วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา เป็นเจตสิกธรรม ที่ทำหน้าที่เสวยอารมณ์ หรือมีความรู้สึกในอารมณ์ ที่มาปรากฏนั้น จัดแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ

ก. จัดตามลักษณะของการเสวยอารมณ์ คือ จัดตามความรู้สึก มีชื่อเรียกว่า อารัมมณานุภวนนัย หรือ อารัมมณานุภวนลักขณนัย ตามนัยดังกล่าวนี้ จำแนก เวทนาออกเป็น ๓ คือ

๑. สุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นสุข (หมายถึงความสุขกายและสุขใจ)

๒. ทุกขเวทนา การเสวยอารมณ์ที่เป็นทุกข์ (หมายถึง ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ)

๓. อทุกขมสุขเวทนา การเสวยอารมณ์เป็นกลาง คือ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ได้แก่เฉย ๆ (หมายถึงไม่ทุกข์และไม่สุข ก็คือ อุเบกขานั่นเอง)

ข. จัดตามประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ มีชื่อเรียกว่าอินทริย เภทนัย ตามนัยนี้จำแนกเวทนาออกเป็น ๕ คือ

๑. สุขเวทนา รู้สึกสบายกาย หมายเฉพาะความสุขกาย

๒. ทุกขเวทนา รู้สึกไม่สบายกาย หมายเฉพาะความทุกข์กาย

๓. โสมนัสเวทนา รู้สึกสบายใจ หมายเฉพาะความสุขใจ ดีใจ

๔. โทมนัสเวทนา รู้สึกไม่สบายใจ หมายเฉพาะความทุกข์ใจ เสียใจ

๕. อุเบกขาเวทนา รู้สึกเฉย ๆ หมายถึงความไม่ทุกข์ไม่สุข เป็นกลาง ๆ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา ๓

กล่าวโดย อารัมมณานุภวนนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๓ ตามลักษณะของ การเสวย หรือความรู้สึกในอารมณ์ ได้ดังนี้

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา คือ ทั้งสุขกายและสุขใจ ก็มีจำนวน ๖๓ ดวง ได้แก่

สุขกาย ๑ ดวง คือ สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

สุขใจ ๖๒ ดวง คือ กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔

กามโสมนัส ๑๘ ได้แก่ โสมนัส โลภมูลจิต ๔ โสมนัส สันตีรณจิต ๑ โสมนัส หสิตุปปาทะ ๑ โสมนัส มหากุสล ๔ โสมนัส มหาวิบาก ๔ โสมนัส มหากิริยา ๔

ฌานโสมนัส ๔๔ ได้แก่ ปฐมฌาน ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑

ปฐมฌาน ๑๑ คือ โลกียปฐมฌาน ๓ โลกุตตรปฐมฌาน ๘

โลกียปฐมฌาน ๓ ได้แก่ ปฐมฌานกุสลจิต ๑ ปฐมฌานวิบากจิต ๑ ปฐมฌานกิริยาจิต ๑

โลกุตตรปฐมฌาน ๘ ได้แก่ ปฐมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ปฐมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ปฐมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ปฐมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ จตุตถฌาน ๑๑ ก็แจกตามนัยที่แสดง แล้วนี้

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา คือ ทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ มีจำนวน ๓ ดวง ได้แก่

ทุกข์กาย ๑ ดวง คือทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

ทุกข์ใจ ๒ ดวง คือโทสมูลจิต ๒ ซึ่งต้องเกิดพร้อมกับโทมนัสเวทนาเสมอไป

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ อทุกขมสุขเวทนา คือไม่ทุกข์และไม่สุข หรืออุเบกขา เวทนานั่นเอง มี ๕๕ ดวง ได้แก่ อุเบกขา โลภมูลจิต ๔ โมหมูลจิต ๒ อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔ อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒ ฌานอุเบกขา หรือ ปัญจมฌาน ๒๓

ปัญจมฌาน ๒๓ ได้แก่ โลกียปัญจมฌาน ๑๕ โลกุตตรปัญจมฌาน ๘

โลกียปัญจมฌาน ๑๕ คือ โลกียรูปาวจรปัญจมฌาน ๓ โลกียอรูปาวจร ๑๒

โลกุตตรปัญจมฌาน ๘ คือ ปัญจมฌานโสดาปัตติมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ปัญจมฌานสกทาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ปัญจมฌานอนาคามิมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑ ปัญจมฌานอรหัตตมัคคจิต ๑ ผลจิต ๑

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนา ๕

กล่าวโดย อินทริยเภทนัย นั้น จำแนกจิตโดยเวทนา ๕ ตามประเภทแห่ง ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์นั้น ได้ดังนี้

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา คือ เฉพาะสุขกายก็มีดวงเดียว ได้แก่ สุขสหคต กุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา คือเฉพาะทุกข์กายก็มีดวงเดียว ได้แก่ ทุกขสหคต อกุสลวิบาก กายวิญญาณ ๑

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา คือสุขใจมี ๖๒ ดวง กามโสมนัส ๑๘ ฌานโสมนัส ๔๔

๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา คือทุกข์ใจ มี ๒ ดวง ได้แก่ โทสมูลจิต ๒

๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา คือเฉยๆ ไม่ทุกข์และก็ไม่สุขมี ๕๕ ดวง ได้แก่ อุเบกขา โลภมูลจิต ๔ โมหมูลจิต ๒ อุเบกขา อเหตุกจิต ๑๔ อุเบกขา กามาวจรโสภณจิต ๑๒ ฌานอุเบกขา ๒๓ อทุกขมสุขเวทนา (ในเวทนา ๓) กับ อุเบกขาเวทนา เป็นเวทนาเดียวกัน มีอัตถะ คือ เนื้อความอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ พยัญชนะ เท่านั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกโดยเวทนา ๓


จิตโดยพิสดาร ๑๒๑
- สุขเวทนา ๖๓
- ทุกขเวทนา ๓
- อทุกขมสุขเวทนา ๕๕

จิตโดยย่อ ๘๙
- สุขเวทนา ๓๑
- ทุกขเวทนา ๓
- อทุกขมสุขเวทนา ๕๕

ที่สุขเวทนาเหลือเพียง ๓๑ เพราะตัดโลกุตตรปฐมฌาน ๘, โลกุตตรทุติยฌาน ๘, โลกุตตรตติยฌาน ๘, โลกุตตรจตุตถฌาน ๘ รวม ๓๒ ดวง ซึ่งเป็นจิตพิสดาร ออกเสียจาก ๖๓ จึงเหลือเพียง ๓๑

ที่เหลือเพียง๓๑ นั้นได้แก่ สุขกายวิญญาณ ๑, กามโสมนัส ๑๘ และโลกีย ฌานโสมนัส ๑๒ คือ โลกียปฐมฌาน ๓, โลกียทุติยฌาน ๓, โลกียตติยฌาน ๓, โลกียจตุตถฌาน ๓

ที่อทุกขมสุขเวทนา ได้แก่ จิต ๕๕ เท่ากันทั้ง ๒ ข้างนั้น เป็นเพราะทางจิต พิสดารหมายถึง ปัญจมฌานโลกุตตรจิต ๘ ดวง ส่วนทางจิตโดยย่อหมายถึงโลกุตตร จิตโดยย่อ ๘ ดวง ซึ่งมีจำนวนเท่ากัน

อนึ่งโลกุตตรจิตโดยย่อ ๘ ดวงนั้น ในที่นี้นับเป็นอทุกขมสุขเวทนา คือ อุเบกขาเวทนาทั้ง ๘ ดวง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จำแนกโดยเวทนา ๕

จิตโดยพิสดาร ๑๒๑
- สุขเวทนา ๑
- ทุกขเวทนา ๑
- โสมนัสเวทนา ๖๒
- โทมนัสเวทนา ๒
- อุเบกขาเวทนา ๕๕

จิตโดยย่อ ๘๙
- สุขเวทนา ๑
- ทุกขเวทนา ๑
- โสมนัสเวทนา ๓๐
- โทมนัสเวทนา ๒
- อุเบกขาเวทนา ๕๕

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2010, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


เวทนากับเจตสิก

เวทนาเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ
ก. แสดงว่า เวทนาใดเกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใดเกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก

สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

โสมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนา เจตสิก) อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑) โสภณ เจตสิก ๒๕

โทมนัสเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๒๑ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ) อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับเจตสิก ๔๖ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น เวทนาปิติ) อกุสลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔) โสภณเจตสิก ๒๕

ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา

๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ
- โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
- ปิติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
- วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา

๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ
- โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้
- โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้ อุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับ เวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ
- โมจตุกเจตสิก ๔
- ถีนมิทธเจตสิก ๒
- วิตกเจตสิก ๑
- วิจารเจตสิก ๑
- อธิโมกขเจตสิก ๑
- วิริยเจตสิก ๑
- ฉันทเจตสิก ๑
(เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา หรืออุเบกขาเวทนาอย่างใดก็ได้)

๔. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๕ มี ๖ ดวงคือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

๕. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือ เวทนาเจตสิก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 17 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร