วันเวลาปัจจุบัน 17 เม.ย. 2024, 01:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทาน ๔

อุปาทาน = อุป(มั่น) + อทาน(ยึด) = ยึดมั่น

อุปาทียนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมยึดมั่นในอารมณ์ ฉะนั้นธรรม เหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน

ภุสํ อาทิยนฺติ อมุญฺจคาหํ คณฺหนฺตีติ อุปาทานานิ ฯ ธรรมเหล่าใดยึดถือ อย่างแรงกล้า(คือถือไว้ไม่ปล่อย) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นชื่อว่า อุปาทาน

ตัณหา คือ ความอยากได้ในอารมณ์ที่ตนยังไม่ได้

อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในอารมณ์ที่ตนได้มาแล้วนั้นโดยไม่ยอมปล่อย

อีกนัยหนึ่ง ตัณหา คือ ความชอบใจต้องการอารมณ์ที่ตนได้พบครั้งแรก อุปาทาน คือ ความติดใจในอารมณ์ที่ตนได้พบนั้นไม่หาย ครุ่นคิดถึงอยู่เสมอ

ตัณหา เปรียบไว้ว่าเหมือนต้นไม้ที่ยังเล็กอยู่ ย่อมถอนได้ง่าย ส่วน อุปาทาน เหมือนต้นไม้ที่ใหญ่โตแล้ว ถอนยาก เพราะรากแก้วยึดมั่นเสียแล้ว

อุปาทาน มี ๔ ประการ คือ

๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในวัตถุกามทั้ง ๖ มี รูปารมณ์ เป็นต้น องค์ธรรม ได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในการเห็นผิด มี นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ และ ทิฏฐิ ๖๒ (ที่นอกจาก สีลัพพตทิฏฐิ และสักกายทิฏฐิ ซึ่งจะกล่าวต่อไปเป็นข้อ ๓ และ ข้อ ๔) องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในการปฏิบัติที่ผิด มีการปฏิบัติเยี่ยงโค และ สุนัข เป็นต้น อันเป็นการปฏิบัติที่นอกไปจาก มัชฌิมาปฏิปทา การยึดมั่นในการ ปฏิบัติที่ผิดเช่นนี้ บางทีก็เรียกว่า สีลัพพตทิฏฐิ องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิกที่ใน ทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน หรือว่ามีตัว มีตนอยู่ในเบ็ญจขันธ์ ซึ่งได้แก่ สักกายทิฏฐิ นั่นเอง องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก ที่ในทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔

รวมอุปาทาน มี ๔ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๒ คือ โลภเจตสิก และทิฏฐิเจตสิก

    โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน

    อรหัตตมัคค ประหาร กามุปาทาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron