วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ ที่เกี่ยวแก่อุปาทาน

ในบท อุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วก็เป็นไปได้ ด้วยอำนาจแห่งปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

ก. กามุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพ ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัย คือ

๑. เหตุปัจจัย
๒. สหชาตปัจจัย
๓. อัญญมัญญปัจจัย
๔. นิสสยปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย

ข. ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และอัตตวาทุปาทาน เป็นปัจจัยแก่ภพ ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๗ ปัจจัยตามสมควร คือ

๑. สหชาตปัจจัย
๒. อัญญมัญญปัจจัย
๓. นิสสยปัจจัย
๔. มัคคปัจจัย
๕. สัมปยุตตปัจจัย
๖. อัตถิปัจจัย
๗. อวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๑๐ ภพ

ภพ เป็นปัจจัยแก่ชาติ คือ ชาติจะปรากฏเกิดมีขึ้นมาได้ เพราะมีภพเป็น ปัจจัย ภพมีลักขณาทิจตุกะดังนี้

ลักขณาทิจตุกะของกัมมภพ

กมฺม ลกฺขโณ -> มีความเป็นกรรม เป็นลักษณะ

ภาวน รโส -> มีการทำให้เกิด เป็นกิจ

กุสลากุสล ปจฺจุปฏฺฐาโน -> มีความเป็นกุสล อกุสล เป็นอาการปรากฏ

อุปาทาน ปทฏฺฐาโน -> มีอุปาทาน เป็นเหตุใกล้


ลักขณาทิจตุกะของอุปปัตติภพ

กมฺมผล ลกฺขโณ -> มีความเป็นผลของกรรม เป็นลักษณะ

ภวน รโส -> มีการเกิดขึ้น เป็นกิจ

อพฺยากต ปจฺจุปฏฺฐาโน -> มีความเป็นอพยากตธรรม เป็นอาการปรากฏ

อุปาทาน ปทฏฺฐาโน -> มีอุปาทาน เป็นเหตุใกล้

ในบทก่อน ภพที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของอุปาทานนั้น ได้แก่ ภพทั้ง ๒ คือ ทั้งกัมมภพและอุปปัตติภพ

ในบทนี้ ภพที่เป็นปัจจัยแก่ชาตินั้น ได้แก่กัมมภพแต่อย่างเดียวเท่านั้น เพราะ กัมมภพเป็นผู้ปรุงแต่งให้ปรากฏอุปปัตติภพคือชาติขึ้น อุปปัตติภพคือชาตินั้นเป็นแต่ เพียงผลที่ปรากฏขึ้นโดยอาศัยกัมมภพ ดังที่ได้กล่าวแล้วในบทก่อน

ชาติ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของภพนั้น ได้แก่ การเกิดขึ้นในภพใหม่ เป็น ครั้งแรกของโลกียวิปากวิญญาณ เจตสิกและกัมมชรูป นี่ก็คืออุปปัตติภพใน ๓๑ ภูมิ โดยมีขันธ์ ๕ หรือขันธ์ ๔ หรือขันธ์ ๑ ดังมีวจนัตถะ ว่า

ชนนํ ชาติ การเกิดขึ้นของขันธ์ ชื่อว่า ชาติ

ชายนฺติ ปาตุภวนฺติ ธมฺมา เอตายาติ ชาติ สังขารธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เกิดขึ้น โดยอาศัยธรรมชาติใด ธรรมชาติที่เป็นเหตุแห่งการปรากฏขึ้นของสังขาร ธรรมนั้นชื่อว่า ชาติ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


กล่าวโดยรูป นาม แล้ว ชาติก็มี ๒ คือ นามชาติ เป็นการเกิดขึ้นของ วิบาก นามขันธ์ ๔ และรูปชาติ เป็นการเกิดขึ้นของกัมมชรูป

กล่าวโดยกาล ชาติก็มี ๓ คือ

ก. ปฏิสนธิชาติ ได้แก่ ปฏิสนธิจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่ปรากฏ เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล หมายถึง การเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่ของสัตว์ทั้งหลาย ที่ตายจากภพเก่า

ข. สันตติชาติ ได้แก่ การสืบต่อของจิต เจตสิก รูปทั้งหมดในปวัตติกาล หมายถึงว่านามและรูปของสัตว์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นจากปฏิสนธิกาลเป็นต้นมาจนกระทั่ง ตลอดชีวิต

ค. ขณิกชาติ ได้แก่ การเกิดขึ้นขณะหนึ่ง ๆ ของ จิต เจตสิก รูปทั้งหมดซึ่ง จิตและเจตสิก มี ๓ อนุขณะ รูปมี ๕๑ อนุขณะ

แต่ว่าชาติในบทนี้ หมายเฉพาะปฏิสนธิชาติ ข้อ ก. อย่างเดียวเท่านั้น

ตามที่กล่าวมานี้ สรุปแล้วได้ความว่า ชาตินั้นคือ อุปปัตติภพ ซึ่งจะปรากฏ เกิดขึ้นได้ก็เพราะมีกัมมภพเป็นปัจจัย ถ้าไม่มีกัมมภพเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแล้ว อุปปัตติภพ คือชาติ ก็จะปรากฏขึ้นไม่ได้

ภพ ซึ่งหมายเฉพาะอุปปัตติภพนั้น จำแนกได้เป็น ๙ ภพ คือ จำแนกโดยภูมิ เป็น ๓ ภพ จำแนกโดยขันธ์เป็น ๓ ภพและจำแนกโดยสัญญาเป็น ๓ ภพ เหมือน กัน มีรายละเอียดดังนี้

จำแนกโดยภูมิ เป็น ๓ ภพ คือ

๑. กามภพ คือสัตว์ที่เกิดในกามภูมิ มี ๑๑ ภูมิ

๒. รูปภพ คือสัตว์ที่เกิดในรูปภูมิ มี ๑๖ ภูมิ

๓. อรูปภพ คือสัตว์ที่เกิดในอรูปภูมิ มี ๔ ภูมิ

จำแนกโดยขันธ์ เป็น ๓ ภพ คือ

๔. ปัญจโวการภพ คือสัตว์ที่เกิดมาโดยมีขันธ์ครบทั้ง ๕ ขันธ์ ได้แก่ สัตว์ ในกามภูมิ ๑๑ และในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตต)

๕. จตุโวการภพ คือสัตว์ที่เกิดมาโดยมีขันธ์ ๔ ขันธ์ (เว้นรูปขันธ์) ได้แก่ สัตว์ใน อรูปภูมิ ๔ ภูมิ

๖. เอกโวการภพ คือสัตว์ที่เกิดมาโดยมีรูปขันธ์เพียงขันธ์เดียว ได้แก่ สัตว์ใน อสัญญสัตตภูมิ ๑

จำแนกโดยสัญญา เป็น ๓ ภพ คือ

๗. สัญญีภพ คือสัตว์ที่มีนามขันธ์ หมายถึงว่า สัตว์นั้นมีจิตและเจตสิก ได้แก่ สัตว์ในกามภูมิ ๑๑, ในรูปภูมิ ๑๕ (เว้นอสัญญสัตต) และในอรูปภูมิ ๓ (เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ)

๘. อสัญญีภพ คือ สัตว์ที่ไม่มีนามขันธ์ หมายถึงว่า สัตว์นั้นไม่มีจิต และ เจตสิก ได้แก่สัตว์ในอสัญญสัตตภูมิ ๑ ภูมิ

๙. เนวสัญญีนาสัญญีภพ คือสัตว์ที่ไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาที่ละเอียด อ่อนเหลือเกิน จนเกือบจะไม่รู้สึกว่ามี หมายถึงว่าเป็นสัตว์ที่จะนับว่าไม่มีนามขันธ์ ก็ไม่ใช่ จะว่ามีนามขันธ์ก็ไม่เชิง ได้แก่ สัตว์ในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ ๑ ภูมิ

ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ภพ

ในบท ภพเป็นปัจจัยแก่ชาตินี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็เป็นไปได้ด้วย อำนาจแห่งปัจจัย ๒ ปัจจัยเท่านั้น คือ อุปนิสสยปัจจัย กับ กัมมปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๑๑ ชาติ

ชาติ เป็นปัจจัยแก่ ชรามรณะ คือ ชรามรณะจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็เพราะ มีชาติเป็นปัจจัย ชาติมีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ตตฺถ ตตฺถ ภเว ปฐมาภินิพฺพตฺติ ลกฺขณา -> มีการเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพนั้น ๆ เป็นลักษณะ

นิยฺยาตน รสา -> มีการเป็นไปคล้ายกับว่ามอบขันธ์ ๕ ที่มีขอบเขต ในภพหนึ่ง ๆ ให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นกิจ

อติตฺตภวโต อิธ อุมฺมชฺชน ปจฺจุปฏฺฐานา -> มีการผุดขึ้นในภพนี้จากภพก่อน เป็นอาการปรากฏ

(วา)ทุกฺขวิจิตฺตตฺตา ปจฺจุปฏฺฐานา -> (หรือ)มีสภาพที่เต็มไปด้วยทุกข์ เป็นผลปรากฏ

อุปจิต นามรูป ปทฏฺฐานา -> มี รูป นาม ที่เกิดขึ้นครั้งแรก เป็นเหตุใกล้

ในบทก่อน ชาติที่เป็นปัจจยุบบันนธรรมของภพนั้น ได้แก่ ปฏิสนธิชาติ คือ ปฏิสนธิจิต ๑๙ เจตสิก ๓๕ และกัมมชรูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล หรือรวมเรียก สั้น ๆ ว่า วิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป

ในบทนี้ ชาติที่เป็นปัจจัยแก่ชรามรณะนั้น ก็ได้แก่ วิบากนามขันธ์ ๔ และ กัมมชรูป เหมือนกันนั่นเอง

ชรา อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น ได้แก่ความเก่าแก่เสื่อมโทรมของ วิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป หมายความว่า เมื่อวิบากนามขันธ์ ๔ และ กัมมชรูปเหล่านี้ปรากฏเกิดขึ้นเป็นชาติแล้ว ย่อมมีขณะที่ตั้งอยู่ ซึ่งเรียกว่า ฐีติขณะ ฐีติขณะของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป นี่แหละที่เรียกว่า ชรา

มรณะ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น ได้แก่อาการที่กำลังดับไปของ วิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป หมายความว่า เมื่อวิบากนามขันธ์ ๔ และ กัมมชรูปเหล่านี้ปรากฏเกิดขึ้นเป็นชาติแล้ว ก็ตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ฐีติขณะ ต่อจากนั้นย่อมมีขณะที่ดับไป ซึ่งเรียกว่าภังคขณะ ภังคขณะของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูปนี่แหละที่เรียกว่า มรณะ

กล่าวอีกนัยหนึ่งตามธรรมดาสามัญก็ว่า นับแต่ที่สัตว์เกิดมาจนกระทั่งถึงตาย เรียกว่า ชรา ขณะที่กำลังตาย เรียกว่า มรณะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อายุของมนุษย์ในสมัยพุทธกาล ตามปกติธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป ก็ประมาณ ๑๐๐ ปี คือมีความชราอยู่ ๑๐๐ ปี ใน ๑๐๐ ปีนี้จัดเป็น ๑๐ วัย หรือ ๑๐ ระยะ ระยะละ ๑๐ ปี ดังนี้

๑. มันททสกะ วัยอ่อน นับแต่แรกเกิดถึง ๑๐ ขวบ ยังเป็นทารกอยู่ เพิ่ง สอนนั่ง สอนยืน สอนเดิน สอนพูด เล่นดิน กินฝุ่นไปตามประสาทารก

๒. ขิฑฑาทสกะ วัยสนุก นับแต่อายุ ๑๐ ปี ถึง ๒๐ ปี ชอบสนุกเฮฮา ร่าเริง สนุกที่ไหนไปที่นั่น กำลังกินกำลังนอน กินมาก นอนมาก เล่นมาก

๓. วัณณทสก วัยงาม นับแต่อายุ ๒๐ ปี ถึง ๓๐ ปี กำลังหนุ่ม กำลังสาว รักสวยรักงาม ยินดีอยู่กับอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี เพลิดเพลินอยู่กับ อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความเพลิดเพลิน ไม่นึกถึงความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง

๔. พลทสกะ วัยมีกำลัง นับแต่อายุ ๓๐ ปี ถึง ๔๐ ปี กำลังเข้มแข็งและ ขันแข็งในการงานที่จะตั้งเนื้อตั้งตัวให้เป็นหลักฐาน คิดถึงการงานมากกว่าความ สนุกสนานเพลิดเพลิน

๕. ปัญญาทสกะ วัยมีปัญญา นับแต่อายุ ๔๐ ปี ถึง ๕๐ ปี มีสติรอบคอบ กำลังมีปัญญาเฉียบแหลม รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักคุณ รู้จักโทษ

๖. หานิทสกะ วัยเสื่อม นับแต่อายุ ๕๐ ปีถึง ๖๐ ปี ทั้งกำลังกายและกำลัง ปัญญาความคิด เริ่มลดน้อยถอยลง เสื่อมลง อ่อนทั้งแรง อ่อนทั้งใจ

๗. ปัพภารมสกะ วัยชรา นับแต่อายุ ๖๐ ปี ถึง ๗๐ ปี ร่วงโรยมากเข้า ตาก็มักจะฝ้าฟางไม่ใคร่เห็น หูก็ชักจะตึงจะหนวกไม่ใคร่ได้ยิน ความจำก็เริ่มจะผิด ๆ พลาด ๆ ไปบ้างแล้ว

๘. วังกทสกะ วัยหลังโกง นับแต่อายุ ๗๐ ปีถึง ๘๐ ปี มีหลังอันค่อมลงมา ไปไหนมาไหนก็ต้องใช้ไม้เท้าช่วยค้ำช่วยจุนไป อย่างที่เรียกว่า “เท้า ๓ ขา ตา ๒ ชั้น ฟันนอกปาก” ทนทรมานแบกสังขารร่างกายด้วยความยากลำบาก

๙. โมมูหทสกะ วัยหลง นับแต่อายุ ๘๐ ปีถึง ๙๐ ปี ความทรงจำเลอะเลือน หลง ๆ ลืม ๆ พูดผิด ๆ พลาด ๆ ลืมหน้าลืมหลัง กินแล้วว่ายังไม่ได้กิน

๑๐. สยนทสกะ วัยนอน นับแต่อายุ ๙๐ ปีถึง ๑๐๐ ปี ถึงกับลุกไม่ไหวแล้ว รับแขกในที่นอน นอนกินนอนถ่าย นอนรอความตายเท่านั้นเอง

อีกนัยหนึ่ง เปรียบเทียบมนุษย์ว่าเหมือนกับสัตว์ดิรัจฉาน ๔ จำพวก ซึ่งเป็น คติที่น่าคิดอยู่ เปรียบไว้ว่า

ตอนเด็ก อุปมาเหมือน หมู มีแต่กินกับนอน กินมาก นอนมาก

ตอนกลาง อุปมาเหมือน โค ต้องทำงานวันยังค่ำ คร่ำเคร่งในการยังชีพ

ตอนแก่ อุปมาเหมือน สุนัข ต้องเฝ้าบ้าน เลี้ยงลูก เลี้ยงหลาน

ตอนหง่อม อุปมาเหมือน ลิง อันเป็นที่ชวนหัว และยั่วเย้าของลูกหลาน

ปัจจัย ๒๔ เกี่ยวแก่ชาติ

ในบท ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรามรณะนี้ เมื่อกล่าวโดยปัจจัย ๒๔ แล้วตาม อภิ ธัมมภาชนิยนัย (ตามนัยแห่งพระอภิธรรม) กล่าวว่า การที่ชาติเป็นปัจจัยแก่ชรา มรณะนั้นไม่ได้เป็นไปด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒๔ แต่ประการใด ๆ เลย เพราะชรา ก็ได้แก่ ฐีติขณะของชาติ และมรณะก็ได้แก่ภังคขณะของชาติ เช่นเดียวกัน

ส่วนตาม สุตตันตภาชนิยนัย (ตามนัยแห่งพระสูตร) ชาติเป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ชรามรณะนั้น ก็ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๒๔ เพียงปัจจัยเดียว คือ ปกตูป นิสสยปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ที่ ๑๒ ชรา มรณะ

ชรา มรณะ ที่เป็นองค์ที่ ๑๒ นี้ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจยุบบันนธรรมตาม นัยแห่งปฏิจจสมุปปาทนี้ ที่ไม่เป็นปัจจัยเพราะเหตุใดนั้น จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า ตอนนี้จะกล่าวถึงลักขณาทิจตุกะของชรา และมรณะก่อน

ชรา มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

ขนฺธปริปาก ลกฺขณา -> มีความแก่ความเสื่อมของขันธ์ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันภพ เป็นลักษณะ

มรณูปนยน รสา -> มีการนำเข้าไปใกล้ความตาย เป็นกิจ

โยพฺพนฺนวินาส ปจฺจุปฏฺฐานา -> มีการทำลายวัยที่ดี เป็นอาการปรากฏ

ปริปจฺจมาน รูป ปทฏฺฐานา -> มีรูปที่กำลังแก่ เป็นเหตุใกล้

มรณะ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

จุติ ลกฺขณํ -> มีการเคลื่อนย้ายจากภพที่ปรากฏอยู่ เป็นลักษณะ

วิโยค รสํ -> มีการจากสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตทั้งปวง บรรดาที่เคยพบเห็นกันในภพนี้ เป็นกิจ

คติวิปฺปลาส ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีการย้ายที่อยู่จากภพเก่า เป็นอาการปรากฏ

ปริภิชฺชมาน นามรูป ปทฏฺฐานํ -> มีนามรูปที่กำลังดับ เป็นเหตุใกล้

ในบทก่อน ชรา อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น ได้แก่ ความเก่าแก่ เสื่อมโทรมของวิบากนามขันธ์ ๔ และ กัมมชรูป

มรณะ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินั้น ได้แก่ อาการที่กำลังดับไปของ วิบาก นามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป

ในบทนี้ ชรา มรณะ ก็ได้แก่ ความเก่าแก่เสื่อมโทรมและอาการที่กำลังดับไป ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป เหมือนกับบทก่อนนั่นเอง

ชรา มรณะ อันเป็นปัจจยุบบันนธรรมของชาตินี้ เมื่อมีชาติคือความเกิดขึ้น แล้วก็เป็นที่แน่นอนว่าจะต้องชรา และมรณะเป็นที่สุด แต่ถ้าชาติ คือการเกิดขึ้น ไม่ปรากฏขึ้นแล้ว ชรา มรณะ ก็จะปรากฏไม่ได้

ชรา นับว่ามี ๒ คือ รูปชรา และนามชรา

รูปชรา หมายถึง ความชราของรูปที่เกิดขึ้นตามวัย โดยมีอาการปรากฏให้เห็น ด้วยนัยน์ตา เช่น ฟันหัก ผมหงอก หนังเหี่ยว หลังโกง เป็นต้น อย่างนี้ชื่อว่า วโย วุทธิชรา ซึ่งเป็นบัญญัติ เป็นความชราที่ปรากฏชัด (ปากฏชรา) เป็นความชรา ที่เปิดเผย คือไม่ปกปิด (อัปปฏิจฉันนชรา)

อีกอย่างหนึ่งชื่อว่า ปรมัตถชรา หรือ ขณิกชรา ซึ่งได้แก่ ฐีติขณะของรูป เป็นความชราที่ปกปิด ไม่เปิดเผย (ปฏิจฉันนชรา) เป็นความชราที่ไม่ปรากฏ คือ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยนัยน์ตา (อปากฏชรา)

รูปชรานี้ยังจำแนกออกได้เป็น ๒ คือ อภิกฺกมชรา แก่ขึ้น และปฏิกฺกมชรา แก่ลง

ผู้ที่อยู่ในวัยที่ ๑ มันททสกวัย วัยอ่อน จนถึงวัยที่ ๔ พลทสกวัย วัยที่มีกำลัง นั้นเรียกว่า อภิกฺกมชรา คือกำลังแก่ขึ้น

ส่วนผู้ที่เลยวัยที่ ๔ พลทสกวัยไปแล้วนั้นเรียกว่า ปฏิกฺกมชรา คือกำลังแก่ลง

นามชรา ได้แก่ ฐีติขณะของนามธรรม คือ ปรมัตถชรา หรือ ขณิกชรา หรือ ปฏิจฉันนชรา นั่นเอง เป็นความชราที่มองด้วยนัยน์ตาไม่เห็น

มรณะ ก็นับว่ามี ๒ คือ รูปมรณะ และนามมรณะ

รูปมรณะ หมายถึง ความดับไปของรูป ที่เรียกว่าภังคขณะ ซึ่งในที่นี้หมายถึง สมมติมรณะ ที่เรียกกันว่า คนตาย สัตว์ตาย เป็นต้น นั้นด้วย

นามมรณะ ก็คือความดับไปของนามขันธ์ ๔ เรียกว่า ภังคขณะ

สรุปอย่างย่อที่สุดก็ว่า

อุปาทขณะ ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป ชื่อว่า ชาติ

ฐีติขณะ ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป ชื่อว่า ชรา

ภังคขณะ ของวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูป ชื่อว่า มรณะ

อนึ่ง คำว่า มรณะ หรือ ตาย นี้ มีคำที่ใช้ในความหมายนี้หลายคำด้วยกันเป็นต้นว่า

จุติ = ตาย

จวนตา = การเคลื่อนไป

เภโท = การทำลายไป

อันตรธาน = การสูญไป

มัจจุ = ความตาย

กาลกิริยา = การทำกาละ

ขันธานัง เภโท = ความแตกแห่งขันธ์

กเลวรัสส นิกเขโป = การทอดทิ้งสรีระร่างกาย

ชีวิตินทริยยัสส อุปัจเฉโท = การขาดไปซึ่งชีวิตินทรีย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


องค์ ๑๒ มี ๑๑ ปัจจัย

ตามที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๑๒ องค์ จะเห็นได้ว่า ปฏิจจสมุปปาทธรรม องค์ที่ ๑ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดองค์ที่ ๒ และองค์ที่ ๒ ก็เป็นปัจจัยแก่องค์ที่ ๓ เป็นดังนี้ไปตามลำดับ จนถึงองค์ที่ ๑๑ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดองค์ที่ ๑๒ ส่วนองค์ที่ ๑๒ คือ ชรา มรณะ ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดองค์ใดองค์หนึ่งใน ๑๒ องค์นี้ ดังนั้น ปฏิจจสมุปปาทธรรม ๑๒ องค์ จึงเป็นปัจจัยได้เพียง ๑๑ ปัจจัย เท่านั้น

เมื่อมี มรณะ คือ จุติแล้ว ย่อมมีปฏิสนธิเกิดสืบต่อตามติดมา โดยไม่มี ระหว่างคั่น ถ้ากล่าวตามนัยแห่งปัฏฐาน คือ ตามแนวของปัจจัย ๒๔ แล้ว ก็ด้วย อำนาจแห่งอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย เป็นต้น แต่ตามนัย แห่งปฏิจจสมุปปาทนี้ ไม่ถือว่า มรณะ คือ จุตินี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิด ปฏิสนธิวิญญาณ เพราะปฏิสนธิวิญญาณจะปรากฏเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความอุปการะ ช่วยเหลือแห่งสังขาร ๓ คือ เจตนาในการกระทำกุสลกรรมและอกุสลกรรม ถ้าไม่มี สังขาร ๓ เป็นปัจจัยแล้ว ก็จะไม่มีปฏิสนธิวิญญาณเกิดสืบต่อ ต่อไปอีกเลย

โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ไม่นับเป็นองค์

โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ และอุปายาสะ ๕ ประการนี้ ไม่นับเป็น องค์แห่งปฏิจจสมุปปาท เพราะว่าธรรมเหล่านี้เป็นเพียงผลของชาติเท่านั้น ชรา มรณะก็เป็นแต่เพียงผลของชาติเช่นเดียวกัน แต่นับว่าเป็นองค์แห่งปฏิจจสมุปปาท ด้วย ก็ด้วยเหตุว่าเมื่อมีชาติ คือความเกิดปรากฏขึ้นมาแล้ว จะไม่มีความแก่ความ เสื่อมโทรม และความตายติดตามมาด้วยนั้นไม่มีเลย เมื่อมีชาติก็ต้องมีชรามีมรณะ เป็นของแน่นอน แต่ว่าเมื่อมีชาติแล้ว อาจไม่มีโสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ และอุปายาสะเลยก็ได้ เช่น พรหมบุคคล เป็นต้น เพราะธรรม ๕ ประการนี้ย่อม ต้องเกิดพร้อมกับโทสจิต พรหมบุคคลข่มโทสจิตได้ ไม่เกิดโทสจิตเลย ดังนั้นจึง ไม่มีโสกะ ความเศร้าโศก, ปริเทวะ ความบ่นพร่ำรำพัน, ทุกขะ ความทุกข์กาย, โทมนัสสะ ความเสียใจ และ อุปายาสะ ความคับแค้นใจ แต่อย่างใดเลย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โสกะ

ลักขณาทิจตุกะของโสกะ คือ

อนฺโตนิชฺฌาณ ลกฺขโณ -> มีการเผาอยู่ภายใน หรือมีความเดือดร้อนใจ เป็น ลักษณะ

เจโตปรินิชฺฌายน รโส -> ทำให้จิตเต็มไปด้วยความเดือดร้อน เป็นกิจ

อนุโสจน ปจฺจุปฏฺฐาโน -> มีความโศกเศร้าอยู่เนือง ๆ เนื่องจากความพิบัติ ที่ตนประสบอยู่นั้น เป็นอาการปรากฏ

โทสจิตฺตุปฺปาท ปทฏฺฐาโน -> มีโทสจิตตุปปาท เป็นเหตุใกล้

โสกะ คือความโศกเศร้านี้ องค์ธรรมได้แก่ โทมนัสเวทนาที่ประกอบกับโทสะ อันเกิดจาก พยสนะ อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างนี้ คือ

๑. ญาติพยสนะ ความพิบัติไปแห่งญาติ หมายถึงมิตรสหายด้วย

๒. โภคพยสนะ ความพิบัติไปแห่งทรัพย์สมบัติ ตลอดจนยศศักดิ์ด้วย

๓. โรคพยสนะ ถูกโรคภัยเบียดเบียน

๔. สีลพยสนะ ความเสียสีล สีลที่รักษาอยู่นั้นขาดไป

๕. ทิฏฐิพยสนะ ความเห็นที่ถูกต้องนั้นพิบัติไป มีความเห็นผิดเกิดขึ้น ทำให้สูญเสียสัมมาทิฏฐิไป

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปริเทวะ

ปริเทวะ คือการร่ำไห้พิไรรำพัน องค์ธรรมได้แก่ จิตตชวิปัลลาสสัททะที่เกิด ขึ้นโดย มีการร้องไห้บ่นพร่ำรำพัน เพราะอาศัย พยสนะ ๕ นั้นเป็นเหตุ ลักขณาทิจ ตุกะของปริเทวะ คือ

ลาลปฺปน ลกฺขโณ -> มีการพิลาปรำพัน เป็นลักษณะ

คุณโทสปริกิตฺตน รโส -> มีการพร่ำถึงคุณและโทษ เป็นกิจ

สมฺภม ปจฺจุปฏฺฐาโน -> มีจิตวุ่นวาย ไม่ตั้งมั่น เป็นอาการปรากฏ

โทสจิตฺตชมหาภูต ปทฏฺฐาโน -> มีมหาภูตรูป ที่เกิดจากโทสจิต เป็นเหตุใกล้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกขะ

ธรรมชาติใดที่ทำลายความสุขกาย ธรรมชาตินั้นชื่อว่า ทุกข สัตว์ทั้งหลายย่อม อดทนได้ยากต่อเวทนาใด เวทนานั้นชื่อว่า ทุกข เวทนาที่อดทนได้ยาก ฉะนั้นจึงชื่อ ว่า ทุกข ได้แก่ กายิกทุกขเวทนา คือ ทุกข์กาย ลักขณาทิจตุกะของทุกข์ คือ

กายปีฬน ลกฺขณํ -> มีการเบียดเบียนร่างกาย เป็นลักษณะ

ทุปฺปญฺญานํ โทมนสฺสกรณ รสํ -> มีการทำให้โกรธ เสียใจ กลุ้มใจ กลัว เกิด ขึ้นแก่ผู้ที่มีปัญญาน้อย เป็นกิจ

กายิกาพาธ ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีความป่วยทางกาย เป็นอาการปรากฏ

กายปสาท ปทฏฺฐานํ -> มีกายปสาท เป็นเหตุใกล้

ความทุกข์กายนี้ นอกจากเบียดเบียนร่างกายแล้ว ยังสามารถเบียดเบียนจิตใจ อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อร่างกายไม่สบายแล้ว ก็ย่อมจะทำให้กลุ้มใจ เสียใจ ไปด้วย ดังนั้นจึงจัดว่าทุกข์กายนี้เป็นทุกข์พิเศษ ซึ่งจำแนกได้เป็น ๗ คือ

๑. ทุกฺขทุกฺข ได้แก่ กายิกทุกขเวทนาและเจตสิกทุกขเวทนาที่เรียกว่า ทุกขทุกข เพราะเมื่อว่าโดยสภาพ ก็มีสภาพเป็นทุกข์ ว่าโดยชื่อ ก็มีชื่อเป็นทุกข์

กายิกทุกขเวทนา ได้แก่ ทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑ เจตสิก ๗

เจตสิกทุกขเวทนา ได้แก่ โทมนัสสสหคตจิต ๒ เจตสิก ๒๒

๒. วิปริณามทุกฺข ได้แก่ กายิกสุขเวทนา และเจตสิกสุขเวทนา ที่เรียกว่า วิปริณามทุกข์ เพราะสภาพของสุขทั้ง ๒ นี้ จะต้องวิปริตแปรปรวนไป เมื่อแปร ปรวนไปแล้วก็เป็นเหตุให้ กายิกทุกข์ และเจตสิกทุกข์เกิดขึ้น

กายิกสุขเวทนา ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณ ๑ เจตสิก ๗

เจตสิกสุขเวทนา ได้แก่ โสมนัสสสหคตจิต ๖๒ เจตสิก ๔๗

๓. สงฺขารทุกฺข ได้แก่ อุเบกขาเวทนา และจิต เจตสิก รูป ที่เว้นจาก ทุกขทุกข์ และวิปริณามทุกข์ ซึ่งกล่าวแล้วในข้อ ๑ และ ๒ นั้น ที่เรียกว่าสังขาร ทุกข์ เพราะถูกเบียดเบียนโดยความเกิดดับอยู่เป็นนิจ

๔. ปฏิจฺฉนฺนทุกฺข หรือ อปากฏทุกฺข ได้แก่ความทุกข์ที่ปกปิด หรือความ ทุกข์ที่ไม่ปรากฏอาการให้ผู้อื่นเห็นได้ เช่น ปวดท้อง ปวดฟัน ปวดหู ปวดศีรษะ หรือความไม่สบายใจ อันเกิดจาก ราคะ โทสะ เป็นต้น ความทุกข์เหล่านี้ผู้อื่น ไม่สามารถจะรู้ได้ นอกจากจะสอบถามหรือเจ้าตัวจะบอกเล่าให้ทราบ

๕. อปฺปฏิจฺฉนฺนทุกฺข หรือ ปากฏทุกฺข ได้แก่ความทุกข์ที่ไม่ปกปิด คือ เปิดเผย หรือเป็นความทุกข์ที่ปรากฏอาการให้ผู้อื่นเห็นได้โดยไม่ต้องสอบถาม ไม่ ต้องให้เจ้าตัวบอกเล่าก็รู้ เช่น ความเจ็บปวดที่เกิดจากบาดแผลถูกตีถูกฟัน แขนขาด ขาขาด เป็นง่อย เหล่านี้เป็นต้น

๖. ปริยายทุกฺข ได้แก่ วิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์ที่กล่าวแล้วในข้อ ๒ และ ๓ นั่นเอง ที่เรียกว่า ทุกข์โดยปริยายนั้น ก็เพราะทุกข์เหล่านี้ไม่ใช่เป็นตัวทุกข์ โดยตรง แต่เป็นที่เกิดแห่งทุกข์ต่าง ๆ อีกทีหนึ่ง

๗. นิปฺปริยายทุกฺข ไม่ใช่ทุกข์โดยปริยาย แต่เป็นตัวทุกข์โดยตรงทีเดียว อัน ได้แก่ ทุกขทุกข์ โทมนัสทุกข์ และ อุปายาสะ

อีกนัยหนึ่งจำแนกว่าทุกข์กายนี้มี ๙ โดยนับแยก กายิกทุกข์ และเจตสิกทุกข์ ออกไปว่าเป็น ๒ จึงเป็นทุกข์กาย ๙ ประการ

ในทุกข์กาย ๗ ประการนี้ ข้อ ๑ ทุกขทุกข์, ข้อ ๒ วิปริณามทุกข์ ข้อ ๓ สังขารทุกข์ และข้อ ๖ ปริยายทุกข์นั้น ถ้าจะกล่าวอย่างสามัญให้เข้าใจง่าย ๆ ก็ว่า

ทุกขทุกข์ ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา

วิปริณามทุกข์ ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา

สังขารทุกข์ ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา

ปริยายทุกข์ ได้แก่ ธรรมที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา ซึ่งจะต้องวิปริตผันแปรกลับไปเป็นทุกข์อีก

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


โทมนัสสะ

ทุมนสฺสภาโว โทมนสฺสํ สภาพที่เป็นเหตุให้ใจคอไม่ดี ชื่อว่า โทมนัส ได้แก่ เจตสิกทุกข์ คือ ทุกข์ใจ ลักขณาทิจตุกะของโทมนัส มีดังนี้

จิตฺตปีฬน ลกขณํ -> มีการเบียดเบียนใจ เป็นลักษณะ

มโนวิฆาตน รสํ -> มีการทรมานใจ เป็นกิจ

มานสํพฺยาธิ ปจฺจุปฏฺฐานํ -> มีความไม่สบายใจ เป็นอาการปรากฏ

หทยวตฺถุ ปทฏฺฐานํ -> มีหทยวัตถุ เป็นเหตุใกล้

เหตุที่ทำให้เกิดโทมนัสนั้นมีหลายประการ แต่ส่วนมากย่อมเนื่องมาจาก อปฺ ปิเยหิ สมฺปโยโค ได้ประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ และ ปิเยหิ วิปฺปโยโค พลัดพราก จากสิ่งที่ชอบใจ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปายาสะ

ภุโส อายาสนํ อุปายาโส ความลำบากใจเป็นอย่างยิ่ง ชื่อว่า อุปายาสะ ได้แก่ โทสเจตสิก ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย พยสนะ ๕ นั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ลักขณา ทิจตุกะของอุปายาสะ คือ

จิตฺตปริทหน ลกฺขโณ -> มีการเผาจิตอย่างหนัก เป็นลักษณะ

นิตฺถุนน รโส -> มีการทอดถอนใจ เป็นกิจ (หมดอาลัยตายอยาก)

วิสาท ปจฺจุปฏฺฐาโน -> มีกายและใจขาดกำลังลง เป็นอาการปรากฏ

หทยวตฺถุ ปทฏฺฐาโน -> มีหทยวัตถุ เป็นเหตุใกล้

อุปายาสะ ความลำบากใจเป็นอย่างยิ่งนี้ บางทีก็ว่า ความคับแค้นใจซึ่งมีความ โศกเศร้าที่เผาหัวใจอย่างท้วมท้นจนแห้งผาก น้ำตาตกในร้องให้ไม่ออก นั่งขรึม ซึมไป ไม่พูดจา เพราะไม่รู้ว่าจะพูดหรือปรับทุกข์อย่างใด จึงจะสมกับความคับแค้น ใจที่ตนได้รับนั้น เป็นเหตุให้ร่างกายซูบซีดผ่ายผอม เป็นอันตรายแก่กายและใจเป็น ที่สุด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้ออุปมา โสกะ ปริเทวะ อุปายาสะ

เพื่อให้เห็นความแตกต่างกันในระหว่าง โสกะ ปริเทวะ และ อุปายาสะ จึงมี ข้ออุปมาว่า

น้ำมันที่อยู่ในกะทะ ซึ่งตั้งอยู่บนเตาไฟที่ร้อนจัดจนน้ำมันเดือด ความเดือด ของน้ำมันนี้ อุปมาดัง โสกะ

เดือดพล่านจนล้นปากกะทะออกมา อุปมาดังปริเทวะ คือความเศร้าโศกนั้น เพิ่มพูลมากขึ้น จนล้นออกมาทางปากถึงกับบ่นพร่ำรำพันไปพลาง ร้องไห้ไปพลาง

น้ำมันที่เดือดพล่านจนล้นปากกะทะออกมานั้น กลับไม่ล้น เพราะงวดแห้งลง ไปจนล้นออกไม่ได้ มีแต่จะแห้งไปจนถึงกับไหม้ไปเลยนั้น อุปมาดัง อุปายาสะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นัยแห่งการเทสนา

ปฏิจจสมุปปาทธรรม ๑๒ องค์นี้ พระพุทธองค์ทรงเทสนาเป็น ๔ นัย ดังปรากฏใน สังยุตตนิกาย ว่า

๑. อนุโลมเทสนา หรือ อาทิปริโยสาน อนุโลมเทสนา แสดงแต่เบื้องต้น จนถึงที่สุด คือตั้งแต่ อวิชชาเป็นลำดับไปจนถึง ชรา มรณะ

๒. มัชฌปริโยสาน อนุโลมเทสนา หรือ มัชฌโตปัฏฐายปริโย สานปวัตต เทสนา แสดงแต่ท่ามกลางไปจนถึงที่สุด คือ ตั้งแต่เวทนาตามลำดับไปจนถึงชรา มรณะ

๓. ปฏิโลมเทสนา หรือ ปริโยสานอาทิปฏิโลมเทสนา แสดงแต่เบื้องปลาย สุด ย้อนทวนมาหาต้น คือ ตั้งแต่ชรามรณะทวนกลับมาถึงอวิชชา

๔. มัชฌอาทิปฏิโลมเทสนา หรือ มัชฌโตปัฏฐายอาทิปวัตตเทสนา แสดง แต่ท่ามกลางย้อนทวนมาหาต้น คือ ตั้งแต่ตัณหาทวนกลับมาถึงอวิชชา

ข้อ ๑ อนุโลมเทสนานั้น ส่วนมากแสดงแก่สัตว์ที่มีกำเนิดเป็น ชลาพุชะ และอัณฑชะ (คือ คัพภเสยยกกำเนิด) ซึ่งเป็นสัตว์ที่โดยปกติมีทุกข์มากกว่าสุข เพื่อให้รู้ว่าที่ได้รับผลเช่นนั้นเนื่องมาจากอะไรเป็นสาเหตุ จะได้ไม่หลงโทษว่าพระ อินทร์ พระพรหม หรือพระเจ้าเป็นผู้บรรดาลให้เป็นไป จึงแสดงถึงผลก่อน เพื่อให้รู้ ว่าที่ปรากฏผลเช่นนั้นเนื่องมาจากเหตุอะไร เช่น สังขาร ๓ อันเป็นผลปรากฏขึ้นมา ก็เพราะมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ ถ้าไม่มีอวิชชาเป็นต้นเหตุแล้ว จะปรากฏผลให้มีสังขาร ๓ ขึ้นมาไม่ได้เลย ในทำนองเดียวกัน วิญญาณอันเป็นผลปรากฏขึ้นมาได้ก็เพราะมี สังขาร ๓ เป็นต้นเหตุ ตามลำดับมาจนที่สุด ชรา มรณะ อันเป็นผลนั้น ก็ปรากฏ ขึ้นมาเพราะมีชาติเป็นต้นเหตุ ถ้าไม่เกิดมีชาติขึ้นมา ก็ไม่มีผลให้มีการแก่และการ ตายข้อนี้แสดงผล

ข้อ ๒ มัชฌปริโยสานอนุโลมเทสนานั้น ส่วนมากแสดงแก่ สัตว์ที่เป็นโอป ปาติกกำเนิด (มีเทวดาและพรหม เป็นต้น) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีทุกข์น้อย มีความสุข สบายเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่ใคร่เชื่อผล(นัตถิกทิฏฐิ) ไม่เชื่อว่า ตายแล้วจะต้องเกิด ในภายหน้าอีก เป็นผู้ที่มี วิภวตัณหา(อุจเฉททิฏฐิ) ข้อนี้แสดงเพื่อให้แจ้งในอนาคต

ข้อ ๓ ปฏิโลมเทสนานั้น ส่วนมากแสดงแก่สัตว์ที่ยึดมั่นในสัสสตทิฏฐิ ที่ เห็นว่าสัตว์และโลกเที่ยง (ภวตัณหา) เป็นจำพวกที่ไม่เชื่อเหตุ (อเหตุกทิฏฐิ) ข้อนี้ แสดงถึงเหตุก่อน เพื่อให้เห็นธรรมอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ตามลำดับ คือมี ชรา มรณะก็เพราะมีชาติ มีชาติก็เพราะได้ทำกัมมภพ มีกัมมภพก็เพราะยึดมั่นในอุปา ทาน ฯลฯ ฯลฯ ข้อนี้แสดงเหตุ

ข้อ ๔ มัชฌอาทิปฏิโลมเทสนานั้น ส่วนมากแสดงแก่สัตว์ที่ยึดมั่นว่า สัตว์ โลกและกรรมต่าง ๆ นั้น เมื่อตายแล้วก็สูญหมด (อุจเฉททิฏฐิ) ซึ่งไม่เชื่อทั้งเหตุ ทั้งผล (อกริยทิฏฐิ) จึงแสดงให้เห็นว่าสัตว์จะดำรงคงอยู่ได้ด้วยอาหาร อาหารต่าง ๆ จะเกิดขึ้นได้ด้วยอาศัยตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ตัณหาจะปรากฏขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยเวทนา เป็นเหตุ เวทนาก็อาศัยผัสสะเป็นเหตุ ฯลฯ ฯลฯ ข้อนี้แสดงเพื่อให้แจ้งในอดีต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๓ วีสตาการา

อาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาท คือ อดีตเหตุ ๕, ปัจจุบันผล ๕, ปัจจุบัน เหตุ ๕ และอนาคตผล ๕

มีความหมายว่า อาการ ๒๐ นั้นได้แก่ สภาพความเป็นไปของปฏิจจสมุปปาท นั่นเอง จึงจำแนกไปตามเหตุตามผลแห่งกาลทั้ง ๓ จึงจัดได้เป็น ๔ พวก ๆ ละ ๕ รวมเป็นอาการ ๒๐ คือ

๑. อดีตเหตุ ๕ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นปัจจัยให้ปรากฏปัจจุบันผล ๕

๒. ปัจจุบันผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา

๓. ปัจจุบันเหตุ ๕ ได้แก่ ตัณหา อุปาทาน ภพ อวิชชา และสังขาร ธรรม ๕ ประการนี้เป็นปัจจัยให้ปรากฏอนาคตผล ๕

๔. อนาคตผล ๕ ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และเวทนา

อาการที่เป็นไปในกาลเวลาที่ล่วงไปแล้วซึ่งเรียกว่า อดีตเหตุนั้นมี ๕ ประการ ได้แก่ อวิชชา สังขาร ตัณหา อุปาทาน และภพ(คือกัมมภพ)ที่นับ ตัณหา อุปาทาน ภพ รวมเข้ากับอวิชชา สังขารด้วยนั้น ก็เพราะว่า ธรรม ๕ ประการนี้เกี่ยวเนื่องกัน ไม่เว้นจากกันไปได้เลย กล่าวคือ เมื่อมีอวิชชา สังขาร เกิดขึ้นแล้ว ที่จะไม่มีตัณหา อุปาทาน กัมมภพ เกิดรวมด้วยนั้นเป็นไม่มี ในทำนองเดียวกัน ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ ปรากฏเกิดขึ้นในขณะใด ขณะนั้นย่อมจะต้องมี อวิชชา สังขาร เกิดร่วม ด้วยเสมอไป รวมความว่า เพราะในอดีต มีอวิชชาอยู่ จึงได้กระทำกรรม อันเป็น เหตุให้ได้รับผลในปัจจุบัน

ผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็ได้แก่วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนารวม ๕ ประการ ไม่นับ ชาติ ชรา มรณะ รวมเข้าด้วยก็เพราะเหตุว่า ชาติ ชรา มรณะ เป็นแต่เพียงอาการของ วิญญาณ นามรูป เท่านั้นเอง ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ จึง ไม่นับรวมเข้าด้วย รวมความว่า เพราะในอดีตกาลได้ก่อเหตุขึ้นไว้ จึงมาได้รับผล เป็นรูปเป็นนามในปัจจุบันนี้

วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา อันเป็นผลในปัจจุบันนี้นี่เอง เป็นตัวการที่ก่อให้มี ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา และสังขารขึ้นอีก เพราะว่า ได้ก่อเหตุโดยกระทำกรรมขึ้นอีกดังนี้ จึงเรียกว่า ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ อวิชชา สังขาร รวม ๕ ประการนี้เป็นปัจจุบันเหตุ เมื่อได้ก่อให้เกิดปัจจุบันเหตุเช่นนี้แล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะได้รับผลต่อไปในอนาคต ผลที่จะได้รับต่อไปในภายหน้านั้นจึง ได้ชื่อว่า อนาคตผล

เมื่อรู้ผลปัจจุบัน และละเหตุปัจจุบันได้โดยสิ้นเชิงแล้ว ผลในอนาคตก็ไม่มี เมื่อนั้นจึงเรียกว่า สิ้นเหตุสิ้นปัจจัย พ้นจากอาการ ๒๐ แห่งปฏิจจสมุปปาทธรรม นี้ได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร