วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ก.ย. 2011, 21:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 14:17
โพสต์: 260

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แสงธรรม14 เขียน:
คล้ายๆกันครับ แต่ต่างกันที่สถานะและสถานที่ เหมือนคนสองคน อีกคนหนึ่งเรียนอยู่ชั้นม.6ส่วนอีกคนเรียนอยู่ปี4แต่ถึงอย่างไรทั้งสองก็เรียนหนังเหมือนกัน อนัตตาก็เหมือนกับคนที่เรียนอยู่ชั้มม.6ส่วนสุญญตาก็เหมือนกับคนที่เรียนอยู่ปี4 :b32: :b32: :b13: :b13: :b22: :b22:


เจ้าข้าเอ๊ย...ทางนี้จ้า มาช่วยกันจับไก่หน่อยเร๊ววว ไก่ฝูงเบ่อเร่อเลยจ๊า


ฮากลิ้ง ได้อีกนะเจ๊าข๊ะ กิ๊วๆ :b28: :b32: :b32:

.....................................................
สิ่งใดในโลกล้วน อนิจจัง คงแต่บาปบุญยัง เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง ตรึงแน่ อยู่นา ตามแต่บุญบาปแล้ ก่อเกื้อ รักษา

รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2012, 14:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


สูญญตาคือสภาวะนิพพาน อัตตาคือปัญญาสูงสุดเพื่อละอวิชชา (ความโง่อย่างละเอียด)

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2012, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


Joyly เขียน:
สงสัยว่า สุญญตา มีความหมายเดียวกัย อนัตตา หรือเปล่าคะ? :b8:
มันล่อแหลมนะคำนี้ อัตตา เช่นเรามองเห็นผู้หญิงเราเรียกว่าผู้หญิง แต่คนอเมริกันเรียกว่า woman คนญี่ปุ่นเรียกว่าออนนา แต่ละประเทศก็เรียกแตกต่างกัน เพราะสมมุตติบัญญัติ แต่ถ้าแยกผู้หญิงคนนั้นเป็น ขันต์5ธาตุ4 อาตายนะ6 อย่างนี้เรียกว่าอนัตตา ส่วนสูญญตาพระพุทธองค์แสดงว่า นิพพานนังปรมัง สูญญัง อันนี้ไม่มีใครสามารถอธิบายได้นอกจากคนที่ได้ประจักษ์นิพพานเท่านั้น

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ต.ค. 2012, 06:17 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ
http://abhidhamonline.org/aphi/p0/start.html

อนัตตลักษณะ ๕
http://abhidhamonline.org/aphi/p9/072.htm

๑. อนตฺตโต ไม่ใช่ตัวตน ๒. ปรโต ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งอื่น

๓. ริตฺตโต ว่างเปล่าจากตัวเรา ๔. ตุจฺฉโต ว่างเปล่าจากแก่นสาร

๕. สุญฺญโต ว่างเปล่าจากสัตว์จากบุคคล

รวม ๕ ประการ ๕ ขันธ์ ก็เป็น ๒๕

รวมทั้งหมดเป็น ๔๐ ประการ ๕ ขันธ์ ก็เป็น ๒๐๐

ไตรลักษณ์นี้เป็นลักษณะสามัญหรืออาการตามปกติตามธรรมดาของรูปนามที่เป็นสังขาร ดังนั้นก่อนที่จะเห็นไตรลักษณ์ จะต้องรู้จักรูปธรรมและนามธรรมเสียก่อน เพราะรูปธรรมนามธรรมนี่แหละเป็นสิ่งเริ่มต้นแห่งการเจริญวิปัสสนากัมมัฏ ฐาน รูปนามที่เป็นกัมมัฏฐานในการเจริญวิปัสสนานั้น เมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้ว เรียกว่า วิปัสสนาภูมิ คือ พื้นเพในการเจริญวิปัสสนาภาวนา

=====================
http://larndham.org/index.php?showtopic ... t&p=121860

อ้างคำพูด:
คุณสมบัติแรกของอนัตตา คือ สุญฺญโต เพราะเป็นสภาพที่ว่างเปล่าปราศจากตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกน(อัตตสาระ = คือตัวตน) , ว่างจากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาที่แท้จริง ไม่มีตัวผู้สิงสู่อยู่ครอง ไม่มีตัวตนผู้สร้างบันดาล ไม่มีตัวผู้เสวยนอกเหนือจากกระบวนธรรมแห่งองค์ประกอบทั้งหลายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย

คุณสมบัติที่สองของอนัตตา คือ อสฺสามิกโต เพราะเป็นสภาพที่ไร้เจ้าของ คือไม่มีตัวตนของใคร และไม่เป็นของตัวตนใดๆ ไม่มีตั้วตนอยู่ต่างหาก ที่จะเป็นเจ้าของครอบครองสังขารธรรมทั้งหลาย มันเป็นแต่เพียงกระบวนธรรมเองล้วนๆ เป็นไปโดยลำพังตามเหตุปัจจัย

คุณสมบัติที่สามของอนัตตา คือ อวสวตฺตนโต เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ คือ ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่ขึ้นต่อผู้ใด ไม่มีใครมีอำนาจบังคับมันจะเรียกร้องหรือปรารถนาให้มันเป็นอย่างใดๆก็ไม่ได้ เช่นว่า สั่งว่าอย่าโทรมก็ไม่ได้ สั่งให้ตั้งอยู่ตลอดก็ไม่ได้ ฯลฯ นอกจากทำตามเหตุปัจจัย

คุณสมบัติที่สี่ของอนัตตา คือ อตฺตปฏิกฺเขปโต เพราะแย้งต่ออัตตา คือ โดยสภาวะของมันเองก็ปฏิเสธอัตตาอยู่ในตัว หมายความว่า ความเป็นกระบวนธรรม คือการที่องค์ประกอบทั้งหลายสัมพันธ์กันดำเนินไปโดยความเป็นเหตุปัจจัยนั้นเอง เป็นการปฏิเสธอยู่ในตัวว่า ไม่มีตัวตนต่างหากที่ซ้อนอยู่ที่จะมาแทรงแซงบงการ หรือแม้แต่ขวางขืนความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

คัดลอก มาจากหนังสือ พุทธธรรม บทที่๑

เทียบดู
อรรถกถาวิภังค์ปกรณ์
อรรถกถามัชฺฌิมนิกาย
คัมภีร์วิสุทธิมรรค ปริเฉทที่๓ จะเห็นนัยเดียวกันนี้เหมือนกัน

=========================
--------------------------------------------------

ดังนั้น อนัตตา กับ สุญญตา นั้นไม่เหมือกัน
สุญญตาเป็นคุณสมบัติหนึ่งของอนัตตาเท่านั้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร