วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:21  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 07:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




normal_phrabud-002.jpg
normal_phrabud-002.jpg [ 23.83 KiB | เปิดดู 18843 ครั้ง ]
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

:b42: อานาปานสติ ๑๖ ขั้น

จากหนังสือวิปัสสนากรรมฐาน โดย ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ (พระสาสนโสภณ) วัดโสมนัส ราชวรวิหาร สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา

ในบทนี้จะได้กล่าวถึงบทกรรมฐานที่สำคัญบทหนึ่ง คือ อานาปานสติ ๑๖ ขั้น เพื่อที่จะให้ท่านที่สนใจใน
การบำเพ็ญภาวนา ได้เข้าใจวิธีปฏิบัติและทราบหลักที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติกรรมฐานโดยทั่วไปไม่ค่อยจะได้ยินได้ฟังกันมากนัก แต่ก็เป็นพระสูตร
สำคัญสูตรหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อานาปนสติสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย

อานาปานสติภาวนา หรือ อานาปานสติสมาธิ ที่เราได้ฟังกันโดยทั่วไป เป็นอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นแรก
ซึ่งอานาปนสติทั้ง ๔ ขั้นนี้ เราจะพบในพระสูตรต่างๆ หลายแห่งเช่น
- อานาปานสติ ในอนุสสติ ๑๐
- อานาปานสติ ในมหาสติปัฏฐานสูตร

พระสูตรดังกล่าวมาล้วนแต่กล่าวถึงอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นเท่านั้น แต่อานาปานสติภาวนาใน
อานาปานสตินั้นสมบูรณ์ที่สุด เพราะแสดงหลักฐานทั้งในด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ที่สุด
เกี่ยวกับอานาปานสติเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นๆ จนถึงขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา

อานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนั้นคือ
๑. เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกยาว
๒. เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น
๓. กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า-ออก
๔. ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
๕. กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก
๖. กำหนดรู้สุข หายใจเข้า-ออก
๗. กำหนดรู้สังขาร หายใจเข้า-ออก
๘. ทำจิตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
๙. กำหนดรู้จิต หายใจเข้า-ออก
๑๐. ทำจิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-ออก
๑๑. ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-ออก
๑๒. ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-ออก
๑๓. ตามเห็นอนิจจัง - ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-ออก
๑๔. ตามเห็นวิราคะ - ความจางคลาย (คลายติด) หายใจเข้า-ออก
๑๕. ตามเห็นนิโรธ - ความดับโดยไม่มีเหลือ (ดับสนิท) หายใจเข้า-ออก
๑๖. ตามเป็นปฏินิสสัคคะ - ความสละคืน (ปล่อยวาง) หายใจเข้า-ออก

นี่คืออานาปานสติ ๑๖ ขั้น ตามอานาปานสติสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย
ต่อไปนี้จะได้อธิบายแต่ละขั้นตามลำดับ เพื่อให้ท่านผู้สนใจได้เข้าใจหลักการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

ในอานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนี้ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔ ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็น
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๒ ตั้งแต่ขั้นที่ ๕ ถึงขั้นที่ ๘ ว่าด้วยการกำหนดเวทนา เป็น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๓ ตั้งแต่ขั้นที่ ๙ ถึงขั้นที่ ๑๒ ว่าด้วยการกำหนดจิต เป็น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๔ ตั้งแต่ขั้นที่ ๑๓ ถึงขั้นที่ ๑๖ ว่าด้วยการกำหนดธรรมที่ปรากฏในจิต เป็น
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน ๔ ก็ปรากฏอยู่ในอานาปานสติสูตรนี้เอง ในกายาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึง ๔ นั้น
เรามักปฏิบัติอานาปานสติกันโดยทั่วไป แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบชัดว่าตนกำลังปฏิบัติอยู่
ในขั้นใดของขั้นทั้ง ๔ นี้

อธิบาย

ขั้นที่ ๑ เมื่อหายใจเข้า - ออกยาว ก็รู้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ขั้นที่ ๑ เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ ข้อนี้หมายความว่าในการกำหนดลมหายใจของมนุษย์
โดยทั่วไปนั้น ถ้าหายใจปกติแล้ว มนุษย์เราจะหายใจเข้า-ออกยาวเพราะฉะนั้น การกำหนด
ขั้นแรก จึงเป็นการกำหนดตามปกติของมนุษย์เรา เมื่อเรานั่งสมาธิ ลมหายใจเข้า-ออกยาว
เป็นปกติของจิต เพราะฉะนั้น การกำหนดนี้จึงเป็นการกำหนดขั้นแรก เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว
เราก็กำหนดรู้ ถ้าผู้ใดกำหนดได้ในขั้นที่หายใจเข้า-ออกยาว ซึ่งเป็นการหายใจตามปกติของมนุษย์เรา
นี้กำหนดได้โดยมิพลั้งเผลอ ทั้งหายใจเข้า-ออก แสดงว่าผู้นั้นได้สำเร็จในขั้นที่่ ๑ คือ
การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก

:b48: ขั้นที่ ๒ เมื่อลมหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่า เรากำลังหายใจเข้า-ออกสั้น ลมหายใจเข้า-ออกสั้น
เป็นลมหายใจที่ผิดปกติ เช่น เมื่อโกรธจัด เศร้าใจ เสียใจ ตกใจ ลมหายใจจะเข้า-ออกสั้น
ถ้าเมื่อใดลมหายใจเข้า-ออกสั้น เราก็รู้ว่าลมหายใจเข้า-ออกสั้น คือ สามารถติดตามลม
แม้ในขณะที่ตกใจ เสียใจ กลัว เป็นต้น ก็สามารถที่จะกำหนดได้ แม้จะสั้นก็กำหนดได้ การกำหนด
ได้อย่างนี้เรียกว่า สำเร็จในขั้นที่ ๒ คือ เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็กำหนดรู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น

:b48: ขั้นที่ ๓ ตั้งใจกำหนดว่า เราจะรู้กายทั้งปวง หายใจเข้า-ออก บาลีใช้คำว่า สพฺพกายปฏิสํเวที
แปลว่า รู้เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง คำว่า กายทั้งปวงในที่นี้ คือ ลมหายใจนั่นเอง
พระพุทธเจ้าตรัสเรียกลมหายใจว่า " กาย " ทั้งนี้ก็เพราะว่า ตราบใดที่มนุษย์เรายังมีลมหายใจเข้า-ออกอยู่
หรือสัตว์ทั้งหลายยังมีลมหายใจเข้า-ออกอยู่ ก็แสดงว่า ยังมีกายปกติอยู่ ถ้าเมื่อใดลมหายใจขาดแล้ว
เมื่อนั้นชีวิตสังขารก็ขาดไปด้วย เพราะฉะนั้น กายก็คือลมหายใจ

ลมหายใจจัดเป็นกาย แต่เป็นกายภายใน ดังที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐานสูตรว่า
" กาเยน กายานุปสฺสี วิหรติ มีปกติตามรู้กายในกายอยู่ "
การกำหนด กายในกาย แม้กำหนดลมหายใจก็ถือว่าเป็นการกำหนดกาย

คำว่า " รู้กายทั้งปวง " ในที่นี้ หมายความว่า " รู้ลมหายใจที่ผ่านจุดทั้ง ๓ ในร่้างกายเรานี้ " คือ
ผ่านมาถึงจมูกเราก็รู้ มาถึงท่ามกลางอกเราก็รู้ มาถึงที่ท้องเราก็รู้ รู้ลมทุกกระบวนการที่ผ่านมา
ในร่างกายของเรา การรู้ลมทุกส่วนอย่างละเอียดอย่างนี้ทุกระยะ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้
ตลอดเวลาอยู่อย่างนี้ เรียกว่า สำเร็จในขั้นที่ ๓ คือ ขั้นกำหนดรู้กายทั้งปวง ได้แก่ การกำหนด
ลมหายใจได้ทุกส่วนนั่นเอง

:b48: ขั้นที่ ๔ การทำกายสังขารให้สงบระงับ ขั้นนี้พระพุทธเจ้าไม่ตรัสเรียก ลมหายใจว่า
" กายทั้งปวง " แต่ตรัสเรียกลมหายใจว่า " กายสังขาร "
คำว่า " สังขาร " คือสภาพที่ปรุงแต่ง เพราะฉะนั้น คำว่า กายสังขาร จึงหมายถึง
สภาพที่ปรุงแต่งกาย

ปกติว่า ถ้ายังมีลมหายใจ ร่างกายนี้ ก็เป็นไปได้ กายสังขารก็คือ ลมหายใจนี้เอง เป็นสิ่งที่ปรุง
แต่งให้เรามีชีวิตอยู่ แต่ลมหายใจนี้ ถ้ายังหยาบ ยังไม่ละเอียด กายนี้ก็หยาบด้วย พระพุทธองค์
จึงตรัสให้ผู้บำเพ็ญถึงขั้นนี้ทำกายให้สงบระงับ คือ ทำลมหายใจทั้งและออกให้ละเอียด
ให้สงบระงับเกิดเป็นสมาธิขึ้น สมาธิในขั้นสงบระงับนี้ จะเป็นขั้นอุปจารสมาธิก็ได้ เป็นขั้น
อัปปนาสมาธิก็ได้ ในขั้นที่ ๔ นี้ เป็นขั้นบังคับกายแล้ว คือบังคับลมหายใจให้สงบแล้ว
ใครก็ตามเจริญสมาธิถึงขั้นนี้ ก็แสดงว่า ผู้นั้นสำเร็จในขั้นกายานุปัสสนา หรือถึงขั้นฌานก็ได้
อันฌานตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔ หรือแม้แต่ฌาน ๘ ก็อยู่ในขั้นทำกายสังขารให้สงบระงับทั้งสิ้น
ผู้เจริญอานาปานสติขั้นสูงสุดของกาย ก็คือทำกายสังขารให้สงบระงับนั่นเอง

ผู้ใดสามารถสำเร็จถึงขั้นนี้ ปีติ ความสุขและความละเอียดของจิตจะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง
( :b49: ขั้นที่ ๔ การทำกายสังขารให้สงบระงับยังไม่จบค่ะ :b49: )
ขออนุโมทนาในบุญกุศลทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




20380.gif
20380.gif [ 8.07 KiB | เปิดดู 18832 ครั้ง ]
มาปูเสื่อนอนรออ่านต่อ........

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว




DSC06519_.jpg
DSC06519_.jpg [ 84.13 KiB | เปิดดู 18831 ครั้ง ]
ประวัติย่อ พระสาสนโสภณ

นามเดิม พิจิตร ถาวรสุวรรณ ฉายา ฐิตวณฺโณ

เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ณ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

บรรพชา พ.ศ. ๒๔๙๖ เมื่ออายุได้ ๑๗ ปี ณ วัดโสมนัสวิหาร เขตป้อมปราบฯ กรุงเทพฯ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺมเถร ป.ธ. ๙) วัดโสมนัสวิหารเป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ วัดโสมนัสวิหาร โดยมีสมเด็จพระวันรัตเป็นพระอุปัชฌาย์เช่นกัน

วิทยฐานะ เปรียญธรรม ๙ ประโยค ศน.บ. (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) ประกาศนียบัตรชั้นสูง (พระธรรมทูตรุ่นแรกของคณะสงฆ์) จากสำหนักอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ M.A. ทางวรรณคดีสันสกฤต และ Dip. In Hindi จากมหาวิทยาลัย B.H.U. ในอินเดีย

ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร เจ้าคณะภาค ๑๖-๑๗-๑๘ (ธ) ในภาคใต้ทั้งหมด และกรรมการคณะธรรมยุต

งานพิเศษ ๑. ได้เขียนหนังสือพระพุทธศาสนาออกมาแล้ว ๗๗ เรื่องแต่ที่มอบให้มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยจัดพิมพ์ออกมาเผยแพร่ขณะนี้มี ๒๕ เรื่อง

๒. เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานประจำวัดโสมนัสวิหารและมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เปิดสอนกรรมฐานแก่ภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ โดยมีประสบการณ์ในการสอนกรรมฐานมากว่า ๒๕ ปี

๓. เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามสถาบันและสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด

๔. มีประสบการณ์จากการเดินทางไปดูงานพระศาสนาในต่างประเทศมาแล้ว ประมาณ ๒๐ ประเทศ

๕. เป็นอาจารย์บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาใน มมร. ทั้งในชั้นปริญญาตรีและปริญญาโท

อุดมคติ “วันใดถ้าไม่ได้รับความรู้ใส่ตน วันนั้นถือว่าขาดทุน”

“ชีวิตที่ไม่บำเพ็ญประโยชน์ เป็นชีวิตที่ไร้ค่า”

“เมื่อทำอะไรก็ทำจริง และทำให้สำเร็จเป็นอย่างๆ”

:b49: :b49: :b49:

พระฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ ในปัจจุบันนี้ท่านคือ พระสาสนโสภณ
ในขณะที่รจนาหนังสือเล่มนี้ ท่านได้สำเร็จการศึกษาในขณะนั้นคือ
พิจิตร ฐิตวณฺโณ ป.ธ. ๙, ศน.บ., (เกียรตินิยม) M.A.
วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร

:b48: :b48: :b48: :b48:

5555 ส่วนตัวหนูเอง grin ไปทำวัตถุภายนอกมาค่ะ
หนังสือวิปัสสนาภาวนา เล่มนี้มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ คำนำลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๕
คนที่มีหนังสือเล่มนี้เมื่อ ๒๐ ปีที่แล้ว จะมีใครนำมาทำกระทู้หรือไม่ ก็ค้นหาอยู่ ก็ยังไม่เจอค่ะ
จึงภูมิใจนำเสนอ เนื้อหาสาระในหนังสือเล่มนี้

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 14:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ใดสามารถสำเร็จถึงขั้นนี้ ปีติ ความสุขและความละเอียดของจิตจะเกิดขึ้นอย่างยิ่ง พลังจิตจะเกิด
ขึ้นมาก อำนาจจิตจะนำไปใช้ได้มาก เพราะจิตเข้าสู่ขั้นมีพลังมาก ความสงบระงับในขั้นนี้ถึงกับ
ลมหายใจละเอียดอย่างยิ่ง ถ้าถึงขั้นฌานที่ ๔ แล้ว ท่านกล่าวว่า ลมหายใจดับหมด

บางคน เมื่อลมหายใจละเอียดเข้า ไม่อาจจะกำหนดได้ว่าขณะนี้ เราหายใจเข้าหรือหายใจออก
นี้แสดงว่า สติยังไม่เพียงพอ จึงไม่อาจจะได้สมาธิที่แนบแน่นได้ จะต้องกำหนดให้ได้ทุกขณะจิต
ทั้งเข้าทั้งออก แม้ลมละเอียดก็รู้ได้ว่า ตนหายใจเข้าหรือหายใจออก แม้ลมจะดับแล้ว แต่ก็ยังมีสติรู้อยู่

บางท่านตกใจมาก เมื่อกำหนดว่า ขณะนี้ตัวเองไม่มีลมหายใจเสียแล้ว เพราะไม่อาจจะกำหนดสัมผัส
ส่วนใดส่วนหนึ่ง ที่ลมผ่านมาได้ก็ตกใจ บางคนถึงกับลุกขึ้น เลิกทำสมาธิ บางคนตกใจคิดว่าตัวเอง
จะตายเสียแล้ว เพราะลมหายใจละเอียดมาก ถ้าใครทำสมาธิถึงขั้นนี้ แสดงว่าสมาธินั้นดีมากแล้ว
แต่ถ้าสติยังไม่เพียงพอ ก็ไม่อาจจะทำจิตให้แนบแน่นได้ เพราะเหตุนี้อาจารย์กรรมฐานจึงสอนว่า
ในขณะที่ลมหายใจสงบระงับไปนั้น ก็อย่าตกใจ ขอให้เตือนตัวเองว่า คนที่ตายเป็นต้น เท่านั้น จึงไม่มี
ลมหายใจ แต่ในขณะนี้เรายังมีลมหายใจ เรายังไม่ตาย เป็นเพียงแต่ลมหายใจละเอียดเท่านั้น
เราจึงรู้สึกเหมือนกับว่าไม่มีลมหายใจ แท้ที่จริงแล้ว คนที่ไม่หายใจนั้นได้แก่คน ๗ จำพวก
ที่ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค คือ
๑. เด็กที่อยู่ในท้องแม่
๒. คนดำน้ำ
๓. อสัญญีสัตว์ (อสัญญีพรหม)
๔. ผู้เข้าฌาน ๔
๕. คนตาย
๖. พวกที่อยู่ในรูปภพและอรูปภพ
๗. ท่านผู้เข้านิโรธสมาบัติ

ในที่นี้ พระอรรถกถาจารย์สอนผู้ตกใจว่า " อย่ากลัวเลย คนที่ไม่มีลมหายใจนั้น ไม่ใช่คนอย่างเรา
คนอย่างเรานี้ยังไม่ได้ตาย แต่จิตมันสงบระงับอย่างยิ่งเท่านั้น อย่าได้ตกใจ "
ใครที่ทำลมให้ละเอียดหรือดับลมได้หมด ขั้นนี้เป็นขั้นสูงของสมาธิในพระพุทธศาสนาแล้ว
เป็นขั้นที่ ๔ ของการเจริญอานาปานสติ

จงพิจารณาดูเถิดว่า อานาปานสติ ๑๖ ขั้นนี้ ขนาดถึงขั้นฌานแล้ว ยังเป็นเพียงขั้นที่ ๔ ของ
การเจริญเท่านั้น และขั้นสูงกว่านี้ ก็ยังมีอีก คำสอนในพระพุทธศาสนาไม่ใช่มีอยู่เพียงขั้นฌาน
เท่านั้น พระพุทธศาสนานั้นมีคำสอนที่สูงกว่าคำสอนของศาสนาอื่นใดในโลก เพราะสอนถึง
ขั้นวิปัสสนา


:b48: ขั้นที่ ๕ กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก คือผู้ที่ได้ฌานนั้น จะต้องได้ปีติ และได้ความสุข
คนได้ฌาน ย่อมได้ปีติและความสุขอย่างยิ่ง ขั้นที่ ๕ นี้ พระพุทธเจ้าสอนให้กำหนดรู้ปีติที่เกิดขึ้น
ให้มีสติรับรู้ทุกขณะหายใจเข้าและหายใจออก ตั้งแต่ปีติเป็นต้นไปนี้ เป็นลักษณะของเวทนา
เมื่อผ่านขึ้นที่ ๕ ไปแล้ว ก็ยกจิตขึ้นสู่ขั้นที่ ๖ ต่อไป

:b48: ขั้นที่ ๖ กำหนดรู้่ความสุข หายใจเข้า-ออก ความสุขที่เกิดจากฌานนี้ ท่านกล่าวว่า
ความสุขชนิดนี้ ไม่ใช่ความสุขทางกาย แต่เป็นนิรามิสสุข เป็นความสุขที่เกิดจากความสงบ
ท่านใช้คำว่า " อติมธุรํ " คือ ความสุขที่เลิศยิ่ง ไม่มีความสุขใดในโลกที่จะเทียบความสุขนี้ได้
เมื่อความสุขจิตอย่างยิ่งเกิดขึ้น ก็รู้ว่าเป็นตัวความสุข หายใจเข้า-หายใจออก มีสติไม่พลั้งเผลอ
แล้วผู้ปฏิบัตินั้นก็ขยับจิตสูงขึ้นไปตามลำดับถึงขั้นที่ ๗

:b48: ขั้นที่ ๗ กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า-หายใจออก คำว่า " สังขาร " คือ
การปรุงแต่ง ในที่นี้ สังขารหมายถึงปีติ และ ความสุขนั่นเอง อันเป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิตให้มีความ
เบิกบาน ให้มีความสุข ผู้เจริญอานาปานสติในขั้นที่ ๗ นี้ จะกำหนดรู้ทั้งปีติ ทั้งสุข อันเป็นตัวจิต
สังขารซึ่งปรุงแต่งจิตหายใจเข้าและหายใจออก รู้อยู่ทุกขณะ แล้วขยับจิตของตนให้สูงขึ้นไปอีก
ถึงขั้นที่ ๘

:b48: ขั้นที่ ๘ ทำจิตสังขารให้สงบระงับ หายใจเข้า-หายใจออก จิตสังขารคืออะไร?

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ค. 2012, 19:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ขั้นที่ ๘ ทำจิตสังขารให้สงบระงับ หายใจเข้า-หายใจออก จิตสังขารคืออะไร?
จิตสังขาร ก็คือปีติและสุขนั่นเอง ทำไม ของดีแท้ๆ จึงต้องทำให้ืสงบระงับเสีย ให้ดับเสีย? ก็เพราะเหตุ
ที่ว่า ทั้งปีติทั้งสุขนั้นยังใกล้ต่อราคะ ยังใกล้ต่อสิ่งที่จะให้เกิดตัณหา ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติสูงขึ้นไป จะสงบ
ระงับปีติและสุขเสีย เมื่อสามารถจะระงับปีติและสุขได้ หายใจเข้า-หายใจออก ก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เมื่อ
รู้สึกว่าจิตคล่องแคล่วแล้ว ก็ขยับจิตของตนขึ้นไปสู่ขันที่ ๙

:b48: ขั้นที่ ๙ กำหนดรู้จิตของตน หายใจเข้า-หายใจออก คือ เมื่อจิตโกรธ ก็รู้ว่าโกรธ จิตโลภ
ก็รู้ว่าโลภ จิตหลงก็รู้ว่าหลง จิตมั่นคงก็รู้ว่ามั่นคง จิตได้ฌานก็รู้ว่าได้ฌาน จิตเสื่อมจากฌานก็รู้ว่า
เสื่อมจากฌาน ในที่นี้กำหนดรู้จิตทุกขณะที่หายใจเข้า-ออก

เพราะฉะนั้น ผู้ที่บำเพ็ญขั้นสูงขึ้นมา ถ้าความโกรธเกิดขึ้นจะปะทะความโกรธได้ด้วยกำลังของสติ
ในขั้นนี้เอง เวลาความอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น ก็กำหนดรู้ว่าตัวเองกำลังอยากได้ หายใจเข้า-ออก
แล้วเทาความอยากได้นั้นเสีย เพราะสติมีกำลังมากขึ้น หรือเมื่อความโกรธเกิดขึ้นเพราะความไม่พอใจ
ต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ก็รู้และยับยั้งความโกรธนั้นเสียได้ หรือแม้จะยับยั้งไม่ได้ ก็รู้ว่านี้คือจิตโกรธ นี้คือจิตโลภ
นี้คือจิตหลง หรือจิตได้สมาธิก็รู้ว่า นี้คือจิตได้ฌาน นี่คือจิตตั้งมั่น เป็นการกำหนดรู้่จิต ๑๖ อย่าง ๘ คู่
ถ้าหากผู้ใด กำหนดรู้ขบวนจิตในขณะหายใจเข้า-ออก ผู้นั้นถือว่าสำเร็จในขั้นที่ ๙

:b48: ขั้นที่ ๑๐ ทำจิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-หายใจออก ขั้นนี้เป็นการนำพลังจิตมาใช้
คือจิตที่เข้าถึงขั้นได้ฌาน ได้อำนาจฌานแล้ว ผู้ที่ถึงขั้นที่ ๑๐-๑๑-๑๒ เป็นการนำพลังจิตในระดับ
ต่างๆ มาใช้ กล่าวคือในขั้นที่ ๑๐ ทำจิตให้เกิดความปราโมทย์ หายใจเข้า-หายใจออก คือ ผู้ที่เจริญ
อานาปานสติถึงขั้นสามารถทำจิตของตนให้เบิกบาน ปราโมทย์ หรือจะทำอย่างไรก็ได้ เพราะมี
อำนาจจิตเสียแล้ว ก็บังคับจิตของตนให้ปราโมทย์ให้เบิกบานได้ หายใจเข้า-หายใจออก
เกิดความสุขอันเกิดจากความปราโมทย์ เมื่อชำนาญแล้ว ก็ผ่านจากขั้นนี้ เข้าสู่ขั้นที่ ๑๑

:b48: ขั้นที่ ๑๑ ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-หายใจออก เป็นการสร้างความสามารถของ
จิตที่ได้ฌานขึ้นมาอีก อันเป็นการบังคับจิตให้ตั้งมั่นได้ทันทีทันใด จิตตั้งมั่นแล้ว
หายใจเข้า-หายใจออกก็รู้

:b48: ขั้นที่ ๑๒ ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-หายใจออก ทำไมเมื่อจิตมีพลังดีแล้ว จึงต้อง
ให้มันคลายเสีย? ก็เพราะว่าถ้ายังยึคมั่นถือมั่นแม้ในขั้นฌาน ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นานาประการ
เพราะฉะนั้น จะต้องทำให้คลายจากความยึคมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงลง โดยเฉพาะในขั้นฌานอันเป็น
สิ่งที่ตนติดอยู่เสีย เมื่อนั้นจิตคลาย หายใจเข้า-หายใจออก ก็รู้ เป็นความสำเร็จในขั้นที่ ๑๒

:b48: ขั้นที่ ๑๓ ตามเห็นอนิจจัง - ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-หายใจออก จากขั้นที่ ๑๓
เป็นต้นไป ขึ้นสู่วิปัสสนาล้วนๆ เป็นตัวปัญญาแท้ๆ เป็นการทำลายกิเลสโดยตรง
(ขั้นที่ ๑๓ ยังไม่จบค่ะ)

:b49: ขออนุโมทนาในบุญกุศลทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 มิ.ย. 2012, 23:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ยังไม่จบค่ะ
และจะกลับมาพิมพ์ต่อให้จบเร็วๆ นี้ค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 มิ.ย. 2012, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าจะกล่าวให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้น ตามยุคตามสมัย
การปฏิบัติอาณาปานสติทั้งหลายเหล่านั้น ก็เพียงเพื่อบุคคลได้ใช้ลมหายใจ เพื่อดึงให้เกิดสติ คือ ความระลึกได้ ความตามหวนนึกถึง หรือ ความจำ สามารถนำเอาข้อมูลในการประพฤติปฏิบัติหรือข้อมูลของอุปกรณ์เครื่องมือ ที่เป็นความจำอยู่ในสมอง ออกมาใช้ในกิจที่ประสบอยู่ได้ทันท่วงที


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 04:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณความคิดเห็นค่ะ


:b48: ขั้นที่ ๑๓ ตามเห็นอนิจจัง - ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-หายใจออก จากขั้นที่ ๑๓
เป็นต้นไป ขึ้นสู่วิปัสสนาล้วนๆ เป็นตัวปัญญาแท้ๆ เป็นการทำลายกิเลสโดยตรง ในขั้นที่ ๑๓ นี้
พระพุทธองค์ทรงสอนให้กำหนดโดยใชัคำว่า "อนุปสฺสี-ตามกำหนด" คือ ตามกำหนดอนิจจัง
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า-หายใจออก คือให้เห็นว่า จิตนี้ก็ไม่เที่ยง สุขนี้ก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง
ฌานที่เราได้นี้ก็ไม่เที่ยง เมื่อสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวตน
การตามกำหนดความไม่เที่ยงในที่นี้ ก็คือการเห็นพระไตรลักษณ์นั่นเอง เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์ใน
ขณะหายใจเข้า-หายใจออก อยู่อย่างนั้น ก็ชื่้อว่าเจริญวิปัสสนาโดยตรง ผู้ใดแม้จะนั่งเฉยๆ แต่กำหนด
ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-หายใจออก อยู่นั้น ก็ชื่อว่าเจริญอานาปานสติในขั้นที่ ๑๓

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

ความคิดเห็นของผู้ทำกระทู้
" ลกฺขณํ นามํ " อ่านว่า ลักขณัง นามัง หมายถึง ไตรลักษณ์เทียม คือ การคิดถึงพิจารณาเอาเอง
โดยไม่มีการกำหนดรูปนามขันธ์๕ ที่อยู่เฉพาะหน้าเป็นอารมณ์

ดังนั้นในการอธิบายของข้อที่ ๑๓ นี้ ผู้ที่ขึ้นสู่วิปัสสนาได้นั้น จะต้องมีการกำหนดดูรูปนาม ได้แล้ว คือนามรูปปริจเฉทญาณและ ปัจจยปริคคหญาณ คือการกำหนดรู้ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม
และเห็นการเกิดดับของรูปนามได้มาก่อนแล้ว จึงจะขึ้นขั้นที่เรียกว่า วิปัสสนาได้คือ ขั้นสมมสนญาณ
ซึ่งเป็นญาณที่เข้าถึงไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นการวิปัสสนาจริงๆ ส่วนญาณที่ ๑ และ ๒ นั้น
ยังไม่เรียกว่าวิปัสสนา ญาณที่ ๑ และ ๒ นั้นเป็นเพียงการกำหนดรู้รูปนามและเห็นการเกิด

ดังนั้น ถ้าไม่รู้จักอะไรคือรูป อะไรคือนาม ก็จะไม่สามารถเข้าถึงพระไตรลักษณ์ได้เลยค่ะ
และการกำหนดรู้ว่า อะไรคือรูป อะไรคือนาม ได้แล้วนั้น นามรูปจะบอกอาการไตรลักษณ์ให้แก่ปัญญา
คือ พิจารณารูปนามจนกระทั่งไตรลักษณ์ปรากฏเอง ไม่ใช่การพิจารณาไตรลักษณ์ที่อยู่ในรูปนาม ซึ่ง
เป็นเรื่องที่ผิด เป็นแค่ไตรลักษณ์เทียม ไม่ใช่การวิปัสสนาที่แท้จริง
วิปัสสนาปรากฏไม่ได้ 2 ตอนคือ ตอนคิด กับตอนหลับ
ลักขณัง นามัง จึงเรียกว่าไตรลักษณ์เทียม อธิบายง่ายคือ การไปคิดนึกไตรลักษณ์ที่อยู่ในรูปนาม
เช่น เห็นศพคนตายแล้วก็บอกว่า สังขารไม่เที่ยงหนอ คือการไปบอกไตรลักษณ์ให้กับรูปนาม ซึ่งไม่ใช่การปฏิบัติ เพราะในการปฏิบัตินั้น รูปนามจะบอกความเป็นไตรลักษณ์แก่ปัญญาเองค่ะ


ญาณที่ ๑ และ ๒ เป็น ญาตปริญญา คือ การกำหนดรู้ ด้วยการรู้
ญาณที่ ๓ นั้นเป็น ตีรณปริญญา คือ การกำหนดรู้ด้วยการพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญ

การปฏิบัติจนสันตติขาด ฆนบัญญัติแตก นั่นแหล่ะ อนิจจานุปัสสนาจะปรากฏ ผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดรู้รูปนามได้มาก่อน เห็นการเกิดดับของรูปนามมาก่อน แล้วจึงจะเห็นอนิจจลักษณะเข้าถึงอนิจจานุปัสสนาได้ค่ะ

:b45: :b45: :b45: :b45: :b45:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: :b41: การเห็นพระไตรลักษณ์
พระไตรลักษณ์เป็นคำสอนขั้นสูงในพระพุทธศาสนาของเรา ก่อนที่จะย้ำถึงเรื่องนี้ขอตั้งเป็นปัญหาเพื่อจะได้อธิบายตามแนวปัญหาเหล่านี้เสียก่อนว่า
๑. การปฏิบัติให้เห็นพระไตรลักษณ์ หรือการเห็นพระไตรลักษณ์นั้นได้ประโยชน์อะไรบ้าง?
๒. พระไตรลักษณ์คืออะไร?
๓. ทำไมคนเราจึงไม่เห็นพระไตรลักษณ์? มีอะไรเป็นตัวปิดบังพระไตรลักษณ์เอาไว้?
๔. การจะเห็นพระไตรลักษณ์ได้นั้นจะต้องทำอย่างไร?
๕. เพราะเหตุใด สังขารทั้งปวงจึงควรปล่อยวางเสีย?

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2012, 06:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ เพิ่มเติม จากกระทู้เก่า

สมถะ ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑
มหาวิภังค์ ภาค ๑

ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
[๑๗๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าสู่อุปัฏฐานศาลาประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์
ที่จัดไว้ถวาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้สมาธิในอานาปานสตินี้แล
อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับพลัน ดุจละอองและฝุ่นที่ฟุ้ง ขึ้นใน
เดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาล ย่อมยังละอองและฝุ่นนั้นๆ ให้อันตรธาน
สงบไปได้ โดยฉับพลัน ฉะนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุอบรมอย่างไร ทำให้มากอย่างไร จึงเป็น
คุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธาน
สงบไปโดยฉับพลัน

อรรถกถา


ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน
ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง
เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย
แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า
องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น
ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน
บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ
พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ
และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า
ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง
เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม
ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น
ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย
กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก
และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.
--------------------------------------------------------------------


21062.เมื่อครั้งพุทธกาล เจโตวิมุติ(ผู้ได้ฌาน) น้อยกว่าปัญญาวิมุตติ
viewtopic.php?f=2&t=21062
------------------------------------------------------------

สำหรับแนวทาง วิปัสสนายานิก หรือ วิปัสสนาขณิกสมาธิ (วิปัสสนาล้วน) มีแนวทางดังนี้

การเจริญสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถ ๔ จากพระไตรปิฏก อรรถกถา
viewtopic.php?f=2&t=29201

ก็ในบรรดากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ๑๔ หมวดนั้น สำหรับหมวดแรกซึ่งเป็นการกำหนดลมหายใจเข้าและออกนั้น เป็นกรรมฐานที่พิเศษกว่ากรรมฐานอื่น แม้ท่านกล่าวว่า เจริญได้ง่าย เหมาะแก่คนปัญญาน้อยก็ตาม ก็พึงทราบว่า ที่นับได้ว่าเจริญได้ง่ายก็เกี่ยวกับสักแต่มุ่งจะทำจิตให้สงบไปอย่างเดียวเท่านั้น กล่าวคือจิตที่ฟุ้งซ่านวุ่นวาย กระสับกระส่าย จะสงบได้รวดเร็ว เมื่อเพียงแต่กำหนดลมหายใจไปสักระยะหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าจะต้องการให้จิตที่สงบไปพอประมาณนั้น สงบยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ตามลำดับ จนบรรลุฌาน โดยเฉพาะได้ฌานแล้ว ใช้ฌานนั้นเป็นบาทแห่งการเจริญวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้แสนยากอย่างยิ่ง ผู้มีปัญญาสามารถจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกระทำได้ เหตุผลในเรื่องนี้ ได้กล่าวไว้แล้วในหนังสือเรื่องหยั่งลงสู่พระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการเจริญสติปัฏฐานเพื่อความพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำจิตให้สงบ น่าจะคำนึงถึงหมวดอื่น ๆ ก่อนหมวดกำหนดลมหายใจนี้

-------------------------------------------------------------

อานาปานสติเป็นได้ทั้ง สมถะ - วิปัสสนา ขึ้นอยู่กับการวางใจของผู้ปฏิบัติ

จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๗ สมุจจยสังคหวิภาค
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p7/027.htm
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน (บางส่วน)

บรรพที่ ๑ อานาปานสติ นี้เจริญได้ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา กล่าวคือ

ถ้ากำหนดพิจารณาลมหายใจเข้า ลมหายใจออก โดยถือเอาบัญญัติ คือลม เป็นที่ตั้งแห่งการเพ่ง เพื่อให้ได้ฌาน ก็เป็นสมถภาวนา

แต่ถ้ากำหนดพิจารณาความร้อนเย็นของลมหายใจที่กระทบริมฝีปากบน หรือ ที่ปลายจมูก เพื่อให้เห็นรูปธรรม ตลอดจนไตรลักษณ์ ก็เป็นวิปัสสนาภาวนา

บรรพที่ ๒ อิริยาบถ ๔ บรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ และบรรพที่ ๕ ธาตุ ทั้ง ๔ รวม ๓ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญวิปัสสนาภาวนาแต่อย่างเดียว จะเพ่งให้เกิด ฌานจิตไม่ได้

บรรพที่ ๔ ปฏิกูลสัญญา และบรรพที่ ๖ ถึง ๑๔ อสุภะ รวม ๑๐ บรรพนี้ ใช้ในการเจริญสมถภาวนาแต่อย่างเดียวเท่านั้น

อนึ่งบรรพที่ ๓ สัมปชัญญะ ๗ นั้น มีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญเพียรภาวนา เดินไปข้างหน้า ถอยหลัง เหลียวซ้าย แลขวา ตลอดจนการเคลื่อนไหวทำการใด ๆ จะต้องทำด้วยความมีสัมปชัญญะ คือรู้ตัวอยู่ทุกขณะที่เคลื่อนไหวไม่ใช่ทำไปเรื่อย ๆ โดยไม่ได้พินิจพิเคราะห์

อีกนัยหนึ่ง สัมปชัญญะคือการรู้ตัวนั้น ต้องมีสติและชอบด้วยเหตุผล ไม่ใช่ ทำไปตามอารมณ์หรือทำไปตามใจชอบ แต่ต้องมีทั้งสติและปัญญาด้วย จึงจะเรียก ได้ว่า มีสติสัมปชัญญะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2012, 06:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y11754341/Y11754341.html#7
ขอยกความจาก วิปัสสนาทีปนีฎีกา มาไว้ให้ คุณ Ant-san อ่านโดยตรงนะครับ


โยคาวจรผู้ใดต้องเจริญอุปจารสมาธิ,อัปปนาสมาธิ ๒ อย่างนี้เป็นที่พึ่งที่อาศัยแล้ว บำเพ็ญความเพียรเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ โยคาวจรผู้นั้นชื่อว่า สมถยานิกะ คือเจริญสมถภาวนาก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาภาวนาภายหลัง โยคาวจรผู้ใด อันอุปจารสมาธิ,อัปปนาสมาธิ ๒ อย่างไม่เป็นที่พึ่งที่อาศัย คือ ไม่เป็นพื้นฐานแก่ความเพียร วิปัสสนาภาวนาล้วน ๆ ได้ ฉะนั้น โยคาวจรผู้นั้นชื่อว่า สุทธิวิปัสสนายานิกะ คือเจริญวิปัสสนาภาวนาล้วนโดยไม่อาศัยสมถภาวนา อาจมีการท้วงว่าวิปัสสนาไม่ต้องอาศัยสมาธิเลยหรือ ข้อนี้ขอยกตัวอย่างว่า ภิกษุ ก. ไม่ฉันอาหารกลางวัน แต่ว่าร่างกายก็อ้วนท้วนสมบูรณ์อยู่ เช่นนี้ก็หมายความว่าฉันอาหารกลางคืนนั่นเอง ข้อนี้ฉันใดอุปจารสมาธิอัปปนาสมาธิ ๒ อย่างนั้นไม่เป็นที่พึ่ง แต่ว่าวิปัสสนาภาวนาก็เป็นไปได้ โดยที่วิปัสสนาภาวนามีที่อาศัยหรือที่พึ่งคือ ขณิกสมาธิ ฉะนั้น วิปัสสนายานิกบุคคลจึงมีขนิกสมาธิเป็นที่พึ่งที่อาศัยในการเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ การอธิบายอย่างนี้เรียกว่า อัตถาปันนนัย คือข้อใดที่ไม่ได้บอกก็สามารถรู้ได้ด้วยอรรถาธิบาย

ดังที่วิสุทธิมัคคมหาฏีกากล่าวไว้ว่า

สมถยานิกสฺส หิ อุปจารปฺปนาเภทฺ สมาธึ อิตรสฺส ขณิกสมาธึ อุภเยสมฺปิ วิโมกฺขมุขตฺตยฺ วินา น กทาจิ ปิ โลกุตฺตราธิคโม สมฺภวติ เตนาห สมาธิ จ วิปสฺสเนน จ ภาวยมาโนติ

สมถยานิกบุคคล นั้น ปราศจากอุปจารสมาธิอัปจารสมาธิอัปปานาสมาธิก็ไม่สามารถไปถึงพระนิพพานได้ สำหรับ วิปัสสนายานิกบุคคล นั้น ปราศจากขณิกสมาธิก็ไม่สามารถไปถึงพระนิพพานได้ ทั้งสมถยานิกะและวิปัสสนายานิกะนั้น ปราศจากวิโมกข์ ๓ อย่างคือ อนิจจานุปัสสนา,ทุกขานุปัสสนา,อนัตตานุปัสสนา ก็ไม่สามารถไปถึงพระนิพพานได้ ฉะนั้นท่านวิสุทธิมัคคอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ว่า สมาธิ จ วิปสฺสเนน จ ภาวยมาโน แปลว่า สมาธิก็ดี วิปัสสนาก็ดี ควรเจริญให้ยิ่ง ๆ ขึ้น ดังนี้
ในที่นี้ ท่านอนุรุทธาจารย์ได้ยกจิตที่เกิดขึ้นแก่สุทธวิปัสสนายานิกโยคาวจรที่กำหนดรู้รูป,นามนั้น เรียกว่า จิตตวิสุทธิ ได้เหมือนกัน แต่ว่าเข้าในอุปจารสมาธินั้นโดยอนุโลม
อีกนัยหนึ่ง สมาธิมี ๒ ประเภท คือ

๑. สมถสมาธิ
๒. วิปัสสนาขณิกสมาธิ


สมถสมาธิ ได้แก่อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เพ่งอยู่แต่อารมณ์บัญญัติอย่างเดี่ยวโดยไม่ให้ย้ายอารมณ์ ถ้าย้ายไปก็เสียสมาธิ ส่วน วิปัสสนาขณิกสมาธิ นั้นมีอารมณ์เป็นปรมัตถ์รูป,นาม ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง อาการต่าง ๆ เช่นการเห็น การได้ยิน การเจ็บ การปวด การคิด การนึก เป็นต้น อารมณ์ใดปรากฏชัดเจน ก็ตั้งสติกำหนดอารมณ์นั้นจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง สมาธิชั่วขณะนี้แหละเรียกว่า ขณิกสมาธิ
หมายความว่า ขณิกสมาธินี้ใจสงบชั่วครั้งชั่วคราว แต่สมาธิกำลังแก่กล้าเข้าก็สามารถบรรลุถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิได้ คือถึงมรรค,ผล,นิพพานได้ อุปมาเหมือนกับเม็ดงาธรรมดาเม็ดงานี้มีขนาดเล็กมาก มีน้ำมันน้อยยังไม่พอใช้ แต่ว่าหลายเม็ดรวมกันแล้วก็ได้น้ำมันมาก ข้อนี้ฉันใด วิปัสสนาขณิกสมาธิสมาธิก็ฉันนั้น โยคีบุคคลมีจิตใจไปถึงที่ไหน ก็ตั้งสติกำหนดที่นั้น ได้ขณิกสมาธิเกิดขึ้นมาทันที ไม่เรียกว่าใจฟุ้งซ่าน บางคนเข้าใจว่าวิปัสสนานี้ต้องตั้งสติกำหนดเพ่งอารมณ์อยู่อย่างเดียว ใจก็จะสงบมีสมาธิดี เมื่อมีอารมณ์อื่นเช่น การเห็น การได้ยิน การเจ็บ การปวด การคิด การนึก เป็นต้น แทรกเข้ามาก็ไม่ยอมกำหนด เพราะเกรงว่าถ้ากำหนดตาม ใจจะฟุ้งซ่านเสียสมาธิ การเข้าใจอย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด เพราะสมาธินี้เป็นสมถสมาธิ แสดงว่าผู้นั้นมิได้เข้าใจในวิปัสสนาขณิกสมาธิเลย

ดังนั้น ท่านมหาธัมมปาลเถระชาวลังกาทวีป แสดงไว้ในวิสุทธิมัคคมหาฏีกาว่า

ขณิกจิตฺเตกคฺคตาติ ขณมตฺตฐิติโก สมาธิ โส หิ ปิ อารมฺมเณ นิรนฺตรํ เอกากาเรน ปวตฺตมาโน ปฏิปกฺเขน อนภิภูโต อปฺปิโต วิย จิตฺตํ นิจฺจลํ ฐเปติ.

วิปัสสนาจิตสงบตั้งอยู่ชั่วขณะชื่อว่า ขณิกสมาธิ หมายความว่า ไม่ใช่ใจสงบได้ด้วยอาศัยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิฝ่ายเดียว วิปัสสนาขณิกสมาธิก็ให้ใจสงบตั้งอยู่ได้เหมือนกัน ขณิกสมาธิมีกำลังมากเข้าเท่ากับอุปจารสมาธิแล้วการกำหนดอารมณ์อันหนึ่งกับอีกอันหนึ่งนั้น ระหว่างกลางอารมณ์ทั้งสองกิเลสนิวรณ์เข้าไม่ได้ เมื่อกำหนดติดต่อกันอยู่เรื่อยไป ขณะนั้นใจสงบก็ตั้งอยู่นาน ๆ ได้เหมือนกัน และเมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงอุทยัพพยญาณ ภังคญาณเป็นต้น วิปัสสนาขณิกสมาธิแก่กล้ายิ่งขึ้น มีกำลังมากคล้าย ๆ กับอัปปนาสมาธิ เพราะปราศจากปฏิปักษ์คือกิเลสนิวรณ์ ฉะนั้น ขณิกสมาธิคือการที่ใจสงบตั้งอยู่นาน ๆ ได้นี้ก็ เรียกว่า จิตตวิสุทธิ ดังนี้

จากคุณ : ชาวมหาวิหาร

---------------
วิสุทธิ ๗
http://abhidhamonline.org/visudhi.htm


๒. จิตตวิสุทธิ

หมายถึง จิตที่มีความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส จิตตวิสุทธิว่าโดยอรรถ ได้แก่ สมาธิวิสุทธิ จิตตวิสุทธิหรือสมาธิวิสุทธิ ต้องเป็นไปเพื่ออานิสงส์ที่เป็นปัจจัยแก่การพ้นทุกข์เท่านั้น สมาธินี้จึงชื่อว่าบริสุทธิ์ ถ้าทำสมาธิเพื่อจะได้มีความสุข ต้องการให้จิตสงบ ความเข้าใจเช่นนี้ สมาธินั้นก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะไม่ต้องการพ้นทุกข์
(ขุ. ปฏิ. ญาณกถา ๓ /๗๒)


หน้าที่ของสมาธิในสติปัฏฐานนั้น คือ การทำลายอภิชฌาและโทมนัส หรือทำลายความยินดียินร้ายที่อยู่ในจิตใจ ซึ่งศีลไม่สามารถทำลายความรู้สึกนึกคิดได้ ศีลเพียงแต่กันไม่ให้แสดงออกทางกาย ทางวาจาเท่านั้น นิวรณ์ธรรมเกิดขึ้นในระดับจิตใจขณะที่คิดนึกถึงเรื่องราวที่เป็นอดีตหรืออนาคต ถ้าขณะใดจิตตั้งมั่นในอารมณ์ปัจจุบันแล้ว นิวรณ์จะเกิดไม่ได้เลย

สมาธิมีอยู่ ๓ ขั้น คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นได้ทั่วไปในอารมณ์ทั้ง ๖ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ขณะย้ายอารมณ์ไปตามทวารทั้ง ๖ ด้วยเหตุใดก็ตาม ขณิกสมาธิจะติดตามไปด้วยเสมอ ขณิกสมาธิดังกล่าวนี้จึงเป็นปัจจัยหรือเป็นบาทฐานให้แก่วิปัสสนา เพราะการเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นไปตามเหตุผลนั้นเอง ที่เป็นเหตุให้เห็นถึงความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์และของจิตได้ถ้าหากไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์แล้ว ยากที่จะเข้าใจถึงสภาวะของความเกิด ความดับ ของจิตได้

(วิสุทธิ. อ. ภาค ๒ / ๒๙)

ความเกิดของจิตในอารมณ์หนึ่ง ๆ นั้น รวดเร็วมากจนไม่ทันเห็นความดับของจิตได้ จึงคิดว่าอารมณ์มีอยู่ ดังนั้น สมาธิที่แน่วแน่จึงไม่เป็นบาทแก่วิปัสสนา และไม่เป็นเหตุให้เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของจิตและอารมณ์ ความสามารถในการรู้ทุกข์ในจิตหรือในอารมณ์นั้น ไม่อาจรู้ได้ด้วยสมาธิ แต่จะรู้ได้ด้วยปัญญา จิตที่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของสติปัฏฐาน จึงเป็นบาทให้เห็นความเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ได้ ผู้บำเพ็ญเพียรจะโดยสมถะก็ดี หรือวิปัสสนาก็ดี สิ่งสำคัญอยู่ที่อารมณ์ที่ใช้ในการพิจารณา จึงต้องศึกษาเรื่องอารมณ์ว่าอารมณ์อย่างไร จึงจะเป็นปัจจัยแก่วิปัสสนา และอารมณ์อย่างไรเป็นปัจจัยแก่สมถะ

สมาธิที่เป็นจิตตวิสุทธิ จะต้องเป็นไปในอารมณ์ของสติปัฏฐาน เพราะทำลายกิเลส คือ อภิชฌาและโทมนัส ถ้าสมาธิไม่มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์แล้ว จะทำให้เกิดความสงบ มีความสุข มีความพอใจในความสงบหรือความสุขนั้น ความพอใจเป็นกิเลสอย่างหนึ่งอาศัยสมาธิเกิดขึ้น สมาธิเช่นนี้จึงไม่สามารถทำลายอารมณ์วิปลาสได้

สำหรับการเจริญวิปัสสนาของผู้ที่ได้ฌานแล้ว มีวิธีทำอย่างไร (อัฏฐสาลินี อ. ๑ / ๓๕๕) ที่เรามักได้ยินกันว่า ยกองค์ฌานขึ้นสู่วิปัสสนา นั้นหมายความว่า ในองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ผู้ที่ได้ฌานมักจะติดในสุข และเพลิดเพลินในสุข ความสุขนี้เกิดจากปิติเป็นเหตุ ฉะนั้น การยกองค์ฌานจึงอาศัยการเพ่งปิติซึ่งเป็นองค์ฌานและเป็นนามธรรมนั่นเอง ธรรมชาติของปิตินั้นจะเพ่งหรือไม่เพ่งก็มีการเกิดดับ แม้จิตที่เป็นสมาธิก็มีการเกิดดับ ปิติซึ่งอาศัยจิตที่ได้ฌานแล้ว ยิ่งเกิดดับรวดเร็วมาก ปิตินั่นแหละจะแสดงความเกิดดับให้ปรากฏแก่ผู้เพ่งพิจารณา เมื่อเห็นว่าปิติมีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว จิตก็จะดำเนินไปในอารมณ์ของวิปัสสนาด้วยอำนาจของการเพ่งลักษณะของปิติ (ไม่ใช่เพ่งอารมณ์บัญญัติ) วิปลาสก็จับในอารมณ์นั้นไม่ได้

ดังนั้น ถ้าฌานใดที่เพ่งลักษณะ หรือสมาธิใดที่พิจารณาลักษณะที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(ลักขณูปนิชฌาน) สมาธินั้นชื่อว่าเป็นบาทของวิปัสสนา และเรียกสมาธินั้นว่า จิตตวิสุทธิ ส่วนสมาธิใดที่เพ่งอารมณ์บัญญัติ (อารัมมณูปนิชฌาน) ไม่เพ่งลักษณะ ไม่จัดว่าเป็นจิตตวิสุทธิ

------------------------------------------------------------------

เห็นว่าหลักธรรมจาก วิปัสสนาทีปนีฎีกา และ หลักธรรม วิสุทธิ ๗ ที่ผู้ทรงพระไตรปิฏก บรรยายไว้ ช่างสอดคล้องและ ต่อเนื่องกัน เลยนำมา post ไว้ครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2012, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุ อนุโมทนาบุญค่ะ ที่มาโพสท์ให้ความเข้าใจเพิ่มเติมแก่ทุกท่านที่เข้ามาอ่าน
จึงขอก๊อป เรื่องขณิกสมาธิ จากเฟรสบุ๊ค วัดท่ามะโอ มาให้อ่านกันต่อค่ะ

:b8:

:b42: ขณิกสมาธิในวิปัสสนา

บางสำนักในเมืองไทยสอนว่าวิปัสสนาต้องประกอบด้วยขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ หมายถึงเป็นสมาธิระดับต้นๆ ที่คนทั่วไปทำกิจวัตรประจำวัน กินข้าว อาบน้ำ ขับรถ ฯลฯ ความเข้าใจเช่นนี้ส่งผลให้สำนักเหล่านั้นปฏิเสธสมาธิที่มีกำลังจนกระทั่งเกิดปีติ ความสุข ความสงบ ฯลฯ ทั้งนี้เพราะเข้าใจว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวว่าวิปัสสนาต้องประกอบด้วยขณิกสมาธิเท่านั้น ถ้าสมาธิมีกำลังจนถึงระดับอุปจารสมาธิ ก็จะเกิดปีติเป็นต้น ส่งผลให้ขัดแย้งกับข้อความในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

ตามความเห็นของสำนักนั้น ถ้าผู้ปฏิบัติเกิดปีติเป็นต้น ก็ถือว่าปฏิบัติผิด ต้องไปหาบน้ำ ผ่าฟืน ฯลฯ เพื่อคลายสมาธิลง เพราะถือว่าวิปัสสนาเป็นการพัฒนาปัญญา ไม่ใช่สมถภาวนาที่พัฒนาสมาธิ

ความเห็นของสำนักดังกล่าวสืบทอดมาจากพม่า กล่าวคือ ที่พม่าสมัยก่อนมีสำนักกรรมฐานที่เรียกว่า แนวสติปัฏฐาน ๔ แล้วอธิบายตามคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นหลัก ท่านผู้คิดค้นแนวนี้ชื่อว่า วิสุทธิมรรคสยาดอ (พระอาจารย์วิสุทธิมรรค) ชาวพม่าในสมัยนั้นถือว่าท่านเชี่ยวชาญวิสุทธิมรรคมาก จนได้รับขนาดนามเช่นนั้น

แต่ในปัจจุบันการปฏิบัติแนวสติปัฏฐาน ๔ ข้างต้นได้สาบสูญไปจากพม่าเป็นเวลานานแล้วหลังการมรณภาพของท่านเจ้าสำนัก เหตุผลที่สำคัญคือ การตีความขณิกสมาธิในวิปัสสนาดังกล่าวไม่ตรงตามคำอธิบายในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา (ฉบับบาลี) กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกาอธิบายว่า ขณิกสมาธิเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ปัจจุบันอยู่เสมอ จึงเปลี่ยนอารมณ์ได้ตลอดเวลา ดังนั้น จึงได้ชื่อว่า ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ หมายถึง สมาธิที่ดำรงอยู่ชั่วขณะตามอารมณ์ปัจจุบัุนนั้นๆ แต่กำลังของขณิกสมาธินั้นต้องเทียบเท่าอุปจารสมาธิในสมถภาวนา คือ ต้องหมดจดจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นได้ เพราะนิวรณ์ข่มปัญญาให้อ่อนกำลัง ดังพระบาลีว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ ปญฺจ นีวรเณ (นิวรณ์ ๕ ซึ่งทำใ้ห้ปัญญาอ่อนกำลัง) อย่างไรก็ตาม สมาธิในวิปัสสนาไม่ชื่อว่า อุปจารสมาธิ เพราะมีอารมณ์ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลานั้นเอง

สรุปความว่า สมาธิในวิปัสสนาเป็นขณิกสมาธิที่มีกำลังเทียบเท่าอุปจารสมาธิในสมถภาวนา จึงจะมีกำลังทำให้ข่มนิวรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้ สภาวะต่างๆ เช่น ความอิ่มใจหรือปีติปราโมทย์ ความสุขใจ ความสงบใจ ฯลฯ จึงต้องเกิดขึ้น ถ้าสภาวะเหล่านี้ไม่เกิดขึ้น ถือว่ายังไม่ประสบความก้าวหน้าในการปฏิบัติ เพราะเหตุผลเหล่านี้ คือ

๑. จิตที่ปราศจากนิวรณ์แล้วจึงบรรลุความเป็นจิตตวิสุทธิ คือ ความหมดจดของจิต ถ้าจิตยังมีนิวรณ์อยู่ ก็ยังเป็นจิตที่ขุ่นมัว ไม่อาจพัฒนาปัญญาให้รู้เห็นสภาวธรรมได้ เพราะปัญญาเป็นผลของสมาธิซึ่งเกิดจากสติเป็นหลัก

๒. โพชฌงค์ ๗ ที่ประกอบด้วยปีติสัมโพชฌงค์ จะเริ่มเกิดในขณะบรรลุวิปัสสนาญาณที่ ๓ และมีกำลังในวิปัสสนาญาณที่ ๔ เป็นต้นไป ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา ถ้าปีติสัมโพชฌงค์ยังไม่เกิดขึ้น ก็แสดงว่าผู้ปฏิบัติธรรมดำเนินมาผิดวิธีแล้ว

https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A ... 5358872763

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2012, 08:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ขั้นที่ ๑๓ ตามเห็นอนิจจัง - ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-หายใจออก จากขั้นที่ ๑๓
เป็นต้นไป ขึ้นสู่วิปัสสนาล้วนๆ เป็นตัวปัญญาแท้ๆ เป็นการทำลายกิเลสโดยตรง ในขั้นที่ ๑๓ นี้
พระพุทธองค์ทรงสอนให้กำหนดโดยใชัคำว่า "อนุปสฺสี-ตามกำหนด" คือ ตามกำหนดอนิจจัง
ความไม่เที่ยงหายใจเข้า-หายใจออก คือให้เห็นว่า จิตนี้ก็ไม่เที่ยง สุขนี้ก็ไม่เที่ยง เวทนาก็ไม่เที่ยง
ฌานที่เราได้นี้ก็ไม่เที่ยง เมื่อสิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ก็ไม่ใช่ตัวตน
การตามกำหนดความไม่เที่ยงในที่นี้ ก็คือการเห็นพระไตรลักษณ์นั่นเอง เมื่อเห็นพระไตรลักษณ์ใน
ขณะหายใจเข้า-หายใจออก อยู่อย่างนั้น ก็ชื่้อว่าเจริญวิปัสสนาโดยตรง ผู้ใดแม้จะนั่งเฉยๆ แต่กำหนด
ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-หายใจออก อยู่นั้น ก็ชื่อว่าเจริญอานาปานสติในขั้นที่ ๑๓

ในขณะที่จิตไม่ตั้งมั่น คือแม้จิตปกติ เมื่อได้พิจารณาถึงความไม่เที่ยง หายใจเข้า-หายใจออก
ก็สามารถจะสำเร็จในขั้นนี้ได้ บางคนอาจจะค้านว่า
" เพียงเจริญอนิจจตาเท่านั้น ก็เป็นเหตุเจริญไตรลักษณ์ด้วย "ข้อนี้ขอตอบว่า " อันอนิจจตา ความไม่เที่ยงนั้น มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นทุกข์ และความเป็นอนัตตาได้อย่างชัดเจน เพราะพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า....ยทนิจจํ สิ่งใดไม่เที่ยง ตํ ทุกฺขํ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ยํ ทุกฺขํ สิ่งใดเป็นทุกข์ ตํ อนตฺตา สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน..."
เพราะฉะนั้น ผู้ใดเห็นความไม่เที่ยง คือ อนิจจัง หายใจเข้า-หายใจออก ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระไตรลักษณ์ด้วย
ผู้ใดก็ตามแม้จะไม่ได้ฌานถ้าเจริญอยู่ในขั้นนี้ ก็ชื่อว่า เจริญวิปัสสนาหรือเจริญอานาปานสติในขั้นที่ ๑๓

:b48: ขั้นที่ ๑๔ ตามเห็นวิราคะ หายใจเข้า-หายใจออก คือ การเห็นวิราคะความจางคลาย
หายใจเข้า-หายใจออก ถามว่า จางคลายในเรื่องอะไร วิราคะในเรื่องอะไร ตอบว่า จางคลายโดย
ความไม่ติดไม่ยึคมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง เพราะสิ่งทั้งปวงนั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วก็คลาย
ความยึคติด คลายจิตออกจากความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นว่า เป็นเรา เป็นของๆ เรา เป็นตัวเป็นตน
คือให้เห็นสิ่งทั้งหลายว่า.... เนตํ มม สิ่งนั้นไม่ใช่ของเรา เนโสหมสฺมิ นั่นไม่ใช่เรา น เมโส อตฺตา
นั่นไม่ใช่ตัวตนของเราแล้วก็คลายความยึคมั่นถือมั่น เพราะเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาใน
สิ่งทั้งปวง ผู้ใดคลายความยึคมั่น คลายกำหนัดเป็นวิราคะ หายใจเข้า-หายใจออก ชื่อว่า สำเร็จใน
ขั้นที่ ๑๔

:b48: ขั้นที่ ๑๕ ตามเห็นนิโรธ ความดับโดยไม่เหลือ หายใจเข้า-หายใจออก ถามว่า ดับอะไร
ตอบว่า ดับความยึคมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ในสังขาร ในกาย ในเวทนา ในจิต ในทุกสิ่งทุกอย่าง
เพราะสิ่งทั้งปวงที่เข้าไปยึคมั่นถือมั่นนั้น ล้วนเป็นทุกข์ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
" สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย สิ่งทั้งปวง ไม่ควรเข้าไปยึคมั่นถือมั่น " เพราะมันไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ และไม่ใช่ของๆ เรา เมื่อผู้ใดตามพิจารณาเห็นความดับ หายใจเข้า-หายใจออก
อยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ ผู้นั้นชื่อว่า สำเร็จในขั้นที่ ๑๕

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2012, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b48: ขั้นที่ ๑๖ ตามเห็นปฏินิสสัคคะ ความสละคืน หายใจเข้า-หายใจออก
ถามว่า สละคืนอะไร ตอบว่า สละคืนความยึคมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง สละคืนมันเสียอย่าง
ร่างกายและจิตใจเรานี้ เป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมัน ร่างกายนี้ก็มาจาก ดิน น้ำ ไฟ ลม
เมื่อเป็นของดิน น้ำ ไฟ ลม ก็สละคืนให้เข้าสู่ธรรมชาติเดิม คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม อันไม่ใช่ของๆ เรา
ซึ่งเรายึคถือว่าเป็นของๆ เรา สละคืนความยึคมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวง ในเรา ในของๆ เรา ผู้ใด
กำหนดพิจารณาความสละคืน หายใจเข้า-หายใจออกอยู่เป็นนิตย์ จนเกิดความชำนาญแล้ว
สละคืน คือละกิเลสทุกชนิดได้หมด ผู้นั้นชื่อว่า สำเร็จอานาปานสติขั้นที่ ๑๖

ท่านทั้งหลาย คงจะเห็นได้ชัดแล้วว่า อานาปานสติ ๑๖ ขั้นที่พระบรมศาสนาตรัสไว้ใน
อานาปานสติสูตรนี้ มีีีีความสำคัญเพียงไร ผู้ที่เจริญาอานาปานสติ จึงมิใช่ว่าเป็นเพียงสมถกรรมฐาน
เท่านั้น แต่มีความกินตลอดไปถึงวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเจริญตลอดสายกันทีเดียว ผู้ใดต้องการ
จะพ้นทุกข์ ผู้นั้นจงเจริญอานาปานสติ ๑๖ ขั้นนี้เถิด

พระพุทธองค์ตรัสไว้ในอานาปานสติสูตรว่า "อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา จตฺตาโร
สติปฏฺฐาเน ปริปูเรนฺติ ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน
ทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์"

พระองค์ตรัสต่อไปอีกว่า "สติปัฏฐาน ๔ ที่บุคคลทำให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์"
และตรัสต่อไปว่า "โพชฌงค์ ๗ ที่บุคคลทำให้มาก ทำให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมทำวิชชาและ
วิมุตติให้บริบูรณ์"

หมายความว่า ใครก็ตาม ถ้าเจริญอานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนี้แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า เจริญสติปัฏฐาน ๔
ชื่อว่าเจริญโพชฌงค์ ๗ และชื่อว่าทำวิชชาและวิมุตติให้เกิดขึ้น

เพราะฉะนั้น ผู้ใดต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อบูชาพระพุทธเจ้า โดยหวังผลดังกล่าวมาแล้ว ก็จงเจริญ
อานาปานสติ ๑๖ ขั้นนี้ แม้ขั้นใดขั้นหนึ่ง ที่เราสามารถจะทำได้ ก็ย่อมได้รับแห่งการปฏิบัติของ
ตนในขั้นนั้นๆ อย่างแน่นอน

หรือผู้ใดหวังผลของอานาปานสติที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญไว้ว่า
"อานาปานสติสมาธินี้แล ที่บุคคลเจริญทำให้มากแล้ว (ย่อมได้อานิสงค์ ๕ อย่าง คือ)
๑. เป็นผู้สงบระงับยิ่งนัก
๒. เป็นผู้ประณีตละเอียดอย่างยิ่ง
๓. ไม่รดน้ำก็เย็น
๔. มีความสุขเป็นเครื่องอยู่
๕. สามารถทำบาปธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้อันตรธานสงบระงับไปได้ "

ผู้นั้นพึงเจริญอานาปานสติเถิด

ดังนั้น จึงขอให้ทุกท่านได้เจริญอานาปานสติเป็นประจำเถิด แล้วจะได้รับอานิสงค์ทั้ง ๕ ประการ
ตามสมควรแก่การปฏิบัติของตนอย่างแน่นอน

ด้วยเหตุผลดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นนี้ ท่านสาธุชนทั้งหลายคงพอจะเห็นได้ว่าอานานปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนี้
เป็นหลักปฏิบัติภาวนาในพระพุทธศาสนาที่มีคุณค่าสูงมาก เป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
อย่างสมบูรณ์ที่สุดทุกขั้นตอน ผู้ใดต้องการความสงบสุขในขั้นนั้นๆ จนถึงขั้นพ้นทุกข์ ก็อย่าได้
ละทิ้งการเจริญอานาปานสตินี้ ขอให้ทำอยู่เป็นนิตย์ ก็จะประสพความสุขและความสำเร็จตาม
ความปรารถนาของตนๆ และขอให้ทำเป็นประจำด้วยความไม่ประมาทเถิด

:b8: :b8: :b8:

http://www.dhammathai.org/bd/01.php

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แก้ไขล่าสุดโดย SOAMUSA เมื่อ 30 ธ.ค. 2012, 15:49, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 19 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร