ลานธรรมจักร
http://dhammajak.net/forums/

อธิบายศัพท์ธรรมะ 3
http://dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=37758
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  หัสพล พวงแก้ว [ 13 เม.ย. 2011, 14:54 ]
หัวข้อกระทู้:  อธิบายศัพท์ธรรมะ 3

ขออนุญาตอธิบายศัพท์ธรรมะครับ เพราะเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านที่เป็นสมาชิกในลานธรรมจักรแห่งนี้และก็รวมถึงผู้ที่เป็นบุคคลทั่วไปที่เปิดเข้ามาอ่านด้วยจะได้รู้ความหมายของคำจากธรรมะมากขึ้น เพื่อเวลาได้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์จะได้มีความเข้าใจมากขึ้นครับ

รูป 3 คำว่ารูป ในภาษาธรรมะมีความหมายได้ 3 นัย
1. รูปารมณ์ อารมณ์คือรูป ก็คือสิ่งที่มองได้ด้วยตา นั่นคือ รูปารมณ์ อารมณ์คือรูปอันจะรับสัมผัสได้ด้วยตา
2. รูปขันธ์ หมายถึงขันธ์ คือ ร่างกาย
3. รูปธรรม คือ สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ส่วนนามธรรมคือสิ่งที่ต้องสัมผัสได้ด้วยใจเท่านั้น
ฉะนั้น เมื่อเห็นคำว่ารูปในหนังสือธรรมะ พึงเทียบเคียงว่าเป็นความหมายอันใดแน่

เวทนา 3
1. สุขเวทนา เวทนาคือความสุข
2. ทุกขเวทนา เวทนาคือความทุกข์
3. อุเบกขาเวทนาวทนาคือความไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉย ๆ
เวทนาทั้ง 3 เมื่อแจงให้ละเอียดลงไปอีก ได้เป็นเวทนา 5 คือ
1. สุขเวทนา เวทนาคือความสุข
2. โสมนัสเวทนา คือ ความสุขใจ
3. ทุกขเวทนา คือ ความทุกข์กาย
4. โทมนัสเวทนา คือ ความทุกข์ใจ
5. อุเบกขาเวทนา คือ ความไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉย ๆ

เวทนา 6 เวทนา สุข ทุกข์ อุเบกขา ที่แยกเกิดตามทวารทั้ง 6 คือ
1. เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางตาเห็นรูป เรียกว่า จักษุสัมผัสสชาเวทนา
2. เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางหูได้ยิน เรียกว่า โสตสัมผัสสชาเวทนา
3. เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางจมูกได้กลิ่น เรียกว่า ฆานสัมผัสสชาเวทนา
4. เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางลิ้นรับรส เรียกว่า ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
5. เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางกายถูกโผฏฐัพพะ เรียกว่า กายสัมผัสสชาเวทนา
6. เวทนาที่เกิดจากการสัมผัสทางใจรับธัมมารมณ์ เรียกว่า มโนสัมผัสสชาเวทนา

สังขาร คำว่า สังขารในภาษาธรรมะ มีความหมายได้หลายนัย โดยรากศัพท์เดิม แปลว่า การประกอบปรุงแต่ง ซึ่งนำมาใช้เรียกได้หลายนัย เช่น
1. หมายถึงร่างกายก็ได้ คือเป็นการปรุงแต่งของรูปนาม ดิน น้ำ ไฟ ลม ออกมาเป็นร่างกายสังขาร
2. หมายถึงการปรุงแต่งจิตก็ได้ เช่น สังขารขันธ์ หนึ่งในขันธ์ 5 หมายถึงการปรุงแต่งของจิต
สังขารในปฏิจจสมุปบาท ก็หมายถึงการปรุงแต่งของจิต
3. หมายถึงสิ่งปรุงแต่งทั้งปวง ทั้งรูปธรรม นามธรรม ก็ได้ เช่นคำว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง
หมายถึงทั้งรูปธรรม นามธรรม ทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เที่ยง ซึ่งยกเว้นนิพพาน เพราะนิพพานไม่ใช่สังขาร
เนื่องจากคำว่าสังขารมีความหมายได้หลายนัยข้างต้น ฉะนั้นเมื่อเราเห็นคำว่าสังขารในหนังสือธรรมะ พึงเทียบเคียงว่าเป็นความหมายใดกันแน่

กิเลส 3
1. ราคะ ความรัก หรือ โลภะ ความโลภ (ในภาษาธรรมะ ความรักกับความโลภคือตัวเดียวกัน)
2. โทสะ ความโกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ
3. โมหะ ความหลง ไม่รู้จริง

ตัณหา 3 คือความอยากมี 3 อย่าง
1. กามตัณหา ความอยากให้มา
2. ภวตัณหา ความอยากให้อยู่
3. วิภวตัณหา ความอยากให้ไป

ไตรลักษณ์ ลักษณะ 3 ของสรรพสิ่ง คือ สิ่งทั้งหลายย่อมมี 3 ลักษณะคือ
1. อนิจจัง ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน
2. ทุกขัง เป็นทุกข์ ทนได้ยาก ทนได้ลำบาก เดื่อดร้อน
3. อนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ฝืนความปรารถนา ว่าไม่ฟัง :b42:

จากหนังสือ สันติรำลึก
โดย หลวงพ่อชุมพล พลปญฺโญ

เจ้าของ:  สาวิกาน้อย [ 13 เม.ย. 2011, 15:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายศัพท์ธรรมะ 3

:b8: :b8: :b8: :b20:

เจ้าของ:  สุดปลายฟ้า [ 13 เม.ย. 2011, 16:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายศัพท์ธรรมะ 3

tongue :b8: :b8: :b8: :b20: ดีมีสาระ ความรู้ และประโยชน์มากมายค่ะ ขอบคุณนะคะกัสิ่งดี ๆ ที่นำมาฝากค่ะ tongue

ไฟล์แนป:
33.bmp
33.bmp [ 31.26 KiB | เปิดดู 3873 ครั้ง ]

เจ้าของ:  ฐิติชญา หิรัญศุภโชติ [ 31 ส.ค. 2011, 13:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: อธิบายศัพท์ธรรมะ 3

ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะ มีอยู่
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเป็นธรรมดา

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/