วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 20:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มรณะ แปลว่า จุติ หรือ ดับ หรือ ตาย จำแนกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๑. ขณิกมรณะ การดับของรูปนามตามนัยของอุปปาทะ ฐีติ ภังคะ

๒. สมมติมรณะ การดับ การตายของคน ของสัตว์ อันเป็นโวหารของโลกที่ ใช้กันทั่ว ๆ ไป อยู่เสมอ

๓. สมุจเฉทมรณะ การปรินิพพานของพระอรหันต์

มรณะจตุกะ ที่จะกล่าวในหมวดนี้ กล่าวถึง สมมติมรณะ และ สมุจเฉท มรณะ รวม ๒ ประเภทเท่านั้น ส่วนขณิกมรณะไม่เกี่ยวข้องที่จะต้องพูดถึงในที่นี้

สมมติมรณะของคนและสัตว์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ความตายของคนและสัตว์ นั้น หมายถึง การสิ้นไปแห่งอนุบาลธรรม ๓ ประการ คือ

๑. ความสิ้นไป หมดไปแห่งอายุ คือ กัมมชรูป

๒. ความสิ้นไป หมดไปแห่งอุสมาเตโช ซึ่งเป็นธาตุไฟที่ยังความอบอุ่นให้แก่ ร่างกาย

๓. ความสิ้นไป หมดไปแห่งวิญญาณ คือ ภวังคจิต (เฉพาะข้อนี้ ต้องเว้น อสัญญสัตต เพราะไม่มีวิญญาณ)

มรณุปปัตติ ความตายที่อุบัติขึ้นนั้นมี ๔ ประการดังนั้นจึงชื่อว่า มรณจตุกะ ความตาย ๔ ประการนั้น ได้แก่

(๑) อายุกขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ

(๒) กัมมักขยมรณะ ตายเพราะสิ้นกรรม

(๓) อุภยักขยมรณะตายเพราะสิ้นทั้ง ๒ อย่าง(คือสิ้นทั้งอายุและสิ้นทั้งกรรม)

(๔) อุปัจเฉทกมรณะ ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุ และสิ้นกรรม

อายุกขยมรณะตายเพราะสิ้นอายุ ๑, กัมมักขยมรณะตายเพราะสิ้นกรรม ๑ และอุภยักขยมรณะตายเพราะสิ้นทั้งอายุสิ้นทั้งกรรม ๑ มรณะทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า กาลมรณะ คือ ถึงกาลเวลาที่ควรตาย

ส่วนอุปัจเฉทกมรณะ ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุและสิ้นกรรมนั้น เรียกว่า อกาลมรณะ คือยังไม่ถึงกาลเวลาที่ควรตาย แต่มาตายลงเพราะภัยเพราะอันตราย อย่างใดอย่างหนึ่ง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๑. อายุกขยมรณะ

การตายเพราะสิ้นอายุนั้น หมายถึง ตายเมื่อแก่ คือ ถึงซึ่งความชราแล้วจึง ตาย เพราะสังขารร่างกายได้ดำรงคงอยู่มานานพอควรแล้ว ก็ย่อมเสื่อมโทรมลงจน ถึงวาระที่แตกดับทำลายไป

ในสมัยพุทธกาล คนเรามีอายุ ๑๐๐ ปี โดยประมาณ นับแต่สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานแล้ว อายุคนก็ลดน้อยลงในอัตรา ๑๐๐ ต่อ ๑ คือ กาลเวลาล่วงไป ๑๐๐ ปี อายุขัย หรืออายุกัปป์ของคนเราก็ลดน้อยลงไป ๑ ปี จนถึงบัดนี้กาลเวลาได้ล่วงเลย ๑๐๐ ปี ไปถึง ๒๕ รอบแล้ว อายุขัย อายุกัปป์ ก็ลดลง ๒๕ ปี ดังนั้นอายุขัยของคนในปัจจุบันจึงประมาณ ๗๕ ปีเท่านั้น ถ้าผู้ใด อยู่ถึง ๗๕ ปี แม้จะน้อยไปหน่อย หรือมากไปสักนิดแล้วจึงตาย ดังนี้เรียกว่าตาย เพราะสิ้นอายุ

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า การตายของปุถุชนทั้งหลาย ตลอดจนการตายของ พระเสกขบุคคล นั่นแหละ จึงเรียกว่า อายุกขยมรณะ ตายเพราะสิ้นอายุ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. กัมมักขยมรณะ

ตายเพราะสิ้นกรรม หมายถึงว่า ผู้ที่ตายนั้นอายุยังน้อย ยังเป็นเด็ก เป็นหนุ่ม เป็นสาวอยู่ ยังไม่ถึงอายุขัยก็มาตายลง เป็นอันหมดกรรมที่จะต้องได้รับในชาตินี้ แต่เพียงเท่านี้ ดังที่กล่าวกันธรรมดาสามัญว่า หมดเวรหมดกรรมกันเสียที หรือว่า ผู้ที่ตายนั้นมีอายุมากมายจนแก่หง่อมหนักหนาจึงได้ตาย การที่ได้อยู่จนถึงกับแก่ หง่อม งก ๆ เงิ่น ๆ หลง ๆ ลืม ๆ เช่นนี้ ก็เพราะยังไม่หมดกรรมที่ตนจะต้องได้รับ ในชาตินี้ (แม้จะหมดอายุขัยแล้วก็ตาม) จึงต้องทนทุกข์อยู่ไปจนกว่าจะตาย ที่เรียก กันว่า หมดบุญ ก็คือสิ้นกรรม นั่นเอง

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ทั้งหลายที่เข้าสู่ปรินิพพานนั่นแหละ เป็นการตายอย่างกัมมักขยมรณะโดยตรง เพราะท่านสิ้นกรรมหมดกรรมโดยแท้ เป็น การสิ้นกรรมหมดกรรมอย่างเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทจริงๆ ไม่เหมือนกับที่กล่าว ในวรรคต้นอันเป็นการสิ้นกรรมหมดกรรมเฉพาะภพนั้นชาตินั้นแต่ชาติเดียว อันเป็น การกล่าวได้โดยปริยาย หาใช่หมดกรรมสิ้นกรรมโดยแท้ไม่

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อุภยักขยมรณะ

ตายเพราะสิ้นทั้งอายุ และสิ้นทั้งกรรม หมายถึงว่า ไม่ได้ตายแต่เด็กแต่เล็ก ต่อเมื่อถึงอายุขัยจึงตาย ประจวบกับหมดกรรมด้วยพอดี ไม่ต้องทรมานรับกรรม ใช้ กรรมจนแก่หง่อมดังกล่าวแล้วในข้อต้น ดังนี้แหละ ที่เรียกว่า อุภยักขยมรณะ

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า การปรินิพพานของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการปรินิพพานของ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๒ พระองค์เท่านี้แหละ จึงจะเรียกได้ ว่าเป็น อุภยักขยมรณะ เพราะท่านต้องอยู่จนถึงอายุขัย (ที่มีเงื่อนไข) แม้ใครจะ ประทุษร้ายอย่างใด ก็ไม่ทำให้ตายได้ และท่านเป็นผู้ที่หมดกรรมแล้วโดยสิ้นเชิง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


๔. อุปัจเฉทกมรณะ

ตายโดยยังไม่ทันสิ้นอายุและสิ้นกรรม เพราะมีภัย มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด มารบกวนตัดรอนทอนอายุให้ขาดลงไป ภัยหรืออันตรายที่มาทำให้ถึงตาย เช่น ศัตราวุธ ถูกวางยาเบื่อ ถูกสัตว์อื่นทำร้าย ถูกรถทับ ไฟครอก จมน้ำ อดน้ำ อดข้าว เป็นโรค ตลอดจนตายด้วยแรงโลภะ แรงโทสะ เหล่านี้เป็นต้น ไม่ได้ตายอย่างปกติ ธรรมดาสามัญเหมือน ๓ อย่างตรงข้างต้นนั้น จึงได้เรียกว่าเป็นอุปัจเฉทกมรณะ ซึ่งจัดเป็นอกาลมรณะ เพราะว่าถ้าหากว่าไม่ได้รับภยันตรายเช่นนั้น อาจจะยังไม่ถึง แก่มรณะก็ได้

ก่อนที่สัตว์จะถึงแก่มรณะ ไม่ว่าจะมรณะอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔ อย่าง ที่กล่าวแล้วนี้ จะต้องมีมรณาสันนวิถีเกิดขึ้นทุกตัวสัตว์ เว้นอสัญญสัตตพรหม แต่อย่างเดียวเท่านั้น ที่ก่อนจุติไม่มีมรณาสันนวิถี เพราะอสัญญสัตตพรหม ไม่มีจิต จึงไม่มีวิถีจิต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


มรณาสันนวิถี

วิถีจิตสุดท้ายที่สัตว์จะถึงแก่มรณะนั้น เรียกว่า มรณาสันนวิถี เมื่อสุดมรณา สันนวิถีแล้ว จุติจิตก็เกิดขึ้นแน่นอน สัตว์นั้นก็ถึงแก่มรณะ จุติจิตเป็นจิตดวงสุดท้าย ของภพนั้นชาตินั้น เป็นอันสิ้นภพสิ้นชาติในภพนั้นชาตินั้น กันเสียที

ต่อจากจุติจิต คือเมื่อจุติจิตดับลงไปแล้ว ปฏิสนธิจิตก็เกิดติดต่อกันในทันที ทันใด โดยไม่มีจิตอื่นใดมาเกิดคั่นในระหว่างนั้นเลย ปฏิสนธิจิตเป็นจิตดวงแรกที่ เกิดสืบต่อก่อภพใหม่ ชาติใหม่ต่อไปอีก (เว้นจุติจิตของพระอรหันต์ จึงไม่มีปฏิสนธิ จิตมาสืบต่อ เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องเกิดต่อไปอีกแล้ว)

มรณาสันนวิถี มีได้ทั้งทางปัญจทวารและมโนทวาร กล่าวคือ ถ้ามีรูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้องเป็นอารมณ์ มรณาสันนวิถีนั้น ก็เรียกว่า มรณาสันนวิถี ทาง จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร เป็นต้น ตามควรแก่อารมณ์ที่มาปรากฏนั้น ถ้ามีความคิดนึกทางใจก็เรียกว่า มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร

มรณาสันนวิถี ไม่ว่าจะเกิดทางปัญจทวาร หรือทางมโนทวารก็ตาม วิถีนั้นมี ชวนะเพียง ๕ ขณะเท่านั้น เพราะจิตใจที่กำลังอ่อนเต็มที จะขาดใจอยู่แล้ว มรณา สันนวิถีมี ๔ อย่าง คือ

ก. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ

ข. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ ภวังค

ค. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ ตทาลัมพนะ

ง. มรณาสันนวิถี ที่จุติจิตเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง ชวนะ ตทาลัมพนะ ภวังคะ

มรณาสันนวิถีทางปัญจทวาร แต่ละทวารมี ๔ วิถี ดังนี้

ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ

ภ ตี ตี ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ

ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ

ภ ตี น ท ป วิ สํ สัน วุ ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ


มรณาสันนวิถีทางมโนทวาร มี ๔ วิถี เช่นเดียวกัน

ภ น ท มโน ช ช ช ช ช จุติ ปฏิ ภ

ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ภ จุติ ปฏิ ภ

ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต จุติ ปฏิ ภ

ภ น ท มโน ช ช ช ช ช ต ต ภ จุติ ปฏิ ภ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะ

อารมณ์ของสัตว์ที่มรณะหมายถึงอารมณ์ของชวนะจิต ๕ ขณะในมรณาสันนวิถี

ในกาลแห่งสัตว์อันใกล้มรณะนั้น จะต้องมีอารมณ์อันมีชื่อเรียกเป็นพิเศษโดย เฉพาะว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใด อย่างหนึ่งมาปรากฏแก่ชวนะจิตในมรณาสันนวิถี อารมณ์นี้จะต้องเกิดทั่วทุกคนทุก ตัวสัตว์ เว้นแต่ อสัญญสัตตพรหม และพระอรหันต์

ที่เว้น อสัญญสัตตพรหม เพราะอสัญญสัตตพรหมไม่มีจิต จึงไม่มีอารมณ์ ส่วนที่เว้นพระอรหันต์ด้วยนั้น เพราะพระอรหันต์ไม่ต้องไปเกิดอีกแล้ว จึงไม่มี อารมณ์ที่มีชื่อเฉพาะ ๓ อย่างนี้ อันเป็นเครื่องหมายแห่งการเกิด

ชวนะจิตในมรณาสันนวิถี (บางทีก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า มรณาสันนชวนะ) แต่ ชาติก่อนมีสิ่งใดเป็นอารมณ์ จิตที่เป็นปฏิสนธิและภวังค ตลอดจนจุติจิตในปัจจุบัน ชาตินี้ ก็ถือเอาสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต และจุติจิตในภพ เดียวกัน ในชาติเดียวกันในบุคคลเดียวกัน เป็นจิตดวงเดียวกันและมีอารมณ์ อย่างเดียวกันด้วย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมอารมณ์

กรรมอารมณ์ที่เป็นฝ่ายกุสล คือ ตนได้ให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม หรือเจริญ ภาวนามานั้น เคยทำอย่างไร ก็นึกก็คิดเหมือนอย่างที่ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันน ชวนะก็ถือเอาเป็นอารมณ์

ที่เป็นฝ่ายอกุสล คือ ตนเคยฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ฉ้อ ชิง เฆี่ยนตี จำจองสัตว์ อย่างไร ก็นึกก็คิดเหมือนอย่างที่ได้ทำอยู่อย่างนั้น มรณาสันนชวนะก็น้อมเอามา เป็นอารมณ์

กรรมอารมณ์นี้ ปรากฏทางมโนทวารทางเดียว ไม่ปรากฏทางทวารทั้ง ๕ เพราะกรรมอารมณ์นี้ นึกถึง คิดถึง การกระทำในอดีต เป็นอดีตอารมณ์ เป็น กรรมในอดีตที่ตนได้ทำแล้วอย่างไรก็หน่วงโน้มนำใจให้คิด ให้นึกเหมือนดังที่ได้ทำ อยู่อย่างนั้น เป็นแต่นึก เป็นแต่คิด ไม่ถึงกับมีเป็นภาพ เป็นนิมิตมาปรากฏ

เมื่อมีกรรมอารมณ์เป็นกุสล ก็จะต้องไปสู่สุคคติ ถ้าหากว่ามีกรรมอารมณ์เป็น อกุสล ก็จะต้องไปสู่ทุคคติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมนิมิตอารมณ์

กรรมนิมิตอารมณ์ หมายถึง เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ตนได้ใช้ในการกระทำกรรม นั้น ๆ

ที่เป็นฝ่ายกุสลก็เห็นเครื่องที่ตนได้ทำกุสล เช่น เห็นโบสถ์ เห็นพระพุทธรูปที่ ตนสร้าง เห็นพระที่ตนบวชให้ เห็นเครื่องสักการะที่ตนใช้บูชา เห็นผ้าผ่อนที่ตนให้ ทาน เหล่านี้เป็นต้น มรณาสันนชวนะก็หน่วงเอามาเป็นอารมณ์

ที่เป็นฝ่ายอกุสล เช่น เห็นแห อวน หอก ดาบ มีด ไม้ ปืน เครื่องเบียด เบียนสัตว์ ที่ตนเคยใช้ในการทำบาป เป็นต้น มรณาสันนชวนะก็น้อมมาเป็นอารมณ์

ทั้งนี้ ถ้าเป็นแต่เพียงคิด เพียงแต่นึกถึงเครื่องมือ เครื่องใช้นั้น ๆ ก็ปรากฏ ทางมโนทวาร เป็นอดีตอารมณ์ แต่ถ้าได้เห็นด้วยนัยน์ตาจริง ๆ ด้วย ได้ยินทางหู จริง ๆ ด้วย ได้กลิ่นทางจมูกจริง ๆ ด้วย ก็เป็นทางปัญจทวาร และเป็นปัจจุบัน อารมณ์ด้วย

เมื่อมีกรรมนิมิตอารมณ์เป็นกุสล ก็นำไปสู่สุคคติ แต่ถ้าหากว่ามีกรรมนิมิต อารมณ์เป็นอกุสล ย่อมนำไปสู่ทุคคติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ตินิมิตอารมณ์

คตินิมิตอารมณ์ คือ นึกเห็นเครื่องหมายที่จะนำไปสู่สุคติ หรือทุคคติ

ถ้าจะไปสู่สุคคติ ก็จะปรากฏเป็นวิมาน เป็นปราสาททิพยสมบัติ เป็นนางเทพ อัปสร เป็นรั้ววัง เป็นวัดวาอาราม เป็นภิกษุสามเณร เป็นครรภ์มารดา เป็นต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี

ถ้าจะไปสู่ทุคคติ ก็จะปรากฏเป็นเปลวไฟ เป็นเหว เป็นถ้ำอันมืดมัว เป็นนาย นิรยบาล เป็นสุนัข แร้ง กา จะมาเบียดเบียนทำร้ายตนเป็นต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ เลวร้าย

ทั้งนี้ปรากฏทางมโนทวารแต่ทางเดียว คือ เห็นทางใจ และจัดเป็นปัจจุบัน อารมณ์ เพราะกำลังนึกเห็นอยู่

อารมณ์ของกามาวจรปฏิสนธิ คือ จะไปเกิดในกามภูมินั้น มรณาสันนชวนะ จะมีกรรมอารมณ์ หรือ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ได้ และอารมณ์เหล่านั้นล้วนแต่เป็นกามธรรม คือ กามอารมณ์ทั้งสิ้น

อารมณ์ของรูปาวจรปฏิสนธิ คือ จะไปเกิดในรูปาวจรภูมิเป็นรูปพรหมนั้น มรณาสันนชวนะมีเฉพาะกรรมนิมิตอารมณ์แต่อย่างเดียวเท่านั้น โดยมีบัญญัติธรรม เป็นอารมณ์ กล่าวคือ ตนได้ฌานด้วยอารมณ์กัมมัฏฐานใด มรณาสันนชวนะก็มี กัมมัฏฐานนั้นแหละเป็นอารมณ์

อารมณ์ของอรูปาวจรปฏิสนธิ คือ จะไปเกิดในอรูปาวจรภูมิ เป็นอรูปพรหม นั้น มรณาสันนชวนะก็มีเฉพาะกรรมนิมิตอารมณ์แต่อย่างเดียวเหมือนกัน โดยมี บัญญัติธรรม หรือมหัคคตธรรมเป็นอารมณ์ ตามควรแก่อรูปฌานที่ตนได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


จุติ แล้ว ปฏิสนธิ

สัตว์ที่จุติแล้วปฏิสนธิ เป็นอสัญญสัตตพรหม ซึ่งมีแต่รูปไม่มีนามจิต และ นามเจตสิกด้วยเลย เพราะเหตุนี้ อสัญญีสัตว์จึงชื่อว่า รูปปฏิสนธิ

สัตว์ที่จุติแล้วปฏิสนธิเป็นอรูปพรหม ซึ่งมีแต่นามจิต และนามเจตสิกเท่านั้น ไม่มีรูปด้วยเลย เพราะเหตุนี้อรูปสัตว์ จึงชื่อว่า อรูปปฏิสนธิ

สัตว์ที่จุติแล้วปฏิสนธิเป็นสัตว์อย่างอื่น ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ หรืออรูปสัตว์ แล้วก็เป็นสัตว์ที่มีทั้งรูปทั้งนาม ดังนี้จึงชื่อว่า รูปารูปปฏิสนธิ

สัตว์ใดจุติแล้วปฏิสนธิเป็นอะไร มีแสดงไว้ดังนี้

อรูปพรหมจุติ ย่อมไม่ปฏิสนธิในอรูปภูมิชั้นที่ต่ำกว่าเดิม แต่ถ้าปฏิสนธิใน กามภูมิ ต้องเป็นไตรเหตุฯ

รูปพรหมจุติ ถ้าปฏิสนธิในกามภูมิ ก็เป็นไตรเหตุ หรือทวิเหตุ ไม่เป็นอเหตุก สัตว์ และอบายสัตว์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2010, 19:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อธิบาย

๑. อรูปพรหมจุติ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๘ ดวง คือ

ก. เกิดในอรูปพรหมอีก (ปฏิสนธิด้วยอรูปวิบาก ๔) ย่อมเกิดในอรูปพรหม ชั้นนั้นหรือชั้นที่สูงกว่า ไม่ปฏิสนธิในชั้นที่ต่ำกว่า เพราะเป็นธรรมดาของอรูปพรหม ที่ย่อมเว้นหรือหน่ายจากฌานเบื้องต่ำ

ข. เกิดในกามภูมิย่อมเกิดเป็นไตรเหตุ ที่เรียกว่ากามติเหตุกปฏิสนธิ (ปฏิสนธิ ด้วยมหาวิบากญาณสัมปยุตต ๔)

อนึ่งอรูปพรหมที่เป็นพระอริยนั้น จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย และ เฉพาะเนวสัญญานาสัญญายตนพรหมที่เป็นพระอริยนั้น ก็จะไม่ไปเกิดในภูมิอื่นเลย จะต้องสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมินั่นเอง

๒. รูปพรหมจุติ แบ่งได้เป็น ๓ จำพวก คือ

จำพวกที่ ๑ เป็นพระอนาคามีที่เป็นรูปพรหมในสุทธาวาสภูมิ ๕ พระ อนาคามีในสุทธาวาสภูมินี้ ถ้าไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์และปรินิพพานในชั้นนั้นแล้ว เมื่อจุติก็ต้องปฏิสนธิในสุทธาวาสภูมิชั้นที่สูงกว่าตามลำดับไป จนกว่าจะปรินิพพาน ไม่มีการเกิดซ้ำชั้นเลย

จำพวกที่ ๒ เป็นรูปพรหมใน ๑๐ ภูมิ คือ เว้นสุทธาวาสภูมิ ๕ และอสัญญ สัตตภูมิ ๑, รูปพรหม ๑๐ ภูมินี้ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๑๗ ดวง คือ

ก. เกิดในอรูปพรหม (ปฏิสนธิด้วย อรูปาวจรวิบาก ๔)

ข. เกิดในรูปพรหมอีก (ปฏิสนธิด้วย รูปาวจรวิบาก ๕)

ค. เกิดในกามสุคติภูมิ ๗ (ปฏิสนธิด้วยมหาวิบาก ๘) ย่อมเกิดเป็นไตรเหตุ บ้าง ทวิเหตุบ้าง แต่ไม่เกิดเป็นอเหตุกสัตว์

อนึ่งรูปพรหมที่เป็นพระอริยนั้น จะไม่มาเกิดในกามภูมิอีกเลย และไม่เกิดใน รูปพรหมชั้นที่ต่ำกว่าด้วย สำหรับพระอริยที่เป็นรูปพรหมในชั้นเวหัปผลาภูมิ เมื่อยัง ไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ไม่เกิดย้ายไปภูมิอื่น ต้องเกิดซ้ำอยู่ในชั้นเวหัปผลาภูมินั้น จนกว่าจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และปรินิพพานในเวหัปผลาภูมินั้นเอง

จำพวกที่ ๓ เป็นอสัญญสัตตพรหม เมื่อจุติแล้วย่อมไปเกิดแต่ในกามสุคติภูมิ ๗ เท่านั้น เป็นไตรเหตุบ้าง เป็นทวิเหตุบ้าง

๓. เทวดาและมนุษย์จุตินั้น ปฏิสนธิไม่เที่ยง บางทีก็ไปเกิดในอบายภูมิบ้าง ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง ในรูปพรหมบ้าง ในอรูปพรหมบ้างตามควรแก่บาป และ บุญ

เป็นอันว่า กามสุคติบุคคลจุตินั้น ย่อมได้ปฏิสนธิทั้ง ๒๐* เกิดได้ทั้ง ๓๑ ภูมิ

๔. อบายสัตว์จุติ ย่อมได้ปฏิสนธิจิต ๑๐ ดวง คือ ไปเกิดในอบายอีกบ้าง ในมนุษย์บ้าง ในเทวดาบ้าง แต่ไม่สามารถไปเกิดในพรหมโลกชั้นหนึ่งชั้นใดเลย

ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต วิถีจิต และจุติจิต ในภพนี้ ชาตินี้ สืบเนื่องกันฉันใด ในภพหน้า ชาติหน้า ก็เป็นเหมือนกันฉันนั้นอีก

บัณฑิตทั้งหลาย พิจารณาเห็นสังขารนี้ว่า ไม่ยั่งยืน เพียรให้ถึงซึ่ง ธรรมอัน ไม่จุติ ตัดขาดจากความเยื่อใยที่ผูกมัดอยู่เสียได้จนหมดสิ้นแล้ว ก็ไม่ต้องสืบต่อภพ ใหม่ชาติใหม่อีก ได้แต่เสวย วิมุตติสุข อันประเสริฐกว่าสุขทั้งปวง

* หมายเหตุ ปฏิสนธิ ๒๐ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบากจิต ๙ และรูปปฏิสนธิ ๑

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 23 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron