วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 03:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2010, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อัปปนาวิถี จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. โลกียอัปปนาวิถี
๒. โลกุตตรอัปปนาวิถี

แตกต่างกันอย่างไร? เกิดได้อย่างไร?

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อัปปนา แปลว่า ทำลาย คือทำลายกิเลส มีนิวรณ์เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง จิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ

ถ้าเคยได้อัปปนาจิตในอารมณ์ใด เมื่อจิตดวงนั้นเกิดขึ้นอีกเวลาใด หรือขณะ ใด ก็จะต้องมีอารมณ์อย่างนั้นเสมอไป ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอารมณ์อย่างอื่นเลย

อัปปนาจิต คือจิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ได้แก่ จิต ๓๕ หรืออย่างพิสดาร ๖๗ ดวง คือ มหัคคตจิต ๒๗ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

ส่วนอัปปนาวิถี คือ วิถีจิตที่มีอัปปนาจิตอยู่ในวิถีนั้น ได้แก่ จิต ๒๖ หรือ อย่างพิสดาร ๕๘ ดวง คือ มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

อัปปนาชวนะ คือ ชวนจิตที่แนบแน่นอยู่ในอารมณ์เดียวโดยเฉพาะ ได้แก่ จิต ๒๖ หรือ ๕๘ เท่ากัน และเหมือนกันกับอัปปนาวิถีจิตนั่นเอง เพราะชวนะ เป็นจิตที่อยู่ในวิถี

อัปปนาวิถี หรือ อัปปนาชวนะ เกิดได้ทาง มโนทวารวิถี ทางเดียวเท่านั้น ไม่เกิดทางปัญจทวารวิถีเลย

อัปปนาวิถี เป็นมโนทวารวิถีก็จริง แต่ไม่จำแนก เป็นวิภูตารมณ์วิถี และ อวิภูตารมณ์วิถี เหมือนอย่างมโนทวารกามวิถี เพราะอัปปนาวิถีมีแต่วิภูตารมณ์วิถี อย่างเดียว ด้วยเหตุว่า ถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ แล้ว อัปปนาชวนะ จะเกิดไม่ได้เลย

อัปปนาวิถี จำแนก ได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. โลกียอัปปนาวิถี

๒. โลกุตตรอัปปนาวิถี

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกียอัปปนาจิต ได้แก่ มหัคคตจิตทั้ง ๒๗ ดวง

แต่โลกียอัปปนาวิถี หรือโลกียอัปปนาชวนะ ได้แก่มหัคคตชวนจิต ๑๘ ดวง คือ มหัคคตกุสลจิต ๙ มหัคคตกิริยาจิต ๙ เท่านั้น

ส่วนมหัคคตวิบากจิตอีก ๙ ดวงนั้น ไม่นับเป็นโลกียอัปปนาวิถี เพราะเป็นจิต ที่พ้นวิถี (พ้นทวารด้วย) และไม่นับเป็นโลกียอัปปนาชวนะ เพราะไม่ได้ทำชวนกิจ

โลกียอัปปนาวิถีนี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ วิถีจิตที่ได้ฌาน ที่ถึงฌาน ที่ฌานจิต เกิด (ทั้งนี้หมายเฉพาะฌานจิตที่เป็นกุสล และกิริยาเท่านั้น ยกเว้นฌานจิตที่เป็น วิบาก เพราะเป็นจิตที่พ้นวิถี)

ผู้ที่ได้ปฐมฌานเป็นครั้งแรกก็ดี ได้ทุติยฌานเป็นครั้งแรกก็ดี ตลอดจนถึงได้ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเป็นครั้งแรกก็ดี รวมความหมายว่า ผู้ที่แรกได้ฌาน ชั้นนั้น ๆ วิถีจิตที่ฌานจิตนั้น ๆ เกิดเป็นครั้งแรก เรียกชื่อวิถีจิตนั้นว่า อาทิกัมมิก ฌานวิถี มีวิถีดังนี้

น ท มโน ปริ อุป อนุ โค ฌ ภ

ความหมายของอักษรย่อ น=ภวังคจลนะ,ท=ภวังคุปัจเฉทะ,มโน=มโนทวารา วัชชนะ,บริ=บริกรรม,อุป=อุปจาระ,อนุ=อนุโลม,โค=โคตรภู,ฌ= ฌานจิต

คำว่าโคตรภู ในโลกียอัปปนาวิถีนี้ หมายความว่า โอนโคตรหรือตัดจากโคตร กาม ไปเป็นโคตรพรหม

อาทิกัมมิกฌานวิถี คือวิถีจิตที่ฌานจิตนั้น ๆ เกิดเป็นครั้งแรกนี้ ฌานจิตจะ เกิดเพียงขณะเดียว หรือดวงเดียวเท่านั้นเอง ต่อเมื่อมีวสีคือมีความชำนาญแล้ว จึงจะเกิดได้หลายขณะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกุตตรอัปปนาวิถี

โลกุตตรอัปปนาวิถี คือ วิถีจิตที่มีโลกุตตรจิตในวิถีนั้น โลกุตตรจิตเป็นจิตที่ แนบแน่นแน่วแน่ในพระนิพพานเป็นอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้นเอง จะมีอารมณ์ เป็นอย่างอื่นไม่ได้

โลกุตตรอัปปนาวิถี ได้แก่ โลกุตตรจิต คือ มัคคจิต ๔ ผลจิต ๔ หรืออย่าง พิสดารก็ มัคคจิต ๒๐ ผลจิต ๒๐

ติเหตุกบุคคลเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานจนบรรลุมัคคผล วิถีจิตที่ถึงมัคคถึงผล นั้นเรียกว่า มัคควิถี มีวิถีดังนี้

มัคควิถี ของ มันทบุคคล คือ บุคคลผู้รู้ช้า
น ท มโน บริ อุป อนุ โค มัคค ผล ผล ภ


มัคควิถีของ ติกขบุคคล คือ บุคคลผู้รู้เร็ว
น ท มโน อุป อนุุ โค มัคค ผล ผล ผล

นมัคควิถี ไม่ว่าจะเป็น มันทบุคคล(ผู้รู้ช้า) หรือติกขบุคคล(ผู้รู้เร็ว) มัคคจิต ก็เกิดขณะเดียวเท่านั้น

มันทบุคคล อนุโลมญาณ เกิด ๓ ขณะ, โคตรภูญาณเกิด ๑ ขณะ, มัคคญาณ เกิด ๑ ขณะ, ผลญาณ เกิด ๒ ขณะ รวมเป็นชวนะ ๗ ขณะ

ติกขบุคคล อนุโลมญาณ เกิด ๒ ขณะ, โคตรภูญาณเกิด ๑ ขณะ, มัคคญาณ เกิด ๑ ขณะ, ผลญาณ เกิด ๓ ขณะ รวมชวนะ ๗ ขณะ เหมือนกัน

วิถีจิตของพระโสดาบันที่บรรลุสกทาคามี มัคค-ผล ก็ดี วิถีจิตของพระสกทาคามีที่บรรลุอานาคามี มัคค-ผล ก็ดี วิถีจิตของพระอนาคามีที่บรรลุ อรหัตต มัคค-ผล ก็ดี มีวิถีจิต คือ มัคควิถีอย่างเดียวกับที่ได้แสดงมาแล้วนี้ ส่วนโคตรภู นั้น ไม่เรียกว่า โคตรภู แต่เรียกว่า โวทาน

ในมัคควิถี คำว่า โคตรภู หมายความว่า ตัดจากโคตรปุถุชนเป็นโคตรอริยะ กล่าวคือ ตัดจากโคตรชนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นโคตรชนที่ห่างไกลจากกิเลส

ส่วนคำว่า โวทาน แปลว่า ธรรมขาว หมายความว่า พระสกทาคามี มีธรรม ที่ขาวกว่า สะอาดกว่า พระโสดาบัน, พระอนาคามี ก็มีธรรมที่ขาวยิ่งกว่า สะอาด ยิ่งกว่า พระสกทาคามี, สำหรับพระอรหันต์ นั้นเป็นผู้ที่ขาวสะอาด บริสุทธิ์หมดจด ด้วยประการทั้งปวง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสังเกตในอัปปนาวิถี

ดังได้กล่าวแล้วว่า อัปปนาวิถีเป็นวิถีจิตที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจอย่างชัดเจน แจ่มแจ้งมาก เพราะถ้าอารมณ์นั้นไม่ชัดเจนแจ่มแจ้งจริง ๆ แล้ว อัปปนาวิถีจะไม่ เกิดเลย นอกจากนี้มีข้อที่ควรสังเกตอีก คือ

ก. กล่าวโดยความชัดแจ้งของอารมณ์ แม้ว่าอัปปนาวิถีมีอารมณ์ชัดเจนแจ่ม แจ้งมาก แต่วิถีจิตก็มีไม่ถึง ตทาลัมพนะ เพราะอัปปนาวิถี มีทั้งกามอารมณ์ กาม ชวนะ และนิพพานเป็นอารมณ์ได้ด้วย

ข. กล่าวโดยอารมณ์ของแต่ละวิถี ในวิถีเดียวกันนั้นเอง อัปปนาวิถีมีอารมณ์ ได้มากกว่า ๑ เช่นในมัคควิถี วิถีจิตตอนต้น ๆ คือ มโนทวาราวัชชนะ บริกรรม อุปจาระ อนุโลม มีไตรลักษณ์แห่งรูปนามเป็นอารมณ์ วิถีจิตตอนหลัง ๆ คือ โคตรภู มัคคจิต ผลจิต มีนิพพานเป็นอารมณ์

ค. กล่าวโดยชวนะ ก็มีได้หลายชาติ เช่น ในมัคควิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู และมัคคจิต เป็นชาติกุสล ส่วนผลจิต เป็นชาติวิบาก

ง. นอกจากชวนะมีได้หลายชาติดังกล่าวในข้อ ค. นั้นแล้ว ชวนะยังมีจิตได้ หลายประเภท เช่น ในอาทิกัมมิกฌานวิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เป็น จิตประเภทกามาวจรจิต หรือ กามจิต ส่วนฌานจิตเป็นจิตประเภทมหัคคตจิต หรือ ฌานจิตไม่ใช่กามจิต และในมัคควิถี บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู เป็นจิต ประเภทกามจิต ส่วนมัคคจิต ผลจิต เป็นจิตประเภทโลกุตตร ไม่ใช่กามจิต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกอัปปนาชวนะ โดยเวทนา

ในอัปปนาชวนะ ๕๘ ดวงนี้ เป็นโสมนัสเวทนาก็มี เป็นอุเบกขาเวทนาก็มี ทั้งนี้แล้วแต่ว่าญาณสัมปยุตตจิตที่เป็น บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู (หรือ โวทาน) นั้นจะเกิดพร้อมกับเวทนาอะไร ถ้าเป็นโสมนัสเวทนา อัปปนาชวนะก็เกิด ตามมา ก็เป็นโสมนัสด้วย ถ้าเป็นอุเบกขาเวทนา อัปปนาชวนะที่เกิดตามมาก็เป็น อุเบกขาด้วย

การจำแนกอัปปนาชวนะ โดยเวทนานี้ เป็นการแสดงอย่างที่เรียกว่า ธัมมา ธิฏฐาน คือไม่กล่าวอ้างถึงบุคคล แต่กล่าวอ้างเฉพาะจิตเท่านั้น แสดงได้ ดังนี้

ก. เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตที่เป็นโสมนัสเกิดแล้ว โสมนัสอัปปนาชวนะ ๓๒ ย่อมเกิด

ข. เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตที่เป็นอุเบกขาเกิดแล้ว อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๑๒ ย่อมเกิด

ค. เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตที่เป็นโสมนัสเกิดแล้ว โสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ ย่อมเกิด

ง. เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตที่เป็นอุเบกขาเกิดแล้ว อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๖ ย่อมเกิด

อธิบาย

(ก) เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู (หรือโวทาน) นั้นเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นโสมนัส อัปปนาชวนะ ๓๒ ย่อมเกิด โสมนัสอัปปนาชวนะ ๓๒ นั้น ได้แก่

รูปาวจร กุสล ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔ ดวง

มัคคจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๑๖ ดวง

ผลจิต ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๑๒ ดวง (เว้นอรหัตตผล ๔)

(ข) เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู (หรือโวทาน) นั้นเป็นอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นอุเบกขา อัปปนาชวนะ ๑๒ ย่อมเกิด อุเบกขาอัปปนาชวนะนั้น ได้แก่

รูปาวจร กุสล ปัญจมฌาน ๑

อรูปาวจร กุสล ๔

มัคคจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๔

ผลจิต ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๓ (เว้นอรหัตตผล ๑)

(ค) เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู นั้นเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้นโสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ ย่อมเกิด โสมนัสอัปปนาชวนะ ๘ นั้น ได้แก่

รูปาวจรกิริยา ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔

อรหัตตผล ที่ประกอบด้วย ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ๔

(ง) เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตจำนวน ๒ ดวงที่ทำหน้าที่บริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู นั้น เป็นอุเบกขาเวทนา เกิดขึ้นแล้ว ต่อจากนั้น อุเบกขาอัปปนา ชวนะ ๖ ย่อมเกิด อุเบกขาอัปปนาชวนะ ๖ นั้น ได้แก่

รูปาวจร กิริยา ปัญจมฌาน ๑

อรูปาวจร กิริยา ๔

อรหัตตผล ที่ประกอบด้วย ปัญจมฌาน ๑

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกอัปปนาชวนะ โดยบุคคล

อัปปนาชวนะ ๕๘ นี้ ท่านจำแนกอีกนัยหนึ่ง เป็นการจำแนกตามบุคคล อย่างที่เรียกว่า ปุคคลาธิฏฐาน

บุคคลในที่นี้ ท่านแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ปุถุชน และ เสกขบุคคล ซึ่ง เป็นบุคคลที่ยัง มีกิเลส อยู่ ๑ และ อเสกขบุคคล ซึ่งเป็นบุคคล ที่สิ้นกิเลสแล้ว โดยสิ้นเชิง อีก ๑ เท่านั้น

การจำแนกตามนัยนี้ แปลว่า เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตตของติเหตุกปุถุชน และผลเสกขบุคคลเกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๔๔ ย่อมเกิดตามมา

เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตตของพระอรหันต์เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๑๔ ย่อมเกิดตามมา

อธิบาย

เมื่อมหากุสลญาณสัมปยุตต ทั้งโสมนัส และอุเบกขา รวมจำนวน ๔ ดวง ของติเหตุกปุถุชน และผลเสกขบุคคล ๓ คือ พระโสดาบัน ๑ พระสกทาคามี ๑ พระอนาคามี ๑ ซึ่งเป็นบุคคลที่ยังมีกิเลสอยู่ เกิดขึ้นแล้ว อัปปนาชวนะ ๔๔ ตามรายละเอียดต่อไปนี้ ย่อมเกิดตามมา

มหัคคตกุสล ๙

มัคคจิต ๒๐

ผลจิต ๑๕ (เว้นอรหัตตผล ๕)

เมื่อมหากิริยาญาณสัมปยุตต ทั้งโสมนัสและอุเบกขา รวมจำนวน ๔ ดวง ของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นบุคคลที่สิ้นกิเลสแล้วโดยสิ้นเชิง เกิดขึ้นแล้ว อัปปนา ชวนะ ๑๔ ตามรายละเอียดต่อไปนี้ ย่อมเกิดตามมา

มหัคคต กิริยา ๙

อรหัตตผล ๕

การจำแนกอัปปนาชวนะโดยปุคคลาธิฏฐานนี้ ท่านไม่ได้กล่าวถึงการจำแนก เวทนาร่วมพร้อมกันไปด้วย แต่ถ้าจะจำแนกทั้งบุคคล และเวทนาร่วมไปพร้อมกัน ก็จะได้ภาพดังนี้

รูปาวจร กุสล ๔ เกิดต่อจากโสมนัส

- โสมนัส มัคคจิต ๑๖ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๒

- อัปปนาชวนะ ๓๒ ผลจิต (เบื้องต่ำ) ๑๒ ในอัปปนาวิถี

ยังมีกิเลส รูปาวจร กุสล ๑ เกิดต่อจากอุเบกขา

- อุเบกขา อรูปาวจร กุสล ๔ มหากุสลญาณสัมปยุตต ๒

- อัปปนาชวนะ ๑๒ มัคคจิต ๔ ในอัปปนาวิถี

- ผลจิต(เบื้องต่ำ) ๓

- โสมนัส รูปาวจร กิริยา ๔ เกิดต่อจากโสมนัส

- อัปปนาชวนะ ๘ มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๒

- อรหัตตผล ๔ ในอัปปนาวิถี

สิ้นกิเลสแล้ว รูปาวจร กิริยา ๑ เกิดต่อจากอุเบกขา

- อุเบกขา อรูปาวจร กิริยา ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตต ๒

- อัปปนาชวนะ ๖ อรหัตตผล ๑ ในอัปปนาวิถี

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร