วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไร คือ การเกิดของสัญญา?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 22:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 05:53
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


tongue เรามิใช่นักอภิธรรมนะ แค่อยากจะเสนอความคิดเห็นเท่านั้นเอง

สัญญา เกิดขึ้นพร้อมกับความรู้สึกนั่นแหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 23:44 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


เรามิใช่นักอภิธรรมนะ ..เช่นกัน
ได้แต่..รอชม..ต่อ :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่ตลอดไม่มีระหว่างคั่น

อ้างคำพูด:
เมื่อศึกษาธรรมละเอียดขึ้น จะเข้าใจเพิ่มมากขึ้นว่า จิตเป็นสภาพรู้ อาการรู้ และ

เกิดดับ อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง เป็นกระแสไปโดยตลอด เพราะจิตมีสภาพเป็น

อนันตรปัจจัย ธรรมที่เป็นจิต(และเจตสิก) เป็นปัจจัยแก่ ธรรมที่เป็นจิต(และเจตสิก)

ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย คือ

จิต (และเจตสิก) ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่จิต (และเจตสิก) ที่เกิดหลังๆ ด้วย

อำนาจของอนันตรปัจจัย กล่าวคือ เมื่อจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นแล้วดับไปอย่างรวดเร็วนั้น

จิตดวงเก่าที่ดับไปนั่นเองเป็นปัจจัยให้เกิดจิตดวงใหม่ขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ต่อเมื่อ

สามารถอบรมเจริญปัญญาจนละอกุศลธรรมทั้งหมดได้แล้ว ซึ่งหมายความว่าผู้นั้นได้

บรรลุคุณธรรมเป็นพระอริยบุคคลขั้นพระอรหันต์ เมื่อนั้นกุศลธรรมก็จะหมดไปด้วย

และเมื่อจุติจิตของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นจิตดวงสุดท้ายของสังสารวัฏฎ์เกิดขึ้น ก็ไม่มี

เหตุให้จิตดวงต่อๆ ไปเกิดขึ้นอีกเลย เพราะจุติจิตของพระอรหันต์ไม่เป็นอนันตรปัจจัย

เป็นการแสดงถึง ความสิ้นสุดของสังสารวัฏฎ์ ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป

จากหนังสือ ..กรรมคำตอบของชีวิต โดย อัญญมณี มัลลิกะมาส


เจตสิก คือ เวทนา สัญญา สังขาร
เวทนา สัญญา สังขารบางส่วน เกิดกับจิตทุกดวง ไม่เว้นเลย


อ้างคำพูด:
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

สพฺพ ( ทั้งปวง ) + จิตฺต ( จิต ) + สารธารณ ( ทั่วไป ) + เจตสิก ( สภาพธรรมที่เกิด

กับจิต )

เจตสิกที่ทั่วไปแก่จิตทั้งปวง หมายถึง เจตสิก ๗ ดวงที่เป็นสาธารณะคือต้องเกิด

กับจิตทุกดวง จิตที่มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยน้อยที่สุด ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ก็

ต้องมีเจตสิก ๗ ดวงนี้ คือ

๑. ผัสสเจตสิก เป็นสภาพที่กระทบอารมณ์

๒. เวทนาเจตสิก เป็นสภาพที่รู้สึก หรือเสวยอารมณ์

๓. สัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่จดจำ หรือคุ้นเคยในอารมณ์

๔. เจตนาเจตสิก เป็นสภาพที่ตั้งใจ จงใจ บงการสัมปยุตธรรมให้ทำกิจ

ของตนๆ

๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นสภาพที่ทำให้จิตตั้งมั่น เป็นหนึ่งในอารมณ์

๖. ชีวิตินทริยเจตสิก เป็นสภาพที่รักษาสัมปยุตธรรมให้มีชีวิตอยู่ได้

๗. มนสิการเจตสิก เป็นสภาพที่สนใจ ทำให้จิตมุ่งตรงต่ออารมณ์


จิตเกิดขึ้นได้อย่างไร สัญญาก็เกิดขึ้นได้อย่างนั้น เพราะเกิดพร้อมกัน ตั้งอยู่ และดับไปพร้อมกัน
อย่าลืมว่า จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต
สัญญาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่สัญญา
สัญญาของจิต ไม่ใช่ความจำของเรา
ความจำได้ของเรา ไม่ใช่สัญญาของจิต
เราเคยลืมเหตุการณ์บางอย่างไป ด้วยความสามารถของสมอง
แต่สัญญา ไม่เคยลืมอะไรเลย
สัญญา เป็นสภาพรู้ และสภาพจำ
จิต เป็นสภาพรู้ ไม่จำอะไรทั้งสิ้น รู้ลูกเดียว
จิต เจตสิก รูป มีจริง ยังไม่ใช่ตัวตนเลย
แล้ว เราซึ่งดูเหมือนมีจริง จะเป็นตัวตนได้อย่างไร
เราเกิดขึ้นชั่วคราว เพราะเหตุปัจจัย เรามิได้มีจริงๆ
ลองจับเราให้ได้สิ เราอยู่ที่ไหน เอามือจับที่แขน ก็เป็นแขน ไม่ใช่เรา

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 10:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา หรือ ความรู้ได้หมายจำ เกิดตอนใหน เกิดอย่างไร อะไรที่ถูกเก็บ อะไรที่ถูกจำ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สัญญา หรือ ความรู้ได้หมายจำ เกิดตอนใหน เกิดอย่างไร อะไรที่ถูกเก็บ อะไรที่ถูกจำ?


เกิดจากการที่เราฟัง ได้ยิน ได้พบ ได้เห็น ได้กลิ่น ก็เกิดจำได้หมายรู้ ที่ไม่ใช่สมองจำ แต่จิตเป็นตัวจำ ตัวที่ทำหน้าที่จำเรียกว่าสัญญา สัญญาเป็นนามชนิดหนึ่ง สัญญาเป็นเจตสิกตัวหนึ่งในบรรดาเจตสิก52ดวง เกิดขึ้นกับจิต ไม่ใช่บุญ ไม่ใช่บาป เป็นเจตสิกฝ่ายกลางๆ

อ้างอิงจากหนังสือ วิปัสสนาภาวนา ของ ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ 2535

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


(ถ้า)สัญญา(ใหม่)เกิดในปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา(เก่า)ในจิตแล้ว สัญญาใหม่ที่เกิด จะเกิดได้กี่ลักษณะ แต่ละลักษณะเกิดขึ้นมาได้ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอะไรถึงเกิดเป็นอย่างนั้น แล้วสัญญาเก่าที่เก็บไว้ในจิต จะมีอิทธิพลต่อเราอย่างไรบ้าง?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 07 พ.ย. 2010, 22:28, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


จิต ไม่ใช่ เรา
สัญญา ไม่ใช่ เรา
เราจำได้มากน้อย หรือจำไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสมอง สมองขึ้นอยู่กับ(จิต กรรม อุตุ อาหาร)
ส่วนที่เราจำได้ แค่ไม่ถึงเศษเสี้ยวของสัญญา
เราจะจำได้มากหรือน้อย จำได้นานหรือขึ้ลืม จึงน่าจะเพราะ (กรรม จิต อุตุ อาหาร)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
(ถ้า)สัญญา(ใหม่)เกิดในปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี แล้วเก็บไว้เป็นสัญญา(เก่า)ในจิตแล้ว สัญญาใหม่ที่เกิด จะเกิดได้กี่ลักษณะ แต่ละลักษณะเกิดขึ้นมาได้ประกอบด้วยเหตุปัจจัยอะไรถึงเกิดเป็นอย่างนั้น แล้วสัญญาเก่าที่เก็บไว้ในจิต จะมีอิทธิพลต่อเราอย่างไรบ้าง?


เกิดได้ 6 ลักษณะ นั่นคือ เกิดจากการกระทบกันของ รูป กับ นาม หรือ อายตนะภายใน6 กระทบกับ อายตนะภายนอก6 หรือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์

แต่นามรูปที่กล่าวมามีการเกิดดับตลอดเวลาภายใต้กฎของพระไตรลักษณ์

มีอิทธิพลต่อเรา หากว่ามีวิญญาณมาประกอบ ถ้าไม่มีความตั้งใจเช่นตากระทบรูป ก็ไม่มีวิญญาณเกิดขึ้น หากสนใจมีวิญญาณเข้ามาประกอบ ก็เกิดเป็นจักขุวิญญาณ หรือ เสียงกระทบหู สนใจเกิดโสตวิญญาณ

พอมี3 ตัวมากระทบกันเรียกผัสสะ ผัสสะนี้คือการกระทบกันระหว่าง3สิ่งคือ อายตนะ12และวืญญาณ

ผัสสะทำให้เป็นเหตุเกิดของ เวทนา3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุขมสุขเวทนา(ไม่สุขไม่ทุกข์)

อ้างอิงจากหนังสือวิปัสสนาภาวนา ของ ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา 2535

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แก้ไขล่าสุดโดย student เมื่อ 09 พ.ย. 2010, 00:21, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาเกิดได้ ๖ ทางเท่านั้น นอกนั้นไม่มีสัญญาเกิด เมื่อจิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้เกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตจะจัดเก็บอารณ์นั้นกับเวทนานั้นเป็นสัญญา อย่างนี้ใ่หรือไม่?

จิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์เป็นปกติตามหน้าที่ (ไม่ได้เกี่ยวกับสัญญา) จากนั้นก็เกิดเป็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทำไมมันถึงได้เกิดเป็นทุกข์ สุข หรือเฉยๆ ขึ้นมาได้ ก็อะไรเป็นเหตุปัจจัยหรือมีอิทธิพลของการเกิดของเวทนาอย่างนั้นๆ ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 พ.ย. 2010, 00:58, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รู้อารมณ์ เป็นหน้าที่ของ จิต ..........ไม่ใช่เรา รู้
คิด เป็นหน้าที่ของ วิตก .........ไม่ใช่เรา คิด
จำ เป็นหน้าที่ของ สัญญา ...ไม่ใช่เรา จำ
สุข ทุกข์ เฉย เป็นหน้าที่ของ เวทนา .....ไม่ใช่เรา เสวยเวทนานั้น
กระทบอารมณ์ เป็นหน้าที่ของ ผัสสะ ......ไม่ใช่เรา เป็นผู้กระทบอารมณ์
ความสนใจ เป็นหน้าที่ของ มนสิการ ......ไม่ใช่เรา

ผัสสะ เป็นปัจจัย ให้เกิด เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัย ให้เกิด ตัณหา

ตัณหา เป็นหน้าที่ของ โลภะ ..............ไม่ใช่เรา เป็นผู้ตัณหา

กิเลส ไม่ใช่เรา ตัณหา นับเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

อะไรๆ ก็ไม่ใช่เรา แล้วเราเป็นใคร ใครเป็นเรา ....................เรามิได้มีจริง
เราเป็นแค่สภาวะธรรมซึ่งเกิดขึ้นชั่วคราว

เวลาเรานอนหลับฝัน เราไปโลดเล่นอยู่ในความฝัน
เวลาที่เรานอนหลับสนิท ไม่ฝัน ไม่ว่าใครก็หาเราไม่พบ
ดูเหมือน เรามีขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อเราตื่น ........................ทั้งที่เรามิได้มีจริงเหมือนเดิมนั่นแหละ

จิต+ เจตสิก(เวทนา สัญญา สังขาร(เช่น มนสิการ วิตก ผัสสะ โลภะ)) + รูป .......เป็นสิ่งที่มีจริง

จิต+เจตสิก+รูป เกิดขึ้นตั้งอยู่แล้วดับไป ตามเหตุตามปัจจัย ...........ไม่ใช่ตัวตน(อนัตตา)
จิต+เจตสิก+รูป ............ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของใคร(อนัตตา)
จิต เจตสิก รูป ...........เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ได้ไม่นาน (ทุกข์)
จิต เจตสิก รูป ..........ไม่เที่ยง ไม่คงที่เลย เดี๋ยวเกิดที่ตา เดี๋ยวเกิดที่หู เดี๋ยวเป็นกุศล เดี๋ยวเป็นอกุศล
เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้นแล้วดับไปอยู่เป็นนิจ(อนิจจัง)

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


Supareak Mulpong เขียน:
สัญญา หรือ ความรู้ได้หมายจำ เกิดตอนใหน เกิดอย่างไร อะไรที่ถูกเก็บ อะไรที่ถูกจำ?

อ้างคำพูด:
นิพเพธิกสูตร(สังเขป)
เธอทั้งหลายพึงทราบ
กาม, เวทนา, สัญญา
เหตุเกิดแห่งกาม,เวทนา,สัญญา

เหตุเกิดแห่งกามเป็นไฉน คือ

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งกามทั้งหลาย




ก็เหตุเกิดแห่งเวทนาเป็นไฉน คือ

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งเวทนา



เหตุเกิดแห่งสัญญาเป็นไฉน คือ

ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา

---------------------------------------------------------------
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ๙. นิพเพธิกสูตร


ในพระสูตรนี้ ทรงตรัสกามเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เวทนาเกิดเพราะอาศัยผัสสะ สัญญาเกิดเพราะอาศัยผัสสะ

อ้างคำพูด:
อะไรที่ถูกเก็บ อะไรที่ถูกจำ?


อ้างคำพูด:
สัญญาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิกคือธรรมชาติที่จำหมายอารมณ์มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

สญฺชานน ลกฺขณา มีความจำ เป็นลักษณะ
ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ
ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา
มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล
ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้
----------------------------------------------------------------------
ปริจเฉทที่ ๒ เจตสิกสังคหวิภาค


Supareak Mulpong เขียน:
สัญญาเกิดได้ ๖ ทางเท่านั้น นอกนั้นไม่มีสัญญาเกิด เมื่อจิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทำให้เกิดเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง จิตจะจัดเก็บอารณ์นั้นกับเวทนานั้นเป็นสัญญา อย่างนี้ใ่หรือไม่?

จิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์เป็นปกติตามหน้าที่ (ไม่ได้เกี่ยวกับสัญญา) จากนั้นก็เกิดเป็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วทำไมมันถึงได้เกิดเป็นทุกข์ สุข หรือเฉยๆ ขึ้นมาได้ ก็อะไรเป็นเหตุปัจจัยหรือมีอิทธิพลของการเกิดของเวทนาอย่างนั้นๆ ?

ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา
มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล

วัตถุหรืออารมณ์ที่ปรากฏเป็นเหตุใกล้ คือเกิดเวทนาขันธ์ ๑ หรือเวทนาเจตสิกเสวยรับรู้อารมณ์ เพราะอาศัยผัสสะเป็นเหตุใกล้ก่อน สัญญาเจตสิกมีกิจจำอารมณ์ที่เข้ามากระทบ มีอารมณ์ปรากฏเป็นเหตุใกล้ คือมีเวทนาเสวยรับรู้อารมณ์ก่อนนั่นเองเป็นเหตุใกล้ และไม่ทำกิจอื่นนอกจากจำได้หมายรู้

ที่ชอบใจที่ไม่ชอบใจนั้นอาศัยกิจของเวทนาขันธ์ หรือเวทนาเจตสิก เสวยอารมณ์นั้น ๆ คือหมายเอาไว้ จำเอาไว้ว่าชนิดนี้ รูปกับตานี้ พอใจ ไม่พอใจ เสียงกับหูนี้ พอใจไม่พอใจ อารมณ์กับธัมมารมณ์นี้พอใจไม่พอใจ ทั้งสัญญา เวทนา ผัสสะ ว่าโดยอภิธัมภาชนีย์นัย ได้แก่สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ที่ประกอบกับจิตทุกดวง

เจตสิกเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต และก่อนจะเกิดสัญญาจำได้หมายรู้ในวัตถุอารมณ์ใด ก็ต้องอา้ัศัยสฬายตนะ(อายตนะภายใน)เป็นปัจจัย เช่น จักขุปสาท + อายตนะภายนอกคือ รูปารมณ์ นอกจาก อายตนะภายนอกกับภายในกระทบสัมผัสกันก่อนแล้ว ก็ต้องมีวิญญาณจิตน้อมไปรู้อารมณ์ด้วย + การรู้อารมณ์ทางตา จักขุวิญญาณ = จึงเกิดขึ้น ผัสสะ จึงเกิดผัสสะจึงเป็นปัจจัยต่อไปยัง เวทนา ดังนั้น ผัสสะจึงเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิกด้วย ตาม พระบาลี นิพเพธิกสูตร ที่กล่าวการเกิดขึ้นของกามอาศัย ผัสสะ การเกิดขึ้นของเวทนาอาศัยผัสสะ การเกิดขึ้นของสัญญาอาศัยผัสสะ นั่นเองดังนี้

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปเป็นภาษาคนง่ายๆ ว่า เมื่อเรารับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (เกิดผัสสะ มีจิตเกิดขึ้นมารับรู้อารมณ์) จะทำให้เกิดความรู้สึกพอใจ ไม่พอใจ หรือเฉยๆ (เกิดเป็นเวทนา) จิตจะเก็บทั้งเวทนาและอารมณ์นั้นเป็นความทรงจำ อย่างนี้ใช่หรือไม่?

คำถามต่อไป สัญญาที่เกิด มีได้หลายลีกษณะ เช่น พยาบาทสัญญา ราคะสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา ฯ อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนันตสัญญา ฯ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสัญญาในแต่ละอย่างนั้น? แล้วเมื่อสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นมา มันจะมีผลต่อการทำงานของจิตต่อไปในภายภาคหน้าอย่างไร?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 04:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
คำถามต่อไป สัญญาที่เกิด มีได้หลายลีกษณะ เช่น พยาบาทสัญญา ราคะสัญญา รูปสัญญา อรูปสัญญา ฯ อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนันตสัญญา ฯ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสัญญาในแต่ละอย่างนั้น? แล้วเมื่อสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นมา มันจะมีผลต่อการทำงานของจิตต่อไปในภายภาคหน้าอย่างไร?

เหตุปัจจัยให้เกิดสัญญาในแต่ละอย่างคือ "ธาตุ"แปลว่าผู้ทรงไว้ เช่น ตาเอาไว้เห็นรูป แต่เอาหูมาใช้แทนดูตาไม่ได้ เห็นรูปด้วยตาแล้วเกิดฆานสัมผัสคือสัมผัสกลิ่นไม่ได้ฉะนั้น ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ รูปสังกัปปะอาศัยรูปสัญญาเกิดขึ้น รูปสัญญาอาศัยรูปธาตุจึงเกิดขึ้นได้ เป็นต้น

ธาตุที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงมี 18 ธาตุคือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ

มีผลต่อการทำงานของจิตโดยตรง จิตจะจำหมายรูป เสียง เหล่านั้นไว้ในฐานะธัมมธาตุ เช่น จิตเก็บไว้ในฐานะเป็นกามธาตุ กำหนดหมายว่ารูป เสียงเป็นต้น น่าใคร่ น่าพอใจ น่าปราถนา เมื่อเห็น หรือดำริถึงรูปเช่นนั้นด้วยอำนาจความจำความพอใจในรูปนั้นก็เพิ่มความเข้มข้นสูงขึ้น จนทำให้ใจเร่าร้อน เมื่อเร่าร้อนหนักเข้า ก็คุมไว้ไม่อยู่ ก็จะบังคับจิตให้ส่ายเพื่อแสวงหาสิ่งเหล่านั้น จนถึงลงมือแสวงหาไปตามแรงกระตุ้นของความใคร่
ทุกขสัญญา การกำหนดหมายว่าเป็นทุกข์ ถอนสุขสัญญา
อนัตตสัญญา การกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา ถอนอัตตสัญญา เป็นต้น

อ้างอิงจากหนังสือ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย พระระเเบบ ฐิตญาโณ 2533

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2010, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปง่ายๆ ว่า ตาเห็นรูป (เกิดจักขุสัมผัส) จำรูปได้ว่าคืออะไร (อาศัยรูปสัญญาเดิม) อาศัยความจำนั้นเกิดเป็นความคิด (เกิดรูปสังกัปปะ) จากนั้นก็เก็บสัญญาที่เกิดไว้ในจิตอีก แบบนี้หนือไม่?

สัญญาเดิมที่เก็บไว้ มีผลต่อการเกิดความคิดโดยตรง เช่น ตาเห็นทองคำ ก็รู้ว่าเป็นทองคำ เป็นของมีค่ามีราคา เกิดเป็นความคิดว่าอยากได้ เพราะมีสัญญาเก่าที่อยากได้ทองคำหรือของมีค่าอยู่ก่อนหน้า ขับให้เกิดเป็นพฤติกรรม ความอยากได้ที่เกิดใหม่ ก็เก็บไว้เป็นความจำอีก ทำให้ความอยากได้ในความทรงจำมีมากขึ้น แรงขับในการเกิดความอยากได้ครั้งต่อไปก็จะมีกำลังมากขึ้น

แปลว่า เมื่อเราเกิดการรับรู้ ถ้าเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ตอบสนองสิ่งที่รับรู้นั้น หมายถึง มี โลภะ โทสะ โมหะ (อวิชชา) เจือกับจิต ทำให้เกิดความทรงจำ จำคู่กันระหว่างเวทนาและอามรณ์ ความทรงจำที่มี โลภะ โทสะโมหะ อยู่ด้วย ก็จะทำให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาใหม่เจือกับจิตเมื่อเราไปรับรู้เรื่องเดิมหรือสิ่งเดิม อย่างนี้หรือไม่?

โลภะ โทสะ โมหะ ที่เกิดใหม่ (อวิชชาใหม่) ก็จะไปเพิ่มกำลัง โลภะ โทสะ โมหะ เดิมที่มีอยู่ในสัญญา (กองอิวิชชา) ให้สามารถส่งอิทธิพลต่อความคิดของเราในครั้งต่อไป อย่างนี้หรือไม่?

แปลว่า สัญญาฝ่ายอกุศลทั้งหมด เกิดจาก โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล ใช่หรือไม่?

แล้วโลกุตระสัญญา วิชชา หรือ ปัญญา (อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนันตสัญญา) จะเกิดขึ้นมาได้ด้วยอะไร?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร