วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๔ ติสันธิ

อาการ ๒๐, สนธิ ๓, สังเขป ๔ พึงมีด้วยประการฉะนี้ อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน พึงทราบว่าเป็นกิเลสวัฏฏ

หมายความว่า ในอาการ ๒๐ นั้นได้กล่าวมาแล้ว ส่วนสังเขป ๔ และกิเลส วัฏฏ จะได้กล่าวต่อไปข้างหน้า บัดนี้จะได้กล่าวถึงติสันธิ คือ สนธิ ๓ หรือเงื่อน ๓

สนธิ คือความสัมพันธ์สืบต่อระหว่างเหตุกับผล และระหว่างผลกับเหตุ อีก นัยหนึ่ง สนธิ คือ เงื่อนต่อ เป็นเงื่อนที่เหตุกับผล และผลกับเหตุต่อกันที่ตรงนั้น ซึ่งเป็นเงื่อนต่อของอาการ ๒๐ หรือของกาล ๓ ที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ความ สัมพันธ์สืบต่อหรือเงื่อนต่อนี้ มี ๓ เงื่อน คือ

๑. สังขาร กับ วิญญาณ เป็นสนธิ ๑ คือ ระหว่างสังขารอันเป็นอดีตเหตุ กับวิญญาณ อันเป็นปัจจุบันผลต่อกัน ซึ่งเรียกว่า เหตุผลสัมพันธ์

๒. เวทนา กับ ตัณหา เป็นสนธิ ๑ คือ ระหว่างเวทนาอันเป็นปัจจุบันผล กับตัณหา อันเป็นปัจจุบันเหตุต่อกัน ซึ่งเรียกว่า ผลเหตุสัมพันธ์

๓. ภพ กับ ชาติ เป็นสนธิ ๑ คือ ระหว่างภพอันเป็นปัจจุบันเหตุ กับชาติ อันเป็นอนาคตผลต่อกัน ซึ่งเรียกว่า เหตุผลสัมพันธ์

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๕ จตุสังเขปา

สังเขป ๔ สังเขป แปลว่าโดยย่อ ย่อเอาเค้าความ ย่อเอาแต่ใจความ เมื่อย่อ เอาแต่เค้าความแห่ง ปฏิจจสมุปปาททั้ง ๑๒ องค์ ก็ได้เพียง สังเขป ๔ คือ

๑. อดีตเหตุสังเขป มี ๒ คือ อวิชชา และสังขาร

๒. ปัจจุบันผลสังเขป มี ๕ คือ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ และ เวทนา

๓. ปัจจุบันเหตุสังเขป มี ๓ คือ ตัณหา อุปาทาน และภพ

๔. อนาคตผลสังเขป มี ๒ คือ ชาติ และ ชรามรณะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๖ ตีณิ วัฏฏานิ

กัมมภพและสังขาร ท่านแสดงว่า เป็นกัมมวัฏฏ อุปปัตติภพก็ดี ธรรมที่เหลือ อยู่ทั้งหลายก็ดี ย่อมรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นวิปากวัฏฏ ส่วนอวิชชาและตัณหา พึงทราบ ว่าเป็นมูลทั้ง ๒

มีความหมายว่า วัฏฏะ คือ สภาพที่วนเวียน ความวนเวียนในปฏิจจสมุปปาท นี้ จัดได้เป็น ๓ วัฏฏ คือ

๑. กิเลสวัฏฏ คือ วนเวียนในเครื่องเศร้าหมองเร่าร้อน ได้แก่ อวิชชา ตัณหา และ อุปาทาน เมื่อกิเลสเกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นเหตุให้ทำกรรม

๒. กัมมวัฏฏ คือ วนเวียนในการกระทำตามอำนาจของกิเลส มี ๒ ได้แก่ (กัมม)ภพ และสังขาร อันหมายถึงตัวเจตนา ซึ่งเมื่อได้กระทำกรรมแล้ว ย่อมเป็น เหตุให้เกิดวิบาก คือได้ผลของกรรมที่ได้กระทำนั้น

๓. วิปากวัฏฏ คือ วนเวียนในวิบากที่เป็นผลของกรรม ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา (อุปปัตติ) ภพ ชาติ และชรามรณะ อันเป็นสิ่งที่ ก่อให้เกิดกิเลสต่อไปอีก หมุนวนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิจจสมุปปาทธรรม นัยที่ ๗ เทวมูลานิ

มูล คือ ที่ตั้งหรือต้นเหตุแห่งวัฏฏ ซึ่งทำให้หมุนเวียนอยู่ในวัฏฏทุกข์ อัน ได้แก่ ภพทั้ง ๓ (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) นั้นไม่มีที่สิ้นสุด มูลนี้มี ๒ ได้แก่ อวิชชา และตัณหา

อวิชชา คือ ความไม่รู้ เป็น อดีตมูล เป็นที่ตั้งหรือเป็นเค้ามูลให้เกิดสังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ จึงถึงเวทนา

ตัณหา คือ ความทะยานอยาก เป็น ปัจจุบันมูล เป็นที่ตั้ง หรือเป็นเค้ามูล ให้เกิด อุปาทาน กัมมภพ ชาติ จนถึง ชรามรณะ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


การสะดุดหยุดลงแห่งวัฏฏะ และ สมุฏฐานของอวิชชา

การหมุนวนแห่ง สังสารวัฏฏะจะสะดุดหยุดลง และความเจริญอยู่ของอวิชชา นั้น วัฏฏะจะหยุดการหมุนวนก็เพราะความดับแห่งมูลทั้ง ๒ นั้น

อนึ่ง อวิชชา จะเจริญอยู่ได้ ก็เพราะความบังเกิดขึ้นแห่ง อาสวะทั้งหลายของ เหล่าสัตว์ ผู้สยบด้วยชรามรณะบีบคั้นอยู่เป็นนิจ

มีอธิบายด้วยการอุปมาว่า ต้นไม้ทั้งหลายที่เจริญงอกงามอยู่ได้ ก็ด้วยอาศัยราก แก้ว ถ้าทำลายรากแก้วเสียแล้ว ต้นไม้นั้นจะเหี่ยวแห้งลง และในที่สุดก็ตายไปอย่าง แน่นอน สัตว์ทั้งหลาย คือ รูปนามนี้ที่เจริญอยู่ในสังสารวัฏฏโดยไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ก็ เพราะอำนาจแห่งอวิชชา และตัณหา ต่อเมื่อใดอวิชชา และตัณหา อันเป็นมูลทั้ง ๒ นี้ถูกทำลายให้สูญไปได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว ความเจริญของรูปนามอันได้แก่ ความเวียน ว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นอันสิ้นสุดลงเมื่อนั้น

เมื่อกล่าวถึง สมุฏฐานของอวิชชา อวิชชาจะเจริญอยู่ได้ก็เพราะความบังเกิด ขึ้นแห่งอาสวะทั้งหลาย ซึ่งมีความหมายชัดอยู่แล้วว่า สมุฏฐานของอวิชชา ก็คือ อาสวะทั้ง ๔ อันได้แก่ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และ อวิชชาสวะ นั่นเอง

ก็เมื่อ อาสวะ เป็นปัจจัยให้เกิด อวิชชาแล้ว ธรรมใดเล่าที่เป็นสาเหตุให้เกิด อาสวะ

มีคำแก้ว่า อาสวะนั้นย่อมมีอยู่ใน ตัณหา อุปาทาน กัมมภพ เป็นประจำ ตาม ควรแก่ที่จะมีได้อยู่แล้ว ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ธรรมที่เป็นเหตุให้ ตัณหา อุปาทาน กุสล อกุสล กัมมภพ ที่เกิดขึ้นนั่นแหละ เป็นสาเหตุแห่ง อาสวะ

การที่อวิชชาเกิดขึ้นหรือปรากฏขึ้น ก็เพราะอาศัยการเกิดขึ้นแห่งอาสวะนั้น เป็นปัจจัยเช่นนี้แล้ว เหตุใดจึงยกเอาอวิชชาขึ้นกล่าวไว้เป็นเหตุแรกในปฏิจจสมุป ปาทนี้

ปฏิจจสมุปปาทนี้เป็นตัววัฏฏะติดต่อกันเป็นวงกลม อันว่าวงกลมนั้นจะกล่าว อ้าง ว่าตรงไหนเป็นต้นเป็นปลายไม่ได้ แต่ที่ยกเอาอวิชชาขึ้นกล่าวก่อนธรรมองค์ อื่นนั้น ไม่ใช่อวิชชาเป็นต้นของวัฏฏะ หรือเป็นองค์ที่เกิดก่อน หากเป็นเพราะ อวิชชานี้เป็นตัวประธาน เป็นตัวสำคัญ เป็นรากเง้าเค้ามูลที่ก่อให้เกิดมี วัฏฏะ คือ การหมุนวนเป็นวงกลมขึ้น ถ้าไม่มีอวิชชา อันเป็นตัวสำคัญนี้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปฏิจจสมุปปาทอีก ๑๑ องค์ ก็จะไม่ปรากฏเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น

สมเด็จพระมหามุนี ทรงแสดงว่า วัฏฏะอันหาเบื้องต้นมิได้ ซึ่งเป็นไปในภูมิ ทั้ง ๓ มีอาการเกี่ยวพันกันอย่างไม่ขาดสาย ดังที่บรรยายมาฉะนี้ว่า ปฏิจจสมุปปาท

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปฏิกงฺขา เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคคติย่อมหวังได้

จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติย่อมหวังได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัฏฐานนัย

ปัฏฐานนัย คือ ปัจจัย ๒๔ เป็นนัยที่ ๒ แห่งปัจจยสังคหวิภาค มีแสดงไว้ว่า

ส่วนในทุติยนัย (ปัฏฐาน นัยที่ ๒) นั้นแสดงปัจจัย ๒๔ มีเหตุมีปัจจัย และ อารัมมณปัจจัย เป็นต้น มีวิคตปัจจัย และอวิคตปัจจัย เป็นปริโยสาน

หมายความว่า นัยที่ ๒ คือ ปัฏฐาน หรือ มหาปัฏฐาน ได้แก่ ฐานะที่เป็นไป ทั่วไปในปัจจุบันธรรม ตลอดทั้ง ๓๑ ภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและ กันไม่มีที่สิ้นสุด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็น ปัจจัย ๒๔ คือ

๑. เหตุปจฺจโย คือ เหตุปัจจัย หมายถึงว่า เหตุ ๖ เป็นปัจจัยให้เกิดจิตและ เจตสิก

๒. อารมฺมณปจฺจโย คือ อารัมมณปัจจัย หมายถึงอารมณ์ ๖ เป็นปัจจัยให้ เกิดจิตและเจตสิก

๓. อธิปติปจฺจโย คือ อธิปติปัจจัย หมายถึงความเป็นอธิบดี เป็นปัจจัยให้ เกิดจิตและเจตสิก

๔. อนนฺตรปจฺจโย คือ อนันตรปัจจัย หมายถึงความเกิดติดต่อกันของจิต โดยไม่มีระหว่างคั่น

๕. สมนนฺตรปจฺจโย คือ สมนันตรปัจจัย หมายถึง ความเกิดติดต่อกันตาม ลำดับแห่งจิตโดยไม่มีระหว่างคั่น

๖. สหชาตปจฺจโย คือ สหชาตปัจจัย หมายถึงความที่เกิดพร้อมกัน เกิดร่วม กัน

๗. อญฺญมญฺญปจฺจโย คือ อัญญมัญญปัจจัย หมายถึงความอุปการะซึ่งกัน และกัน

๘. นิสฺสยปจฺจโย คือ นิสสยปัจจัย หมายถึงความเป็นที่อาศัยให้เกิดขึ้น

๙. อุปนิสฺสยปจฺจโย คือ อุปนิสสยปัจจัย หมายถึง ความเป็นที่อาศัยที่มี กำลังมาก

๑๐. ปุเรชาตปจฺจโย คือ ปุเรชาตปัจจัย หมายถึง ความที่เกิดก่อนนั้นช่วย อุปการะแก่ธรรมที่เกิดทีหลัง

๑๑. ปจฺฉาชาตปจฺจโย ปัจฉาชาตปัจจัย หมายถึง ความที่เกิดที่หลังช่วย อุปการะแก่ธรรมที่เกิดก่อน

๑๒. อาเสวนปจฺจโย คือ อาเสวนปัจจัย หมายถึง ความเสพบ่อย ๆ โดยการเกิดหลายครั้ง

๑๓. กมฺมปจฺจโย คือ กัมมปัจจัย หมายถึง ความจงใจกระทำเพื่อให้กิจ ต่าง ๆ สำเร็จลง

๑๔. วิปากปจฺจโย คือ วิปากปัจจัย หมายถึง ผลของกรรม

๑๕. อาหารปจฺจโย คือ อาหารปัจจัย หมายถึงอาหารทั้ง ๔ เป็นปัจจัยให้เกิด นามและรูป

๑๖. อินฺทริยปจฺจโย คือ อินทรียปัจจัย หมายถึง ความเป็นใหญ่ เป็นผู้ครอง เป็นปัจจัยให้เกิดนามและรูป

๑๗. ฌานปจฺจโย คือ ฌานปัจจัย หมายถึง ความเพ่งอารมณ์หรือการเผา ปฏิปักษ์ธรรม

๑๘. มคฺคปจฺจโย คือ มัคคปัจจัย หมายถึง หนทางทั้งทางชั่วและทางชอบ เป็นปัจจัยให้สู่ ทุคคติ สุคติ และนิพพาน

๑๙. สมฺปยุตฺตปจฺจโย คือ สัมปยุตตปัจจัย หมายถึง ธรรมที่ประกอบเข้ากัน ได้ อันได้แก่ จิตกับเจตสิก

๒๐. วิปฺปยุตฺตปจฺจโย คือ วิปปยุตตปัจจัย หมายถึงธรรมที่ประกอบเข้ากัน ไม่ได้ อันได้แก่ รูป กับนาม

๒๑. อตฺถิปจฺจโย คือ อัตถิปัจจัย หมายถึง ความที่ยังมีอยู่ จึงเป็นปัจจัยให้ เกิดนามและรูปได้

๒๒. นตฺถิปจฺจโย คือ นัตถิปัจจัย หมายถึง ความที่ไม่มีแล้ว จึงจะเป็นปัจจัย ให้เกิดนามได้

๒๓. วิคตปจฺจโย คือ วิคตปัจจัย หมายถึง ความที่ปราศจากไปแล้วนั้น จึงเป็นปัจจัยให้เกิดนามได้

๒๔. อวิคตปจฺจโย คือ อวิคตปัจจัย หมายถึง ความที่ยังไม่ปราศจากไป จึง เป็นปัจจัยให้เกิดนามและรูปได้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัย ๒๔ จัดได้เป็น ๖ หมวด

ปัจจัยธรรม ๒๔ นี่แหละเป็น ปัฏฐานนัย คือนัยที่ ๒ แห่งปัจจยสังคหวิภาค และปัจจัย ๒๔ นี้ยังจัดเข้ากันเป็นพวก ๆ เป็นหมวด ๆ ได้ ๖ พวกหรือ ๖ หมวด คือ

นามย่อมเป็นปัจจัยแก่นาม ๖ ปัจจัย นามเป็นปัจจัยแก่นามรูป ๕ ปัจจัย นาม เป็นปัจจัยแก่รูป ๑ ปัจจัย รูปย่อมเป็นปัจจัยแก่นาม ๑ ปัจจัย

บัญญัติและนามรูป ย่อมเป็นปัจจัยแก่นาม ๒ ปัจจัย และนามรูปทั้ง ๒ เป็น ปัจจัยแก่นามรูปทั้ง ๒ นั้น ๙ ปัจจัย ปัจจัย ๖ หมวด ตั้งอยู่แล้วด้วยอาการดังได้ บรรยายมาฉะนี้

มีความหมายว่า ปัจจัย ๒๔ นี้ จัดได้เป็นหมวดใหญ่ ๆ ได้ ๖ หมวด คือ

๑. นาม เป็นปัจจัยแก่ นาม ๖ ปัจจัย (อนันตร, สมนันตร, นัตถิ, วิคต, อาเสวน, สัมปยุตต)

๒. นาม เป็นปัจจัยแก่ นามรูป ๕ ปัจจัย(เหตุ, ฌาน, มัคค, กัมม, วิบาก)

๓. นาม เป็นปัจจัยแก่ รูป ๑ ปัจจัย (ปัจฉาชาต)

๔. รูปบัญญัติ เป็นปัจจัยแก่ นาม ๑ ปัจจัย (ปุเรชาต)

๕. นามรูป เป็นปัจจัยแก่ นาม ๒ ปัจจัย (อารัมมณ, อุปนิสสย)

๖. นามรูป เป็นปัจจัยแก่ นามรูป ๙ ปัจจัย (อธิปติ, สหชาต, อัญญมัญญ, นิสสย, อาหาร, อินทรีย, วิปปยุตต, อัตถิ, อวิคต)

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อกำหนดแห่งปัจจัยแต่ละปัจจัย

ปัจจัย ๒๔ ซึ่งแบ่งเป็น ๖ หมวดนั้น แต่ละหมวดแต่ละปัจจัย มีความหมาย ดังต่อไปนี้

หมวดที่ ๑ นามเป็นปัจจัยแก่นาม ๖ ปัจจัย

จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา นิรุจฺธาหิ อนนฺตรํ

ปจฺจุปนฺนาน นามานํ จตุธา โหนฺติ ปจฺจยา

ทฺวานนฺตร นตฺถิ ตาย อโถ วิคตตาย จ ฯ


แปลความตามคาถานี้ ก็ได้เป็นหลักเกณฑ์ เป็นข้อกำหนด เป็นข้อจำกัดความ หมายแห่งปัจจัย คือ

ข้อกำหนดข้อที่ ๑ ธรรม คือจิตและเจตสิกทั้งหลายที่ดับไปแล้ว โดยไม่มี ระหว่างคั่น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นใหม่ติดต่อกัน อัน เป็นปัจจุบัน ด้วยอำนาจแห่งปัจจัย ๔ คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย

ปุริมา ชวนานิ อาเสวนเสน ตุ

ปจฺฉิมานํ ชวนานํ อญฺโญญฺญํ สหชาตกา ฯ


ข้อกำหนดข้อที่ ๒ ส่วนชวนจิตในขณะก่อน ย่อมเป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่ชวนจิตในขณะหลัง ด้วยอำนาจแห่ง อาเสวนปัจจัย

จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา สมฺปยุตฺเตน ปจฺจยา

อิตนามํ นามสฺสเสว ฉธา ภวติ ปจฺจโย


ข้อกำหนดข้อที่ ๓ ธรรม คือจิตและเจตสิกทั้งหลายที่ประกอบร่วมกัน ย่อม เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกันด้วยสามารถแห่ง สัมปยุตตปัจจัย

นามธรรมย่อมเป็นปัจจัยแก่นามธรรมอย่างเดียวโดย ๖ ปัจจัย ดังที่กล่าวมา แล้วนี้

สัมปยุตต กับ วิปปยุตต

ธรรมที่จะเรียกว่าเป็น สัมปยุตต นั้น จะต้องประกอบกันด้วยลักษณะ ๔ ประการ คือ เอกุปปาทะ เอกนิโรธะ เอกาลัมพนะ และเอกวัตถุกะ มิฉะนั้นแล้วจะ เรียกว่าเป็นสัมปยุตต ไม่ได้

๑. นามขันธ์ ๔ อันได้แก่ จิต เจตสิก นั้นเป็นสัมปยุตต เพราะประกอบกัน ด้วยอาการครบลักษณะทั้ง ๔

๒. นามขันธ์ ๔ กับนิพพาน นามขันธ์ ๔ กับรูป เป็นวิปปยุตตอย่างเดียว

๓. รูปกับรูป รูปกับนิพพาน ไม่เรียกว่าเป็น สัมปยุตตหรือวิปปยุตต

๔. ระหว่าง กุสลธรรม อกุสลธรรม อพยากตธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก ซึ่งกัน และกัน เป็นวิปปยุตต ชื่อว่า ชาติวิปปยุตต

๕. ระหว่าง นามขันธ์ ๔ ที่เกิดในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ซึ่งกันและกันเป็น วิปปยุตต ชื่อว่า ภูมิวิปปยุตต

๖. ระหว่าง นามขันธ์ ๔ ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ซึ่งกันและกันเป็น วิปปยุตต ชื่อว่า กาลวิปปยุตต

๗. ระหว่าง นามขันธ์ ๔ ที่เกิดอยู่ภายในตัวเรา และภายนอกตัวเรา ซึ่งกัน และกัน เป็นวิปปยุตต ชื่อว่า สันตานวิปปยุตต

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๒ นามเป็นปัจจัยแก่นามรูป ๕ ปัจจัย

เหตุชฺฌานงฺคมคฺคงฺค เหตฺวาทิ ปจฺจเยน ตุ

สเหตนามรูปานํ สหชาตาตุ เจตนา ฯ


ข้อกำหนดที่ ๔ ส่วน เหตุ (๖) องค์ฌาน (๕) และองค์มัคค (๙) ทั้งหลาย นี้ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามและรูป ที่เกิดพร้อมกับตน ด้วยอำนาจแห่งเหตุ ปัจจัย เป็นต้น (คือ เหตุปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย ตามลำดับ)

สเหตนามรูปานํ นานากฺขณิก เจตนา

กมฺเมนา ภินิพฺพตฺตานํ กมฺมโต เยว ปจฺจโย ฯ


ข้อกำหนดข้อที่ ๕ ก. เจตนาที่เกิดร่วมพร้อมกัน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่นามรูปที่เกิดพร้อมกันอย่างหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่าสหชาตกัมมปัจจัย) และ

ข. เจตนาที่เกิดต่างขณะกัน (คือ เจตนาที่ดับไปแล้วนั้น) เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่นามรูป (ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยกรรม หรือ เจตนาที่ดับไปแล้วนั้น) อีกอย่าง หนึ่ง (ซึ่งเรียกว่า นานักขณิกกัมมปัจจัย)

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง กัมมปัจจัย

วิปากขนฺธา อญฺญมญฺญ สเหต นาม รูปินํ

วิปากปจฺจเยนาติ นามรูปสฺส ปญฺจธา ฯ


ข้อกำหนดที่ ๖ วิบากขันธ์ทั้งหลาย (วิบากนามขันธ์ ๔) เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่กันและกัน และช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกันกับตน ด้วยอำนาจ แห่ง วิปากปัจจัย

นามย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป โดยปัจจัย ๕ ปัจจัย ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๓ นามเป็นปัจจัยแก่รูป ๑ ปัจจัย

จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา ปุเรชาตสฺสิ มสฺส ตุ

กายสฺส ปจฺฉาชาเตน อิติ รูปสฺส เอกธา ฯ


ข้อกำหนดข้อที่ ๗ ธรรม คือ จิตเจตสิกทั้งหลาย ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย ช่วยอุปการะแก่ รูปกายที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจแห่ง ปัจฉาชาตปัจจัย

นามธรรมเป็นปัจจัยแก่รูปธรรม ปัจจัยเดียวเท่านี้เอง

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๔ รูปเป็นปัจจัยแก่นาม ๑ ปัจจัย

สตฺต วิญฺญาณ ธาตูนํ ฉวตฺถูนิ ปวตฺติยํ

ปญฺจ วิญฺญาณ วีถิยา ปญฺเจวาลมฺพนานิ จ

ปุเรชาต วเสเนติ รูปํ นามสฺส เอกธา ฯ


ข้อกำหนดที่ ๘ ก. วัตถุ ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ วิญญาณธาตุ ๗ ใน ปวัตติกาล อย่างหนึ่ง (วัตถุปุเรชาตปัจจัย)

ข. อารมณ์ ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ปัญจวิญญาณวิถี อีกอย่างหนึ่ง (อารัมมณปุเรชาตปัจจัย)

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง ปุเรชาตปัจจัย

รูปธรรม เป็นปัจจัยแก่นามธรรมเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้น

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๕ บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัยแก่นาม ๒ ปัจจัย

ฉฬาลมฺพน วเสนุ ปนิสฺสย วเสน จ

ปญฺญตฺติ นาม รูปานิ ทฺวิธา นามสฺส ปจฺจยา ฯ


ข้อกำหนดที่ ๙ บัญญัติ นาม รูป เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นาม โดยปัจจัย ๒ ปัจจัย คือ

ก. ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ ๖ เรียกว่า อารัมมณปัจจัย

ข. ด้วยอำนาจแห่งความเป็นที่อาศัยอย่างแรงกล้า เรียกว่า อุปนิสสยปัจจัย

บัญญัติธรรม นามธรรม รูปธรรม ทั้ง ๓ นี้ เป็นปัจจัยแก่นามธรรม ๒ ปัจจัยเท่านี้เอง

ข.๑ ถ้าอารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นกระทำให้เอาใจใส่เป็นพิเศษ ก็เรียก ว่า อารัมมณูปนิสสยปัจจัย

ข.๒ จิต เจตสิก ที่เกิดขึ้นและดับไป เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ โดยเป็นที่อาศัย อย่างแรงกล้า ให้เกิดจิตเจตสิกที่เกิดขึ้นใหม่ โดยไม่มีระหว่างคั่นนั่นแหละ ได้ชื่อว่า อนันตรูปนิสสยปัจจัย

ข.๓ อกุสลธรรม มีราคะ เป็นต้น กุสลธรรม มีสัทธา เป็นต้น ความสุขกาย ความทุกข์กาย บุคคล อาหาร อากาศ(อุตุ) เสนาสนะ เหล่านี้เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่ธรรมทั้งหลาย มีกุสลธรรม เป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่ทั้งภายในและภายนอก พอสมควรก็ดี และกรรมซึ่งมีกำลังอย่างแรงกล้า เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิบาก นามขันธ์ก็ดี ชื่อว่า ปกตูปนิสสยปัจจัย

ทั้ง ๓ นี้ด้วยอำนาจแห่ง อุปนิสสยปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


หมวดที่ ๖ นามรูปเป็นปัจจัยแก่ นามรูป ๙ ปัจจัย

นวธา นามรูปานิ เตสํ โหนฺติ ยถารหํ

อาธิปจฺจ สหชาต อญฺโญญฺญ นิสฺสเย หิ จ

อาหารินฺทฺริยวิปฺป ยุตฺตตฺถยาวิคเต หิ จ ฯ


แปลความว่า นามรูปย่อมเป็นปัจจัยแก่นามรูป โดยปัจจัย ๙ ตามสมควร คือ อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรีย ปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และ อวิคตปัจจัย

มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ข้อกำหนดที่ ๑๐ ก. อารมณ์ ๖ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่พึงกระทำให้เอาใจใส่ เป็นพิเศษ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามนั้น ชื่อว่า อารัมมณาธิปติปัจจัย อย่างหนึ่ง

ข. อธิบดีทั้ง ๔ มี ฉันทาธิปติเป็นต้น ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่นามรูปที่เกิดพร้อมกันกับตนนั้น ชื่อว่า สหชาตาธิปติปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง

ทั้ง ๒ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง อธิปติปัจจัย

ข้อกำหนดข้อที่ ๑๑ ก. จิตและเจตสิก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน ทั้งช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกันกับตนด้วยนั้น อย่างหนึ่ง

ข. มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน ทั้งช่วยอุปการะแก่ อุปาทายรูปที่เกิดพร้อมกันกับตนด้วยนั้น อย่างหนึ่ง

ค. ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุและวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่กันและกันนั้น อีกอย่างหนึ่ง

ทั้ง ๓ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง สหชาตปัจจัย

ข้อกำหนดที่ ๑๒ ก. จิตและเจตสิกเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน อีก อย่างหนึ่ง

ข. มหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน อย่างหนึ่ง

ค. ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุและวิบากนามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่กันและกัน อีกอย่างหนึ่ง

ทั้ง ๓ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่ง อัญญมัญญปัจจัย

ข้อกำหนดที่ ๑๓ ก. จิตเจตสิก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน ทั้ง ช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกันกับตน และมหาภูตรูปทั้ง ๔ เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่กันและกัน ทั้งช่วยอุปการะแก่อุปาทายรูป ทั้งนี้เรียกชื่อว่า สหชาต นิสสยปัจจัย เพราะเป็นที่อิงอาศัยด้วยความที่เกิดพร้อมกัน

ข. วัตถุรูป ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๗ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า วัตถุปุเรชาตนิสสยปัจจัย เพราะวัตถุ ๖ อันเป็นที่อิงอาศัยให้เกิดวิญญาณธาตุ ๗ นั้น เกิดก่อนจิต

ค. หมายเฉพาะ หทยวัตถุ ที่เกิดพร้อมกับจิตดวงที่นับถอยหลังจากจุติจิต (ในมรณาสันนวิถี) ไป ๑๗ ขณะ เป็นที่อิงอาศัยแก่จิตที่เหลืออีก ๑๖ ขณะนั้น ในขณะที่เอา หทยวัตถุ เป็นอารมณ์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสย ปัจจัย

ทั้ง ก. ข. ค. นี้ด้วยอำนาจแห่ง นิสสยปัจจัย

ข้อกำหนดข้อที่ ๑๔ ก. อาหารที่พึงกระทำให้เป็นคำ (กพฬีการาหาร) เป็น ปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปกาย ที่ชื่อว่า รูปอาหารปัจจัย อย่างหนึ่ง

ข. นามอาหารทั้ง ๓ มี ผัสสาหาร เป็นต้น เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูป ที่เกิดพร้อมกันนั้น ชื่อว่า นามอาหารปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง

ทั้ง ๒ อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่ง อาหารปัจจัย

ข้อกำหนดข้อที่ ๑๕ ก. ปสาทรูปทั้ง ๕ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ ปัญจ วิญญาณ อย่างหนึ่ง (มีชื่อว่า ปุเรชาตินทรียปัจจัย บ้างก็เรียกว่า วัตถุปุเรชาตินทรีย ปัจจัย)

ข. รูปชีวิตินทรีย เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ อุปาทินนกรูป(กัมมชรูป) อย่าง หนึ่ง (มีชื่อว่า รูปชีวิตินทรียปัจจัย)

ค. นามอินทรีย องค์ธรรม ๘ (คือ ชีวิตินทรีย มนินทรีย เวทนา สัทธา วิริยะ สติ เอกัคคตา และปัญญา) เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่นามรูปที่เกิดพร้อมกัน กับตน อีกอย่างหนึ่ง (มีชื่อว่า สหชาตินทรียปัจจัย)

ทั้ง ๓ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง อินทริยปัจจัย

ข้อกำหนดข้อที่ ๑๖ ก. ในปฏิสนธิขณะ หทยวัตถุ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะ แก่ วิบากนามขันธ์ ๔ และจิตเจตสิก เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่รูปที่เกิดพร้อมกัน กับตนนั้น ชื่อว่า สหชาตวิปปยุตตปัจจัย อย่างหนึ่ง

ข. เจตสิกที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่ รูปที่เกิดก่อนนั้น ชื่อว่า ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย อย่างหนึ่ง

ค. ในปวัตติกาล วัตถุรูป ๖ เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่วิญญาณธาตุ ๗ นั้น ชื่อว่าปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง

ทั้ง ๓ อย่างนี้ด้วยอำนาจแห่ง วิปปยุตตปัจจัย

อนึ่ง ปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัยนี้ ยังแยกได้อีกเป็น ๒ คือ วัตถุปุเรชาตวิปป ยุตตปัจจัย และวัตถารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย เมื่อแยกดังนี้ วิปปยุตตปัจจัย ก็มี ๔ ได้แก่ สหชาตวิปปยุตตปัจจัย วัตถุปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย วัตถารัมมณปุเร ชาตวิปปยุตตปัจจัย และ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย

ข้อกำหนดข้อที่ ๑๗ จิต เจตสิก กับ รูป ยังคงมีอยู่โดยความเป็น สหชาต ก็ดี, ปุเรชาต (วัตถุปุเรชาต อารัมมณปุเรชาต) ก็ดี, ปัจฉาชาต ก็ดี, กพฬีการาหาร ก็ดี, รูปชีวิตินทรีย ก็ดี, เหล่านี้เป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน เพราะความที่ ยังคงมีอยู่นั้น ด้วยอำนาจแห่ง อัตถิปัจจัย

ข้อกำหนดข้อที่ ๑๘ จิต เจตสิก กับรูป ยังไม่ปราศจากกันไป เป็นปัจจัยช่วย อุปการะแก่กันและกัน เพราะความที่ยังไม่ปราศจากกันไปนั้น ด้วยอำนาจแห่ง อวิคตปัจจัย

อวิคตปัจจัยนี้ มีนัยเป็นทำนองเดียวกันกับ อัตถิปัจจัย ทุกประการ

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง

สหชาตํ ปุเรชาตํ ปจฺฉาชาตญฺจ สพฺพถา

กวฬิงฺกาโร อาหาโร รูปชีวิต มิจฺจยํ ฯ


แปลความว่า อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต, ปุเรชาต, ปัจฉาชาต, กพฬีการาหาร, และรูปชีวิตินทรีย

มีอธิบายว่า เพราะความที่ยังคงมีอยู่ จึงเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้เกิดมี เกิด เป็นขึ้น ซึ่งจำแนกออกได้เป็น ๕ อย่าง คือ

๑. สหชาตัตถิปัจจัย รูปนามที่เกิดพร้อมกันร่วมกันนั้น ยังคงมีอยู่จึงเป็นปัจจัย

๒. ปุเรชาตัตถิปัจจัย รูปที่เกิดก่อนนั้น ยังคงมีอยู่ จึงเป็นปัจจัย

๓. ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย นามที่เกิดทีหลัง แต่ยังไม่ทันดับไป คือยังคงมีอยู่นั้น เป็นปัจจัย

๔. อาหารัตถิปัจจัย หมายเฉพาะกพฬีการาหาร ซึ่งเป็นรูปอาหารอย่างเดียว และยังคงมีอยู่เป็นปัจจัย

ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และ วิญญาณาหาร รวมอีก ๓ อย่าง ซึ่ง เป็นนามอาหารนั้น ไม่นับเข้าใน อาหารัตถิปัจจัยนี้ด้วย

๕. อินทริยัตถิปัจจัย หมายเฉพาะรูปชีวิตินทรียแต่อย่างเดียว ซึ่งยังคงมีอยู่ เป็นปัจจัย

ส่วนนามอินทรีย องค์ธรรม ๘ ไม่นับเข้าในอินทริยัตถิปัจจัยด้วย

อัตถิปัจจัย มี ๖ อย่าง

อีกนัยหนึ่งแสดงว่า อัตถิปัจจัย มี ๖ อย่าง โดยแยกข้อ ๒ ปุเรชาตัตถิปัจจัย ออกเป็น ๒ คือ วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย ๑ และ อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย อีก ๑

อวิคตปัจจัย ก็มี ๕ หรือ ๖ อย่าง

อวิคตปัจจัย ซึ่งมีความหมายเป็นทำนองเดียวกันกับ อัตถิปัจจัยนั้น ก็จำแนก ได้เป็น ๕ ปัจจัย หรือ ๖ ปัจจัย อย่างเดียวกันกับอัตถิปัจจัยนั้นเหมือนกัน คือ

๑. สหชาตอวิคตปัจจัย
๒. วัตถุปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๓. อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย
๔. ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย
๕. อาหารอวิคตปัจจัย
๖. อินทรียอวิคตปัจจัย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มิ.ย. 2011, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัจจัยที่ ๔๗

ปัจจัย ๒๔ นี่แหละ บางปัจจัยก็ยังแยกได้เป็นอีกหลายอย่างหลายปัจจัย คือ

๑. อธิปติปัจจัย แยกได้เป็น ๒ คือ อารัมมณาธิปติปัจจัย และสหชาตาธิปติ ปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๐

๒. นิสสยปัจจัย แยกได้เป็น ๓ คือ สหชาตนิสสยปัจจัย วัตถุปุเรชาตนิสสย ปัจจัย และ วัตถารัมมณปุเรชาตนิสสยปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๓

๓. อุปนิสสยปัจจัย แยกได้เป็น ๓ คือ อารัมมณูปนิสสยปัจจัย อนันตรูป นิสสยปัจจัย และ ปกตูปนิสสยปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๙

๔. ปุเรชาตปัจจัย แยกได้เป็น ๒ คือ วัตถุปุเรชาตปัจจัย และ อารัมมณปุเร ชาตปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๘

๕. กัมมปัจจัย แยกได้เป็น ๒ คือ สหชาตกัมมปัจจัย และ นานักขณิกกัมม ปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๕

๖. อาหารปัจจัย แยกได้เป็น ๒ คือ รูปอาหารปัจจัย และนามอาหารปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๔

๗. อินทริยปัจจัย แยกได้เป็น ๓ คือ ปุเรชาตินทริยปัจจัย รูปชีวิตินทรีย ปัจจัย และ สหชาตินทริยปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๕

๘. วิปปยุตตปัจจัย แยกได้เป็น ๔ คือ สหชาตวิปปยุตตปัจจัย วัตถุปุเรชาต วิปปยุตตปัจจัย อารัมมณปุเรชาตวิปปยุตตปัจจัย และ ปัจฉาชาตวิปปยุตตปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๖

๙. อัตถิปัจจัย แยกได้เป็น ๖ คือ สหชาตัตถิปัจจัย วัตถุปุเรชาตัตถิปัจจัย อารัมมณปุเรชาตัตถิปัจจัย ปัจฉาชาตัตถิปัจจัย อาหารัตถิปัจจัย และ อินทริยัตถิ ปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๗

๑๐. อวิคตปัจจัย แยกได้เป็น ๖ คือ สหชาตอวิคตปัจจัย วัตถุปุเรชาตอวิคต ปัจจัย อารัมมณปุเรชาตอวิคตปัจจัย ปัจฉาชาตอวิคตปัจจัย อาหารอวิคตปัจจัย และ อินทริยอวิคตปัจจัย ตามข้อกำหนดข้อที่ ๑๘

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 90 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร