วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 03:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 18:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


พอดีไปอบรมปริยัติและปฏิบัติมา อ.สอนเกี่ยวกับจิต
ท่านยกตัวอย่างมาว่า
เกิดจากจิต 93, อาหาร 3 รูป = วิการรูป 3
ที่สงสัยคือ จิตมี 89 ดวง โดยพิสดาร 121 ดวง
แล้วเกิดจากจิต 93 ดวง มีท่านผู้เจริญในธรรมท่านใดพอจะอธิบายให้เข้าใจได้หรือเปล่าคะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 19:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 191


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเหมาะสมตามวุฒิภาวะบุคคลแต่ละคนนั้น มีฐานะอันสมควรที่จะเรียนรู้ให้เหมาะสมแก่ตน แก่บุคคลนั้นๆ หากไม่รู้จักความเหมาะสมตามวุฒิภาวะแต่ละบุคคลแล้ว ผลของการเรียนรู้ย่อมไม่เกิดประสิทธิภาพ มีผลน้อย เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ตรง ตามความเห็นของผมนั้น การที่คุณไปเรียนปริยัติ ปฏิบัติเพื่อจะฝึกขัดเกลากิเลส ฝึกจิตใจให้มีความสงบระงับตามลำดับ ควรจะหาแนวทางที่ถูกจริตกับตนเอง เหมาะสมกับภาวะบุคคล กาลเวลา จะไปก้าวกระโดดข้ามพื้นฐานที่ควรจะเรียนรู้นั้น จะเป็นการทำให้เกิดความยุ่งยากสับสนแก่ตนเองมากกว่าที่จะได้รับความสงบ ความสงบยังไม่เกิดมี จะไปรู้จิตอย่างละเอียดได้อย่างไร หลักปฏิบัติที่สำคัญในพระพุทธศาสนา มีทาน ศีล ภาวนา สามอย่างนี้ควรเรียนรู้ปฏิบัติให้ได้ก่อน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2011, 12:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อาจฟังผิดก็ได้นะครับโยม ลองฟังลองถามเพื่อนใหม่ดู
จิต ๘๙ นี้ ๘๑ ดวงนับเฉพาะโลกีย์ภูมิ อีก ๘ ดวงที่เหลือ
ในโลกุตตระภูมิ ของพระอริยบุคคล แบ่ง ๘ ดวงนั้น ๔
ดวงเป็นโสดาปัตติมรรค สกิทาคามีมรรค อนาคามีมรรค
อรหัตตมรรค อีก ๔ โสดาปัตติผล สกิทาคามีผล อนาคามีผล
อรหัตตผล ที่นี้โดยพิศดาร ๑๒๑ ก็คือ โดยปฐมฌาน ทุติยฌาน
ตติยฌาน จตุถฌาน ปัญจมฌาน ๕ ดวงนี้ X ภูมิของอริยบุคคล
ทั้งมรรค ๔ และผล ๔ = ๔๐ ดวง

๔๐ ดวง + ๘๑ = ๑๒๑ ดวงพอดี

อาจฟังผิดก็ได้ ท่านกล่าวว่า การที่มนุษย์หรือคนเราจะขยับเคลื่อนไหว
ร่างกายได้ต้องประกอบด้วยรูป( วิการรูป)ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่
ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา สามรูปนี้ประกอบกับ มหาภูตรูปจึงทำให้
คนเราเคลื่อนไหวได้ บางทีอาจฟังผิด หรือหากไม่ใช้ ได้พบโยมอาจารย์
แววมยุรีอีก ก็ลองถามดู ว่าที่ยกตัวอย่าง เรื่องจิต นั้นเป็นสมุฏฐานของจิต
ที่ประกอบกับวิการรูปใช่หรือไม่ ไม่ใช่จิตเกิด ๙๓ ดวง

หรือหากใช่ โยมอาจารย์นับจิต นับรูปอย่างไร ถึงได้ ๙๓ ได้คำตอบแล้ว
ก็ลองนำมาบอกไว้เป็นวิทยาทานก็ไม่เสียหายครับ ขอเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการค่ะ ท่านพุทธฎีกา

ไม่ได้ฟังผิดนะคะ เพื่อน ๆ ที่ไปอบรมด้วยการที่มูลนิธิแนบ ก็สงสัยเหมือนกันค่ะ เพราะตามแผนภูมิปรมัตถธรรม ก็มีบอก แล้วหนูก็ศึกษาพระอภิธรรมอยู่ด้วย ก็ยังสงสัยแต่ไม่กล้าถาม เพราะทางมูลนิธิบอกว่า อะไรทุกอย่างที่เรียนที่ปฏิบัติมาให้ทิ้งให้หมด ให้เริ่มต้นใหม่ ก็เลยไม่กล้าถามค่ะท่าน แต่มีเพื่อนของเพื่อนบอกว่าเคยฟัง อ.แนบ ท่านบรรยายเหมือนกัน ก็มี 93 ดวงเหมือนกันค่ะ

สาธุค่ะท่าน

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


นมัสการค่ะท่าน

เขาสอนแตกต่างกันมากค่ะ ของหนูศึกษาจาก อ.สุจินต์ อย่าง รูปหยาบ รูปละเอียด ทางที่มูลนิธิเขาจะสอนว่า รูปหนัก รูปเบา ค่ะ แม้กระทั่งการปฏิบัติ ก็เพียงแค่ให้ ระลึกรู้อิริยาบถ 4 รูปใหญ่ นั่ง นอน ยืน เดิน ปกติหนูเป็นคนที่นั่งสมาธิมาตั้งแต่อายุ 14 โดยการเพ่งพระพุทธรูป ก็เลยติดสมถะค่ะ เวลาที่ไปถามปัญหา แม่ชีก็จะบอกแค่ว่า ตอนนี้รู้ว่านั่งอยู่หรือเปล่า ก็ให้รู้สึกแบบนี้แหละ ก็เลยไม่เข้าใจหลาย ๆ อย่าง เกิดการสับสนตีกันวุ่นไปหมดค่ะ

สาธุค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ต.ค. 2011, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


เจริญพร

อนุโมทนาสาธุครับ ดังนั้นการศึกษาการฟังการไตร่ถามย่อมมีส่วน
เือื้อในการพิจารณาปรมัตถธรรมได้ดียิ่งขึ้นครับ เรื่องติดสมถะ

ถ้าศึกษาไปก็จะได้ยินจากโยมอาจารย์สุจินต์เองนะครับ หรือดู
ที่แผงจิตก็ได้หากมี ว่ารูปาวจรกุศลจิต ต้องประกอบหรือสัมปยุต
ด้วยญาณ คือมีปัญญาประกอบร่วมด้วยทั้งนั้น

ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ในแนวทางที่ถูกต้อง ปิติสุขที่เกิดจากสมาธิ
ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายครับ การข่มกิเลสนิวรณ์หรือที่เรียกว่าวิขัมภน-
ปหาน ส่วนการระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ชั่วขณะสั้น
พิจารณาแต่ อารมณ์ปัจจุบัน นั่นเรียกว่า ตทังคปหาน

คือการสละองค์ปฏิปักษ์ หรือธรรมที่คู่กันละหว่าง ความเห็นว่าเที่ยง
ก็จะถูกละหรือสละความเห็นนั้นๆ เมื่อไตรลักษณ์ปรากฏ ว่าไม่เที่ยง
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ปรากฏ แทนที่ นิจจัง สุขขัง อนัตตา การเจริญ
สมถะ อบรมสมาธิ หรือสัมมาสมาธิแท้ๆ ที่มีปัญญาประกอบร่วมด้วย
นั่นจะเกิด สุขขัง(องค์ฌาน) ในฌาน เกิดนิจจังว่าสุขนี้เที่ยง จิตเที่ยง
จิตหรือสุขนี้เป็นอัตตา นี้คือเหตุผลที่ ตัณหาและทิฏฐิ ยังครอบงำ

แม้ในผู้ได้อบรม รูปาวจรกุสลจิต ๕ ก็ยังมีความเห็นผิดสำคัญ
ผิดอยู่นั่นเองครับ เรียกว่า วิัขัมภนนิโรธ ก็ได้ ดับกิเลสอย่างกลาง
ที่มันคอยโผล่ขึ้นมาเสียดแทงจิตใจ จำพวกนิวรณ์กิเลสทั้งหลาย
ด้วยการข่มไว้พอหมดกำลังของฌาน กิเลสอย่างกลางนี้ก็จะคอย
ผุดขึ้นมาเมื่อไม่มีสมาธิและสติคุมอีกเช่นเดิม

ส่วนการกำหนดเพ่ง ไม่ว่าจะกำหนดเพ่งในกรรมฐานใดๆ ที่ไม่
ประกอบด้วยปัญญา ทำให้ไม่รู้สึกตัว นิ่งสงบแบบพยายามกดข่ม
แต่ไม่เกิดองค์ฌานใดๆ มารองรับ เช่นปัญญาในฌานที่ ๒
นั้นก็ไม่เข้าข่าย ไม่ใช่สัมมาสมาธิในพระพุทธศาสนา เป็นการ
ทำการเพ่งหรือเข้าฌาน ของลัทธิที่ีมีมาก่อนพระพุทธศาสนา

ยกเว้นของอาจารย์สองท่านของพระพุทธองค์ นั่นจัดเทียบเคียง
เข้าไว้ในสมาธิของพุทธศาสนาได้นั่นคือ ของอาฬารดาบส กาลามโครตร
และอุทกดาบส รามบุตร สองท่านนี้

นอกนั้นเป็นมิจฉาสมาธิทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ หรือไม่ก็ไม่สามารถ
นำการเพ่งกสินต่างๆ พัฒนาความรู้ความสามารถที่มีในนิมิตต่างๆ
ต่อไปและไม่ยกขึ้น สู่การพิจารณาไตรลักษณ์ ฯลฯ

หนทางสายเดียวสายเอกคือสติปัฏฐาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ ในส่วน
เบื้องต้นก็มีการอบรมอาศัย วิปัสสนามีสมาธินำหน้า ของสมถยานิก
หรือมีสมาธิที่มีวิปัสสนานำหน้า ของวิปัสสนายานิก ดังนั้น สมาธิไม่
ใช่ไม่มีประโยชน์ เพราะทั้งสมาธิ และปัญญา ก็มีอุปกิเลสดักรอเ่ล่นงาน
อยู่พอๆ กัน ทำให้ติด ทำให้เนิ่นช้า พอๆ กัน

พอศึกษาอภิธรรมไปด้วย ถ้าเป็นคนมีพื้นพุทธจริต ก็จะเข้าใจรู้ได้ง่าย
ได้ดี แต่ถ้าตกไปข้าง วิตกจริตกับ โมหะจริตเสียแล้ว การศึกษานั้น
ก็กลายเป็นอุปสรรคสำคัญเหมือนกัน ก็ขออนุโมทนาในธรรมะและ
การศึกษาสนใจปฏิบัติด้วยนะครับ ขอเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการค่ะ พระคุณเจ้า

เปิ้ลก็ฟังขอ อ.สุจินต์ นะคะ ฟังทีก็หลายสิบหน ครั้งแรก ๆ ก็ไม่เข้าใจ พอฟังมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็เข้าใจค่ะ ก็เลยทราบว่า การที่ไม่เข้าใจพระธรรมเลย แล้วนำไปปฏิบัติ ก็จะไม่ทราบอะไร ก็จะเป็นไปทางที่ผิด แต่เปิ้ลนั่งสวดมนต์นั่งสมาธิมาตั้งแต่อายุ 14 ตอนนี้ก็ 46 แล้ว ปฏิบัติไปก็คิดแค่ว่าจะอุทิศส่วนกุศลที่ได้เจริญภาวนาให้กับเทวดา เทพ เจ้ากรรมนายเวร และอีกหลาย ๆ สิ่ง เท่านั้น ก็ไม่เคยศึกษาพระธรรมนะคะ เพิ่งเริ่มมาศึกษาได้ประมาณ 2 เดือนได้ค่ะ ยึดหลัก 5 ประการค่ะ ขันติ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต่ขณะนี้ได้เพียง 3 อย่างแรกเท่านั้นค่ะ สมาธิไม่ค่อยแน่ใจ แต่เปิ้ลอยากเรียนถามท่านนะคะว่า การที่เวลาขณะที่เราทำงาน หรือฟังธรรมอยู่ แต่เปิ้ลจะมีสิ่งนี้มานานแล้ว แต่ไม่เคยเข้าใจค่ะ อยู่ ๆ มันก็จะเข้าสมาธิเองโดยที่เราไม่ทราบเลย เช่น ขณะที่เราทำงานหน้าคอม มันก็จะดึงเข้าสมาธิเองเสมอ พอมารู้สึกตัวก็คือมีคนมาแตะตัว มือก็ยังอยู่ที่แป้น ที่ถามคนที่มาเรียก เขาก็บอกว่าตาก็ยังมองจออยู่ จะเป็นเสมอในขณะที่จิตไม่ได้คิดอะไรเลย มันผิดหรือเป็นเพราะเหตุใดคะ ควรแก้ไขยังไง แล้วอีกอย่างหนึ่ง เวลาที่เปิ้ลสวดมนต์ ทำวัตรเช้า เปิ้ลก็จะสวดชินบัญชรไปด้วย แต่เมื่อเลิกสวดแล้ว บางครั้งก็จะได้ยินเสียงตัวเองสวดบทชินบัญชร พอรู้สึกตัวก็หายไป แล้วก็จะกลับมาใหม่ จะเป็นติด ๆ กันบางครั้งก็เกือบอาทิตย์ แค่บทสวดนี้บทแล้วเท่านั้น แล้วขณะที่สวด ก็จะมีน้ำตาไหล แต่ไม่เหมือนร้องไห้นะคะ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างคะ

สิ่งหนึ่งที่ไปปฏิบัติธรรมมา 9 วัน ฝนตกทุกคืน เสียงอึ่งอ่างก็ร้องทุกคืน แต่คืนก่อนสุดท้ายคืนวันที่ 8 เปิ้ลได้ยินเสียงอึ่งอ่างร้องเป็นเสียงสวดมนต์ของพระตอนท่านทำวัตรเช้า แต่ได้ยินเป็นเวลากลางดึกแล้วนะคะ เป็นเพราะจิต(เจตสิก)ไปปรุงแต่งไปสร้างให้มันเกิดขึ้นมาเองหรือเปล่า

ส่วนสุดท้าย ก็ยังได้ยินเสียงอึ่งอ่างเป็นเสียงสวดมนต์เหมือนเดิม แต่มีเพิ่มขึ้นตรงที่ได้ยินเสียงผู้หญิงมาเรียก แล้วก็ได้ยินเสียงของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ตกลงพื้นข้างเรือนกรรมฐาน เช้ามาก็มีเด็กคนหนึ่งซึ่งอยู่เรือนกรรมฐานห่างไป 5 หลังมาถามว่าเมื่อคืนได้ยินเสียงอะไรหนัก ๆ หล่นข้างห้องหรือเปล่า แต่เปิ้ลไม่อยากหาคำตอบว่ามันคืออะไร แต่อยากหาวิธีแก้ไขมันมากกว่า

รบกวนเรียนถามพระคุณท่านหลายเรื่องเลยนะคะ ส่วนเรื่องพระอภิธรรม เปิ้ลยึดหลัก อ.สุจินต์ ค่ะ เพราะถ้าเปิ้ลยิ่งมีกำหนัดในเรื่องอยากเรียนรู้มาก ๆ เปิ้ลก็จะไปค้นหาเสาะหา ซึ่งมันไม่ถูกทาง ยิ่งทำให้เราสับสนมากขึ้น

เปิ้ลยังคงมีศรัทธา วิริยะ ขันติ ในการศึกษาพระธรรมเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ปูแนวทางให้แก่เหล่าพุทธบริษัทค่ะ เปิ้ลรักษาศีล 5 ศีล 8 รักษาพรหมจรรย์อยู่ เพราะในอนาคตข้างหน้า ไม่ 1 ปี ก็ 2 ปี เปิ้ลจะบวชเป็ฯภิกษุณีค่ะ

กราบพระคุณเจ้าพุทธฏีกาค่ะ สาธุค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
เรียนถามท่านนะคะว่า การที่เวลาขณะที่เราทำงาน หรือฟังธรรมอยู่ แต่เปิ้ลจะมีสิ่งนี้มานานแล้ว แต่ไม่เคยเข้าใจค่ะ อยู่ ๆ มันก็จะเข้าสมาธิเองโดยที่เราไม่ทราบเลย เช่น ขณะที่เราทำงานหน้าคอม มันก็จะดึงเข้าสมาธิเองเสมอ พอมารู้สึกตัวก็คือมีคนมาแตะตัว มือก็ยังอยู่ที่แป้น ที่ถามคนที่มาเรียก เขาก็บอกว่าตาก็ยังมองจออยู่ จะเป็นเสมอในขณะที่จิตไม่ได้คิดอะไรเลย มันผิดหรือเป็นเพราะเหตุใดคะ ควรแก้ไขยังไง

ถ้าฟังโยมอาจารย์สุจินต์แล้วคง เคยได้ยินคำว่า จิตนี้วิจิตร
จิตนี้มีอำนาจ สั่งสมกรรมโดยชวนะ ความที่เราเคยเพ่งองค์พระ
จดจ่อต่อเนื่องมาตั้งแต่อดีต นั่นทำให้เราเกิดความสุข เกิดความ
ไม่เท่าทันต่อเวทนาที่นิ่งที่สงบ ต่อสัญญา ต่อสังขาร ต่อวิญญาณ
(ธรรมชาติที่รู้อารมณ์)จึงค่อยๆ สั่งสมความยึดถือจนกลายเป็นอนุสัย
ไม่มีธรรมชาติที่ระลึกได้ หรือรู้สึกตัว องค์ของปัญญา หรือสติสัมปชัญญะ

จึงเป็นเหตุผลทำไมเราจึงเกิด สมาธิที่สูงจนต้องมีใครมาสะกิดมาเตือน
มาแตะตัว ถึงจะรู้สึกตัวถ้าเป็นสัมมาสมาธิ สมาธิที่ถูกต้องก็เรียกว่า
เิกิดสมาธิความตั้งมั่นชนิดที่แนบแน่น จดจ่ออยู่ในอารมณ์เดียว วาง
อารมณ์ต่างๆ หมด ในระัดับอุปจาระ ถึงอัปปนาสมาธิทีเดียว

มันผิดไหม ถ้าความตั้งใจมั่นตรงนี้ไ่ม่ได้นำไปใช้ในทางที่ผิด อย่างมาก
ก็แค่สะสมความไม่รู้ ขาดสติสัมปชัญญะ ไม่เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันเท่านั้น
(ไ่ม่ประกอบด้วยปัญญา ญาณวิปยุต) ลงสู่ชวนะในอนุสัยของจิต
ยังมีศีล มีขันติ กดข่มอารมณ์เหล่านี้ไ้ว้ได้ ด้วยกำลังสมาธิ ไ่ม่ไปล่วง
อกุศลกรรมบถ ๑๐ กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓ ก็โอเคแล้วครับ

วิธีแก้ไข หากระดาษโน้ตเล็กๆ ติดไว้น่าคอม ใช้คำว่า สติสัมปชัญญะ
หรือ รู้สึกตัว พอมันช่วยเตือนเรา ไม่หลงไม่เผลอจมลงไปในความนิ่ง
ความว่าง ความสงบ กลับมาระลึกรู้ วิสยรูป ๗

รู้ว่าเห็น รู้ว่าได้ยิน รู้ว่าได้กลิ่น รู้รส รู้เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ไหว ตึงต่างๆ
ในปัจจุบันตามความจริง ว่าไม่ใช่สภาพสัตว์ตัวตนบุคคล นอกจากจะใช้
กระดาษโน็ตติดในที่ๆ จะทำให้เราเกิดความรู้สึกตัว ควบคู่ไปกับการกำหนด
พิจารณา โคจรวิสยรูปนี้ บ่อยๆ เป็นสัญญาเพื่อปัญญา เมื่อมีเหตุมีปัจจัย
ให้ระลึกได้ตามความเป็นจริง ก็ไม่ไปดีใจไม่ไปเสียใจ สักแต่ว่ารู้เท่านั้น

อ้างคำพูด:
แล้วอีกอย่างหนึ่ง เวลาที่เปิ้ลสวดมนต์ ทำวัตรเช้า เปิ้ลก็จะสวดชินบัญชรไปด้วย แต่เมื่อเลิกสวดแล้ว บางครั้งก็จะได้ยินเสียงตัวเองสวดบทชินบัญชร พอรู้สึกตัวก็หายไป แล้วก็จะกลับมาใหม่ จะเป็นติด ๆ กันบางครั้งก็เกือบอาทิตย์ แค่บทสวดนี้บทแล้วเท่านั้น แล้วขณะที่สวด ก็จะมีน้ำตาไหล แต่ไม่เหมือนร้องไห้นะคะ จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างคะ

วิตกะเจตสิก มีหน้าที่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เวลาที่สวดมนต์คล้ายๆ มีคำ
สวดมนต์นั้นเป็นเหมือนคำบริกรรม ทำให้จดจ่อเช่นเดียวกับเวลาที่ นั่ง
หน้าจอ แล้วยกเอาสิ่งเฉพาะหน้า ขึ้นสู่อารมณ์ นี้เป็นหน้าที่เป็นกิจของ
วิตกะเจตสิก อาจมีวิริยะเจตสิก อธิโมก(ความน้อมใจเชื่อ)

ที่นี้เจตสิกที่ทำหน้าที่ ประครองอารมณ์ ต่อจากการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์
ก็คือ วิจารเจตสิก สองตัวนี้ทำงานรวมกันเสียส่วนใหญ่ มากกว่าที่จะแยก
จากกัน สมัยก่อนพอได้ยินเสียง ก็ไม่ได้รู้อะไร จึงไม่ได้กำหนดว่านั่นสัก
แต่ว่าเสียง (ความจริงเป็นคล้ายๆ กับเสียงในหัวคิดเราปกติๆ) อาจเรียกว่า
มีโลภะ อาจได้ยินได้ฟังมาว่า สวดกี่จบ เท่านั้นเท่านี้แล้วจะมีบุญมีอานิสงส์
ยิ่งปิติน้ำตาไหล ปลื้มใจได้มากๆ ยิ่งดีเคยได้สั่งสมได้ยินได้ฟังอย่างนี้มาก่อน
ก็มี หรืออาจจะเกิดจาก ปิติเจตสิก ขึ้นมาประกอบกับโลภะมูลจิต ที่มีโสมนัส(สุขใจ)
เกิดรวมด้วยหรือประกอบกับโทสะมูลจิต ที่มีโทมนัส(ไม่พอใจเสียใจ)รวมด้วยก็เป็นได้ก็มี

ถ้าเกิดจากปิิติจริง เข้าใจความหมายในบทสวดมนต์ เหมือนกับมีคนมาพูดอะไร
บางอย่างให้เราได้เข้าใจได้รู้ จิตเกิดปิติเกิดน้ำตาโดยโสมนัส น้ำตาเย็นชื่นชูใจ
หรือจิตเกิดโทสะ เกิดโทมนัส น้ำตาร้อน ไม่ชอบไม่สบายใจถูกทำร้ายจิตใจ

การสวดมนต์โดยรู้ความหมาย ดูจะมีหตุมีผลต่ออารมณ์ร่วมเพราะอาศัยความรู้
เ็ป็นเหตุเป็นปัจจัยมากกว่าในการ เข้าถึงโสมนัสหรือโทมนัส หากสวดไปอย่างไม่ได้
รู้คำความหมาย รู้อรรถนัย ของบทสวด แสดงว่า ขาดเหตุขาดผล จิตต้องเกิด
หรือน้อมเอาสัญญาความจำได้หมายรู้เก่าๆ มาปรุงแต่งสังขารให้เกิดความคิดนึก
เกิดน้ำตาไหลอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัวอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน

วิธีแก้ จะเป็นติดๆ กันเป็นอาทิตย์ก็ช่างมัน ยังดีกว่าได้ยินเสียงคนร้องไห้ คนทุกข์
คนไม่มีจะกิน คนนินทาว่าร้าย คนส่อเสียด คนพูดจาหยาบคาย ดังขึ้นในหัว
จริงไม่จริงครับ ^^

พอรุ้สึกตัวว่าหายก็หาย รู้ว่ามาก็มา ไม่ไปวิตก ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์เอง (อสังขาริกะ)
หรือก็ไปรู้ไปได้ยินแล้วเกิดปัจจัยภายนอกชักชวน(สสังขาริกะ) ต่อจากนั้น ความจริงแล้ว
คุณโยมไปนึกสงสัยมันเป็นอาทิตย์ ไม่ใช่ได้ยินเสียงในหัวเป็นอาทิตย์ พอตรึกวิตก
ยกจิต ยกสิ่งนี้ขึ้นสู่อารมณ์ วิจารเจตสิก ก็ทำหน้าที่ประครองอารมณ์ให้


ดังนั้นวิธีแก้ถ้าก็แค่รู้สึกตัว มีสติสัมปชัญญะ รู้ตรงตามความเป็นจริงยิ่งๆ ขึ้นต่อไปนี้
เริ่มรู้เริ่มฟัง เริ่มเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นอะไร ขณะรู้ก็รู้ชัด ขณะรู้ไม่ชัด ก็ให้รู้ว่าไม่ชัด
ขณะสงสัยก็ให้รู้ว่าจิตสงสัย เห็นจิตสงสัย มิได้หลงถลำเข้าไปรู้
(วิตกวิจาร)ในเรื่อง
ที่สงสัย อย่างนี้ก็เป็นการอบรม จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้ชัดตามความเป็นจริง
ในปัจจุบัน พอรู้แล้ว อารมณ์ที่ถูกรู้ (ผัสสะเจตสิก เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก -
เจตนาเจตสิก วิตกวิจาระ ฯลฯ) เหล่านี้ก็จะดับไปเมื่อสติไปรู้ ให้ทวนมารู้ีที่ตัวรู้
ด้วยจะได้ไม่ติดรู้ไปเสียแต่แรกๆ ให้เสียเวลาเนิ่นช้าอีกนะครับ ^^

อ้างคำพูด:
สิ่งหนึ่งที่ไปปฏิบัติธรรมมา 9 วัน ฝนตกทุกคืน เสียงอึ่งอ่างก็ร้องทุกคืน แต่คืนก่อนสุดท้ายคืนวันที่ 8 เปิ้ลได้ยินเสียงอึ่งอ่างร้องเป็นเสียงสวดมนต์ของพระตอนท่านทำวัตรเช้า แต่ได้ยินเป็นเวลากลางดึกแล้วนะคะ เป็นเพราะจิต(เจตสิก)ไปปรุงแต่งไปสร้างให้มันเกิดขึ้นมาเองหรือเปล่า

ส่วนสุดท้าย ก็ยังได้ยินเสียงอึ่งอ่างเป็นเสียงสวดมนต์เหมือนเดิม แต่มีเพิ่มขึ้นตรงที่ได้ยินเสียงผู้หญิงมาเรียก แล้วก็ได้ยินเสียงของที่มีน้ำหนักมาก ๆ ตกลงพื้นข้างเรือนกรรมฐาน เช้ามาก็มีเด็กคนหนึ่งซึ่งอยู่เรือนกรรมฐานห่างไป 5 หลังมาถามว่าเมื่อคืนได้ยินเสียงอะไรหนัก ๆ หล่นข้างห้องหรือเปล่า แต่เปิ้ลไม่อยากหาคำตอบว่ามันคืออะไร แต่อยากหาวิธีแก้ไขมันมากกว่า

ดีนะว่าข้างบนอธิบายก่อนล่วงหน้าแล้ว ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุเพราะปัจจัยใด
นี้ยังเป็น ภาษาเขาเรียกกันว่า บารมีของเดิมของเก่า โลดโพนมีเยอะ เครื่อง
ล่อเครื่องเนิ่นช้า ขวางทางสัมมาปฏิปทาเยอะ

แต่ก็ไม่แน่ เอาเป็นว่า ขันธ์ธาตุอายตนะที่มีสัญญามีใจครองชื่อโยมเปิ้ล ไปรู้
ไปได้ยินสิ่งๆ นั้นเ้ข้า ถามว่าจริงไหม ก็มีจริงเกิดขึ้นจริงๆ แต่จริงของเราคนเดียว
สภาพธรรม เกิดขึ้นเพราะอาศัย วิญญาณ(ตัวรู้)และมีนามรูปนี้เป็นปัจจัย
จึงเกิดการกระทบผัสสะ ขึ้นในมโนทวารวิถี เกิดอารมณ์ทางใจได้ยินเสียง
อึ่งอ่างสวดมนต์ แหมบางที..คุณอึ่งอ่างก็อาจจะอยากอนุโมทนาบุญด้วย ก็ไม่รู้
ว่าเป็นทุกตัวไหม แต่เอาเฉพาะตัวนั้น คงอยากรวมอนุโมทนา แต่อย่าลืม
นะครับ เพราะอาศัย วิญญาณ นามรูปในภายในของเรานี่เอง เพราะสิ่งๆ นี้มี
สิ่งๆ นี้จึงมีเพราะสิ่งๆ นี้ดับสิ่งนี้จึงดับ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย อาจมีนิสัยมี
วาสนา เคยได้อภิญญาบริสุทธิ์มาก่อน

ที่ว่ามีของน้ำหนักตกลงพื้นก็เช่นกัน ที่ไหนๆ ก็มีของหนักตกลงพื้นได้ทั้งนั้น
ก็มีพื้นนี้นา อะไรก็เกิดขึ้นได้ เกิดแล้วเป็นเหตุปัจจัยให้ได้รู้ได้กำหนด นั่นเรียกว่า
ไม่เสียท่ารู้ (เสียโอกาสรู้) ได้เห็นจิตเห็นตัวรู้ (ก็ไม่เที่ยงนะ) และอารมณ์ที่
ถูกรู้ เสียง สักแต่ได้ยิน ถ้าเลยไกลไปเป็น เสียงอะไร ที่ไหน อย่างไร อันนี้
ค้นบัญญัติแล้ว ไม่ถูกปรมัตถ์แล้ว ล่วงเลยอารมณ์ปัจจุบัน ถ้ารุ้ว่าอ้าวหลงไป
คิดก็ให้รู้ว่าหลงไปคิด ^^

เสียงอึ่งอ่างร่วมอนุโมทนา เสียงผู้หญิงเรียก (อาจเป็นเสียงน้องถัดไปอีก ๕
ห้อง ที่มาเรียกตอนเช้า เป็น อนาคตญาณ (ล่วงหน้า) สิ่งเหล่านี้ทีนี้มันผ่าน
มานานมากแล้ว ความยึดถือความเ็ป็นตัวตนในเราของเรา พอใจ
กับมันก็ตาม ไ่ม่พอใจกับมันก็ตาม สุดท้ายก็ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่แล้วดับไป ต่อไปนี้กำหนดให้เห็นทุกข์ รู้ทุกข์ ประจำ
ธาตุขันธ์ต่อไปครับ ไม่มีอะไรต้องแก้ไขในอดีต มีแต่รุ้ทุกข์ แก้ทุกข์ในปัจจุบัน
ทุกข์มันเป็นของอุปาทานขันธ์ ๕ เท่่านั้น ไม่ใช่เราของเราเลย ^^

อ้างคำพูด:
รบกวนเรียนถามพระคุณท่านหลายเรื่องเลยนะคะ ส่วนเรื่องพระอภิธรรม เปิ้ลยึดหลัก อ.สุจินต์ ค่ะ เพราะถ้าเปิ้ลยิ่งมีกำหนัดในเรื่องอยากเรียนรู้มาก ๆ เปิ้ลก็จะไปค้นหาเสาะหา ซึ่งมันไม่ถูกทาง ยิ่งทำให้เราสับสนมากขึ้น

เปิ้ลยังคงมีศรัทธา วิริยะ ขันติ ในการศึกษาพระธรรมเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ปูแนวทางให้แก่เหล่าพุทธบริษัทค่ะ เปิ้ลรักษาศีล 5 ศีล 8 รักษาพรหมจรรย์อยู่ เพราะในอนาคตข้างหน้า ไม่ 1 ปี ก็ 2 ปี เปิ้ลจะบวชเป็ฯภิกษุณีค่ะ

ยินดีเรื่องสอบถาม เป็นการสนทนาธรรมเพื่อประโยชน์อันใดก็เพื่ออันนั้นไม่ได้
มีการรบกวนแต่อย่างใดเลยครับ โยมอาจารย์สุจินต์ พุทธฏีกาเองก็ชื่นชมชื่นชอบ
มีเวลา่ว่างก็เปิดฟังเปิดพิจารณาอยู่บ่อยๆ เนื่องๆ หลังจากว่างค้นคว้าอัฏฐกถา

อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้าย อ้าว ขออนุโมทนาสาธุๆ ทั้งเรื่องกำหนัดที่อยากรู้อยาก
หลุดอยากพ้น นี้ก็ทำให้ไม่พ้นแล้ว ไม่ได้เท่าทันอุปา่ทานขันธ์ ที่เห็นผิดสำคัญผิด
ในรูปนามกายใจ ว่าจริงแล้วเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของเรา

อาตมาภาพขออวยพรให้ได้บวช ประพฤติพรหมจรรย์ และเป็นพระภิกษุณีสมความ
ปราถนาที่ตั้งใจไว้ และเพื่อละความเห็นผิดในอัตตาตัวตนให้ยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยนะครับ
อย่าไปติดในภพ ในภาพของนักปฏิบัติ อย่าไปติดรู้ ติดอารมณ์ใดๆ

ให้รู้ให้เห็นเข้าใจในสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงจนถึงที่สุดทุกข์ ขอเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

อนุโมทนาในคำสั่งสอนของพระคุณเจ้าค่ะ เปิ้ลไม่คิดว่าจะต้องให้เข้าใจพระธรรมโดยเร็ว เปิ้ลจะเพียรศึกษาไปเรื่อย ๆ ค่ะ จะช้านานขนาดไหนไม่สำคัญ เพราะจุดมุ่งหมายของเปิ้ลไม่ใช่การบรรลุมรรคผลนิพพานค่ะ เปิ้ลทราบว่าคำว่าอยาก ชอบ เป็นมันโลภะ แต่ก็ติดที่จะใช้คำนี้ค่ะ เพิ่งได้ศึกษาของท่าน อ.สุจินต์มาประมาณ 2 เดือน แต่ก็ผ่านเรื่องปรมัตถ์ทำให้เข้าใจได้บ้าง ตอนนี้ก็ฟังเกี่ยวกับปกิณณกะอยู่ค่ะ ฟังทีก็ไม่ต่ำกว่า 20 ถึง 30 รอบ ยิ่งฟังมากก็ยิ่งเข้าใจมากขึ้น แต่ติดเรื่องภาษาบาลีมากค่ะ ตอนนี้ก็แบ่งเวลาในการฟังพระธรรมของ ท่าน อ.สุจินต์ กับ พอ.สุรศักดิ์ วัดมเหยงค์ค่ะ เวลาอีกส่วนก็จะมาปฏิบัติวิปัสสนาเกี่ยวกับ กายปสาทรูป และวิสยรูป ทราบตามบ้างอย่างกับเรื่องกลิ่น เพราะเมื่อได้กลิ่นก็จะไม่ทราบว่ากลิ่นอะไร เสียงก็เหมือนกันค่ะ เมื่อได้ยินก็ได้ยินแค่เพียงว่าเป็นเสียง ไม่ได้มีจิต (เจตสิก) ไปรู้สภาพรูปธรรมและปรุงแต่งค่ะ คือไม่ไปสนใจด้วย แต่การเห็นด้วยตาว่าทุกสิ่งเป็นแค่สีเท่านั้น เป็นเพียงธาตุนี่สิคะอยากจัง แต่ถ้าเปิ้ลมีการสะสมมาแต่อดีตชาติที่มากพอ ก็คงจะเข้าใจและประจักษ์แจ้งความเป็นจริงสักว่าว่า ไม่ใช่เรา สัตว์ สิ่งของ ไม่เที่ยง บังคับบัญชาไม่ได้ แต่เปิ้ลไม่แน่ใจนะคะว่าใช้คำนี้ได้หรือเปล่า การที่เปิ้ลน้อมนำพระธรรมมาเป็๋นสรณะ มีพระพุทธองค์อยู่ในจิตตลอดเวลา อย่างเวลาที่เปิ้ลไหว้พระพุทธรูป คนส่วนมากจะคิดว่าแค่ไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่จริง ๆ พระพุทธรูปก็เป็นแค่ตัวแทนของพระพุทธองค์ ไม่มีดอกไม้ ธูป เทียน แค่กราบไหว้พระระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ คงไม่ผิดใช่ไหมคะ เปิ้ลนะคะว่าจิตเป็นประธานแห่งการรับรู้อารมณ์ เกิดพร้อมกับเจตสิก เมื่อจิตเห็นเจตสิกก็ต้องปรุงแต่ง แต่ถ้าจิตไม่ไปรับรู้ มันก็จะไม่มีสภาพธรรมเกิดขึ้นใช่หรือเปล่าคะ กราบขอบพระคุณพระคุณเจ้ามากคะ ที่ให้คำแนะนำและสั่งสอนไปในตัว เปิ้ลจะนำไปปฏิบัติและพิจารณาให้เข้าใจค่ะ

กราบนมัสการพระคุณเจ้า อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 20:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอร่วมอนุโมทนาสาธุ..ในกุศลเจตนาศึกษาพระธรรม..ครับ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมสวัสดีค่ะ คุณกบนอกกะลา

พระธรรมเป็นสิ่งดีงามที่พระพุทธองค์ทรงมอบให้แก่พุทธบริษัท เมื่อก่อนทำอะไรไม่เคยคิดให้รอบคอบว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสียมากกว่ากัน อะไรที่เป็นกิเลส สิ่งไหนทำแล้วเกิดกุศล สิ่งไหนทำแล้วเกิดอกุศล แต่พอได้ศึกษาพระธรรมแล้ว ทำให้เปลี่ยนไปเยอะเมื่อมองย้อนกลับไป อ๋อ สิ่งนี้มันผิดนะ แล้วตอนนี้ก็รอบคอบในเรื่องงาน ก่อนที่จะลงมือกระทำ ก็ต้องตัดสินใจพิจารณาให้ดีก่อนว่าผลที่สะท้อนกลับมาจะดีหรือไม่ดี ปล่อยว่างได้เยอะนะคะ ความห่วงใยลูก ความห่วงใยแม่ หันกลับไปมอง อ๋อ ที่เราเลี้ยงลูกมานี่มันเข้าข่าย "พ่อแม่รังแกฉัน" เลยนะ ก็คิดนะคะว่า เขาโตแล้ว เขาเดินเองได้แล้ว ทำให้จิตใจสงบขึ้นค่ะ เมื่อก่อนพอมีปัญหาก็ร้องไห้อย่างเดียว เดี๋ยวนี้เจอปัญหา เจอแรงกระทบมากกว่าเก่า ก็รู้สึกเหมือนแค่ลมพัดผ่านผิวกายไป พอได้ยินเสียงด่า ก็ไม่สะทกท้าน แต่เป็นคนที่ชอบหนีค่ะ พอเห็นพี่น้องทะเลาะกัน เปิ้ลชอบเข้าสมาธิลึก แอบอยู่ในนั้นได้เป็นหลาย ๆ ชั่วโมง แต่ก็มีคนที่สอนธรรมะว่าไม่ดีนะคะ บอกว่าอย่าเข้าไปจมอยู่ในนั้น ให้ฝึกการเข้า ๆ ออก ๆ บ่อย ๆ แต่ก็อย่างว่านะคะ ถ้าไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ก็ปฏิบัติไม่ได้อยู่ดี ถ้าทุกคนในประเทศไทยศึกษาพระธรรมกันหมด โลกคนน่าอยู่กว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้นะคะ

อนุโมทนามานิดเดียว เปิ้ลตอบยาวเลย ขอโทษด้วยนะคะ

ธรรมรักษาค่ะ ขอให้เจริญในธรรมนะคะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 22:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาครับโยมพี่กบ ^^

อ้างคำพูด:
ไม่มีดอกไม้ ธูป เทียน แค่กราบไหว้พระระลึกถึงคุณของพระพุทธองค์ คงไม่ผิดใช่ไหมคะ

ก็พิจารณาเป็นพุทธานุสติได้ครับ ระลึกถึงพระรัตนตรัยไม่มีผิด
นำมาเป็นสรณะที่ยอดเยี่ยมดีกว่าสรณะอื่นๆ ไว้วันไหนพิจารณามาก
จนเหน็ดเหนื่อยเิกินไป ก็เข้าที่พัก อบรมพุทธานุสติเป็น วิหารธรรม
เป็นผู้อยู่สุขในทิฏฐธรรมนั้นๆ ไปเสียบ้างก็ได้ ^^

อ้างคำพูด:
เปิ้ลนะคะว่าจิตเป็นประธานแห่งการรับรู้อารมณ์ เกิดพร้อมกับเจตสิก เมื่อจิตเห็นเจตสิกก็ต้องปรุงแต่ง แต่ถ้าจิตไม่ไปรับรู้ มันก็จะไม่มีสภาพธรรมเกิดขึ้นใช่หรือเปล่าคะ

ถูกต้องครับเมื่อเข้าใจจิต (ผู้รู้ตัวรู้) และเจตสิก(อารมรมณ์ี่ที่ถูกรู้)
ตามความเป็นจริง จากการได้ศึกษาปรมัตถธรรม ต่อไปนี้เมื่อสิ่งๆ นี้มี(จิต)
สิ่งๆ นี้จึงมี(เจตสิก) เมื่อสิ่งๆ นี้ดับ สิ่งๆ นี้จึงดับ
เป็นไปตามเหตุ
ตามปัจจัย บังคับไม่ได้ไม่อยู่ในอำนาจ เ้ป็นอดีตเป็นอนาคต
เป็นปัจจุบันก็ล้วนไม่ใช่ตัวตนบุคคลเราเขา เป็นแต่เพียงสภาวะธรรม^^

ไม่จะเป็นต้องกำหนดเอาเฉพาะี่ที่ไม่รู้ ที่ไม่ชัดก็ได้ครับ จำพวกเสียงหรือสี
กลิ่น ว่าจำแนกกันไปแล้ว ความเป็นตัวตนบุคคล ตัณหามานะทิฏฐิ
หรืออุปาทานจะเกาะอยู่ใน รูป(สีแสงวรรณะ)เสียมากกว่า เสียงก็ลอง
ลงมา สัมผัสเย็นร้อน อ่อนแข็ง แล้วเป็นเวทนา ตรงนี้แหละจะเกิดราคานุสัย
ปฏิฆานุสัย ก็แล้วแต่ว่า อเหตุกกุสลวิบากหรือ อกุสลวิบากเกิด
ส่งต่อสู่การรับอารมณ์(สันปฏิจฉนะจิต)เกิดขึ้นแล้ว
ดับไป ทำให้กิจอื่นเิกิดต่อคือพิจารณาไตร่สวนอารมณ์ (สันตีรณจิต)
เกิดขึ้นไต่สวนอารมณ์นั้นๆ ต่อเป็นวิบากอกุศล หรือวิบากกุศล
จาำกการได้เห็นได้ยินฯลฯ ไตร่สวนแล้วก็ตัดสินอารมณ์(โวฏฐัพพนะจิต)
เกิด(ชวนะ) ที่เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง เสพอารมณ์พอใจไม่พอใจนั้นๆ ไปฯลฯ

แล้วก็เกิด(ตทาลัมพนะจิต)การยึดหน่วงอารมณ์ก่อนถึงภวังค์ สืบต่อตัณหามานะทิฏฐิ
หลังจาก ชวนะ เกิดขึ้น ๗ ขณะเสพอารมณ์พอใจ ไม่พอใจนั้นๆ ว่าเป็นเรา
ไม่พอใจ หรือเราพอใจ ดังนั้น ที่ยากไม่ได้อยู่ที่รู้ผัสสะนอกๆ แต่รู้และพิจารณา
ตัวรู้ ตัวธาตุรู้ ตัวจิตนั่นเอง ว่าไม่ได้โยนิโสมนสิการ หลงในขณะที่
ก่อนเกิดอารมณ์ หรือหลังจากเกิดอารมณ์ไปแล้ว ก็ค่อยๆ พิจารณาตาม
ความเป็นจริงไปเรื่อยๆ อันนี้(จับลูกน้อง) พวกเจตสิกครับ เมื่อได้โยนิโสมารู้
มาดูที่จิต เ็ห็นที่จิต ละที่จิตจึงเป็นการถอนตัณหามานะทิฏฐิ ละดับละเอียด
จำพวกอนุสัยกิเลสเลยทีเดียว(หัวโจกหัวหน้า)ฝากไว้ลองพิจารณาครับ ขอเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการค่ะท่าน

เปิ้ลก็เข้าใจนะคะ แต่ยังยึดติดกับสิ่งที่รับทราบมาตั้งแต่จำความได้ ทราบว่าเกิดการดับจะเกิดดับที่ละอย่างทุก ๆ 17 ขณะ จะไม่เกิดพร้อมกัน เช่น ตาเห็น หูได้ยิน ก็จะไม่เกิดพร้อมกัน แต่แค่รู้แค่เข้าใจก็ยังถือว่าไม่รู้นี่คะ ถ้ายังไม่ประจักษ์แจ้ง ก็ต้องมีความเพียรมาก ๆ มากขึ้นทุกวัน จนกว่าจะเข้าใจและเห็นสภาวะธรรมที่แท้จริงค่ะ ท่านอาจารย์สุจินต์บอกว่า ถ้าจิตไม่ไปรับรู้สิ่งที่เห็น ก็จะไม่เป็นสภาวะธรรม
แต่ถ้าจิตเข้าไปรับรู้เกิดการปรุงแต่ง ก็จะเป็นสภาพธรรมะทันที พอมีสภาพธรรมะเกิดขึ้น จะเรียกชื่อก็ได้ ไม่เรียกชื่อก็ได้ หรือจะเรียกชื่ออะไรก็ได้ เปิ้ลมีปัญหาเรื่องความจำสั้นค่ะ เนื่องจากได้รับการผ่าตัดวางยาสลบบ่อย ได้เลยต้องฟังหลายสิบหนจนกว่าจะเข้าใจ บางทีก็ลืมแต่ตัวเองรู้ว่ารู้ แต่พูดออกมาไม่ได้ แต่พอมาศึกษาพระธรรม ดีขึ้นมากค่ะ เปิ้ลคิดว่าอาจจะเป็นที่มีสติ มีสมาธิมากขึ้น เลยทำให้จำได้ หลงลืมน้อยลง เข้าใจแล้วค่ะที่พระคุณท่านอธิบายมา คือเราก็ต้องสังเกตุด้วยว่าจิตไปรู้อารมณ์อะไร เปิ้ลเคยฟัง พอ.สุรศักดิ์ ท่านสอนพอดีตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเปิ้ล เพราะเวลาที่เปิ้ลทำสมาธิระลึกรู้รูปนั่งอยู่ อยู่ ๆ มันก็หายไปเลยไม่เห็นตัวเรา ไม่เห็นอะไร มีแต่ความว่างเปล่า ครั้งแรกก็พยายามหาแต่ก็ไม่เจอ ก็เลยต้องเปลี่ยนท่าใหม่ก็ระลึกรู้ต่อได้ แต่ พอ.สุรศักดิ์ท่านบอกว่า ไม่ต้องไปหา ไม่ต้องสนใจ ให้กลับมาดูที่จิตต่อ ว่าจิตไปเห็นอะไร ไปรับอารมณ์อะไร แล้วก็ให้ดูที่กายว่าอะไรมากระทบเกิดแล้วก็ดับอยู่ตลอดเวลา กราบขอบพระคุณท่านมากค่ะ ได้อะไรจากพระคุณท่านหลาย ๆ อย่างมากเลย ก็จดลงสมุดด้วยนะคะ เพราะกลัวลืม เดี๋ยวก็จะไปนอนฟังปกิณกธรรมต่อค่ะ ทุกวันนี้ดูเหมือนคนขี้เกียจไปเลยค่ะ เดินมาไม่เคยได้คิดอะไรสักอย่าง เดินมาเปิดคอมไว้ก่อน ทำภารกิจเล่นก็ฟังธรรมเลย ทุกวันนี้รู้สึกว่ามีพระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ใจของเราตลอดเวลา อ๋อ ลืมบอกไปว่า เวลาสวดมนต์ทุกบท เปิ้ลจะสวดคำแปลด้วยค่ะ เพราะถ้าไม่ทราบคำแปล ก็เหมือนกับว่าสวดไปตามปกติธรรมดาค่ะ แต่พอสวดบทแปรด้วย จะเข้าใจลึกซึ้งมากเหมือนที่เปิ้ลสวดบทแปลชินบัณชรนั่นแหละค่ะที่น้ำตาไหล ทุกคำที่สวดแปลจะรู้สึกว่าแต่ละพระองค์มาประทับอยู่ ณ ที่ท่านอยู่จริง ๆ ตามร่างกายของเราเลยค่ะ

บ่นมากอีกแล้ว ขอประทานโทษด้วยค่ะ

กราบนมัสการพระคุณท่านค่ะ สาธุค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 10:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


กราบนมัสการพระคุณท่านพุทธฎีกา

เปิ้ลได้ข้อมูลที่เคยถามเรื่อง จิต 93 ดวงมาแล้วนะคะ แต่ไม่ทราบจะไปเรียนท่านที่ไหน ก็เลยเข้ามาทางกระทู้นี้เผื่อท่านจะเข้ามาอ่านนะคะ

[การจำแนกรูปเกิดจากจิต]
แม้ในรูปเกิดจากจิตทั้งหลาย ก็พึงทราบวิภาคดังนี้ คือ

๑. จิต ๒. จิตตสมุฏฐาน คือ รูปมีจิตเป็นสมุฏฐาน ๓. จิตตปัจจัย คือ รูปมีจิตเป็นปัจจัย ๔. จิตตปัจจยอาหารสมุฏฐาน คือ รูปมีอาหารซึ่งมีจิตเป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐาน ๕. จิตตปัจจยอุตุสมุฏฐาน คือ รูปมีฤดูซึ่งมีจิตเป็นปัจจัยเป็นสมุฏฐาน
ในวิภาคนั้น

๑. จิต ๘๙ ดวง ชื่อว่า จิต (และ) ในจิตทั้งหลาย ๘๙ ดวงนั้น (จำแนกไว้ดังนี้)

ทวตตึส จิตตานิ ฉพพีเส –กูนวีสติ โสฬส รูปิริยาปถวิญญตติ - ชนกาชนกา มตา.

แปลความว่า
จิต ๓๒ ดวง (พวกหนึ่ง) จิต ๒๖ ดวง (พวกหนึ่ง) จิต ๑๙ ดวง (พวกหนึ่ง) จิต ๑๖ ดวง (พวกหนึ่ง) ปรากฏว่า เป็น จิตที่ทำรูป ทำอิริยาบถและทำวิญญัตติให้เกิดก็มีและ ไม่ทำให้ เกิดก็มี

รวมแล้วก็ได้ 93 พอดีค่ะ

ข้อมูลจาก วิกิชอร์ช ค่ะ

สาธุค่ะพระคุณท่าน

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2011, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


พุทธฏีกา เขียน:
ท่านกล่าวว่า การที่มนุษย์หรือคนเราจะขยับเคลื่อนไหว
ร่างกายได้ต้องประกอบด้วยรูป( วิการรูป)ที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่
ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา สามรูปนี้ประกอบกับ มหาภูตรูปจึงทำให้
คนเราเคลื่อนไหวได้ บางทีอาจฟังผิด หรือหากไม่ใช้ ได้พบโยมอาจารย์
แววมยุรีอีก ก็ลองถามดู ว่าที่ยกตัวอย่าง เรื่องจิต นั้นเป็นสมุฏฐานของจิต
ที่ประกอบกับวิการรูปใช่หรือไม่ ไม่ใช่จิตเกิด ๙๓ ดวง ขอเจริญพร
อ้างคำพูด:
ทวตตึส จิตตานิ ฉพพีเส –กูนวีสติ โสฬส รูปิริยาปถวิญญตติ - ชนกาชนกา มตา.

แปลความว่า
จิต ๓๒ ดวง (พวกหนึ่ง) จิต ๒๖ ดวง (พวกหนึ่ง) จิต ๑๙ ดวง (พวกหนึ่ง) จิต ๑๖ ดวง (พวกหนึ่ง) ปรากฏว่า เป็น จิตที่ทำรูป ทำอิริยาบถและทำวิญญัตติให้เกิดก็มีและ ไม่ทำให้ เกิดก็มี

รวมแล้วก็ได้ 93 พอดีค่ะ


[การจำแนกรูปเกิดจากจิต]
แม้ในรูปเกิดจากจิตทั้งหลาย ก็พึงทราบวิภาคดังนี้


เป็นอันว่าเข้าใจแล้วครับ จิต ๙๓ ดวงหมายถึงอะไร อนุโมทนาสาธุ :b1:

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร