วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 21:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2011, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


การสังคายนา

ธรรมเนียมที่พระได้เรียนพระพุทธวจนะเป็นพวก ๆ นี้ เป็นธรรมเนียมที่มีก่อนที่จะจารึกลงเป็นตัวอักษร เพราะว่าจะต้องท่องจำกัน ท่องจำนั้นก็ไม่ใช่อ่านท่องจำ ต้องมาต่อจากอาจารย์ ต่อแล้วก็จำกันไปเป็นวรรค ๆ เพราะว่าหนังสือไม่มี, อาจารย์นั่นเองเป็นหนังสือ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยากที่จะมีผู้จำได้ทั้งหมด จึงต้องแบ่งกันเป็นพวก ๆ ใครชอบที่จะจำพระวินัยทก็พวกหนึ่ง, ใครชอบที่จะจำพระสุตตันตะก็พวกหนึ่ง, ใครชอบที่จะจำพระอภิธรรมก็พวกหนึ่ง แล้วก็ทั้งสามพวกนี้ พวกที่จะจำได้ตลอดหมดทั้งปิฎกก็มีน้อยอีก เพราะปิฎกหนึ่งก็มาก จึงต้องแบ่งกันออกไปอีก อย่างวินัยก็ใครจะจำตอนไหนก็ตอนนั้น สุตตันตะก็เหมือนกัน ใครจะจำหมวดไหนก็หมวดนั้น อภิธรรมก็เหมือนกัน เฉพาะผู้ที่มีความทรงจำดีเลิศจึงจะจำได้ทั้งสามปิฎก จำได้ปิฎกหนึ่ง ๆ ก็นับว่ามีความทรงจำมากอยู่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้จึงต้องมีประชุมซักซ้อมกัน ผู้ที่จำพระพุทธวจนปิฎกไหนตอนไหนไว้ได้ ก็รวมกันเข้าแล้วก็ซักซ้อม

วิธีซักซ้อมนั้นก็คือต้องสวดพร้อม ๆ กัน ต้องซักซ้อมกันอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นก็ลืม นี้แหละเป็นต้นของธรรมเนียมประชุมกันสวดมนต์ ดั่งเป็นธรรมเนียมกันทั่วไปในทุกวัน มีการประชุมสวดมนต์กันเวลาเช้ากับเวลาเย็นหรือค่ำ และเมื่อจะซักซ้อมพระสูตรอย่างเช่นว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็สวดพระสูตรนี้พร้อม ๆ กัน การที่สวดขึ้นพร้อม ๆ กันนี้แหละ เรียกว่า สังคีติ หรือ สังคายนา แปลว่า ขับขึ้นพร้อม ๆ กัน โดยปรกติก็ประชุมสวดเป็นการซักซ้อมเป็นการย่อย ๆ เพื่อไม่ให้ลืม แต่ว่าเมื่อนาน ๆ เข้าก็ประชุมใหญ่กันเสียทีหนึ่ง เลือกเอาผู้ที่จำได้มาก ๆ และเป็นที่นับถือกันว่าจำได้ถูกต้องแน่นอนมารวมกันเข้า แล้วก็สวดซักซ้อมกันเป็นการใหญ่ คือว่าสวดซักซ้อมทั้งหมด เมื่อจะจับวินัยขึ้นก่อนก็วินัยไปจนจบ โดยมากก็จับวินัยปิฎกขึ้นสวดซักซ้อมกันก่อน ในการที่ประชุมใหญ่สวดซักซ้อมกันนี้ ก็อาจจะจำมาถูกต้องกันบ้าง ต่างกันบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ต้องหารือกันว่า ความถูกต้องจะพึงมีอย่างไร และเมื่อตกลงกันว่าแบบนี้แหละถูก ก็สวดขึ้นพร้อม ๆ กัน เป็นการวินิจฉัยว่าให้ถือเอาแบบนี้เป็นแบบเดียว เพื่อไม่ให้มีการขัดแย้งแตกต่างกัน สวดซักซ้อมกันดั่งนี้ไปจนหมดแล้ว ก็เป็นที่ตกลงถือเอาแบบที่ตกลงกันนี้แหละเป็นหลัก นี้แหละเรียกว่า สังคายนา ที่ทำกันคราวหนึ่ง ๆ ในสมัยที่ยังไม่จารึกลงเป็นตัวอักษรนั้นเป็นของจำเป็นอย่างยิ่ง นาน ๆ ก็ต้องมาเลือกเอาผู้ที่มีความจำ เป็นที่เคารพนับถือเป็นอาจารย์บอกกล่าวมารวมกัน แล้วก็มาหารือตกลงกันคราวหนึ่ง ๆ แล้วก็สวดจำกันเป็นแบบดียว ถ้าไม่เช่นนั้นก็จะเกิดความเลอะเลือน สับสน ขัดแย้งกัน นี่แหละท่านทำกันเรื่อย ๆ มา ครั้งที่ ๑, ๒, ๓, ๔ มาจนถึงครั้งที่ ๕ จึงได้จารึกลงเป็นตัวอักษร

คราวนี้เมื่อจารึกเป็นตัวอักษรแล้ว ความรู้สึกของพระว่าจะต้องจำก็น้อยลง เพราะว่ามีตัวหนังสือขึ้น เพราะฉะนั้นจึงไม่ปรากฏว่าจะมีผู้ทรงจำได้ทั้งหมด ฉบับที่จารึกไว้ในลังกาที่ได้กล่าวมานั้น ก็ได้เป็นต้นฉบับซึ่งแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ในบัดนี้ ดั่งในพม่า ในไทย ในยุโรป ก็ได้ต้นฉบับมาจากแหล่งเดียวกันนี้

การสังคายนาในครั้งหลัง ๆ นั้น ก็หมายความว่าเอาแบบมาสอบกันเท่านั้น ไม่ใช่เป็นสังคายนาแท้, สังคายนาแท้นั้นมีในสมัยต้น ก่อนแต่ที่จะได้เขียนเป็นอักษร

ดั่งที่ในพม่าทำสังคายนาที่เขานับของเขาเป็นครั้งที่ ๖ คือว่าเขานับในอินเดียครั้งที่ ๑, ๒, ๓, แล้วก็มานับครั้งที่ ๔ ที่จารึกเป็นตัวอักษรในลังกาต่อ เป็นครั้งที่ ๔ แล้วก็พระเจ้ามินดงให้เขียนลงในแผ่นศิลาหมดนั้น ๓ ปิฎก นี่เขานับเป็นครั้งที่ ๕ มาถึงคราวชำระคราว ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่เขานับเป็นครั้งที่ ๖ นี่ก็คือว่า เขาพิมพ์พระไตรปิฎกของเขาขึ้นใหม่นั่นเอง เอาฉบับของยุโรปของไทยเป็นต้นไปสอบ ที่ปรากฏว่าผิดชัด ๆ เขาก็แก้ ที่ไม่ชัดเขาก็เชิงหน้าเอาไว้ว่า ของยุโรปว่าอย่างนั้น ของไทยว่าอย่างนั้น เขานิมนต์พระจากประเทศต่าง ๆ ที่เป็นลัทธิเถรวาทด้วยกันในทุกประเทศ ไปประชุมกันในถ้ำปาสาณคูหา ที่กาบาเอ้ ที่อูนุสร้างขึ้นใหม่ ประชุมกันเอาหนังสือพระไตรปิฎกที่พิมพ์ใหม่นั้นมาอ่านพร้อม ๆ กัน นั่นแหละเรียกว่าสังคายนา แล้วประกาศไปทั่วโลก โดยเขาจัดเอาพระที่จะเป็นผู้สวดยืนที่ไว้ชุดหนึ่ง แล้วก็พระที่เขาเชิญก็ไปร่วมสวดผิดบ้างถูกบ้างไปตามเรื่อง แต่ก็มีพระที่สวดประจำอยู่ชุดหนึ่ง เอาหนังสือที่พิมพ์ขึ้นใหม่ไปอ่านนี่เอง

ส่วนของเรานั้น เมื่อรัชกาลที่ ๕ และเมื่อรัชกาลที่ ๗ เราก็พิมพ์ขึัน ต่อมาครั้งหลัง ๆ ก็พิมพ์ซ่อมเล่มที่ขาดตลอดมา และก็มีเชิงหน้าเหมือนอย่างนั้น ว่าของประเทศนั้นว่าอย่างนั้น ของประเทศนี้ว่าอย่างนี้ เพราะในบัดนี้ไม่อาจจะแก้ลงไปได้ ต้องปล่อยให้ผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่ส่วนใหญ่ส่วนมากตรงกัน ผิดเพี้ยนกันบ้างไม่มากอะไร เล็กน้อยเท่านั้น

คราวนี้ธรรมเนียมสังคายนา คือธรรมเนียมที่ประชุมสวดกันซักซ้อมกันประจำวัน ก็ยังติดมาเป็นสวดมนต์ประจำวันในวัดต่าง ๆ ดั่งกล่าวแล้ว

ทำวัตร

ส่วนธรรมเนียมทำวัตรนั้น ติดมาจากเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่ ภิกษุก็ไปประชุมกันฟังธรรมพระพุทธเจ้าปฏิบัติพระพุทธเจ้าเป็นประจำวันเหมือนกัน คือว่ามีธรรมเนียมที่พระไปประชุมกันเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวัน เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว กิจที่ไปเฝ้าพระองค์ทุกวันก็หมดไป แต่ว่าเมื่อได้มีวัด มีโบสถ์ มีวิหาร และสร้างพระปฏิมาเป็นประธานอยู่ในโบสถ์ในวิหารขึ้น ก็ตั้งธรรมเนียมพระประชุมกันในโบสถ์ วิหารเหมือนอย่างเป็นการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า คราวนี้เมื่อเข้าไปประชุมกันในโบสถ์วิหารแล้ว จึงได้แต่งบทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัยขึ้นสวด ดั่งบททำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นบทสดุดีคุณพระรัตนตรัยอย่าง พุทธาภิถุติ ธัมมาภิถุติ สังฆาภิถุติ คำว่า ถุติ นั้นเป็นบาลี ถ้าเป็นสันสกฤตก็เป็น สดุดี จึงเท่ากับว่า พุทธาภิสดุดี ธัมมาภิสดุดี สังฆาภิสดุดี คือสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย เดิมก็มีบทที่ท่านแต่งไว้สำหรับสวด แต่เมื่อถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์บททำวัตรเช้าทำวัตรค่ำขึ้นใหม่ ดั่งที่เราใช้สวดกันอยู่ทุกวันนี้ โดยทั่วไปเรียกว่า ทำวัตร เท่ากับว่าไปทำวัตรปฏิบัติพระพุทธเจ้าเป็นประจำ ด้วยการสวดมนต์สรรเสริญคุณพระรัตนตรัย และเมื่อได้เข้าเฝ้าแล้ว โดยปรกติก็ได้ฟังธรรมของพระองค์ ฉะนั้น จึงได้สวดมนต์ต่อ ก็คือสวดพระสูตรเป็นต้นที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ และเป็นการรักษาธรรมเนียมที่สวดซักซ้อมความทรงจำ ดั่งกล่าวมานั้นด้วย

คัดลอกจาก หนังสือความเข้าใจเรื่องพระอภิธรรม สมเด็จพระสังฆราช

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron