วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 14:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2011, 00:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 23:17
โพสต์: 257

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประเภทธรรมะ
ชื่อเล่น: หยุย
อายุ: 0
ที่อยู่: ห้วยขวาง

 ข้อมูลส่วนตัว


ขออนุญาตอธิบายศัพท์ธรรมะครับ เพราะเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับท่านที่เป็นสมาชิกในลานธรรมจักรแห่งนี้และก็รวมถึงผู้ที่เป็นบุคคลทั่วไปที่เปิดเข้ามาอ่านด้วยจะได้รู้ความหมายของคำจากธรรมะมากขึ้น เพื่อเวลาได้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์จะได้มีความเข้าใจมากขึ้นครับ

สติปัฎฐาน 4

ทางเอกที่จะนำไปสู่มรรคผลนิพพานมี 4 ฐาน
1. กายานุปัสสนา สติปัฎฐาน พิจารณากายในกาย ดูร่างกาย คือ ดูลมหายใจ , ดูการเคลื่อนไหวของร่างกาย , ดูอิริยาบถ , ดูร่างกายเป็นปฏิกูล , ดูร่างกายเป็นธาตุ 4 , ดูรา่งกายเป็นซากศพ
2. เวทนานุปัสสนา สติปัฎฐาน พิจารณาเวทนาในเวทนา ดูจิต คือ ดูการเสวยอารมณ์ คือ ให้รู้ว่ากำลังมัสุข , ทุกข์
ไม่สุขไม่ทุกข์ , ดูว่าอารมณ์อิงอามิสอยู่หรือไม่
3. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน พิจารณาจิตในจิต ดูจิต คือ รู้ว่าจิตมีราคะ , ไม่มีราคะ , รู้ว่าจิตมีโทสะ , ไม่มีโทสะ , รู้ว่าจิตมีความหลง , ไม่มีความหลง (โมหะ) รู้ว่าจิตหดหู่ , รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน , รู้ว่าจิตมีอารมณ์ใหญ่ , ไม่มีอารมณ์ใหญ่ , รู้ว่าจิตมีอารมณ์เยี่ยมกว่า(ในทางธรรม), ไม่มีอารมณ์เยี่ยมกว่า , รู้ว่าจิตตั้งมั่น , จิตไม่ตั้งมั่น , รู้ว่าจิตหลุดพ้น , ไม่หลุดพ้น
4. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน พิจารณาธรรมในธรรม ดูสภาวะธรรมคือ ดูนิวรณ์ 5 , ดูขันธ์ 5 , ดูการกระทบกันของอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) และอายตนะภายนอก (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธัมมารมณ์) ระลึกถึงโพชฌงค์ 7 (สติ-ความระลึกได้ , ธัมมวิจยะ-การวินิจฉัยธรรม , วิริยะ-ความเพียร , ปีติ-ความอิ่มใจ , ปัสสัทธิ-ความสงบ , สมาธิ-จิตตั้งมั่น , อุเบกขา-ความวางเฉย) พิจารณาอริยสัจ 4 (ทุกขสัจ , สมุทัยสัจ=ตัณหา , นิโรธสัจ , มรรคสัจ=ศีล สมาธิ ปัญญา)

สัมมัปปธาน 4

องค์แห่งความเพียร 4 อย่าง เพื่อความเจริญแห่งมรรคผล
1. สังวรปธาน เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น
2. ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ให้สิ้นไป
3. ภาวนาปธาน เพียรเจริญกุศลที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
4. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป

อิทธิบาท 4

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกิจการทั้งปวง ทั้งทางโลกและทางธรรม
1. ฉันทะ มีความพอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น
2. วิริยะ มีความเพียร ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
3. จิตตะ เอาใจฝักใผ่จดจ่อไม่ทอดธุระ
4. วิมังสา พิจารณาตริตรองหาข้อดีข้อเสียเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้นอยู่เสมอ

จากหนังสือ สันติรำลึก
โดย หลวงพ่อชุมพล พลปญฺโญ

.....................................................
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ

พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น

ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร