วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


สังโยชน ๑๐

สํโยเชนฺติ พนฺธนฺตีติ สํโยชนานิ ฯ ธรรมเหล่าใดย่อมผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า สังโยชน

ทูรคตสฺสาปี อากฑฺฒนโต นิสฺสริตํ อปฺปทานวเสน พนฺธนํ สํโยชนํ ฯ การผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏทุกข์ ด้วยอำนาจไม่ให้ออกไปจากทุกข์ในวัฏฏะ โดยเหตุ ที่คร่าหรือดึงสัตว์ที่อยู่ในที่ไกลให้ลงมา นั้นชื่อว่า สังโยชน

สัตว์ทั้งหลายที่ถูกเชือก คือ สังโยชน ผูกคอไว้ในกามคุณทั้ง ๕ ซึ่งเปรียบ ด้วยเรือนจำ จึงไม่สามารถที่จะไปไหนได้เลย

สังโยชน หรือ สัญโญชน มี ๒ นัย คือ ตามนัยแห่งพระอภิธรรมและ ตามนัยแห่งพระสูตร ต่างก็มีจำนวนนัยละ ๑๐ ประการเท่ากัน เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ดังต่อไปนี้

สังโยชนตามนัยแห่งพระอภิธรรม
๑. กามราคสังโยชน โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. ภวราคสังโยชน โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๓. ปฏิฆสังโยชน โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๔. มานสังโยชน มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๕. ทิฏฐิสังโยชน ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๖. สีลัพพตปรามาสสังโยชน ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๗. วิจิกิจฉาสังโยชน วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต
๘. อิสสาสังโยชน อิสสาเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๙. มัจฉริยสังโยชน มัจฉริยเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๑๐. อวิชชาสังโยชน โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

สังโยชนตามนัยแห่งพระสูตร
๑. กามราคสังโยชน โลภเจตสิกที่ในโลภมูลจิต ๘
๒. รูปราคสังโยชน โลภเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๓. อรูปราคสังโยชน โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๔. ปฏิฆสังโยชน โทสเจตสิกที่ในโทสมูลจิต ๒
๕. มานสังโยชน มานเจตสิกที่ในทิฏฐิวิปปยุตต ๔
๖. ทิฏฐิสังโยชน ทิฏฐิเจตสิกในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๗. สีลัพพตปรามาสสังโยชน ทิฏฐิเจตสิกที่ในทิฏฐิสัมปยุตต ๔
๘. วิจิกิจฉาสังโยชน วิจิกิจฉาเจตสิกที่ในวิจิกิจฉาจิต
๙. อุทธัจจสังโยชน อุทธัจจเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒
๑๐. อวิชชาสังโยชน โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมสังโยชนตามนัยแห่งพระอภิธรรม มีองค์ธรรม ๘ คือ
-โลภเจตสิก
-โทสเจตสิก
-มานเจตสิก
-ทิฏฐิเจตสิก
-วิจิกิจฉาเจตสิก
-อิสสาเจตสิก
-มัจฉริยเจตสิก และ
-โมหเจตสิก

รวมสังโยชนตามนัยแห่งพระสูตร นั้นมี องค์ธรรมเพียง ๗ คือ
-โลภเจตสิก
-โทสเจตสิก
-มานเจตสิก
-ทิฏฐิเจตสิก
-วิจิกิจฉาเจตสิก
-อุทธัจจเจตสิก และ
-โมหเจตสิก

เมื่อรวมองค์ธรรมของสังโยชน ตามนัยแห่งพระอภิธรรม และตามนัยแห่ง พระสูตรเข้าด้วยกันแล้ว ก็ได้องค์ธรรม ๙ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก มานเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก อุทธัจจเจตสิก และ โมหเจตสิก

ดังนั้นจึงกล่าวว่า สังโยชน มี ๑๐ ประการ รวมมีองค์ธรรม ๙

สังโยชนนี้ ยังจำแนกได้เป็น ๒ จำพวก คือ โอรัมภาคิยสังโยชน และ อุทธังภาคิยสังโยชน

โอรัมภาคิยสังโยชน หมายความว่า สังโยชนอันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องต่ำ

อุทธังภาคิยสังโยชน หมายความว่า สังโยชนอันเป็นกิเลสธรรมมีส่วนในเบื้องสูง

ตามนัยแห่งพระอภิธรรม
โอรัมภาคิยสังโยชน ๗
    กามราคะ
    ปฏิฆะ
    ทิฏฐิ
    สีลัพพตปรามาส
    วิจิกิจฉา
    อิสสา
    มัจฉริยะ
อุทธังภาคิยสังโยชน ๓
    ภวราคะ
    มานะ
    อวิชชา

ตามนัยแห่งพระสูตร
โอรัมภาคิยสังโยชน ๕
    กามราคะ
    ปฏิฆะ
    ทิฏฐิ
    สีลัพพตปรามาส
    วิจิกิจฉา
อุทธังภาคิยสังโยชน ๕
    รูปราคะ
    อรูปราคะ
    มานะ
    อุทธัจจะ
    อวิชชา

การประหารสังโยชนโดยลำดับแห่งกิเลส คือ ตามลำดับแห่งสังโยชนนั้น สังโยชนใดพึงประหารโดยอริยมัคคใด ดังต่อไปนี้

กิเลสปฏิปาฏิยา กามราคปฏิฆสํโยชนานิ อานาคามิมคฺเคน ปหียนฺติ มาน สํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน, ทิฏฺฐิวิจิกิจฺฉา สีลพฺพตปรามาสา โสตาปตฺติมคฺเคน, ภวราคสํโยชนํ อรหตฺตมคฺเคน, อิสฺสามจฺฉริยานิ โสตาปตฺติมคฺเคน, อวิชฺชา อรหตฺตมคฺเคนฯ

    กามราคสังโยชน พึงประหารโดย อนาคามิมัคค

    ปฏิฆสังโยชน มานสังโยชน พึงประหารโดย อรหัตตมัคค

    ทิฏฐิสังโยชน วิจิกิจฉาสังโยชน สีลัพพตปรามาสสังโยชน พึงประหารโดย โสดาปัตติมัคค

    ภวราคสังโยชน พึงประหารโดย อรหัตตมัคค

    อิสสาสังโยชน มัจฉริยสังโยชน พึงประหารโดย โสดาปัตติมัคค

    อวิชชาสังโยชน พึงประหารโดย อรหัตตมัคค

ที่กล่าวมานี้ เป็นการแสดงการประหารสังโยชน ๑๐ ตามนัยแห่งพระอภิธรรม ส่วนการประหารสังโยชน ๑๐ ตามนัยแห่งพระสูตรนั้น ดังนี้

    โสดาปัตติมัคค ประหาร ทิฏฐิสังโยชน สีลัพพตปรามาสสังโยชน วิจิกิจฉาสังโยชน

    อนาคามิมัคค ประหาร กามราคสังโยชน ปฏิฆสังโยชน

    อรหัตตมัคค ประหาร รูปราคสังโยชน อรูปราคสังโยชน มานสังโยชน อุทธัจจสังโยชน อวิชชาสังโยชน

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 14:15 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2011, 09:53
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาได้ทบทวนบทเรียนอีกครั้งขอบคุณค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร