วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 20:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2012, 05:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 ก.พ. 2012, 15:49
โพสต์: 20

ชื่อเล่น: ทะเล
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังใหม่เรื่องพระอภิธรรมครับ ขอนอบน้อมครับ อยากเรียนถามผู้รู้ว่า เมื่อจิตกับเจตสิก ต่างเกิดดับพร้อมกัน ไปด้วยกันตลอด ทำไมจิตมี 121 แต่เจตสิกมีแค่ 52 ครับ ทำไมถึงไม่เท่ากันครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2012, 05:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




12_1_~1.JPG
12_1_~1.JPG [ 9.02 KiB | เปิดดู 8226 ครั้ง ]
52[1].PNG
52[1].PNG [ 54.29 KiB | เปิดดู 8225 ครั้ง ]
สุรวุฒิ เขียน:
ยังใหม่เรื่องพระอภิธรรมครับ ขอนอบน้อมครับ อยากเรียนถามผู้รู้ว่า เมื่อจิตกับเจตสิก ต่างเกิดดับพร้อมกัน ไปด้วยกันตลอด ทำไมจิตมี 121 แต่เจตสิกมีแค่ 52 ครับ ทำไมถึงไม่เท่ากันครับ

ตามธรรมดาของจิตนั้นมี ๑ เดียว แต่แยกประเภทนั้นจึงได้ ๑๒๑ ครับ
เช่นความโลภ แบ่งออกได้ ๘ ประเภท
ความโกรธ แบ่งออกได้ ๒ ประเภท
ความหลง แบ่งออกได้ ๒ ประเภท
ประเภทของอกุศลจิตจึงแบ่งได้ ๑๒ ประเภท หรือเรียกว่าอกุศลจิต ๑๒ เป็นต้น

ส่วนเจตสิก ๕๒ นั้นมีด้วยกัน ๕๒ ประเภทแต่ประเภท
หรือแต่ละดวงทำหน้าแตกต่างกัน โดยไม่มีการทำหน้าซ้ำซ้อนกัน ตามหน้าที่ของตนๆ
เจตสิกที่เป็นฝ่ายกุศลก็จะปรุงแต่งจิตที่เป็นฝ่ายกุศลจิต ส่วนเจตสิกที่เป็นฝ่ายอกุศล ก็จะปรุงแต่งจิต
ที่เป็นฝ่ายอกุศลจิตเช่นกัน ดังนั้นจิตที่เป็อกุศลจิตดับ เจตสิกที่เป็นอกุศลที่เกิดขึ้นกับอกุศลจิตก็ดับด้วย
อกุศลจิต และอกุศลเจตสิกจึงเกิดพร้อมกันและก็ดับพร้อมกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สุรวุฒิ เขียน:
ยังใหม่เรื่องพระอภิธรรมครับ ขอนอบน้อมครับ อยากเรียนถามผู้รู้ว่า เมื่อจิตกับเจตสิก ต่างเกิดดับพร้อมกัน ไปด้วยกันตลอด ทำไมจิตมี 121 แต่เจตสิกมีแค่ 52 ครับ ทำไมถึงไม่เท่ากันครับ


สวัสดีครับคุณสุรวุฒิ
จิตเป็น เป็นนามธรรม เป็นธาตุรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์
เมื่อจิตเกิดขึ้นเพื่อรู้อารมณ์ทางทวารใด ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ไม่ใช่มีแค่จิตเท่านั้นที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ แต่ยังมีสภาพธรรมซึ่งเป็นนามธรรมอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิต ประกอบกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต ซึ่งก็คือเจตสิกธรรม ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นนามธรรมที่อิงอาศัยกันเกิดขึ้นในสมัยนั้น

จิตเกิดขึ้นทีละดวง รู้อารมณ์หนึ่งแล้วก็ดับไป จิตขณะต่อไปก็เกิดขึ้นอีก แล้วก็ดับ เกิดดับสืบต่อรวดเร็ว

ทำไมบางท่านกล่าวว่าจิตมี 121 ดวง เพราะท่านแบ่งจิตเป็นแต่ละประเภท ๆ
ทำไมบางท่านกล่าวว่าเจตสิกมี 52 เพราะท่านแยกออกมา เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และสังขารขันธ์(ซึ่งสังขารขันธ์นี่เองแบ่งแยกย่อยออกไปอีกมี ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปัญญา สติ ... เป็นต้น ) ซึ่งอาจารย์บางท่านก็กำหนดว่าเจตสิกมี 52

เจริญในธรรม


แก้ไขล่าสุดโดย ปฤษฎี เมื่อ 27 เม.ย. 2012, 23:03, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 เม.ย. 2012, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ยกตัวอย่างครับ กามาวจรกุศลจิตดวงที่ 1

ธรรมเป็นกุศล เป็นไฉน

กามาวจรกุศลจิต สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณ(๑. เกิดร่วมกับโสมนัสเวทนา ๒. ประกอบด้วยปัญญา)

มีรูปเป็นอารมณ์ หรือ
มีเสียงเป็นอารมณ์
มีกลิ่นเป็นอารมณ์
มีรสเป็นอารมณ์
มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์
มีธรรมเป็นอารมณ์
หรือปรารภอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นในสมัยใด

ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต วิตก วิจาร
ปีติ สุข เอกัคคตา สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ มนินทรีย์ โสมนัส
สินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ อโลภ อโทสะ
อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ (สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ) กายปัสสัทธิ จิตตปัสสัทธิ
กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา กายปาคุญญตา
จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา ปัคคาหะ อวิกเขปะ
มีในสมัยนั้น หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น.

ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.

เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโต
สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า
เวทนาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
การจำ กิริยาที่จำ ความจำ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า สัญญาขันธ์ มีในสมัยนั้น.

สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร ปีติ เอกัคคตา สันธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
สัมมาสมาธิ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ อนภิชฌา อัพยาปาทะ สัมมาทิฏฐิ หิริ โอตตัปปะ กายปัสสัทธิ
จิตตปัสสัทธิ กายลหุตา จิตตลหุตา กายมุทุตา จิตตมุทุตา กายกัมมัญญตา จิตตกัมมัญญตา
กายปาคุญญตา จิตตปาคุญญตา กายุชุกตา จิตตุชุกตา สติ สัมปชัญญะ สมถะ วิปัสสนา
ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด มีอยู่ในสมัยนั้น เว้นเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ นี้ชื่อว่า สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น.

วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน?
จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์
มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า วิญญาณขันธ์ มีในสมัยนั้น.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ขันธ์ ๔ มีในสมัยนั้น.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


ที่ไม่เท่ากันเพราะคนเรามีพื้นฐาน มีความสั่งสมของจิตแตกต่างกัน
เช่น นาย A กับ นาย B มีเพื่อน(C)อีกคนหนึ่งซึ่ง A ชอบพอแต่ B รังเกลียด
พอเวลาที่สองคนเจอนาย C จิตที่ทำหน้าที่เห็นรู้สึก จำพวกอเหตุกจิตของ
ทั้งสองคนก็จะทำงานแตกต่างกัน ฝ่าย A จะเกิดทวิปัญจวิญญาณเป็นกุศล
ส่วนฝ่าย B เกิดทวิปัญจวิญญาณเป็นอกุศล คือเห็นแล้วชอบ เห็นแล้วไม่ชอบ
กลุ่มทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ รวมอยู่ในหมู่ จิต ๑๒๑ ดวง

ถึงจะจำแนกไว้ ๑๒๑ ดวงแต่ก็ไม่ได้เกิดพร้อมกันทั้งหมด เช่น
โสตาปัตติมรรคจิต โสตาปัตติผลจิตนี่ก็ไม่เกิดแน่นอนในปุถุชน
ยังมีมหัคตจิต ในรูปาวจรกุศลจิต อรูปาวจรกุศลจิต นี้ก็ไม่ได้เกิดง่ายๆ
จึงมีจิตเกิดไม่เท่ากัน ในกลุ่ม ๑๒๑ ดวง จะอาศัยเกิดบ่อยๆ จริงๆ
ก็ได้แ่ก่ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ เว้นไป ๑ คือโสหสิตุปาทจิต(กิริยา)
ที่ยิ้มของพระอรหันต์ รวมๆ สรุป มีจิตที่อาศัยเกิดบ่อยๆ เพียงเท่านี้

จาก ๑๒๑ เหลือจริงๆ แค่ อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ เว้นไป ๑
ตามเบื้องต้นที่กล่าว อ่อ ยังมีกามาวจรโสภณจิต ได้แก่ มหากุศลจิต ๔
ในการทำทาน รักษาศีล ภาวนา รวมวิบากและกิริยาไปด้วย รวม ๒๔

อกุลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ กามาวจรโสภณจิต ๒๔ รวม ๕๓ จาก ๑๒๑
ถึงกระนั้น ยังไม่กล่าวลงรายละเอียดเกี่ยวกับ จุติปฏิสนธิจิต ฟังกัน
คราวๆ เพลินๆ ใน ๕๓ ดวงที่เหลือ ก็ยังไม่ครบเสมอไปอีก

แปลว่าจิต ที่ทำหน้้าที่เป็นพื้นฐานปกติมีไม่ถึง ๑๒๑ ดวงตามที่ผู้รู้
ท่านได้จำแนกเอาไว้ จิต หรือวิญญาณขันธ์ ทั้งหมด ๘๙/๑๒๑
ก็คือ วิญญาณขันธ์นั่นเอง

ที่นี้กล่าวถึงอารมณ์ของจิต ที่เกิดกับจิตดับพร้อมกับจิต ที่เรียกว่า
เจตสิก ก็ได้แก่อารมณ์ของจิตนั่นเอง ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
และสังขารขันธ์ ในเวทนาและสัญญา นับเจตสิก ๒ ดวง
ในสังขารขันธ์ นับเจตสิกหรืออารมณ์ของจิต ๕๐ ดวง

เวลาจับคู่เข้าประกอบผสมกับ จิตที่เป็นมูลฐาน ถ้าเป็นกุศล(กามาวจรโสภณจิต)
เจตสิก ข้างฝ่ายที่เป็นกุศลก็เกิด ในกรณีที่นาย A เห็นนาย C จิตที่เป็นพื้นฐาน
เป็นมูลจิตเกิดขึ้นก่อน เจตสิก อารมณ์ของจิตก็เกิดขึ้นตามมา เป็นเจตสิกฝ่าย
กุศลเช่นเดียวกับจิตที่เป็นกุศล จะไม่เกิดข้ามฝักฝ่ายกันเด็ดขาด

ส่วนนาย B ก็จะเกิด อเหตุกจิต จิตที่เห็นได้ยินปกติๆ เช่นเดียวกับนาย A
แต่พอลงสู่ มโนทวารวิถี เกิดความรู้สึกนึกคิด จำได้หมายรู้ เกิดผัสสะ
กระทบขึ้นมา จะเกิดเป็นกุศลหรืออกุศลนั้นจะแตกต่างกันไปตามวาระ
ตามวิบากแห่งกรรมนั้นๆ ที่สั่งสมมา อารมณ์ของจิต หรือเจตสิก ก็ใช้
แตกต่างกัน ไม่เกิดขึ้นทั้งหมด ๕๐ ดวงทั้งหมด ส่วน เวทนา ๑ สัญญา ๑
เกิดพร้อมกันเป็น เจตสิกทั่วๆ ไปเป็นอารมณ์ของจิตทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้น
เป็นปกติ ส่วนอารมณ์ของจิต เจตสิกอีก ๕๐ ดวง ก็ดูว่า มูลจิต พื้นฐาน
ของจิตที่อาศัยเกิด จะเกิดขึ้นเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นกุศลจิต เจตสิก
ก็พลอยเกิดเป็นเจตสิกฝ่ายกุศลไปด้วย ถ้าเป็นอกุศลจิต เจตสิกก็พลอย
เกิดเป็นเจตสิกฝ่ายอกุศลไปด้วย ดังนี้ ฯลฯ

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2012, 12:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดีครับ พระคุณเจ้า ไม่ได้เข้ามาหลายวันสบายดีมั้ยครับ
ขออนุญาตถามท่านพุทธฎีครับ

อ้างคำพูด:
ที่นี้กล่าวถึงอารมณ์ของจิต ที่เกิดกับจิตดับพร้อมกับจิต ที่เรียกว่า
เจตสิก ก็ได้แก่อารมณ์ของจิตนั่นเอง ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์
และสังขารขันธ์ ในเวทนาและสัญญา นับเจตสิก ๒ ดวง
ในสังขารขันธ์ นับเจตสิกหรืออารมณ์ของจิต ๕๐ ดวง


ตามที่ผมได้ศึกษามา
เจตสิกธรรม เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต มีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
ที่ว่าเจตสิกธรรมเป็นอารมณ์ของจิต เป็นในลักษณะใดครับ
เป็นในลักษณะที่เป็นธรรมารมณ์ที่จิตรู้ทางมโนทวารรึเปล่าครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ส.ค. 2010, 18:54
โพสต์: 615

สิ่งที่ชื่นชอบ: พระไตรปิฏก อรรถกถา
ชื่อเล่น: พุทธฏีกา
อายุ: 0
ที่อยู่: ดอยสัพพัญญู

 ข้อมูลส่วนตัว www


FLAME เขียน:
ตามที่ผมได้ศึกษามา
เจตสิกธรรม เป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิต มีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
ที่ว่าเจตสิกธรรมเป็นอารมณ์ของจิต เป็นในลักษณะใดครับ
เป็นในลักษณะที่เป็นธรรมารมณ์ที่จิตรู้ทางมโนทวารรึเปล่าครับ

เจริญพรครับคุณโยม FLAME พุทธฏีกาสบายดีครับ
คุณโยมก็สบายดีนะครับ ขออนุโมทนากับการศึกษา
พระสัทธรรมด้วยนะครับ ^^

เจตสิกเป็นอารมณ์ของจิตด้วยอำนาจ ของอารมณ์

ปัจจัย 24 (ลักษณะหรืออาการแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย ที่สิ่งหนึ่งหรือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง - condition; mode of conditionality or relation)

อารัมมณปัจจัย (ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์ - object condition)

พุทธฏีกาไปก๊อบจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรมนะครับ
ทีนี้ที่จะพอทำให้สังเกตุได้ ว่าเจตสิกเป็นอารมณ์ของจิต เป็นโดยลักษณะใด
เห็นจะพอเทียบเคียงอธิบายได้ ก็ต้องยก ปัญจทวารวิถีขึ้นมาก่อน

โดยมี อเหตุกจิต เป็นพระเอก แล้วมี สัพพสาธารณเจตสิก เป็นนางเอก
เช่น อาศัยตัวอย่างเดิม นาย A,ฺB ที่มองเห็นนาย C แล้วเกิดอารมณ์
ต่างกัน นี่ก็พอจะบอกได้ว่า การเห็น จิตที่ทำหน้าที่เห็นนั่นเองเป็นเหตุ
ทำให้เกิดปัจจัย หรืออารมณ์ เกิดขึ้น เป็นผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา..ฯลฯ

ในอเหตุกจิต A เห็น
อุเปกขาสหคตํ กุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ = จิตที่อาศัยจักขุวัตถุเกิด เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของกุศลกรรม เห็นรูปารมณ์ที่ดี

ในอเหตุกจิต B เห็น
อุเปกขาสหคตํ อกุศลวิปากํ จกฺขุวิญฺญาณํ = จิตที่อาศัยจักขุวัตถุเกิด เกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ เป็นผลของอกุศลกรรม เห็นรูปารมณ์ที่ไม่ดี

หลังจากเห็นหนึ่งขณะ จิตที่เห็นก็เกิดเจตสิกธรรม หรือธรรมที่สัมปยุต
เกิดร่วมกันกับจิตนั้นๆ โดยทั่วไปก็ได้แก่ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
เอกัคคตา ชีวิติน มนสิการ ทั้ง ๗ นี้ ก็เกิดพร้อมกับจิตทางปัญจทวาร
หรือที่เราเรียกกันว่า ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ที่รับรู้สภาพอารมณ์ในปัจจุบัน

จบตรงนี้ เป็น ตา + รูป = จักขุวิญญาณ เป็นสักว่าเห็นเฉยๆ
ยังไม่ลงสู่มโนทวารวิถี แต่ก็พอฟ้องได้แล้วว่า เจตสิกธรรมกลุ่ม
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่จิตที่เป็นอเหตุกจิต
แน่นอน โดยเฉพาะใน ทวิปัญจวิญญาณตามรูปครับ ^^

รูปภาพ

พอลงมโนทวารวิถีแล้ว เบื้องต้น ก็เป็นมโนธาตุเป็นจิตที่เป็นวิบาก
เราเรียกกันว่า สัมปฏิจฉนะจิต และเป็นจิตที่ทำหน้าที่เป็นกิริยาด้วย
นั่นคือ อุเบกขาสหคตัง ปัญจทวาราวัชชนะจิตตัง ในอเหตุกจิตนั่นเอง

ถึงตรงนี้ก็มี เจตสิกเพิ่มขึ้นจาก ๗ ดวงเป็น ๑๐ ดวง ๓ ดวงที่เพิ่มขึ้นมา
ก็ยังเป็นแต่เพียงการรับอารมณ์เท่านั้น คือ วิตก ๑ วิจาร ๑ อธิโมกข์ ๑
อารมณ์ของจิตตอนนี้เลยปัญจทวารมาแล้ว เริ่มยก รูปที่เห็นขึ้นสู่อารมณ์
ประครองรูปที่เห็นนั้นต่อไป และปักใจเข้าไปในรูปารมณ์นั้นๆ เช่นของ
นาย A และ B ที่เห็น C พร้อมจะเป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ ตามการสั่งสม
ของจิต วิจิตรของจิต ฯลฯ

พอหลังจากจิตทำหน้าที่รับอารมณ์เรียบร้อยแล้วดับไป ก็เป็นหน้าที่ของ
มโนทวารวิธีเต็มๆ เบื้องต้น อารมณ์มาแล้ว ธรรมารมณ์มีแล้ว แต่ยังไม่ลง
สู่มโนธาตุ (สัมปฏิจฉนะจิต) ก็ไม่มีการรับรู้อารมณ์อะไรทั้งสิ้น

พอธรรมารมณ์มีแล้ว มโนธาตุมีแล้ว และลงสู่มโนธาตุแล้ว มีการรับรู้
อารมณ์ส่งไปตามโคจรวิถีแล้ว ก็เกิดมโนวิญญาณธาตุ เป็นทั้งกิริยา
ที่เราเรียกกันว่า อุเบกขาสหคตัง มโนทวาราวัชชนะจิตตัง ทำหน้าที่
พิจารณาอารมณ์ที่ ๖ คือธรรมารมณ์แล้วนั่นเอง ซึ่งต่างจากปัญจทวาร
ที่ยังไม่ยกอารมณ์ี่ที่ ๖ ทางใจ ขึ้นสู่มโนทวาร

เจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นใน อเหตุกจิตเป็นวิปาก เราเรียกกันว่า สันตีรณะจิต
ก็เำกิดขึ้นพิจารณาไต่สวนอารมณ์ พอใจไม่พอใจต่อไปครับเจริญพร

.....................................................
39777.กฎกติกา มารยาท และบทลงโทษ ในการใช้บอร์ด

42529.สีลัพพตปรามาส - สีลัพพตุปาทาน (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
44772.e-Book สัมมาทิฏฐิ ตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 1 (ลานธรรมเสวนา)
พระไตรปิฎกมาแล้ว อรรถกถาอยู่ตรงไหน ตอนที่ 2 (ลานธรรมเสวนา)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2012, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณท่านพุทธฎีกาครับ ผมสุขภาพเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเป็นมาตั้งแต่เด็กแล้วครับ
อ่านที่ท่านพุทธฎีกาพิมพ์แล้วก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ครับอาจเป็นเพราะผมยังศึกษามาน้อยเอง
จะพยายามศึกษาต่อไปขอบพระคุณครับ

:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2013, 14:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:

ขอบคุณในความเมตตาของท่านพุทธฏีกาเจ้าค่ะ...แต่ก็ต้องอ่านอยู่หลายรอบถึงจะเชื่อมโยงเข้าหาความรู้ที่ได้ศึกษามาบ้าง..พระอภิธรรมยากจริงๆ ...แต่ก็ชอบศึกษาโดยเฉพาะการฟังชอบฟังมากๆ..
เนื่องจากเวลาที่จะอ่านไม่ค่อยจะมี..

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 มิ.ย. 2013, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




vclub-2012-11-22-1353549232-1141672017569725015.jpg
vclub-2012-11-22-1353549232-1141672017569725015.jpg [ 148.45 KiB | เปิดดู 6682 ครั้ง ]
สุรวุฒิ เขียน:
ยังใหม่เรื่องพระอภิธรรมครับ ขอนอบน้อมครับ อยากเรียนถามผู้รู้ว่า เมื่อจิตกับเจตสิก ต่างเกิดดับพร้อมกัน ไปด้วยกันตลอด ทำไมจิตมี 121 แต่เจตสิกมีแค่ 52 ครับ ทำไมถึงไม่เท่ากันครับ

ลองกดดูครับ
v
viewtopic.php?f=66&t=41837

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 22 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร