วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

:b42: ในทุกๆ กระทู้ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน + อุปมา และการศึกษาปฏิบัตินั้นจะมี 2 ส่วนคือ
ส่วนที่๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
ส่วนที่๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:


ส่วนที่ ๑. :b42: ปัฎฐานในชีวิตประจำวัน

พระอาจารย์นันทสิริ
ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู
เขียน

จำรูญ ธรรมดา
ธัมมาจริยะ, B.Ed.
หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
แปล



คำนำ
(ของผู้เขียน)
มตํ เม ชีวิตา เสยฺโย ชีวโตปิ อชานโต
มตํ หิ ธมฺมตา เยว โลเก ชาตสฺส ชนฺตุโน.

สัตว์โลกต่างคิดว่า "จตุปัจจัยกล่าวคือ ทรัพย์สินเงินทองที่บริบูรณ์เท่านั้น จึงจะก่อให้เกิดสุข" จึงพากันดิ้นรนแสวงหาเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยนานัปการในขณะที่แสวงหาอยู่นั้น บางคนอาจได้สมดั่งใจ แต่บางคนอาจผิดหวัง ทำให้เกิดอภิชฌาหรือโทมนัส ผิดหวังเกิดโทมนัส สมหวังก็เกิดอภิชฌา แม้ผู้ที่แสวงหาปัจจัยกล่าวคือทรัพย์มาได้แล้ว หากใช้สอยไม่เป็น ปัจจัยนั้นแทนที่จะเป็นคุณกลับกลายเป็นโทษก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ที่ใช้สอยปัจจัยผิดๆ สรุปว่า การมีปัจจัยอย่างเดียวยังไม่พอ จำเป็นต้องใช้สอยปัจจัยดังกล่าวให้ถูกต้อง ตามครรลองคลองธรรมด้วย

พระพุทธองค์ทรงแสดงปัจจัย ๒๔ ประเภทไว้ในพระอภิธรรมปิฏกคัมภีร์ปัฎฐาน ทุกคนมีปัจจัย ๒๔ นั้น แต่โดยส่วนมากต่างก็ไม่รู้่ตัวเองมีปัจจัยนั้นอยู่ และถึงแม้จะรู้ก็นำออกมาใช้ไม่เป็น และบางท่านอาจจะพยายามนำปัจจัยบางอย่างออกมาใช้แต่กลับใช้ไม่ถูกต้อง จึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวังวนแห่งสังสารทุกข์อย่างไม่มีจุดจบ

ผู้เขียนได้เล็งเห็นคุณประโยชน์ของการใช้สอยปัจจัย ๒๔ เพื่อให้เกิดผลสูงสุด จึงได้เรียบเรียงปัฎฐานในชีวิตประจำวัน เพื่อแนะวิธีการใช้สอยปัจจัย ๒๔ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อนึ่ง พระธรรมเทศนาที่ว่าด้วยการเชื่อมโยงระหว่างธรรมที่เป็นเหตุ กับธรรมที่เป็นผล ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น ท่านเรียกว่าปัฎฐาน ซึ่งก็คือเทศนาว่าด้วยปัจจัย ๒๔ นั่นเอง

พุทธศาสนิกชน(ในพม่า) จะรู้จักคัมภีร์ปัฎฐาน และนิยมใช้สวดกันโดยส่วนใหญ่สวดเป็น แต่ไม่เข้าใจเนื้อหา จึงไม่ได้ลิ้มรสแห่งปัฎฐาน ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงได้เรียบเรียงหนังสือเล่มนี้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รับประโยชน์ขั้นต้นจากการพิจารณาใช้สอยปัจจัย ๒๔ หรือปัฎฐาน ๒๔ จากพระอภิธรรมปิฏก

อนึ่ง เนื่องจากปัจจัย ๒๔ นี้เป็นสภาวะปรมัตถ์ มีความลึกซึ้ง ยากที่ผู้มีปัญญาน้อยจะหยั่งถึง ดังนั้น จึงต้องอาศัยโวหารบัญญัติ โดยการใช้คำพูดแบบอุปมาโวหารที่เรียกว่า โลกูปมา(วิธีการยกอุปมาในสิ่งที่ชาวโลกเขารู้กัน) ซึ่งก็จะได้เพียงผิวเผินเท่านั้น หากต้องการเข้าใจปัจจัย ๒๔ อย่างลึกซึ้ง ก็จะต้องศึกษาจากคัมภีร์ปัฎฐานตามแนวทางวาจนมรรค ที่พระโบราณจารย์ท่านสั่งสอนสืบต่อกันมา ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาเกิดความเข้าใจหลักปัฎฐานและปฏิจจสมุปบาทอย่างกว้างขวาง จนสามารถทำลายตาข่ายแห่งความเข้าใจผิด กล่าวคือมิจฉาทิฎฐิเกี่ยวกับการถือกำเนิดเกิดขึ้นของสรรพสิ่งได้ในที่สุด

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทั้งหลาย จงนำปัจจัย ๒๔ ไปพิจารณาใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันของตนๆ เถิด

ด้วยเมตตาธรรม
พระนันทสิริ
มหาวัมมิการาม
กรุงโตโรนโต ประเทศแคนาดา
9.5.2010

......................................

คำนำ
(ของผู้แปล)
วีริยํ เม น ขีณาติ เนว ขีณาติ เม พลํ
ตเถว ปตฺถนา มยฺหํ ยาว ติฎฺฐติ ชีวิตํ.


ปัฎฐาน แปลตามรากคำว่า "เหตุ" ดังนั้น พระคัมภีร์ใดหรือพระธรรมเทศนาใด ที่พระพุทธองค์ทรงว่าไว้ด้วยเรื่องของเหตุและผล พระคัมภีร์นั้นท่านเรียกว่า "ปัฏฐาน ในที่นี้ หมายถึง พระคัมภีร์ลำดับที่ ๗ แห่งอภิธรรมปิฎก ซึ่งบอกให้รู้ถึงความสัมพันธ์แห่งสรรพสิ่งโดยความเป็นเหตุเป็นผลกัน

คัมภีร์ปัฏฐานที่ว่านี้ได้รับการกล่าวขานจากนักวิชาการโบราณว่าเป็นคัมภีร์ที่มีเนื้อหายาวและยากที่สุดในบรรดาคัมภีร์ที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา จึงเป็นการยากที่บุคคลทั่วไปจะรู้โดยทั่วถึงได้ นอกเสียจากว่าได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณวิเศษคือ ธัมมปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในเหตุ) และ
อัตถปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในผล)

การศึกษาปัฏฐานนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน ผู้ใดเจนจบในคัมภีร์นี้ ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้เข้าใจหลักคำสอนพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งและได้ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิตรงตามพุทธประสงค์อย่างแท้จริง เขาผู้นั้นจะสามารถเข้าใจถึงสาเหตุความเป็นมาของสรรพสิ่งในแง่ของความเป็น "เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา" "สังขตธรรมทั้งหลาย ย่อมเกิดแต่เหตุ" และในที่สุด เขาก็จะเข้าใจอย่างถ่องแท้อีกด้วยว่า "ในโลกนี้ไม่มีการกะ พระเจ้าผู้สร้างโลก พระพรหมผู้เนรมิตโลก แต่สรรพสิ่งเกิดขึ้นโดยมีเหตุทั้งสิ้น" ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์ปัฏฐาน จึงเป็นเสมือนคัมภีร์แห่งสัญลักษณ์ของความเป็นสัมมาทิฎฐิ

การศึกษาคัมภีร์ปัฏฐานที่อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย เป็นการศึกษาในหลักสูตรที่ พระสัทธรรมโชติกะ(ธัมมาจริยะ) ท่านได้วางไว้ จึงเน้นหลักทางวิชาการเป็นสำคัญ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ศึกษาซึ่งกำลังจะสำเร็จเป็นอภิธรรมบัณฑิต มีความรู้เชิงวิชาการในคัมภีร์นี้ ในบางครั้ง จึงทำให้บัณฑิตผู้จบหลักสูตรอภิธรรมไปแล้ว อาจไม่มีเวลามองย้อนมาดูคัมภีร์ปัฏฐานในแง่มุมของบการปฏิบัติ หรือการนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเหินห่างจากเนื้อหาของคัมภีร์นี้ได้ แต่ถ้าได้น้อมนำเอาเนื้อหาของคัมภีร์ปัฏฐานมาพิจารณาตามหลักโยนิโสมนสิการแล้วไซร้ ก็อาจทำให้ได้รับประโยชน์ทั้งโลกิยะและโลกุตตระ ดังที่เคยมีตัวอย่างมาแล้วในโบราณกาลก็ได้

เมื่อเดือนธันวาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ พระอาจารย์นันทะ(ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู)(พระอาจารย์ผู้สอนภาษาพม่ารูปแรกให้ผู้แปล เมื่อครั้งที่ท่านมาพำนักอยู่วัดท่ามะโอ ลำปาง) ได้ฝากหนังสือ "ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน" ที่ท่านเขียนไว้ด้วยภาษาพม่ามากับอาจารย์มยุรี เจริญ(อุบาสิกาผู้มีศรัทธาและให้การอุปการะต่อวงการการศึกษาภาษาบาลีใหญ่) จากประเทศแคนาดา โดยท่านได้เขียนคาถาภาษาบาลีแสดงการขอร้องให้ผู้แปลทำการแปลหนังสือดังกล่าวเป็นภาษาไทยดังนี้ว่า
นานานยสุคมฺภีรํ ปฏฺฐานํ พุทฺภาสิตํ
มรมฺมิกานมตฺถาย วุตฺตํ มรมฺมภาสยา.
สาธุกํ ภิกฺขุนนฺเทน ปญฺญาวโรภิยาจิโต
อาโรเปตุ สกํ ภาสํ อตฺถาย สฺยามวาสินํ.
คัมภีร์ปัฏฐานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้นี้มีความลุ่มลึกด้วยนัยเป็นอเนกอนันต์ ข้าพเจ้าเขียนอธิบายด้วยภาษาพม่าง่ายๆ เพื่ออนุเคราะห์ชนชาวพม่า, ในการนี้ ข้าพเจ้า ใคร่ขอร้องให้คุณปัญญาวโร(จำรูญ ธรรมดา) ได้ช่วยแปลเป็นภาษาไทยเพื่อประโยชน์แก่ชนชาวสยามด้วย

ด้วยเหตุนี้ จึงนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่ประจวบเหมาะเป็นอย่างยิ่ง เพราะทางอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัียเอง ก็กำลังต้องการข้อเขียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระอภิธรรมเพื่อนำมาลงในหนังสืออนุสรณ์อภิธรรมบัณฑิตรุ่นที่ ๔๗/๕๓ อยู่พอดี ดังนั้น พระครูอุปถัมภ์สุตคุณ ผู้อำนวยการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย จึงมอบหมายให้ผู้แปลซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการ ได้ทำการแปลหนังสือเล่มนี้เพื่อใช้เป็นเนื้อหาหลักในหนังสืออนุสรณ์อภิธรรมบัณฑิตรุ่นดังกล่าว

ในการจัดทำต้นฉบับครั้งนี้ ผู้แปลขอกราบขอบพระคุณพระอาจารย์นันทะ ที่ท่านได้ให้เกียรติเป็นคนแปลงานเขียนของท่าน และขออนุโมทนาบุญกับอาจารย์มยุรี เจริญ ผู้นำต้นฉบับมาจากประเทศแคนาดา ขอขอบคุณ คุณนรินทร์ จันทำ ผู้พิมพ์ต้นฉบับแปลบางส่วน และคุณธนิฏฐา ปีกอง ผู้ช่วยพิมพ์ฉบับแปลส่วนที่เหลือพร้อมกับช่วยตรวจทานและพิสูจน์อักษร และแก้ปรู๊ฟในคอมพ์ให้สำเร็จเป็นรูปเล่ม และขอขอบพระคุณ/ขอบคุณ อภิธรรมบัณฑิตรุ่นที่ ๔๗ ณ โอกาสนี้ด้วย ที่ได้ช่วยตรวจพิสูจน์อักษร หลังจากจัดรูปแบบแล้ว

ผู้แปลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วรรณกรรมชิ้นเล็ำกๆ นี้จะช่วยเป็นแสงสว่างส่องนำทางท่านสาธุชนทั้งหลายให้สามารถฝ่าเมฆหมอกแห่งมิจฉาทิฏฐิที่รุมล้อมรอบใจกายของเราผ่านทะลุไปสู่ชั้นบรรยากาศอันสว่างไสวไร้อวิชชา ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ

จำรูญ ธรรมดา
ผู้แปล
:b8: :b8: :b8:
กระทู้ต่อไป จะขอเริ่ม ปัจจัย ๒๔ ปัจจัยแรก คือ เหตุปัจจัย

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2013, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัฎฐานในชีวิตประจำวัน + ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b42: คำนำของปัฏฐานในชีวิตประจำวัน + คำนำของปัจจัย ๒๔ อุปมาและการศึกษาปฏิบัติ
(กระทู้ที่ ๑)

:b42: ปัจจัยที่ ๑-๓ (กระทู้ที่ ๒)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41815

:b42: ปัจจัยที่ ๔-๗ (กระทู้ที่ ๓)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41816

:b42: ปัจจัยที่ ๘-๑๐ (กระทู้ที่ ๔)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41817

:b42: ปัจจัยที่ ๑๑-๑๓ (กระทู้ที่๕)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41818

:b42: ปัจจัยที่ ๑๔-๑๗ (กระทู้ที่ ๖)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41819

:b42: ปัจจัยที่ ๑๘-๒๐ (กระทู้ที่ ๗)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41820

:b42: ปัจจัยที่ ๒๑-๒๔ (กระทู้ที่ ๘)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41821

:b45: :b45: :b45:
สหชาตกัมมปัจจัยของข้าพเจ้าในวันนี้ ขอจงเป็นพลวนานักขณิกกัมมปัจจัยส่งผลให้ข้าพเจ้าบรรลุมรรคผลนิพพาน โดยเร็ววันด้วยเทอญ :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2013, 08:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

ส่วนที่ ๒. :b42: ปัจจัย ๒๔

อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา

แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย

คณะที่ปรึกษา:
พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก
พระครูอุปถัมภ์สุตคุณ
พระมหาชัยวุฒิ ชยวุฑฺโฒ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์ดิษกฤต สารนเวชช์
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา

แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา


:b42: จากหนังสือในงาน พิธีประสาทปริญญา ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย


ผู้ดำเนินการจัดพิมพ์:
อภิธรรมบัณฑิต รุ่นที่ ๔๙/๒๕๕๕
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ออกแบบและจัดพิมพ์ต้นฉบับ:
หอพระไตรปิฎกนานาชาติ
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำนำ

พระอภิธรรมปิฎก ประกอบด้วยคัมภีร์ ๗ คัมภีร์ คือ
ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน

ปัฎฐาน เป็นคัมภีร์สุดท้ายของพระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยปัจจัย ๒๔ ที่ปรุงแต่งชีวิตให้
เวียนว่ายตายเกิดในสังสารทุกข์ และที่นำไปสู่ความพ้นทุกข์ นับเป็นคัมภีร์ที่แสดงความ
เป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อกันของสภาวธรรมต่างๆ อย่างลุ่มลึกและกว้างขวางที่สุด

ในหนังสือ คัมภีร์มหาปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนังสือหลักสูตรชั้นมหาอาภิธรรมิกะเอก
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย พระสัทธรรมโชติกะธัมมาจริยะ นอกจากอธิบายความหมาย
องค์ธรรม หน้าที่ เป็นต้น ของแต่ละปัจจัยแล้ว ยังได้แสดงอุปมาในทุกๆ ปัจจัยด้วย
อุปมานี้ช่วยให้เข้าลักษณะและหน้าที่ของปัจจัย ๒๔ ชัดเจนยิ่งขึ้น

ผู้เขียนได้พบภาพอุปมาปัจจัย ๒๔ ในเว็บไซต์ beibay.wordpress.com เป็นภาพ
จิตรกรรมที่วัดพระมหามุนี (Mahamuni Buddha Temple) เมืองมัณฑะเลย์
ประเทศเมียนมาร์ จึงเห็นควรจัดทำบทความที่เกี่ยวกับอุปมาในปัจจัย ๒๔.

ในการทำบทความนี้ ผู้เขียนทำหน้าที่เพียงนำคำอธิบายเรื่องปัจจัย ๒๔ ในหนังสือต่างๆ
รวมทั้งคำสอนของครูอาจารย์ที่ผู้เขียนได้จดบันทึกไว้มาเรียบเรียงลำดับความ ที่เขียนเป็น
บางส่วนคือ การศึกษาและปฏิบัติที่เนื่องกับปัจจัย ๒๔ และการค้นคว้าจากพระไตรปิฎก
มาเพิ่มเนื้อความให้กระจ่างชัดขึ้น........ฯลฯ.....(พูดเกี่ยวกับภาพซึ่งผู้ทำกระทู้ไม่ได้ลง
ภาพให้เห็น แต่ขอลงเฉพาะเนื้อหาเท่านั้นค่ะ)

ผู้เขียนสามารถเขียนบทความนี้ได้ ก็ด้วยได้รับความรู้จากท่านอาจารย์ผู้สอนชั้น
มหาอาภิธรรมิกะเอก อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ทุกท่านนอกจากนี้ พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก
และอาจารย์ดิษกฤต สาสนเวชช์ ได้ช่วยแนะนำแนวทางในการทำ

พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล อาจารย์ประจำอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย และอาจารย์จำรูญ ธรรมดา
หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ได้ช่วยแปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจาก
ภาษาพม่าเป็นภาษาไทย คำแปลนี้ได้พิมพ์ไว้ตอนล่างของภาพ

นอกจากนี้ พระครูอุปถัมภ์สุตคุณ ผู้อำนวยการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย ได้กรุณาตรวจความ
ถูกต้องของบทความ

ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณและขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง

ขออนุโมทนาอภิธรรมบัณฑิตรุ่น ๔๙/๒๕๕๕ และทุกๆ ท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการพิมพ์
หนังสือนี้ รวมทั้งท่านผู้อ่านบทความและผู้ช่วยเผยแพร่บทความนี้ต่อไป ขอมหากุศลแห่งการ
ศึกษาและเผยแพร่ความรู้เรื่องปัจจัย ๒๔ ครั้งนี้ ยังให้ทุกท่านประสบผลเลิศตามสมควรแห่งธรรม
ทุกประการ และขอจงเป็นปกตูปนิสสยปัจจัยให้ทุกท่านมีสัทธาและปัญญาที่เป็น พลวะมีกำลังมาก
ในการศึกษาปฏิบัติธรรม
และได้ทำธรรมทานสืบทอดพระธรรมอันประเสริฐของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกภพทุกชาติ
ตลอดไปตราบถึงนิพพาน.

แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง

:b8: :b8: :b8:

เชิญคลิ๊กดูภาพปัจจัย ๒๔ และแสดงภาพอุปมาทุกๆ ปัจจัยค่ะ

http://beibay.wordpress.com/

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

หีนํ ธมฺมํ น เสเวยฺย
ผู้ดีไม่ควรเสพธรรมอันเลวทราม

ปมาเทน น สํวเส
ไม่ควรอยู่ด้วยความประมาท

มิจฺฉาทิฏฐิ น เสเวยฺย
ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ

น สิยา โลกวฑฺฒโน
ไม่ควรเป็นคนรกโลก

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2015, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ

บางส่วนของ คัมภีร์มหาปัฏฐาน
(พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก)


นำเรื่อง ปัจจัยที่รวมกลุ่มเข้ากันได้ เป็นปัจจัยแก่ปัจจยุปบันธรรม เรียกว่า ฆฏนา*
พระบาลีแสดงไว้สุดท้ายของปัญหาวารวิภังค์ มีความสำคัญที่ช่วยได้เข้าใจสภาวธรรมของ นามรูป
หรือจิต เจตสิก รูป ที่เป็นไปในชีวิตประจำวัน ว่าเป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างไร

ปกติวิถีจิตทั้งปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี ที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖ ที่จิตเกิดดับเป็นอนันตรปัจจัย
จิตแต่ละประเภท คือ กุศล อกุศล วิบาก และกิริยา แต่ละดวงนั้นมีปัจจัยหลายปัจจัย มิใช่หนึ่งเดียว
แต่เป็นชุด เป็นกลุ่มปัจจัย นั่นคือ ความหมายของฆฏนา ถ้าเราเข้าใจฆฏนาหรือกลุ่มปัจจัย ตามพระบาลี
องค์ธรรมด้านนี้ คือ สหชาตฆฏนา และอีกด้านหนึ่งคือ ปกิณณกฆฏนา นี้แล้ว จะเข้าใจการสงเคราะห์ปัจจัยในแต่ละขณะจิต ที่ได้แสดงถึงความเป็นอนัตตา เพื่อไถ่ถอนอัตตานุทิฏฐิ อันเป็นเป้าหมายของ
การศึกษาพระธรรมและธำรงรักษาไว้ให้สืบต่อไป

* จาก ปัฏฐานุสเทสทีปนี

พระครูธรรมธรสุมนต์ นนฺทิโก

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร