วันเวลาปัจจุบัน 25 เม.ย. 2024, 13:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 17:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนทวารวิถี

อารมณ์ที่มาปรากฏทางใจโดยตรงโดยเฉพาะนั้น ตามปรมัตถทีปนีฎีกา แสดง ไว้ว่า มีเหตุ ๑๔ ประการ คือ

๑. ด้วยอำนาจที่เคยเห็น เคยพบ อารมณ์ทั้ง ๖ มาแล้ว (ทิฏฺฐโต)

๒. อารมณ์ทั้ง ๖ ที่กำลังปรากฏอยู่นั้น เหมือน ๆ กันกับที่เคยได้พบเคยเห็น มาแล้ว (ทิฏฺฐสมฺพนฺธโต)

๓. ด้วยอำนาจที่ได้เคยฟัง เคยเรียนมาแล้ว หรือขณะที่กำลังฟัง กำลังเรียน กำลังอ่านข้อความอยู่ (สุตโต)

๔. อารมณ์ทั้ง ๖ ที่กำลังปรากฏอยู่นั้นเหมือน ๆ กับที่เคยได้ฟัง เคยเรียน เคยอ่านมาแล้ว (สุตสมฺพนฺธโต)

๕. ด้วยอำนาจแห่งความ เชื่อในคำพูดของผู้อื่น (สทฺธาย)

๖. ด้วยอำนาจแห่งความ พอใจของตน (รุจิยา)

๗. ด้วยอำนาจแห่งความ นึกคิด โดยอาศัย เรื่องราว คำพูด เหตุผล (อาการปริวิตกฺเกน)

๘. ด้วยอำนาจแห่งการพิจารณาอารมณ์ต่าง ๆ ด้วยปัญญา และด้วยลัทธิของ ตน แล้วตัดสินลงไป (ทิฏฺฐินิชฺฌานขนฺติยา)

๙. ด้วยอำนาจแห่ง กรรมต่าง ๆ (นานากมฺมพเลน)

๑๐. ด้วยอำนาจแห่ง อิทธิฤทธิต่าง ๆ (นานาอิทฺธิพเลน)

๑๑. ด้วยอำนาจแห่ง ธาตุในร่างกาย มีน้ำดี เสมหะ น้ำเหลือง โลหิต ลม เหล่านี้ วิปริตไป (ธาตุกฺโขภวเสน)

๑๒. ด้วยอำนาจแห่ง เทวดามาดลใจ (เทวโตปสํหารวเสน)

๑๓. ด้วยอำนาจแห่ง การรู้ไปตามสมควรแก่ มัคคญาณ ผลญาณ (อนุโพธว เสน)

๑๔. ด้วยอำนาจแห่ง การรู้แจ้งในอริยสัจจ ๔ (ปฏิเวธวเสน)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แก้ไขล่าสุดโดย Supareak Mulpong เมื่อ 17 ธ.ค. 2010, 19:18, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 17:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนทวารกามวิถี ที่จะกล่าวต่อไปนี้ กล่าวเฉพาะตามหลักใน พระอภิธัมมัตถสังคหะ มีวิสยัปปวัตติ ๒ คือ วิภูตารมณ์ ๑ และ อวิภูตารมณ์ ๑

วิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจชัดเจนแจ่มแจ้งมากตามปกติ ก็มีวิถีจิตถึงตทาลัมพนะ

(น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต)

อวิภูตารมณ์วิถี เป็นวิถีที่มีอารมณ์ปรากฏทางใจชัดเหมือนกัน แต่ว่าชัดน้อย กว่า อ่อนกว่าวิภูตารมณ์วิถี วิถีจิตจึงมีแต่ชวนะเท่านั้น ไม่ถึงตทาลัมพนะ

(น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2010, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี

ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี คือ มโนทวารวิถี ที่เกิดต่อจากปัญจทวารวิถี อันมีปรมัตถเป็นอารมณ์ เพื่อให้รู้เรื่องราวของบัญญัติ ตามโวหารของโลก จากปรมัตถอารมณ์นั้น

ตทนุวัตติกมโนทวารวิถี หรือ อนุพันธกมโนทวารวิถี ที่เกิดติดต่อจากปัญจ ทวารวิถีนั้น มีอยู่ ๔ อย่าง หรือ ๔ วิถี คือ

๑. อตีตัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์ตามปัญจทวารวิถี ซึ่งปัญจทวารวิถีได้ ประสบมา แต่ว่าอารมณ์นั้นได้หมดอายุและดับไปแล้ว

ปัญจทวารวิถีมีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ด้วย ส่วนอตีตัค คหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ ซึ่งเป็นอารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถีนั้นเอง แต่ว่า เป็นอดีตอารมณ์

จักขุทวารวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นปัจจุบันอารมณ์ ดังภาพนี้

ตี น ท ป จักขุ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต

อตีตัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นปรมัตถ แต่เป็นอดีตอารมณ์ ดังภาพนี้

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

การเกิดขึ้นของปัญจทวารวิถี และอตีตัคคหณวิถีทั้ง ๒ วิถีนี้ เกิดสลับกันเป็น จำนวนหลายร้อยหลายพันรอบ

๒. สมูหัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รับอารมณ์เหล่านั้นมารวมกัน เพื่อให้ได้ความ วิถีนี้ก็เกิดหลายร้อยหลายพันรอบเหมือนกัน

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

สมูหัคคหณวิถี ก็มีอารมณ์เป็นปรมัตถ และเป็นอดีตอารมณ์เช่นเดียวกับ อตีตัคคหณวิถี

๓. อัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้เนื้อความของอารมณ์นั้น เกิดได้มากมายหลาย รอบเช่นเดียวกัน

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

อัตถัคคหณวิถี มีอารมณ์เป็นบัญญัติ คือรู้เนื้อความของอารมณ์นั้น ตามโวหาร ของโลก มีข้อสังเกตว่า วิถีที่มีอารมณ์เป็นบัญญัติก็ไม่มี ตทาลัมพนะ

๔. นามัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ๆ เกิดได้เป็นจำนวนมาก หลายรอบเช่นเดียวกัน

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

นามัคคหณวิถีนี้ ก็มีอารมณ์เป็นบัญญัติเหมือนกัน คือ รู้ชื่อของอารมณ์นั้น ตามโวหารของโลก

ที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ เป็นทางจักขุทวาร มีรูป คือสีหรือวัณณะเป็นอารมณ์ ถ้าหากว่าผู้นั้นไม่เคยเห็นรูปนั้นมาก่อน ไม่รู้ว่ารูปนั้นชื่ออะไร นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด กล่าวคือไม่เคยเห็น“ไก่” ก็เพียงแต่เห็นรูปร่างว่าเป็นอย่างนั้น ๆ แต่ไม่รู้ว่าเขา เรียกชื่อกันว่า “ไก่”

ทางจักขุทวาร อันมีรูปเป็นอารมณ์ ทางฆานทวาร อันมีกลิ่นเป็นอารมณ์ ทาง ชิวหาทวาร อันมีรสเป็นอารมณ์ และทางกายทวารอันมีสิ่งที่มากระทบถูกต้องเป็น อารมณ์ทั้ง ๔ นี้ วิถีจิตเกิดดังกล่าวมานี้ เฉพาะอย่างยิ่ง อัตถัคคหณวิถีเกิดก่อน นามัคคหณวิถีเกิดทีหลัง

แต่ว่าถ้าเป็นวิถีที่เกิดทางโสตทวาร อันมีเสียง คือ สัททะเป็นอารมณ์แล้ว นามัคคหณวิถีเกิดก่อน อัตถัคคหณวิถี เกิดทีหลัง

และถ้าเสียงนั้นมีพยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีก็ไม่เกิด เพราะไม่ ต้องการมีการรวมอะไรแต่อย่างใด

หรือถ้าไม่รู้เนื้อความของสัททารมณ์นั้น เช่นได้ยินภาษาต่างประเทศที่ตนไม่มี ความรู้ อัตถัคคหณวิถีก็ไม่เกิด

ปัญจารมณ์ที่ไม่เกี่ยวแก่ชื่อต่าง ๆ เช่น เห็นคนกวักมือเรียก หรือร้องเรียกว่า มานี่ เป็นต้น นามัคคหณวิถีก็ไม่เกิด

อนึ่ง นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการจำแนก จัก ซอย อัตถัคคหณวิถี ให้ละเอียดออกไปอีก คือ

กายวิญญัตติคคหณวิถี เกิดต่อจากอัตถัคคหณวิถี เป็นวิถีที่รู้ความหมายของ กายวิญญัตตินั้น เช่น รู้ว่าผู้ที่กำลังกวักมือนั้น กำลังเรียก

วจีวิญญัตติคคหณวิถี ก็ทำนองเดียวกัน คือ รู้ความหมายของวจีวิญญัตติว่า เสียงนั้นเป็นเสียงเรียก

อธิปายัคคหณวิถี เป็นวิถีที่เกิดต่อจากกายวิญญัตติคคหณวิถี หรือวจีวิญญัต ติคคหณวิถี เมื่ออธิปายัคคหณวิถีเกิดแล้ว ย่อมรู้ความประสงค์ของผู้ที่กวักมือ หรือ ออกเสียงเรียก ว่าให้เราไปหาเขา

แต่อย่างไรก็ดี วิถีทั้ง ๓ นี้คือ กายวิญญัตติคคหณวิถี วจีวิญญัตติคคหณวิถี และ อธิปายัคคหณวิถี ก็อนุโลมเข้าใน อัตถัคคหณวิถีนั่นเอง ตัวอย่างเช่น

มีผู้กวักมือเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดดังนี้

๑. จักขุทวารวิถี เป็นรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบันอารมณ์

ตี น ท ป จักขุ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต

๒. อตีตัคคหณวิถี รับรูปารมณ์ที่จักขุวิญญาณได้เห็นแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ แต่เป็นอดีตอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

๓. สมูหัคคหณวิถี รวมรูปารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

๔. อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า กวักมือ เป็นบัญญัติอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

๕. กายวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียก เป็นบัญญัติอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

๖. อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

มีผู้ร้องเรียก และเรารู้ว่าเรียกเรา วิถีจิตเกิดขึ้นดังนี้

๑. โสตทวารวิถี ได้ยินเสียง คือสัททารมณ์ เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นปัจจุบัน อารมณ์

ตี น ท ป โสต สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ช ช ต ต

๒. อตีตัคคหณวิถี รับสัททารมณ์โสตวิญญาณได้ยินแล้วนั้น เป็นปรมัตถ อารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

๓. สมูหัคคหณวิถี รวมสัททารมณ์ รวมเสียงที่ได้ยิน เป็นปรมัตถอารมณ์ เป็นอดีตอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช ต ต

แต่ถ้าเสียงที่เรียกนั้น พยางค์เดียว หรือคำเดียว สมูหัคคหณวิถีนี้ก็ไม่เกิด เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องรวม

๔. นามัคคหณวิถี รู้นาม รู้ชื่อ ว่าเสียงนั้นเป็นชื่อ เป็นบัญญัติอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

๕. อัตถัคคหณวิถี รู้เนื้อความ หรือได้ความว่า เป็นชื่อเรา เป็นบัญญัติ อารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

๖. วจีวิญญัตติคคหณวิถี รู้ว่าเขาเรียกเรา เป็นบัญญัติอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

๗. อธิปายัคคหณวิถี รู้ว่า เรียกเราให้ไปหาเขา เป็นบัญญัติอารมณ์

น ท มโน ช ช ช ช ช ช ช

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 70 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร