วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

:b42: โครงสร้างของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนา
โดย นิศา เชนะกุล รวบรวม


คำปรารภ


พวกเราชาวพุทธทั้งหลายผู้มีบุญหนุนให้ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนานั้น ต่าก็คงเคยได้สดับตรับฟัง
พระสัทธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาจากครูบาอาจารย์มากันมาต่อมาก แต่ดูๆ เหมือนว่าหลายท่าน
รวมทั้งดิฉันเองด้วย จะยังสับสนในข้ออรรถข้อธรรม แบบจับต้นชนปลายไม่ใคร่จะถูก ครั้นเมื่อดิฉัน
ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมด้านพระปริยัติธรรม ทั้งที่ได้ทรงแสดงไว้เป็นพระสุตตันตนัยและพระอภิธรรมนัย
รวมทั้งปกรณ์วิเศษและอรรถกถาบางเรื่อง จากสำนักต่างๆ ในกรุงเทพติดต่อเรื่อยมาตั้งแต่ปลายเดือน
มิถุนายน ๒๕๒๖ ก็เริ่มมีความเข้าใจ จึงได้ดำริจัดทำหนังสือโครงสร้างของพระสัทธรรมในพระพุทธศาสนา
ฉบับนี้ขึ้น เพื่อใช้อ้างอิงส่วนตัวและในหมู่ผู้สนใจ โดยแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ

ตอนที่หนึ่ง ว่าด้วยวัฏฏจักร อันเป็นหัวข้อธรรมที่แสดงถึงกลไกของเกลียวแห่งวัฏฏะ ที่หมุนวน พาสัตว์
ให้เวียนว่ายอยู่ในสงสารชั่วกัปป์กัลป์ ชนิดหาต้นไม่ได้ หาปลายไม่พบ

ตอนที่สอง ว่าด้วยธรรมจักร อันเป็นหัวข้อธรรมตรงกันข้าม ที่แสดงถึงกลไดของเกลียวแห่งธรรม อันส่อง
สัตว์ให้เห็นทางออกจากวัฏฏะ เข้าสู่ขันธวิมุตติ์หลุดพ้น บรรลุถึงฝากฝั่งพระนิพพาน

ดิฉันใคร่ขอถือโอกาสนี้ กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ เจ้าคุณศรีวิสุทธิกวี แห่งวัดโสมนัสวิหาร
อย่างสูงยิ่ง ที่ได้มีเมตตาเขียนคำอนุโมทนาสำหรับหนังสือโครงสร้งของสัทธรรมในพระพุทธศาสนานี้
อีกทังบรรดาสหธรรมิก ประกอบด้วยญาติสนิทมิตรสหาย เมื่อได้ทราบข่าวว่า จะมีการจัดพิมพ์หนังสือนี้
เพิ่มขึ้น เพื่อยังประโยชน์แก่สาธุชนผู้ใคร่ธรรมทั้งหลายให้กว้างขวางไปไกล ต่างก็เกิดมีจิตศรัทธาร่วมใจ
กันบริจาคสมทบ เป็นผลให้เพิ่มจำนวนพิมพ์ได้มากฉบับขึ้นกว่าเดิมที่กำหนดไว้ จึงขอขอบพระคุณเป็น
อย่างยิ่งมาพร้อมนี้

กุศลใดอันพึงได้พึงมีจากการนี้ ขอน้อมถวายเพื่อบูชาพระคุณของพระบรมศาสดา อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น ผู้ทรงยังโลกสามให้สว่างไสวคลายจากความมืดมน ตลอดจนทรงรื้อขนสรรพสัตว์ให้พ้นจาก
บ่วงแห่งมารได้ในที่สุด สำหรับข้อผิดพลาดบกพร่องนั้น ดิฉันขอรับไว้แต่ผู้เดียว ขอบัณฑิตผู้รู้ได้กรุณา
ทักท้วงแก้ไขด้วย

สุดท้ายนี้ขอทุกๆ ท่าน ผู้มีส่วนร่วมในการจัดพิมพ์ และแสวงประโยชน์จากหนังสือนี้ ได้โปรด
อนุโมทนาในมหากุศลครั้งนี้โดยทั่วกัน

นิศา เชนะกุล
๑ ตุลาคม ๒๕๓๑


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2013, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


พระธรรมวินัย

:b42: พระธรรม
ทรงแสดงเป็น(บุคคลาธิษฐาน).....พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
ทรงแสดงเป็น(ธรรมาธิษฐาน).....พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

:b42: พระวินัย
ทรงบัญญัติเป็น.....พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระไตรปิฎก
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

------------------------------

ตอนที่หนึ่ง: วัฏฏจักร

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่งเห็นจริง มิใช่เพื่อความไม่รู้ยิ่งเห็นจริง
(ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น)
เราแสดงธรรมประกอบด้วยเหตุ มิใช่ไร้เหตุ (ที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้)
เราแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ มิใช่ไม่มีปาฏิปาริย์
(คือความอัศจรรย์ที่ผู้ปฏิบัติตาม ย่อมได้รับผลสมควรแก่ความประพฤติปฏิบัติ)"

จาก โคตมสูตร อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต

:b8: :b8: :b8:


:b47: วัฏฏะ ๓

รูปภาพ

-------------------------------

:b47: ภูมิ ๓๑

อรูปภูมิ๔
รูปภูมิ๑๖
= พรหมโลก

เทวภูมิ๖
= สวรรค์/เทวโลก

มนุษย์ภูมิ๑
= มนุษย์โลก

อบายภูมิ๔
=นรก เปรต อสุรกาย และเดรัจฉาน

--------------------


:b47: ภพ ๒

๑. กรรมภพ =
ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร


๒. อุปปัติภพ =
กามภพ
รูปภพ
อรูปภพ


----------------------

:b47:กำเนิด ๔

๑. ชลาพุชะ = เกิดในมดลูก
๒. อัณฑชะ = เกิดในไข่
....................ข้อ ๑.และ๒. คือ คัพภะเสยยะกะ (เกิดในครรภ์)

๓. สังเสทชะ = เกิดในเถ้าไคลที่ชุ่มชื้น ยางเหนียว เกสรดอกไม้

๔. โอปปาติกะ = เกิดในอากาศโดยเติบโตทันที

-----------------------

ภูมิ ๓๑
:b47: อรูปภูมิ๔
เนวสัญญานานัญญายตนภูมิ
(๘๔,๐๐๐ มหากัปป์)

อากิญจัญญายตนภูมิ
(๖๐,๐๐๐ มหากัปป์)

วิญญานัญจายตนภูมิ
(๔๐,๐๐๐ มหากัปป์)

อากาสานัญจายตนภูมิ
(๒๐,๐๐๐ มหากัปป์)


:b47: รูปภูมิ๑๖
-สุทธาวาสภูมิ๕
อกนิฏฐาภูมิ
(๑๖,๐๐๐ มหากัปป์)

สุทัสสีภูมิ
(๘,๐๐๐ มหากัปป์)

สุทัสสาภูมิ
(๔,๐๐๐ มหากัปป์)

อตัปปาภูมิ
(๒,๐๐๐ มหากัปป์)

อวิหาภูมิ
(๑,๐๐๐ มหากัปป์)


-จตุตถฌานภูมิ๒
เวหัปผลาภูมิ อสัญญสัตตภูมิ
(๕๐๐ มหากัปป์) (๕๐๐ มหากัปป์)


-ตติยฌานภูมิ๓
ปริตตสุภาภูมิ อัปปมาณสุภาภูมิ สุภกิณหาภูมิ
(๑๖ มหากัปป์) (๓๒ มหากัปป์) (๖๔ มหากัปป์)


-ทุติยฌานภูมิ๓
ปริตตาภาภูมิ อัปปมาณาภาภูมิ อาภัสสราภูมิ
(๒ มหากัปป์) (๔ มหากัปป์) (๘ มหากัปป์)


-ปฐมฌานภูมิ๓
พรหมปาริสัชชาภูมิ พรหมปุโรหิตาภูมิ มหาพรหมภูมิ
(๑/๓ มหากัปป์) (๑/๒ มหากัปป์) (๑ มหากัปป์)


:b45: เทวภูมิ๖
ปรนิมมิตตวสวัสตีภูมิ (๑๖,๐๐๐ ปีทิพย์=๙,๒๑๖ ล้านปีมนุษย์)

นิมมานรตีภูมิ(๘,๐๐๐ ปีทิพย์=๒๓๐๔ ล้านปีมนุษย์)

ดุสิตาภูมิ(๔,๐๐๐ ปีทิพย์=๕๗๖ ล้านปีมนุษย์)

ยามาภูมิ(๒,๐๐๐ ปีทิพย์=๑๔๔ ล้านปีมนุษย์)

ดาวดึงสาภูมิ(๑,๐๐๐ ปีทิพย์=๓๖ ล้านปีมนุษย์)

จาตุมหาราชิกาภูมิ(๕๐๐ ปีทิพย์=๙ ล้านปีมนุษย์)


:b29: มนุษย์ภูมิ๑
มนุษย์โลก


:b55: อบายภูมิ๔
นรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน
(นรก=อสงไขย) (เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน=ไม่แน่นอน)


รูปภาพ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2013, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุจ้า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อนุโมทนาสาธุจ้า


:b8: ขอบพระคุณค่ะลุง ที่เข้ามาอ่าน
:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

รูปภาพ

:b45: กรรม

:b50: บาปอกุศล
:b51: ทุจริต ๑๐
๑. ฆ่าสัตว์
๒. ลักทรัพย์
๓. ผิดปประเวณี
=กายทุจริต ๓

๔. พูดปด
๕. พูดส่อเสียด
๖. พูดคำหยาบ
๗. พูดเพ้อเจ้อ
=วจีทุจริต ๔
๘. อภิชฌา
๙. พยาบาท
๑๐. มิจฉาทิฏฐิ
=มโนทุจริต ๓


:b50: บุญกุศล
:b51: บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐
๑. ทาน
๒. ปัตติทาน
๓. ปัตตานุโมทนาทาน
=ทานกุศล

๔. ศีล
๕. อปจายนะ
๖. เวยยาวัจจะ
=ศีลกุศล
๗.ธัมมัสสวนะ
๘. ธรรมเทศนา
๙. ภาวนา
๙.๑ สมถะ = อารมณ์ คือ กรรมฐาน๔๐
๙.๒ วิปัสสนา = อารมณ์ คือ รูปนามขันธ์๕ ไตรลักษณ์
=ภาวนากุศล

๑๐. ทิฏฐุชุกรรม คือใน ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล

--------------------------------------------

:b45: กรรม

อกุศล ทุจริต๑๐
กุศล
:b49: โลกียะกุศล เป็น วัฏฏะคามินีกุศล ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา = ละชั่ว ทำดี
:b50: โลกุตตระกุศล เป็น วิวัฏฏะคามินีกุศล ได้แก่ วิปัสสนา = ทำจิตให้บริสุทธิ์

:b42: โอวาทปาติโมกข์
ละชั่ว ทำดี ทำจิตให้บริสุทธิ์


:b45: กรรม ๑๒
ก. จำแนกตามหน้าที่การงาน
๑. ชนกกรรม ทำให้วิบากจิต และกัมมชรูปเกิดและตั้งอยู่ได้
๒. อุปถัมภกกรรม ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ
๓. อุปปีฬกกรรม เบียดเบียนกรรมอื่นๆ
๔. อุปฆาตกรรม ตัดรอนกรรมอื่นๆ ไม่ให้ส่งผลหรือให้สิ้นสุดลง

ข. จำแนกตามลำดับของการให้ผล
๑. ครุกกรรม กรรมหนัก มีกำลังแรงส่งผลแน่นอน
๒. อาสันนกรรม กรรมที่ทำหรือระลึกถึงเมื่อใกล้ตาย
๓. อาจิณณกรรม กรรมที่ทำหรือระลึกถึงเสมอเป็นนิจ
๔. กฏัตตากรรม กรรมเล็กน้อย สักแต่ว่าทำ

ค. จำแนกตามกำหนดเวลาของการให้ผล
๑. ทิฏฐุธรรมเวทนียกรรม ให้ผลในชาติปัจจุบัน
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม ให้ผลในชาติที่๒
๓. อปราปริยเวทนียกรรม ให้ผลในชาติที่๓ เป็นต้นไปจนเข้าถึงพระนิพพาน
๔. อโหสิกรรม ไม่ให้ผลอีกเลย

:b45: กรรม ๑๖
ง. จำแนกโดยฐานะที่ให้ผล
๑. อกุศลกรรม
๒. กามาวจรกุศลกรรม
๓. รูปาวจรกุศลกรรม
๔. อรูปาวจรกุศลกรรม

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b8: คลิ๊กดู ชีวิตนี้น้อยนัก...... พระครูเกษมธรรมทัต

http://www.youtube.com/watch?v=ZlO2tqzx ... A1C1F0BC30

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 08:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: วิบาก คือ ผลของกรรม ได้แก่

ขันธ์๕
รูป/กาย(ไม่รู้)........นาม/ใจ(รู้)


ขันธ์๕
๑. รูปขันธ์

สุข ทุกข์ อุเบกขา/อทุกขมสุข...= ๑. เวทนาขันธ์ = รู้สึก
๒. สัญญาขันธ์ = รู้จำ
๓. สังขารขันธ์ = รู้คิดนึก
๔. วิญญาณขันธ์ = รู้จัก


-----------------------------------------

อายตนะ๖ สิ่งที่เชื่อมต่อกันให้เกิดการรู้


รูป/กาย....ไม่รู้
๑. จักขายตนะ
๒. โสตายตนะ
๓. ฆานายตนะ
๔. ชิวหายตนะ
๕. กายายตนะ
นาม/ใจ....รู้ คือ มนายตนะ


-----------------------------------------

สฬายตนะ

อายตนะภายใน ๖.........................อายตนะ ภายนอก ๖
๑. จักขายตนะ................................๑. รูปายตนะ
๒. โสตายตนะ................................๒. สัททายนตนะ
๓. ฆานายตนะ................................๓. คันธายตนะ
๔. ชิวหายตนะ................................๔. รสายตนะ
๕. กายายตนะ................................๕. โผฏฐัพพายตนะ
๖. มนายตนะ..................................๖. ธัมมายตนะ

------------------------------------------

ธาตุ ๑๘


๑. จักขุธาตุ.....................๑. รูปธาตุ.....................๑. จักขุวิญญาณธาตุ
๒. โสตธาตุ.....................๒. สัททธาตุ..................๒. โสตวิญญาณธาตุ
๓. ฆานธาตุ.....................๓. คันธธาตุ...................๓. ฆานวิญญาณธาตุ
๔. ชิวหาธาตุ....................๔. รสธาตุ....................๔. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๕. กายธาตุ......................๕. โผฏฐัพพธาตุ.............๕. กายวิญญาณธาตุ
๖. มโนธาตุ......................๖. ธัมมธาตุ...................๖. มโนวิญญาณธาตุ

--------------------------------------

อาหาร ๔ คือ อาหารที่หล่อเลี้ยง รูปนาม/ขันธ์๕ หรือ กายใจ ได้แก่

๑. กวฬิงการาหาร = อาหารคือ คำข้าว ได้แก่อาหารที่บริโภค เพื่อหล่อเลี้ยงรูปร่างกาย
๒. ผัสสาหาร = อาหารคือ ผัสสะ ได้แก่การกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน อายตนะภายนอก
กับวิญญาณ อันเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
๓. มโนสัญเจตนาหาร = อาหารคือ ความจงใจ ได้แก่ เจตนา อันเป็นปัจจัยให้ก่อกรรม
๔. วิญญาณาหาร = อาหารคือ วิญญาณ อันเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป

-------------------------------------

สังขาร ๒
๑. อุปาทินนกสังขาร = สิ่งผสมปรุงแต่งที่มีวิญญาณครอง
๒. อนุปาทินนกสังขาร = สิ่งผสมปรุงแต่งที่ไม่มีวิญญาณครอง
หรือ
๑. อสังขาริกจิต = จิตไม่มีสังขาร คือ ความเพียรพยายามของตนและผู้อื่น
๒. สสังขาริกจิต = จิตมีสังขาร คือ ความเพียรพยายามของตนและของผู้อื่น

อภิสังขาร ๓
๑. ปุญญาภิสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร และ รูปาวจร
๒. อปุญญาภิสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนา ทั้งหลาย
๓. อาเนญชาภิสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร๔

สังขาร ๓
๑. กายสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย กายสัญเจตนา คือความจงใจทางกาย
๒. วจีสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา
๓. มโนสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ มโนสัญเจตนา คือความจงใจทางใจ

สังขาร ๔
๑. สังขตสังขาร = สังขาร คือ สังขตธรรม ได้แก่ สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
๒. อภิสังขตสังขาร = สังขาร คือ สิ่งที่กรรมแต่งขึ้น ได้แก่ รูปธรรมและนามธรรมในภูมิสามที่เกิดแต่กรรม
๓. อภิสังขรณกสังขาร = สังขาร คือ กรรมที่เป็นตัวการปรุงแต่ง ได้แก่ กุศลเจตนาและ อกุศลเจตนา
ทั้งปวงในภูมิสาม
๔. ปโยคาภิสังขาร = สังขาร คือ การประกอบความเพียร ได้แก่ กำลังความเพียรทางกายและทางใจ

[หมายเหตุ สังขาร ๖ ที่เป็นผลของอวิชชาคือ อภิสังขาร๓ + สังขาร๓]

รูปภาพ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 10:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




w07c_.jpg
w07c_.jpg [ 98.54 KiB | เปิดดู 8843 ครั้ง ]
:b53: กิเลส

อกุศลมูล ๓
๑. โลภะ = ตัณหา ราคะ นันทิ = ยินดีติดใจในอารมณ์
๒. โทสะ = โกธะ ปฏิฆะ พยาบาท = ปฏิเสธอารมณ์
๓. โมหะ = อวิชชา อันธะ = ไม่รู้อารมณ์ตามความเป็นจริง

อกุศลจิต ๑๒ ดวง
๑. โลภะมูลจิต ๘
๒. โทสะมูลจิต ๒
๓. โมหะมูลจิต ๒

อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง
โมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ
โลภะ ทิฏฐิ มานะ
โทสะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ
ถีนะ มิทธะ
วิจิกิจฉา

:b51: พระอริยบุคคล
๑. พระโสดาบันบุคคล ละได้ คือ โลภะจิต ๔ ดวง และโมหะจิต ๑ ดวง
๒. พระสกิทาคามีบุคคล ละได้ คือโดยการทำกิเลสที่เหลือให้เบาบางลง
๓. พระอนาคามีบุคคล ละได้ คือ โทสะจิต ๒ ดวง
๔. พระอรหันตบุคคล ละได้ คือ โลภะจิต ๔ ดวง โมหะจิต ๑ ดวง

การนอนเนื่องของอนุสัยกิเลส มี ๒ ประการ คือ
๑. สันตานานุสัยกิเลส คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในการเกิดขึ้นสืบต่อแห่งรูปนาม
๒. อารัมมณานุสัยกิเลส คือ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่อารมณ์ที่เป็นปิยรูป สาตรูป อปิยรูป อสาตรูป

กิเลส ๓ ประการ
๑. กิเลสอย่างหยาบ (วีติกมะกิเลส)
ได้แก่ กายทุจริต๓ วจีทุจริต๔
ละได้ ด้วย ศีล เป็นตทังคปหาณ คือ ละได้ เป็นครั้งคราวชั่วครู่

๒. กิเลสอย่างกลาง (ปริยุฏฐานะกิเลส)
ได้แก่ นิวรณ์๕ คือ กามฉันทะ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
ละได้ ด้วย สมาธิ เป็นวิกขัมภนปาณ คือ ละได้ ด้วยการข่มไว้

๓. กิเลสอย่างละเอียด (อนุสัยกิเลส)
ได้แก่ อนุสัย๗ คือ กามราคะ ปฏิฆะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา มานะ ภวราคะ และอวิชชา
ละได้ ด้วย ปัญญา จากการเจริญวิปัสสนา เป็นสมุจเฉทปหาณ คือ ละได้โดยเด็ดขาด

:b51: การละกายทุจริต๓ และ วจีทุจริต๔
๑. พระโสดาบันบุคคล ละได้ คือ กายทุจริต๓ มุสาวาท
๒. พระสกิทาคามีบุคคล ละได้โดยทำทุจริตที่เหลือให้เบาบางลง
๓. พระอนาคามีบุคคล ละได้ คือ ปิสุณาวาท ผรุสวาท
๔. พระอรหันตบุคคล ละได้ คือ สัมผัปปลาปะ

กิเลส คือ ธรรมอันเป็นเครื่องเศร้าหมอง ได้แก่
:b39: -กิเลส ๑๐
:b39: -อุปกิเลส ๑๖

กิเลส ๑๐
๑. โลภะ = ความโลภ
๒. โทสะ = ความโกรธ
๓. โมหะ = ความหลง
๔. มานะ = ความถือตน
๕. ทิฏฐิ = ความเห็นผิด
๖. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยฯ
๗. ถีนะ = ความท้อถอย
๘. อุทธัจจะ = ความฟุ้งซ่าน
๙. อหิริกะ = ความไม่ละอายต่อบาปทุจริต
๑๐. อโนตตัปปะ = ความไม่กลัวต่อบาปทุจริต

อุปกิเลส ๑๖
๑. อภิชฌา = ความเพ่งเล็งอยากได้ของๆ ผู้อื่นมาเป็นของตน
๒. พยาบาท = ความคิดปองร้าย
๓. โกธะ = ความโกรธ
๔. อุปนาหะ = ความผูกโกรธ
๕. มักขะ = การลบหลู่คุณท่าน
๖. ปลาสะ = การยกตัวตีเสมอ
๗. อิสสา = ความริษยา
๘. มัจฉริยะ = ความตระหนี่
๙. มายา = มารยา
๑๐. สาเถยยะ = โอ้อวด
๑๑. ถัมภะ = ความดื้อกระด้าง
๑๒. สารัมภะ = การแข่งดี
๑๓. มานะ = ความถือตัว
๑๔. อติมานะ = การดูหมิ่นท่าน
๑๕. มทะ = ความมัวเมา
๑๖. ปมาทะ = ความประมาท

-----------------------------

:b50: สังโยชน์ ๑๐......กิเลสเครื่องผูกมัดสัตว์โลก

๑. สักกายทิฏฐิ = ความเห็นผิดว่า มีตัวตน
๒. วิจิกิจฉา = ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยฯ
๓. สีลัพพตปรามาส = ความยึคมั่นในศีลและพรตนอกพระศาสนา
๔. กามราคะ = ความยินดีติดใจในกามคุณอารมณ์
๕. ปฏิฆะ = ความขุ่นข้องขัดเคืองใจ
๖. รูปราคะ = ความยินดีติดใจในรูปฌาน
๗. อรูปราคะ = ความยินดีติดใจในอรูปฌาน
๘. มานะ = ความถือตัว
๙. อุทธัจจะ = ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา = ความไม่รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง

:b47: การละสังโยชน์ ๑๐
๑. พระโสดาบันบุคคล ละได้ คือ ข้อ ๑-๒-๓
๒. พระสกิทาคามีบุคคล ละได้โดยทำสังโยชน์ที่เหลือให้เบาบางลง
๓. พระอนาคามีบุคคล ละได้ คือ ข้อ ๔-๕
๔. พระอรหันตบุคคล ละได้ คือ ข้อ ๖-๑๐ ที่เหลือทั้งหมด

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 11:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


ตอนที่สอง : ธรรมจักร

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราปฏิบัติ มิใช่เพื่อหลอกลวงคน เรียกร้องคน ให้มานับถือ
เพื่ออานิสงส์ ลาภสักการะ สรรเสริญ เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ แก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้
เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติเพื่อสังวร ความสำรวมระวัง เพื่อปหานะ ความละวาง เพื่อวิราคะ
ความคลาดกำหนัดยินดี เพื่อนิโรธะ ความดับทุกข์"

จาก พรหมจริยสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต

:b8: :b8: :b8:


:b42: อริยสัจจฺ์ ๔

:b50: ฝ่ายเกิด
(ฝ่ายผล)
๑. ทุกข์สัจจ์ ความจริง
คือ ทุกข์ ได้แก่ อุปาทานขันธ์
กิจ = ปริญญากิจ , ควรกำหนดรู้

(ฝ่ายเหตุ)
๒. สมุทัยสัจจ์ ความจริง
คือ เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
กิจ = ปหาณกิจ , ควรละ

:b50: ฝ่ายดับ
(ฝ่ายผล)
๓. นิโรธสัจจ์ ความจริง คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ นิพพาน
กิจ = สัจฉิกิริยากิจ , ควรทำให้แจ้ง

(ฝ่ายเหตุ)
๔. มรรคสัจจ์ ความจริง คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘
กิจ = ภาวนากิจ , ควรเจริญให้มาก


--------------------------------------
ปริวัตร ๓
๑. สัจจญาณ / ๒. กิจจญาณ / ๓. กตญาณ

ปริญญา ๓
๑. ญาตปริญญา / ๒. ตีรณปริญญา / ๓. ปหานปริญญา
=กำหนดรู้ตามสภาวะลักษณะ/ =กำหนดรู้โดยสามัญลักษณะ /=กำหนดรู้โดยการละ

ปหาน ๓
๑. วิกขัมภนปหาน / ๒. ตทังคปหาณ / ๓. สมุจเฉทปหาน
=ละด้วยการข่มไว้/ =ละได้ชั่วคราว /=ละโดยเด็ดขาด

---------------------------------------

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: ๑. ทุกขสัจจ์ ความจริงคือทุกข์ได้แก่

๑.๑ ชาติ
๑.๒ ชรา
๑.๓ มรณะ
---------------------
ข้อ ๑.๑-๑.๓ = สภาวะทุกข์

สภาวะทุกข์+ปกิณณกะทุกข์ = สังขิตทุกข์ คือทุกข์โดยสรุป ได้แก่ อุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕

ข้อ ๑.๔ - ๑.๑๑ = ปกิณณกะทุกข์
---------------------
๑.๔ โสกะ
๑.๕ ปริเทวะ
๑.๖ ทุกข์
๑.๗ โทมนัส
๑.๘ อุปายาส
๑.๙ พลัดพรากจากของรัก
๑.๑๐ ประสบกับสิ่งที่ไม่รัก
๑.๑๑ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: ๒. สมุทัยสัจจ์ ความจริง คือ เหตุแห่งทุกข์ ได้แก่
อวิชชา (โมหะ) = ความไม่รู้อารมณ์ตามความเป็นจริง
ตัณหา (โลภะ) = ความยินดีติดใจในอารมณ์
อุปาทาน (โลภะ) = ความยึคมั่นถือมั่น

อวิชชา คือ ความไม่รู้ธรรม ๘ ประการ ได้แก่
๑. อริยสัจจ์ ๔
๒. ขันธ์ธาตุอายตนะในอดีต
๓. ขันธ์ธาตุอายตนะในอนาคต
๔. ขันธ์ธาตุอายตนะในอดีตและอนาคต
๕. ปฏิจจสมุปบาท

ตัณหา ๓ ได้แก่
๑. กามตัณหา = ยินดีติดใจในกามคุณทั้ง ๕
๒. ภวตัณหา = ยินดีติดใจในภพ (รูปภพ, อรูปภพ) และความเห็นผิดว่าโลกเที่ยง (สัสสตทิฏฐิ)
๓. วิภวตัณหา = ความเห็นผิดว่าขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ)

อุปาทาน คือ ตัณหาอย่างแรง ได้แก่ ความยึคมั่นถือมั่น ๔ ประการ คือ
๑. กามุปาทาน = ยึคมั่นในกามคุณอารมณ์
๒. ทิฏฐุปาทาน = ยึคมั่นในความเห็นผิด
๓. สีลัพพตุปาทาน = ยึคมั่นในศีลและพรตนอกพระศาสนา
๔. อัตตวาทุปาทาน = ยึคมั่นถือมั่นในตัวตน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: ๓. นิโรธสัจจ์ ความจริง คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ พระนิพพาน

๑. นิพพาน ๑ ประเภท
โดยสภาวะ ลักษณะ นิพพานมี ๑ คือ สันติลักษณะ
ได้แก่ ความสงบจากกิเลส และขันธ์ทั้งหลาย

๒. นิพพาน ๒ ประเภท
โดยอาการของขันธ์ นิพพาน มี ๒ คือ
๒.๑ สอุปาทิเสสนิพพาน = ดับกิเลส แต่ขันธ์ยังเหลืออยู่
๒.๒ อนุปาทิเสสนิพพาน = ดับทั้งกิเลสและขันธ์ที่เหลือ

๓. นิพพาน ๓ ประเภท
โดยอาการเข้าไปแจ้ง นิพพาน มี ๓ คือ
๓.๑ อนิมิตตนิพพาน
= การเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนาม โดยความเป็น อนิจจัง จนบรรลุมรรคผล
๓.๒ อัปปณิหิตนิพพาน
= การเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนาม โดยความเป็น ทุกขัง จนบรรลุมรรคผล
๓.๓ สุญญตนิพพาน
= การเจริญวิปัสสนาภาวนากำหนดพิจารณารูปนาม โดยความเป็น อนัตตา จนบรรลุมรรคผล

๔. นิโรธ ๕ ประเภท
๔.๑ วิกขัมภนนิโรธ ดับกิเลสด้วยการข่มไว้
๔.๒ ตทังคนิโรธ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ
๔.๓ สมุจเฉทนิโรธ ดับกิเลสโดยเด็ดขาด
๔.๔ ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับอย่างสงบระงับ เพราะกิเลสหมดสิ้นแล้ว
๔.๕ นิสสรณนิโรธ ดับเพราะสลัดกิเลสออกได้อย่างเด็ดขาดแล้ว จึงดำรงอยู่ในภาวะนั้นตลอดไป

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ต.ค. 2013, 14:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ปรมัตถ์ธรรม๔ สงเคราะห์ ลงในขันธ์๕


ปรมัตถ์ธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

๑. จิต ได้แก่ วิญญาณขันธ์
๒. เจตสิก ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
๓. รูป ได้แก่ รูปขันธ์
ทั้งสามข้อนี้รวมเรียกว่า ขันธโลก
๔. นิพพาน ได้แก่ ขันธวิมุตติ

:b47: ขันธโลก หรือขันธ์ห้า จัดเป็น สังขตธรรม
คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
จึงตกอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์ คือ
อนิจจัง = ไม่เที่ยงเพราะเกิดดับ ถูกปิดบังด้วย สันตติ
ทุกขัง = เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้น ถูกปิดบังด้วย อิริยาบถ
อนัตตา = ไม่ใช่ตัวตนเพราะบังคับไม่ได้ ถูกปิดบังด้วย ฆนะสัญญา


:b47: ขันธวิมุติ หรือพระนิพพาน จัดเป็น อสังขตธรรม
คือ ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง มีลักษณะเป็น
นิจจัง = เที่ยง
สุขัง = เป็นสุข
อนัตตา = ไม่ใช่ตัวตน


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: มรรคสัจจ์ ความจริง คือ ทางไปสู่ความดับทุกข์

๑. สัมมาทิฏฐิ = เห็นชอบ
๒. สัมมาสังกัปปะ = ดำริชอบ
๓. สัมมาวาจา = เจรจาชอบ
๔. สัมมากัมมันตะ = การงานชอบ
๕. สัมมาอาชีวะ = เลี้ยงชีพชอบ
๖. สัมมาวายมะ = เพียรชอบ
๗. สัมมาสติ = ระลึกชอบ
๘. สัมมาสมาธิ = ตั้งมั่นชอบ


ไตรสิกขา
ศีล
= สัมมาวาจา , สัมมากัมมันตะ , สัมมาอาชีวะ
สมาธิ= สัมมาวายมะ , สัมมาสติ , สัมมาสมาธิ
ปัญญา = สัมมาทิฏฐิ , สัมมาสังกัปปะ


----------------------------------------

:b53: มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดแบ่งออกเป็น ๒ คือ

๑. ทิฏฐิสามัญ เกิดอยู่ประจำทั่วตัวคนและสัตว์เป็็นปกวิสัย (เว้นแต่พระอริยบุคคลเท่านั้นจึงจะละได้)
เรียกว่า สักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่า เป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

๒. ทิฏฐิพิเศษ เกิดกับบุคคลบางคนและบางโอกาสเท่านั้น ได้แก่
๒.๑ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓
ก. อเหตุกทิฏฐิ = ไม่เชื่อในเหตุ
ข. นัตถิกทิฏฐิ = ไม่เชื่อในผล
ค. อกิริยทิฏฐิ = ไม่เชื่อทั้งเหตุและผล


๒.๒ สัสสตทิฏฐิ = เห็นว่าโลกเที่ยง
๒.๓ อุจเฉททิฏฐิ = เห็นว่าขาดสูญ


:b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

:b51: สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นชอบ มี ๖ ประการ ได้แก่

๑. กัมมัสสกตสัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญาที่เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน
ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว

๒. ฌานสัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญาที่เห็นว่าการทำจิตให้สงบตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว
ย่อมสามารถข่มกิเลสนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้

๓. วิปัสสนาสัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาพิจารณา รูปนาม/กายใจ นี้เป็นไตรลักษณ์
คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

๔. มรรคสัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญาในมรรคญาณที่เข้าไปแจ้งในอริยสัจจ์ ๔ มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
สามารถประหารกิเลสได้โดยเด็ดขาด

๕. ผลสัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญาในผลญาณที่เสวยวิมุติสุขของพระนิพพาน
หลังจากที่มรรคญาณได้ประหารกิเลสแล้ว

๖. ปัจจเวกขณสัมมาทิฏฐิ
คือ ปัญญาที่เกิดขึ้นภายหลังมรรควิถีมีมรรคจิต ผลจิต นิพพาน
กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลือ(ยกเว้นพระอรหันต์) เป็นอารมณ์

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

:b51: สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ มี ๓ ประการได้แก่

๑. เนกขัมมะวิตก ได้แก่ ความดำริที่จะออกจากกามคุณอารมณ์ทั้ง ๕
๒. อพยาปาทะวิตก ได้แก่ ความดำริที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่พยาบาทปองร้าย
๓. อวิหิงสาวิตก ได้แก่ ความดำริที่ประกอบด้วยกรุณา ไม่เบียดเบียน

--------------------------------------

วิชชา ๓ หรือ อภิญญา ๓
๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ปัญญาที่ระลึกชาติในอดีต
๒. จุตูปปาตญาณ หรือ ทิพจักขุญาณ(ตาทิพย์) คือ ปัญญาที่รู้จุติ และปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย
๓. อาสวักขยญาณ คือ ปัญญารู้วิชชาที่ทำให้สิ้นอาสวะกิเลส

วิชชา ๖ หรือ อภิญญา ๖
ได้แก่ วิชชา๓ หรือ อภิญญา๓ ข้างต้น และ
๔. เจโตปริยญาณ คือ ปัญญาที่หยั่งรู้จิตใจผู้อื่น
๕. ทิพโสตญาณ คือ หูทิพย์
๖. อิทธิวิธี คือ ความสามารถในการสำแดงฤทธิ์เดชได้


-------------------------------------

ศีล ๕
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากการดื่มสุราของเมา

ศีล ๘
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากการดื่มสุราของเมา
๖. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
๗. เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการเล่น
ทัดทรงดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ ประดับตกแต่งร่างกาย
๘. เว้นจากที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่

อาชีวัฏฐมกศีล
๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. เว้นจากการลักทรัพย์
๓. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
๔. เว้นจากการพูดปด
๕. เว้นจากการพูดส่อเสียด
๖. เว้นจากการพูดคำหยาบ
๗. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
๘. เว้นจากมิจฉาอาชีวะ คือ
๑) ค้าขายเครื่องประหาร
๒) ค้าขายมนุษย์
๓) ค้าขายสัตว์สำหรับฆ่าทำเป็นอาหาร
๔) ค้าขายน้ำเมา
๕) ค้าขายยาพิษ

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 18:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b53: สมถกรรมฐาน(สมถะภาวนา)

มีอารมณ์ คือ กรรมฐาน ๔๐ ได้แก่
๑. กสิณ ๑๐ = มหาภูตกสิณ๔ วัณณกสิณ๔ อากาสกสิณ๑ อาโลกกสิณ๑
๒. อสุภะ ๑๐ = ซากศพในสภาพต่างๆ ๑๐ ประเภท
๓. อนุสติ ๑๐ = พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ
สีลานุสติ จาคานุสติ เทวตานุสติ อุปสมานุสสติ มรณานุสติ กายคตาสติ อานาปานัสสติ

๔. อัปปมัญญา ๔ = เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
๕. อาหาเรปฏิกูลสัญญา = กำหนดพิจารณาอาหารโดยความเป็นปฏิกูล
๖. จตุธาตุววัฏฐาน = กำหนดพิจารณารูปร่างกายโดยความเป็นธาตุ ๔
๗. อรูป ๔ = กำหนดพิจารณาอรูปฌานทั้ง ๔

นิมิต ๓
๑. บริกรรมนิมิต ๒. อุคคหนิมิต ๓. ปฏิภาคนิมิต

ภาวนา ๓
๑. บริกรรมภาวนา ๒. อุปจารภาวนา ๓. อัปปนาภาวนา

สมาธิ ๓
๑. ขณิกกสมาธิ ๒. อุปจารสมาธิ ๓. อัปปนาสมาธิ

องค์ฌาน ๕
๑. วิตก
๒. วิจาร
๓. ปีติ
๔. สุข
๕.เอกกัคคตา


:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b53: วิปัสสนาภูมิ ๖
ได้แก่การเจริญปัญญา คือ วิปัสสนาภาวนา และเข้าไปแจ้งธรรม ๖ ประการ ได้แก่
๑. ขันธ์ ๕
๒. อายตนะ ๑๒
๓. ธาตุ ๑๘
๔. อินทรีย์ ๒๒
๕. อริยสัจจ์ ๔
๖. ปฏิจจสมุปบาท ได้แก่ อวิชชา-->สังขาร-->วิญญาณ-->นามรูป-->สฬายตนะ-->ผัสสะ-->
เวทนา-->ตัณหา-->อุปาทาน-->ภพ-->ชาติ ชรา มรณะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


:b53: วิปัสสนากรรมฐาน (วิปัสสนาภาวนา)

ได้แก่การเจริญ มหาสติปัฏฐาน ๔

๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๑.๑ อานาปานสติ = กำหนดลมหายใจ
๑.๒ อิริยาบถ = กำหนดการยืน เดิน นั่ง นอน
๑.๓ สัมปชัญญะ = กำหนดอิริยาบถย่อย
๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ = กำหนดรูปร่างกายเป็นสิ่งโสโครก
๑.๕ ธาตุมนสิการ = กำหนดรูปร่างกายสักแต่ว่าเป็นธาตุ
๑.๖ นวสีวถิกา = กำหนดป่าช้าทั้ง ๙


๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน = กำหนดเวทนา ๓

๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน = กำหนดจิต ๘ คู่

๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน = กำหนดธรรมต่อไปนี้
๔.๑ อริยสัจจ์ ๔ = ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
๔.๒ ขันธ์ ๕ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
๔.๓ นิวรณ์ ๕ = กามฉันทะ พยาบาท ถีนะมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจจะ วิจิกิจฉา
๔.๔ สฬายตนะ = อายตนะภายใน ๖, อายตนะภายนอก ๖
๔.๕ โพชฌงค์ ๗ = สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา


:b53: อารักขกรรมฐาน ๔
๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า
ได้แก่ พระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ

๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุข
๓. อสุภะ พิจารณารูปร่างกายของตนและผู้อื่นให้เห็นว่าไม่งาม
๔. มรณานุสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนทุกเมื่อ

:b53: โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ๓๗ ประการ ได้แก่
๑. สติปัฏฐาน ๔
๑.๑ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๑.๒ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๑.๓ จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
๑.๔ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

๒. สัมมัปปธาน ๔
๒.๑ สังวรปธาน = เพียรระวัง....บาปอกุศล
๒.๒ ปหานปธาน = เพียรละ......บาปอกุศล
๒.๓ ภาวนาปธาน = เพียรเจริญ.......บุญกุศล
๒.๔ อนุรักขนาปธาน = เพียรรักษา...บุญกุศล

๓. อิทธิบาท ๔
๓.๑ ฉันทะ = ความพอใจ
๓.๒ วิริยะ = ความเพียร
๓.๓ จิตตะ = ความตั้งใจ
๓.๔ วิมังสา = ความไตร่ตรองด้วยปัญญา

๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕

อินทรีย์ ๕ และพละ ๕ ...ได้แก่ ๑. ศรัทธา ๒. วิริยะ ๓. สติ ๔. สมาธิ ๕. ปัญญา

๖. โพชฌงค์ ๗
๖.๑ สติสัมโพชฌงค์
๖.๒ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์
๖.๓ วิริยะสัมโพชฌงค์
๖.๔ ปิติสัมโพชฌงค์
๖.๕ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖.๖ สมาธิสัมโพชฌงค์
๖.๗ อุิเบกขาสัมโพชฌงค์

๗. มรรค มีองค์ ๘
๗.๑ สัมมาทิฏฐิ
๗.๒ สัมมาสังกัปปะ
๗.๓ สัมมาวาจา
๗.๔ สัมมากัมมันตะ
๗.๕ สัมมาอาชีวะ
๗.๖ สัมมาวายามะ
๗.๗ สัมมาสติ
๗.๘ สัมมาสมาธิ

:b53: สังวร ๕
๑. ปาติโมกขสังวร = สำรวมในสิกขาบท
๒. สติสังวร = สำรวมด้วยสติ
๓. ญาณสังวร = สำรวมด้วยปัญญา
๔. ขันติสังวร = สำรวมด้วยความอดทน
๕. วิริยะสังวร = สำรวมด้วยความเพียร

ปาริสุทธิศีล ๔
๑. ปาติโมกขสังวรศีล สำเร็จได้ด้วย ศรัทธา
๒. อินทรียสังวรศีล สำเร็จได้ด้วย สติ
๓. อาชีวปาริสุทธิศีล สำเร็จได้ด้วย วิริยะ
๔. ปัจจัยสันนิสิตศีล สำเร็จได้ด้วย ปัญญา

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2013, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: วิสุทธิ ๗
๑. สีลวิสุทธิ มีศีลบริสุทธิ์ ได้แก่ ปาริสุทธิศีล๔
๒. จิตตวิสุทธิ มีจิตบริสุทธิ์ ได้แก่ สงบจากนิวรณ์๕
๓. ทิฏฐิวิสุทธิ มีความเห็นบริสุทธิ์ ได้แก่ รู้รูปนามตามความเป็นจริง
๔. กังขาวิตรนวิสุทธิ มีการข้ามพ้น ความสงสัยอย่างบริสุทธิ์
๕. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มีความเห็นด้วยญาณ รู้ว่าทางหรือมิใช่ทางอย่างบริสุทธิ์
๖. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ มีความเห็นด้วยญาณ รู้ทางดำเนินอย่างบริสุทธิ์
๗. ญาณทัสสนวิสุทธิ มีความเห็นด้วยญาณ รู้พระนิพพาน

หมายเหตุ
ข้อ ๑ = ศีลบริสุทธิ์
ข้อ ๒ = สมาธิบริสุทธิ์
ข้อ ๓-๗ = ปัญญาบริสุทธิ์

:b42: วิปัสสนาญาณ ๑๖
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ = รู้จำแนกรูปนาม
๒. ปัจจยปริคคหญาณ = รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม
๓. สัมมสนญาณ = พิจารณารูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์
๔. อุทยัพพยญาณ = ตามเห็นความเกิดดับของสังขาร(ตรุณ,พลว)
๕. ภังคญาณ = ตามเห็นความดับสลายของสังขาร
๖. ภยญาณ = ตามเห็นความดับสลายของสังขาร
๗. อาทีนวญาณ = เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์โทษ
๘. นิพพิทาญาณ = เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ = ปรารถนาจะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
๑๐. ปฏิสังขาญาณ = พิจารณามองหาทางคืออุบายออกจากทุกข์
๑๑. สังขารุเบกญาณ = พิจารณาสังขารโดยความวางเฉยเป็นกลาง(ต้น,ปลาย)
๑๒. อนุโลมญาณ = หยั่งรู้สังขารเป็นครั้งสุดท้ายโดยความเป็นไตรลักษณ์
๑๓. โคตรภูญาณ = ข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
๑๔. มัคคญาณ = ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ = ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลในขั้นต่างๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ = พิจารณาทบทวน มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละได้ และกิเลสที่เหลือ
(กิเลสที่เหลือยกเว้นพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่)

:b42: วิปัสสนูปกิเลส ๑๐(ต้องเกิดกับทุกบุคคลที่ พลวอุทยัพพยญาณ)
๑. โอภาส = แสงสว่าง
๒. ญาณ = ปัญญา
๓. ปีติ = ความอิ่มใจ
๔. ปัสสัทธิ = ความสงบ
๕. สุข = ความสบายใจ
๖. อธิโมกข์ = ศรัทธาแก่กล้า
๗. ปัคคาหะ = ความเพียรแก่กล้า
๘. อุปัฏฐานะ = สติแก่กล้า
๙. อุเบกขา = ความวางเฉย
๑๐. นิกันติ = ความยินดีติดใจ
:b53: (ข้อ๑-๙. เป็นกุศล / ส่วนข้อ๑๐. เป็นอกุศล)

:b42: สงเคราะห์ ญาณ ๑๖ ลงในปริญญากิจ วิสุทธิ และอารมณ์

ปริญญา ๓ (ปัญญาที่มีการกำหนดรู้)
๑. ญาตปริญญา (การกำหนดรู้ ด้วยการรู้)
๒. ตีรณปริญญา (การกำหนดรู้ ด้วยการพิจารณา ไตร่ตรองใคร่ครวญ
๓. ปหาณปริญญา (การกำหนดรู้ ด้วยการละ)
ประหาณกิเลสได้เป็นตทังคปหานโดยความเป็นอารัมมณานุสัยกิเลส
และประหาณกิเลสได้เป็นสมุจเฉทปหานโดยความเป็นสันตานานุสัยกิเลสและอารัมมณานุสักิเลส


วิสุทธิ ๑ สีลวิสุทธิ
วิสุทธิ ๒ จิตตวิสุทธิ
:b47: :b47: :b47:

:b53: วิสุทธิ ๓
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ
:b53: วิสุทธิ ๔
๒. ปัจจยปริคคหญาณ........ญาตปริญญา(๑-๒)
:b47: :b47: :b47:

:b53: วิสุทธิ ๕
๓. สัมมสนญาณ
๔.๑) ตรุณอุทยัพพยญาณ........ตีรณปริญญา(๓-๔.๑)
:b47: :b47: :b47:
:b53: วิสุทธิ ๖
๔.๒) พลวอุทยัพพยญาณ........ตีรณปริญญา

๕. ภังคญาณ
๖. ภยญาณ
๗. อาทีนวญาณ
๘. นิพพิทาญาณ
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ
๑๐. ปฏิสังขาญาณ
๑๑. สังขารุเบกญาณ
๑๒. อนุโลมญาณ ........ปหานปริญญา(ตั้งแต่๕-๑๒)

๑๓. โคตรภูญาณ.........นับสงเคราะห์โดยปริยายเข้าในวิสุทธิ๖ และเป็นปหานปริญญา

(หากเป็นพระโสดาบันบุคคลแล้วเริ่มงานมรรคต่อไปที่พลวอุทยัพพยญาณ
แต่ปุถุชนทั่วไปทั้งที่ได้ญาณแล้วหรือยังไม่ได้ญาณ ต้องเริ่มงานที่นามรูปปริจเฉทญาณทุกครั้งโดยมี สีลวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ เป็นเหตุ)

:b53: วิสุทธิ ๗
๑๔. มัคคญาณ .............ปหานปริญญา เป็นสมุจเฉทปหาน

๑๕. ผลญาณ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ.....นับสงเคราะห์โดยปริยายเข้าในวิสุทธิ๗ และเป็นปหานปริญญา(๑๕-๑๖)
:b47: :b47: :b47:

:b49: โลกียญาณ
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ = รู้จำแนกรูปนาม
๒. ปัจจยปริคคหญาณ = รู้เหตุปัจจัยของรูปนาม
มีรูปนามเป็นอารมณ์ (๑-๒)

๓. สัมมสนญาณ = พิจารณารูปนามโดยความเป็นไตรลักษณ์
๔. อุทยัพพยญาณ = ตามเห็นความเกิดดับของสังขาร
๕. ภังคญาณ = ตามเห็นความดับสลายของสังขาร
๖. ภยญาณ = ตามเห็นความดับสลายของสังขาร
๗. อาทีนวญาณ = เห็นสังขารทั้งปวงว่าเป็นทุกข์โทษ
๘. นิพพิทาญาณ = เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ = ปรารถนาจะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
๑๐. ปฏิสังขาญาณ = พิจารณามองหาทางคืออุบายออกจากทุกข์
๑๑. สังขารุเบกญาณ = พิจารณาสังขารโดยความวางเฉยเป็นกลาง
๑๒. อนุโลมญาณ = หยั่งรู้สังขารเป็นครั้งสุดท้ายโดยความเป็นไตรลักษณ์
มีไตรลักษณ์ในรูปนามเป็นอารมณ์ (๓-๑๒)

:b49: โลกียญาณพิเศษ
๑๓. โคตรภูญาณ = ข้ามพ้นจากภาวะปุถุชนเข้าสู่ภาวะอริยบุคคล
มีนิพพานเป็นอารมณ์

:b49: โลกุตตรญาณ
๑๔. มัคคญาณ = ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ = ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลในขั้นต่างๆ
มีนิพพานเป็นอารมณ์ (๑๔-๑๕)

:b49: โลกียญาณพิเศษ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ = พิจารณาทบทวน มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละได้ และกิเลสที่เหลือ
มี มรรค ผล นิพพาน กิเลสที่ละ กิเลสที่เหลือ(ยกเว้นพระอรหันต์) ......เป็นอารมณ์


:b8: :b8: :b8:
มีบางส่วนที่นอกเหนือจากหนังสือโครงสร้างฯ ซึ่งผู้จัดทำกระทู้ได้นำเนื้อหาจากตำราเรียนของ อชว.มาเพิ่มเติม เพื่อผู้อ่านเกิดความเข้าใจมากขึ้นค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2013, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คัมภีร์ต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา

สายพระไตรปิฎก
:b42: พระบาลี
- พระวินัย
- พระสูตร
- พระอภิธรรม

:b47: อรรถกถา (วัณณนา) : อธิบายพระบาลี เช่น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น
:b47: ฎีกา : อธิบาย อรรถกถา เช่น คัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินี เป็นต้น
:b47: อนุฎีกา : อธิบายฎีกา
:b47: นวฎีกา : อธิบายอนุฎีกา
:b47: โยชนา : บอกวิธีแปลอรรถกถาและฎีกา
:b47: คัณฐี : อธิบายความตอนใดตอนหนึ่งในอรรถกถาและฎีกา

สายปกรณ์พิเศษ
:b42: ว่าด้วย
- พระวินัย
- พระสูตร
- พระอภิธรรม

มีลำดับเป็นบาลี อรรถกถา ฎีกา ฯลฯ เช่นเดียวกับสายพระไตรปิฎก เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค
คัมภีร์เปฎโกปเทส คัมภีร์เนตติปกรณ์ คัมภีร์อภิธัมมาวตาร และมิลินทปัญหา เป็นต้น

สายสัททาพิเศษ
:b42: ว่าด้วยหลักไวยากรณ์ภาษาบาลีในแนวต่างๆ โดยมุ่งสอนให้อ่านพระไตรปิฎกได้แตกฉาน
และแต่งภาษาบาลีได้ เช่น คัมภีร์รูปสิทธิคัมภีร์โมคคัลลานะ และคัมภีร์สัททนีติ เป็นต้น

สายปกิณณกะ
:b42: ว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ด เช่น ธรรมะบางข้อ ความรู้เกี่ยวกับโลกและจักรวาลประวัติศาสตร์ ตำนาน
และพงศาวดาร ฯลฯ เช่น คัมภีร์โลกสัณฐาน และคัมภีร์โลกทีปนี เป็นต้น

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2013, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก และอรรถกถา


... :b42: พระวินัย
- มหาวิภังค์
- ภิกขุนีวิภังค์
- มหาวรรค
- จุควรรค
- ปริวาร

(ปาติโมกข์)
...:b42: อรรถกถา รวมทั้งหมดนี้ตั้งแต่มหาวิภังค์จนถึงปริวาร
รวมทั้งหมดคือ สมันตปาสาทิกา
(กังขาวิตรณี)
:b8: :b8: :b8:


...:b42: พระสูตร
- ทีฆนิกาย
- มัชฌิมนิกาย
- สังยุตตนิกาย
- อังคุตรนิกาย
- ขุททกนิกาย*
...:b42: อรรถกถา
- สุมังคลวิลาสินี
- ปปัญจสูทนี
- สารัตถัปปกาสินี
- สโนรถปูรณี
- *ปรมัตถโชติกา, ธัมมปทัฏฐกถา, ปรมัตถทีปนี, สัทธัมมัปปกาสินี,
ชาตกัฏฐกถา, สัทธัมมัปปัชโชติกา, วิสุทธชนวิสาสินี, มธุรัตถวิลาสินี
-------------------------

ขุททกนิกาย*(พระสูตร)
- ขุททกปาฐะ, สุตตนิบาต
- ธรรมบท
- อุทาน, อิติวุตตกะ
- วิมาน, เปตวัตถุ
- เถรคาถา, เถรีคาถา
- จริยาปิฎก

- ปฏิสัมภิทามรรค
- ชาดก
- นิเทส
- อปทาน
- พุทธวงศ์
*(อรรถกถา)
- ปรมัตถโชติกา
- ธัมมปทัฏฐกถา
- ปรมัตถทีปนี
(ปรมัตถทีปนี รวม- อุทาน, อิติวุตตกะ/- วิมาน, เปตวัตถุ/- เถรคาถา, เถรีคาถา/-จริยาปิฎก)
- สัทธัมมัปปกาสินี
- ชาตกัฏฐกถา
- สัทธัมมัปปัชโชติกา
- วิสุทธชนวิลาสินี
- มธุรัตถวิลาสินี
:b8: :b8: :b8:


... :b42: พระอภิธรรม
- ธัมมสังคณี
- วิภังค์
- ธาตุกถา
- ปุคคลบัญญัติ
- กถาวัตถุ
- ยมก
- ปัฏฐาน

(อภิธรรม)
... :b42: อรรถกถา
- อัฏฐสาลินี
- สัมโมหวิโนทนี
- ปัญจปกรณัฏฐกถา(ธาตุกถา, ปุคคลบัญญัติ, กถาวัตถุ, ยมก, ปัฏฐาน)
(อภิธัมมัตถสังคหะ)
:b8: :b8: :b8:


ขอเชิญอ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j& ... MqgxSEghFg

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 12 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 21 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร