วันเวลาปัจจุบัน 18 เม.ย. 2024, 15:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


พละ ๙

อกมฺปนฏฺเฐน พลํ ฯ ธรรมที่ชื่อว่า พละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหว

พลียนฺติ อุปฺปนฺเน ปฏิปกฺขธมฺเมสหนฺติ มทฺทนฺตีติ พลานิ ฯ ธรรมที่เกิด ขึ้นเป็นกำลังให้ต่อสู้ ทำลาย ซึ่งปฏิปักษ์ นั่นแหละชื่อว่า พละ

รวมมีความหมายว่า กำลังหรือพลังที่นำสัมปยุตตธรรม ที่เกิดร่วมกับตนให้ เข้มแข็งในอันที่จะกระทำความดีหรือความชั่วนั้น ชื่อว่า พละ ดังนั้น พละ จึงมีทั้ง กุสลพละ และอกุสลพละ

อกุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่อกุสลธรรมแต่อย่างเดียว ไม่มีกำลังถึง กับจะย่ำยีกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับตนได้

ส่วน กุสลพละ มีกำลังอดทนไม่หวั่นไหวต่ออกุสลธรรมด้วย และมีกำลังย่ำยี อกุสลธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กับตนได้อีกด้วย

กำลังย่ำยีในที่นี้หมายถึงการประหาร ถ้าประหารได้ชั่วครู่ชั่วขณะ ก็เรียกว่า ตทังคปหาน ประหารได้เป็นเวลาอันยาวนาน ก็เรียกว่า วิกขัมภนปหาน จนกระทั่ง ประหารได้โดยเด็ดขาด ก็เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

กำลังแห่งพละในขั้นกามกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้เพียงตทังคปหานเท่านั้น กำลังแห่งพละในขั้นมหัคคตกุสล ก็ประหารปฏิปักษ์ได้ถึง วิกขัมภนปหาน ส่วน กำลังแห่งพละในขั้นโลกุตตรกุสลนั้น ประหารปฏิปักษ์ได้เด็ดขาดแน่นอนไปเลย ซึ่ง เป็นการประหารอย่างสูงสุด อันเรียกว่า สมุจเฉทปหาน

พละ มี ๙ ประการ คือ

๑. สัทธาพละ มีความเชื่อถือเลื่อมใสเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สัทธาเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๒. วิริยพละ มีความเพียรความกล้าเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ วิริยเจตสิก ที่ ในจิต ๗๓ หรือ ๑๐๕ (เว้นอวีริยจิต ๑๖)

๓. สติพละ มีความระลึกได้ในอารมณ์ที่เป็นฝ่ายดี เป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ สติเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๔. สมาธิพละ มีความตั้งใจมั่นเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในวิริยจิต ๗๒ หรือ ๑๐๔ (เว้นวิจิกิจฉาจิต ๑)

๕. ปัญญาพละ มีปัญญาคือความรู้ที่ถูกต้องตามสภาวธรรมเป็นกำลัง องค์ ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ใน ติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

๖. หิริพละ มีความละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ หิริเจตสิก ที่ใน โสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๗. โอตตัปปพละ มีความเกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ โอตตัปปเจตสิก ที่ในโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑

๘. อหิริกพละ มีความไม่ละอายต่อบาปเป็นกำลัง องค์ธรรมได้แก่ อหิริก เจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๙. อโนตตัปปพละ มีความไม่เกรงกลัวต่อผลของบาปเป็นกำลัง องค์ธรรม ได้แก่ อโนตตัปปเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

พละ มี ๙ ประการ องค์ธรรมก็มี ๙ องค์ ชื่อของพละกับชื่อขององค์ธรรม ก็ตรงกัน

อหิริกพละและอโนตตัปปพละเป็นกำลังในฝ่ายชั่วแต่อย่างเดียวเท่านั้น

สัทธาพละ สติพละ ปัญญาพละ หิริพละ และโอตตัปปพละ เป็นกำลังใน ฝ่ายดีแต่อย่างเดียว

ส่วนวิริยพละ และสมาธิพละ เป็นกำลังได้ทั้งในฝ่ายดีและฝ่ายชั่วปะปนกันทั้ง ๒ อย่าง

อนึ่งข้อสังเกตในการแสดงองค์ธรรม ที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นนั้น มีความ เกี่ยวแก่ พละ ๙ นี้อยู่ ๒ ประโยค คือ

เอกัคคตาเจตสิก ที่ในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ ประโยคหนึ่ง และ

เอกัคคตาเจตสิก ที่ใน วิจิกิจฉาจิต ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธิพละ อีกประโยคหนึ่ง

ข้อความทั้ง ๒ ประโยคนี้ ก็มีเหตุผลที่จะอธิบายได้เป็นทำนองเดียวกันกับที่ ได้อธิบายไว้แล้วในอินทรีย ๒๒ นั้นเอง จึงจะไม่กล่าวซ้ำในที่นี้อีก

มิสสกสังคหะนี้จำแนกเป็น ๗ กอง ได้กล่าวมาแล้ว ๕ กอง ยังเหลืออีก ๒ กอง ดังนี้

อธิบดี มี ๔ อาหารก็มี ๔ เหมือนกัน ในมิสสกสังคหะนี้แสดงไว้ ๗ กอง โดยกุสล อกุสล อพยากตะ เจือปนกัน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร