วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ eragon_joe: รู้เฉยๆ กับรู้สึก ไม่เหมือนกัน เกิดไม่พร้อมกันแน่ๆ เพราะเกิดในจิตคนละดวงในวิถีจิตเดียวกันคือ รู้ก่อนในปัญจวิญญาณและสันตีรณะ และมารู้สึกในโวฏฐัพพนะ ย้ำลงไปในจิต ๗ ชวนะเป็นสัญญาใหม่ในกองสัญญาขันธ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ตอบ eragon_joe: รู้เฉยๆ กับรู้สึก ไม่เหมือนกัน เกิดไม่พร้อมกันแน่ๆ เพราะเกิดในจิตคนละดวงในวิถีจิตเดียวกันคือ รู้ก่อนในปัญจวิญญาณและสันตีรณะ และมารู้สึกในโวฏฐัพพนะ ย้ำลงไปในจิต ๗ ชวนะเป็นสัญญาใหม่ในกองสัญญาขันธ์


ขอบคุณเพื่อน... :b16:

แล้วอ่านมาเอกอนก็ชอบคำตอบนี้ของ ท่าน student น่ะ

student เขียน:
เหตุปัจจัยให้เกิดสัญญาในแต่ละอย่างคือ "ธาตุ"แปลว่าผู้ทรงไว้ เช่น ตาเอาไว้เห็นรูป แต่เอาหูมาใช้แทนดูตาไม่ได้ เห็นรูปด้วยตาแล้วเกิดฆานสัมผัสคือสัมผัสกลิ่นไม่ได้ฉะนั้น ความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้นเพราะอาศัยความต่างแห่งธาตุ รูปสังกัปปะอาศัยรูปสัญญาเกิดขึ้น รูปสัญญาอาศัยรูปธาตุจึงเกิดขึ้นได้ เป็นต้น

ธาตุที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงมี 18 ธาตุคือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เราเรียกว่าความต่างแห่งธาตุ

.......
ทุกขสัญญา การกำหนดหมายว่าเป็นทุกข์ ถอนสุขสัญญา
อนัตตสัญญา การกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา ถอนอัตตสัญญา เป็นต้น

อ้างอิงจากหนังสือ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย พระระเเบบ ฐิตญาโณ 2533


ไม่เคยเห็นที่ไหน...แต่เห็นที่ในใจ
เอกอนเห็น "สัญญา" มีธาตุเป็นเหตุปัจจัย...หง่ะ...
อันนี้ไม่รู้จริง ๆ ... แต่เห็น "สัญญา" มีความเป็นเช่นนั้นมาตลอด...
ก็เพิ่งรู้ว่ามีอ้างอิงตามตำรา ค่อยอุ่นใจในการรู้ของตัวเองขึ้นมาหน่อย...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้ารู้ได้เองหมด ก็เก่งเท่าพระพุทธเจ้าแล้ว :b12: มีหูทิพย์ ตาทิพย์ ก็เหมือนมีกล้องส่องทางไกล มีกล้องไมโครสโคบ ฯ ทำให้เห็นมากขึ้น แต่ก็รู้ได้เท่าเดิม เห็นมาก บางทีแทนที่จะรู้มาก กลับงงมากกว่าเดิมอีก เพราะจะเอาความเห็นไปแปลสิ่งที่เห็น ถ้าไม่เข้าถึงความจริงแล้ว ก็ไม่มีทางเกิดเป็นปัญญา เพราะปัญญามาจากข้อมูลข้อเท็จจริง หรือ สัจจะธรรม

เราเหล่าสาวก ต้องเรียนรู้ หรือ รู้ตาม ไม่เช่นนั้น ทั้งชาติ ก็คงไปใหนไม่ได้ไกล พระพุทธองค์จึงกำหนด ปริยัต ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้เกิด ปฏิภาณในปริยัติ ปฏิภาณในปริปุจฉา และปฏิภาณในปฏิคม

สัญญา เกิดจาก ธาตุ แปลง่ายๆ ว่า เห็นรูปจึงจำรู็ปได้ จำได้ว่าไครเป็นไคร เกิดเป็นรูปสัญญา ได้ยินเสียงก็จำเสียงได้ว่าเป็นเสียงนก เสียงคน ฯ เกิดเป็นโสตสัญญา ฯลฯ แปลง่ายๆ เป็นภาษาคนก็เท่านี้แหละ ไม่มีอะไรซับซ้อน ... ที่คนทั่วไปสับสนเพราะไปติดที่ศัพท์บาลี

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 20:18 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


อิ อิ ถ้ารู้เองได้หมด ก็แสดงว่าเป็นศิษย์ที่ดี...ไง :b12:
พระพุทธองค์เป็นเพียงผู้บอกทาง... เราต้องปฏิบัติให้รู้เองก็ถูกต้องแล้ว...นี่ :b9:
แล้วเอาสิ่งที่รู้นั้นมาเทียบเคียงกับคำสอน... ถ้าสอดคล้องก็อุ่นใจ...ไง

อิ อิ เอกอนใช้คำว่า เป็นเหตุปัจจัย...นะ :b12:

.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 22:54 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


หวัดดี เอกอน cool


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ธ.ค. 2010, 22:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
หวัดดี เอกอน cool


อิ อิ หวัดดี... cool

ไม่เจอกันหลายวัน ...

:b17: :b17: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ธ.ค. 2010, 21:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงไม่ได้เจอ...

แต่..สัญญาเก่า..ก็อบอุ่นดี

(..เอาให้เข้าชื่อกระทู้เขาหน่อย..)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2010, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


... สัญญา ถ้าพิจารณาตามวิถีจิตปกติของปุถุชน จะพบว่า เมื่อเรารับรู้รูป ๑ รูป จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ทำหน้าที่ต่อเนื่องกัน เป็น sequential process โดย ๔ ขณะแรกเป็นกริยาจิตทั้งหมด ยังไม่มีการรับรู้ ขณะที่ ๕ ถึงจะเกิดวิญญาณขึ้นมารับรู้อารมณ์ ขณะดวงที่ ๖-๗ เราถึงจะแปลได้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร ด้วยการเทียบกับสัญญาเดิม

ถ้าเราหยุดการทำงานของจิตได้แค่นี้ เราเรียกว่า รู้สักแต่ว่ารู้ เห็น สักแต่ว่าเห็น เพราะยังไม่มีการคิดปรุงแต่ง แต่จิตไม่ได้หยุดทำงานเพียงแค่นี้ จากนั้นอารมณ์จะส่งต่อไปมโนทวารเพื่อปรุงแต่ง เกิดเวทนาขึ้นที่จิตขณะดวงที่ ๘ ตัดสินว่า บุญ หรือ บาป ก่อนจะถูกเก็บไว้ย้ำถึง ๗ ขณะ เป็นความทรงจำที่หนาแน่นไม่หายไปใหน ... การปรุงแต่งก็คือการรู้การคิด ซึ่งมีฐานมาจากสัญญาเหมือนกัน แต่เป็นสัญญาคนละส่วนกันกับตอนรับรู้ในสันตีรณะจิต

ชวนะจิต ๗ ขณะจำจจดจำทั้งอารมณ์และเวทนา เก็บไว้เป็นฐานคิดของเรา พระพุทธองค์จึงแสดงว่า ร่างกายเราประกอบด้วยขันธ์ ๕ เรียงตามลำดับของการเกิดทุกข์ ดังนี้

ตาเนื้อเห็นรูป (รูปขันธ์) ทำให้เกิดความรู้สึก (เวทนาขันธ์) เก็บเป็นความทรงจำ (สัญญาขันธ์) เอาไว้เป็นฐานในการคิด (สังขารขันธ์) และเป็นฐานรู้ (วิญญาณขันธ์) ของเรา สรุปก็คือ การรับรู้ของเราทั้ง ๖ ทาง ซึ่งมีอารมณ์เป็นปัจจัย จะพัฒนาจนกลายมาเป็นตัวตนของเราในที่สุด หรือ ตัวเรา นิสัยความเคยชินของเรา มาจากสิ่งแวดล้อมที่เรารับรู้มาตลอดชีวิตของเรา ... คนเราจึงสั่งตัวเองไม่ได้ บุญบาป หรือ ข้อมูลในสัญญาเป็นตัวสั่ง เราสั่งอะไรตัวเราไม่ได้เลย

อวิชชา ที่มีผลต่อการเกิดเวทนา เกิดในโวฏฐัพพนะจิต ส่วนการรับรู้เกิดในสันตีรณะ เพราะฉะนั้น การที่พระสารีบบุตรกล่าวไว้ว่า ให้ยังปัญญาให้เกิดขึ้นประกบกับชวนะจิตทุกครั้งที่จิตเกิดขึ้นมาเสวยอารมณ์เปรียบปัญญาเหมือนรอยฝีเท้าที่เดินตามจิต จึงหมายถึง การวิปัสสนาให้ปัญญาเกิดที่โวฏฐัพพนะจิต

นักจิตวิทยาสายจิตพิเคราะห์ สรุปไว้ว่า บุคคลิคภาพของคนเรา มาจากการเรียนรู้ตั้งแต่เด็ก ผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหล่อหลอมจนกลายเป็นบุคคลขึ้นมา เด็กเมื่อทำอะไรไม่ดีเราก็จะห้ามเพราะเดี๋ยวจะติดเป็นนิสัย ฯ แต่ความจริงที่แท้จริงคือ สัญญา ไม่ได้สะสมมาเพียงชาติภพเดียว พวกนนักจิตวิทยาจึงหาคำตอบของพฤติกรรมมนุษย์ไม่ได้หลายประการ

ที่ อวิชชา มีกำลัง เพราะคนปกติ บำเพ็ญสะสมอวิชชาให้กับตัวเองตลอดเวลาที่ไม่หลับ เก็บสะสมไว้ในจิตใจ ย้ำแล้วย้ำอีก ไม่ได้หายไปใหน พระอานนท์จึงกล่าวว่า ปุถุชนจะเอาชนะ โลภะ โทสะ โมหะ นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

สัญญา เกิดได้ ๖ ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะ ผัสสะเกิดได้ ๖ ทางนี้ไม่มีทางอื่น อารมณ์ก็เกิดได้ ๖ ทางนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น อวิชชา หรือทุกข์ ก็เกิดเพียงได้ ๖ ทางเหมือนเกัน

แล้ว วิชชา หรือ อนิจจะสัญญา ทุกขะสัญญา อนันตตะสัญญา จะเกิดได้อย่างไรในทวารทั้ง ๖ นี้ แทนการเกิดของอวิชชา?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ธ.ค. 2010, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
... สัญญา ถ้าพิจารณาตามวิถีจิตปกติของปุถุชน จะพบว่า เมื่อเรารับรู้รูป ๑ รูป จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ทำหน้าที่ต่อเนื่องกัน เป็น sequential process โดย ๔ ขณะแรกเป็นกริยาจิตทั้งหมด ยังไม่มีการรับรู้ ขณะที่ ๕ ถึงจะเกิดวิญญาณขึ้นมารับรู้อารมณ์ ขณะดวงที่ ๖-๗ เราถึงจะแปลได้ว่า สิ่งที่เห็นเป็นอะไร ด้วยการเทียบกับสัญญาเดิม

ถ้าเราหยุดการทำงานของจิตได้แค่นี้ เราเรียกว่า รู้สักแต่ว่ารู้ เห็น สักแต่ว่าเห็น เพราะยังไม่มีการคิดปรุงแต่ง แต่จิตไม่ได้หยุดทำงานเพียงแค่นี้ จากนั้นอารมณ์จะส่งต่อไปมโนทวารเพื่อปรุงแต่ง


1 - 4 เป็นกิริยาจิต..ยังไม่มีการรับรู้
5....เกิดวิญญาณมารับรู้อารมณ์

6...7..ถึงแปลได้ว่าเป็นอะไร

ขณะที่ 5 รู้อารมณ์แบบไหนเพราะยังไม่ได้แปลเลยว่า..สิ่งนั้นเป็นอะไร???

และ..การหยุดอยู่ที่ 5 ทำได้ในคนเป็นปุถุชนไหม??..ทำได้อย่างไร??
:b12: :b12:

จะรอคำตอบ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ธ.ค. 2010, 01:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้ว วิชชา หรือ อนิจจะสัญญา ทุกขะสัญญา อนันตตะสัญญา จะเกิดได้อย่างไรในทวารทั้ง ๖ นี้ แทนการเกิดของอวิชชา?



ก็จะลองตอบโดยไม่เปิดหนังสือดู ไม่ถูกประการใดก็ขออภัยมา ณ.ที่นี้

ผมว่าการรู้เห็นตามความเป็นจริงเป็นการเกิดของวิชชาโดยใช้ ประตูเปิดโลก ก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ รับเอา ภาพ เสียง กลิ่น รส และ อารมณ์ ตามความเป็นจริงของมัน เช่น เสียง สักแต่ว่าเกิดขึ้นแต่ก็จะดับลง ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง คนแก่ลง ตามลำดับตามหลักพระไตรลักษณ์ แล้วพัฒนาจิตโดยใช้หลัก ศีล สมาธิปัญญา เพื่อสร้างความละเอียดของจิต ถ่ายถอน อวิชชา

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2010, 09:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขณะที่ 5 รู้อารมณ์แบบไหนเพราะยังไม่ได้แปลเลยว่า..สิ่งนั้นเป็นอะไร???
เรียกว่าเกิดอายตนะภายใน คือ มีการรับรู้ข้อมูลจากภายนอกเข้ามาแล้ว เป็นข้อมูลดิบ ยังไม่ผ่านกระบวนการตีความ
อ้างคำพูด:
และ..การหยุดอยู่ที่ 5 ทำได้ในคนเป็นปุถุชนไหม??..ทำได้อย่างไร??
ถ้าเป็นการรับรู้ปกติ ทำไม่ได้ เพราะเราสั่งจิตไม่ได้ จิตไม่ใช่เรา มันทำงานเป็นอัตโนมัติ อริยะำก็ทำไม่ได้ วิปัสสนาเป็นอุบายเจริญปัญญา ไม่ได้สั่งจิตให้ยุดทำงาน ... เว้นตอนสลึมสลือ วิธีจิตจะไม่สมบูรณ์ เรียกว่า ปริตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อย เพราะวัตถุหรืออารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องไปมาก จึงไม่ชัดแจ้งพอที่จะตัดสินลงไปได้ว่าอารมณ์นั้นดี หรือชั่วประการใด หรือเป็น อติปริตตารมณ์ คือ อารมณ์ที่มีขณะจิตเกิดได้น้อยที่สุด เพราะวัตถุหรือ อารมณ์นั้นบกพร่องมากเหลือเกิน จึงทำให้จิตเพียงแต่แว่ว ๆ ไหว ๆ เท่านั้น ไม่ทัน จะได้เห็น ไม่ทันจะได้ยิน อารมณ์นั้นก็ดับไปเสียแล้ว เลยยังไม่ทันรู้ว่าอะไรเป็น อะไร
อ้างคำพูด:
ผมว่าการรู้เห็นตามความเป็นจริงเป็นการเกิดของวิชชาโดยใช้ ประตูเปิดโลก ก็คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ รับเอา ภาพ เสียง กลิ่น รส และ อารมณ์ ตามความเป็นจริงของมัน ..
เห็นจริงตามจริง เท่าทันปัจจุบันอารมณ์ หรือ กำหนดรู้ผัสสะด้วยปัญญา ... :b4:

สัญญาเกิด ๖ ทาง ทุกข์เกิด ๖ ทาง ดับทุกข์ต้องดับทั้ง ๖ ทาง ดับที่มันเกิด ทันทีที่มันเกิด วิชชาต้องเกิดทั้ง ๖ ทาง เพราะ มันเป็นการทำงานของจิต

ชีวิต จริงๆ คือ ผลจากการกระทำของเราในอดีตเท่านั้น เพราะ หลังจากที่มีการตัดสินอารมณ์เป็นบุญเป็นบาปแล้ว จะถูกเก็บย้ำไว้ ๗ ชวนะ และจะส่งผลเป็นวิบากต่อไปในอนาคต พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เรามีกรรมลิขิต ไม่กรรมเป็นเผ่าพันธ์ และจริงๆ ก็คือ เราสั่งตัวเราเองไม่ได้เลย บุญ บาป สัญญาความจำ ความเคยชิน หรือ ข้อมูลที่เราสะสมมาตลอด ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และการคิดนึก เป็นตัวสั่งเรา ... เป็นนิสัย เป็นสันดาร เป็นพรสวรรค์ เป็นวาสนา ฯ ทั้งหลายเหล่านี้ คือ กรรม และวิบากกรรม เท่านั้น

มงคล ๓๘ ประการข้อแรก พระพุทธองค์จึงตรัสว่า อะเสวะนา จะพารานัง ... เทวดามาเกิดในดงโจร ก็จะซึมซับความเป็นโจรไปด้วย

ถ้าจิตตัดสินอารมณ์ มีผลออกมาเป็นเวทนา คือ พอใจ ไม่พอใจ มันก็คือ การเกิดของทุกข์ ซึ่งจะกลายเป็น อุปทาน ตัณหา และเป็นอวิชชาในที่สุด ที่มันเป็นอวิชชา ก็เพราะอิทธิพลของอวิชชาที่นอนเนื่องในจิตใจ หรือพูดง่ายๆ ว่า เพราะทุกข์จึงทำให้เกิดทุกข์ ทุกข์จึงถมทุกข์ ปุถุชนจึงจมอยู่แต่ในกองทุกข์ มืดมนหาที่สุดไม่ได้ หาทางออกให้กับตัวเองไม่ได้ เขาสั่งตัวเองไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลสร้างสุขให้กับตนเอง

ถ้าจิตตัดสินอารมณ์ มีผลให้ ไม่เกิดความพอใจและไม่พอใจ ก็คือ การดับของทุกข์ ไม่เกิดสัญญาที่เป็นอกุศล ????

ปัญญาที่ดับทุกข์ได้คืออะไร? ก็คือ ความรู้ในกฏธรรมชาติ ๒ กฏ สรุปเป็นคำๆ เดียวว่า "ไม่เที่ยง"

ไม่เที่ยง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดเพราะเหตุปัจจัยมาประชุมกันชั่วคราว และแตกสลาย บังคับบัญชาไม่ได้ ฯ

เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเกิดขึ้นมาเพื่อรับรู้อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ทางใดทางหนึ่ง ทั้ง ๖ ทาง เราอาศัยเจตนาเป็นเครื่องพิจารณาอารมณ์นั้นว่า (โยนิโสมนสิการ) มันไม่เที่ยง ฯ ชวนะจิต ก็จะจำว่า รูปไม่เที่ยง ฯ ไว้เป็นสัญญา ๗ ขณะแทนอวิชชาทันที สัญญานี้เรียกว่า อนิจจะสัญญา แปลง่ายๆ ว่า จำได้ว่ารูปไม่เที่ยง .... เป็นอุบายในการออกจากทุกข์ !!!! สัญญาแบ่งตามความต่างของธาตุ เพราะฉะนั้นจึงต้องพิจาณาอารมณ์ทั้ง ๖ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้

สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นย่อมไม่ยั่งยืนถาวร(เป็นทุกข์) สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นย่อมไม่มีตัวตนเป็นของตน(อนัตตา) เพราะฉะนั้น ผู้นมสิการด้วยความไมเ่ที่ยง ก็จะได้ อนัตตสัญญาไปด้วย

อนิจจะสัญญา ทุกขะสัญญา อนันตตะสัญญา คือ ฐานของปัญญาเร็ว ปัญญากว้างขวาง ปัญญาดั่งแผ่นดิน ปัญญาแ่ล่นไป ฯ ในอนาคต หรือ คือ สัญญาที่เป็นส่วนของวิชชา

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น อวิชชา หรือ วิชชา ก็คือ สัญญา หรือ ข้อมูลในความทรงจำของเรานั่นเอง

เมื่อเราพิจารณาอารมณ์ตามความเป็นจริงของโลกและชีวิต เห็นจริง เห็นตรง จึงไม่เกิดความพอใจไม่พอใจ เวทนาก็ไม่เกิด ทุกข์จึงดับ มีวิชชาเกิดขึ้นมาแทน ปัญญาก็จะสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลต่อความคิดเรามากขึ้น มีกำลังมากขึ้น เป็นตัวเป็นตนขึ้นมาได้

ไม่เที่ยง ก็คือ ปัญญา สัมมาทิฏฐิ ที่เป็นอนาสวะ นับเนื่องเป็นองค์แห่งมรรค เห็นจริง คือ เห็นความจริง เห็นตรง คือ ตรงต่อความเป็นจริงของโลกและชีวิต ถ้าเอาไปตั้งไว้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตลอดเวลาที่ไม่หลับได้ ปัญญาจะเกิดอย่างมหาศาล เอาไว้ดับทุกข์ได้ถาวร

เมื่อเจริญวิปัสสนาไปเรื่อยๆ เป็นประจำ วิชชาจะมากขึ้น อวิชาจะเกิดน้อยลง อุปมาเหมือนเราเติมน้ำลงในน้ำเกลือ ความเค็มก็ค่อยๆ ลดลง จนในที่สุด ก็จะหาความเค็มไม่ได้ เกลือหรืออวิชชาก็เป็นธรรมชาติ อยู่ภายใต้กฏอนิจจัง ทุกขขัง อนนันตา เหมือนกัน คือ เน่าตายได้เหมือนกัน

วิปัสสนาภาวนา ต้องลืมตา เปิดโลกให้กว้าง รับรู้อารมณ์ พิจารณาอารมณ์ตามความเป็นจริง ใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเรื่องมือในการสร้างปัญญา ทำได้ทุกที่ ทุกอริยาบท ตั้งแต่ตื่น จนหลับ

พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า การเกิดของปัญญาสัมมาทิฏฐิ เริ่มมาจาก การสดับรับฟังแต่บุคคลอื่น และโยนิโสมนสิการ คือ เรียนรู้กฏธรรมชาติ ๒ กฏก่อน ให้รู้เห็นธรรมชาติตามความเป็นจริง ให้เกิดความรู้ ให้เกิดเป็นปัญญาที่สำเร็จมาจากการฟังและการคิด แล้วมนสิการปัญญามาตั้งไว้ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้ปัญญาเกิดประกบชวนะจิตทุกครั้งให้ได้

สัญญา การเกิดดับของสัญญา ตามความเป็นจริง จึงปรากฏด้วยประการเช่นนี้ :b8:

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2010, 03:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ขณะที่ 5 รู้อารมณ์แบบไหนเพราะยังไม่ได้แปลเลยว่า..สิ่งนั้นเป็นอะไร???
..เรียกว่าเกิดอายตนะภายใน คือ มีการรับรู้ข้อมูลจากภายนอกเข้ามาแล้ว เป็นข้อมูลดิบ ยังไม่ผ่านกระบวนการตีความ


หากอธิบายอย่างนี้...จะเรียกว่ารู้...เฉย ๆ ไม่มีอารมณ์ได้ไหม?? เพราะ..คำว่าอารมณ์..ทำให้นึกไปถึง..ความรู้สึกที่มีต่อสิ่งที่มากระทบนั้น..และการจะรู้สึกอย่างไรกับอะไรได้นั้น..ย่อมต้องมีสิ่งมาเทียบเคียงหรือสัญญาเก่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2010, 11:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
หากอธิบายอย่างนี้...จะเรียกว่ารู้...เฉย ๆ ไม่มีอารมณ์ได้ไหม??
การรู้ของจิตมีอารมณ์เป็นปัจจัย ไม่มีอารมณ์ก็ไม่เกิดการรับรู้ บางคนอาจจะติดว่า อารมณ์ คือ ความรู้สึก ตามความหมายจริงๆ อารมณ์ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความคิด หรือ อายตนะภายใน ยังไม่มีความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง ความรู้สึก คือ เวทนา ไม่ใช่อารมณ์ แต่ต้องมีอารมณ์ก่อน จึงจะเกิดเวทนาตามมา เป็น ทุกข์ สุข หรือเฉยๆ

ถ้ารู้อารมณ์ คือ รู้เฉยๆ ถ้าเกิดปรุงแต่งเป็นพอใจ ไม่พอใจ ถึงจะเป็นเวทนา

จิตทำงานเป็นขณะ แต่ละขณะมีภาระกิจเฉพาะ เสร็จกิจแล้วก็ดับไป ส่งอารมณ์ต่อให้จิตดวงที่จะเกิดขึ้นมาใหม่ทำกิจใหม่ต่อเนื่องจากกิจนั้น ในปัญจทวารวิถี จิตเกิดมารับอารมณ์ หรือ นำเข้าข้อมูลจากภายนอกก่อน ยังไม่มีการแปลหรือตีความใดๆ ทั้งสิ้น เรายังไม่รู้เลยว่ามีการรับรู้ ถือเป็นข้อมูลดิบ จิตดวงต่อมาจึงจะนำมาตีความต่อ เช่น ตาเห็นรูปคน ก็รู้ว่าคน แต่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นไคร พอรู้ว่าเป็นใคร ถึงจะไปปรุงแต่งต่อในจิตดวงต่อไป

การทำงานของจิตนั้นเร็วมาก ในความเป็นจริง ตอนเราเห็นรูป วิถีจิตเกิดขึ้นมาเป็นล้านๆ ครั้ง มีการคิดต่อเนื่องจากปัจจทวารวิถีอีกเป็นวิถีจิตในมโนมวารอีกไม่รู้กี่ล้านครั้งต่อการเกิดดับของรูป ๑ รูป เรียกว่า ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี คือ มโนทวารวิถี ที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถี อันมีปรมัตถเป็นอารมณ์ เพื่อให้รู้เรื่องราวของบัญญัติ ตามโวหารของโลก จากปรมัตถอารมณ์นั้น

เพราะฉะนั้น การหลงไปกับรูป ๑ รูป จึงเกิดบาปไม่รู้กี่ขณะจิต ย้ำลงไปที่รู้กี่ล้านครั้ง

วิปัสสนา คือ ดับเวทนา ไม่ให้เกิดอกุศลสัญญา ชวนะจิตจะเก็บความจริงไว้ ๗ ขณะ ถ้าไม่ทำแบบนี้ จะไม่มีทางเกิดวิชชา ... วิปัสสนา จึงเป็น ทางเอก ทางเดียวที่จะทำให้เกิดปัญญาดับทุกข์ได้ ไม่มีทางอื่น

บางคน ใช้วิธีมองเฉยๆ หรือวางอุเบกขาในอารมณ์ ถือเป็นสมถะ การปรุงแต่งอารมณ์ด้วยอุเบกขาแบบนี้ เรียกว่าอุเบกขาที่มีอามิส เวทนาที่เกิดเป็นอทุกขมสุขเวทนา ไม่ใช่อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา คือ ยังไม่ใช่วิชชาอยู่ดี

การใช้อุบายจับลมหายใจก็ดี จับอริยาบทก็ดี ฯ ก็ไม่ทำให้เกิดวิชชาขึ้นมาได้ เพราะเป็นเพียงการหลบผัสสะ เช่น เมื่อตาเห็นรูป ไม่อยากเกิดเวทนา ก็ไปจับอารมณ์อื่น ที่ทำให้เกิดอุเบกขา บางคนไปจับเอาอารมณ์ในมโนวิญญาณ (เช่นความว่าง) คือ หลบโดยใช้สมาธิ การกระทำอย่างนี้ ถ้าทำจนเชี่ยวชาญมากๆ จะคิดว่าดับทุกข์ได้ จริงๆ ก็คือ หลบจนเชี่ยวชาญ มันไม่เกิดวิชชาหรือปัญญาอะไรเลย เพราะปัญญาที่เอามาดับทุกข์ได้ ต้องมาจากการพิจารณาอารมณ์ตามความเป็นจริง คือ เห็นว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เท่านั้น และต้องพิจารณาอารมณ์ที่เกิดปัจจุบันเท่านั้น

หลับตานั่งคิดก็ไม่ได้ เพราะวิญญาณไม่ได้เกิดที่ทวารนั้น เช่น หลับตา แล้วไปพิจารณาว่า รูปไม่เที่ยง จริงๆ เป็นการพิจารณามโนรมณ์ ไม่ใช่รูปารมณ์ ฯ แบบนี้เรียกว่า วิปัสสนึกของจริง สัญญาที่เกิดมันมาจากมโนธาตุ ไม่ใช่จักขุธาตุ แปลว่า เป็นการไปฝึกดับทุกข์ทางใจทางเดียว ที่เหลืออีก ๕ ทางไม่ได้ฝึก

มองจิตเฉยๆ แล้วจิตมันจะรู้เอง ก็เป็นไปไม่ได้ตามหลักอภิธรรม ไม่ต่างกับการติดตามอริยาบท เพราะจิตรู้และคิดปรุงแต่งไปตามความเคยชิน ฯ ถ้าไม่กำหนดพิจารณาอารมณ์ วิชชาไม่มีทางเกิดขึ้นมาได้ เพราะปุถุชนไม่มีความเคยชินในการพิจารณาอารมณ์ตามความเป็นจริง เพราะตกอยู่ในอำนาจของอวิชชา

วิปัสสนาวัดกันที่ ชวนะจิตได้เสพอะไร ความจริง หรือ ความเห็น?

ถ้าพิจารณาการทำงานของจิต การเกิดดับของสัญญา ตามนี้ ก็จะเห็นชัดเจนว่า วิปัสสนา ทำได้เลย ไม่ต้องไปนั่งสมาธิจนได้ฌาน การตั้งใจ มีเจตนาเป็นเครื่องพิจารณา ก็คือ สมาธิที่โอนอ่อนควรแก่การงาน เป็นสมาธิที่ไม่ต้องฝึกเพิ่มเติม มีติดตัวเรามาแต่เกิด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 09:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
[๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วยวิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบการงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายามชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกชอบ แล.

เมื่อเราเจริญวิปัสสนาให้เกิดวิชา หรือทำให้เกิด อนิจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดองค์ธรรมทั้งหมดในมรรคมีองค์ ๘ ทั้งหมด ตามที่พระพุทธองค์ได้อธิบายไว้ใน มัคคสังยุต

เพราะฉะนั้น องค์ธรรมในมรรค ๘ ทั้งหมด เอามาปฏิบัติตรงๆ ไม่ได้ เพราะมันเป็นผลของการวิปัสสนา ไม่ใช่เหตุของการเกิดปัญญา การที่จะได้มรรค ๘ ต้องไปทำที่เหตุ คือ สะสมความจริงไว้ในจิตใจมากๆ จนวิชชาเกิด เมื่อวิชชาเกิด สัมมาทิฏฐิที่มรรค ๘ จะเกิดขึ้นมาก่อน องค์ธรรมที่เหลือจึงจะเกิดตามมาตามเหตุปัจจัย พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้แบบนี้ ไม่เคยตรัสสอนเป็นอย่างอื่น

การปฏิบัติวิปัสสนา มีอธิยายไว้ในพระไตรปิฏก ในพระสูตรเล่มที่ ๘ ถึงเล่มที่ ๑๐

วิชชาเกิดก่อน มรรค ๘ เกิดตามมา เมื่อมรรค ๘ เกิด ก็คือ การบรรลุโสดาปัตติผล จากนั้น สติปัฏฐาน ๔ จึงจะเกิดตามมา และอค์ธรรมที่เหลือใน โพธิปักฯ จึงจะเกิดตามๆ กันมา ตามเหตุตามปัจจัย เพราะธรรมชาติไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ เกิดจากเหตุปัจจัย อยากจะได้อะไรก็ต้องไปทำที่เหตุให้ได้ผล

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 01:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านแล้วมีพลังดีครับ ต้องการเพิ่มความตั้งใจตัวเองมากกว่านี้อีก

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร