วันเวลาปัจจุบัน 24 เม.ย. 2024, 17:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไร หรือ อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้เกิด "นิสัย" ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 26 มิ.ย. 2010, 21:01
โพสต์: 54

แนวปฏิบัติ: สติปัฏฐาน4
งานอดิเรก: ร้อยลูกปัด
ชื่อเล่น: พลอย
อายุ: 22
ที่อยู่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่เข้าใจนะคะ

"นิสัย"เกิดจาก"การกระทำ"ที่ทำบ่อยๆจนเคยชิน
การกระทำต่างๆมาจาก"คำพูด"
และคำพูดก็มาจาก"ความคิด"

ดังนั้น"นิสัยจึงมาจากความคิด" คิดแบบใดบ่อยๆก็จะทำให้พูดและกระทำสิ่งต่างๆแบบนั้น
you are what you thinkค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 22:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.พ. 2010, 05:53
โพสต์: 17


 ข้อมูลส่วนตัว


น่าจะแบ่งเป็นสามประการนะ
หนึ่งความคิด คิดบ่อยๆ ทำให้เกิดอารมณ์บ่อยๆจนเคยชินไปกับความรู้สึกนึกคิดนั้นๆ จนเคยชิน
สองการพูด พูดบ่อยๆ เมื่อคิดก็ต้องพูดบ่อยๆในเรื่องที่คิดนั้นตามมาจนเป็นนิสัย ความเคยชิน
สามการทำ ทำบ่อยๆ เมื่อคิดบ่อยๆ ก็ทำให้ทำบ่อยๆ ติดตามมาจนเป็นนิสัย ความเคยชิน

คำว่าเคย ทำแล้วทำอีก พูดแล้วพูดอีก คิดแล้วคิดอีก
คำว่าชิน จนสิ่งที่ืำทำ พูด คิด นั้นเป็นปกติของบุคคลนั้นไป คืออารมณ์นั้น เป็นสิ่งมีอำนาจเหนือจิตใจแสดงสิ่งนั้นออกมาโดยไม่รู้ตัว ไม่มีสติสัมปชัญญะเพียงพอที่จะยังยั้งได้

เป็นเพียงความคิดเห็นนะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 23:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นิสัย คือ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิด ถ้านิสัยมาจากการคิด การพูด การทำซ้ำๆ ซากๆ แล้วนิสัยเก็บไว้ส่วนใหนของจิต?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 23:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3835

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


มัน"ปรุง"

ทุกอย่างที่จรไปจรมาตลอดเวลาของเรานั่นแหละครับ
ที่ปรุงกันเข้าเป็นตัวตนของเรา

คำว่านิสัย มันก็เป็นส่วนหนึ่งของคำว่าตัวเรา
นิสัย เป้นส่วนของอัตภาพ


เปรียบเทียบอย่างนี้
ฝรั่งมีคำพูดว่า you are what you eat
หมายความว่า กินอะไรเข้าไป ร่างกายมันก้จะเป้นไปทำนองนั้น
ถ้ากินของดีั ร่างกายก็ดี กินของไม่ดี ร่างกายก็ไม่ดี
เวลาเรากินผักเข้าไป กินเข้าไปแล้วมันก็ไม่ใช่ผัก มันกลายเป็นสารอาหาร เป็นอะไรไป จนดูดซึมแปรสภาพไปเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา

เราจะบอกว่าร่างกายเราไม่มีผัก มันก็ไม่ใช่
จะบอกว่าร่างกายเรามีผัก มันก็หาไม่เจอ มันปรุงเข้าไปเป้นตัวเราแล้ว ตามธรรมชาติของมัน

ใจเราก็เหมือนกัน
you are what you feel
ถ้าเราหมั่นเสพอารมณ์ประเภทไหน ใจเรามันก็จะมีคุณภาพไปทางนั้น
คืออารมณืที่เราปล่อยเผลอเลินเล่อในแต่ละวัน ตื่นยันหลับนั่นแหละ
ที่มันคอยปรุงจิต ปรุงใจ ให้มันเป็นไป

คนไหนชอบดูหนังตบตีขี้อิจฉา ซึ่งเป้นพวกโทสะ โมหะ
คนนั้นก็จะมีอัธยาศัยไปในทางนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะถูกย้อมถูกปรุงไปมากขนาดไหน
คนไหนมีวุฒิภาวะ รู้แยกรู้ตัด ก็ถูกย้อมได้น้อย
คนไหนปัญญาน้อย เวลานางร้ายมาเดินตลาดก็เอาของปาใส่เขา เพราะเกลียดเขา

ถ้าเรามีอัธยาศัยชอบอารมณ์ดีๆ นิสัยมันจะดีไปด้วย
อย่างพระท่านว่า บุญมันชำระจิต ก้ชำระด้วยวิธีหการทำนองเดียวกันนี้
ถ้าเปรียบบุญเป็นพิชผักซึ่งเป็นของดี เรากินผักมากๆ สุขภาพก็ดี
ฉันใดฉันนั้น

อาหาร อากาศ มันปรุงรูปธรรม คือร่างกายของเรา
ส่วนอารมณ์ มันปรุงใจของเราโดยตรง
เราถึงต้องมาเจริญสติเพื่อคั่นขาดกระบวนการปรุงแต่งเหล่านั้น
อีกทางหนึ่งก็ประพฤติบุญกุศล ศีลทาน เติมน้ำดี เพื่อเข้าไปชำระดัดปรุงของเดิมๆที่มีอยู่ก่อน
ให้มันสะอาดขึ้น ให้มันดีขึ้น ให้มีระเบียบแบบแผนในการรู้สึกนึกคิด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2010, 23:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
นิสัย คือ สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการคิด ถ้านิสัยมาจากการคิด การพูด การทำซ้ำๆ ซากๆ แล้วนิสัยเก็บไว้ส่วนใหนของจิต?


สัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2010, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้านิสัย มาจากสัญญาซ้ำๆ ซากๆ ในจิต มาจากการเสพอารมณ์ใดๆ ที่เข้ามาทางทวาร ๖ รวมกับเวทนาปรุงแต่งที่เกิดพร้อมกับอารมณ์ใดๆ แปลว่า สัญญาที่ถูกเก็บสะสมไว้ในจิต คือ นิสัย เป็นตัวสั่งให้เราคิด ให้เราทำ ใช่หรือไม่?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 02:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


Supareak Mulpong เขียน:
ถ้านิสัย มาจากสัญญาซ้ำๆ ซากๆ ในจิต ....
.. แปลว่า สัญญาที่ถูกเก็บสะสมไว้ในจิต คือ นิสัย เป็นตัวสั่งให้เราคิด ให้เราทำ ใช่หรือไม่?


ก็ไม่เชิง
สัญญา..เป็นเหมือนชุดขั้นตอนการทำงานที่มันเคยตัดสินใจทำมาก่อน..

หาก..สติไม่ทัน..มันก็จะทำงานอย่างที่มันเคยทำมาแล้ว..ทันที
หากมี..สติทัน..เราจะเป็นคนตัดสินว่าจะทำอย่างไร..แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะทำอย่างที่เคยทำมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2010, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


(ถ้า)นิสัยเก็บไว้ในสัญญา เมื่อพฤติกรรมของเราไม่ได้มาจากนิสัย(สัญญา) แล้วพฤติกรรมของเรามาจากใหนละ?

สติ(สัมปัญชัญญะ) ทำให้ระลึกรู้การกระทำในปัจจุบัน จะทำต่อ หรือจะหยุด มีอะไรมาเป็นเหตุปัจจัยละ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 02:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สติ(สัมปัญชัญญะ) ทำให้ระลึกรู้การกระทำในปัจจุบัน จะทำต่อ หรือจะหยุด มีอะไรมาเป็นเหตุปัจจัยละ?

วิชชา


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 08 พ.ย. 2010, 02:35, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


แล้ววิชชามาจากใหนละ? วิชชาอยู่ส่วนใหนของจติละ?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 08 พ.ย. 2010, 08:56, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2010, 20:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


วิชชา..ไม่ได้มาจากไหน
วิชชา..ไม่ได้อยู่ในจิต..แต่เป็นอาการรู้ของจิตอันปราศจากอวิชชา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 00:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แล้ววิชชามาจากใหนละ? วิชชาอยู่ส่วนใหนของจติละ?


มีอยู่แล้วในทุกคนเพียงแต่ว่า เราจะต้องพังเกาะของอวิชชาที่ห่อหุ่มให้ใด้เสียก่อน เป็นความบริสุทธิ์แห่งจิต

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นิสัย หรือ ความเคยชิน คือ เบื้องหลังของพฤติกรรมการแสดงออก เมื่อนิสัยเกิดจากสัญญา สัญญาเกิดจากการสะสมความรู้ประสบการณ์ ผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เก็บไว้เป็นความทรงจำข้ามชาติข้ามภพ ถ้าสัญญาไม่ใช่ตัวสั่ง นิสัยก็ไม่ใ่สัญญาสิ?

.. แล้วสภาวะธรรมที่เรียกว่า วิชชา อวิชชา คืออะไรกันแน่? มันอยู่ตรงใหน ทำงานอย่างไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ถ้าไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิก แล้วมันถืออะไร?

ปุถุชนไม่มีวิชชา มีแต่อวิชชา ถ้าทุกคนมีวิชชาอยู่แล้ว ก็ไม่มีใครเป็นปุถุชนสิ?

Ex. นาย ก. ชอบกินเหล้า กินเป็นปกติประจำวัน วันหนึ่งไปพบนักบวชท่านหนึ่ง ท่านบอกว่ากินเหล้าไม่ดี จะทำให้ไปเกิดเป็นเดรจฉาน หลังจากนั้น พอนาย ก. จะกินเหล้า ถ้านึกถึงคำพูของนักบวชท่านั้นได้ ก็จะยั้งๆ กินน้อยลง หรือไม่กิน บางทีก็ยังกินเป็นปกติ

ถามว่า นาย ก. ชอบกินเหล้า คือ นิสัย ใช่หรือไม่?
นาย ก. ชอบกินเหล้า มาจาก อวิชชาใช่หรือไม่?
การที่นาย ก. นึกถึงคำนักบวชแล้วหยุดกินเหล้า เรียกเกิด สติสัมปัชชัญญะ ใช่หรือไม่?
การที่นาย ก. นึกถึงคำนักบวชแล้วหยุดกินเหล้า เพราะเกิด วิชชา ใช่หรือไม่?
สิ่งที่นาย ก. นึกถึง หรือระลึกได้ คือ คำพูดว่า "กินเหล้าไม่ดี จะทำให้ไปเกิดเป็นเดรจฉาน" ใช่หรือไม่?
ถ้านาย ก. ไม่ได้เจอนักบวช นาย ก. จะคิดหยุดกินเหล้าได้เองบ้างหรือไม่?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 09 พ.ย. 2010, 05:09, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2010, 06:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 มี.ค. 2010, 19:57
โพสต์: 1014

โฮมเพจ: http://www.vitwong.blogspot.com
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ถ้านิสัย คือสันดาน คือ จริต ล่ะก้อ
เกิดจากการสั่งสม มายาวนาน ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีจุดกำเนิด


อ้างคำพูด:
คำว่า "จริต" ในที่นี้หมายถึงสภาวะจิตของคนตามธรรมชาติจากการแบ่งจริตมนุษย์เป็น ๖ ประเภทใหญ่ๆ


1.ราคะจริต คือสภาวะจิตที่หลงติดในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัสจนเป็นอารมณ์

2.โทสะจริต หรือสภาวะจิตที่โกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย เพียงพูดผิดสักคำ ได้เห็นดีกัน

3.โมหะจริต หรือจิตที่มักอยู่ในสภาพง่วงเหงาหาวนอนหรือซึมเศร้าเป็นอาจิณ

4.วิตกจริต หรือสภาวะจิตที่กังวล สับสนและวุ่นวายฟุ้งซ่านแทบทุกลมหายใจ

5.ศรัทธาจริต คือสภาวะจิตที่มีปรัชญาหรือหลักการของตัวเองและพยายามผลักดันให้ตัวเองและผู้อื่นบรรลุถึงจุดหมายนั้น

6.พุทธิจริต คือสภาวะจิตที่เน้นการใช้ปัญญาในการไตร่ตรอง คิดหาเหตุหาผลมาแก้ปัญหาต่างๆในชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตัว ชีวิตการทำงาน รวมทั้ง มีความสนใจ เรื่องการยกระดับและพัฒนาจิตวิญญาณ

.....................................................
ยังงมงาย...
เมื่อเห็นว่าพระไตรปิฏก มีส่วนถูก มีส่วนจริงแค่ 20 ถึง 30 เปอร์เซนต์ เท่านั้น

เลิกงมงาย..
เมื่อเห็นว่า พระไตรปิฏก มีส่วนถูก ส่วนจริง เกินกว่า 80 ถึง กว่า 90 เปอร์เซนต์

http://www.youtube.com/user/govit2554#g/u


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 16 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 29 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร