัดต้นไม้ที่เมืองอาฬวี 3 เรื่อง
1. พวกภิกษุชาวอาฬวี จะตัดต้นไม้ทำนวกรรม ภิกษุรูปหนึ่งพูดกับอีกรูปหนึ่ง ให้ยืนตัดฟัน ณ ที่แห่งหนึ่ง ต้นไม้ล้มทับภิกษุผู้ยืนตัด ณ ที่นั้นถึงมรรภาพ ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกภิกษุ ฯลฯ มีความประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. พวกภิกษุ ฯลฯ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ ไม่ถึงมรณภาพ ฯลฯ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องเผาป่า 3 เรื่อง
1. พระฉัพพัคคีย์เผาป่า คนทั้งหลายถูกไฟไหม้ตาย ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติ
2. พวกฉัพพัคคีย์ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ คนทั้งหลายถูกไฟไหม้ตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. พระฉัพพัคคีย์ ประสงค์จะให้ตาย ฯลฯ คนทั้งหลายถูกไฟลวกแต่ไม่ตาย ฯลฯ
ต้องอาบัตถุลลัจจัย
เรื่อง อย่าให้ลำบาก
ภิกษุรูปหนึ่งไปสู่ตะแลงแกง ได้พูดกับเพชฌฆาตว่า อย่าให้นักโทษคนนี้ลำบากเลย จงฆ่าด้วยการ
ฟันทีเดียวตายเถิด เพชฌฆาตรับคำ แล้วฆ่าด้วยการฟันทีเดียวตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ไม่ทำตามคำขอของท่าน
ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ เพชฌฆาตพูดว่า จักไม่ทำตามคำขอของท่าน แล้วฆ่านักโทษนั้น ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่อง ให้ดื่มเปรียง
บุรุษคนหนึ่งมือและเท้าด้วน หมู่ญาติเลี้ยง ดูไว้ภิกษุรูปหนึ่งได้พูดกับคนพวกนั้นว่า ท่านทั้งหลายอยากให้บุรุษนี้ตายหรือไม่
ญ. อยากให้ตาย
ภิ. จงให้เขาดื่มเปรียง คนพวกนั้นให้เขาดื่มเปรียง คนนั้นตาย ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่อง ให้ดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ
บุรุษคนหนึ่ง ฯลฯ ภิกษุณีรูปหนึ่งพูดกับคนพวกนั้นว่า ฯลฯ
ภิ. จงให้เขาดื่มยาดองโลณะโสจิรกะ คนพวกนั้นให้เขาดื่มยาดองดังกล่าว บุรุษนั้นตาย ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว
จบ ตติยปาราชิกสิกขาบท


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


จตุตถปาราชิกสิกขาบท
เรื่อง ภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปซึ่งเคยเห็นร่วมคบกันมา จำพรรษาอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา สมัยนั้น วัชชีชนบท อัตคัตอาหาร ประชาชนหาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีข้าวตายฝอย ต้องมีสลากซื้ออาหาร ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทำไม่ได้ง่าย ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า บัดนี้ วัชชีชนบทอัตคัตอาหาร ฯลฯ พวกเราพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และจะไม่ต้องลำบากด้วยบิณฑบาตรด้วยอุบายอย่างไร ภิกษุบางพวกพูดว่า พวกเราจงช่วยกันอำนวยกิจการ อันเป็นหน้าที่ของพวกคฤหัสถ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตรแก่พวกเรา พวกเราจักเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ฯลฯ ภิกษุบางพวกพูดว่า ไม่ควร พวกเราจงช่วยกันนำข่าวสาส์น อันเป็นหน้าที่ทูตของพวกคฤหัสถ์ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตรแก่พวกเรา ฯลฯ ภิกษุบางพวกพูดว่า พวกเราจักกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์ว่า ภิกษุรูปโน้นได้ปฐมฌาน ได้ทุติยฌาน ได้ตติยฌานจตุตถฌาน รูปโน้นเป็นโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ รูปโน้นได้วิชชา 3 ได้อภิญญา 6 เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจักมุ่งถวายบิณฑบาตแก่พวกเรา ฯลฯ
พวกภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า การที่พากันกล่าวชมอุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน
แก่ พวกคฤหัสถ์นี้ประเสริฐที่สุด แล้วพากันกล่าวชมซึ่งกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์ว่า ฯลฯ ครั้นต่อมาประชาชน เหล่านั้นพากันยินดีว่า เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่มีภิกษุทั้งหลายผู้มีคุณพิเศษ อยู่จำพรรษา เพราะแต่ก่อน ภิกษุทั้งหลายของพวกเรา จะมีคุณสมบัติเหมือนภิกษุผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเหล่านี้ไม่มีเลย โภชนะของเคี้ยว ของลิ้ม น้ำดื่มชนิดที่พวกเขาจะถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น พวกเขาไม่บริโภค ไม่ให้มารดา บิดา บุตร ภรรยา ฯลฯ ภิกษุเหล่านั้นจึงมีน้ำนวล อินทรีย์ผ่องใส สีหน้าสดชื่น ผิวพรรณผุดผ่อง
เป็นประเพณีที่ภิกษุทั้งหลาย ออกพรรษาแล้ว เข้าเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาค ครั้นภิกษุเหล่านั้นจำพรรษา โดยล่วงไตรมาสแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรจีวร หลีกไปโดยมรรคาสู่เวสาลี เที่ยวจาริกโดยลำดับ ถึงเวสาลี ป่ามหาวัน กูฏาคารศาลา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ภิกษุต่างทิศมาเฝ้า
สมัยนั้น พวกภิกษุ ผู้จำพรรษาอยู่ในทิศทั้งหลาย เป็นผู้ซูบผอม ซูบซีด ผิวพรรณหมอง เหลืองขึ้นๆ เนื้อตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ส่วนภิกษุพวกฝั่งแม่น้ำวัดคุมุทา เป็นผู้มีน้ำนวล อินทรีย์ผ่องใส สีหน้าสดชื่น ผิวพรรณผุดผ่อง
การที่พระผู้มีพระภาคทั้งหลาย ทรงปราศรัยกับพระอาคันตุกะทั้งหลาย เป็นพุทธประเพณี ครั้งนั้น ทรงตรัสถามภิกษุพวกฝั่งวัคคุมุทาว่า ร่างกายของพวกเธอพอทนได้หรือ ยังพอให้เป็นไปได้หรือ เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก และไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่ายังพอทนได้ ยังพอให้เป็นไปได้ เป็นผู้พร้อมเพรียงกันร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน อยู่จำพรรษาเป็นผาสุก ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต
พุทธประเพณี
พระตถาดตทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ฯลฯ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถาม ภิกษุ พวกฝั่งวัคคุมุทาว่าพวกเธอเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ฯลฯ ด้วยวิธีอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความ
นั้นให้ทรงทราบ ภ. คุณวิเศษของพวกเธอนั่น มีจริงหรือ ภิ. ไม่มีจริง พระพุทธเจ้าข้า
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคทรงติเตียนว่า ดูกร โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอ นั่นไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้องเล่า อันท้องพวกเธอคว้านด้วยมีดเชือดโคอันคมยังดีกว่า ที่พวกเธอกล่าวชม อุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้อง ไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะคนผู้คว้านท้อง พึงถึงความตาย หรือความทุกข์ เพียงแค่ตายซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้กล่าวชมอุตตริมนุสสธรรม ฯลฯ เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึง อบาย วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัย การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ฯลฯ ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้
มหาโจร 5 จำพวก
มหาโจร 5 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก
1. มหาโจรบางคนในโลกนี้ย่อมปรารถนาว่า เราจักเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่ง แวดล้อมแล้วท่องเที่ยวไปในคามนิคม และราชธานี เบียดเบียนกันเอง ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผาผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ สมัยต่อมาเขาเป็นผู้อันบุรุษร้อยหนึ่ง ฯลฯ ฉันใด ภิกษุผู้เลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมปรารถนาว่า เราจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เที่ยวจาริกไปในควมนิคมราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะเคารพนับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร สมัยต่อมา เธออันภิกษุร้อยหนึ่ง ฯลฯ นี้เป็นมหาโจร จำพวกที่ 1 มีปรากฏอยู่ในโลก
2. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนธรรมวินัยอันตถาดตประกาศแล้ว
ย่อมยกตนขึ้น นี้เป็นมหาโจรจำพวกที่ 2 มีปรากฏอยู่ในโลก
3. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามกำจัดเพื่อนพรหมจารี ผู้หมดจด
ผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์อยู่ ด้วยธรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์อันหามูลมิได้ นี้เป็นมหาโจร จำพวกที่ 3 มีปรากฏอยู่ในโลก
4. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเลวทรามบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมสงเคราะห์เกลี้ยกล่อมคฤหัสถ์ทั้งหลาย
ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารของสงฆ์ คืออาราม พื้นที่อาราม วิหาร พื้นที่วิหาร เตียง ตั่ง ฯลฯ นี้เป็นมหาโจรที่ 4 มีปรากฏอยู่ในโลก
5. ภิกษุผู้กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง จัดเป็นยอดมหาโจรในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ข้อนั้นเพราะภิกษุนั้นฉันก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ด้วยอาการแห่งคนขโมย
นิคมคาถา
ภิกษุใดประกาศตนอันมีอยู่โดยอาการอื่น ด้วยอาการอย่างอื่น โภชนะนั้น อันภิกษุนั้นฉันแล้วด้วยอาการแห่งคนขโมย ดุจพรานนกลวงจับนก ฉะนั้น ภิกษุผู้เลวทรามเป็นอันมาก มีผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมทราม ไม่สำรวมแล้ว ภิกษุผู้เลวทรามเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงซึ่งนรก เพราะกรรมทั้งหลายซึ่งเลวทราม ภิกษุผุ้ทุศีล ผู้ไม่สำรวมแล้ว บริโภคก้อนเหล็กแดงดังเปลวไฟประเสริฐกว่า การฉันก้อนข้าวของชาววัฏฐะจะประเสริฐอะไร
ทรงบัญญัติปฐมบัญญัติ
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียน ภิกษุพวกฝั่งวัคคุมุทาโดยเอนกปริยาย แล้วตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ฯลฯ แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า เพราะเหตุนี้ เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ 10 ประการคือ ฯลฯ พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงว่าดังนี้

พระปฐมบัญญัติ 4
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ
กล่าวอวดอุตตริมมนุสสธรรมอันเป็นความรู้
ความเห็น อย่างประเสริญ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า
อัน ผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาก็ตาม ไม่ถือเอาก็ตาม เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่าน ข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้นได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิกหาสังวาสไม่ได้
สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้
เรื่องภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุ
สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมาก สำคัญมรรคผลอันตนยังมิได้เห็นว่าเห็น ยังไม่ได้ถึงว่าถึง ยังไม่ได้บรรลุว่าบรรลุ ยังไม่ได้ทำให้แจ้งว่าได้ทำให้แจ้ง จึงอวดอ้างมรรคผลตามที่สำคัญว่าได้บรรลุ ครั้นต่อมา จิตของเธอน้อมไป เพื่อความกำหนัดก็มี เพื่อความขัดเคืองก็มี เพื่อความหลงก็มี จึงรังเกียจว่า ฯลฯ พวกเราต้องอาบัติปาราชิกแล้วกระมังหนอ แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่พระอานนท์ ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ๆ ตรัสว่า มีอยู่เหมือนกัน ข้อที่ภิกษุทั้งหลายสำคัญมรรคผลที่ตนยังไม่ได้ว่าได้ แต่ข้อนั้นเป็นอัพโพหาริก ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงกระทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุ เป็นเค้ามูลนั้น เหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งว่า พวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระอนุบัญญัติ 4
อนึ่ง ภิกษุใด ไม่รู้เฉพาะ กล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม
อันเป็นความรู้ ความเห็น อย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้ามาในตนว่า
ตนรู้อย่างนี้เห็นอย่างนี้ สมัยอื่นแต่นั้น อันผู้ใดผู้หนึ่ง ถือเอาก็ตาม ไม่ถือเอาก็ตาม
เป็นอันต้องอาบัติแล้ว มุ่งความหมดจด จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะท่านข้าพเจ้าไม่รู้อย่างนั้น
ได้กล่าวว่ารู้ ไม่เห็นอย่างนั้น ได้กล่าวว่าเห็น ได้พูดพล่อย ๆ เป็นเท็จเปล่า ๆ
เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ แม้ภิกษุนี้ก็เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้

สิกขาบทวิภังค์
บทว่าอุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ มรรคภาวนา การทำให้แจ้ง ซึ่งผล การละกิเลส ความเปิดจิต ความยินดีในเรือนอันว่างเปล่า
บทว่าความรู้ ได้แก่วิชชาสาม
บทว่ากล่าวอวด คือบอกแก่ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือ บรรพชิต ฯลฯ
บทว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ คือยกเสียแต่เข้าใจว่าตนได้บรรลุ
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรมได้แก่ฌาณ ฯลฯ 10 ความยินดีในเรือนร่าง
ที่ชื่อว่าฌาณ ได้แก่ ปฐมฌาณ ตติยฌาณ จตุตถฌาณ
ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อัปปณีหิตวิโมกข์
ที่ชื่อว่าสมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตสมาธิ อัปปณิตสมาธิ
ที่ชื่อว่าสมาบัติ ได้แก่ สูญญตสมาบัติ อนิมิตสมาบัติ อัปปณิตสมาบัติ
ที่ชื่อว่าญาณ ได้แก่ วิชชาสาม
ที่ชื่อว่ามรรคภาวนาได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8
ที่ชื่อว่าการทำให้แจ้งซึ่งผล ได้แก่การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล
ที่ชื่อว่าการละกิเลส ได้แก่ การละราคะ โทสะ โมหะ
ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ความเปิดจิตจาก ราคะ โทสะ โมหะ
ที่ชื่อว่าความยินดีในเรือนร่าง ได้แก่ความยินดีในเรือนร่างด้วยปฐมฌาณ ด้วยทุติยฌาณ ด้วยตติยฌาณ ด้วยจตุตฌาน
สุทธิกะ ฌาน
ปฐมฌาน
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ 3 อย่างคือ 1 เบื้องต้นรู้ว่าจักกล่าวเท็จ 2 กำลังกล่าวก็รู้ว่ากล่าวเท็จ 3 กล่าวแล้วก็รู้ว่ากล่าวเท็จ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ 4 อย่างคือ ฯลฯ 4 อำพรางความเห็น ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จ ตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ 5 อย่างคือ ฯลฯ 5 อำพรางความถูกใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จ ตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ 6 อย่างคือ ฯลฯ 6 อำพรางความชอบใจ ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานแล้วด้วยอาการ 7 อย่าง ฯลฯ 7 อำพรางความจริง ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานอยู่ ตนเป็นผู้เข้าปฐมฌานได้แล้ว ตนเป็นผู้ได้ปฐมฌาน ตนเป็นผู้ชำนาญปฐมฌาน ตนทำปฐมฌานให้แจ้งแล้ว สาระสำคัญทำนองเดียวกับที่กล่าวแล้วข้างต้น
ทุติยฌาน
ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
ตติยฌาน
ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
จตุตถฌาน
ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน
สุทธิกะ วิโมกข์
สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
สุทธิกะ สมาธิิ
สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อปปณิหิตสมาธิใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
สุทธิกะ สมาบัติ
สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหติสมาบัติิ ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
สุทธิกะ ญาณทัสสนะ
วิชชา 3 ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
สุทธิกะ มรรคภาวนา
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน
สุทธิกะ อริยผล
โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล ใจความทำนองเดียวกับปฐมฌาน
สุทธิกะ การละกิเลส
สละราคะ สละโทสะ สละโมหะ ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน สละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอน แล้ว
สุทธิกะ ความเปิดจิต
เปิดจากราคะ เปิดจากโทสะ เปิดจากโมหะ ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมฌาน สละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอน แล้ว
ขัณฑจักร
ปฐมณาน ทุติยณาน ตติยฌาน จตุตถฌาน สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิตสมาบัติ วิชชา 3 สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปฐาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล สละราคะ สละโมหะ สละโทสะ เปิดจากราคะ เปิดจากโทสะ เปิดจากโมหะ ใจความทำนองเดียวกันกับปฐมณาน สละ คาย พ้น ละ สลัด เพิก ถอน แล้ว
ฯลฯ
พัทธจักร
1. ทุติยณาน และตติยณาน , จตุตถณาน สุญญติโมกข์ ฯลฯ เปิดจากโมหะ
ทุติยณาน และราคะ โทสะ โมหะ สละ คาย ปล่อย ละ เพิก สลัด ถอน แล้ว
ฯลฯ
พัทธจักร เอกมุลกนัย ท่านตั้งอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่ง ๆ เป็นมูลแล้วเวียนไป โดยวิธี ท่านย่อไว้
พัทธจักร เอกมูลกนัย
1. ภิกษุรู้ อยู่กล่าวเท็จว่าจิตของเปิดจากโมหะ และตนเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมณานด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7, อย่าง ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ ซึ่งทุติยณาน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ ซึ่งตติยณาน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
ฯลฯ
28. ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ และราคะตนสละแล้ว คายแล้ว ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
29. ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ และจิตของตนเปิดจากราคะ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
30. ภิกษุผู้รู้อยู่ ฯลฯ และจิตของตนเปิดจากโทสะ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
พัทธจักร ทุมูลกนัย มีอุตตริมนุสสธรรม 2 ข้อ เป็นมูล ฯลฯ ทสมูลกนัย มีอุตตริมนุสสธรรม 10 ข้อเป็นมูล บัณฑิตพึงให้พิสดารเหมือนพัทธจักร เอกมูลกนัย
พัทธจักร สัพพมูลกนัย
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ตนเข้าแล้ว เข้าอยู่ เป็นผู้ได้เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมณาน ฯลฯ อรหัตตผล ราคะตนสละแล้ว ฯลฯ โทสะ โมหะ ตนสละแล้ว ฯลฯ จิตของตนเปิดจากราคะ โทสะ โมหะด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7, อย่าง ต้องอาบัติปาราชิก
ขัณฑจักร แห่งนิกเขปบท วัตถุนิสสารกะ
1. ภิกษุผู้รู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ตนเข้าปฐมณานแล้วแต่กล่าวเท็จว่า ตนเข้าทุติยยณานแล้วด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7, อย่าง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
30. ภิกษุรู้อยู่ ฯลฯ แต่กล่าวเท็จว่าจิตของตนเปิดจากโมหะ เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
พัทธจักร เอกมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ มีอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล
ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่าตนเข้าทุติยณานแล้ว แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าตติยณานด้วยอาการ 3, 4, 5, 6, 7, อย่าง เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
30. ภิกษุรู้อยู่.....แต่กล่าวเท็จว่า ตนเข้าปฐมณานแล้ว.....เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
มูลแห่งพัทธจักรที่ท่านย่อไว้
1. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า จิตของตนเปิดจากโมหะ แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมณานแล้ว ฯลฯ เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
ฯลฯ
ขัณฑจักรทุมุลกนัย แห่งวัติถุนิสสารกะ มีอุตตริมนุสสธรรม 2 ข้อเป็นมูล
1. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่าตนเข้าปฐมณานและทุติยณานแล้ว แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมณานและตติยณานแล้ว ฯลฯ
29. ภิกษุรู้อยู่....แต่กล่าวเท็จว่า ตนเข้าปฐมฌานและจิตของตนเปิดจากโมหะ ฯลฯ
ฯลฯ
พัทธจักร ทุมุลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ มีอุตตริมนุสสธรรม 2 ข้อเป็นมูล
1. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่า ตนเข้าทุติยฌานแล้ว แต่กล่าวเท็จว่า ตนเข้าจตุตถฌานแล้ว ฯลฯ
ฯลฯ
29. ภิกษุรู้อยู่....แต่กล่าวเท็จว่า ตนเข้าปฐมฌานแล้ว ฯลฯ
พัทธจักร ทุมูลกนัย แห่งวัตถุนิสสารกะ ที่ท่านย่อไว้
1. ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าว จิตของตนเปิดจากโทสะ และโมหะ แต่กล่าวเท็จว่าตนเข้าปฐมฌานแล้ว ฯลฯ
ฯลฯ
29. ภิกษุรู้อยู่ .... แต่กล่าวเท็จว่า จิตของตนเปิดจากราคะ ฯลฯ
พัทธจักรแห่งวัตถุนิสสารกะมีอุตตริมนุสสธรรม 3 ข้อเป็นมูล 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 ข้อ เป็นมูลก็ดี บัณฑิตพึงทำให้พิศดารเหมือนพัทธจักร มีอุตตริมนุสสธรรมข้อหนึ่ง ๆ เป็นมูล แห่งนิกเขปบททั้งหลายที่กล่าวไว้แล้ว ฉะนั้น พึงให้พิศดารเหมือนพัทธจักร มีอุตริมนุสสธรรมข้อหนึ่งเป็นมูล ที่ท่านให้พิศดารแล้วนั้นเถิด
พัทธจักร สัพพมุลกนัย มีอุตริมนุสสธรรมทุกข้อเป็นมูล
ภิกษุรู้อยู่ ประสงค์จะกล่าวว่าตน เข้าปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติถุลลัจจัย
ปัจจัย ปฏิสังยุต วารกถา เปยยาล 15 หมวด
ปัจจัตตวจนวาร 5 หมวด
1. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ใน วิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว เข้าอยู่ เข้าได้แล้ว เป็นผู้ได้ เป็นผู้ชำนาญ ทำให้แจ้งซึ่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว ฯลฯ ซึ่งทุติยฌาน ตติยฌาน ฯลฯ อรหัตตผล ฯลฯ เมื่อคนอื่นเข้าใจ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อเขาไม่เข้าใจต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ราคะภิกษุนั้นสละแล้ว ฯลฯ ภิกษุรู้ใดอยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน จิตของภิกษุนั้นเปิดจากราคะ ฯลฯ ภิกษุรู้ใดอยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดอยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเข้าแล้ว ฯลฯ ซึ่งปฐมฌานในเรือนร่าง ฯลฯ
2.-5. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ภิกษุใดนุ่งห่มจีวรของท่าน บริโภคบิณฑบาตรของท่าน ใช้สอยเสนาสนะของท่าน บริโภคเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน ใจความทำนองเดียวกันกับ ข้อ 1
กรณาวจวาร 5 หมวด
1.-4. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า วิหารของท่าน จีวรของท่าน บิณฑบาตรของท่าน เสนาสนะของท่านอันภิกษุใดอาศัยแล้ว ใจความทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้ว
5. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้ของท่าน อันภิกษุใดบริโภคแล้ว ใจความทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้ว
อุปโยควจนวาร 5 หมวด
&nbbp; 1.-5. ภิกษุรู้อยู่ กล่าวเท็จว่า ท่านอาศัยภิกษุใด ได้ถวายวิหารแล้ว ได้ถวายจีวรแล้ว ได้ถวายบิณฑบาตรแล้ว ได้ถวายเสนาสนะแล้ว ได้ถวายเครื่องยาอันเป็นปัจจัยของภิกษุไข้แล้ว ใจความทำนองเดียวกันกับที่กล่าวแล้ว
อนาปัติวาร
ภิกษุสำคัญว่าได้บรรลุไม่ประสงค์กล่าวอวด วิกลจริต มีจิตฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย เพราะเวทนา ภิกษุอาทิกัมมิกะ ไม่ต้องอาบัติ
วินีตวัตถุ
อุทานคาถา
รวม 77 เรื่อง
เรื่องสำคัญว่าได้บรรลุ
ภิกษุรูปหนึ่ง อวดอ้างคุณวิเศษด้วยสำคัญว่าได้บรรลุแล้ว ฯลฯ ไม่ต้องอาบัติเพราะสำคัญว่าได้บรรลุ
เรื่องอยู่ป่า
ภิกษุรูปหนึ่ง อยู่ป่า ด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว ฯลฯ อันภิกษุไม่พึงอยู่ป่าด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดอยู่ด้วยตั้งใจเช่นนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องเที่ยวบิณฑบาตร
ภิกษุรูปหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาต ด้วยตั้งใจว่าคนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว ฯลฯ อันภิกษุไม่ควรเที่ยวบิณฑบาตด้วยตั้งใจเช่นนั้น ภิกษุใดทำต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องอุปัชฌายะ 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า พวกภิกษุสิทธิวิหารริกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นพระอรหันต์ ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
2. ภิกษุรูปหนึ่งกล่าวกะภิกษุอีกรูปหนึ่งว่า พวกภิกษุอันเตวาสิกของพระอุปัชฌายะของพวกเรา ล้วนเป็นผู้มีฤิทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้า ประสงค์จะพูดอวด ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องอิริยาบท 4 เรื่อง
1. - 4. ภิกษุรูปหนึ่ง เดินจงกรมอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ด้วยตั้งใจว่า คนจักยกย่องเราด้วยวิธีนี้ คนยกย่องภิกษุนั้นแล้ว เธอรังเกียจว่า ฯลฯ อันภิกษุไม่พึงเดินจงกรมด้วยตั้งใจเช่นนั้น ถ้าทำต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องละสัญโญชน์
ภิกษุรูปหนึ่ง พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม แก่อีกรูปหนึ่ง แม้ภิกษุนั้นก็กล่าวอวดตนว่า ตนก็ละสัญโญชน์ได้ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องธรรมในที่ลับ
ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตริมนุสสธรรม ภิกษุผู้รู้จิตของบุคคลอื่น ตักเตือนว่าอย่าได้พูดเช่นนั้น เพราะธรรมเช่นนั้นไม่มีแก่ตัวผู้พูด ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในที่ลับ พูดอวดอุตริมนุสสธรรม เทวดาตักเตือนว่าอยู่ได้พูดเช่นนั้น เพราะธรรมนั้นไม่มีแก่ตัวผู้พูด ฯลฯ ต้องอาบัติทุกกฏ
เรื่องวิหาร
ภิกษุรูปหนึ่งพูดกับอุบาสกคนหนึ่งว่า ภิกษุผู้อยู่ในวิหารของท่านนั้นเป็นพระอรหันต์ และภิกษุนั้นก็อยู่ในวิหารของอุบาสกนั้น ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องบำรุง
ภิกษุรูปหนึ่ง พูดอุบาสกผู้หนึ่งว่า ภิกษุที่ท่านบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และศิลามปัจจัยเภสัชบริขารนั้น เป็นพระอรหันต์ และอุบาสกนั้นก็บำรุงภิกษุนั้นด้วยจีวร ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภ. ข้าพระพุทธเจ้ามีความประสงค์จะพูดอวด ภ. ต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องทำไม่ยาก
ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายพากันถามภิกษุนั้นว่า อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า การทำพระอรหันต์ให้แจ้งไม่ใช้ของทำได้ยาก ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ประสงค์จะพูดอวด
ภ. ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องความเพียร
ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายพากันถามภิกษุนั้นว่า อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า อันท่านผู้ปรารภความเพียรแล้ว พึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวดไม่ต้องอาบัติ
เรื่องไม่กลัวความตาย
ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายได้พูดกับภิกษุนั้นว่า ท่านอย่าได้กลัวเลย ภิกษุนั้นตอบว่า ตนไม่กลัวความตาย ฯลฯ ภิกษุไม่ประสงค์จะพูดอวดไม่ต้องอาบัติ
เรื่องความเสียหาย
ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุทั้งหลายได้พูดกับภิกษุนั้นว่าท่านอย่าได้กลัวเลย ภิกษุนั้นตอบว่า สำหรับท่านผู้มีความกินแหนงแคลงใจต้องกลัวแน่ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องประกอบชอบ
ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า อันท่านผู้ประกอบโดยชอบพึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องปรารภความเพียร
ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ อุตตริมนุสสธรรมของคุณมีหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า อันท่านผู้ประกอบโดยชอบ พึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องประกอบความเพียร
ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ อุตตริมนุสสธรรมคุณมีหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า ท่านผู้มีความเพียรอันปรารภ
แล้วพึงยังธรรมให้สัมฤทธิ์ผลได้ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะอวด ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องประกอบความเพียร
ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ อุตตริมนุสสธรรมคุณมีหรือ ภิกษุนั้นตอบว่า ท่านผู้มีความเพียรอันประกอบแล้ว ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะอวด ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องอดกลั้นเวทนา 2 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ คุณยังพอทนต่อทุกขเวทนาได้หรือ ยังพอประทังชีวิตได้หรือ ภิกษุนั้นตอบว่า อันคนพอดีพอร้ายไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ฯลฯ ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะพูดอวด ไม่ต้องอาบัติ
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ท่านยังพออดทนต่อทุกขเวทนา ฯลฯ ภิกษุนั้นตอบว่า อันปุถุชนไม่สามารถจะอดกลั้นได้ ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะพูดอวด ภ. เธอต้องอาบัติถุลลัจจัย
เรื่องพราหมณ์ 5 เรื่อง
1. พราหมณ์ผู้หนึ่ง นิมนต์ภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่านิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลายจงมาเถิด ภิกษุเหล่านั้นรังเกียจว่า พวกเรามิได้เป็นพระอรหันต์ พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไร แล้วกราบทูล ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
2. - 5. พราหมณ์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า นิมนต์พระอรหันต์ทั้งหลายนั่งเถิด จงบริโภคเถิด จงฉันให้อิ่มเถิด กลับไปเถิด เธอเหล่านั้นรังเกียจว่า ฯลฯ ไม่เป็นอาบัติ เพราะเขากล่าวด้วยความเลื่อมใส
เรื่องพยากรณ์มรรคผล 3 เรื่อง
1. ภิกษุรูปหนึ่งอวดอุตตริมนุสสธรรมกับอีกรูปหนึ่งว่า ตนละอาสวะได้ แล้วรังเกียจว่า ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
2. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นย่อมมีแม้แก่ตน ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
3. ภิกษุรูปหนึ่ง ฯลฯ แม้ตนก็ปรากฏในธรรมเหล่านั้น ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องครองเรือน
สมัยนั้น พวกญาติได้กล่าวกับภิกษุรูปหนึ่งว่า ให้มาอยู่ครองเรือน ภิกษุรูปนั้นตอบว่า คนอย่างตนไม่ควรแท้ที่จะอยู่ครองเรือน ฯลฯ
ภ. เธอคิดอย่างไร ภิ. ข้าพระพุทธเจ้าไม่ได้ประสงค์จะพูดอวด ภ.ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องห้ามกาม
สมัยนั้น พวกญาติได้กล่าวกับภิกษุรูปหนึ่งให้บริโภคกาม ภิกษุรูปนั้นตอบว่า กามทั้งหลายเราห้ามแล้ว ฯลฯ ภิกษุไม่ได้ประสงค์จะพูดอวด ภ.ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องยินดี
สมัยนั้น พวกญาติได้กล่าวกับภิกษุรูปหนึ่งว่ายังยินดียิ่งอยู่หรือ ภิกษุนั้นตอบว่า เรายังยินดีอยู่ด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ฯลฯ ภิกษุไม่ได้ประสงค์จะพูดอวดไม่ต้องอาบัติ
เรื่องหลีกไป
สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมาก จำพรรษาอยู่ในอาวาสแห่งหนึ่งตั้งกติกาไว้ว่า ภิกษุใดหลีกไปจากอาวาสนี้ก่อน พวกเราจักเข้าใจภิกษุนั้นเป็นอรหันต์ ภิกษุรูปหนึ่งหลีกไปจากอาวาสนั้นก่อน ด้วยตั้งใจว่า ภิกษุทั้งหลาย จงเข้าใจเราว่าเป็นอรหันต์ ฯลฯ ต้องอาบัติปาราชิก
เรื่องอัฏฐิสังขลิกเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีประภาค ประทับอยู่ ณ เวฬุวันวิหาร เขตนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระลักขณากับพระมหาโมคคัลลานะ อยู่ ณ เขาคิชฌกูฏ ครั้นเวลาเช้า ขณะที่พระมหาโมคคัลลานะ ลงจากเขาคิชกูฏ ได้ยิ้มให้ปรากฏ ณ ที่แห่งหนึ่ง พระลักษณะจึงถามว่า อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ท่านยิ้ม ม. ยังไม่สมควรพยากรณ์ปัญหานี้ ท่านจงถามปัญหานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเถิด เมื่อทั้งสองท่านไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้ว พระลักขณะก็ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะด้วยปัญหาเดิม ม. ผมลงจากเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นอัฏฐิสังขลิกเปรต มีแต่ร่างกระดูก ลอยไปในเวหาส์ ฝูงแร้ง เหยี่ยว และนกตระกรุม พากันโฉบอยู่ขวักไขว่ จิกสับโดยแรง จิกทึ้งยื้อแย่งตามช่องซี่โครง สะบัดเปรตนั้นอยู่ไปมา เปรตนั้นร้องครวญคราง ผมได้คิดว่า น่าอัศจรรย์ น่าประหลาดที่สัตว์ ยักษ์ เปรต การได้อัตภาพปานนี้ก็มีอยู่ ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า พระโมคคัลลานะอวดตุตริมนุสสธรรม ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า สาวกทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีจักษุอยู่เป็นผู้มีฌานอยู่ เพราะสาวกได้รู้ได้เห็น หรือได้ทำสัตว์เช่นนี้ ให้เป็นพยานแล้ว เมื่อกาลก่อนเราก็ได้เห็นสัตว์นั้น แต่เราไม่ได้พยากรณ์ ถ้าเราพยากรณ์สัตว์นั้น และคนอื่นไม่เชื่อเรา ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่เขาเหล่านั้นสิ้นกาลนาน สัตว์นั้นเคยเป็นคนฆ่าโคอยู่ในนครราชคฤห์ ด้วยวิบากกรรมนั้น เขาหมกไหม้อยู่ในนรกหลายปี หลายร้อยหลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพเช่นนี้ ด้วยวิบากกรรมนั้นแหละ ที่ยังเป็นส่วนเหลืออยู่ โมคคคัลลานะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องมังสเปสิเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นมังสเปสิเปรต มีแต่ชิ้นเนื้อ ฯลฯ สัตว์นั้น เคยเป็นคนฆ่าโค อยู่ในนครราชคฤห์
เรื่องมังสบิณฑเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นมังสบิณฑเปรต มีแต่ก้อนเนื้อ ฯลฯ สมัยนั้นเคยเป็นพรานนกอยู่ในนครราชคฤห์
เรื่องนิจฉวีเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นนิจฉวีเปรตชาย ไม่มีผิวหนัง ฯลฯ สัตว์นั้น เคยเป็นคนฆ่าแกะอยู่ในนครราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องอสิโลมเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นอสิโลมเปรตชาย มีขนเป็นดาบ ฯลฯ ดาบเหล่านั้น หลุดลอยขึ้นและตกลงที่กายนั่นเอง สัตว์นั้น เคยเป็นคนฆ่าสุกรในนครราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องสัตติโลมเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นสัตติโลมเปรตชาย มีขนเป็นหอก ฯลฯ หอกเหล่านั้นหลุดลอยขึ้นไป แล้วตกที่กายตัวเอง ฯลฯ สัตว์นั้น เคยเป็นพรานเนื้อในนครราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องอุสุโลมเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นอุสุโลมเปรตชาย มีขนเป็นลูกศร ฯลฯ ลูกศรเหล่านั้นหลุดลอยขึ้นไป แล้วตกที่กายมันเอง ฯลฯ สัตว์นั้น เคยเป็นเพชฆาตในนครราชคฤห์
เรื่องสุจิโลมเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เป็นสุจิโลมเปรตชาย มีขนเป็นเข็ม ฯลฯ เข็มเหล่านั้นหลุดลอยขึ้นไป แล้วตกที่กายมันเอง ฯลฯ สัตว์นั้น เคยเป็นนายสารถีในนครราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องสุจกเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นสุจกเปรตชาย มีขนเป็นเข็ม เข็มเหล่านั้นทิ่มเข้าไปในศีรษะ แล้วออกทางปาก ทิ่มเข้าไปในปาก แล้วออกทางอก ทิ่มเข้าไปในอก แล้วออกทางท้อง ทิ่มเข้าไปในท้อง แล้วออกทางขาทั้งสอง ทิ่มเข้าไปในขาทั้งสอง แล้วออกทางแข้งทั้งสอง ทิ่มเข้าไปในแข้งทั้งสอง แล้วออกเท้าทั้งสอง ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นคนส่อเสียดในนครราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องกุมภัณฑเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นกุมภัณฑเปรตชาย มีอัณฑะโตเท้าหม้อ เมื่อเดินไป ย่อมยกอัณฑะเหล่านั้นขึ้นพาดบ่า เมื่อนั่งย่อมนั่งบนอัณฑะเหล่านั้น ฝูงแร้ง ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นผู้พิพากษาโกงชาวบ้าน อยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องคูถนิมุคคเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นคูถนิมุคคเปรตชาย
จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นชู้กับภรรยาชายอื่น อยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องคูถขาทิเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นคูถขาทิเปรตชาย จมอยู่ในหลุมคูถท่วมศีรษะ กำลังเอามือทั้งสองกอบคูถกินอยู่ ฯลฯ สัตว์นั้น เคยเป็นพรามณ์ผู้ชั่วช้า อยู่ในราชคฤห์ ครั้งศาสนาพระกัสสปพุทธเจ้า พราหมณ์นั้นนิมนต์ ภิกษุสงฆ์ด้วยภัตตาหารแล้ว เทคูถลงในรางจนเต็มสั่งคนให้ไปบอกภัตตกาล แล้วกล่าวว่า ขอท่านจงฉันอาหาร และนำไปใช้ให้พอแก่ความต้องการ ด้วยวิบากกรรมนั้น เขาหมกไหม้ในนรกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี แล้วได้ประสบอัตภาพนี้ ฯลฯ
เรื่องนิจฉวิตถีเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่าได้เห็นนิจฉวิตถีเปรตหญิง ไม่มีผิวหนัง ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นหญิง ประพฤตินอกใจสามี อยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องมังคูสิตถีเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นมังคูสิตถีเปรตหญิง มีรูปร่างน่าเกลียด มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นแม่มดอยู่ในราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องโอลิกิลีเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นโอลิกิลีเปรต หญิงมีรูปร่างกายถูกไฟลวก มีหยาดเหงื่อไหลหยด มีถ่านเพลิงโปรยลง ฯลฯ
สัตว์นั้นเคยเป็นอัครมเหสีของพระเจ้ากาลิงคะ เป็นคนขี้หึง ได้เอากะทะ เต็มด้วยถ่านเพลิงคลอกสตรีผู้ร่วมสามี ฯลฯ
เรื่องอสีสกพันธเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นอสีสกพันธเปรต มีศรีษะขาด ตาและปากอยู่ที่อก ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นเพชรฆาตผู้ฆ่าโจรชื่อทามริกะ อยู่ในนครราชคฤห์ ฯลฯ
เรื่องภิกษุเปรต
สมัยนั้น พระผู้มีพระภาค ฯลฯ พระมหาโมคคัลลานะ กล่าวว่า ได้เห็นภิกษุเปรต มีสังฆาฏิ บาตร ประคตเอว และร่างกาย ถูกไฟติดลุกโชน ฯลฯ สัตว์นั้นเคยเป็นภิกษุลามก ในศาสนาของพระกัสสปพุทธเจ้า ฯลฯ
เรื่องภิกษุณีเปรตเรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
เรื่องสิกขมานาเปรต เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
เรื่องสามเณรเปรต เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
เรื่องสามเณรีเปรต เรื่องทำนองเดียวกับภิกษุเปรต
เรื่องแม่น้ำตโปทา
สมัยนั้น พระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า แม่น้ำตโปทานี้ไหลมาแต่ห้วงใด ห้วงนั้นมีน้ำใสเย็นจืดสนิท สะอาดสะอ้าน มีท่าเรียบราบ น่ารื่นรมณ์ มีปลาและเต่ามาก ดอกบัวเท่ากงเกวียนแย้มบานอยู่ แต่ถึงอย่างนั้น แม่น้ำตโปทานี้ก็เดือดพล่านไหลไปอยู่ ภิกษุทั้งหลายเพ่งโทษ ฯลฯ ว่าท่านอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมคคัลลานะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องรบ ณ นครราชคฤห์
สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ทำสงครามแพ้พวกเจ้าลิจฉวี ต่อมาได้ทรงระดมพลไปรบพวกเจ้าลิจฉวี ได้ชัยชนะ และตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า ทรงชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะพูดกับภิกษุทั้งหลายว่า พระราชาทรงปราชัย พวกเจ้าลิจฉวีแล้ว แต่เขาตีกลองนันทิเภรีประกาศในสงครามว่า ทรงได้ชัยชนะพวกเจ้าลิจฉวีแล้ว ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ฯลฯ แล้วกราบทูล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า โมคคัลลานะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องช้างลงน้ำ
ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ เรียกภิกษุทั้งหลายว่า เราเข้าอาเนญชสมาธิ ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำสัปบินิกา ได้ยินเสียงโขลงช้างลงน้ำ เวลาขึ้นจากน้ำเปล่งเสียงดุจนกกระเรียน ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ฯลฯ ว่าท่านกล่าวอวดอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สมาธินั้นมีอยู่แต่ไม่บริสุทธิ์ โมคคัลลานะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ
เรื่องพระโสภิตะอรหันต์
ครั้งนั้น พระโสภิตะ เรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า เราระลึกชาติได้ห้าร้อยกัลป ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ฯลฯ ว่าท่านกล่าวอุตตริมนุสสธรรม แล้วกราบทูล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าชาตินี้ของโสภิตะมีอยู่ แต่ชาติเดียวเท่านั้น โสภิตะพูดจริง ไม่ต้องอาบัติ


จบ จตุตถปาราชิกสิกขาบท
ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 จบ
ธรรมคือปาราชิก 4 สิกขาบท ที่ยกขึ้นแสดงแล้ว
ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก อย่างไรอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมไม่ได้สังวาสกับภิกษุทั้งหลาย
ย่อมเป็นผู้หาสังวาสมิได้ในภายหลังเหมือนกาลก่อน ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลายว่า
บริสุทธิ์ในธรรม คือปาราชิก 4 บทนี้แล้วหรือ ขอถามครั้งที่สอง ครั้งที่สาม ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์ในธรรม
คือปาราชิก 4 สิกขาบทนี้แล้ว จึงเป็นผู้นิ่ง ข้าพเจ้าทราบความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้
จบ ปาราชิกกัณฑ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



พระสุตตันตปิฎกเล่ม 1 ฑีฆนิกาย สีลขันธวรรค
นะโมตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺ ธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1 พรหมชาลสูตร

เรื่อง สุปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมือง นาลันทา พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ สุปปิยปริพาชกได้เดินทางพร้อมกับพรหมทัตตมาณพ ผู้เป็นอันเตวาสิก สุปปิยปริพาชกได้กล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ โดยเอนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพกลับกล่าวชม ทั้งสองได้เดินตาม พระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลัง พระผู้มีพระภาคเข้าไปประทับแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตำหนักสวนหลวง ในอุทยานอัมพลัฏฐิกา พร้อมภิกษุสงฆ์ สุปปิยปริพาชกก็ได้เข้าพักแรม ณ ที่ใกล้กันพร้อมศิษย์ ครั้งนั้นภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ ณ ศาลานั่งเล่น สนทนากันว่า พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่าง ๆ กันได้อย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นักไม่เคยมีมา ความจริงสุปปิยปริพาชกผู้นี้กล่าวติ ฯลฯ ส่วนพรหมทัตมาณพกล่าวชม ฯลฯ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำสนทนานั้นเสด็จไปยังที่นั้นประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นกราบทูล เนื้อความให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาตโทมนัสน้อยใจ แค้นใจในคนเหล่านั้น ถ้า เธอทั้งหลายขุ่นเคือง หรือ โทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงรู้คำที่เขาพูดถูกหรือผิดได้หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่าข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา พระธรรม พระสงฆ์ ในคำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ไขให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั้นไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีในเราทั้งหลาย หาไม่ได้ในตัวเราทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าว ชมเรา พระธรรม พระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ดีใจ กระเหิมใจในคำชมนั้น เพราะถ้าเป็นเช่นนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลายเพราะเหตุนั้นเป็นแน่ คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา พระธรรม พระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั้นจริง นั้นแท้ มีในเราทั้งหลาย หาได้ในเราทั้งหลาย
จุลศีล
เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใดนั้น มีประมาณน้อยนัก ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีล เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
1. พระสมณโคดม ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาสตรา มีความละอาย เอ็นดู กรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
2. ละเว้นจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่
3. ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน
4. ละเว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก
5. ละเว้นขาดจากคำส่อเสียด สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพียงกันแล้วบ้าง ชอบคนยินดีในคน เพลินเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน
6. ละเว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหูชวนให้รักจับใจ
7. ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง อิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร
8. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม
9. ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล
10. เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล
11. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว
12. เว้นขาดจากการนั่นนอนบนที่นั่ง ที่นอนอันสูงใหญ่
13. เว้นขาดจากการ รับทองและเงิน
14. เว้นขาดจากการับธัญญาหารดิบ
15. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ
16. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี
17. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส
18. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ
19. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร
20. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา
21. เว้นขาดจากการรับไร่ นาและที่ดิน
22. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้
23. เว้นขาดจากการซื้อการขาย
24. เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง ของปลอม เครื่องตวงวัด
25. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบแตลง
26. เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการกรรโชก
มัชฌิมศีล
เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต ถึงกล่าวเช่นนี้ว่า
1. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่าง สมณพราหมณ์บางจำพวก ฯลฯ
2. เว้นขาดจากการบริโภคของที่สะสมไว้ ฯลฯ
3. เว้นขาดจากการดูการเล่น ฯลฯ
4. เว้นขาดจากการขวนขวายเล่นพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ฯลฯ
5. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ ฯลฯ
6. เว้นขาดจากการประดับตกแต่งร่างกาย ฯลฯ
7. เว้นขาดจากติรัจฉานกถา ฯลฯ
8. เว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน ฯลฯ
9. เว้นขาดจากการประกอบฑูตกรรมและการรับใช้ ฯลฯ
10. เว้นขาดจากการพูดหลอกลวงการพูดเลียบเคียง ฯลฯ
มหาศีล
ติรัจฉานวิชา เมื่อปุถุชนกล่าวชมตถาคต พึงกล่าวเช่นนี้ว่า
1. พระสมณโคดม เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ สมณพราหมณ์บางจำพวก ฯลฯ ทายอวัยวะ ฯลฯ
2. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ ฯลฯ ทายลักษณะแก้วมณี ฯลฯ
3. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ ฯลฯ ดูฤกษ์ ฯลฯ
4. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ ฯลฯ พยากรณ์ ฯลฯ
5. เว้นขาดจาก การเลี้ยงชีพโดยทางผิดดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ ฯลฯ พยากรณ์ ฯลฯ
6. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพ โดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ ฯลฯ ให้ฤกษ์ ฯลฯ
7. เว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยดิรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่ ฯลฯ ทำพิธีบนบาน ฯลฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ปุถุชนกล่าวชมตถาคต จะพึงกล่าวด้วยประการใด ซึ่งมีประมาณน้อย ยังต่ำนัก เป็นเพียงศีลเท่านั้น
ทิฐิ 62
ยังมีธรรมอื่นอีกที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ปราณีต คาดความเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งซึ่งปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ ธรรมเหล่านั้นเป็นไฉน
ปุพพันตกัปปิถาทิฐิ 18 มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ มีความเห็นไปตามขันธ์ ปรารภขันธ์ ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 18 ประการ เขาเหล่านั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงเป็นเช่นนั้น
สัสสตทิฐิ 4 มี สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฐิว่า เที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ เขาเหล่านั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไรจึงเป็นเช่นนั้น
ปุพเพนิวาสานุสสติ
1. สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ อาศัยความเพียร ที่ตั้งมั่น ความประกอบเนือง ๆ ความไม่ประมาท มนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือการระลึกชาติได้หนึ่งชาติ สอง สาม ..... สิบชาติบ้าง หลายร้อยชาติบ้าง หลายแสนชาติบ้าง ว่าในภพโน้น เรามีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขทุกข์อย่างนั้น มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ได้ไปเกิดในภพโน้น ฯลฯ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ หลายประการ พร้อมทั้งอาการและอุเทศ เขากล่าวว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้นย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป จุติ เกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงที่มีอยู่แท้ ข้อนั้น เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯลฯ ด้วยการได้บรรลุวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ นี้เป็นฐานะที่หนึ่ง ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
2. อนึ่งในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคน อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส ฯลฯ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ สังวัฎฎวิวัฎฎกัปหนึ่งบ้าง สอง สาม .... สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น ฯลฯ ย่อมบัญญัติอัตตา และโลกว่าเที่ยง
3. ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์บางคน อาศัยความเพียร ฯลฯ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ สิบสังวัฎฎวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบ สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น ฯลฯ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง
4. ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตน ตามที่ตรึกได้ที่ค้นคิดได้ว่าอัตตาและโลกเที่ยงคงที่ ฯลฯ ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง พวก มีทิฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงด้วยเหตุ 4 ประการนี้ เท่านั้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ตถาคตรู้ว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้แล้ว ย่อมมีคติอย่างหนึ่งนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อมรู้เหตุนั้นชัดทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่นความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ถือมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น ดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลายกับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้ เฉพาะตนเพราะไม่ถือมั่นตถาคตจึงหลุดพ้น
เอกัจจสัสสติทิฐิ 4 มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง จึงบัญญัติอัตตาและโลกว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ด้วยเหตุ 4 ประการ เขาเหล่านั้นอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงเป็นเช่นนั้น
5. มีสมัยบางครั้ง โดยระยะกาลช้านาน ที่โลกนี้พินาศ เมื่อโลกกำลังพินาศอยู่โดยมากเหล่า
สัตว์ ย่อมเกิดในขั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตน สัญจรไปในอากาศอยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้น สิ้นกาลช้านาน มีสมัยบางครั้ง โดยระยะกาลช้านานที่โลกนี้กลับเจริญ เมื่อโลกกำลังเจริญอยู่ วิมานของพรหมปรากฏว่าว่างเปล่า ครั้งนั้นสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นอาภัสสรพรหม เพราะสิ้นอายุสิ้นบุญย่อมเข้าถึง วิมานพรหมที่ว่างเปล่า แม้สัตว์ผู้นั้นก็ได้สำเร็จทางใจ มีปิติเป็นอาหาร ฯลฯ เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานนั้นแต่ผู้เดียวเป็นเวลานาน จึงเกิดความกระสันความดิ้นรนขึ้นว่า แม้สัตว์เหล่าอื่น ก็ฟังมาเป็นอย่างนี้บ้าง ต่อมาสัตว์เหล่าอื่นก็จุติจากชั้นอาภัสสรพรหม ฯลฯ บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นย่อมมีความคิดเห็นว่า เราเป็นมหาพรหมเป็นใหญ่ไม่มีใครข่มได้ เห็นถ่องแท้ เป็นผู้กุมอำนาจ เป็นอิสระ เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ ผู้เป็นแล้ว และกำลังเป็น สัตว์เหล่านี้เรานิรมิต ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุว่า เราได้มีความคิดก่อนว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ฟังมาเป็นอย่างนี้บ้าง ความตั้งใจของเราเป็นเช่นนี้ และสัตว์เหล่านี้ก็ได้มาเป็นอย่างนี้แล้ว แม้พวกสัตว์ที่เกิดภายหลังก็มีความคิดเห็นว่า ท่านผู้เจริญนี้แลเป็พรหม เป็นมหาพรหม ฯลฯ ข้อนั้นเพราะเหตุว่าพวกเราได้เห็นพระพรหม ผู้เจริญนี้เกิดในที่นี้ก่อน พวกเราเกิดที่หลัง บรรดาสัตว์จำพวกนั้น ผู้ใดเกิดก่อน ผู้นั้นมีอายุยืนกว่า มีผิวพรรณกว่า มีศักดิ์มากกว่า ผู้เกิดภายหลังมีอายุน้อยกว่า ฯลฯ ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่สัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้วมาเป็นอย่างนี้ เมื่อมาเป็นอย่างนี้แล้วก็ออกเรือนบวช เป็นบรรพชิต อาศัยความเพียร ฯลฯ ตาม ระลึกถึงขันธ์ที่เคย อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้ แต่หลังนั้นไป ระลึกไม่ได้ เขาจึงกล่าวว่า ผู้ใดแลเป็นพรหมเป็นมหาพรหม ฯลฯ พระพรหมใดที่นิรมิตพวกเรา
พระ พรหมผู้นั้นเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงทน มีอันไม่ผันแปรเป็นธรรมดา จัดตั้งอยู่เที่ยงเสมอไป ส่วนพวกเราที่พรหมนั้น นิรมิตเป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีอายุน้อย ยังต้องจุติมาเป็นดังนี้ นี้เป็นฐานะที่ 1 ซึ่งสมณพราหมณ์พวก หนึ่งอาศัยแล้วปรารภแล้วจึงมีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าบางอย่าง เที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
6. ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง พวกเทวดาชื่อว่า ขิททาปโทสิถะ มีอยู่ พวกนั้นพากันหมกมุ่นอยู่แต่ในความรื่นรมย์ เมื่อเป็นเช่นนั้นสติย่อมหลงลืม เพราะสติหลงลืม จึงพากันจุติจากชั้นนั้น สัตว์ผู้ใดผุ้หนึ่งจุติจากชั้นนั้นแล้ว มาเป็นอย่างนี้แล้ว จึงออกเรือนบวชเป็นบรรพชิต อาศัยความเพียร ฯลฯ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ กาลก่อนได้หลังแต่นั้นไประลึกไม่ได้ จึงกล่าวว่า พวกเทวดาผู้มิใช่เหล่านี้ ย่อมไม่มัวเพ่งโทษ ฯลฯ พวกนั้นจึงไม่จุติจากชั้นนั้นเป็นผู้เที่ยง ฯลฯ นี้เป็นฐานะที่ 3 ที่มีทิฐิว่า บางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ฯลฯ
8. ในฐานะที่ 4 สมณะพราหมณ์บางคนเป็นนักตรึก นักค้นคิด กล่าวตามตนตรึกได้ ค้นคิดได้ว่า สิ่งที่เรียกว่า จักษุ, โสตะ, ฆานะ ชิวหา กาย เหล่านี้ได้ชื่อว่า อัตตา เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ส่วนสิ่งที่เรียกว่าจิตหรือใจหรือวิญญาณนี้ชื่อว่า อัตตาเป็นของเที่ยง ฯลฯ นี้เป็นฐานะที่ 4 ที่มีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง
สมณะพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ 4 ประการ นี้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี
(เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ลึกซึ้งเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ปราณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด ฯลฯ)
อันตานันติกทิฐิ 4 มีสมณะพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดไม่ได้ จึงบัญญัติไปตามนั้น ด้วยเหตุ 4 ประการ
9. สมณพราหมณ์บางคน อาศัยความเพียร ฯลฯ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ย่อมสำคัญโลกมีที่สุด กลมโดยรอบ นี้เป็นฐานะที่ 1
10. ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคน อาศัยความเพียร ฯลฯ แล้วบรรลุเจโตสมาธิิ
มี ความสำคัญว่าโลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้ พวกที่พูดว่าโลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบนั้นเท็จ นี้เป็นฐานะที่ 2 ที่มีทิฐิว่าโลก มีที่สุดและหาที่สุดมิได้
11. ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์บางคน อาศัยความเพียร ฯลฯ แล้วบรรลุเจโตสมาธิิ
มี ความสำคัญในโลกว่า ด้านบนด้านล่างมีที่สุด ด้านขวางหาที่สุดมิได้ จึงกล่าวว่าโลกนี้ทั้งมีที่สุดทั้งไม่มีที่สุด พวกที่กล่าวว่าโลกนี้มีที่สุดกลมโดยรอบนั้นเท็จ และพวกที่ว่าโลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดรอบมิได้นั้นก็เท็จ นี้เป็นฐานะที่ 3 ที่มีทิฐิว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้
12. ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคน เป็นนักตรึก นักค้นคิด กล่าวตามที่ตนตรึกและค้นคิดได้ว่า โลกนี้มีที่สุดก็มิใช่ ไม่มีที่สุดก็มิใช่ พวกที่กล่าวอย่างอื่นเป็นเท็จ นี้เป็นฐานะที่ 4 ที่มี ทิฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดไม่ได้
พวกที่มีทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ 4 ประการนี้ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
อมราวิกเขปีกทิฐิ 4 สมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่ง มีทิฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ 4 ประการ
13. สมณพราหมณ์บางพวก ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขาจึงเห็นว่า ถ้าพยากรณ์ไป คำพยากรณ์นั้นจะเป็นเท็จ จึงไม่กล้าพยากรณ์ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ นี้เป็นฐานะที่ 1
14. ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคน ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้เป็นกุศล นี้เป็นอกุศล เขาเห็นว่า ถ้าเราไม่รู้ชัด ฯลฯ แล้วพยากรณ์ไปจะเป็นอุปาทาน จึงไม่กล้าพยากรณ์ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ ไม่ตายดัวว่า ความเห็นของเราอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ ไม่ใช่ก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ นี้เป็น ฐานะที่ 2
15. ในฐานะที่ 3 สมณพราหมณ์บางคนไม่รู้ชัด ฯลฯ เขาเห็นว่าถ้าเราไม่รู้ชัด ฯลฯ แล้วพยากรณ์ไป สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตมีอยู่ เขาเหล่านั้นเที่ยวทำลายทิฐิด้วยปัญญา ตนจะถูกซักไซ้ แล้วไม่อาจโต้ตอบเขาได้ จึงไม่กล้าพยากรณ์ จึงกล่าววาจาดิ้นได้ว่า อย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ ฯลฯ นี้เป็นฐานะที่ 3
16. ในฐานะที่ 4 สมณพราหมณ์บางคนเป็นคนเขลา งมงาย จึงกล่าววาจาดิ้นได้ ฯลฯ ตนก็จะพยากรณ์ไปตามความเห็นของตน นี้เป็นฐานะที่ 4
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิไม่ดิ้นได้ไม่ตายตัว ย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัว ด้วยเหตุ 4 ประการนี้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ตถาคตย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้แลที่ลึกซึ้ง ฯลฯ
อธิจจสมุปปันนิกทิฐิ 2 สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ
ด้วยเหตุ 2 ประการ
17. พวกเทวดาชื่อว่าอสัญญีสัตว์มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมจุติจากชั้นนั้นเพราะมีสัญญาเกิดขึ้น เมื่อมาเป็นอย่างแล้วออกบวชเป็นบรรพชิต อาศัยความเพียร ฯลฯ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ ย่อมตามระลึกถึง ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาได้ เบื้องหน้าแต่นั้นไประลึกไม่ได้ เขากล่าวว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ เพราะตน เมื่อก่อนไม่ได้มีแล้ว เดี๋ยวนี้ตนมี เพราะมิได้น้อมไปเพื่อความเป็นผู้สงบนี้เป็นฐานะที่ 1
18. ในฐานะที่ 2 สมณพราหมณ์บางคนเป็นนักตรึก นักค้นคิด เขากล่าวแสดงปฏิภาณ
ของตนตามที่ตรึกได้ ค้นคิดได้ว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ นี้เป็นฐานะที่ 2
สมณพราหมณ์มีทิฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ด้วยเหตุ 2 ประการนี้หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกนั้นไม่มี เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ ตามเห็นขันธ์ ปรารภขันธ์อดีต กล่าวคำแสดงทิฐิหลาย
ชนิดด้วยเหตุทั้ง 18 ประการนี้เท่านั้นหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ลึกซึ้ง
อปรันตกัปปิกทิฐิ 44 สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกำหนดขันธ์ ตามเห็นขันธ์ ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกล่าวคำ แสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 44 ประการ
สัญญีทิฐิ 16 สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากกายตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติว่าอัตตา เหนือขึ้นไปจากกายตาย มีสัญญด้วยเหตุ 16 ประการ
19. อัตตามีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
20. อัตตาที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
21. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป ยั่งยืน มีสัญญา
22. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
23. อัตตามีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
24. อัตตาที่ไม่มีที่สุด ยั่งยืน ไม่มีสัญญา
25. อัตตาทั้งที่มีที่สุด และไม่มีที่สุด ยั่งยืน มีสัญญา
26. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งไม่มีที่สุดก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
27. อัตตาที่มีสัญญาอย่างเดียวกัน ยั่งยืน มีสัญญา
28. อัตตาที่สัญญาต่างกัน ยั่งยืน มีสัญญา
29. อัตตาที่สัญญาย่อมเยา ยั่งยืน มีสัญญา
30. อัตตาที่สัญญาหาประมาณมิได้ ยั่งยืน มีสัญญา
31. อัตตาที่มีสุขอย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
32. อัตตาที่มีทุกข์อย่างเดียว ยั่งยืน มีสัญญา
33. อัตตาที่มีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืน มีสัญญา
34. อัตตาที่มีทุกข์ก็มิใช่ สุขก็มิใช่ ยั่งยืน มีสัญญา
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ 16 ประการนี้เท่านั้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
อสัญญีทิฐิ 8 สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา
ด้วยเหตุ 8 ประการ
35. อัตตาที่มีรูป
36. อัตตาที่ไม่มีรูป
37. อัตตาทั้งที่มีรูปทั้งที่ไม่มีรูป
38. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช่
39. อัตตาที่มีที่สุด
40. อัตตาที่ไม่มีที่สุด
41. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งที่ไม่มีที่สุด
42. อัตตาทั้งที่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีที่สุดก็มิใช่ ทั้งหมดนี้ ยั่งยืน ไม่มีสัญญา
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมบัญญัติด้วยเหตุ 8 ประการเท่านั้น หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ลึกซึ้ง ฯลฯ
เนวสัญญีนาสัญญีทิฐิ 8 สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีทิฐิว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ด้วยเหตุ 8 ประการ
43. อัตตาที่มีรูป
44. อัตตาที่ไม่มีรูป
45. อัตตาทั้งที่มีรูป ทั้งที่ไม่มีรูป
46. อัตตาทั้งที่มีรูปก็มิใช่ ทั้งที่ไม่มีรูปก็มิใช
47. อัตตาที่มีที่สุด
48. อัตตาที่ไมีมีที่สุด
49. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด
50. อัตตาทั้งที่มีที่สุด ทั้งไม่มีที่สุด ทั้งหมดนี้ ยั่งยืน มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่
สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ 8 ประการนี้ ฯลฯ เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
อุจเฉททิฐิ 7 สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มิทิฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ 7 ประการ
51. สมณพราหมณ์บางคน มีวาทะ มีทิฐิว่า เพราะอัตตานี้มีรูป สำเร็จด้วยมหาภูตรูป 4 มีบิดามารดาเป็น แดนเกิด เพราะกายแตกย่อมขาดสูญ พินาศ เบื้องหน้าแต่ตายย่อมเลิกเกิดอัตตานี้จึงเป็นอันขาดสูญเด็ดขาด
52. สมณพราหมณ์พวกอื่น มีความเห็นเพิ่มเติมว่า อัตตานี้มิใช่ขาดสูญอย่างเด็ดขาดด้วยเหตุ
เพียงนี้เท่านั้น ยังมีอัตตาอื่นที่เป็นทิพย์ เป็นกามาพจร บริโภค กวฬิงการาหาร ท่านยังไม่รู้
ยังไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้เห็นอัตตานั้น เพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ ฯลฯ
53. สมณพราหมณ์พวกอื่น มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ยังมีอัตตาอื่นอีกที่ เป็นทิพย์ มีรูป สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบ มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้เห็นอัตตานั้นเพราะกายแตก อัตตานั้นย่อมขาดสูญ ฯลฯ
54. สมณพราหมณ์พวกอื่นมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ยังมีอัตตาอย่างอื่น เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตา มีอารมณ์ว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญาเพราะไม่ใส่ใจในมานัตตสัญ
โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็นอัตตาใด ข้าพเจ้ารู้เห็นอัตตานั้น เพราะกายแตกย่อมขาดสูญ
55. สมณพราหมณ์พวกอื่นมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่ เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ มีอารมณ์ว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้เห็น เพราะกายแตกอัตตานั้นย่อมขาดสูญ ฯลฯ
56. สมณพราหมณ์พวกอื่น มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ยังมีอัตตาอย่างอื่นที่ถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ มีอารมณ์ว่าไม่มีอะไร เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้ไม่เห็น ฯลฯ เพราะกายแตกอัตตานั้นย่อมขาดสูญ ฯลฯ
57. สมณพราหมณ์พวกอื่น มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ยังมีอัตตาอื่นที่เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะได้โดยประการทั้งปวง ท่านยังไม่รู้เห็น ฯลฯ เพราะกายแตกอัตตานั้นย่อมขาดสูญ ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่านนั้น มีทิฐิว่าขาดสูญด้วยเหตุ 7 ประการนี้ ฯลฯ เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ
ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
ทิฏฐธรรมนิพพานทิฐิ 5 สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีทิฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ 5 ประการ
58. สมณพราหมณ์บางคน มีวาทะมีทิฐิว่า เพราะอัตตานี้เอิบอิ่ม พรั่งพร้อม เพลิดเพลิน อยู่ด้วยกามคุณ 5 จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบันอันเป็นธรรมอย่างยิ่ง
59. สมณพราหมณ์พวกอื่นมีความเห็นเพิ่มเติมว่า กายทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะกายทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่น จึงเกิดความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ โทมนัส และ ความคับใจ เพราะอัตตานี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร ปิดิ สุข เกิดแต่วิเวกอยู่ จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
60. สมณพราหมณ์พวกอื่นมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ปฐมฌาณนั้นยังหยาบ ด้วยมีวิตก วิจารอยู่ เพราะอัตตานี้ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารหายไป มีปิติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
61. สมณพราหมณ์พวกอื่นมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ทุติยฌานยังหยาบด้วยยังมีปิติเป็นเหตุให้จิตกระเหิมอยู่ เพราะอัตตานี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปิติสิ้นไปบรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติเสวยสุขอยู่ จึงเป็นอันบรรลุนิพพานปัจจุบัน
62. สมณพราหมณ์พวกอื่นมีความเห็นเพิ่มเติมว่าตติยฌานยังหยาบ ด้วยจิตยังคำนึงถึงสุขอยู่ เพราะอัตตานี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์ เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสก่อน ๆ ได้ จึงบรรลุนิพพานปัจจุบัน
สมณพราหมณ์เหล่านั้น มีทิฐิว่านิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์ปรากฏอยู่ ด้วยเหตุ 5 ประการนี้ ฯลฯ สมณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ มีความเห็นตามขันธ์ ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 44 ประการนี้เท่านั้น หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี
สม ณพราหมณ์เหล่านั้นกำหนดขันธ์ มีความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตก็ดี ส่วนอนาคตก็ดี ทั้งส่วนอดีตส่วน อนาคตก็ดี กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 62 ประการนี้ เท่านั้นหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฯลฯ ธรรมเหล่านี้แลลึกซึ้ง ฯลฯ
ฐานะของผู้ถือทิฐิ
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าเที่ยงย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยงด้วยเหตุ 4 ประการ เป็นความเข้าใจของพราหมณ์เหล่านั้นผู้ไม่รู้ไม่เห็นเป็นความแส่หา เป็นความดิ้นรนของคนมีตัณหาเท่านั้น
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิบางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกไปตามนั้นด้วยเหตุ
4 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ย่อมบัญญัติไปตามนั้นด้วยเหตุ 4 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิดิ้นได้ไม่ตายตัวย่อมกล่าววาจาดิ้นได้ไม่ตายตัวด้วยเหตุ 4 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ย่อมบัญญัติไปตามนั้นด้วยเหตุ 2 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ มีความเห็นตามขันธ์ ปรารภขันธ์ ส่วนอดีต กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 18 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีทิฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ย่อมบัญญัติไปตามนั้นด้วยเหตุ 16 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีทิฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ย่อมบัญญัติไปตามนั้นด้วยเหตุ 8 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีทิฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตาย มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ย่อมบัญญัติไปตามนั้นด้วยเหตุ 8 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีทิฐิว่าขาดสูญ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ พินาศ เลิกเกิดของสัตว์ ผู้ปรากฏอยู่ด้วยเหตุ 5 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด มีทิฐิว่า นิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่า นิพพานปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งด้วยเหตุ 5 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ มีความเห็นตามขันธ์ ปรารภขันธ์ส่วนอนาคตกล่าวคำ แสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 44 ประการ เป็นความเข้าใจของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใด กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ ปรารภขันธ์ส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 62 ประการ เป็นความเข้าใจ
ของเขาเหล่านั้น ฯลฯ
บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าเที่ยง ว่าบางอย่างเที่ยงบางอย่างไม่เที่ยง
ว่า โลกมีที่สุด และหาที่สุดมิได้ ว่าดิ้นได้ไม่ตายตัว ว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ฯ กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่าขาดสูญ ว่านิพพานในปัจจุบัน
สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์มีความเห็นตามขันธ์ ปรารภขันธ์ส่วนอนาคต กล่าว คำแสดงทิฐิหลายชนิดด้วยเหตุ 44 ประการ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย สมณพรามณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต ส่วนอนาคต กำหนดขันธ์ ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิด ด้วยกันเหตุ 62 ประการ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฐิว่าเที่ยง ว่าบางอย่างเที่ยง บางอย่างไม่เที่ยง ว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ว่าดิ้นได้ไม่ตายตัว ว่าอัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ กำหนดขันธ์ เห็นตามขันธ์ปรารภขันธ์ส่วนอดีต ว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญา ว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มีสัญญาก็มิใช่ ว่าขาดสูญ ฯลฯ ว่านิพพานในปัจจุบัน ย่อมบัญญัติว่านิพพานปัจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่ง เขาเหล่านั้นเว้นผัสสะแล้ว จะรู้สึกได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ปรารภส่วนอนาคต
สมณพราหมณ์เหล่าใดกำหนดขันธ์ส่วนอดีต ส่วนอนาคต ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต มีความเห็นตามขันธ์ ฯลฯ
บรรดา สมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใด มีทิฐิว่าเที่ยง ฯลฯ กล่าวแสดงทิฐิหลายชนิด ด้วยเหตุ 62 ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก ถูกต้องต้องแล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง 6 ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของเขาเหล่านั้นเป็นปัจจัย จึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิด อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เมื่อใดภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณและโทษแห่งผัสสายตนะทั้ง 6 กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น เมื่อนั้นภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด สม ณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งกำหนดส่วนอดีตก็ดี ส่วนอนาคนก็ดี ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฐิหลายชนิด สม ณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดถูกทิฐิ 62 อย่างเหล่านี้เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงผู้ฉลาด
ใช้ แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดว่าบรรดาสัตว์ตัวใหญ่ในหนองน้ำนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้อยู่ในแห ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งก็ฉันนั้น
กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นคถาคต ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวกมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ย่อมติดขั้วไป
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์ไม่เคยมีมา ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้ ธรรมชาละก็ได้ พรหมชาละก็ได้
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นมีใจชื่นชมเพลิดเพลินภาษิต ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ หมื่นโลกจะดูได้หวั่นไหวแล้วแล.-


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


2 สามัญญผลสูตร

เรื่องพระเจ้าอชาติศัตรู
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับ ณ สวนอัมพวัน ใกล้นครราชคฤห์ พระเจ้าอชาติศัตรู พระ เจ้าแผ่นดินมคธ ได้กล่าวกับเหล่าอำมาตย์ว่า วันนี้เราควรเข้าไปหาสมณะ หรือ พรามณ์ผู้ใดดี เหล่าอำมาตย์ต่างกราบทูลชื่อเจ้าลัทธิ 6 คน คือ ปูรณะ กัสสป มักขลิ โคสาล อชิตะ เกสกัมพล ปกุธะ กัจจายนะ สญชัย เวลัฏฐบุตร และนิครนถ์ นาฎบุตร แต่พระองค์ทรงนิ่งอยู่ ต่อมา หมอชีวก โกมารภัจจ์ ได้กราบทูลว่าพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ที่พระองค์ควรไปเฝ้า เพราะทรง เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม
พระเจ้าอชาติศัตรูเห็นด้วย จึงได้เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามปัญหาบางเรื่องคือ ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก คนเหล่านั้นย่อมอาศัยผลแห่งศิลปศาสตร์เลี้ยงชีพ ในปัจจุบันพระองค์อาจบัญญัติ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เหมือนอย่างนั้นได้บ้างหรือไม่
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ปัญหาข้อนี้ได้ตรัสถามสมณพรหมณ์พวกอื่นแล้วหรือยัง และเมื่อถามแล้ว สมณพราหมณ์นั้นพยากรณ์ว่าอย่างไร
พระเจ้าอชาติศัตรูทูลตอบว่าได้เคยถามแล้ว และแต่ละท่านได้พยากรณ์ ดังต่อไปนี้
วาทะของปูรณะ กัสสปะ
เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำบาปกรรมต่าง ๆ ผู้ทำไม่ชื่อว่าทำบาป เมื่อทำบุญต่างๆ บุญนั้นก็ไม่มีถึงเขา ปูรณ กัสสป ตอบถึงการที่ทำแล้วไม่เป็นอันทำ
วาทะของมักขลิ โคสาล
สัตว์ทั้งหลายหาเหตุ หาปัจจัยมิได้ ย่อมเศร้าหมอง ย่อมบริสุทธิ์ ไม่มีการกระทำของตนเองและของผู้อื่น ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร แปรไปตามเคราะห์ดีเคราะห์ร้ายตามความประจวบความเป็นเอง ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติทั้งหกเท่านั้น พาลและบัณฑิตเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดของทุกข์ได้เอง
วาทะของอชิตะ เกสกัมพล
ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งกระทำโลกนี้และโลกหน้า ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเรานี้เป็นแต่ประชุมมหาภูติรูปทั้งสี่ เมื่อทำกาลกิริยา ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็จะเป็นไปตามธาตุนั้น ๆ เพราะกายสลายทั้งพาล และบัณฑิตย่อมขาดสูญ
วาทะของปกุธะ กัจจายนะ
สภาวะทั้ง 7 กองเหล่านี้ ไม่มีใครทำ ไม่มีใครนิรมิต เป็นสภาพยั่งยืน ไม่แปรปรวน ไม่อาจให้เกิดสุข และทุกข์แก่กันและกัน สภาวะทั้ง 7 กองดังกล่าวคือ กองดิน กองน้ำ กองไฟ กองลม สุข ทุกข์ ชีวะ ผู้ฆ่าก็ดี ผู้ให้ฆ่าก็ดี ผู้เข้าใจความ ไม่มีในสภาวะ 7 กองนั้น เพราะว่าบุคคลจะเอาศาสตรา ตัดศรีษะกัน ไม่ชื่อว่าใคร ๆ ปลงชีวิต ใคร ๆ เป็นแต่ศาสตราสอดไปตามช่องแห่งสภาวะทั้ง 7 กองเท่านั้น
วาทะของนิครนถ์ นาฎบุตร
นิครนถ์ในโลกนี้ เป็นผู้สังวรณ์แล้วด้วยสังวร 4 ประการ คือเป็นผู้ห้ามน้ำทั้งปวง เป็นผู้ประกอบด้วยน้ำทั้งปวง เป็นผู้กำจัดด้วยน้ำทั้งปวง เป็นผู้ประพรมด้วยน้ำทั้งปวง เพราะเหตุที่เป็นผู้สังวรณ์ดังกล่าว บัณฑิตจึงเรียกว่า เป็นผู้มีตนถึงที่สุดแล้ว มีตนสำรวมแล้ว มีตนตั้งมั่นแล้ว
วาทะของสญชัย เวลัฏฐบุตร
ถ้ามหาบพิตรตรัสถามว่า โลกหน้ามีอยู่หรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่ามี ก็จะพึงตอบว่ามี ความเห็นของอาตมภาพว่าอย่างนี้ก็มิใช่ อย่างนั้นก็มิใช่ อย่างอื่นก็มิใช่ มิใช่ไม่ใช่ก็มิใช่ ถ้าถามว่าโลกหน้าไม่มีหรือ ถ้าอาตมภาพมีความเห็นว่าไม่มี ก็จะพึงทูลตอบว่าไม่มี ฯลฯ ถ้าถามว่าสัตว์ผู้เกิดผุดขึ้นมีหรือ ถามว่าผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีทำชั่วมีอยู่หรือ ถามว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายเกิดอีกหรือ ไม่เกิดอีกหรือ ฯลฯ อาตมภาพเห็นว่าอย่างไรก็จะตอบไปอย่างนั้น
วาทะของเจ้าลัทธิทั้งหก เปรียบเหมือนเขาถามอย่างแต่ตอบไปอย่างอีก
สันทิฏฐิสามัญญผลปุจฉา
แล้วพระเจ้าอชาติศัตรูก็ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ศิลปศาสตร์เป็นอันมาก ที่คนเหล่านั้นอาศัยผลแห่ง ศิลปศาสตร์ที่เห็นประจักษ์ เลี้ยงชีพอยู่ในปัจจุบัน เขาย่อมบำรุงตน บิดามารดา บุตรภริยา ฯลฯ ให้เป็นสุข บำเพ็ญทักษิณาทานอันมีผลอย่างสูง มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ พระองค์อาจบัญญัติ สามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ได้หรือไม่
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อาจอยู่ แล้วทรงถามพระเจ้าอชาติศัตรูถึง ทาสกรรมกรของพระเจ้าอชาติศัตรู ได้ออกบวช เป็นบรรชิตแล้ว จะพึงปฏิบัติต่อผู้นั้นอย่างเดิมหรือไม่ พระเจ้าอชาติศัตรูทูลตอบว่า จะทำเช่นนั้นไม่ได้ แต่ควรจะไห้วเขา บำรุงเขาด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และศิลานปัจจจัยเภสัชบริขาร และควรจะจัดการป้องกันคุ้มครองเขาอย่างเป็นธรรม
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน เป็นข้อแรก
สันทิฐิสามัญญผลเทศนา
เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูขอให้แสดงสามัญผลในข้ออื่นทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผล ที่เห็นประจักษ์ในปัจจุบัน
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพุทธพจน์ว่า
พระตถาคต เสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เห็นว่าฆราวาสคับแคบ บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง จึงได้ออกบวชเป็นบรรพชิต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ ฯ
จุลศีล(ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
มัชฌิมศิล(ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
มหาศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
อินทรียสังวร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ..... ฟังเสียงด้วยโสต ..... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ..... ลิ้มรสด้วยชิวหา ..... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ..... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ..... ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมครอบงำ ภิกษุผู้ประกอบด้วย อินทรีย์สังวรเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลศในภายใน
สติสัมปชัญญะ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในอิริยาบทต่าง ๆ
สันโดษ ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปในที่ใด ๆ ก็ถือไปได้เอง เหมือนนกที่จะบินไปที่ใดก็มีแต่ปีกของตัวบินไป
จิตปราศจากนิวรณ์
ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยะแล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด ในกาลภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ ไว้เฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก ย่อมชำระจิตใจบริสุทธิ์ ละความประทุษร้ายคือพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง ละถีนมิทธะ มีความกำหนดหมาย อยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะ ละอุทธัจจะกุกกุจจะมีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ละวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย
เปรียบนิวรณ์
เปรียบเหมือนคนจะกู้หนี้ไปประกอบกิจการงาน เมื่อการงานสำเร็จผล เขาพึงใช้หนี้และมีกำไรเหลืออยู่ ดังนั้นเขาจะพึงได้ความปราโมทย์ โสมนัส เพระความไม่มีหนี้ เปรียบเหมือนผู้ป่วยแล้วหายป่วย ผู้ที่ถูกจองจำ แล้วพ้นจากการจองจำ ผู้ที่เป็นทาสแล้วพ้นจากความเป็นทาส ผู้ที่มีทรัพย์เดินทางไกล มีภัยเฉพาะหน้า แล้วพ้นภัยนั้นได้
ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 เหล่านี้ ที่ละได้แล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ กายย่อมสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แหละเป็นสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่าประณีตกว่า สามัญผลข้อก่อน ๆ
ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพระวิตก วิจาร สงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็นสามัญผล ที่ดีกว่า ประณีตกว่า
ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิอยู่ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
วิชาแปด
วิปัสสนาญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อฌาณทัสนะ ย่อมรู้ชัดว่า กายของเรานี้ มีรูปประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 ไม่เที่ยง มีอันทำลายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้ ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
มโนมยิทธิญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อนิรมิต รูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
อิทธิวิธี ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี บรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฎทำให้หายก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนเป็นที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
ทิพยโสตญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ ย่อมได้ยินเสียงสองชนิด คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตมนุษย์ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
เจโตปริยญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ ย่อมกำหนดรู้ใจสัตว์อื่น คนอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมี-ไม่มี โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน มหรคต จิตอื่นยิ่งกว่าจิตเป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
ปุพเพนิวาสนานุสสติญาณ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิผ่องแผ้ว ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมระลึกชาติได้เป็นอันมาก ว่าในภพที่ผ่านมาเราได้มีชื่อ มีโคตร มีผิวพรรณ มีอาหาร อย่างนั้น เสวยสุขทุกข์ กำหนดอายุ เพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ และอุเทศ นี้เป็นสามัญผล ฯลฯ
จุตูปปาตญาณ ภิกษุนั้น ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดีทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกาย วจี มโน ทุจริต ติเตียน พระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กาย วจี มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นสามัญผล
อาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี ก็สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้ออื่น ๆ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่า สามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อนี้ ย่อมไม่มี ฯ
พระเจ้าอชาติศัตรู แสดงพระองค์เป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พระเจ้าอชาติศัตรู ได้กราบทูลว่า
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ฉันใด
พระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระธรรมโดยเอนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน
หม่อมฉันนี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอทรงจำหม่อมฉันว่าเป็น อุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โทษได้ครอบงำหม่อมฉัน หม่อมฉันได้ปลงพระชนมชีพพระบิดาผู้ดำรงธรรม ขอพระผู้มีพระภาค ทรงรับทราบความผิดของหม่อมฉันโดยเป็นความผิดจริง เพื่อสำรวมต่อไป
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า จริง ความผิดได้ครอบงำมหาบพิตร ที่ได้ปลงพระชนม์ชีพพระบิดา ผู้ดำรงธรรม เพราะเหตุแห่งความเป็นใหญ่ แต่มหาบพิตรทรงเห็นความผิดโดยเป็นความผิด ทรงสารภาพตามเป็นจริง อาตมภาพขอรับทราบความผิด ของมหาบพิตร การที่บุคคลเห็นความผิดโดยเป็นความผิด แล้วสารภาพตามเป็นจริง รับสังวรต่อไปนี้เป็นความชอบในวินัยของพระอริยเจ้า ฯ
เมื่อพระเจ้าอชาติศัตรูกราบทูลลาไปแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า พระราชาองค์นี้ถูกขุดเสียแล้ว ถูกขจัดเสียแล้ว หากท้าวเธอไม่ปลงพระชนม์ชีพพระบิดา ธรรมจักษุ ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน จักเกิดแก่ท้าวเธอ ณ ที่ประทับนี้ทีเดียว

จบสามัญญผลสูตรที่ 2


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


3 อัมพฏฐสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จไปในโกศลชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ บรรลุถึง พราหมณคาม ชื่ออิจฉานังคลคาม ทรงประทับอยู่ ณ ราวป่า อิจฉานังคลวัน
สมัยนั้น พราหมณ์โปกขรสาติิ อยู่ครองนคร อุกกัฏฐะ ซึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานให้
พราหมณ์โปกขรสาติได้สดับข่าวและเกียรติศัพท์ อันงามของพระสมณโคดม ศากยบุตร
เรื่อง อัมพัฏฐมาณพ
อัมพัฏฐมาณพ ศิษย์ของพราหมณ์โปกขรสาติ เป็นผู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์ต่าง ๆ และ มหาปุริสลักษณะ
พราหมณ์โปกขรสาติ บอกให้อัมพัฏฐมาณพไปเฝ้าพระสมณโคดม เพื่อให้รู้ว่าเกียรติศัพท์ของพระองค์ จริงอย่างนั้นหรือไม่ โดยดูจาก มหาปุริสลักษณะ 32 ประการ
อัมพัฏฐมานพไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค แล้วปราศรัยกับพระองค์ด้วยการเดินบ้าง ยืนบ้าง ในขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ พระองค์จึงตรัสถามว่า เคยทำอาการเช่นนี้กับผู้เฒ่าผู้แก่
ผู้ เป็นอาจารย์มาก่อนหรือ อัมพัฏฐมาณพก็ทูลตอบว่า ผู้เดินควรเจรจากับผู้เดิน ผู้ยืน ผู้นั่ง ผู้นอน ก็ควรจะเจรจากับผู้ที่อยู่ในอาการเดียวกัน
พระผู้มีพระภาคตำหนิอัมพัฏฐมาณพว่า เป็นคนไม่ได้รับการศึกษา อัมพัฏฐมาณพจึงใช้วาจา กล่าวข่มว่า พวกศากยะเป็นพวกคฤหบดี ยังไม่เคารพนับถือพวกพราหมณ์ ซึ่งไม่สมควรเลย เพราะตนไปยังนครกบิลพัสดุ์ ไม่มีใครเชื้อเชิญให้นั่ง และได้กล่าวข่มพวกศากยะถึงสามครั้ง
พระผู้มีพระภาคทรงพระดำริว่า มาณพผู้นี้กล่าวเหยียบย่ำพวกศากยะ จึงทรงถามถึงโครตรของมาณพ
ก็ได้รับคำตอบว่าเป็น กัณหายนโคตร จึงทรงเตือนให้ระลึกถึงโคตรเก่าแก่ของมารดาบิดาของมาณพว่า
พวกศากยะเป็นลูกเจ้า เธอเป็นลูกนางทาสีของพวกศากยะ เพราะพวกศากยะอ้างถึง พระเจ้าอุกกากราช
ว่าเป็นบรรพบุรุษ
ว่าด้วยศากยะวงศ์
ทรงตรัสเรื่องเดิมให้ฟังว่า พระเจ้าอุกกากราชเป็นบรรพบุรุษของพวกศากยะ และ นางทิสา เป็นทาสีของพระเจ้าอุกกากราช นางคลอดบุตรคนหนึ่งชื่อ กัณหะ และกัณหะนั้นเป็นบรรพบุรุษของพวก กัณหายนะ ตอนแรกอัมพัฏฐมาณพไม่ยอมรับ
ในที่สุดอัมพัฏฐมาณพก็ยอมรับว่า กัณหะ เป็นบรรพบุรุษของพวกกัณหายนะ บรรดามาณพที่ไปด้วยต่างพากัน เหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพ แต่พระผู้มีพระภาคทรงปลดเปลื้องให้ โดยได้ตรัสว่ากัณหะได้เป็นฤๅษีสำคัญ ได้พระราชธิดาพระเจ้าอุกกากราช พระนามมัททรูปีเป็นคู่ครอง และได้ตรัสถามอัมพัฏฐมาณพถึง การที่ขัตติยกุมารได้นางพราหมณ์กัญญาเป็นคู่ครอง และพราหมณ์กุมาร ได้นางขัตติยกัญญาเป็นคู่ครอง บุตร ที่เกิดจากเขาเหล่านั้นสมควรเป็นอะไร อัมพัฏฐมาณพตอบว่า สมควรเป็นพราหมณ์ แต่ไม่สมควรเป็นกษัตริย์ เพราะไม่บริสุทธิ์ข้างฝ่ายมารดาในกรณีแรก และไม่บริสุทธิ์ฝ่ายบิดาในกรณีหลัง
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เมื่อเทียบหญิงกับหญิง เทียบชายกับชายก็ดี กษัตริย์พวกเดียวประเสริฐ พวกพราหมณ์เลว
คาถาสินังกุมารพรหม
กษัตริย์เป็นประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยโคตร
ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นประเสริฐสุด ในหมู่เทวดาและมนุษย์ สินังกุมารพรหมภาษิตไว้ถูกไม่ผิด ประกอบด้วยประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเห็นด้วยและก็กล่าวเช่นนั้น
วิชาจรณสัมปทา
อัมพัฏฐมานพทูลถามถึงเรื่อง จรณะและวิชชา
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันเป็นคุณยอดเยี่ยม เขาไม่พูดอ้างชาติ อ้างโคตรหรืออ้างมานะว่า ท่านควรแก่เราหรือท่านไม่ควรแก่เรา ชนเหล่าใดยังเกี่ยวข้องอยู่ด้วย การอ้างดังกล่าวชื่อว่ายังห่างไกลจาก วิชชาและจรณสมบัติ การทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและจรณสมบัติ ย่อมมีได้เพราะละการเกี่ยวข้องด้วยการอ้างชาติ อ้างโคตร อ้างมานะ และอาวาหวิวาหมงคล
พระคถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ฯลฯ ทรงประกาศพรหมจรรย์ ฯลฯ ผู้ใดผู้หนึ่งได้ฟังธรรมนั้น แล้วได้ศรัทธาในพระคถาคต ฯลฯ ออกบวชเป็นบรรพชิต ฯลฯ ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล ฯลฯ
จุลศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อจุลศีล) นี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
มัชฌิมศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อมัชฌิมศีล) นี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
มหาศีล (ดูรายละเอียดจาก พรหมชาลสูตร ในหัวข้อมหาศีล) นี้เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
อินทรัยสังวร (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร หัวข้ออินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ สันโดษ)
ทรงสรุปว่า ด้วยประการดังกล่าว ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ และเป็นผู้สันโดษ
เมื่อภิกษุประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด นั่งคู้บัลลังก์ ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากความเพ่งเล็งได้ ฯลฯ
ว่าด้วยอุปมานิวรณ์ 5 (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร หัวข้อ เปรียบนิวรณ์)
รูปฌาณ 4 (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร หัวข้อ เปรียบนิวรณ์)
ทรงสรุปว่า นี้คือจรณะนั้น
วิชชา 8 - วิปัสสนาญาณ (ดูรายละเอียดจาก สามัญญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
ทรงสรุปว่า ทั้งหมดนี้เป็นวิชชา
ภิกษุผู้ปฏิบัติเช่นนี้เรียกว่าผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทั้งวิชชา และจรณะบ้าง อันวิชชาและจรณะสมบัติอย่างอื่น ซึ่งดียิ่งกว่าหรือประณีตกว่านี้ไม่มี
อบายมุขของวิชชาจรณสัมปทา
วิชชา และจรณะสมบัติ อันเป็นคุณยอดเยี่ยมนี้ มีทางเสื่อมอยู่ 4 ประการ
1. สมณพราหมณ์บางคน เมื่อไม่บรรลุวิชชา และจรณะสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้ หาบบริขารดาบส เข้าไปสู่ป่าด้วยตั้งใจว่าจักบริโภคผลไม้ที่หล่น เขาต้องเป็นคนบำเรอท่านที่ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะโดยแท้ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่หนึ่ง
2. สมณพราหมณ์บางคน ไม่บรรลุ ฯ ถือเสียมและตะกร้าเข้าป่าด้วยตั้งใจว่า จักบริโภคเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้ เขาต้องเป็นคนบำเรอ ฯ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่สอง
3. สมณพราหมณ์บางคน เมื่อไม่บรรลุ ฯ ไม่สามารถหาผลไม้ที่หล่น และเหง้าไม้ รากไม้ และผลไม้บริโภคได้ จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้บ้านหรือนิคม และบำเรอไฟอยู่ เขาต้องเป็นคนบำเรอ ฯ นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่สาม
4. สมณพราหมณ์บางคน เมื่อไม่บรรลุ ฯ ไม่สามารถหาผลไม้ที่หล่น ฯลฯ และไม่สามารถบำเรอไฟได้ จึงสร้างเรือนมีประตูสี่ด้านไว้ที่หนทางใหญ่ 4 แพร่ง แล้วตั้งสำนักอยู่ด้วยตั้งใจว่า ผู้ใดที่มาจากทิศทั้ง 4 นี้ เราจักบูชาท่านผู้นั้นตามสติกำลัง นี้เป็นทางเสื่อมข้อที่สี่
ทรงตรัสถามว่า ตัวเขาและอาจารย์ปรากฏในวิชชา และจรณะสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้บ้างหรือไม่ ก็ได้รับการกราบทูลตอบว่า ตัวเขาและอาจารย์ยังห่างไกลจากสมบัติดังกล่าวอยู่มาก
ทางตรัสถามต่อไปว่า เมื่อเขาและอาจารย์ไม่บรรลุ ฯ และไม่ได้ดำเนินการตาม 4 ประการ
ดังกล่าวข้างต้น เขากับอาจารย์จึงเสื่อม และคลาดจากทางเสื่อมของวิชชา และจรณะอันเป็นคุณยอดเยี่ยม 4 ประการนี้ด้วย
ทรงตรัสต่อไปว่า พราหมณ์โปกขรสาติได้พูดว่า สมณะโล้นบางเหล่า เป็นเชื้อสายคฤหบดี กัณหโคตร เกิดแต่บาทของพรหม ประโยชน์อะไรที่พวกพราหมณ์ผู้ทรงไตรวิชชาจะสนทนาด้วย
แม้ แต่ทางเสื่อมตนก็ยังไม่ได้บำเพ็ญ ความผิดของพราหมณ์โปกขรสาตินี้เพียงใด ถึงแม้กินเมืองที่พระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทาน แต่ก็ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าเฝ้าหน้าพระที่นั่ง เวลาจะปรึกษาด้วยก็ทรงปรึกษานอกพระวิสูตร
ทรงตรัสถามว่า เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล จะทรงปรึกษาราชกิจกับมหาอำมาตย์ หรือ พระราชวงศานุวงศ์ แล้วเสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งจากที่นั้น ภายหลังคนชั้นศูทร หรือ
ทาสคนชั้นศูทรมา ณ ที่นั้น แล้วพูดอ้างว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสอย่างนี้ ๆ เพียงเขาพูดเหมือน พระราชาตรัส หรือปรึกษาได้เหมือนพระราชาทรงปรึกษา จะจัดว่าเป็นพระราชาหรือราชอำมาตย์ได้หรือไม่ อัมพัฏฐมาณพกราบทูลตอบว่า ข้อนี้เป็นไปไม่ได้
บุรพฤๅษี 9 ตน
ทรงตรัสต่อไปว่า เธอก็เช่นนั้นเหมือนกัน บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพวกพราหมณ์ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ในปัจจุบัน พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ซึ่งบทมนต์ของเก่านี้ที่ท่านขับแล้ว บอกแล้ว กล่าวได้ถูกต้อง ตามที่ท่านกล่าวไว้ เพียงคิดว่าเรากับอาจารย์เรียนมนต์จากท่านเหล่านั้น เธอจักเป็นฤๅษีหรือปฏิบัติเพื่อเป็นฤๅษีได้ นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
เธอได้ฟังพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ และปาจารย์เล่ามาว่าอย่างไร บรรดาฤๅษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ขับตาม กล่าวตาม ฤๅษีเหล่านั้น อาบน้ำ ฯลฯ บำเรออยู่ด้วยกามคุณห้า เหมือนเธอกับอาจารย์ในบัดนี้หรือไม่ อัมพัฏฐมาณพกราบทูลรับว่า ไม่เหมือน
ทรงตรัสว่า เธอกับอาจารย์มิได้เป็นฤๅษีเลย ทั้งมิได้ปฏิบัติเพื่อเป็นฤๅษี ด้วยประการฉะนี้ ผู้ใดมีความเคลือบแคลงสงสัยในตัวเรา จงถามเราด้วยปัญหา เราจักชำระให้ด้วยการพยากรณ์ ฯ
พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจงกรม อัมพัฏฐมาณพได้พิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ โดยมากเว้นอยู่ 1 ประการ คือพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก 1 พระชิวหาใหญ่ 1 จึงยังเคลือบแคลงสงสัย พระผู้มีพระภาคจึงทรงบันดาลอิทธาภิสังขาร ให้อัมพัฏฐมาณพได้เห็น เมื่อได้เห็นแล้วก็ได้ทูลลากลับไป
โปกขรสาติพราหมณ์
อัมพัฏฐมาณพได้ไปพบโปกขรสาติพราหมณ์ แจ้งให้ทราบถึงเกียรติศัพท์ และมหาปุริสลักษณะของพระผู้มีพระภาค ว่าเป็นเช่นนั้นจริง และได้เล่าเรื่องที่ตนได้สนทนาปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคให้ทราบ พราหมณ์ ฯ ได้ทราบแล้วก็ขัดใจ กล่าวตำหนิอัมพัฏฐมานพ แล้วเตรียมตัวไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
วันรุ่งขึ้นพราหมณ์ ฯ เดินทางไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ และทูลถามถึงเรื่องที่อัมพัฏฐมาณพมาเฝ้า พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเล่าเรื่องให้พราหมณ์ ฯ ทราบทุกประการ พราหมณ์ ฯ ได้ทูลขอโทษแทนอัมพัฏฐมาณพ แล้วพิจารณาดูมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ ก็ได้เห็นว่ามีครบบริบูรณ์ไม่บกพร่อง จึงได้ทูลขอให้พระองค์ พร้อมพระภิกษุสงฆ์รับภัตตาหารในวันนี้ ที่นิเวศน์ของพราหมณ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ ได้ตรัสอนุบุพพิกกถา แก่พราหมณ์ ฯ คือ
ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกจากกาม
เมื่อทรงทราบว่าพราหมณ์มีจิตคล่อง มีจิดอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตสูง มีจิตผ่องใสแล้ว
จึงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โปรดพราหมณ์ฯ
ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พราหมณ์โปกขรสาติว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวล มีความดับไปเป็นธรรมดา
เหมือนผ้าที่สะอาด ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมด้วยดี ฉะนั้น
พราหมณ์โปกขรสาติแสดงตนเป็นอุบาสก
ลำดับนั้น พราหมณ์โปกขรสาติ เห็นธรรม ถึงธรรม รู้แจ้งธรรม หยั่งทราบธรรม ข้ามความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้าแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา ได้ทราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้
ข้าพระองค์พร้อมทั้งบุตรภริยา บริษัทและอำมาตย์ ขอถึงพระองค์ และพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอพระสมณโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์ ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จบอัมฟัฏฐสูตร ที่ 3


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


4. โสณทัณฑสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในอังคชนบท เสด็จถึงนครจัมปา ประทับอยู่ใกล้ขอบสระโบกขรณีคัคครา
พราหมณ์โสณทัณฑะ ครองนครจัมปา ชาวนครจัมปาได้สดับข่าวพระสมณโคดม จึงพากันไปเฝ้า ว่าด้วยคุณของโสณทัณฑพราหมณ์
โสณทัณฑพราหมณ์เห็นดังนั้น ก็จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วย แต่มีพวกพราหมณ์ต่างเมืองพวกหนึ่ง คัดค้านว่าไม่ควรไป จะเสียเกียรติยศ พระสมณโคดมควรมาหา เพราะโสณทัณฑพราหมณ์เป็น อุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายบิดาและมารดาตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ เป็นคนมั่งคั่ง เป็นผู้เล่าเรียน มีศีล มีวาจาไพเราะ เป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ เป็นผู้พระเจ้าพิมพิสารทรงสักการะ
ว่าด้วยพุทธคุณ
โสณทัณฑพราหมณ์กล่าวว่า ตนควรไปเฝ้าพระสมณโคดม เพราะพระสมณโคดมเป็นอุภโตสุชาติ ตลอดชั่ว 7 บรรพบุรุษ ทรงละพระญาติหมู่ใหญ่ออกผนวช มีศีล มีวาจาไพเราะ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก สิ้นกามราคะแล้ว เป็นกรรมวาที ทรงผนวชจากสกุลสูงคือกษัตริย์ เทวดาทั้งหลายถึงพระองค์เป็นสรณะ พระเกียรติศัพท์ของพระองค์ขจรไปแล้วว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ บริษัท 4 สักการะเคารพ เทวดาและมนุษย์เลื่อมใสในพระองค์ยิ่งนัก ได้รับยกย่องว่า เป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก รุ่งเรืองพระยศด้วยวิชชาและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พร้อมทั้งโอรส มเหสี ราชบริษัท และอำมาตย์ ทรงมอบชีวิตถึงพระองค์เป็นสรณะ เป็นผู้อันพราหมณ์โปกขรสาติ สักการะเคารพนับถือบูชา พระองค์ท่านมีพระคุณหาประมาณมิได้ ฯ
พราหมณ์โสณทัณฑะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฝ่ายพราหมณ์ และคฤหบดีชาวนครจัมปา บางพวกก็ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่
โสณทัณฑพราหมณ์ครุ่นคิดถึงเรื่องที่จะทูลถามพระผู้มีพระภาค และคิดปราถนาจะให้พระผู้มีพระภาค
ตรัสถามในเรื่องไตรวิชา ซึ่งตนจะสามารถแก้ให้ถูกพระทัยของพระองค์ได้
พระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดในใจของพราหมณ์ ฯ จึงได้ตรัสถามว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์เท่าไร พวกพราหมณ์จึงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์
พราหมณ์บัญญัติ
โสณทัณฑพราหมณ์กราบทูลว่า บุคคลประกอบด้วยองค์ 5 ประการ พวกพราหมณ์จึงบัญญัติว่าเป็นพราหมณ์
1. เป็นอุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายมารดา และบิดา ตลอด 7 ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครติเตียนได้ด้วยอ้างถึงชาติ
2. เป็นผู้เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุ คัมภีร์เกตุกะ พร้อมทั้งประเภท อักษรมีคัมภีร์ อิติหาสเป็นที่ 5 เป็นผู้เข้าใจไวยากรณ์ ชำนาญในคัมภีร์โลกายตะ และมหาปุริสลักษณะ
3. เป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส มีพรรณคล้ายพรหม มีรูปร่างคล้ายพรหม
4. เป็นผู้ศีลยั่งยืน
5. เป็นบัณฑิต มีปัญญาเป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของพวกปฏิคาหกผู้รับบูชาด้วยกัน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า บรรดาองค์ 5 นี้ ถ้าตัดออก 1 องค์คือ องค์ที่ 1 2 องค์คือ องค์ที่ 1 และที่ 2
3 องค์คือ องค์ที่ 1 ถึงองค์ที่ 3 พราหมณ์โสณทัณฑะก็ยังยอมรับว่า ผู้นั้นยังคงเป็นพราหมณ์อยู่ แต่จะขาดองค์ที่ 4 และองค์ที่ 5 ไม่ได้
ว่าด้วยคุณของมานพอังคกะ
มาณพอังคกะเป็นหลานของพราหมณ์โสณทัณฑะ โสณทัณฑพราหมณ์ได้กล่าวถึงคุณสมบัติ ของอังคกมาณพว่า มีคุณสมบัติตามองค์ที่ 1, 2 และ 3 ถึงอังคกมาณพจะฆ่าสัตว์บ้าง ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้บ้าง คบหาภริยาของบุคคลอื่นบ้าง กล่าวเท็จบ้าง ดื่มน้ำเมาบ้าง ในฐานะเช่นนี้ วรรณ มนต์ ชาติ จักทำอะไรได้ ด้วยเหตุว่า ผู้เป็นพราหมณ์เป็นผู้มีศีลยั่งยืน และเป็นบัณฑิตมีปัญญา เป็นที่ 1 หรือที่ 2 ของปฎิคาหก ผู้รับบูชาด้วยกัน บุคคลประกอบด้วยองค์ 2 เหล่านี้ พวกพราหมณ์จะบัญญัติ ว่าเป็นพราหมณ์ก็ได้
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ในองค์ 2 นี้ ยกเสียองค์หนึ่งแล้ว บุคคลประกอบด้วยองค์เพียง 1 อาจจะบัญญัติให้เป็นพราหมณ์ได้หรือไม่ พราหมณ์โสณทัณฑะทูลว่า ข้อนี้ไม่ได้ เพราะว่าปัญญาอันศีลชำระให้บริสุทธิ์ และศีลอันปัญญาชำระให้บริสุทธิ์ ศีลมีในบุคคลใด
ปัญญา ก็มีในบุคคลนั้น ปัญญามีในบุคคลใด ศีลก็มีในบุคคลนั้น นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีลกับปัญญา ว่าเป็นยอดในโลก พระผู้มีพระภาคตรัสรับรองว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น แล้วตรัสถามว่า ศีล กับปัญญานั้นเป็นอย่างไร โสณทัณฑพราหมณ์ทูลตอบว่า ตนมีความรู้เพียงเท่านี้เอง ขอให้พระองค์ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วย
พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสพุทธพจน์แก่พราหมณ์โสณทัณฑะว่า
พระคถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระคถาคตพระองค์นั้น ฯลฯ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ฯลฯ ผู้ที่ได้ฟังธรรมนั้น ได้ศรัทธาในพระคถาคต ฯลฯ ออกบวชเป็นบรรพชิต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร ฯลฯ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ ฯ
จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล(รายละเอียดเช่นเดียวกับในพรมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
วิชชา 8 - วิปัสสนาญาณ (รายละเอียดเช่นเดียวกับในสามัญญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
โสณทัณฑพราหมณ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โสทัณฑพราหมณ์ได้กราบทูลว่า
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก............ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์ทั้งพระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง และจงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จบ โสณทัณณฑสูตร ที่ 4


5. กูฏทันตสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในมคธชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณ์คามของชาวมคธชื่อขานุมัตต์ ประทับอยู่ในสวนอัมพลัฏฐิกา สมัยนั้น พราหมณ์กูฏทันตะอยู่ครองบ้านขานุมัตต์
มหายัญของกูฏทันตพราหมณ์
พราหมณ์กูฏทันตะได้เตรียมมหายัญ โคผู้ ลูกโคผู้ ลูกโคเมีย แพะ และแกะ อย่างละ 700 เพื่อบูชายัญ ชาวบ้านขานุมัตต์ได้สดับว่า พระสมณโคดมเสด็จถึงบ้านขานุมัตต์ เกียรติศัพย์อันงามของพระองค์ได้ขจรไปแล้วว่า
ว่าด้วยพุทธคุณ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ..... เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ..... เป็นผู้จำแนกพระธรรม ..... ทรงสอนธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงฯ ชาวบ้านขานุมัตต์ พากันไปยังสวนอัมพลัฏฐิกา ฯ
พราหมณ์กูฏทันตะได้คิดว่า พระสมณโคดม ทรงทราบยัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 แต่เราไม่ทราบ เราควรไปทูลถาม
บรรดาพวกพราหมณ์ในบ้านขานุมัตต์ทราบเรื่อง จึงห้ามพราหมณ์กูฏทันตะว่าไม่ควรไป เพราะจะเสียเกียรติด้วยเหตุผลหลายประการ เป็นต้นว่า เป็น อุภโตชาติ มีศีล เป็นอาจารย์และปาจารย์ของชนหมู่มาก ฯลฯ แต่กูฏทันตพราหมณ์ไม่เห็นด้วย ด้วย เหตุผลหลายประการเช่นกัน เป็นต้นว่าพระสมณโคดม เป็นอุภโตชาติ เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต มีศีลประเสริฐ เป็นอาจารย์และปาจารย์ของคนหมู่มาก สิ้นกามราคะแล้ว เป็นกรรมวาที และกิริยาวาที ไม่ทรงมุ่งร้ายแก่พวกพราหมณ์ ฯลฯ และเกียรติศัพย์อันงามของพระองค์ได้ขจรไปว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ..... (รายละเอียดว่าด้วยพุทธคุณ) และเพิ่มเติมอีกเป็นต้นว่า เป็นคณาจารย์ เป็นยอดของเจ้าลัทธิเป็นอันมาก พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พราหมณ์โปกขรสาติ พากันสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ฯลฯ ดังนั้น เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบ้านของเรา จัดว่าเป็นแขกที่ควรสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
พราหมณ์กูฏทันตะพร้อมคณะพราหมณ์หมู่ใหญ่ ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลว่า ได้สดับมาว่า ทรงทราบยัญสมบัติ 3 ประการ ซึ่งมีบริวาร 16 ขอให้พระองค์โปรดแสดงด้วย
ว่าด้วยยัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าวิชิตราชคิดว่าจะพึงบูชามหายัญ ที่จะเป็นประโยชน์และความสุขของตนชั่วกาลนาน เมื่อทรงถามพราหมณ์ปุโรหิต ก็ได้รับคำชี้แจงว่า การปราบปรามเสี้ยนหนามคือโจร ด้วยการยกภาษีอากร ด้วยการประหาร ด้วยการจองจำ ด้วยการปรับไหม ด้วยการตำหนิโทษหรือเนรเทศ ไม่ชื่อว่าเป็นการปราบปรามโดยชอบ การปราบปรามโดยชอบอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้
1. พลเมืองเหล่าใด ขะมักเขม้นในกสิกรรม และโครักขกรรม จงเพิ่มข้าวปลูกและข้าวกินให้
2. พลเมืองเหล่าใด ขะมักเขม้นในพาณิชยกรรม จงเพิ่มทุนให้
3. พลเมืองเหล่าใดขยัน จงให้เบี้ยเลี้ยงและเงินเดือนในโอกาสอันควร
พลเมืองเหล่านั้น จักเป็นผู้ขวนขวายในการงานของตน ไม่เบียดเบียนบ้านเมืองของพระองค์ บ้านเมืองจะมั่งคั่ง และอยู่ในความสุข ไม่มีการเบียดเบียนกัน
พระเจ้าวิชิตราช ทำตามคำของพราหมณ์ปุโรหิต ก็ได้ผลตามที่กล่าวไว้ทุกประการ
ต่อมาพระเจ้าวิชิตราช ได้หารือกับพราหมณ์ปุโรหิตว่า ปรารถนาจะบูชามหายัญ ก็ได้รับคำแนะนำว่า อนุยนต์กษัตริย์ อำมาตย์ราชบริพาร พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีผู้มั่งคั่ง เหล่าใด ขอให้เรียกมาปรึกษาว่า เราจะบูชามหายัญ ขอท่านจงร่วมมือกับเรา เพื่อประโยชน์สุขแก่เราชั่วกาลนาน บรรดาชนเหล่านั้น กราบทูลว่า ให้บูชายัญเถิด บรรดาชนผู้เห็นชอบทั้ง 4 เหล่านี้ จัดเป็นบริวารของยัญนั้น
พระเจ้ามหาวิชิตราช ทรงประกอบด้วยองค์ 8 ประการ คือ ทรงเป็นอุภโตชาติ ทรงเป็นบัณฑิต มีพระรูปงาม ทรงมั่งคั่ง ทรงมีกำลัง ทรงพระราชศรัทธา ทรงศึกษา ทรงสดับมาก ทรงทราบอรรถแห่งภาษิต และทรงเป็นบัณฑิต องค์ 8 ประการนี้ จัดเป็นบริวารแห่งยัญโดยแท้
พราหมณ์ปุโรหิต ประกอบด้วยองค์ 4 ประการ คือ เป็นอุภโตชาติ เป็นผู้เล่าเรียน เป็นผู้มีศีล และเป็นบัณฑิต องค์ 4 ประการนี้ จัดเป็นบริวารแห่งยัญโดยแท้
ยัญญสัมปทา 3 มีบริวาร 16
พราหมณ์ปุโรหิตได้แสดงยัญวิธี 3 ประการ ถวายพระเจ้าวิชิตราชก่อนทรงบูชายัญว่า เมื่อพระองค์บูชายัญอยู่ ความวิปฏิสารบางอย่างพึงมีว่า กองโภคสมบัติของเราจักหมดเปลือง กำลังหมดเปลืองอยู่ และได้หมดเปลืองไปแล้ว พระองค์ไม่ควรทำความวิปฏิสารเช่นนั้น
พราหมณ์ปุโรหิตได้กำจัดวิปฏิสาร ของพระเจ้าวิชิตราช เพราะพวกปฏิคาหก โดยอาการ 10 ประการ ก่อนบูชายัญ คือ ขอพระองค์ทรงปรารภเฉพาะพวกที่
1. งดเว้นจากปาณาติบาต
2. งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้
3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย
4. งดเว้นจากการกล่าวคำเท็จ
5. งดเว้นจากการกล่าวคำส่อเสียด
6. งดเว้นจากการกล่าวคำหยาบ
7. งดเว้นจากการกล่าวคำเพ้อเจ้อ
8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
9. มีจิตไม่พยาบาท
10. เป็นสัมมาทิฐิ
แล้วทรงบูชา ทรงบริจาค ทรงอนุโมทนา และทรงทำพระหฤทัยให้ผ่องใสในภายใน
จากนั้นพราหมณ์ปุโรหิตได้ยังพระหฤทัยของพระเจ้ามหาวิชิตราช ให้ทรงเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง โดยอาการ 16 ประการ ซึ่งใคร ๆ จะพึงตำหนิไม่ได้
ในยัญนั้น ไม่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร และสัตว์นานาชนิด ไม่ต้องตัดต้นไม้มาทำเป็นหลักยัญ ไม่ต้องเกี่ยวหญ้าคามา เพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น ฯ
แม้ชนเหล่าใด ที่เป็นทาส เป็นคนใช้ เป็นกรรมกร ของพระเจ้ามหาวิชิตราช ชนเหล่านั้นก็มิได้ถูกอาชญาคุกคาม มิได้ถูกภัยคุกคาม ไม่ต้องโศกเศร้า ปรารถนาจะกระทำจึงทำ ไม่ปรารถนาก็ไม่ต้องทำ ยัญนั้นได้สำเร็จแล้วด้วยลำพัง เนยใส น้ำมัน เนยข้น เปรียง น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เท่านั้น ฯ
ลำดับนั้น พวกอนุยนต์กษัตริย์ พวกอำมาตย์ พวกพราหมณ์มหาศาล พวกคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ซึ่งเป็นชาวนิคมและชนบท ต่างพากันนำทรัพย์มากมายมาถวาย แต่พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงปฏิเสธ ชนดังกล่าวจึงชวนกันบูชายัญตามเสด็จ
ชนผู้เห็นชอบตามพระราชดำริ 4 จำพวก พระเจ้ามหาวิชิตราชทรงประกอบด้วยองค์ 8 พราหมณ์ปุโรหิต ประกอบด้วยองค์ 4 รวมเป็น 3 อย่าง ทั้ง 3 ประการ รวมเรียกยัญสัมปทา 3 อย่าง มีบริวาร 16
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ต่างส่งเสียง แสดงความชื่นชม ยินดี กูฏทันตพราหมณ์ได้ทูลถามถึงคติของผู้บูชายัญครั้งนั้น พระองค์ตรัสตอบว่า เขาเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และในครั้งนั้น พระองค์ได้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต ผู้อำนวยการบูชายัญ
ว่าด้วยพุทธยัญ นิจจทาน
กูฏทันตพราหมณ์กราบทูลถามว่า ยัญอย่างอื่นซึ่งใช้ทรัพย์น้อยกว่า มีการตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่า มีอานิสงส์มากกว่า ยัญดังกล่าวมีอยู่หรือ
ตรัสตอบว่ามีอยู่ คือ นิยตทาน อันเป็นอนุกูลยัญ ที่บุคคลถวายเจาะจงพวกบรรพชิตผู้มีศีล เพราะพระอรหันต์ก็ดี ท่านผู้ที่บรรลุอรหัตมัคก็ดี ย่อมไม่เข้าไปสู่ยัญเช่นนั้น เพราะในยัญปรากฎว่ามีการประหารด้วยอาการต่าง ๆ ส่วนนิตยทาน ไม่มีการประหาร
การสร้างวิหารแด่พระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศทั้ง 4
ยังมียัญอย่างอื่นที่ใช้ทรัพย์น้อยกว่า ตระเตรียมน้อยกว่า และมีผลมากกว่านิตยทาน คือยัญของบุคคลที่สร้างวิหาร อุทิศพระสงฆ์ผู้มาแต่ทิศทั้ง 4
สรณาคมณ์
ยังมียัญที่ให้ผลมากกว่า วิหารทาน คือ ยัญของผู้ที่มีจิตเลื่อมใสถึง พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ
การสมาทานศีลห้า
ยังมียัญที่ให้ผลมากกว่า สรณาคมณ์ คือ การที่บุคคลเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบททั้งหลาย คืองดเว้นจากปาณาติบาต จากอทินนาทาน จากกาเมสุมิจฉาจาร จากมุสาวาท จากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นฐานแห่งความประมาท
ยังมียัญอย่างอื่นที่ให้ผลมากกว่า สิกขาบท ดังกล่าวคือ
พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ ..... (รายละเอียดในพุทธคุณ) ..... ผู้ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต ได้ออกบวชเป็นบรรพชิต สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม ที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ
จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
รายละเอียดเช่นเดียวกับในพรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน
รูปฌาน 4 วิชชาแปด - วิปัสสนาญาณ
รายละเอียดเช่นเดียวกับในสามัญญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน
กูฏทันตพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสพระธรรมเทศนาอย่างนี้แล้ว กูฏทันตพราหมณ์ได้กราบทูลว่า
ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ..... พระองค์ทรงประกาศพระธรรมโดยเอนกปริยาย ข้าพเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญ ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ จงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ข้าพเจ้าได้ปล่อยโคผู้ 700 ลูกโคผู้ 700 ลูกโคเมีย 700 แพะ 700 แกะ ได้ให้ชีวิตแก่สัตว์เหล่านั้น
กูฏทันตพราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล
พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสอนุปุพพิกถา แก่พราหมณ์กูฏทันตะ คือทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษของกามที่ต่ำช้า เศร้าหมอง และอานิสงส์ในการออกจากกาม เมื่อทรงทราบว่า พราหมณ์กูฏทันตะ มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ ร่าเริง ใส แล้วจึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พราหมณ์กูฏทันตะ ได้ดวงตาเห็นธรรม อัน ปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา พราหมณ์กูฏทันตะ เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งทราบถึงธรรมทั่วถึงแล้ว ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในสัตถุศาสนา
จบ กูฏทันตสูตร ที่ 5




6. มหาลิสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี สมัยนั้น พราหมณ์ทูตชาวโกศลรัฐ และพราหมณ์ทูตชาวมคธรัฐมากด้วยกัน พักอยู่ในเมืองเวสาลี ได้สดับข่าวว่า ..... (รายละเอียดว่าด้วยพุทธคุณ) แล้วได้เข้าไปยังกูฏาคารศาลา
เรื่องของพระนาคิตเถระ พุทธอุปัฏฐาก
สมัยนั้น พระนาคิตเถระ เป็นอุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาค เมื่อพวกพราหมณ์ และพวกเจ้าลิจฉวี จะขอเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค แต่พระนาคิตเถระตอบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทับหลีกเร้นอยู่ เขาเหล่านั้นจึงนั่งคอยเข้าเฝ้าอยู่ ต่อมาสามเณรนามว่าสีหะ ได้ขอร้องพระนาคิตะ ขอให้อนุญาตให้ผู้มารอเข้าเฝ้าดังกล่าวได้เข้าเฝ้า พระนาคิตะจึงให้สามเณรสีหะไปกราบทูล สามเณรสีหะจึงเข้าไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสสั่งให้สามเณรสีหะ จัดอาสนะในร่มหลังวิหาร ให้เป็นที่เข้าเฝ้า
เจ้าโอษฐัทธลิจฉวี พร้อมบริษัทหมู่ใหญ่ ได้เข้าเฝ้าแล้ว จึงได้กราบทูลถาม ถึงการได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารักประกอบด้วยกาม แต่ไม่ได้ยินเสียงทิพย์ ดังนั้นเสียงทิพย์มีอยู่หรือไม่ ทรงตรัสตอบว่ามี
สมาธิที่บำเพ็ญเฉพาะส่วน
ทรงตรัสว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิเฉพาะส่วน เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก แต่มิได้เจริญ เพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ และเจริญเพื่อได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ แต่มิได้เจริญเพื่อได้เห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
การเห็นรูปทิพย์ การฟังเสียงทิพย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
เหตุแห่งการทำให้แจ้งสมาธิภาวนา
เจ้าลิจฉวีกราบทูลถามว่า ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อเหตุจะทำให้แจ้งซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้น เพียงเท่านั้นหรือ
ตรัสตอบว่ามิใช่ ยังมีธรรมอื่น เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่า ประณีตกว่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า เพราะสัญโยชน์ 3 หมดสิ้นไป
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้ เพียงอีกครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสัญโยชน์ 3 หมดสิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะ หมดไป
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุไปเกิดในภพสูง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น เพราะสัญโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำ 5 ประการ หมดสิ้นไป
อริยมรรคมีองค์ 8
ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะสิ้นอาสวะอยู่ในปัจจุบัน
มรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ มรรคนี้ปฏิปทานี้ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่านั้น
เรื่องของมัณฑิยปริพาชกและชาลิยปริพาชก
ดูกร มหาลี สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ดังนั้น บรรพชิต 2 รูป คือ มัณฑิยปริพาชก และชาลิยะ เข้าไปหาเรา แล้วถามว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง เราตอบว่า ท่านจงฟัง แล้วแสดงพุทธคุณ จากนั้น แสดง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล รูปญาณ 4 วิชชา 8 วิปัสสนาญาณ จบแล้วทรงสรุปว่า ภิกษุใดรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นควรจะกล่าวอย่างที่ทั้งสองรูปถามหรือไม่ ทั้งสองรูปก็ยอมรับว่า จะไม่ถามเช่นนั้น
พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว เจ้าโอฏฐัทธลิจฉวียินดี ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค
จบ มหาลิสูตร ที่ 6


7. ชาลิยสูตร
เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากมหาลิสูตร ในตอนท้ายที่ว่าด้วยเรื่องมัณฑิยปริพาชก และชาลิยปริพาชก ที่พากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ที่โฆสิตาราม แล้วถามปัญหาเดียวกัน พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพุทธคุณ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล รูปฌาณ 4 วิชชา 8 และวิสัปสสนาญาณ จบแล้ว ทรงสรุปทำนองเดียวกัน
บรรพชิตทั้ง 2 รูป ก็ยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค
จบ ชาลิยสูตร ที่ 7


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


8. มหาสีหนาทสูตร


สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน เขตอุชุญญานคร ครั้งนั้น อเจลกชื่อว่า กัสสป เข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลถามว่า ตนได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงติ ตบะทุกอย่าง ทรงคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้วปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วนเดียว
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่มีจริง ไม่เป็นจริง เราเห็นผู้ที่ประพฤติตบะ มีอาชีพเศร้าหมอง บางคนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ก็มี เห็นผู้ประพฤติดังกล่าว เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ก็มี เราเห็นผู้ประพฤติตบะบางคน อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เข้าถึง อบาย ..... นรก ก็มี เข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ก็มี เรารู้การมา การไป จุติและอุปบัติ ของผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงเช่นนี้ เหตุไร เราจักติตบะทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษ ผู้ประพฤติตบะทั้งปวง โดยส่วนเดียวเล่า
ดูกร กัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด ทำการโต้เถียงผู้อื่น พวกนั้น ย่อมลงกับเราในฐานะบางอย่าง ไม่ลงกับเราในฐานะบางอย่าง บางอย่างเขากล่าวว่าดี แม้เราก็กล่าวว่าดี บางอย่างเขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี บางอย่างเขากล่าวว่าดี เรากล่าวว่าไม่ดี บางอย่างเขากล่าวว่าไม่ดี เรากล่าวว่าดี เราเข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้น แล้วกล่าวว่า ฐานะที่เราไม่ลงกัน จงงดไว้ ในฐานะที่ลงกัน วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน เปรียบเทียบครูด้วยครู เปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็น อกุศล มีโทษ ไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นฝ่ายดำ ใครละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่ พระสมณโคดมหรือคณาจารย์เหล่าอื่น ๆ
กถาว่าด้วยการละอกุศล
ดูกร กัสสป ฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อไล่เลียงสอบสวน ทั้งกล่าวว่า ธรรมของท่านเหล่าใดเป็นอกุศล ..... เป็นฝ่ายดำ พระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ หรือว่าคณาจารย์เหล่าอื่น ดูกร กัสสป วิญญูชนโดยมาก พึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น ๆ
กถาว่าด้วยการสมาทานกุศล
ดูกร กัสสป อีกข้อหนึ่ง วิญญูชนจงไล่เลียงสอบสวนพวกเรา ว่าธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล ไม่มีโทษ ควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานเหล่านี้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ พระสมณโคดม หรือคณาจารย์เหล่าอื่น ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือวิญญูชน เมื่อไล่เลียงสอบสวน โดยมากพึงสรรเสริญพวกเราพวกเดียวในข้อนั้น
จากนั้นพระองค์ได้ทรงเปรียบเทียบทำนองเดียวกัน ระหว่างสาวกของพระองค์ และสาวกของคณาจารย์เหล่าอื่น แล้วทรงตรัสว่า
มรรคามีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ ผู้ปฏิบัติตามแล้ว จักรู้เองเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย มรรคาประกอบด้วยองค์ 8 อันประเสริฐ คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ
กถาว่าด้วยการหลีกบาปด้วย ตบะ
อเจลกกัสสป กราบทูลว่า การบำเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ นับว่าเป็นการงานของสมณพราหมณ์ มีอยู่คือ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท ..... ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุราเมรัย ..... เป็นผู้ขวนขวายในการบริโภคภัต ที่เวียนมาตั้งถึงเดือนเช่นนี้บ้าง มีผักดองเป็นภิกษาบ้าง ..... บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ฯ
ทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ..... ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด ..... เป็นผู้นอนบนหนาม ..... เป็นผู้บริโภคคูต เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น ฯลฯ
ตรัสว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญาสัมปทานี้ ก็ยังไม่ชื่อว่า อบรมแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ที่แท้เขายังห่างจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ เมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณบ้าง พราหมณ์บ้าง
ว่าด้วยการบริโภคปริยายภัต
อเจลกกัสสป กราบทูลว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ฯ
ตรัสว่า ข้อนี้เป็นปกติในโลกที่เป็นเช่นนั้น หากว่าเป็นอเจลกผู้ทอดทิ้งมรรยาท ..... ฯลฯ สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ จักชื่อว่าเป็นกิจที่กระทำได้ยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำยาก พรหมคุณทำยาก
เมตตาจิตภาวนา
อเจลกกัสสป กราบทูลว่า สมณยากที่ใคร ๆ จะรู้ได้ พราหมณ์ยากที่ใครๆ จะรู้ได้ ฯ
ตรัสว่า ข้อนี้เป็นปกติในโลก แล้วทรงกล่าวถึงพฤติกรรมของอเจลกะ ผู้ทอดทิ้งมรรยาท ฯลฯ เช่นที่กล่าวมาแล้ว
ศีลสมาธิปัญญาสัมปทา
อเจลกกัสสป กราบทูลว่า ศีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา เป็นไฉน
ตรัสตอบว่า พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ ..... ทรงแสดงพุทธคุณจนจบ แล้วแสดงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล ซึ่งเป็นสีลสัมปทา อินทรีย์สังวรและ (รายละเอียดมีในพรหมชาลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด นั้งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ละความเพ่งเล็งในโลก ละความประทุษร้าย ละถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกุจจะ ละวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงใจในกุศลธรรม
เปรียบเหมือนผู้ที่กู้หนี้ไปประกอบการงาน แล้วหมดหนี้ มีกำไรเหลือ
เปรียบเหมือนผู้อาพาธ แล้วหายจากอาพาธ และมีกำลังกาย
เปรียบเหมือนผู้ที่ถูกจองจำ แล้วพ้นจากการจองจำ โดยไม่มีภัย ไม่เสียทรัพย์
เปรียบเหมือนผู้ที่เป็นทาษ แล้วพ้นจากความเป็นทาษ พึ่งตัวเองได้
เปรียบเหมือนผู้ที่มีทรัพย์เดินทางไกล มีภัยเฉพาะหน้า ได้บรรลุจุดหมายโดยปลอดภัย
ภิกษุเห็นนิวรณ์ 5 ประการ ที่ยังละไม่ได้ เหมือนหนี้ เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาษ เหมือนทางไกลกันดาร เมื่อละได้แล้ว ก็เหมือนพ้นจากภาระอันไม่พึงประสงค์ ในแต่ละประการดังกล่าวแล้ว
เมื่อละนิวรณ์ได้แล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์ แล้วเกิดปิติ กายย่อมสงบ ย่อมได้เสวยสุข
เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติ และสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เป็นจิตตสัมปทา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เป็นจิตตสัมปทา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไปบรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขนี้เป็นจิตตสัมปทา ฯ
อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เป็นจิตตสัมปทา ฯ
ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ ย่อมรู้ชัดว่า กายเรานี้มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยอาหาร ไม่เที่ยง มีอันทำลาย และกระจัดกระจายเป็นธรรมดา วิญญาณของเรานี้ อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อนิรมิตรูป อันเกิดแต่ใจ ฯลฯ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่ออิทธิวิธี ฯลฯ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อทิพยโสตธาตุ ฯลฯ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อเจโตปริยญาณ ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ฯลฯ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้ เป็นอันมาก ฯลฯ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่อจุตูปปาตญาณ ย่อมรู้จุติ และอุปปัติของสัตว์ทั้งหลาย .... ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ฯลฯ ย่อมน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวะสมุทัย นี้อาสวะนิโรธ นี้อาสวะนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี นี้เป็นปัญญาสัมปทา ฯ
ดูกร กัสสป สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา ข้ออื่นที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา นี้ไม่มีเลย
ดูกร กัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้กล่าวศีล สรรเสริญคุณแห่งศีล ศีลอันประเสริฐอย่างยอด มีประมาณเท่าไร เรายังไม่เห็นผู้ทัดเทียมเรา ในศีลอันประเสริฐนั้น เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่ง ในศีลอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิศีล
ดูกร กัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้กล่าว ตบะอันกีดกันกิเลส สรรเสริญคุณแห่งตบะอันกีดกันกิเลส อันประเสริฐอย่างยอด มีประมาณเท่าไร เราไม่เห็นผู้ทัดเทียมเราในตบะ อันกีดกันกิเลสอันประเสริฐอย่างยอดนั้น เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิจิต
ดูกร กัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้กล่าวปัญญา สรรเสริญคุณแห่งปัญญา ปัญญาอันประเสริฐอย่างยอด มีประมาณเท่าไร เราไม่เห็นผู้ทัดเทียมเรา ในปัญญาอันประเสริฐอย่างยอดนั้น เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในปัญญาอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิปัญญา
ดูกร กัสสป มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นผู้กล่าววิมุตติ สรรเสริญคุณแห่งวิมุตติ วิมุตติอันประเสริฐอย่างยอด มีประมาณเท่าไร เราไม่เห็นผู้ทัดเทียมเรา ในวิมุตติอันประเสริฐอย่างยอดนั้น เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่ง ในวิมุตติอันประเสริฐอย่างยอดนั้น คือ อธิวิมุตติ
สีหนาท
ดูกร กัสสป ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชก อัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวว่า พระสมณโคดม บันลือสีหนาท แต่บันลือในเรือนว่าง ไม่ใช่ในบริษัท ท่านพึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พระสมณโคดม บันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท มิใช่บันลือในเรือนว่าง
ดูกร กัสสป ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พระสมณโคดม บันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ เทวดา และมนุษย์ ย่อมถามปัญหาพระองค์ พระองค์ย่อมพยากรณ์แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นได้ ยังจิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมสำคัญปัญหาพยากรณ์ว่า อันตน ๆ ควรฟัง ครั้นฟังแล้วย่อมเลื่อมใส ย่อมทำอาการของผู้เลื่อมใส ย่อมปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ครั้นปฏิบัติแล้วย่อมชื่นชม
ดูกร กัสสป ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ เพื่อนพรหมจรรย์ของท่านคนหนึ่ง ชื่อนิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหา ตบะอันกีดกันกิเลสอย่างยิ่ง เราได้พยากรณ์แก่เขา เขาปลื้มใจเหลือเกิน
อเจลกกัสสป กราบทูลว่า ใครเล่าฟังธรรมของพระองค์แล้ว จะไม่ปลื้มใจอย่างเหลือเกิน ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ..... ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระองค์
ติตถิยปริวาส
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา อุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาสสี่เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่าเรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้
อเจลกกัสสปกราบทูลว่า ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาสสี่ปี อเจลกกัสสปได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้วไม่นาน เป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกแล้ว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี ท่านกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

จบ มหาสีหนาทสูตร ที่ 8


9. โปฏฐปาทสูตร
เรื่องปริชาชกโปฏฐปาทะ
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เขตนครสาวัตถี
สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก พร้อมปริพาชกหมู่ใหญ่ ประมาณ 3,000 คน อาศัยอยู่ในมัลลิการาม อันเป็นสถานที่โต้ลัทธิ ครั้นนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคได้เสด็จไปหาโปฏฐปาทปริพาชก
ติรัจฉานกถา
สมัยนั้น โปฏฐปาทปริพาชก กับบรรดาปริพาชกหมู่ใหญ่ กำลังสนทนาติรัจฉานกถา ด้วยเสียงอันดัง คือ พูดเรื่อง พระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม
พอเห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล จึงห้ามพวกของตน ให้เบาเสียงลง เพราะพระองค์โปรดเสียงเบา บางทีอาจจะเสด็จเข้ามาก็ได้ ดังนั้นพวกปริพาชกจึงพากันนิ่ง
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง เธอได้กราบทูลเชิญให้ประทับนั่งที่อาสนะ พระองค์ได้รับสั่งถามว่า พวกท่านสนทนาเรื่องอะไรกันอยู่
ว่าด้วยอภิสัญญานิโรธ
โปฎฐปาทปริพาชก กราบทูลว่า ข้อนั้นของดไว้ก่อน แต่ว่าเมื่อวันก่อน พวกสมณพราหมณ์ ผู้มีลัทธิแตกต่างกัน ได้ประชุมกันที่โกตุหลศาลา ได้สนทนากันในอภิสัญญานิโรธว่า สัญญาของบุรุษไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเอง ดับไปเอง อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ และอัตตานั้นเข้ามาก็มี ไปปราศก็มี อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์มากมีอยู่ จะบันดาลให้มีก็ได้ ให้พรากก็ได้ ซึ่งสัญญาของบุรุษนี้ อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เทวดาที่มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากมีอยู่ จะบันดาลให้มีก็ได้ ให้พรากก็ได้ ซึ่งสัญญาของบุรุษนี้ ขอพระองค์ให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ด้วยว่า อภิสัญญานิโรธนั้นเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น พวกที่กล่าวว่าสัญญาของบุรุษ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เกิดขึ้นเอง ดับไปเองนั้น เป็นความเห็นที่ผิดแต่ต้น เพราะสัญญาของบุรุษ มีเหตุมีปัจจัย เกิดขึ้นก็มี ดับไปก็มี สัญญาอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นเพราะการศึกษาก็มี ดับไปเพราะการศึกษาก็มี ข้อที่พึ่งศึกษาเป็นไฉน แล้วทรงแสดงพุทธคุณ (รายละเอียดดูในสามัญผลสูตร) เมื่อผู้ที่ได้ฟังเกิดศรัทธา จึงบวชเป็นบรรพชิต ถึงพร้อมด้วย จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล (รายละเอียดดูในพรหมชาลสูตร) และอินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ (รายละเอียดดูในสามัญผลสูตร ในหัวข้อเดียวกัน)
ทรงตรัสว่า ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริย เช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด นั่งคู้บัลลังก์ ฯลฯ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากนิวรณ์ 5 คือ จากความเพ่งเล็งในโลก คือ จากความพยาบาท จากถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาซึมเซา จากอุทธัจจกุกกุจจะ คือไม่ฟุ้งซ่าน และจากวิจิกิจฉา คือความคลางแคลงสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย
เปรียบนิวรณ์ (รายละเอียดดูจากสามัญผลสูตร)
เมื่อละนิวรณ์ 5 ได้แล้ว ย่อมเกิดปราโมทย์ เกิดปิติ กายย่อมสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตย่อมตั้งมั่นไปตามลำดับ เมื่อสงัดจากกาม จากอกุศลธรรม ก็จะบรรลุ ปฐมฌาน สัญญาเกี่ยวด้วยกามที่มีอยู่ก่อนย่อมดับ เกิดสัจจสัญญาอันละเอียด มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้นสัญญาอย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น เพราะการศึกษา สัญญาอย่างหนึ่งย่อมดับไปเพราะการศึกษา
รูปารูปฌานนังคสุขสุขุมสัจจสัญญา
ภิกษุบรรลุ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ไปตามลำดับ และสรุปผลทำนองเดียวกัน กับเมื่อบรรลุปฐมฌาน คือสัญญาหนึ่งเกิดขึ้น และสัญญาหนึ่งดับไป เพราะการศึกษา
ภิกษุบรรลุ อากาสานัญจายตนฌาน มีอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจในสัญญาต่าง ๆ
ภิกษุบรรลุ วิญญานัญจายตนฌาน มีอารมณ์ว่าวิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด
ภิกษุบรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน มีอารมณ์ว่าไม่มีอะไร
เมื่อบรรลุแต่ละฌาน ก็สรุปผลทำนองเดียวกัน คือ สัญญาหนึ่งเกิดขึ้น สัญญาหนึ่งดับไป เพราะการศึกษา
อนุปุพพาภิสัญญานิโรธสัมปชานสมาบัติ
ภิกษุ เป็นผู้มีสกสัญญา เธอพ้นจากปฐมฌาน จากทุติยฌาน ฯลฯ ย่อมได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยลำดับ เมื่อเธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนแล้ว ย่อมมีความปริวิตกว่า เมื่อเราคิดอยู่ก็ยังชั่ว เมื่อเราไม่คิดอยู่จึงจะดี แต่ถ้าเรายังขืนคิดขืนคำนึง สัญญาของเราเหล่านี้พึงดับ สัญญาอย่างอย่างหยาบเหล่าอื่นพึงบังเกิดขึ้น เธอจึงไม่คิดไม่คำนึง สัญญาเหล่านั้นก็ดับไป สัญญาหยาบเหล่าอื่นก็ไม่เกิดขึ้น เธอก็ได้บรรลุนิโรธ การเข้าอภิสัญญานิโรธ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
โปฏฐปาทะยอมรับว่า ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้มาก่อน แล้วได้กราบทูลถามว่า อากิญจัญญายตนะนั้น ทรงบัญญัติไว้อย่างเดียวหรือหลายอย่าง ทรงตอบว่าอย่างเดียวก็มี หลายอย่างก็มี เพราะพระโยคีย่อมนิโรธด้วยประการใด ๆ พระองค์ก็บัญญัติด้วยประการนั้น ๆ
โปฏฐปาทะกราบทูลถามต่อไปว่า สัญญาเกิดก่อนหรือว่าญาณเกิดก่อน ตรัสตอบว่า สัญญาเกิดก่อน ญาณเกิดทีหลัง เพราะสัญญาเกิดญาณจึงเกิด
ว่าด้วยสัญญาและอัตตา
ป. สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือสัญญาอย่างหนึ่ง อัตตาอย่างหนึ่ง
พ. เธอต้องการสัญญา เช่นไร
ป. ข้าพระองค์ต้องการอัตตาหยาบ ๆ ที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูตรูป 4 บริโภคกวริงการาหาร
พ. เมื่อเป็นเช่นนั้น สัญญาของเธอจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง
ป. ข้าพระองค์ต้องการอัตตา ที่สำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
พ. เธอจักมีสัญญาอย่างหนึ่ง มีอัตตาอย่างหนึ่ง
ป. ข้าพระองค์ต้องการอัตตาที่ไม่มีรูป สำเร็จด้วยสัญญา
พ. สัญญาของเธอจักเป็นอย่างหนึ่ง อัตตาจักเป็นอย่างหนึ่ง
ป. ข้าพระองค์อาจทราบข้อนี้ได้หรือว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือว่าสัญญาอย่างหนึ่ง อัตตาอย่างหนึ่ง
พ. เธอมีความเห็น มีความพอใจ มีความชอบใจ มีความพยายาม ไปทางหนึ่ง มีลัทธิอาจารย์อย่างหนึ่ง ยากจะรู้ข้อความนั้นได้ว่า สัญญาเป็นอัตตาของบุรุษ หรือว่าสัญญาอย่างหนึ่ง อัตตาอย่างหนึ่ง
ป. ข้าพระองค์มีความเห็น ฯลฯ ก็คำว่าโลกเที่ยงนี้เท่านั้นเป็นความจริง สิ่งอื่นเปล่ากระนั้นหรือ
พ. เรื่องนี้เราไม่พยากรณ์
ป. ก็คำว่าโลกไม่เที่ยง นี้เท่านั้นเป็นความจริง สิ่งอื่นเปล่าเท่านั้นหรือ
พ. เรื่องนี้เราไม่พยากรณ์
ป. ข้าแต่พระองค์ คำว่าโลกมีที่สุด ..... โลกไม่มีที่สุด ..... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ..... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ..... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ..... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ..... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี ..... สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ นี้เท่านั้นเป็นความจริง สิ่งอื่นเปล่ากระนั้นหรือ
พ. แม้ข้อนี้เราไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม ไม่เป็นเบื้องต้น แห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปด้วยความหน่าย คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พยากรณ์ ฯ
อัพยากตาพยากตปัญหา
พ. เราพยากรณ์ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เพราะข้อนั้นประกอบด้วยอรรถ ด้วยธรรม เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความหน่าย คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงพยากรณ์
เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปแล้ว พวกปริพาชก พากันต่อว่าโปฏฐปาทะปริพาชกว่า พระสมณโคดมตรัสคำใด ท่านพลอยอนุโมทนาคำนั้น ฝ่ายพวกเรามิได้เข้าใจอรรถ ที่พระสมณโคดมแสดงแล้วโดยส่วนเดียว
โปฏฐปาทปริพาชก ก็ยอมรับว่า แม้ตนเองก็มิได้เข้าใจธรรม ที่พระสมณโคดมทรงแสดงแล้วโดยส่วนเดียว แต่ว่าพระสมณโคดม บัญญัติปฏิปทาที่จริงแท้แน่นอน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยาม ไฉนเล่าวิญญูชนเช่นเรา จะไม่อนุโมทนาสุภาษิตพระสมณโคดม โดยเป็นสุภาษิต
ปริพาชกจิตตหัตถิสารีบุตร และปริพาชกโปฏฐปาทะ
ปริพาชกทั้งสองคน ได้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วกราบทูลว่า ในคราวนั้น พวกปริพาชกได้พากันต่อว่าข้าพระองค์ แล้วกราบทูลรายละเอียดให้ทรงทราบ
ทรงมีพระดำรัสว่า ปริพาชกเหล่านี้ทั้งหมด ล้วนเป็นคนบอด หาจักษุมิได้ เธอคนเดียวเท่านั้น เป็นคนมีจักษุ ธรรมที่เป็นไปโดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วก็มี ที่ไม่เป็นไปโดยส่วนเดียว เราแสดงแล้วบัญญัติแล้วก็มี ธรรมที่ไม่เป็นไปโดยส่วนเดียว เราแสดงแล้วได้แก่ โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง ฯลฯ เพราะธรรมเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยอรรถ ไม่ประกอบด้วยธรรม ฯลฯ
เอกิจสิธรรม
ก็ธรรมที่เป็นไปโดยส่วนเดียว เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ได้แก่ นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย ฯลฯ เพราะว่าธรรมเหล่านี้ประกอบด้วยอรรถ ประกอบด้วยธรรม ฯลฯ เราจึงแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว ฯ
ดูกร โปฏฐปาทะ มีสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะว่า เบื้องหน้าแต่ตายไป อัตตามีสุขแต่ส่วนเดียว หาโรคมิได้มีอยู่ เราไปหาเขาพวกนั้น แล้วถามว่าพวกท่านมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้จริงหรือ
ถ้าพวกเขาเหล่านั้นปฎิญญาว่าจริง เราจะถามเขาว่า ท่านยังรู้เห็นโลกมีสุขโดยส่วนเดียวบ้างหรือ เขาจะตอบว่าหามิได้ เราจะถามต่อไปว่า ท่านรู้ว่าอัตตามีสุขโดยส่วนเดียว ยังรู้ว่านี้มรรคา นี้ข้อปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโลกมีสุขโดยส่วนเดียว ยังได้ยินพวกเทวดาที่เข้าถึงโลกมีความสุขโดยส่วนเดียว เมื่อถูกถามอย่างนี้แล้ว เขาจะตอบว่าหามิได้
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถึงความเป็นภาษิตไม่มีปาฏิหารย์ มิใช่หรือโปฏฐปาทะปริพาชก รับว่าเป็นเช่นนั้น
ว่าด้วยทิฐิของสมณพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคได้ทรงยกตัวอย่างว่า บุรุษที่ปรารถนารักใคร่ นางชนปทกัลยาณี แล้วถูกถามว่า รู้จักนางแล้วหรือ ในเรื่องวรรณ ชื่อ โคตร รูปร่าง ผิวพรรณ ที่อยู่ บุรุษนั้นก็ตอบว่าหามิได้ ถ้อยคำของบุรุษผู้นั้นย่อมเป็นคำไม่มีปาฏิหารย์
ตัวอย่างว่าบุรุษทำพะองที่หนทางสี่แพร่ง เพื่อขึ้นปราสาท เมื่อถูกถามว่ารู้จักปราสาทนั้นหรือ ว่าอยู่ทิศใด ขนาดของปราสาท เขาก็ตอบว่าไม่รู้ ถ้อยคำของบุรุษนั้นย่อมไม่มีปาฏิหารย์ และทรงสรุปว่า ภาษิตของสมณพราหมณ์เหล่านี้ ถึงความเป็นภาษิตไม่มีปาฏิหารย์
การได้อัตตา 3 ประการ
ดูกร โปฏฐปาทะ ความได้อัตตา 3 คือ ได้อัตตาที่หยาบ อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ และอัตตาที่หารูปมิได้
อัตตาหยาบคืออัตตาที่มีรูป ประกอบด้วย มหาภูตรูป 4 บริโภคกวริงการาหาร
อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ คือ อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
อัตตาที่หารูปมิได้ คือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา
ดูกร โปฎฐปาทะ เราจะแสดงธรรม เพื่อละอัตตาทั้งสาม ว่าพวกเธอปฎิบัติอย่างไร จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น จักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญาให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ฯ
บางคราวเธอจักพึงมีความเห็นว่า สังกิเลสธรรมเราจักละได้ ฯลฯ แต่ความอยู่ไม่สบาย แต่เธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ที่แท้สังกิเลสธรรมพวกเธอละได้ ฯลฯ ความปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ และความอยู่สบายจักมีได้
หากคนเหล่าอื่น จะพึงถามเราว่า ความได้อัตตาทั้งสาม ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้น พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงจะละสังกิเลสธรรมเสียได้ ฯลฯ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ เป็นไฉน เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า นี้แหละความได้อัตตา ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร จึงละสังกิเลสธรรมได้ ฯลฯ ด้วยปัญญอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ ฯ
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตย่อมถึงความเป็นภาษิตมีปาฎิหารย์
ดูกร โปฎฐปาทะ เหมือนบุรุษทำพระองค์เพื่อขึ้นปราสาทที่ภายใต้ปราสาทนั้น ชนทั้งหลายถามว่า ท่านรู้จักปราสาทนั้นว่าอยู่ทิศใด ขนาดเท่าไร เขาตอบว่า นี้แหละปราสาทที่ข้าพเจ้ากำลังทำพะอง เพื่อจะขึ้นอยู่ภายใต้ปราสาทนั้นเอง ถ้อยคำของบุรุษนั้น ย่อมถึงความเป็นถ้อยคำที่มีปาฏิหารย์ฯ ฉันใด
ฉันนั้นก็เหมือนกัน หากคนอื่นพึงถามเราถึงเรื่องอัตตา ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้น
ภาษิตย่อมถึงความเป็นภาษิตมีปาฎิหารย์
จิตตหัสถิสารีบุตร ได้กราบทูลว่า สมัยใดที่ได้อัตตาอย่างใดอย่างหนึ่ง อัตตาที่เหลืออีกสองอย่างเป็นโมฆะ อัตตาที่ได้นั้นเที่ยงแท้
ตรัสว่า สมัยใดได้อัตตาอย่างใดอย่างหนึ่ง จะไม่นับอัตตาที่เหลืออีกสองอย่าง นับว่าได้อัตตานั้นอย่างเดียว
ดูกร จิตตะ ถ้าถูกถามว่า เธอได้มีในอดีตกาล เธอจักมีในอนาคตกาล เธอมีอยู่ในบัดนี้เช่นนั้นหรือ เธอจะพึงพยากรณ์ว่าอย่างไร
จ. ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ว่า ข้าพเจ้าได้มีแล้วในอดีตกาล ข้าพเจ้าจักมีในอนาคต ข้าพเจ้ามีอยู่ในบัดนี้
พ. ถ้าเขาถามเธอว่า เธอได้อัตภาพที่เป็นอดีตแล้ว การที่เธอได้อัตภาพเช่นนั้น เป็นของเที่ยงแท้ การได้อัตภาพเป็นอนาคตเป็นปัจจุบัน เป็นโมฆะ และเมื่อได้อัตภาพปัจจุบัน หรืออัตภาพในอนาคต อัตภาพทั้งสองที่เหลือ เป็นโมฆะอย่างนั้นหรือ เธอจะฟังพยากรณ์ว่าอย่างไร
จ. ข้าพระองค์พึงพยากรณ์ว่า ข้าพเจ้าได้อัตภาพอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว การได้อัตภาพนั้นเท่านั้น เป็นของเที่ยงแท้ในสมัยนั้น อัตภาพอย่างอื่นเป็นโมฆะ
พ. เป็นอย่างนั้น เหมือนอย่างนมสดจากแม่โค นมส้มจากนมสด เนยข้นจากนมส้ม เนยใสจากเนยข้น หัวเนยใสจากเนยใส สมัยใดเป็นนมสด สมัยนั้นไม่นับว่าเป็นอย่างอื่น นับว่าเป็นนมสดอย่างเดียวและอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ฉันใด ฉันนั้นก็เหมือนกัน
สมัยใดมีการได้อัตตาอย่างหนึ่ง อัตตาอื่นก็ไม่นำมานับ คงนับแต่อัตตาที่ได้เท่านั้น
เหล่านี้แล เป็นชื่อตามโลก เป็นภาษาของโลก เป็นโวหารของโลก เป็นบัญญัติของโลก ที่ตถาคตกล่าวอยู่ มิได้ยึดถือ ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว โปฎฐปาทปริพาชก ได้กราบทูลว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็น่ต้นไป
ปริพาชุกจิตตหัตถีสารีบุตรบรรลุอรหัตถผล
ฝ่ายจิตตหัตถีสารีบุตร ก็ได้กราบทูลว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบท ในสำนักของพระผู้มีพระภาค
เมื่อท่านอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ท่านได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ฯ

จบ โปฎฐบาทสูตร ที่ 9




10. สุภสูตร
เรื่อง สุภมานพ
เมื่อพระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพานแล้วไม่นาน พระอานนท์อยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เขตนครสาวัตถี
สมัยนั้น สุภมานพโตเทยยบุตร ได้ขอให้พระอานนท์ไปยังนิเวศน์ของตน แล้วถามว่า ท่านพระโคดมตรัสสรรเสริญคุณแห่งธรรมเหล่าไหน และทรงยังชุมชนให้สมาทาน ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ ในธรรมเหล่าไหน ฯ
อริยขันธ์ 3
พระอานนท์ตอบว่า ได้ตรัสสรรเสริญขันธ์สาม และทรงยังชุมชนให้สมาทาน ตั้งอยู่ ดำรงอยู่ในขันธ์สามนี้ คือ ศีลขันธ์ อันเป็นอริย สมาธิขันธ์อันเป็นอริย ปัญญาขันธ์อันเป็นอริย ศีลขันธ์เป็นไฉน
อริยศีลขันธ์
พระอานนท์ได้แสดงพุทธคุณ (รายละเอียดในสามัญญผลสูตร)
แสดง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล (รายละเอียดในพรหมชาลสูตร)
แล้วสรุปว่า เมื่อภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ เพราะศีลสังวรนั้น เปรียบเหมือนกษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษก กำจัดราชศัตรูได้แล้ว ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ ภิกษุสมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์เช่นนี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน
อนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก ฯ
สุภมานพกล่าวว่า น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมาก่อน ข้าพเจ้าไม่เคยได้เห็นศีลขันธ์ อันเป็นอริยที่บริบูรณ์อย่างนี้ในสมณพราหมณ์อื่น ภายนอกพระศาสนานี้เลย สมณพราหมณ์เหล่าอื่น พึงเห็นศีลขันธ์อันเป็นอริย ที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ในตน เขาเหล่านั้นจะพึงพอใจ เพราะเหตุเพียงเท่านั้น สำคัญตนว่าได้บรรลุ ถึงประโยชน์แห่งสามัญคุณ แล้วโดยลำดับ ไม่มีกรณียกิจอะไร ที่จะยิ่งขึ้นไปอีก แต่พระอานนท์ยังกล่าวว่า ในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจ ที่ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก
อริยสมาธิขันธ์-อินทรีสังวร
พระอานนท์ได้แสดงอินทรียสังวร (รายละเอียดมีในสามัญญผลสูตร) แล้วสรุปว่า เมื่อภิกษุประกอบด้วย
อินทรียสังวรอันเป็นอริยเช่นนี้ย่อมได้เสวยสุข อันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน
จากนั้นได้แสดงสติสัมปชัญญะ สันโดษ จิตปราศจากนิวรณ์ เปรียบนิวรณ์ รูปฌาน 4 (รายละเอียดมีใน
สามัญญผลสูตร) แล้วสรุปว่า นี้เป็นสมาธิขันธ์อันเป็นอริยะ อนึ่งในพระธรรมวินัยนี้ ยังมีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอยู่อีก
สุภมานพก็ได้กล่าวคำสรรเสริญ ทำนองเดียวกันกับที่กล่าวในหัวข้ออริยศีลขันธ์
อริยปัญญาขันธ์
พระอานนท์ได้แสดง วิชชา 8 อันประกอบด้วย วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิชญาณ ทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปชาตญาณ อาสวักขยญาณ แล้วสรุปว่า
ดูกร มาณพ ปัญญาขันธ์อันเป็นอริยนี้ ที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสสรรเสริญ และทรงยังประชุมชนนี้ให้
สมาทาน ให้ตั้งอยู่ ให้ดำรงอยู่ และในพระธรรมวินัยนี้ มิได้มีกรณียกิจที่ยิ่งขึ้นไปอีก
สุภมานพแสดงตนเป็นอุบาสก
ข้าแต่พระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรมและ
พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระอานนท์จงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
จบ สุภสูตรที่ 10


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


11. เกวัฏฏะสูตร
เรื่อง นายเกวัฏฏะ (ชาวประมง)
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของ ปาวาริกเศรษฐี เขตเมืองนาลันทา
ครั้งนั้น เกวัฏฏะ คฤหบดีบุตร ได้เข้าไปเฝ้าได้กราบทูลว่า ขอพระผู้มีพระภาค ทรงชี้ภิกษุสักรูปหนึ่ง ที่จักกระทำอิทธิปาฏิหารย์ อันเป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวเมืองนาลันทา จักเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคอย่างยิ่ง
ทรงตรัสว่า เรามิได้แสดงธรรมแก่ภิกษุว่า ให้เธอทั้งหลาย จงกระทำอิทธิปาฏิหารย์ อันเป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ แก่คฤหัสถ์ แต่เกวัฏฏะได้พยายามกราบทูลเช่นนั้น ถึงสามครั้ง
ปาฏิหารย์ 3 ประการ
ตรัส ว่า ปาฏิหารย์ 3 อย่างนี้ เราทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองแล้ว จึงได้ประกาศให้รู้ ปาฏิหารย์ 3 อย่าง คือ อิทธิปาฏิหารย์ อาเทสนาปาฏิหารย์ อนุสาสนีปาฏิหารย์
อิทธิปาฏิหารย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา ไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่าง ผุดขึ้น ดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ ด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกาย ไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส จะบอกแก่ผู้ที่ไม่ศรัทธา ผู้ที่ไม่ศรัทธาจะพึงกล่าวว่า ท่านมีวิชาอยู่อย่างหนึ่ง ชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง ได้ด้วยวิชาที่ชื่อว่า คันธารี นั้น ดูกร เกวัฏฏะ เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหารย์อย่างนี้ จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหารย์
อาเทสนาปาฏิหารย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ว่า ใจท่านเป็นอย่างนี้ ใจท่านเป็นไปโดยอาการนี้ จิตท่านเป็นดังนี้ เพราะเหตุดังนี้ บุคคลผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส จะบอกแก่ผู้ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใส ผู้ที่ไม่ศรัทธา เลื่อมใส จะพึงกล่าวว่า ท่านมีวิชาอย่างหนึ่งชื่อว่า มณิกา ภิกษุรูปนั้นทายใจ ฯลฯ ด้วยวิชาชื่อว่า มณิกา นั้น ดูกร เกวัฏฏะ เราเล็งเห็นโทษ ในอาเทสนาปาฏิหารย์อย่างนี้ จึงอึดอัด ระอา เกลียดอาเทสนาปาฏิหารย์
อนุสาสนีปาฏิหารย์
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้
อย่าทำในใจอย่างนั้น จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด นี้เรียกอนุสาสนีปาฏิหารย์
จากนั้นทรงแสดงพุทธคุณ (รายละเอียดมีในสามัญญผลสูตร)
ทรงแสดง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล (รายละเอียดมีในพรหมชาลสูตร) แล้วทรงสรุปว่า
ภิกษุสมบูรณ์ด้วยศีลอย่างนี้ ย่อมไม่ประสบภัยแต่ไหน ๆ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษ ณ ภายใน ด้วยประการดังกล่าวนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอนุศาสนีปาฏิหารย์
จากนั้นทรงแสดง อินทรียสังวร จิตปราศจากนิวรณ์ เปรียบนิวรณ์ รูปฌาน 4 วิชชา 8 อันประกอบด้วย วิปัสสนาญาณ มโนมยิทธิญาณ อิทธิวิชญาณ ทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ (รายละเอียดมีในสามัญญผลสูตร) โดยแสดงให้เห็นว่า ในแต่ละเรื่องนั้นเป็น อนุสาสนียปาฏิหารย์
ทรงสรุปว่า ปาฏิหารย์ 3 เหล่านี้ เราได้ทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้รู้
เรื่องภิกษุแสวงหามหาภูติ
ดูกร เกวัฏฏะ เรื่องเคยมีมาแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง เกิดปริวิตกว่า มหาภูติรูปทั้ง 4 คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ย่อมดับไม่มีเหลือ ในที่ไหนหนอ ลำดับนั้น เธอได้เข้าสมาธิ ชนิดที่จิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่เทวโลก ปรากฎได้ เธอได้เข้าไปหาเทวดาชั้นจตุมหาราช แล้วถามปัญหาดังกล่าว เทวดาเหล่านั้นตอบว่า แม้พวกตนก็ไม่ทราบ แต่ยังมีเทวดาซึ่งดีกว่า ประณีตกว่าพวกตน ท่านเหล่านั้นคงจะทราบ ภิกษุนั้นก็ได้ไปหา เทวดาดังกล่าวตามลำดับ คือ ท้าวมหาราชทั้ง 4 เทวดาชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะ เทวดาชั้นยามา ท้าวสุยาม เทวดาชั้นดุสิต ท้าวสันดุสิต เทวดาชั้นนิมมานรดี ท้าวสุนิมมิต เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวดี ท้าวปรนิมมิตวสวดี ท่านเหล่านั้นทั้งหมดต่างไม่ทราบ และองค์ท้ายสุด แนะนำให้ไปถามหมู่พรหม ภิกษุนั้นจึงได้เข้าสมาธิ ชนิดที่จิตตั้งมั่นแล้ว ทางไปสู่พรหมโลกปรากฏได้
ภิกษุรูปนั้นได้ไปถามเทวดา ผู้นับเนื่องในหมู่พรหม ท่านเหล่านั้นก็ไม่ทราบ และแนะนำให้ไปถามท้าว
มหาพรหม เนื่องจากเป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้เห็นเหตุการณ์ถ่องแท้ ผู้ใช้อำนาจเป็นอิศวร เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นิรมิต เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้บงการ เป็นผู้ทรงอำนาจ เป็นบิดาของหมู่สัตว์ ผู้เกิดแล้วและยังจะเกิดต่อไป พวกตนไม่รู้ที่อยู่ของพรหม แต่นิมิตทั้งหลายย่อมเห็นได้ แสงสว่างย่อมเกิดเอง โอภาสย่อมเกิดเมื่อใด พรหมจักปรากฎองค์เมื่อนั้น
ภิกษุนั้นเข้าไปหามหาพรหม แล้วถามปัญหานั้น ท้าวมหาพรหมตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นพรหม เป็นมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า ฯลฯ แม้ครั้งที่ 2 ท้าวมหาพรหมก็ตอบอย่างนั้น แม้ครั้งที่ 3 ภิกษุได้กล่าวกับท้าวมหาพรหมว่า ข้าพเจ้ามิได้ถามท่านเช่นนั้น
ลำดับนั้น ท้าวมหาพรหมได้กล่าวว่า พวกเทวดาที่นับเนื่องในหมู่พรหม เข้าใจเราว่า อะไร ๆ ที่พรหมไม่รู้ ไม่เห็น ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ประจักษ์ ไม่มี เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าตอบต่อหน้าเทวดาเหล่านั้นไม่ได้ว่า แม้ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ ที่ดับไม่มีเหลือของมหาภูติรูปทั้ง 4 เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การที่ท่านละพระผู้มีพระภาคเสีย แล้วมาเสาะหา การพยากรณ์ปัญหานี้ภายนอกนั้น ท่านทำผิดพลาดแล้ว ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ทูลถามปัญหานี้ พระองค์ทรงพยากรณ์แก่ท่านฉันใด ท่านฟังทรงจำข้อนั้นไว้
อุปมาด้วยนกดูฝั่ง
ภิกษุนั้น ได้หายไปที่พรหมโลก มาปรากฎข้างหน้าเรา ได้ถามเราถึงปัญหานั้น เราได้ตอบว่า เรื่องเคยมีมาแล้ว พวกพ่อค้าเดินเรือทะเล ย่อมจับนกตีรทัสสี (นกดูฝั่ง) ลงเรือไปด้วย เมื่อไม่เห็นฝั่ง เขาย่อมปล่อยนกนั้น มันบินไปยังทิศต่าง ๆ ถ้ามันแลเห็นฝั่งโดยรอบ มันก็บินเลยไป ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดยรอบ มันก็จะกลับมายังเรือนั้นอีก ดูกร ภิกษุ เธอก็ฉันนั้น เที่ยวแสวงหาถึงพรหมโลก ก็ไม่ได้รับพยากรณ์ปัญหานี้ ในที่สุด ก็ต้องกลับมาหายังสำนักเรานั่นเอง ปัญหาข้อนี้ เธอมิควรถามอย่างนั้น แต่ควรถามอย่างนี้
แถลงปัญหามหาภูติ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในที่ไหน
ในปัญหานั้น มีพยากรณ์ดังต่อไปนี้
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้
นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้
เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้
พระผู้มีพระภาคตรัสพุทธพจน์นี้แล้ว เกวัฏฏคฤหบดีบุตร มีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค

จบ เกวัฎฎสูตรที่ 11

12. โลหิจจสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริก ไปในโกศลชนบท พร้อมภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านสาลวติกา
ซึ่งโลหิจจพราหมณ์ครองอยู่ เป็นสมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชทานปูนบำเหน็จ ให้เป็นส่วนของพรหมไทย
ว่าด้วยพุทธคุณ
โลหิจจพราหมณ์ เกิดมีทิฐิอันลามกว่า สมณพราหณ์ในโลกนี้ ควรบรรลุกุศลธรรม ครั้นบรรลุแล้วไม่ควรบอกผู้อื่น เพราะผู้อื่นจักทำอะไรแก่ผู้อื่นได้ บุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำขึ้นใหม่ โลหิจจพราหมณ์ได้ยินข่าวว่า พระสมณโคดม ศากยบุตร เสด็จถึงบ้านสาลวติกา และเกียรติศัพท์ของพระองค์ ขจรไปว่า ..... (รายละเอียดมีในสามัญญผลสูตร)
โลหิจจพราหณ์ได้ให้โรสิกะช่างกัลบก ไปกราบทูล ขอให้พระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของโลหิจจพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคเสด็จไปนิเวศน์ของโลหิจจพราหมณ์
เวลาเช้า ทรงถีอบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังบ้านสาลวติกา พร้อมภิกษุสงฆ์ โรสิกะช่างกัลบกตามเสด็จไป แล้วกราบทูลว่า โลหิจจพราหมณ์เกิดมีทิฐิอันลามก ขอพระผู้มีพระภาค
โปรดทรงปลดเปลื้องโลหิจจพราหมณ์ เสียจากทิฐิอันลามกนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่เป็นไรโรสิกะ
พระผู้มีพระภาคทรงซักโลหิจจพราหมณ์
พระผู้มีพระภาคเสวยแล้ว ได้ตรัสกับโลหิจจพราหมณ์ว่า มีทิฐิเช่นนั้นจริงหรือ โลหิจจพราหมณ์รับว่าจริง
พ. ดูกร โลหิจจะ ท่านครองบ้านสาลวติกานี้มิใช่หรือ
ล. เป็นเช่นนั้น
พ. ผู้ใดพึงกล่าว โลหิจจพราหมณ์ครองบ้านสาลวติกาอยู่ จึงควรใช้สอยผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นในบ้านนี้แต่ผู้เดียว ไม่ควรให้ผู้อื่น ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ จะชื่อว่าทำอันตรายแก่ชนที่อาศัยท่าน เลี้ยงชีพอยู่ได้หรือไม่
ล. ชื่อว่าทำอันตรายได้
พ. เมื่อทำอันตราย จะชื่อว่าหวังประโยชน์ต่อชนเหล่านั้นหรือไม่หวัง
ล. ชื่อว่าไม่หวังผลประโยชน์
พ. ผู้ที่ไม่หวังประโยชน์ต่อ ชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเมตตาไว้ในชนเหล่านั้น หรือว่าชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู
ล. ชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู
พ. เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว จะชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฐิ หรือเป็นสัมมาทิฐิ
ล. ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฐิ
พ. ผู้เป็นมิจฉาทิฐิ เรากล่าวว่า มีคติเป็น 2 คือ นรก หรือกำเนิดเดียรฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง พระเจ้าประเสนทิโกศล ทรงปกครองแคว้นกาสี และโกศลมิใช่หรือ
ล. เป็นเช่นนั้น
พ. ผู้ใดพึงกล่าวว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล ควรทรงใช้สอยผลประโยชน์ ที่เกิดในแคว้นทั้ง 2 นั้น แต่พระองค์เดียว ไม่ควรพระราชทานบุคคลอื่น
จากนั้น พระผู้มีพระภาค ก็ทรงถามโลหิจจพราหมณ์ต่อไป ในทำนองเดียวกัน แล้วทรงสรุปว่า ผู้ที่กล่าวอย่างนี้นั้นชื่อว่า ทำอันตรายแก่กุลบุตร ผู้ได้อาศัยธรรมวินัย อันตถาคต แสดงไว้แล้ว จึงบรรลุคุณธรรมวิเศษ คือ ทำให้แจ้งโสดาปัตติผลบ้าง สกทาคามิผลบ้าง อนาคามิผลบ้าง อรหัตผลบ้าง และแก่กุลบุตร ผู้อบรมครรภ์อันเป็นทิพย์ เพื่อบังเกิดในภพอันเป็นทิพย์ เมื่อทำอันตราย ย่อมชื่อว่า ไม่หวังประโยชน์ต่อ เมื่อไม่หวังประโยชน์ต่อ ย่อมชื่อว่าเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรู เมื่อเข้าไปตั้งจิตเป็นศัตรูแล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นมิชฉาทิฐิ ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิ เรากล่าวว่ามีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดเดียรฉาน อย่างใดอย่างหนึ่ง
ศาสดาที่ควรแก่การท้วง ฯ
ศาสดา 3 จำพวกนี้ ควรท้วงได้ในโลก และการท้วงก็จริงแท้ เป็นธรรม ไม่มีโทษ เป็นไฉน
ศาสดาบางคนในโลก บวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณนั้น เขาไม่ได้บรรลุแล้ว แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ของท่านทั้งหลาย เพื่อสุขของท่านทั้งหลาย สาวกของเขาย่อมไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติ จากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วง เหมือนบุรุษที่รุกเข้าไปหาสตรี ที่กำลังถอยหลังหนี หรือดุจบุรุษ พึงกอดสตรีที่หันหลังให้ ฉันใด อุปมัยก็ฉันนั้น นี้แลศาสดาที่ 1 ซึ่งควรท้วงในโลก
ศาสดาบางคนในโลก บวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาไม่ได้บรรลุ แต่แสดงธรรมสอนสาวกว่า นี้เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย สาวกเขาย่อมตั้งใจฟัง ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และไม่หลีกเลี่ยงประพฤติ จากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วง เหมือนบุคคลละเลยนาของตน แล้วสำคัญเห็นนาของผู้อื่นว่า เป็นอันคนควรบำรุง นี้แลศาสดาที่ 2 ที่ควรท้วงในโลก
ศาสดาบางคนในโลก บวชเป็นบรรพชิตเพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เป็นของสมณะนั้น เขาได้บรรลุแล้ว จึงแสดงธรรมสอนสาวกว่า เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของท่านทั้งหลาย แต่สาวกเขาไม่ตั้งใจฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง และหลีกเลี่ยงประพฤติจากคำสอนของศาสดา เขาจะพึงถูกท้วง เหมือนบุคคลตัดเครื่องจองจำเก่าได้แล้ว ไม่ควรสร้างเครื่องจองจำขึ้นใหม่ นี้เป็นศาสดาที่ 3 ที่ควรท้วงในโลก
ศาสดาที่ไม่ควรท้วง
โลหิจจพราหมณ์ได้กราบทูลถามถึง ศาสดาซึ่งไม่ควรท้วงในโลกมีบ้างหรือ
ตรัสว่า มีอยู่ แล้วทรงแสดงพุทธคุณ (รายละเอียดมีในสามัตตผลสูตรที่ 2)
ทรงแสดงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล (รายละเอียดมีในพรหมชาลสูตรที่ 1)
ทรงแสดงอินทรีย์สังวร เปรียบนิวรณ์ รูปฌาน 4 วิชชา 8 (รายละเอียดมีในสามัญญผลสูตรที่ 2)
แล้วทรงสรุปว่า ดูกร โลหิจจพราหมณ์ สาวกได้บรรลุคุณวิเศษอันโอฬารเช่นนี้ในศาสดาใด ศาสดานั้นไม่ควรท้วงในโลก อนึ่งการท้วงศาสดาเช่นนั้น ก็ไม่จริง ไม่แท้ ไม่เป็นธรรม ประกอบด้วยโทษ
โลหิจจพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
โล หิจจพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดม บุรุษผู้หนึ่งพึงฉวยผมบุรุษอีกผู้หนึ่ง ซึ่งกำลังจะตกไปสู่เหวคือนรกไว้ ฉุดขึ้นให้ยืนอยู่บนบก ฉันใด ข้าพระองค์กำลังตกไปสู่เหวคือนรก พระโคดมได้ยกขึ้นให้ยืนอยู่บนบก ฉันนั้น ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

จบ โลหิจจสูตรที่ 12




13. เตวิชชสูตร
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงพราหมณ์คามของชาวโกศลชื่อว่ามนสากตะ เสด็จประทับ ณ อัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี
เรื่องของพราหมณ์ในบ้านสากตะ
สมัยนั้น พราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ในมนสากตคามมากด้วยกัน คือ วังกีพราหมณ์ ตารุกขพราหมณ์ โปกขรสาติพราหมณ์ ชาณุโสนีพราหมณ์ โตเทยยพราหมณ์ และพราหมณ์มหาศาลผู้มีชื่อเสียงอื่น ๆ อีก ครั้งนั้นวาเสฏฐมานพ กับ ภารทวาชมาณพ ได้พูดกันถึงเรื่องทางและไม่ใช่ทาง วาเสฏฐมานพกล่าวว่า ทางที่ท่านโปกขรสาติพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้น เป็นมรรคตรง เป็นทางตรง เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น ให้เป็นสหายแห่งพรหมได้ ฝ่ายภารทวาชมานพกล่าวว่า ทางที่ท่านตารุกขพราหมณ์บอกไว้นี้เท่านั้น เป็นเป็นมรรคตรง เป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น ให้เป็นสหายแห่งพรหมได้ ทั้งสองฝ่ายต่างไม่สามารถให้ฝ่ายหนึ่งยินยอมได้
วาเสฏฐมานพจึงบอกให้ไปกราบทูลถามพระสมณโคดม เมื่อทรงพยากรณ์อย่างใด เราจักจดจำข้อความนั้นไว้
ว่าด้วยทางและมิใช่ทางของวาเสฏฐะ และภารทวาชมานพ
มานพทั้งสองเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเรื่องเดิมให้ทราบ และกราบทูลถามว่า ในเรื่องทาง และมิใช่ทางนี้ ยังมีการถือผิดกันอยู่หรือ กล่าวผิดกันอยู่หรือ พูดต่างกันอยู่หรือ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พวกท่านจะถือผิดกันในข้อไหน จะกล่าวผิดกันในข้อไหน จะพูดต่างกันในข้อไหน ข้าแต่พระโคดม ในเรื่องทางและมิใช่ทาง พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติหนทางต่าง ๆ กันก็จริง ถึงอย่างนั้น ทางทั้งมวลเป็นทางนำออก นำผู้ดำเนินไปตามทางนั้น ให้เป็นสหายของพรหมได้
พระผู้มีพระภาค ตรัสถามวาเสฏฐมานพถึงสามครั้งว่า ทางเหล่านั้นนำออกหรือ ก็ได้รับการยืนยันทั้งสามครั้ง
พระผู้มีพระภาคทรงซักวาเสฏฐมานพ
พ. ดูกรวาเสฏฐ บรรดาพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา พราหมณ์แม้คนหนึ่งก็เห็นพรหม มีเป็นพะยานอยู่หรือ
ว. ไม่มีเลย
พ. ปาจารย์ของอาจารย์ อาจารย์ที่สืบมาเจ็ดชั่วอาจารย์ ผู้ได้ไตรวิชชาที่เห็นพรหม มีเป็นพะยานอยู่หรือ
ว. ไม่มีเลย
พ. พวกฤาษี ผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ที่ในปัจจุบันนี้ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา รับตาม กล่าวตาม บอกไว้ว่า พวกเรารู้ พวกเราเห็นพรหมนั้นว่า พรหมอยู่ในที่ใด อยู่โดยที่ใด หรืออยู่ในภพใด มีอยู่หรือ
ว. ไม่มีเลย
พ. ได้ยินว่า บรรดาพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ปาจารย์ของอาจารย์ แห่งพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา อาจารย์ที่สืบมาแต่เจ็ดชั่วอาจารย์ ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ที่เห็นพรหมเป็นพะยาน ไม่มีเลยหรือ
ว. ไม่มีเลย
ดูกรวาเสฏฐะ พวกฤาษีผู้เป็นบุรพาจารย์ ของพวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ฯลฯ บอกไว้ว่า พวกเรารู้ พวกเราเห็นพรหมนั้นว่า พรหมอยู่ในที่ใด อยู่โดยที่ใด หรืออยู่ในภพใด มีอยู่หรือ
พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้น กล่าวว่า พวกเราไม่รู้ พวกเราไม่เห็น แต่พวกเราแสดงหนทาง เพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม
ดูกร วาเสฏฐะ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ย่อมถึงความเป็นภาษิตไม่มีปาฏิหารย์ มิใช่หรือ
ข้าแต่พระโคดม เมื่อเป็นเช่นนั้น ย่อมถึงความเป็นภาษิตไม่มีปาฏิหารย์แน่นอน
ดูกร วาเสฏฐะ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ไม่รู้จักพรหม ไม่เห็นพรหม จักแสดงหนทาง เพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เหมือนแถวคนตาบอด เกาะหลังกันและกัน คนต้นก็ไม่เห็น คนกลางก็ไม่เห็น คนท้ายก็ไม่เห็น ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา มีอุปมาเหมือนแถวคนตาบอด ฉันนั้น ภาษิตดังกล่าวถึงความคำน่าหัวเราะ คำต่ำช้า คำเปล่า คำเหลวไหลแท้ ๆ
ดูกร วาเสฏฐะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พราหมร์ผู้ได้ไตรวิชชา เห็นพระจันทร์ พระอาทิตย์ แม้ชนอื่นเป็นอันมาก ก็เห็นพระจันทร์และพระอาทิตย์ ขึ้นเมื่อใด ตกเมื่อใด พราหมณ์ทั้งหลายย่อมอ้อนวอน ชมเชย ประนมมือ อ่อนน้อม เดินเวียนรอบ
ข้าแต่พระโคดม เป็นอย่างนั้น
ดูกร วาเสฏฐะ พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา สามารถแสดงทาง เพื่อไปอยู่ร่วมกับพระจันทร์และพระอาทิตย์ ได้หรือ
ข้าแต่พระโคดม ไม่ได้
ดูกร วาเสฏฐะ เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาษิตของพราหมณ์ ย่อมถึงความเป็นภาษิตไม่มีปาฏิหารย์
อุปมาด้วยนางงามในชนบท และอุปมาด้วยพะองขึ้นปราสาท
(รายละเอียดมีในโปฏฐบาทสูตร ในหัวข้อ ว่าด้วยทิฐิของสมณพราหมณ์)
อุปมาด้วยแม่น้ำอจิรวดี
ดูกร วาเสฏฐะ เปรียบเหมือนแม่น้ำอจิรวดี มีน้ำเต็มเปี่ยมเสมอฝั่ง บุรุษต้องการข้ามไป ร้องเรียกให้ฝั่งโน้น จงมาฝั่งนี้ ย่อมไม่ได้ ฉันใดฉันนั้นก็เหมือนกัน พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ละธรรมที่ทำให้บุคคล ให้เป็นพราหมณ์เสีย แล้วสมาทานธรรม ที่มิใช่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์ พวกเราร้องเรียกเทพเจ้าต่าง ๆ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม เพราะเหตุร้องเรียก เพราะเหตุอ้อนวอน เพราะเหตุปราถนา หรือเพราะยินดี ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
กามคุณ 5 เหล่านี้ ในวิสัยของพระอริยเจ้า เรียกว่า ขื่อคาบ้าง เรียกว่าเครื่องจองจำบ้าง กามคุณ 5 คือ รูปที่พึงรู้ด้วยจักษุ เสียงที่พึงรู้ด้วยโสต กลิ่นที่พึงรู้ด้วยฆานะ รสที่พึงรู้ด้วยชิวหา โผฏฐัพพะที่พึงรู้ด้วยกาย น่าปราถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก เกี่ยวด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา กำหนัด สยบ หมกมุ่น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาสลัดออก บริโภคกามคุณ 5 เหล่านี้อยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ดูกร วาเสฏฐะ นิวรณ์ 5 อย่างเหล่านี้ ในวินัยของพระอริยเจ้า เรียกว่า เครื่องหน่วงเหนี่ยว เครื่องกางกั้น เครื่องรัดรึง เครื่องตรึงตรา นิวรณ์ 5 คือ กามฉันทะนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ พวกพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ถูกนิวรณ์ 5 เหล่านี้ ปกคลุม หุ้มห่อ รัดรึง ตรึงตรา แล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพรหม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
ทรงซักวาเสฏฐมานพ
ทรงถามวาเสฏฐมานพว่า เคยได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่ เป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าว เช่นนี้หรือไม่ว่า
พรหมมีสตรีเกาะ มีจิตจองเวร มีจิตเบียดเบียน มีจิตเศร้าหมอง ก็ได้รับคำตอบว่าไม่มี
เมื่อถามว่า พรหมยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าได้
จากนั้นทรงถามว่า พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา มีสตรีเกาะ มีจิตจองเวร มีจิตเบียดเบียน มีจิตเศร้าหมอง ก็ได้รับคำตอบว่า มี
เมื่อถามว่า พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจได้หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าไม่ได้
ทรงถามถึงความแตกต่าง ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชากับพรหมในแต่ละข้อ แล้วสรุปว่า พราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชาเหล่านั้นในโลกนี้ จมลงแล้ว ยังจมอยู่ ครั้นจมแล้วย่อมถึงความย่อยยับ เพราะฉะนั้นไตรวิชชานี้ พระองค์จึงเรียกว่า ป่าใหญ่ ดงกันดาร ความพินาศ ของพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา
วาเสฏฐกราบทูลว่า ได้ยินมาว่า พระสมณโคดมทรงทราบ ทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม
ทรงตรัสว่า เรารู้จักพรหม รู้จักพรหมโลก รู้ปฏิปทาอันจะยังสัตว์ให้ถึงพรหมโลก และรู้ถึงว่า พรหมปฏิบัติอย่างไรจึงเข้าถึงพรหมโลกด้วย
จากนั้นทรงแสดง พุทธคุณ (รายละเอียดมีในสามัญญผลสูตร)
ทรงแสดง จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล (รายละเอียดมีในพรหมชาลสูตร)
ทรงแสดง อินทรียสังวร เปรียบนิวรณ์ (รายละเอียดในสามัญญผลสูตร)
แล้วทรงสรุปว่า เมื่อพิจารณาเห็นนิวรณ์ 5 ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เกิดปิติ กายย่อมสงบ ได้เสวยสุข จิตย่อมตั้งมั่น มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนกันอยู่ กรรมที่ทำพอประมาณอันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร และอรูปาพจรนั้น นี้แลเป็นทาง เพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม
อัปปมัญญา 4
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยกรุณา ประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา ฯลฯ นี้แลเป็นทาง เพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม
ทรงแสดงคุณสมบัติของภิกษุ ที่เหมือนกับพรหมในประการต่าง ๆ เช่นที่ได้เปรียบเทียบคุณสมบัติของพรหม กับพราหมณ์ผู้ได้ไตรวิชชา แล้วทรงสรุปว่า เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักถึงความเป็นสหายแห่งพรหม
วาเสฏฐมานพและภารทวาชมานพแสดงตนเป็นอุบาสก
เมื่อผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาณพทั้งสองได้กราบทูลว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าพระองค์ทั้งสอง ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ฯลฯ

จบ เตวิชชสูตรที่ 13


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 13:20
โพสต์: 821


 ข้อมูลส่วนตัว


ปทานุกรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

กรรมวาที ผู้ที่เชื่อว่าการกระทำมีอยู่
กวริงการาหาร อาหารคือคำข้าว
กามคุณ ส่วนที่ปราถนา
กามฉันทะ ความพอใจใน กาม เป็นนิวรณ์ข้อแรกใน นิวรณ์ 5 ประการ
กามาพจร ยังข้องอยู่ในกาม
กามาสวะ กิเลสเครื่องหมักดองคือ กาม
กิริยาวาที ผู้ที่เชื่อว่าผลของการกระทำมีอยู่
กูฏาคารศาลา ห้องหรือโรงในเรือนยอด สังฆารามในเขตเมืองเวสาลี
โกเชาว์ ผ้าที่ทำด้วยขนสัตว์
โกตุหลศาลา ศาลาสาธารณะ
โกมุท ดอกบัวแดง
โกศล ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป
ข.
ขรรค์ หอกด้ามสั้น
ขันธ์ ส่วนของร่างกายและจิตใจ
ขาทนียโภชนียาหาร ของเคี้ยวของกิน
ขานุมัตต์ ชื่อบ้าน
ขิททาปโทสิกา ชื่อเทวดาจำพวกหนึ่ง
ค.
คัดครา สระโบกขรณี
คันธารี ชื่อวิชาที่ทำให้หายตัวได้
โคจร ความประพฤติอารมณ์ ที่เที่ยวไป
โคดม พระนามของพระพุทธเจ้า
จ.
จตุตถฌาน การเพ่งอารมณ์ลำดับที่สี่ ในรูปฌานสี่
จรณะ ความประพฤติ
จัณฑาล ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่ต่างวรรณะกัน
เจโตวิมุติ ความหลุดพ้นแห่งจิต
ช.
ชนบทกัลยาณี นางงามในชนบท
ชาณุโสนิ ชื่อพราหมณ์คนหนึ่ง
ชาลียะ ชื่อปริพาชกคนหนึ่ง
ชีวกโกมารภัจจ์ ชื่อหมอคนหนึ่งที่มีความสามารถมากครั้งพุทธกาล
ญ.
ญาณทัสนะ ความรู้และความเห็น
ด.
ดาวดึงส์ ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 2 ในสวรรค์ 6 ชั้น
ดุสิต ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 4 ในสวรรค์ 6 ชั้น
ต.
ตติยฌาน ความเพ่งอารามณ์ลำดับที่สามในรูปฌานสี่
ตถาคต พระนามของพระพุทธเจ้า ท่านผู้ไปตรงต่อความจริง
ตบะ ความเพียรอย่างเคร่งเครียด ความเพียรเครื่องเผากิเลส
ตัณหา ความทะยานอยาก ความปราถนา ความดิ้นรนทางกาม
ติรัจฉานกถา เรื่องต่ำทราม เรื่องไร้สาระ
เตโชธาตุ ธาตุไฟ
โตเทยยะ ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง
ถ.
ถีนมิทธะ ความหดหู่และง่วงงุน เป็นนิวรณ์หนึ่งในนิวรณ์ 5 ประการ
ท.
ทักษิณาทาน ทานเพื่อผลอันเจริญ ทานอุทิศเพื่อผู้ตาย
ทิฎฐธรรม ความเป็นไปในปัจจุบัน ในโลกนี้
ทิฎฐิชาละ ชื่อพระูตร
ทิพยจักษุ ตาทิพย์
ทิพยโสต หูทิพย์
ทุกขนิโรธ ความดับทุกข์
ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา ข้อปฎิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ทุกขสมุทัย ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์
ทุคติ ภูมิที่ไปชั่ว
ทุติยฌาน ความเพ่งอารมณ์ ลำดับที่สอง ในอธูปฌานสี่
ธ.
ธรรมชาละ ชื่อพระสูตร
ธรรมฐิติ ความตั้งอยู่แห่งธรรมดา
ธรรมนิยาม ความแน่นอนแห่งธรรมดา
น.
นาคิตะ ชื่อพระเถระรูปหนึ่ง
นานัตตสัญญา มีสัญญาต่าง ๆกัน
นิครนถนาฎบุตร ชื่อชื่อเจ้าลัทธิหนึ่ง ในเจ้าลัทธิทั้งหกในสมัยพุทธกาล
นิมมานนรดี ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 5 ในสวรรค์ 6 ชั้น
เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฌานที่มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ เป็นหนึ่งในอรุปฌานสี่
บ.
บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ญานเครื่องระลึกถึงชาติที่อยู่ในกาลก่อนได้
เบญจกามคุณ กามคุณห้าประการ
ป.
ปกุธะกัจจายนะ ชื่อเจ้าลัทธิคนหนึ่ง ในเจ้าลัทธิทั้งหกในสมัยพุทธกาล
ปฏิฆสัญญา ความใส่ใจในเรื่องคับแค้นใจ
ปรนิมมิตวสวดี ชื่อสวรรค์ชั้นที่หกในสวรรค์หกชั้น ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นนี้
ปเสนทิโกศล พระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นโกศลในสมัยพุทธกาล
ปัจฉาสมณะ พระผู้เดินตามหลัง
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา
ปาจารย์ ผู้ที่เป็นอาจารย์ของอาจารย์
ปาติโมกข์ ประมวลศีลของพระสงฆ์
ปูรณะกัสปะ ชื่อเจ้าลัทธิผู้หนึ่ง ในเจ้าลัทธิทั้งหก ในสมัยพุทธกาล
โปกขรสาติ ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง
พ.
พยากรณ์ คำทำนาย การตอบ การอธิบาย
พรหมจรรย์ ความประพฤติอย่างประเสริฐ ศาสนธรรมชั้นสูงสุด การบวชซึ่งละเว้นเมถุน
พรหมชาละ ชื่อพระสูตร
พรหมทัณท์ การลงโทษด้วยวิธีที่ไม่ให้ใครพูดด้วย
พรหมไทย ที่พระราชทานแก่พราหมณ์ ยกเว้นภาษีอากร
พืชคาม ไม้ที่ยังเป็นพืช
ภ.
ภวาสวะ อาสวะคือภพ
ภคุ ชื่อฤาษีคนหนึ่ง
ภารทวาช ชื่อฤาษีคนหนึ่ง
ภูตคาม ไม้ที่งอกแล้ว
ม.
มคธ ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล
มณิกา ชื่อวิชาที่ทายใจคนได้
มโนปโทสิกา ชื่อเทวดาาจำพวกหนึ่ง
มหรคต จิตที่บรรลุญาณ จิตที่ถึงความเป็นใหญ่ ( คือได้ญาณ )
มหาภูติรูป รูปใหญ่ได้แก่ธาตุทั้งสี่ ( ดิน น้ำ ลม ไฟ )
มหาลี นามกษัตริย์ลิจฉวีผู้หนึ่ง
มหาวิชิตราช พระนามพระราชาองค์หนึ่ง
มักขลิโคศาล ชื่อเจ้าลัทธิคนหนึ่ง ในเาจ้าลัทธิทั้งหก ครั้งพุทธกาล
มัณฑิยะ ชื่อปริพาชกผู้หนึ่ง
มารโลก โลกของเหล่ามาร ภพอันเป็นที่อยู่ของมาร
มุรธาภิเษก น้ำรดพระเศียร
ย.
ยัญพิธี พิธีบวงสรวง พิธีกรรมต่างๆ พิธีการบูชา
ยามา ชื่อสวรรค์ชั้นที่ 3 ในสวรรค์ 6 ชั้น
ร.
ราชคฤห์ นครหลวงของแคว้นมคธ
โรสิกะ ชื่อช่างกัลบกผู้หนึ่ง
ล.
โลกายตะ ชื่อคัมภีร์ว่าด้วยเรื่องไม่น่าเชื่อต่างๆ
โลหิจจะ ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง ครั้งพุทธกาล
ว.
วชิรปาณี ชื่อยักษ์ตนหนึ่ง
วังกี ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง
วรรณ การแบ่งชั้นของคนในชมพูทวีปเป็น 4 ชั้นคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร์
วามกะ ชื่อฤาษีตนหนึ่ง
วามเทวะ ชื่อฤาษีตนหนึ่ง
วาโยธาตุ ธาตุลม เป็นหนึ่งในสี่ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม
วาลวิชนี พัดชนิดหนึ่ง
วาเสฏฐะ ชื่อมาณพคนหนึ่ง
วิจิกิจฉา ความระแวงสงสัย เป็นหนึ่งในนิวรณ์ห้าประการ
วิชชา ความรู้
วิญญาญัญจายตนะ การเพ่งวิญญาณเป็นอารมณ์เป็นหนึ่งในอรูปฌานสี่
วินิบาต สถานที่ตกต่ำ
วิปฏิสาร ความเดือดร้อน
วิวัฏฏกัป กัปที่เจริญ
วิวาหมงคล การมงคลสมรสที่ฝ่ายชายแต่งงานที่บ้านฝ่ายหญิง
วิหารทาน การถวายวิหาร
เวสสามิตร ชื่อฤาษีตนหนึ่ง
เวสาลี ชื่อเมืองหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล เป็นราชธานีของแคว้นโกศล
ไวยากรณ์ คำร้อยแก้ว
โวทานิยธรรม ธรรมบริสุทธิ์
ส.
สกสัญญา
สญชัยเวลัฏฐบุตร ชื่อเจ้าลัทธิหนึ่งในเจ้าลัทธิทั้งหกในครั้งพุทธกาล
สนังกุมาร ชื่อพรหมผู้หนึ่ง
สมาธิขันธ์ กองสมาธิ หมวดสมาธิ
สมาธิภาวนา การเจริญสมาธิ
สรณาคมน์ การถึงสิ่งที่เป็นที่พึ่งที่ระลึก
สักก จอมเทวดา ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
สังกิเลศธรรม ธรรมเครื่องเศร้าหมองใจ
สังวัฎฏกัป กัปที่เป็นไปข้างฝ่ายเสื่อม
สังวัฎฏวิวัฎฏกัป กัปเสื่อมและกัปเจริญ
สัจจสัญญา การให้สัญญาว่าจะทำจริง
สัญญีทิฎฐิ ความเห็นว่าอัตตาเหนือขึ้นไปจากกายตายมีสัญญา ความจำได้หมายรู้
สัณฐาดาร สภาที่ประชุม
สันดุสิต ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นดุสิต
สัสสตทิฏฐิ มีความเห็นว่าเที่ยง
สามัญคุณ ผลของการเป็นสมณะ หรือผลของการออกบวช
สามัญผล ผลของการเป็นสมณะ หรือผลของการออกบวช
สาวัตถี ชื่อนครหนึ่งในครั้งพุทธกาล
สุนักขัตตะ นามกษัตริย์ลิจฉวี
สุนิมมิตะ ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นที่ห้า ในสวรรค์หกชั้น
สุปปิยะ ชื่อปริมาชกผู้หนึ่ง
สุภมาณพโตเทยยบุตร ชื่อมาณพผู้หนึ่ง
สุยาม ชื่อท้าวผู้ครองสวรรค์ชั้นยามา (สวรรค์ชั้นที่สามในสวรรค์หกชั้น)
โสทัณฑะ ชื่อพราหมณ์ผู้หนึ่ง
อ.
อจิรวดี ชื่อแม่น้ำสายหนึ่งในชมพูทวีป เป็นหนึ่งในเบญจมหานที
อเจลกะ ชีเปลือย
อชาติศัตรู พระราชาแคว้นมคธ ผู้ครองนครราชคฤห์ โอรสพระเจ้าพิมพิสาร
อชิตเกสกัมพล ชื่ออาจารย์เจ้าลัทธิหนึ่งในเจ้าลัทธิทั้งหก ครั้งพุทธกาล
อชินะ หนังสัตว์ เสือดาว
อธิจจสมุปปันนิกทิฏฐิ ความเห็นว่า สิ่งต่าง ๆ มีขึ้นเองโดยไม่มีเหตุ
อธิจิต จิตอันยิ่ง
อธิปัญญา ปัญญาอันยิ่ง
อธิศีล ศีลอันยิ่ง
อนากปิณทิกะ ชื่อเศรษฐีผู้หนึ่งแห่งนครสาวัตถี ผู้ถวายเชตวันแด่พระพุทธเจ้า
อนุกูลยัญ ยัญบูชาตามประเพณีของตระกูล
อนุบุพพิกกา การแสดงธรรมไปตามลำดับของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย ทานกถา สีลกถา สัคคกถา กามอาทีนพ
อนุพยัญชนะ ส่วนประกอบ ส่วนย่อย
อนุยนต์กษัตริย์ กษัตริย์เมืองขึ้น
อนุศาสนีปาฏิหารย์ การสอนที่มีปาฎิหารย์
อปรันตกัปปิกทิฏฐิ มีความเห็นปรารถเบื้องปลายของสิ่งต่าง ๆ ว่าจะลงสุดท้ายอย่างไร
อภิสัญญานิโรธ การดับความจำได้หมายรู้
อมราวิเขปทิฎฐิ มีความเห็นชัดส่ายไม่ตายตัวเหมือนปลาไหล
อรรถชาละ ชื่อพระสูตร
อรูปาพจร จิตที่เป็นไปใน อรูปภูมิ
อสัญญีสัตว์ สัตว์ที่ไม่มีสัญญา (คือ นามขันธ์ 4 มี เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)
อัคคนิเวสนะ ชื่อโคตร ๆ หนึ่ง
อังคะ ชื่อแคว้นหนึ่งในชมพูทวีปครั้งพุทธกาล
อังคีรส ชื่อฤาษีตนหนึ่ง
อัญญเคียรกีย์ คนนอกศาสนา
อันตรกัป กัปในระหว่าง
อันตานันติกทิฏฐิ ความเห็นว่าโลกมีที่สุดและไม่มีที่สุด
อัมพวัน สวนมะม่วง
อัมพลัฏฐิกา ชื่อสวน
อัมพัฏฐะ ชื่อมาณพผู้หนึ่ง
อากาสานัญจายคนะ การเพ่งอาเป็นเป็นอารมณ์ เป็นฌานที่หนึ่งในอรูปฌานสี
อากิญจัญญายดนะ การเพ่งความไม่มีอะไรเหลือเป็นอารมณ์ เป็นฌานทีสองในอรูปฌานสี่
อาชีวก นักบวชพวกหนึ่งภายนอกพระพุทธศาสนา
อาเทสนาปาฏิหารย์ การหายใจ ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์
อาโปธาตุ ธาตุน้ำ
อาภัสสรพรหม พรหมที่มีแสงซ่านออกจากกาย
อาวาหมงคล การมงคลสมรสที่ฝ่ายหญิงแต่งงานที่บ้านฝ่ายชาย
อาสวักขยญาณ ความรู้ในความสิ้นไปแห่งอาสวะ
อิจฉานังคคาม ชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
อิติหาส ชื่อคัมภีร์ ๆ หนึ่ง
อิทธาภิสังขาร การปรุงแต่งขึ้นด้วยฤทธิ์
อิทธิปาฎิหารย์ ความอัศจรรย์ที่เกิดจากอำนาจฤทธิ์บันดาล
อิทธิวิธี การแสดงฤทธิได้
อินทร์ จอมเทพ ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อินทรีย์ ความเป็นใหญ่
อุกกัฏจะ ชื่อนครแห่งหนึ่ง
อุกกากราช ชื่อพระราชาที่ครองกรุงกบิลพัสดุ์เป็นพระองค์แรก
อุคคราชบุตร ราชบุตรผู้สูงศักดิ์
อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน และรำคาญ เป็นนิวรณ์ประการหนึ่งในนิวรณ์ห้า
อุเบกขา การวางเฉย เป็นองค์ธรรมประการหนึ่งในจตุตถฌาน
อุปกิเลส เครื่องเข้าไปทำให้ใจเศร้าหมอง
อุปบาต เหตุการณ์ผิดปกติ ลางบอกเหตุ
อุปาทายรูป รูปที่อาศัยขันธุ์ 5 เกิดขึ้น
อุปายาส ความคับแค้นใจ
อุภโตสุชาติ การเกิดที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายบิดาและมารดา



ปทานุกรมพระวินัยปิฎก มหาวิภังค ปฐมภาค


ก.
กกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในภัททกัปป์
กติกาสงฆ์ ข้อบังคับของสงฆ์
กโปตะ ซอกเขาแห่งหนึ่ง ในเขตนครราชคฤห์
กรรมวาจา คำประกาศหารือกิจการที่สงฆ์จะกระทำในท่ามกลางสงฆ์
กระหย่ง ลักษณะนั่งคุกเข่า เอาปลายเท้าจดพื้น ส้นเท้าตั้งรับกัน
กลันทคาม บ้านตำบลหนึ่ง ในเขตเมืองเวสาลี
กัจจายนะ โคตร วงศ์ หรือนามสกุลของตระกูลหนึ่ง
กัณณกุชชะ ชื่อเมือง เมืองหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าเสด็จผ่านไปหลังจากออกจากเมืองเวรัญชา
กัมพล ผ้าทอด้วยขนสัตว์
กัมมการีภริยา ภรรยาที่เป็นทั้งลูกจ้าง เป็นทั้งภรรยา
กัลยาณธรรม ธรรมอันดีงาม ความประพฤติที่ดี
กัสสปะ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในภัททกัปป์
กาย ความรักใคร่ ความพอใจ
การกสงฆ์ สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันทำการอันเป็นหน้าที่ของสงฆ์
กาลิงดะ พระเจ้าแผ่นดินแห่งกาลิงครัฐ
กาสายะ ผ้าย้อมน้ำฝาด สีเหลืองหม่น
กาสี แคว้นหนึ่ง เป็นเมืองขึ้นของนครสาวัตถี
กาฬศิลา ชื่อตำบลหนึ่ง หินดำ อยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ เขตเมืองราชคฤห์
กิจจาธิกรณ์ เรื่องราวอันสงฆ์ต้องกระทำ
กิฏคีรี ชื่อชนบทแห่งหนึ่ง อยู่ระหว่างแคว้นกาสีกับนครสาวัตถ
กิเลศ อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจแล้วทำให้ใจเศร้าหมอง
กุจฉิจักร หมวดว่าด้วยกลางไปหาปลาย
กุฎี ที่อยู่ของพระ กระท่อม โรงเรือน
กุมภัณฑ์ เปรตจำพวกหนึ่ง
กุลทาสี หญิงรับใช้ของคนมีสกุล
กุลุปปะ พระภิกษุผู้คุ้นเคยประจำสกุล
กูฏาคารศาลา สังฆารามในเขตเมืองเวสาลี
โกนาคมนะ พระพุทธเจ้าพระองค์ที่สองในภัททกัป
โกสัมพี ราชธานีแห่งแคว้นวังสะ
ข.
ขนุน สำมะลอ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใบคล้านสาเก ผลคล้ายขนุนแต่เล็กกว่า
ขัณฑจักร หมวดว่าด้วยตอนเวียนเป็นตอน ๆ
ขาทนียะ ของเคี้ยว มีผลไม้เป็นต้น
ค.
คงคา แม่น้ำสายหนึ่ง ในกลุ่มแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่ทั้งห้า (เบญจมหานที) ในชมพูทวีป
คฤหัสถ์ ผู้ครองเรือน ผู้ดำรงตนในบ้านเรือน
คหบดี ชายหัวหน้าครอบครัว พ่อเจ้าเรือน
คากรอง เครื่องนุ่งห่มของพวกเดียรถีย์ ทำด้วยใบหญ้า
คาถา สัตถุศาสตร์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง คำประพันธ์
คิชฌกูฎ ภูเขาลูกหนึ่ง มียอดคล้ายรูปแร้ง อยู่ในกลุ่มเบญจคีรี เขตนครราชคฤห์
คูถขาทิ เปรตพวกหนึ่ง ที่อยู่ในคูถ
คูถนิมุคค เปรตพวกหนึ่ง ที่อยู่ในคูถ
เคยยะ สัตถุศาสตร์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง ของนวังคสัตถุศาสตร์
โคตตรักขิตาจักร หมวดว่าด้วยสตรี ผู้มีโคตรปกครอง
โคตมะ นามสกุลของตระกูลหนึ่ง
โคตร วงศ์สกุล นามสกุล ครอบครัว
โคมฏะ ซอกเขาแห่งหนึ่ง เขตนครราชคฤห์
โคมัย มูลโค
ฆ.
ฆราวาส คนผู้อยู่ครองเรือน
โฆษิตาราม วัด สังฆาราม ตั้งอยู่ในเขตนครโกสัมพี
ง.
ง้วนดิน รสหวานอันเป็นโอชะของดิน
จ.
จตุตถฌาน รูปฌานที่สี่
จักรเปยยาล เครื่องหมาย "ฯลฯ" ที่ละข้อความเป็นพวก ๆ หมวด ๆ
จักรเภท การทำลายพวก ทำลายข้อห้ามในพุทธจักร
จัมปา ชื่อเมือง ๆ หนึ่ง
จตุมหาราช กามาพจรสวรรค์ชั้นที่ 1 ใน 6 ชั้น
จำวัด นอนหลับ (ใช้สำหรับพระเณร)
จีวร ผ้าห่มของพระภิกษุ อุตราสงค์ก็เรียก
เจดีย์ สถานที่เคารพนับถือบูชา
โจทก์ ผู้กล่าวหา ผู้ฟ้อง
โจท กิริยาที่กล่าวหา ฟ้องร้อง
ฉ.
ฉัน กิริยากินอาหาร (ใช้สำหรับภิกษุ สามเณร)
ฉันนะ ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นสหชาติของพระพุทธเจ้า
ฉัพพัคคีย์ กลุ่มภิกษุ พวกหนึ่ง มี 6 รูป
ช.
ชักสื่อ การชักนำชายหญิงให้รู้จักกัน ให้เป็นสามีภรรยากัน
ชาดก สัตถศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
ชาติยาวัน ป่าแห่งหนึ่งแขวงเมืองภัททิยะ
ชิงนาง การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินแต้มเป็นตา ๆ
ชีวกัมพวัน สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ ซึ่งถวายเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ครั้งพุทธกาล
เชตวัน สวนของเจ้าเชต ซึ่งอนาถบิณฑิกคหบดี ซื้อถวายเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ครั้งพุทธกาล
ฌ.
ฌาน การเพ่งอารมณ์จนจิตแน่วแน่
ญ.
ญัตติ คำผะเดียงสงฆ์ เพื่อประกาศให้รู้ว่าจะทำอะไร
ญัตติจตุตถกรรม กรรมวาจาประกาศหารือ ครบสี่วาระ รวมทั้งญัตติ
ญัตติทุติยกรรมวาจา กรรมวาจามีคำประกาศหารือครบสองวาระทั้งญัตติ
ญาติรักชิตาจักร หมวดว่าด้วยสตรีผู้มีญาติปกครอง
ด.
ดอกไม้เทริด ดอกไม้ที่ร้อยคลุมศีรษะ เป็นเครื่องประดับ
ด่านภาษี ที่ตรวจของผ่านแดนที่ต้องเสียภาษี
ดาวดึงส์ กามาพจรสวรรค์ชั้นที่ 2 ใน 6 ชั้น
ดิรัจฉาน สัตว์ที่มีร่างกายเจริญโดยทางขวาง มีปกติไปโดยการทอดกายขวางไป สัตว์อื่น ๆ นอกจากมนุษย์
ดิรัจฉานกถา ถ้อยคำที่พูดนอกเรื่อง ไร้สาระ
ดุษณีภาพ ลักษณะของอาการที่นิ่งเงียบ
ดุสิต กามพจรสวรรค์ชั้นที่ 4 ใน 6 ชั้น
เดียรถีย์ นักบวชภายนอกพุทธศาสนา
ต.
ตถาคต พระพุทธเจ้า พระผู้เสด็จไปด้วยอาการนั้น ๆ แน่นอน
ตบะ ความเพียรเครื่องเผากิเลส
ตโปทา แม่น้ำที่ไหลผ่านนรก 2 ขุม ไหลมาสู่เมืองราชคฤห์ เป็นธารน้ำร้อน
ตวงทราย การเล่นชนิดหนึ่ง
ตะกรุม นกชนิดหนึ่งตัวสูงใหญ่ หัวล้าน คล้ายนกกระสา
ตั่ง ที่นั่ง ม้ารองนั่ง คล้ายเก้าอี้ไม่มีพนัก
ตัณหา ความปราถนา ความทะยานอยาก ความดิ้นรนทางกาม
ต่าง เครื่องสำหรับบรรทุกของชนิดหนึ่ง ใช้ตั้งบนหลังสัตว์
เตโชกสิณ กรรมฐานที่เพ่งดวงกสิณ อันกำหนดด้วยไฟเป็นอารมณ์
เตรสกัณฑ์ กัณฑ์ว่าด้วยอาบัติ สังฆาทิเสส 13 สิกขาบท
ไตรจีวร ผ้านุ่งห่ม 3 ผืน อันเป็นบริขารของภิกษุ คือ สังฆาฏิ อุตราสงค์ อันตรวาสก
ไตรมาส กำหนด 3 เดือน ภายในพรรษา นับแต่ฤดูฝน
ไตรสรณาคมณ์ การถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งสามนี้เป็นสรณะที่พึ่ง
ถ.
ถุลลัจจัย อาบัติหมวดหนึ่ง ความชั่วหยาบ
ถุลลนันทา ภิกษุณีรูปหนึ่ง
เถระ พระภิกษุผู้ใหญ่ ตั้งแต่ 10 พรรษาขึ้นไป
ไถยจิต จิตคิดจะลักทรัพย์ผู้อื่น
ท.
ทัพพมัลลบุตร ชื่อพระภิกษุรูปหนึ่ง เป็นโอรสของเจ้ามัลละ
ทามริกะ ชื่อเพชรฆาตคนหนึ่ง ผู้ประหารโจร
ทุกกฏ ชื่ออาบัติหมวดหนึ่ง การกระทำที่ไม่ดี
ทุพภาษิต ชื่ออาบัติหมวดหนึ่ง คำพูดที่ไม่ดี
ทุศีล การล่วงละเมิดศีล การทำผิดพระวินัย
เทวทัตต์ ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นญาติพระพุทธเจ้า ผู้ประทุษร้ายพระพุทธเจ้า
เทวโลก ภพที่เป็นที่อยู่ของเทวดา
เทริด เครื่องประดับศีรษะชนิดหนึ่ง
ไทยธรรม ของถวายพระ ของที่ควรมอบให้เป็นธรรม
โทณะ มาตราตวงมาตราหนึ่ง ทะนาน
ธ.
ธนิยะ ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เป็นต้นบัญญัติทุติยปาราชิก
ธรรม คุณความดี ความถูกต้อง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ธรรมรักขิต ฉายาพระภิกษุรูปหนึ่ง
ธรรมีกถา กถาแสดงธรรม ถ้อยคำประกอบด้วยธรรม มีเหตุผล
ธุดงคคุณ คุณธรรมเป็นวัตรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อกำจัดกิเลส
น.
นมัสการ กิริยาที่ทำการนอบน้อม กราบไหว้
นวกะ ผู้ใหม่ ผู้อ่อนวัยโดยอายุพรรษา
นวกรรม การก่อสร้าง การซ่อมแซม
นเฬรุ ยักษ์ตนหนึ่ง
นันทิเภรี กลองชัย สำหรับตีประกาศความชนะศึก
นิกเขปปท บทตั้ง บทที่ยกมาวางเป็นหัวข้อบรรยาย
นิกาย ฝูง หมู่ พวก หมวด
นิคม หมู่บ้านหมู่ใหญ่ ตำบล
นิจฉวิตถี เปรตหญิง พวกหนึ่ง
นิจภัต อาหารที่ถวายพระสงฆ์ เป็นนิจ
นิมนต์ การเชื้อเชิญ (ใช้สำหรับสงฆ์)
นิมมานนรดี กามาพจร สวรรค์ชั้น 5 ใน 6 ชั้น
นิมิต องค์กำเนิด อวัยวะเพศของหญิง ชาย
นิเวศน์ ที่อยู่อาศัย บ้าน จวน คุ้ม ทำเนียบ วัง
บ.
บทภาชนีย์ ข้อความที่จำแนกไว้
บรรพชิต นักบวช
บริกรรม การนวดฟั้น
บังสุกุล ผ้าคลุมฝุ่น ผ้าที่ทิ้งไว้ในกองขยะ หยากเยื่อ
บัณเฑาะก์ กะเทย คนถูกตอน ขันที
บันไดแก้ว ไม้ที่งอ ๆ ติดหลักเป็นขั้น ๆ ไว้สำหรับวางของ
บาตร ภาชนะสำหรับรับอาหารของภิกษุ เป็นบริขารจำเป็นอย่างหนึ่งในบริขารแปด
บิณฑบาต ก้อนข้าวที่ตกลงในบาตร กิริยารับอาหารของภิกษุ
บิณฑปาติก การถือเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร องค์ของธุดงค์องค์หนึ่ง
บุญ คุณเครื่องชำระสันดานให้สะอาด ความสุข ความดี
บุพพัณณชาติ พืชที่จะต้องกินก่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิด
ป.
ปฏิญญา การยืนยัน การให้คำมั่น
ปฏิญญาณ การให้คำมั่นสัญญา การสารภาพ
ปฏิญญาตกรณะ การทำการปรับอาบัติ ตามคำรับสารภาพ ทำตามที่เขาปฏิญญาณ
ปฐมบัญญัติ ข้อบังคับที่ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก
ปฐมยาม ยามต้นเวลากลางคืน ตั้งแต่ย่ำค่ำถึง 22.00 น.
ปยาคะ เมืองท่าแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำคงคา
ปรนิมมิตรสวดี กามาพจรสวรรค์ชั้นที่ 6 ใน 6 ชั้น
ประคตเอว แผ่นผ้าที่ใช้คาดเอวของพระสงฆ์ บริขารหนึ่งในแปด
ประทักษิณ การเวียนไปทางขวา แสดงความเคารพ
ปริวาส การอยู่แรมคืนชดใช้กรรมที่ล่วงอาบัติสังฆาทิเสส
ปวารณา การยอมให้ขอ ยอมให้ว่ากล่าว ยอมให้ตักเตือน
ปังสุกุลิก การถือครองผ้าบังสุกุลเป็นวัตร องค์ของธุดงค์องค์หนึ่ง
ปัจฉาภัตร เวลาหลังอาหารของพระสงฆ์
ปัจฉิมยาม ยามสุดท้ายของกลางคืน ตั้งแต่ 02.00 น. ถึงย่ำรุ่ง
ปัณฑกะ ชื่อพระภิกษุรูปหนึ่ง
ปัพพาชนียกรรม กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุผู้มีโทษถึงขับไล่
ปัสสาวมรรค ทวารเบา
ปาฏิเทสนียะ หมวดอาบัติหมวดหนึ่ง ต้องแสดงคืน
ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
ปาติโมกข์ คัมภีร์พระวินัย บัญญัติ
ปาราชิก อาบัติหมวดหนึ่ง ภิกษุผู้ต้องแล้วถึงขาดจากความเป็นพระ
ปิฏฐิจักร หมวดว่าด้วยข้างหลังย้อนมาต้น
ปิลันทวัจฉะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง
ปุนัพพสุกะ ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง
ปุราณทุติยิกา ภรรยาเก่าของภิกษุเมื่อก่อนบวช
ปุริสโคตตจักร หมวดว่าด้วยญาติของบุรุษ
เปรต อมนุษย์พวกหนึ่งในอบายภูมิ
เปรียง น้ำมันที่เจียวจากนมส้ม และไขสัตว์หรือเนย
เปลือกไม้กรอง บริขารชนิดหนึ่งของพวกเดียรถีย์ ครองด้วยเปลือกไม้
ผ.
ผลไม้กรอง บริขารชนิดหนึ่งของพวกเดียรถีย์
ผ้ากัมพล ผ้าทำด้วยขนสัตว์
ผ้ากาสายะ ผ้าย้อมด้วยน้ำฝาดมีสีเหลืองหม่น
ผ้านิสีทนะ ผ้าปูนั่ง เป็นบริขารอย่างหนึ่งของภิกษุ
ผ้าบังสุกุล ผ้าเปื้อนฝุ่นที่ภิกษุถือเอาด้วยหมายใจว่าไม่มีเจ้าของ
ผึ่ง เครื่องมือสำหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง
โผฏฐัพพะ สิ่งที่พึงถูกต้องด้วยกาย
พ.
พนาย นายเป็นคำปราศรัยของขุนนางผู้ใหญ่เรียกผู้ดีในบังคับ
พรรษา ระยะ 3 เดือน ต้นฤดูฝน หน้าฝน ปี
พรหมจรรย์ ความประพฤติอันประเสริฐ ศาสนธรรมชั้นสูงสุด การบวชซึ่งละเว้นเมถุน
พรหมโลก ภพเป็นที่อยู่ของพรหม
พระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
พระบัญญัติ ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าตั้งขึ้น
พระผู้มีพระภาค พระนามของพระพุทธเจ้า
พระวินัยธร ภิกษุผู้ทรงพระวินัย ผู้เชี่ยวชาญพระวินัย
พราหมณ์ คนวรรณหนึ่งในวรรณสี่ของชาวชมพูทวีป ผู้สืบเนื่องาจากพราหมณ์
พะอง
ไม้ไผ่ลำเดียว ตัดแขนงออกเหลือไว้เป็นขั้น ๆ ใช้พาดต่างบันได หรือใช้ท่อนไม้อื่นทำขึ้นโดยติดไม้ยื่นออกเป็นขั้นสำหรับเท้าเหยียบ
พัทธจักร หมวดว่าด้วยข้อความที่เกี่ยวโยงกันไปตลอด
พาราณสี ราชธานีแคว้นกาสี
พิมพิสาร พระเจ้าแผ่นดินแห่งมคธรัฐ
พีชกะ บุตรของพระสุทินน์ ซึ่งเพราะร่วมกับภรรยาเก่าเมื่อเป็นพระภิกษุ
พีชกปิตา พระสุทินน์ ผู้เป็นต้นบัญญัติ ปฐมปาราชิก
พีชกมาตา ภรรยาเก่าของพระสุทินน์
พุทธจักร อำนาจฝ่ายพุทธศาสนา
พุทธประเพณี ขนบธรรมเนียมของพระพุทธเจ้า
พุทธรักขิต ฉายาภิกษุรูปหนึ่ง
พุทธาณัติ พระดำรัสสั่งบังคับของพระพุทธเจ้า
พูดเคาะ พูดแทะโลม พูดเกี้ยว พูดให้รู้ท่า
แพศย์ คนวรรณหนึ่งในวรรณสี่ของชาวชมพูทวีป พ่อค้า ชาวนา ชาวสวน
แพศยา หญิงผู้หาเงินในทางร่วมประเวณี
โพนทะนา การพูดกล่าวโทษต่อหน้าผู้อื่น
ภ.
ภัตตุทเทสก์ ภิกษุผู้แจกจ่ายอาหารของสงฆ์
ภัตกาล เวลาฉันอาหารของภิกษุ
ภัททิยะ ชื่อเมือง ๆ หนึ่ง
ภิกขาจริยวัตร ธรรมเนียมประพฤติในการเที่ยวขอ
ภิกษุสงฆ์ หมู่พระภิกษุ จำนวนตั้งแต่ 4 รูป ขึ้นไป
ภุมมเทพ เทวดาพวกหนึ่ง สิงอยู่ชั้นภาคพื้นดิน
เภสัชบริขาร เครื่องแวดล้อมคือยารักษาโรค
โภคสมบัติ ความเพียบพร้อมบริบูรณ์ด้วยทรัพย์
โภชนะ ของเครื่องบริโภค อาหารสำหรับกิน
โภชนียาหาร ของควรบริโภคเป็นอาหาร ของรับประทานมีข้าวเป็นต้น
ม.
มฤคทายวัน ป่าที่ให้อภัยแก่เนื้อ สวนสัตว์จำพวกเนื้อ
มหากัสสป พระมหาเถรรูปหนึ่ง
มหาโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า
มหาวัน ป่าใหญ่แห่งหนึ่งในแขวงเมืองเวสาลี
มหาวิภังค์ คัมภีร์พระวินัยปิฎก คัมภีร์แรกว่าด้วยการจำแนกใหญ่
มังคุลิตถี เปรตผู้หญิงจำพวกหนึ่ง
มังสเปสิ เปรตพวกหนึ่ง
มัชฌิมยาม ยามกลางของกลางคืน ระหว่าง 22.00 - 02.00 น.
มาณพ ชายหนุ่มในวรรณพราหมณ์
มาติกา หัวข้อ แม่บท
มาติกาวิภังค์ การจำแนกหัวข้อที่เป็น แม่บท
มาตุคาม สตรี คนผู้มีเพศดุจมารดา
มานัต การนับราตรีในการอยู่ปริวาส
มาร ผู้ล้างผลาญ เทพผู้ทำลายล้าง
มารโลก ภพเป็นที่อยู่ของมาร
มาสก มาตราเงินสมัยพุทธกาล เท่ากับ 20 สตางค์ของไทย
มิคลัณฑิก ชื่อคนอาศัยวัด หรือที่เรียกว่าตาเถนคนหนึ่ง
มิลักขะ มนุษยชาติดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีป
มุขมรรค ช่องปาก
มุ่งกระต่าย หญ้าชนิดหนึ่งจำพวกหญ้าปล้อง
เมถุนธรรม การปฏิบัติทางกามระหว่างคนคู่กัน
ไม้กลอน ไม้เครื่องบนชนิดหนึ่งของอาคารโบราณ ใช้รองรับระแนง
ไม้ค้อนสั้น เครื่องลงอาญาชนิดหนึ่ง
ไม้ชำระฟัน เครื่องชำระฟันทำเป็นแปรงด้วยไม้
ไม้สีฟัน กิ่งไม้ เช่น กิ่งข่อยเป็นต้น ทุบปลายเป็นฝอยเหมือนแปรงใช้สีฟัน
มฤคไม้หึ่ง การเล่นชนิดหนึ่ง ใช้ไม้สั้นวางบนไม้อันยาวตอนบนโยนไม้สั้นขึ้นไป แล้วตีด้วยไม้อันยาว ตอนล่าง
โมคคัลลานะ ชื่อโคตรหนึ่ง นามสกุลตระกูลหนึ่ง
โมฆบุรุษ คนผู้เปล่าประโยชน์คือมรรคผล ภิกษุที่ถูกพระพุทธเจ้าติเตียน
โมหะ ความหลง ความโง่เขลา ความฉงน
ย.
ยัญ การเซ่น การบูชา พิธีกรรมต่าง ๆ
ยาคู ข้าวต้มเหลวปรุงรส เป็นอาหารชนิดหนึ่ง
ยามา กามาวจรสวรรค์ชั้นที่ 3 ใน 6 ชั้น
ร.
ร้อยกรอง ร้อยและผูกให้ติดกัน
รากขวัญ ส่วนหนึ่งของร่างกายที่เรียกว่า ไหปลาร้า
ราคะ ความกำหนัด ความยินดีในกาม
ราชคฤห์ ราชธานีแห่งแคว้นมคธ
โรงอุโบสถ สถานที่ทำสังฆกรรมของสงฆ์ภายในพัทธสีมาโบสถ์
ล.
ลหุกาบัติ อาบัติอย่างเบา ตั้งแต่ถุลลัจจัยลงมา
ลักษณะ ชื่อพระเถระรูปหนึ่ง
ลามก ชั่ว เลว ทราม ต่ำ ต่ำช้า
ลิจฉวี เจ้าผู้ครองนครเวสาลี
โลกสวรรค์ ที่อยู่ของเทวดาชั้นกามาวจรภูมิ 6 ชั้น
ว.
วัคคุมุนา แม่น้ำสายหนึ่งในเขตนครเวสาลี
วัจจมรรค ทวารหนัก
วัชชี ชนบทแห่งหนึ่ง ชื่อแคว้น ๆ หนึ่งในชมพูทวีป ครั้งพุทธกาล
วัฏฏะ อาการหมุนเวียนแห่งการเกิดการตาย
วัตร การปฏิบัติ ธรรมเนียม หน้าที่
วัสสการ พราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐ
วาสิฏฐะ ชื่อโคตร
วิญญาณ ความรู้แจ้ง ความรู้สึก ความคิดนึก ใจ
วินัย การฝึกหัดจรรยา ข้อบังคับ ขัอบัญญัติคือสิกขาบทของพระสงฆ์
วินัยปิฎก คัมภีร์พระพุทธศาสนา ว่าด้วยข้อบัญญัติสิกขาบทของพระสงฆ์
วิปิตวัตถุ เรื่องอันเป็นตัวอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงวินิจฉัย
วิปัสสี พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกัปก่อนภัททกัป
วิวาท การกล่าวโต้แย้ง การโต้เถียง การทะเลาะ
วิวาหมงคล พิธีประกอบให้เกิดความสุขความเจริญในการแต่งงาน การแต่งงานชนิดที่ส่งฝ่ายชายไปอยู่กับฝ่ายหญิง
วิสาขา ชื่อมหาอุบาสิกาแห่งเมืองสาวัตถี
วิหาร วัด ที่อยู่ของสงฆ์
เวทัลละ สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
เวภาระ ชื่อภูเขาลูกหนึ่งในเขตนครราชคฤห์ในหมู่เบญจคีรี
เวยยากรณะ สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
เวรัญช ชื่อพราหมณ์ผู้ครองเมืองเวรัญชา
เวสสภู พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกัปก่อนภัททกัป
เวสาลี ราชธานีแห่งแคว้นวัชชี
เวฬุวัน ป่าไม้ไผ่ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารถวายให้ตั้งเป็นวัดหลวงวัดแรกในครั้งพุทธกาล
ไวพจน์ คำต่างที่ใช้แทนกันได้
ศ.
ศากยบุตร โอรสของพระศากยะ หมายเรียกสาวกพระพุทธเจ้า
ศีลขันธ์ กองศีล หมวดศีล
ศูทร์ คนวรรณหนึ่งในวรรณสี่ของคนในชมพูทวีป คนรับใช้ พ่อครัว
ส.
สงฆ์ หมู่ พวก ชุมนุม ภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปร่วมกัน
สปทานจาริก การเที่ยวบิณฑบาตรตามลำดับ ตรอกเป็นวัตร เป็นองค์แห่งธุดงค์องค์หนึ่ง
สมจร การร่วมสังวาสของสัตว์ดิรัจฉาน
สมณกุตตก์ คนถือเพศเป็นสรณะเอาเองโดยไม่บวช
สมณโคดม พระนามของพระพุทธเจ้าที่คนภายนอกเรียก
สมณธรรม คุณความดีของสมณะ
สมณะ ผู้สงบ ผู้ระงับบาป พระภิกษุ
สมนุภาส คำสวดประกาศตักเตือน
สมาทาน การตั้งใจถือเอาด้วยดี การชักชวน
สมุทททัตต์ ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นสหายพระเทวทัต
สรณะ ที่ระลึกถึง ที่พึ่ง
สระโบกขรณี ที่ขังน้ำในพื้นดิน มีบัวเกิดขึ้นด้วย
สวรรค์ โลกที่มีอารมณ์ดี ที่อยู่ของเทวดาพวกกามาวจรเทพ
สะกา เครื่องเล่นการพะนันชนิดหนึ่ง ใช้ลูกเต๋าทอด แล้วเดินเบี้ยในตากระดานตามแต้มลูกเต๋า
สังกัสสะ ชื่อเมือง ๆ หนึ่ง ในแคว้นสุรเสนะ
สังฆกรรม กิจที่สงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป ร่วมกันทำ
สังฆเภท การทำลายหมู่ การทำสงฆ์ให้แตกแยกกัน
สังฆาฏิ ผ้าคลุมกันหนาวของภิกษุ ใช้ทาบบนจีวร เป็นจีวรผืนหนึ่งในไตรจีวร
สังฆาทิเสส อาบัติพวกหนึ่งในพวกครุกาบัติ
สังวาส การอยู่ด้วยกัน โดยมีศีลเสมอกัน
สัตตบรรณคูหา ถ้ำในภูเขาเวภาระ เขตนครราชคฤห์
สัตบุรุษ คนประพฤติสงบ คนดี
สัทธรรม ธรรมของสัตบุรุษ ภาวะอันดีงาม
สัทธิวิหาริก ภิกษุผู้เป็นศิษย์อยู่ร่วมกับพระอุปัชฌาย์
สันโดษ ความยินดีเฉพาะของตนที่มีอยู่
สัมปินิกา ชื่อแม่น้ำสายหนึ่ง เขตนครราชคฤห์
สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว ความสำนึกตัวได้ว่าชั่วดี
สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือเห็นจริงในอริยสัจสี่
สัมมาสัมพุทธะ พระนามของพระพุทธเจ้า
สาคละ ชื่อเมือง ๆ หนึ่ง
สาฎก ผ้าที่เป็นผืนสำหรับใช้นุ่งห่ม
สายระเดียง หวายหรือเชือกที่ขึงไว้สำหรับตากจีวร
สารคุณ ความดีอันเป็นแก่นสาร
สารีบุตร พระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า
สาวัตถี ราชธานีแห่งแคว้นโกศล
สิกขมานา สามเณรีผู้สิกขาสมบัติ เพื่อปฏิบัติก่อนเป็นภิกษุณี
สิกขา ข้อปฏิบัติที่ควรศึกษาในพระพุทธศาสนา
สิกขาบท พระบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้
สิขี พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในกัปก่อนภัททกัป
สีตวัน ชื่อป่าแห่งหนึ่ง ป่าเย็น
สีมา แดน ขอบเขต กำแพง จังหวัด
สึก การลาจากเพศสมณะ การลาสิกขา
สุกกะ น้ำสีขาว น้ำอสุจิ น้ำกาม
สุคต ผู้ไปดี พระนามพระพุทธเจ้า
สุคติ ทางไปดี ทางดำเนินที่ดี สวรรค์
สุตตะ สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
สุทินน์ บุตรเศรษฐีผู้หนึ่งในกลันทคาม ภายหลังเมื่อบวชเป็นภิกษุแล้วเป็นต้นบัญญัติปฐมปาราชิก
สูตร สิ่งที่ร้อยกรองขึ้น หลักสำหรับจดจำ
เสขะ พระอริยะผู้ยังต้องศึกษา เพื่อบรรลุอรหัตผล
เสนาสนะ ที่นอน ที่นั่ง หมายเอากุฎีที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์
เสพ การร่วมรส การร่วมประเวณี การกิน การใช้สอย การคบหา
โสภิตะ พระอรหันต์รูปหนึ่ง
โสเรยยะ ชื่อเมือง ๆ หนึ่ง
ห.
หิมพานต์ เทือก ภูเขา แถบเหนือของชมพูทวีป
อ.
องค์กำเนิด อวัยวะสืบพันธ์ของเพศชาย
อจิรวดี แม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของชมพูทวีป เป็นหนึ่งในห้าของเบญจมหานที
อทินนาทาน การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การลักขะโมยทรัพย์
อธิกรณ์ เรื่องราว คดี การอ้างอิงเหตุ
อนาจาร การประพฤติ นอกรีต นอกแบบแผน
อนาถบิณฑิก คหบดีผู้หนึ่ง เป็นอริยสาวกคนแรกในนครสาวัตถี
อนาปัตวาร วาระแห่งการจำแนกเรื่องที่ไม่เป็นอาบัติ
อนิยต ชื่ออาบัติหมวดหนึ่งที่ยังไม่แน่ ให้ปรับตามฟ้องหรือตามคำรับ
อนุบัญญัติ ข้อบังคับที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นภายหลัง
อนุวาทาธิกรณ์ เรื่องราวที่เกิดเพราะโจทติเตียนกัน
เอนกปริยาย หลายบรรยาย หลายกระบวน หลายวิธี
อปรัณณชาติ ของที่กินภายหลังมีถั่วมีงาเป็นต้น
อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง ธรรมอันเทวดาและมนุษย์บูชา
อมมนุษย์ สัตว์ที่ไม่ปรากฎกายจำพวกหนึ่ง ไม่ใช่มนุษย์
อรรถ เนื้อความ ความหมาย
อรหัต ความเป็นพระอรหันต์ ชื่อมรรคผลชั้นสูงสุด
อรหันต์ พระอริยะผู้บรรลุ อรหัตผล
อริยกะ มนุษยชาติหนึ่งในชมพูทวีป
อลัชชี คนไม่อาย ภิกษุละเมิดพุทธบัญญัติ
อสัทธรรม สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมสัตบุรุษ
อสุจิ ของไม่สะอาด น้ำกาม
อสุภกรรมฐาน กรรมฐานที่มีของไม่งามเป็นอารมณ์
อเสขะ พระอริยะชั้นสูงสุด ผู้บรรลุอรหัตผลแล้ว ผู้ไม่ต้องศึกษาอีก
อคาพัวเจดีย์ สถานที่เคารพนับถือของชาว อาฬวี
อังคาส การถวายอาหารแก่พระสงฆ์ที่กำลังฉัน การเลี้ยงพระ
อันตรธาน เสื่อมสูญ สิ้นไป
อันตรวาสก ผ้านุ่งของพระภิกษุ สบงก็เรียก เป็นจีวรผืนหนึ่งในไตรจีวร
อันเตวาสิก ภิกษุผู้เป็นศิษย์ อยู่ในสำนักของครูอาจารย์
อันธวัน ชื่อป่าแห่งหนึ่ง แขวงนครพาราณสี
อัพโพหาริก ลักษณการที่ไม่มีข้อกล่าวอ้างว่าเป็นเช่นนั้น ไม่นับว่าผิดวินัยหรือกฎหมาย
อัพภูตธรรม สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
อัสสชิ ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง เป็นหนึ่งใน ปัญจวัคคีย์
อาชีวก นักบวชพวกหนึ่ง ภานนอกพระพุทธศาสนา
อาตมา ข้าพเจ้า ฉัน ตัวตน (เป็นคำที่พระสงฆ์เรียกตนเอง)
อาทิกัมมิกะ ผู้ริทำเป็นต้นเหตุ ผู้เป็นตัวการทำผิดคนแรก
อานนท์ พุทธอนุชา และเป็นพุทธอุปัฎฐาก
อานาปานสติ กรรมฐานที่เจริญโดยวิธีตั้งสิติ กำหนดลมหายใจเข้าออกของตนเป็นอารมณ์
อาบัติ การล่วงละเมิดข้อห้าม ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติโทษทางวินัย
อาบัติตาธิกรณ์ เรื่องราวที่เกิดขึ้น เพราะเหตุต้องอาบัติ
อาพาธ โรค ความป่วยไข้ (ใชสำหรับพระสงฆ์)
อารัญญิก การถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นองค์ธุดงองค์หนึ่ง
อาราธนา การเชื้อเชิญ การอ้อนวอน (ปกติใช้สำหรับพระสงฆ์)
อาราม บริเวณที่พักอาศัยของภิกษุสงฆ์ วัด สวน ที่ที่มายินดี
อาวาส ที่อยู่ของภิกษุสงฆ์
อาวุโส คำปราศรัยของภิกษุผู้มีพรรษาแก่กว่า ใช้ทักทายผู้น้อยก่อนคำอื่น
อาสวะ น้ำดอง กิเลสที่ดองอยู่ในสันดาน
อาฬวี ชื่อเมื่อง ๆ หนึ่ง
อิติวุตกะ สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
อิทธิปาฎิหารย์ ความอัศจรรย์เกิดด้วยอำนาจฤทธิ์บันดาล
อินทรีย ความเป็นใหญ่ในหน้าที่ของนามรูป ความรู้สึก ร่างกาย
อิสิคิลิ ชื่อเขาลูกหนึ่งในเบญจคีรี เขตนครราชคฤห์
อุตรกุรุ ชื่อทวีปหนึ่งในทวีปทั้ง 4 ที่เชื่อกันในสมัยนั้น
อุตราสงค์ ผ้าห่มของภิกษุ จีวรก็เรียก เป็นจีวรผืนหนึ่งในไตรจีวร
อุทาน สัตถุศาสน์อย่างหนึ่งใน 9 อย่าง
อุทายี ชื่อภิกษุรูปหนึ่ง
อุเทศ หัวข้อที่ยกขึ้นแสดง คำบาลี
อุบาลี พระเถระรูปหนึ่ง เป็นผู้เลิศทางพระวินัย
อุบาสก ชายผู้ถึงไตรสรณาคมณ์ใกล้ชิดพระรัตนตรัย
อุบาสิกา หญิงผู้ถึงไตรสรณาคมณ์ใกล้ชิดพระรัตนตรัย
อุปจาร บริเวณรอบนอก สถานที่เป็นชาน สถานที่ใกล้เคียง
อุปบัติ การเข้าถึงชาติใหม่ ภพใหม่ การเกิด
อุปปลวัณณา ชื่อพระเถรีรูปหนึ่ง
อุปสมบท การบวชเป็นภิกษุ สังฆกรรมการบวชพระในพระพุทธศาสนา
อุปัชฌายะ ภิกษุผู้เป็นประธานสงฆ์ในอุปสมบทกรรม
อุปัฏฐาก ผู้บำรุง ผู้ดูแล
อุปัฏฐานศาลา ศาลาที่ประชุมเฝ้าพระพุทธเจ้า อันเป็นสถานที่กลาง
อุภโตพยัญชนก สัตว์และคนพวกหนึ่ง มีอวัยวะเพศสองเพศ
เอหิภิกษุ ภิกษุผู้ได้รับอุปสมบท จากพระพุทธเจ้าโดยรับสั่งว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด


ที่มาhttp://www.heritage.thaigov.net/religion/tripitok/v5.htm#%E0%B8%99


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 53 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร