วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 19:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2011, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2011, 17:33
โพสต์: 85

โฮมเพจ: บล๊อก
แนวปฏิบัติ: กายปสาทรูป และวิสยรูป ๗ คือ สี เสียง กลิ่น รส เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหว สังเกตุการเกิดดับที่ละขณะ
งานอดิเรก: ฟังธรรมะ อ่านหนังสือธรรมะ ปฏิบัติธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขป ของ อ.สุจินต์
อายุ: 0
ที่อยู่: ประเทศไทย

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนามีองค์ ๙

พระพุทธพจน์ คือ พระธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงประกอบด้วยองค์ ๙ คือ

สุตตะ ได้แก่ พระสูตรทั้งหลาย มีมงคลสูตร เป็นต้น รวมถึงพระวินัยปิฎก และนิทเทส
เคยยะ คือ พระสูตรทั้งหมดที่มีคาถา มีสคาถวรรค เป็นต้น
เวยยากรณะ คือ พระอภิธรรมปิฎก พระสูตรที่ไม่มีคาถาปนและพระพุทธพจน์ที่ไม่จัดเข้าในองค์ ๘
คาถา คือ พระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วน ๆ ที่ไม่มีชื่อสูตรในสุตตนิบาต
อุทาน คือ พระสูตร ๘๒ สูตร ที่พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ
อิติวุตตกะ คือ พระสูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา (ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้ว)
ชาตกะ คือ เรื่องอดีตชาติของพระผู้มีพระภาค และสาวก มือปัณณกชาดก เป็นต้น รวม ๕๕๐ ชาดก
อัพภูตธรรม คือ พระสูตรที่ประกอบด้วยอัจฉริยะอัพภูตธรรม (ธรรมที่ยิ่งด้วยคุณพิเศษน่าอัศจรรย์)
เวทัลละ คือ พระสูตรที่เมื่อถามแล้ว ๆ ได้ความรู้และความยินดียิ่ง ๆ ขึ้น มีจูฬเวทัลลสูตร เป็นต้น

พระพุทธพจน์ มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันท่านพระอานนท์เรียนจากพระผู้มีพระภาคมา ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เรียนจากพระภิกษุ มีท่านพระสารีบุตร เป็นต้น ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระธรรมขันธ์ คือ พระธรรมแต่ละข้อซึ่งอาจจะเป็นพระสูตร ๑ สูตรก็ได้เป็น ๑ พระธรรมขันธ์ หรือปัญหา ๑ ข้อก็เป็น ๑ พระธรรมขันธ์ คำวิสัชชนาข้อหนึ่ง ๆ ก็เป็นพระธรรมขันธ์หนึ่ง ๆ เป็นต้น

พระวินัยปิฎก มี ๕ คัมภีร์ คือ
- มหาวิภังค์
- ภิกขุนีวิภังค์
- มหาวรรค
- จุลลวรรค
- ปริวาร
คัมภีร์อรรถกถา ซึ่งอธิบายข้อความในพระวินัยปิฎก คือ สมันตปาสาทิกา

พระสุตตันตปิฎก มี ๕ นิกาย คือ
ทีฆนิกาย
รวมพระสูตรขนาดยาว มีพระสูตร ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ วรรค คือ
- สีลขันธวรรค
- มหาวรรค
- ปาฏิกวรรค
คัมภีร์อรรถกถาทีฆนิกาย คือ สุมังคลวิลาสินี

มัชฌิมนิกาย
รวมพระสูตรขนาดกลาง ปี พระสูตร ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ ปัณณาสก์ คือ
- มูลปัณณาสก์ มี ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร รวม ๕๐ สูตร
- มัชฌิมปัณณาสก์ มี ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ สูตร รวม ๕๐ สูตร
- อุปริปัณณาสก์ มี ๕ วรรค ๔ วรรคแรกมีวรรคละ ๑๐ สูตร วรรคที่ ๕ มี ๑๒ สูตร รวม ๕๒ สูตร
คัมภีณ์อรรถกถามัชฌิมนิกาย คือ ปปัญจสูทนี

สังยุตตนิกาย
รวมพระสูตรเป็นพวก ๆ แบ่งเป็นวรรคใหญ่ ๕ วรรค คือ
- สคาถวรรค มี ๑๑ สังยุตต์
- นิทานวรรค มี ๙ สังยุตต์
- ขันธวารวรรค มี ๑๓ สังยุตต์
- สฬายตนวรรค มี ๑๐ สังยุตต์
- มหาวารวรรค มี ๑๒ สังยุตต์
คัมภีร์อรรถกถาสังยุตตนิกาย คือ สารัตถปกาสินี

อังคุตตรนิกาย
รวมพระสูตรตามจำนวนประเภทของธรรม แบ่งเป็น ๑๑ นิบาต คือ
- เอกนิบาตร รวมธรรมประเภทหมวด ๑
- ทุกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๒
- ติกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๓
- จตุกกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๔
- ปัญจกนิบาตร รวมธรรมประเภทหมวด ๕
- ฉักกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๖
- สัตตกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๗
- อัฏฐกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๘
- นวกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๙
- ทสกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๑๐
- เอกาทสกนิบาต รวมธรรมประเภทหมวด ๑๑
คัมภีร์อรรถกถาอังคุตตรนิกาย คือ มโนรถปูรณี

ขุททกนิกาย
นอกจากนิกาย ๔ มีทีฆนิกาย เป็นต้น นั้นแล้ว พระพุทธพจน์อื่นนอกจากนั้นรวมเป็นขุททกนิกาย มี ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก มหานิทเทส จูฬนิทเทส ปฏิสัมภิทามัคค์ อปทาน พุทธวงศ์ และ จริยาปิฎก

คัมภีร์อรรถกถาขุททกนิกาย คือ
- ปรมัตถโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกายขุททกปาฐะ และสุตตนิบาต
- ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาคาถาธรรมบท
- ปรมัตถทีปนี อรรถกถาอุทาน อิติวุตตกะ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา จริยาปิฎก
- ปรมัตถทีปนี (วิมลัตถทีปนี) อรรถกถาวิมานวัตถุ
- ชาตกัฏฐกถา อรรถกถาชาดก
- สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถามหานิทเทส จูฬนิทเทส
- สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาปฏิสัมภิทามัคค์
- วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน
- มธุรัตถวิลาสินี อรรถกถาพุทธวงศ์

พระอภิธรรมปิฎก มี ๗ คัมภีร์ คือ

ธัมมสังคณีปกรณ์ อรรถกถา คือ อัฏฐสาลินี
วิภังคปกรณ์ อรรถกถา คือ สัมโมหวิโนทนี
ธาตุกถาปกรณ์**
ปุคคลปัญญัติปกรณ์**
กถาวัตถุปกรณ์** **อรรถกถา คือ ปรมัตถทีปนี ปัญจปกรณัฏฐกถา
ยมกปกรณ์**
ปัฏฐานปกรณ์**


อรรถกถาพระไตรปิฎกนั้น ส่วนใหญ่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ แปลและเรียบเรียงจากอรรถกถาเดิมในภาษาสิงหล คือ มหาอรรถกถา มหาปัจจรี และกุรุนที ซึ่งสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยท่านพระมหินทเถระ พระโอรสพระเจ้าอโศกมหาราชไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา

นอกจากคัมภีร์ฎีกา ซึ่งอธิบายข้อความในคัมภีร์อรรถกถา คือ สารัตถทีปนี (คัมภีร์ฎีกาพระวินัยปิฎก) สารัตถมัญชุตา (คัมภีร์ฎีกาพระสุตตันตปิฎก) ปรมัตถปกาสินี (คัมภีร์ฎีกาพระอภิธรรมปิฎก) อนุฎีกา ซึ่งอธิบายคำศัพท์ในฎีกา และอัตถโยชนา ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ของบทที่ใช้ในอรรถกถาแล้ว คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่ควรค่าแก่การศึกษา ซึ่งท่านพระเถระผู้ทรงคุณในอดีตสมัยต่าง ๆ มาได้รจนาไว้ เช่น

มิลินทปัญหา รจนาโดย ท่านปิฎกจุฬา ประมาณ พ.ศ. ๕๐๐
วิสุทธิมัคค์ รจนาโดย ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
อภิธัมมัตถุสังคหะ รจนาโดย ท่านพระอนุรุทธาจารย์ ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
สารัตถสังคหะ รจนาโดย ท่านพระนันทาจารย์ ประมาณ พ.ศ. เกือบ ๑๐๐๐
ปรมัตถมัญชุสา (ฎีกาอธิบายวิสุทธิมัคค์) รจนาโดย ท่านพระธัมมปาลาจารย์
สัจจสังเขป รจนาโดย ท่านพระธัมมปาลาจารย์
อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา (อธิบายคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ) รจนาโดย ท่านพระสุมังคลาจารย์
โมหวิจเฉทนี (อธิบายธัมมสังคนีปกรณ์ และวิภังคปกรณ์) รจนาโดย ท่านพระกัสสปะ ประมาณ พ.ศ. ๑๗๐๓-๑๗๗๓
มังคลัตถทีปนี (อธิบายมงคลสูตร) รจนาโดย ท่านสิริมังคลาจารย์ ชาวเชียงใหม่

คัดลอกจาก หนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ท่าน อ.สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ธรรมรักษา ขอให้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร