วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 15:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี 2 ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

๒๑. , ๒๔.
อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย


ใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์

ปัจจยธรรม: รูปธรรมและนามธรรมที่มีปรากฏอยู่

ปัจจยุปันนธรรม: นามธรรมกับรูปธรรมที่มีปรากฏอยู่

"มีเหตุ จึงมีผล" คำกล่าวนี้มิได้หมายความว่า ผลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเหตุนั้นได้จบไปแล้ว แต่ความเป็นจริงแล้วขณะที่เหตุยังมีหรือยังปรากฏอยู่ หรือยังไม่อันตรธานไปนั่นเอง ผลก็สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย

คนที่มีเครื่องประดับเช่น สร้อย แหวน กำไล เป็นต้น หากได้ทำการประดับสวมใส่เครื่องประดับเหล่านั้น ก็ย่อมชื่อว่ามีทั้ง ๒ ปัจจัย คือมีทั้งอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย ย่อมได้รับอานิสงค์ประโยชน์ กล่าวคือการไม่ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากบุคคลอื่น แต่ถ้ามีอยู่เฉยๆ ไม่ยอมนำมาสวมใส่ก็เท่ากับว่ามีแต่อัตถิปัจจัย แต่ไม่มีอวิคตปัจจัย เพราะมีอยู่ในการครอบครองแต่ไม่ได้โชว์ให้คนอื่นได้ยล ก็อุปมาที่ยกมานี้เป็นเพียงแค่การเปรียบเทียบเพื่อให้มองเห็นภาพแห่งความเป็นอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเท่านั้น

เพราะตามความเป็นจริงแล้วในเรื่องการเกิดสภาวธรรมฝ่ายนามขันธ์ ๔ กล่าวคือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ โดยความเป็นสหชาต(เหตุเกิดร่วมกับผล)นั้น ถึงทราบว่าเป็นไปในลักษณะเช่นนี้ คือ เพราะเหตุกล่าวคือเวทนา ซึ่งเป็นเหตุที่กำลังเกิดหรือกำลังปรากฏอยู่โดยยังไม่อันตรธานหายไปไหนนั่นเอง จึงทำให้ผลกล่าวคือ สัญญา สังขาร และวิญญาณเกิดขึ้น นี้ต่างหากที่เป็นลักษณะของความเป็นอัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย

โดยทำนองเดียวกัน ในการเกิดผลกล่าวคือ จักขุวิญญาณ(การเห็นรูปสีต่างๆ ซึ่งได้อธิบายไว้แล้วในตอนนิสสยปัจจัยและอารัมมณปัจจัย) นั้นพึงทราบว่าสาเหตุมาจากการที่ตาและรูปารมณ์เผชิญหน้ากัน

ก็แล ผลธรรมกล่าวคือ จักขุวิญญาณที่ว่านี้ ย่อมเกิดขึ้นในขณะที่เหตุธรรมกล่าวคือ ตาและรูปารมณ์ยังมีปรากฏอยู่และยังไม่เลือนหายหรืออัตรธานไปนั่นเอง เพราะถ้ารูปารมณ์เลือนหายไป จักขุวิญญาณกล่าวคือ การเห็นก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้

อนึ่ง หากจะพูดในแง่ของบัีญญัติแล้ว ก็อาจจะต้องพูดพาดพิงไปถึงกลุ่มหรือคณะของบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสถาบัน องค์กร สมาคม ชมรม เป็นต้น ซึ่งในสถาบัน องค์กร เป็นต้นเหล่านั้น ย่อมประกอบด้วยคณะบุคคลเป็นรายๆ ไป ซึ่งเรียกว่า กรรมการ บ้าง สมาชิก บ้าง ซึ่งบุคคลเหล่านั้นต่างก็ทำหน้าที่ของตนโดยยิืนหยัดเคียงบ่าเคียงไหล่ ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน จับมือประสานสามัคคีปฏิบัติหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง นำความเจริญรุ่งเรือมาสู่องค์กรของตน นี่แหละท่านเรียกว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามระบบของอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย มีแต่ก่อให้เกิดผลสุขทุกถ้วนหน้า

...............................................................

๒๒. , ๒๓.
นัตถิปัจจัยกับวิคตปัจจัย


แม้ไม่มีหรือไม่อยู่แล้วแต่ก็ยังให้การช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู่



ปัจจยธรรม : จิตที่เกิดขึ้นดวงก่อนๆ

ปัจจยุปันนธรรม :จิตที่เกิดขึ้นดวงหลังๆ

หลังจากที่จิตดวงก่อนๆ ไม่มีปรากฏอยู่และดับหายไปแล้ว จึงทำให้จิตดวงหลังๆ สามารถเกิดขึ้นได้นั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าการทำอุปการะแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับอัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัย (ปัจจัยที่ ๒๑-๒๒)

ในการเห็นสิ่งต่างๆ ด้วยตา (หรือตามที่สำนวนอภิธรรมเรียกว่า การเห็นรูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ) นั้น พึงทราบว่า เมื่อรูปารมณ์(สิ่งที่เห็นได้ด้วยตา) มากระทบกับจักขุปสาท ก็จะทำให้วิถีจิต(กลุ่มจิตที่เกิดตามลำดับ) ก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่ของตน โดยเริ่มที่
-อาวัชชนจิต เกิดขึ้นเพื่อพิจารณารูปารมณ์นั้น เมื่ออาวิชชนจิตดับ ก็จะเป็นโอกาสของ
-สันตีรณจิต ซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่ตรวจตราไต่ตรองอารมณ์นั้น เสร็จแล้วจิตดังกล่าวก็ดับ เมื่อจิตดังกล่าวดับไปแล้ว จึงเกิด
-จักขุวิญญาณจิต ที่เป็นดังสภาวะรู้รูปารมณ์(หรือที่ทางโลกเขาเรียกกันว่า ("เห็น")เป็นลำดับถัดไป

ภาพแห่งการดับของจิตดวงก่อนๆ และการเกิดขึ้นแห่งจิตดวงหลังๆ ดังที่ยกมานี้แลเป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยแลวิคตปัจจัย

[ก็ถ้าหากจิตดวงก่อนเกิดขึ้นและไม่ดับไปไซร้ โอกาสที่จิตดวงหลังๆ จะเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ การดับหายไปจากจิตดวงก่อนๆ นั้น ได้ชื่อว่าเป็นโอกาสสำหรับจิตดวงหลังๆ อุปมาเหมือนกับเมื่อไม่มีแสงไฟ ความมืดก็จะคืบคลานเข้ามาแทนที่ นี่เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัย ส่วนลักษณะของวิคตปัจจัยนั้นเปรียบเสมือนกับการเกิดขึ้นแห่งแสงจันทร์ภายหลังการดับไปแห่งแสงอาทิตย์]

เราลองมาสรุปภาพความเป็น อัตถิ-อวิคต-นัตถิ และวิคตปัจจัย แบบง่ายๆ ดู จะเห็นได้ว่า สมมุติว่า คนๆ หนึ่งเป็นผู้มีอำนาจและก็ใช้อำนาจนั้นอยู่(ซึ่งหากใช้โดยความเป็นธรรม ก็จะทำให้เกิดความรุ่งเรืองทั้งตนเองและบุคคลอื่นๆ)

แต่ถ้าใช้โดยไม่เป็นธรรม มุ่งเอาแต่ประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง ก็จะทำให้ผู้คนทั้งหลายพบกับความทุกข์ยากลำบาก นี่เป็นลักษณะของการเกิดผลดีผลเสียแห่งอัตถิปัจจัยแลอวิคตปัจจัย ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้มีอำนาจดังกล่าวได้สละอำนาจแก่บุคคลอื่นผู้คู่ควรแก่การได้รับ จนตัวเองไม่มีอำนาจหลงเหลืออยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้อื่นเข้ามาแทนที่ตนซึ่งบุคคลผู้ได้รับการถ่ายโอนอำนาจ ก็ย่อมมีโอกาสและมีอำนาจในการทำงานอย่างเต็มที่

ก็และการเกิดขึ้นแห่งนัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัยนั้น ก็มีลักษณะเช่นเดียวกันกับการเปิดโอกาสโดยการสละอำนาจให้บุคคลผู้เหมาะสมตาที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล

ในโลกนี้ ยังมีกลุ่มคนผู้มีอำนาจบางกลุ่มที่ต่อหน้าประชาชีแล้วทำเป็นเหมือนได้ทำการมอบอำนาจให้แก่ประชาชน แต่ความจริงแล้วพวกเขาคือกลุ่มอำนาจในที่ลับสายตาของชาวโลก นี้ก็เป็นลักษณะของนัตถิปัจจัยและอวิคตปัจจัยเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงสามารถผสานวัฒนธรรมอัตถิปัจจัยแลอวิคตปัจจัย นัตถิปัจจัยและวิคตปัจจัย และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างบูรณาการผสานทั้งฝ่ายโลกิยะและโลกุตตระเถิด

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัฎฐานในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์นันทสิริ ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู ....เขียน
จำรูญ ธรรมดา ธัมมาจริยะ, B.Ed. หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย...แปล

:b45: จบปัฎฐานในชีวิตประจำวัน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


ยาวมากครับ แต่ก็ชอบ มาอ่านการเกิดดับของจิตที่เกี่ยวกับขันธ์5ก็ย้อนมาพิจารณาตัวเอง ขอบคุณครับ

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2012, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขออนุโมทนาบุญ ขอบคุณค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2012, 07:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


การได้ศึกษาคัมภีร์ปัฏฐาน เป็นการสร้างปัญญาเป็นความคุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์
พบพระพุทธศาสนา ขอเพื่อนๆ จงสนใจศึกษาพระอภิธรรม เพื่อเป็นทางเพื่อเป็นพื้นฐาน
ให้เข้าใจคัมภีร์ปัฏฐานให้ดียิ่งๆขึ้นไป

ปัฏฐานปกรณ์ เป็นคัมภีร์ที่ ๗ ในพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
เป็นคัมภีร์ที่ยากที่สุด ปัฏฐานปกรณ์จึงเป็นคัมภีร์แรกที่จะหายไปก่อน
ขอให้พวกเราชาวพุทธจงช่วยกันรักษาไว้ให้คัมภีร์ปัฏฐานหายไปช้าที่สุด
ด้วยการสืบทอดการเรียนพระอภิธรรม และเรียนต่อไปจนถึงคัมภีร์ปัฏฐานค่ะ

คัมภีร์นี้เป็นคัมภีร์ที่พระพุทธองค์เกิดฉัพพรรณรังสี คือพระรัศมีพิเศษมี ๖ สี
ได้เกิดขึ้นซ่านออกจากพระสรีระ ส่วนต่างๆ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงพิจารณาธรรม
อันสุขุมลุ่มลึกในมหาปกรณ์ คือ มหาปัฏฐานปกรณ์นี้เอง

ทำไมจึงเกิดฉัพพรรณรังสี หลังจากพิจารณาคัมภีร์ที่ ๗ คือ มหาปัฐฐานปกรณ์
เนื่องจากคัมภีร์ที่ ๑-๖ เวลาที่พระองค์พิจารณาธรรม ยังไม่ต้องใช้ปัญญามากในการพิจารณา
แต่ในคัมภีร์ที่๗ มีเนื้อหามากมายกว้างขวาง เหมาะสมกับพระปัญญาอันหาที่สุดมิได้ของ
พระพุทธองค์ จึงเป็นเหตุให้เกิดฉัพพรรณรังสีแผ่ซ่านจากพระสรีระขึ้น เหมือนปลาใหญ่ที่ว่ายใน
มหาสมุทรที่กว้างไกล ๘๔,๐๐๐ โยชน์ได้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2012, 16:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนาสาธุๆ^^

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2012, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




540576_159777090818597_100003589221105_196169_1082920343_n.jpg
540576_159777090818597_100003589221105_196169_1082920343_n.jpg [ 13.05 KiB | เปิดดู 7954 ครั้ง ]
:b8: ขออนุโมทนาสาูธุด้วยค่ะ ที่เข้ามาอ่าน
:b45: เชิญคลิ๊กอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับคัมภีร์ปัฏฐาน
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/002156.htm


:b51: มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการสวดคัมภีร์ปัฏฐานมาให้อ่านค่ะ
นำมาจาก หน้าที่ ๓ เขียนโดย พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ ลำปาง
ในหนังสือที่ระลึกงานสมโภชน์พระสุพรรณบัฏ
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙)
วันที่ ๔-๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

:b44: :b44: :b44:

เมื่อข้าพเจ้าเรียนคัมภีร์ปัฏฐานที่พม่านั้น ท่านอาจารย์ผู้สอนคือ พระนันโทภาสาภิวงศ์
อัครมหาบัณฑิต ได้พูดถึงอานิสงส์ในการป้องกันภยันตรายของคัมภีร์นี้ว่า สมัยก่อนมี
พระพม่าสองรูปเดินทางไปเยี่ยมญาติหลังสอบบาลีเสร็จสิ้นแล้ว น่าจะอยู่ในระหว่าง
เดือนมีนาคมถึงเมษายน แต่ท่านทั้งสองหลงทางอยู่ในป่า เพราะสมัยก่อนต้องเดินทางเท้า
เท่านั้น พอค่ำลงพบป่าใหญ่แ่ห่งหนึ่ง มีชายคนหนึ่งร่างกายสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำ หน้าตาอัปลักษณ์
นุ่งห่มผ้าขาวเหมือนชีปะขาว ที่คอห้อยลูกประคำเส้นโต กำลังเกินไปมานับลูกประคำอีกเส้นหนึ่้ง
และท่านทั้งสองได้เห็นกระท่อมหลังหนึ่งไม่่ไกลนัก จึงเอ่ยปากขอพักแรมคืนหนึ่ง ชายร่างใหญ่
ผู้นั้นก็พูดเสียงห้วนๆ เหมือนไม่ค่อยอยากพูดว่า อยากนอนก็นอนเถอะ

พระรูปหนึ่งหลับสนิทพอหัวถึงหมอน แต่อีกรุปหนึ่งสวดมนต์ก่อนนอน พอได้ยินเสียงสวดมนต์
ชายผู้นั้นร้องบอกว่า พอทีอย่าสวด แต่ท่านก็ไม่ยอมหยุด ครั้นสวดไปเรื่อยๆ จนถึงปัฏฐาน
ปัจจยนิเทศที่จัดพิมพ์ในหนังสือเล่มนี้ ก็ได้ยินเสียงร้องด้วยความเจ็บปวด แล้วทุกอย่าง
ก็หายไปหมด ทั้งกระท่อม เตียงนอน ฯลฯ ที่พบมีเพียงป่างิ้วใหญ่เท่านั้น สันนิษฐานว่า
ชายคนนั้นน่าจะเป็นยักษ์ที่จับคนเข้ามาในป่างิ้วกิน แต่ต้องหนีไปด้วยอานุภาพของคัมภีร์ปัฏฐาน
นี้เอง พระทั้งสองรูปเห็นดังนั้นก็ตกใจ รีบหนีออกจากป่างิ้ว พอรุ่งเช้าจึงมาถึงหมู่บ้านของตน
แล้วเล่าเรื่องนี้ให้คนรู้จักฟังจนเรื่องนี้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2013, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัจจัย ๒๔
อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ

๒๑.
อัตถิปัจจัย

อตฺถิปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังมีอยู่

อัตถิ แปลว่า มีอยู่
อัตถิปัจจัย หมายความว่า ปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันธรรมทั้งสองยังปรากฏมีอยู่ ยังไม่ดับไป ความมีอยู่
ยังไม่ดับไปนี้ทำให้ปัจจัยธรรมทำหน้าที่อุดหนุนแก่ปัจจยุปบันธรรมได้ หรือปัจจัยธรรมและปัจจยุปบันธรรม
อุดหนุนซึ่งกันและกันได้

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
พื้นดินที่ช่วยอุดหนุนอุปการะแก่ต้นไม้ทั้งปวงให้งอกงามเจริญขึ้นและตั้งอยู่ได้ ในการช่วยอุดหนุนนี้เป็น
การช่วยอุดหนุนโดยอาการที่ปรากฏมีอยู่คือพื้นดินที่เป็นฝ่ายอุดหนุนก็มีอยู่ ต้นไม้ที่เป็นฝ่ายรับการอุดหนุนก็มีอยู่ ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มี ก็ช่วยอุดหนุนไม่ได้

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

๒๒.
นัตถิปัจจัย

นตฺถิปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ไม่มี

นัตถิ แปลว่า ไม่มี
นัตถิปัจจัย หมายความว่า ความไม่มีของปัจจัยธรรม คือ ความดับไปของจิตและเจตสิกดวงหลังๆ เกิดขึ้น
สืบต่อกับตนโดยไม่มีระหว่างคั่น เมื่อจิตดวงแรกดับไป จิตดวงที่ ๒ จึงเกิดขึ้น เป็นต้น (เหมือนกับ
อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย)

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
แสงสว่างกับความมืด ธรรมดาของความมืดจะมีไม่ได้ในเมื่อแสงสว่างยังปรากฏอยู่ ต่อเมื่อแสงสว่างไม่มีแล้ว ความมืดจึงจะปรากฏขึ้นได้ ดังนั้นความมืดจึงเป็นผลของแสงสว่างที่ดับไปแล้ว ข้อนี้ฉันใด

ธรรมที่เป็นนัตถิปัจจัยนี้ก็เช่นเดียวกัน คือ ปัจจยุปบันนนธรรมที่เกิดขึ้นนั้น ต้องให้ปัจจัยธรรมดับไปเสียก่อน จึงจะเกิดขึ้นได้ ฉันนั้น

ความดับไปหรือความไม่มีของปัจจัยธรรมนี้ จึงทำคุณอุปการะให้แก่ปัจจยุปบันธรรม คือให้ปัจจยุปบันธรรม
เกิดขึ้นได้

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

๒๓.
วิคตปัจจัย

วิคตปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ปราศจากไป

วิคตะ แปลว่า ปราศจากไป
วิคตปัจจัย หมายความว่า ความปราศจากไปของปัจจัยธรรมนั้นเป็นปัจจัยช่วยอุปการะให้ปัจจยุปบันธรรม
เกิดขึ้นสืบต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น (เหมือนกับอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย)

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
พระอาทิตย์และพระจันทร์ ตามธรรมดาพระจันทร์จะไม่ปรากฏแสง ในเมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ปราศจากไป
ต่อเมื่อพระอาทิตย์ปราศจากไปแล้วนั่นแหละ แสงสว่างของพระจันทร์จึงจะปรากฏขึ้นได้

พระอาทิตย์จึงช่วยอุปการะช่วยอุดหนุนแก่แสงสว่างของพระจันทร์ โดยอาการปราศจากไป

:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:


๒๔.
อวิคตปัจจัย

อวิคตปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นผู้ยังไม่ปราศจากไป

อวิคตะ แปลว่า ยังไม่ปราศจากไป
อวิคตปัจจัย หมายความว่า ปัจจัยธรรมยังมีอยู่ ยังไม่ปราศจากไป ยังไม่ดับไป และปัจจยุปบันธรรมซึ่ง
เป็นผู้รับอุปการะก็ยังคงมีอยู่ ยังไม่ปราศจากไปเช่นเดียวกับปัจจัยธรรม (เหมือนกับอัตถิปัจจัย)

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
น้ำในมหาสมุทร ย่อมเป็นที่อาศัยแก่ฝูงปลาและเต่า เป็นต้น ให้ได้รับความสนุกสบายร่าเริงและ
เจริญเติบโตขึ้นได้นั้น

น้ำในมหาสมุทรต้องมีอยู่ จึงจะอุปการะอุดหนุนแก่ฝูงปลาและเต่าทั้งหลายได้

ฝูงปลาและเต่าทั้งหลายนั้นก็ต้องมีอยู่เช่นเดียวกัน จึงจะรับอุปการะจากน้ำในมหาสมุทรนั้นได้

ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่มีแล้ว ก็ไม่สามารถจะอุดหนุนหรือรับอุดหนุนกันได้


:b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46: :b46:

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับปัจจัยที่ ๑๙-๒๔
อาศัยพระพุทธญาณที่ทรงเห็นแจ้งแล้วอย่างลึกซึ้งกว้างขวางในความผันแปรของชีวิตตามเหตุตามปัจจัย
มิได้มีอำนาจใดมาดลบันดาล พระพุทธเจ้าได้ทรงนำความรู้แจ้งในปัจจัยอันวิจิตรหลากหลายนั้นมาแจกแจง
โดยอนันตนัย เพื่อให้ผู้ศึกษาได้ประจักษ์ชัดว่า

ไม่มีธรรมใดเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปได้เองโดยลำพังตน
ทุกอย่างเกิด - ดับตามเหตุตามปัจจัย
และมิได้เกิด - ดับด้วยปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งเพียงปัจจัยเดียว
แต่ด้วยหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน
ฉะนั้น จึงไม่มีธรรมใดมีอัตตาตัวตนที่คงที่ถาวร
สรรพสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่งล้วนแต่เปลี่ยนผันแปร

ประกอบก็ผันแปร ไม่ประกอบก็ผันแปร
มีก็ผันแปร ไม่มีก็ผันแปร
ปราศจากไปก็ผันแปร ยังไม่ปราศจากไปก็ผันแปร ฯลฯ


สัจธรรมที่มาจากพระพุทธญาณเช่นนี้ ไม่มีในศาสนาลัทธิความเชื่อใดๆ
มีแต่ในพระศาสนาของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น

รูปภาพ

กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ ยากนัก การได้เกิดเป็นมนุษย์
กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ ยากนัก การมีชีวิตของเหล่าสัตว์
กิจฺฉํ สทฺธมฺมสวนํ ยากนัก การได้ฟังพระสัทธรรม
กิจฺโฉ พุทฺธานมุปปาโท ยากนัก การอุบัติของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
(ธัมมบท คาถาที่ ๑๘๒)


เราได้สิ่งที่ได้ยากเหล่านี้แล้ว คือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ ได้มีชีวิต ได้มีโอกาสฟังพระสัทธรรม
โดยเฉพาะได้มีโอกสศึกษาคัมภีร์มหาปัฏฐาน ซึ่งเป็นคำสอนอันลึกซึ้งกว้างขวางที่สุดของพระพุทธองค์
จึงไม่ควรทำให้สิ่งที่ได้ยากยิ่งเหล่านี้สูญไปเสียไปสิ้นไป ฟังธรรมแล้วศึกษาธรรมแล้ว ฟังน้อมนำมาปฏิบัติ
เพื่อลดละกิเลสถึงความดับทุกข์ตามลำดับ ให้สมค่าแห่งพุทธปัญญาคุณ พุทธบริสุทธิคุณ พุทธกรุณาคุณ
ที่ทรงเสียสละทุกอย่างแม้กระทั่งเลือดเนื้อชีวิต สั่งสมบารมีตลอดสี่อสงเขยแสนกัปป์ จนได้ตรัสรู้ใน
วันเพ็ญวิสาขะ และทรงประกาศธรรมตลอด ๔๕ ปีที่เหลือแห่งพระชนม์ชีพ จนถึงขณะสุดท้ายแห่ง
ลมหายใจเพื่อช่วยให้ทุกชีวิตได้รู้หนทางอันประเสริฐแห่งความพ้นทุกข์ ดังพระพุทธดำรัสที่ตรัสแก่
พระอานนท์เมื่อคราวทรงปลงอายุสังขารก่อนปรินิพพาน ๓ เดือนว่า

ปริปกฺโก วโย มยหํ ปริตตํ มม ชีวิตํ
ปกาย โว คมิสฺสามิ กตํ เม สรณมตฺตโน
อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกูขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ
โย อิมสมึ ธมฺาวินเย อปฺปมตฺโต วิหสฺสติ
ปหาย ชาติสฺสารํ ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ
(ทีฆนิกาย มหาวัคค์ มหาปรินิพพานสูตร สยามรัฐ ที่.๓๐/๑๐๘/๑๔๒)

วัยของเราหง่อมแล้ว ชีวิตเราเหลือน้อย
เรากำลังจะละเธอไป ที่พึ่งเราได้ทำแล้วแก่ตน
เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีศีลงดงามเถิด ภิกษุทั้งหลาย
(อีกทั้ง)จะเป็นผู้มีความดำริตั้งมั่นดี จงตามรักษาจิตของตน
ผู้ใดเป็นผู้ไม่ประมาท จักดำรงอยู่ในธรรมวินัยนี้
ละความเวียนว่ายแห่งการเกิดแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์

:b8: :b8: :b8:


:b50: :b50: :b50:
:b42: จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

:b44: กระทู้ที่๑
viewtopic.php?f=66&t=41814

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป


:b42: บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

:b42: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐานโดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)


:b42: เชิญคลิ๊กดูภาพแสดงภาพอุปมาทั้ง 24 ปัจจัย
http://beibay.wordpress.com/

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 15 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร