วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สักกายทิฏฐิ ๒๐

    รูปํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นรูปโดยเป็นตน

    รูปํวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีรูป

    อตฺตนิ รูปํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นรูปในตน

    รูปสฺมึ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในรูป

    เวทนํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นเวทนาโดยเป็นตน

    เวทนาวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีเวทนา

    อตฺตนิ เวทนํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นเวทนาในตน

    เวทนาย อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในเวทนา

    สญฺญํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นสัญญาโดยเป็นตน

    สญฺญาวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีสัญญา

    อตฺตนิ สญฺญํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นสัญญาในตน

    สญฺญาย อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในสัญญา

    สงฺขาเร อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นสังขารทั้งหลายทั้งหลายโดยเป็นตน

    สงฺขารวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีสังขาร

    อตฺตนิ สงฺขาเร สมนุปฺปสฺสติ เห็นสังขารทั้งหลายในตน

    สงฺขาเรสุ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในสังขารทั้งหลาย

    วิญฺญาณํ อตฺตโต สมนุปฺปสฺสติ เห็นวิญญาณโดยตนเอง

    วิญฺญาณเวนฺตํ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนมีวิญญาณ

    อตฺตนิ วิญฺญาณํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นวิญญาณในตน

    วิญฺญาณสฺสมึ อตฺตานํ สมนุปฺปสฺสติ เห็นตนในวิญญาณ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ผลที่อกุสลกรรมบถ ๑๐ ส่งให้ในปวัตติกาล

ผลในปวัตติกาลของปาณาติบาต มี ๙ ประการ คือ

๑. ทุพพลภาพ
๒. รูปไม่งาม
๓. กำลังกายอ่อนแอ
๔. กำลังกายเฉื่อยชา กำลังปัญญาไม่ว่องไว
๕. เป็นคนขลาด
๖. ฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
๗. โรคภัยเบียดเบียน
๘. ความพินาศของบริวาร
๙. อายุสั้น

ผลในปวัตติกาลของอทินนาทาน มี ๖ ประการ คือ

๑. ด้อยทรัพย์
๒. ยากจน
๓. อดอยาก
๔. ไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา
๕. พินาศในการค้า
๖. ทรัพย์พินาศเพราะอัคคีภัย อุทกภัย ราชภัย โจรภัยเป็นต้น

ผลในปวัตติกาลของกาเมสุมิจฉาจาร มี ๑๑ ประการ คือ

๑. มีผู้เกลียดชังมาก
๒. มีผู้ปองร้ายมาก
๓. ขัดสนทรัพย์
๔. ยากจนอดอยาก
๕. เป็นหญิง
๖. เป็นกระเทย
๗. เป็นชายในตระกูลต่ำ
๘. ได้รับความอับอายเป็นอาจิณ
๙. ร่างกายไม่สมประกอบ
๑๐. มากไปด้วยความวิตกห่วงใย
๑๑. พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

ผลในปวัตติกาลของมุสาวาท มี ๘ ประการ คือ

๑. พูดไม่ชัด
๒. ฟันไม่เป็นระเบียบ
๓. ปากเหม็นมาก
๔. ไอตัวร้อนจัด
๕. ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖. กล่าววาจาด้วยปลายลิ้น และปลายปาก
๗. ท่าทางไม่สง่าผ่าเผย
๘. จิตไม่เที่ยงคล้ายวิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของปิสุณาวาท มี ๔ ประการ คือ

๑. ตำหนิตนเอง
๒. มักจะถูกลือโดยไม่มีความจริง
๓. ถูกบัณฑิตตำหนิติเตียน
๔. แตกมิตรสหาย

ผลในปวัตติกาลของ ผรุสวาท มี ๔ ประการ คือ

๑. พินาศในทรัพย์
๒. ได้ยินเสียง เกิดไม่พอใจ
๓. มีกายและวาจาหยาบ
๔. ตายด้วยอาการงงงวย

ผลในปวัตติกาลของสัมผัปปลาป มี ๔ ประการ คือ

๑. เป็นอธัมมวาทบุคคล
๒. ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูดของตน
๓. ไม่มีอำนาจ
๔. จิตไม่เที่ยง คือ วิกลจริต

ผลในปวัตติกาลของอภิชฌา มี ๔ ประการ คือ

๑. เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๒. ปฏิสนธิในตระกูลต่ำ
๓. มักได้รับคำติเตียน
๔. ขัดสนในลาภสักการะ

ผลในปวัตติกาลของพยาบาท มี ๔ ประการ คือ

๑. มีรูปทราม
๒. มีโรคภัยเบียดเบียน
๓. อายุสั้น
๔. ตายโดยถูกประทุษร้าย

ผลในปวัตติกาลของมิจฉาทิฏฐิ มี ๔ ประการ คือ

๑. ห่างไกลรัศมีแห่งพระธรรม
๒. มีปัญญาทราม
๓. ปฏิสนธิในพวกคนป่าที่ไม่รู้อะไร
๔. เป็นผู้มีฐานะไม่เทียมคน

ผลในปวัตติกาลของการเสพสุราเมรัย มี ๖ ประการ คือ

๑. ทรัพย์ถูกทำลาย
๒. เกิดวิวาทบาดหมาง
๓. เป็นบ่อเกิดของโรค
๔. เสื่อมเกียรติ
๕. หมดยางอาย
๖. ปัญญาเสื่อมถอย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดย จิตตุปปาทะ การเกิด ขึ้นของจิตแล้ว ก็มี ๘ คือ มหากุสลจิต ๘ ดวง

เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว ก็มี ๓ คือ

กระทำทางกายทวารได้แก่ กายวิญญัตติ ก็เรียกว่า กายกรรม หรือ กายสุจริต มี ๓ ประการ

การกระทำทางวจีทวารได้แก่ วจีวิญญัตติ ก็เรียกว่า วจีกรรม หรือ วจีสุจริต มี ๔ ประการ

การกระทำทางมโนทวารก็เรียกว่า มโนกรรม หรือ มโนสุจริต มี ๓ ประการ รวมเป็นสุจริต ๑๐ ประการ คือ

กายกรรม หรือกายสุจริต ก็ได้แก่ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑, เว้นจากการ ลักทรัพย์ ๑ และเว้นจากการล่วงประเวณี ๑

วจีกรรม หรือวจีสุจริต ก็ได้แก่ เว้นจากการพูดปด ๑, เว้นจากการพูด ส่อเสียด ๑, เว้นจากการพูดจาหยาบคาย ๑ และเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ๑

มโนกรรม หรือมโนสุจริต ก็ได้แก่ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของเขา ๑, ไม่พยาบาท ปองร้ายเขา ๑ และให้มีความเห็นถูกต้อง ๑

การกระทำกามาวจรกุสลกรรมนี้ แม้ว่าจะได้เกิดทั้ง ๓ ทวารก็จริง แต่ว่าส่วน มากเกิดทางมโนกรรมมากกว่าเกิดทางกายกรรม หรือทางวจีกรรม เป็นต้นว่า เป็น แต่จิตคิดงดเว้นจากกายทุจริต ๓ วจีทุริต ๔ เพียงเท่านั้นก็ได้ชื่อว่า เป็นกุสลกาย กรรม ๓ และกุสลวจีกรรม ๔ แล้ว

การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม เมื่อกล่าวโดยประเภทของ ทาน สีล ภาวนา แล้วก็มี ๓ เหมือนกัน คือ ทาน ๑, สีล ๑ และ ภาวนา ๑

การเกิดขึ้นของกามาวจรกุสลกรรม เมื่อกล่าวโดยอำนาจบุญกิริยาวัตถุแล้วก็ มี ๑๐ ประการ บุญกิริยาวัตถุเป็นภาษาบาลีเขียนว่า ปุญฺญกิริยาวตฺถุ แปลว่า ความดีที่ควรกระทำเพราะเป็นเหตุ เป็นที่ตั้งแห่งผลดีให้เกิดขึ้นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐คือ

๑. ทาน การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์สุขแก่ผู้ที่ได้รับ

๒. สีล การรักษากาย วาจา ให้เป็นปกติ ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น

๓. ภาวนา การอบรมจิตใจให้กุสลอันประเสริฐเกิดขึ้นและให้เจริญยิ่งขึ้นด้วย

๔. อปจายนะ การแสดงคารวะและอ่อนน้อมแก่ผู้ที่เจริญด้วยชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ

๕. เวยยาวัจจะ การสงเคราะห์ช่วยเหลือกิจการที่เกี่ยวแก่ ปริยัติ และปฏิบัติ

๖. ปัตติทานะ การอุทิศส่วนกุสลให้บิดา มารดา ครู อาจารย์ ญาติพี่น้อง ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย

๗. ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนารับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้ ได้แก่ การเห็นดี และคล้อยตามด้วยความอิ่มใจในส่วนบุญที่มีผู้อุทิศให้นั้น

๘. ธัมมสวนะ การตั้งใจสดับตรับฟังพระธรรมเทศนา แม้ฟังการสั่งสอนวิชา ทางโลก ที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เป็นธัมมสวนะ

๙. ธัมมเทสนา การแสดงธรรมแก่ผู้ประสงค์ฟังธรรม แม้การสั่งสอนวิชาทาง โลกที่ไม่มีโทษ ก็สงเคราะห์เป็นธัมมเทสนาเช่นเดียวกัน

๑๐. ทิฏฐุชุกรรม การมีความเห็นถูกต้อง ตามความเป็นจริงอย่างน้อยก็ต้อง ถึงกัมมสกตาปัญญา คือ รู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ทำดีได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว ธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดกัมมสกตาปัญญา คือ

ก. สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การศึกษาเล่าเรียน

ข. จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การพิจารณาไตร่ตรอง

ค. ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจาก การเจริญวิปัสสนา

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ เมื่อสงเคราะห์ลงในประเภททาน สีล ภาวนา แล้วก็ได้ ดังนี้

ปัตติทานะ กับปัตตานุโมทนา สงเคราะห์ใน ทาน ชื่อว่า ทานมัย

อปจายนะ กับ เวยยาวัจจะ สงเคราะห์ลงใน สีล ชื่อว่า สีลมัย

ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา และทิฏฐุชุกรรม สงเคราะห์ลงใน ภาวนา ชื่อว่า ภาวนามัย

อีกนัยหนึ่งตามนัยแห่งพุทธภาษิตอรรถกถา แสดงว่า ธัมมสวนะ ธัมมเทสนา สงเคราะห์ลงใน ทานมัยกุสลก็ได้ ดังที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาว่า สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ การให้ธรรมย่อมชำนะการให้ทั้งปวง

ส่วน ทิฏฐุชุกรรม นั้น มีแสดงไว้ใน สังคีติสูตร แห่งปาถิกวรรคอรรถกถา ว่า ทิฏฐุชุกมฺมํ สพฺเพสํ นิยมลกฺขนํ ทิฏฐุชุกรรมนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งความสมบูรณ์ ของบุญกิริยาวัตถุทั้งปวง หมายความว่าสงเคราะห์ทิฏฐุชุกรรมลงใน ทานมัย สีลมัย ได้ทั้งหมด เพราะว่าทิฏฐุชุกรรม ก็คือ ปัญญาที่เห็นตรงตามความเป็นจริง ถ้าการ บริจาคทาน การรักษาสีล การเจริญภาวนา โดยไม่มีทิฏฐุชุกรรมประกอบด้วยแล้ว การให้ผลของ ทาน สีล ภาวนาเหล่านั้นก็ไม่สมบูรณ์ มีการขาดตกบกพร่อง แม้จะ ให้ผลไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดา ก็จะเป็นมนุษย์ เทวดาชั้นต่ำ มีอวัยวะขาดตก บกพร่อง หรือโง่เขลาเบาปัญญา ขาดแคลนทรัพย์ มีความเดือดร้อน ไม่ใคร่มีความ สุขสบาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. การเกิดขึ้นของรูปาวจรกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของรูปาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดยจิตตุปปาทะ การเกิดขึ้น ของจิตแล้วก็มี ๕ คือ รูปาวจรกุสลจิต ๕ ดวง

เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ทางที่ให้เกิดกรรมแล้ว รูปาวจรกุสลกรรมนี้เกิด ทางมโนทวาร เป็นมโนกรรมแต่อย่างเดียว จะเกิดทางกายกรรมหรือวจีกรรมไม่ได้ เพราะการเจริญสมถภาวนาไม่ได้ใช้กายวิญญัตติ หรือวจีวิญญัตติแต่อย่างใดเลย

เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่ง ทาน สีล ภาวนา แล้ว รูปาวจรกุสลกรรมนี้ เป็น ภาวนามัยแต่อย่างเดียว ไม่เกี่ยวแก่การบริจาคทาน หรือการรักษาสีล เป็นแต่เพ่ง กัมมัฏฐาน จนเกิดฌานจิต

เมื่อกล่าวโดย กัมมัฏฐาน อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งการเพ่งพินิจแล้ว ก็มี ๒๖ คือ กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, กายคตาสติ ๑, อานาปานสติ ๑ และ พรหมวิหาร ๔

เมื่อกล่าวโดย สมาธิ แล้ว รูปาวจรกุสลกรรมย่อมเข้าถึงซึ่ง อัปปนาสมาธิ (ส่วนกามาวจรกุสลกรรมไม่ถึงอัปปนาสมาธิ เป็นแต่เพียงบริกรรมสมาธิ และอุป จารสมาธิเท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงซึ่งอัปปนาสมาธิ คือฌานสมาบัติได้)

เมื่อกล่าวโดย ประเภทของฌาน แล้ว ก็มี ๕ คือ ปฐมฌานกุสล ทุติยฌาน กุสล ตติยฌานกุสล จตุตถฌานกุสล และ ปัญจมฌานกุสล

เมื่อกล่าวโดย องค์ของฌาน แล้ว มีดังนี้

รูปาวจรกุสล ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา

รูปาวจรกุสล ทุติยฌาน มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา

รูปาวจรกุสล ตติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา

รูปาวจรกุสล จตุตถฌาน มีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา

รูปาวจรกุสล ปัญจมฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. การเกิดขึ้นของอรูปาวจรกุสลกรรม

การเกิดขึ้นของอรูปาวจรกุสลกรรมนั้น เมื่อกล่าวโดย จิตตุปปาทะ ก็มี ๔ คือ อรูปาวจรกุสลจิต ๔ ดวง

เมื่อกล่าวโดย กรรมทวาร ก็เกิดทางมโนทวารแต่ทางเดียว

เมื่อกล่าวโดยประเภทแห่ง ทาน สีล ภาวนา ก็เป็นภาวนามัยอย่างเดียว

เมื่อกล่าวโดย กัมมัฏฐาน ก็มี ๔ คือ กสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ ๑, อากาสา นัญจายตนกุสล ๑, นัตถิภาวบัญญัติ ๑ และ อากิญจัญญายตนกุสล ๑

เมื่อกล่าวโดย สมาธิ ก็ถึง อัปปนาสมาธิ

เมื่อกล่าวโดย ประเภทของฌาน แล้วก็มี ๔ คือ อากาสานัญจายตนกุสล วิญญาณัญจายตนกุสล อากิญจัญญายตนกุสล และ เนวสัญญานาสัญญายตนกุสล

เมื่อกล่าวโดย องค์ของฌาน แล้วก็มี ๒ คือ อุเบกขา กับ เอกัคคตา เท่านั้น และเหมือนกันกับองค์ฌานของรูปาวจรกุสลปัญจมฌาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 27 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร