วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 07:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2010, 02:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานังคะ ๗

ธรรมเหล่าใดย่อมเพ่งถึงอารมณ์(มีกสิณเป็นต้น) ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นจึงชื่อว่า ฌานหรือ

ธรรมเหล่าใด ย่อมเผาซึ่งธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ฉะนั้นธรรมเหล่านั้นจึง ชื่อว่า ฌาน

อารมฺมณูปนิชฺฌานโต ปจฺจนิกฌาปนโต วา ฌานํ ฯ ธรรมที่เพ่งอารมณ์ก็ดี หรือธรรมที่เผาปฏิปักษ์ก็ดี ธรรมนั้นเรียกว่า ฌาน

มีความหมายว่า ฌานคือการเพ่งอารมณ์ และพร้อมกันนั้นก็เผาธรรมอันเป็น ปฏิปักษ์ไปในตัวด้วย

ฌานเป็นได้ทั้งการเพ่งอารมณ์ที่เป็นกุสลและเพ่งอารมณ์ที่เป็นอกุสล กล่าวคือ ทางฝ่ายอกุสลก็มีใจจิตติดอยู่ในอารมณ์อันเป็นโทษเป็นทุกข์ เช่น คิดทำร้ายเขา ก็ ครุ่นคิดติดอยู่แต่ในอารมณ์ที่เป็นโทสะปองร้ายเขาอยู่เรื่อยไป ทางฝ่ายกุสล ก็มีจิตใจ ใฝ่เพ่งในอารมณ์กัมมัฏฐาน มีกสิณเป็นต้น ให้แนบแน่นในอารมณ์นั้น โดยมุ่งหมาย ประหารนิวรณธรรม เพื่อกุสลฌานจิตเกิด

ฌานังคะ คือ องค์ฌาน หมายถึงธรรมอันเป็นส่วนกำลังที่สำคัญยิ่งในการ อุดหนุนให้จิตและเจตสิกทั้งหลายซึ่งประกอบพร้อมกันนั้น เพ่งหรือติดอยู่ในอารมณ์ นั้นอย่างแน่วแน่และแนบแน่น

ฌานังคะ หรือ องค์ฌาน มี ๗ ประการ คือ

๑. วิตก องค์ธรรมได้แก่ วิตกเจตสิก ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑ รวม ๕๕

๒. วิจาร องค์ธรรมได้แก่ วิจารเจตสิก ที่ในกามจิต ๔๔ (เว้นทวิปัญจ วิญญาณ ๑๐) ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑ รวม ๖๖

๓. ปีติ องค์ธรรมได้แก่ ปีติเจตสิก ที่ในกามโสมนัสจิต ๑๘ ปฐมฌานจิต ๑๑ ทุติยฌาน ๑๑ ตติยฌาน ๑๑ รวม ๕๑

๔. เอกัคคตา องค์ธรรมได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ที่ในจิต ๑๑๑ ดวง (เว้นทวิ ปัญจวิญญาณ ๑๐ ซึ่งไม่มี วิตก วิจาร ประกอบในทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นั้นเลย)

๕. โสมนัส องค์ธรรมได้แก่ โสมนัสเวทนาเจตสิก ที่ในโสมนัสสหคตจิต ๖๒

๖. โทมนัส องค์ธรรมได้แก่ โทมนัสเวทนาเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒

๗. อุเบกขา องค์ธรรมได้แก่ อุเบกขาเวทนาเจตสิก ที่ในอุเบกขาสหคตจิต ๔๗ (เว้นทวิปัญจวิญญาณที่เป็นอุเบกขา ๘)

ฌานังคะมี ๗ แต่องค์ธรรมมีเพียง ๕ เท่านั้นคือ วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา และเวทนา เพราะโสมนัส โทมนัส อุเบกขา นี้เป็นเวทนาเจตสิกดวงเดียวเท่านั้น

ในฌานังคะทั้ง ๗ นี้ เฉพาะโทมนัสเวทนา เป็นได้แต่อกุสลอย่างเดียว ส่วน อีก ๖ นั้นเป็นได้ทั้ง กุสล อกุสล และอพยากตะ ด้วยเหตุนี้จึงรวมฌานังคะ ๗ ซึ่งมีองค์ธรรม ๕ นี้ไว้ในมิสสกสังคหะ

ฌานนั้นผ่องใสไพโรจน์ ดุจพระอาทิตย์ส่องมืดให้สว่างทั่วโลก เผากิเลสให้ แห้งได้ โทมนัสก็เป็นเครื่องเผาและเป็นฝ่ายอกุสล ถ้ามีโทมนัสอยู่ในใจแล้ว ก็เผา หทัยวัตถุให้แห้งได้เหมือนกัน จึงยกมากล่าวไว้ในฌานังคะนี้ด้วย อีกประการหนึ่ง ประสงค์เอาโทมนัส อันบังเกิดแก่โยคีบุคคลผู้เสื่อมจากฌาน ย่อมมีความโทมนัส เสียใจ

ฌานังคะทั้ง ๗ นี้ เกิดร่วมกันได้เป็นอย่างมากก็เพียง ๕ เท่านั้น เพราะ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ทั้ง ๓ นี้เป็นเวทนาเจตสิกด้วยกัน จึงเกิดร่วมกันไม่ได้ ดังนั้น ปฐมฌานซึ่งเป็นฌานที่มีองค์ฌานประกอบมากที่สุด ก็มีประกอบเพียง ๕ องค์ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เท่านั้น

สุข ในองค์ฌานนี้ หมายถึง สุขใจ คือ โสมนัสเวทนา เพราะการเจริญ สมถภาวนานั้น เจริญได้เฉพาะทางมโนทวารทางเดียว ไม่ใช่ทางกาย

อนึ่ง องค์ฌานทั้ง ๕ นั้น วิตกเจตสิก องค์เดียวเป็นปัจจัยอันสำคัญขององค์ ฌานทั้งหลาย เจตสิกอีก ๔ จะมีกำลังจัดเป็นองค์ฌานได้นั้น ก็เพราะได้อาศัยมา จากวิตก อันเป็นปัจจัยพิเศษเป็นมูลเดิมมาก่อนแล้วแต่ตอนต้น ถ้าจิตใดไม่ได้ปัจจัย ไปจากวิตก หรือจิตที่ไม่สามารถจะมีวิตกประกอบได้แล้วไซร้ จิตนั้นก็ไม่นับว่า ประกอบด้วยองค์ฌาน ถึงแม้ว่าเจตสิกอื่นที่เป็นองค์ฌานได้ จะประกอบอยู่ในจิตนั้น ด้วยก็ตาม เจตสิกเหล่านั้นก็ไม่นับว่าเป็นองค์ฌาน

เจตสิกที่นับว่าเป็นองค์ฌานได้นั้น ต้องเป็นเจตสิกที่ประกอบในจิต ๗๙ ดวง หรือ ๑๑๑ ดวง เว้นทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ เพราะทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ นี้ ไม่ ประกอบด้วยวิตกเจตสิก ดังมีข้อสังเกตดังนี้

- ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ย่อมไม่ได้ฌานังคะ ๗

- ในอเหตุกจิต ๑๘ ย่อมไม่ได้มัคคังคะ ๑๒

เอกัคคตาเจตสิกในอวีริยจิต ๑๖ ย่อมไม่ถึงซึ่ง สมาธินทรีย และสมาธิพละ เอกัคคตาเจตสิกในวิจิกิจฉาสหคตจิต ย่อมไม่ถึงซึ่งมิจฉาสมาธิมัคคังคะ สมาธินทรีย และสมาธิพละ

ดังนี้ ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ซึ่งเป็นจิตที่ไม่มีวิตกเจตสิก (อันเป็นปัจจัยที่ สำคัญยิ่งขององค์ฌานทั้งหลาย) ประกอบอยู่ด้วย จึงไม่นับว่าจิตนั้นประกอบด้วย องค์ฌาน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร