วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 14:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2014, 07:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

วัตถุประสงค์ของการทำกระทู้นี้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในการเริ่มต้นเข้าสู่การวิปัสสนา ด้วยการเริ่มต้นในขั้นศีลได้อย่างถูกต้อง ขั้นศีลนั้นไม่ใช่ว่าศีลบริสุทธิ์แล้วค่อยไปปฏิบัติ สีลวิสุทธินั้นหมายเอาขณะปฏิบัติค่ะ ว่าเริ่มต้นได้อย่างถูกต้องตามลำดับ เพราะมีการฝึกมีการกระทำบ่อยๆ จนชำนาญ แล้วสามารถกระทำได้เองตามเหตุปัจจัยที่สั่งสมจากการฝึกไว้ค่ะ ไม่ใช่ศีลต้องบริสุทธิ์ทั้งชีวิต ถึงจะไปเริ่มต้นเข้างานวิปัสสนาได้ ถ้าศีลบริสุทธิ์จริงๆ ก็เป็นระดับพระโสดาบันบุคคลแล้วค่ะ จะยังไม่ไปเจริญวิปัสสนาต่อก็ได้ อธิษฐานท่องเที่ยวไปแบบนางวิสาขา ก็ได้อย่างสบายใจ

สีลวิสุทธินั้น เปรียบเหมือนประตูด่านแรก ถ้าเราสามารถเปิดประตูนี้ได้ มีกุญแจที่ไขประตูได้ถูกต้อง เราสามารถเปิดประตูด่านแรกได้ บางทีถ้าท่านได้กุญแจไขได้ถูกต้อง ท่านอาจจะผ่านประตูแรกไปได้แล้วท่านอาจจะวิ่งไปแบบพรวดๆๆๆๆ ทะลุไปเห็นบุพนิมิตในญาณใดญาณหนึ่งเป็นบุญใจว่า อย่างน้อยยังไม่ได้ญาณ แต่ได้เห็นเป็นประจักษ์มาแล้ว ให้ได้มีกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อไป เป็นการยืนยันว่า หากได้ปฏิบัติจริงๆ แบบถูกทาง ผลย่อมจะเกิดขึ้นแน่นอน แม้จะไม่สามารถบรรลุมรรคผลเบื้องต่ำ คือ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลได้ในชาตินี้ แต่ก็เป็นสหชาตกรรมปัจจัยที่จะส่งผลเป็นพลวนานักขณิกกัมมปัจจัยได้วันข้างหน้า ในอนาคตชาติ ชาติใดชาติหนึ่งแน่นอน และด้วยแรงอธิษฐานบารมีของท่านเป็นอุปนิสยปัจจัยต่อไปในทุกภพทุกชาติตราบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน

วิสุทธิ ๗

ขั้นที่ ๑ นั้นอยู่ในขั้นศีล คือ...สีลวิสุทธิ

ขั้นที่ ๒ นั้นอยู่ในขั้นสมาธิ คือ....จิตตวิสุทธิ

ขั้นที่ ๓ นั้นอยู่ในขั้นปัญญา คือ....

ทิฏฐิวิสุทธิ
กังขาวิตรณวิสุทธิ
มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิ

แล้วทำไมดิฉันถึงนำเอาเรื่องไตรลักษณ์คือขั้นปัญญาเห็น เป็นขั้นที่ ๓ มาพูด เกี่ยวโยงอะไรกับศีลขั้นที่ ๑ เพราะเหตุุุุุุว่า มีการนำเอาขั้นที่ ๓ มาปฏิบัติในขั้นที่ ๑ ซึ่งเรียกว่า ลกฺขณํ นาม (ลักขณังนามะ) หรือ ลกฺขณํ นามํ (ลักขณังนามัง) เป็นไตรลักษณ์เทียม พอมีโอกาสเกิดวิปัสสนาขึ้น ก็เป็นปัญญาเทียม ไม่เกิดผลอะไรขึ้นจริงในขั้นตอนวิปัสสนา เสียหายไปทั้งชาติ คือ ไปบอกว่ารูปนามนี้ไม่ใช่ตัวตนตั้งแต่เริ่มและก็นำมาเป็นกฏเกณฑ์ในการใช้เป็นวิธีการปฏิบัติผิด ว่าจะไปฝึกสติไม่ได้ สติก็เป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ไปบังคับบัญชาไม่ได้ อย่างนี้ก็เป็นการไปนึกคิดบอกอนัตตาให้กับรูปนาม เป็นการนึกคิด ไม่ใช่การเห็นประจักษ์แล้วที่สำคัญคือนำมาโยงการปฏิบัติขั้นแรก คือขั้นศีล และยังห้ามการฝึกการเจริญสติ ซึ่งผิดค่ะ สติฝึกได้ สติในขั้นปรมัตถ์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยการฝึกจนเกิดเองได้เป็นอัตโนมัติ นี่แหละไม่ต้องฝึกแล้วค่ะเกิดเองได้

ในหลักปฏิบัติจริง ที่เกิดขึ้นนั้น เืมื่อมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง สติตามดูรูปนามแล้วรูปนามจะบอกความเป็นไตรลักษณ์แก่ปัญญาเอง....เราไม่ต้องไปบอกรูปนามเอาเองว่า ทั้งรูปทั้งนามเป็นอนัตตา และในขั้นที่เห็นเป็นพิเศษนั้นเป็นขั้นของปัญญา ไม่ใช่ขั้นศีล ถ้าเป็นการเอาขั้นปัญญามาปฏิบัติในขั้นศีล เป็นการปฏิบัติแบบไร้ระเบียบ จะทำให้ปฏิบัิติไม่ได้จริง เป็นปัญญาเทียม เพราะขาดการทำขั้นที่ ๑ กับขั้นที่ ๒ แต่กระโดดมาทำขั้นที่ ๓ ทันทีค่ะ ทำดังนี้แล้วจะทำให้ไร้ระเบียบในการปฏิบัติ ปฏิบัติให้เกิดผลขึ้นจริงไม่ได้ การปฏิบัตินั้นจะต้องไปตามขั้นตอนของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ขั้นแรกทำกิจอะไร ต้องทำกิจนั้นอย่างถูกต้องค่ะ หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนั้น พระอรหันต์ท่านก็รักษาพระธรรมไว้ให้เรารู้ถูก เราก็ปฏิบัติตามพระธรรมไปค่ะ ไม่ต้องเอาปัญญาของเราเข้าไปปรุงแต่งให้บิดเบือนไปค่ะ

ส่วนในขั้นสมาธิ ก็บอกว่าการปฏิบัติไม่ใช่ไปนั่งหลับตาทำสมาธิ จริงค่ะสมถกรรมฐานไม่สามารถตัดกิเลสได้ แต่สามารถหยุดนิวรณ์ได้ชั่วคราวนานกว่าขั้นศีล ไม่ว่าจะเป็นสมาธิจากสมถะ หรือสมาธิที่ได้จากการเจริญสติในขั้นศีลนั้น เป็นจิตตวิสุทธิได้ทั้งสิ้น ทำให้จิตมีกำลังขั้นอุปจาร สามารถข่มนิวรณ์ได้เหมือนกันค่ะ และการทำสมาธินั้นเป็นการพักจิต เปรียบเหมือนคนออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง ที่บอกว่าสมาธิที่ใช้ในงานวิปัสสนานั้นใช้แค่ขณิกสมาธินั้นจริงค่ะ เพราะนับเอาจากการไม่หยุดนิ่ง วิ่งไปรู้ตามอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่กำลังของสมาธินั้นต้องสามารถข่มนิวรณ์ได้ จึงเป็นขณิกสมาธิในวิปัสสนาที่มีกำลัง แล้วเอากำลังมาจากไหน ก็ต้องอาศัยที่มาจากการเจริญสติ...อาตาปี สติมา สัมปชาโน คือ การเพียรมีสติจะเกิดสมาธิ และสมาธิจะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา ปัญญาจะเกิดหลังสุดค่ะ การสวดมนต์นั้นไม่รู้เรื่องแปลไม่ออกไม่ได้ปัญญาก็จริงแต่ได้สมาธิค่ะ การสวดมนต์ก็คืองานการภาวนาอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดสมาธิได้ค่ะ แม้จะไม่รู้คำแปลก็สวดไปค่ะ สวดมนต์นั้นเป็นการรักษาด้วย รัักษาภาษาคำสอน เป็นการรักษาศรัทธาของตนเองด้วย เป็นการรักษาภาษาคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย เมื่อใดที่ท่านสวดมนต์ภาษาบาลีเมื่อนั้นท่านได้รักษาสืบทอดพระธรรมค่ะ แม้ว่าจะแปลไม่ได้ก็ตามค่ะ แต่ก็คงต้องมีความเข้าใจได้บ้างว่าเนื้อหาที่สวดนั้นกล่าวถึงเรื่องอะไรก็จะดีไม่น้อยทีเดียว แม้จะสวดไปแต่ละบรรทัดไม่เข้าใจเนื้อหาแต่ละบรรทัดก็ตาม หรือไม่ได้เข้าใจอะไรเลยก็ตาม....จะทำดีก็ทำไปเลยค่ะ ไม่ต้องไปห่วงปัญญาให้มาก หากทำได้ดีได้ถูกต้องแล้ว ปัญญาไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝันค่ะ แต่ถ้าใจร้อนรีบไปคว้ามาตอนยังไม่ถึงเวลา ก็คว้ามาได้แค่ของเทียมค่ะ

งานฝ่ายสมถกรรมฐานบางงานนั้น ก็เป็นอารักขกรรมฐานด้วย สามารถส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ด้วยค่ะ เช่น พุทธานุสติ มรณานุสสติ เป็นต้น

ปัญญาในการเริ่มเห็นความจำเป็นของการวิปัสสนานั้น เป็นปัญญาขั้นกัมมัสสกตาญาณเกิดจากการเข้าเรื่องกรรมและผลของกรรม จากการฟัง การศึกษา เห็นโทษภัยของสังสารวัฏฏ์ ไม่ใช่ปัญญาระดับเห็นเป็นพิเศษ จึงไม่สมควรเอาปัญญาระดับขั้น ๓ มาเป็นกฏเกณฑ์การปฏิบัติขั้นที่ ๑ คือขั้นศีล ค่ะ

(มรรคผลเบื้องต่ำ นั้นเป็นภาษาพระอภิธรรม เบื้องต่ำไม่ใช่คำหยาบคาย บางท่านอาจจะรับคำแปลที่ตรงตัวจากภาษาบาลีไม่ได้ เช่นคำว่า สันดาน ทำลาย เบื้องต่ำ แต่พอคำที่แปลตรงว่าเบื้องสูงกลับรับได้ แต่พอตรงๆ ตัวความหมายตรงกันข้ามกลับรับไม่ได้ ขอบอกว่าเป็นแค่บัญญัติเพื่อความเข้าใจได้ตรงที่สุดค่ะ เพื่อให้ตรงกับภาษาบาลีที่สุดค่ะ คำเหล่านี้แปล สืบทอดในการสอนต่อๆ กันมาค่ะ)

ไตรลักษณ์

ไตรลักษณ์ ไม่ใช่สภาวะ คือ ไม่ใช่ปรมัตถ์

ขณะรู้ปรมัตถ์ รู้สภาวะ ยังไม่ได้เห็นไตรลักษณ์

ต้องเห็นเป็นพิเศษกว่านี้
จึงจะเห็นอาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอีกระดับหนึ่ง


อนัตตาไม่ใช่การนึกเอา คิดเอา ไม่ได้เห็นกันได้ตื้นๆ ขนาดนั้น
ถ้าเข้าใจกันได้ระดับนึกเอาคิดเอา ไม่ใช่ปัญญาเห็นเป็นพิเศษค่ะ

คุณสมบัติเพื่อความเป็นอริยะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=47303

๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล

๒. ต้องได้เคยสร้างบารมีที่เกี่ยวกับวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน

๓. ต้องมีความเพียรในชาติปัจจุบันนี้ด้วย

๔. วิธีเจริญวิปัสสนาต้องถูกต้องตามหลักพระบาลีและอรรถกถา

๕. ต้องมีสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

๖. ต้องไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ

๗. ต้องมีเวลาอันสมควร

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2014, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณสมบัติเพื่อความเป็นอริยะ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=47303

๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล

๒. ต้องได้เคยสร้างบารมีที่เกี่ยวกับวิปัสสนามาแล้วในชาติก่อน

๓. ต้องมีความเพียรในชาติปัจจุบันนี้ด้วย

๔. วิธีเจริญวิปัสสนาต้องถูกต้องตามหลักพระบาลีและอรรถกถา

๕. ต้องมีสถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ

๖. ต้องไม่มีปลิโพธ ๑๐ ประการ

๗. ต้องมีเวลาอันสมควร

ทั้ง ๗ ข้อนี้ ไม่ต้องไปห่วงค่ะว่าตอนนี้เราไม่มีข้อไหน บางข้อก็เกินความสามารถที่จะรู้ได้
แต่สร้างได้นับแต่ปัจจุบันนี้ค่ะ สร้างให้มีได้ในชาติต่อๆ ไปค่ะ ขอให้เดินทางได้ถูกวิธีเท่านั้นค่ะ

การไปเชื่อใครคนใดคนหนึ่งนั้น อย่าเพิ่งรีบเชื่อค่ะ อ่านและฟังคนอื่นบ้างค่ะ
บางท่านมีอุปทานยึคในตัวบุคคล ขอเลยนะคะว่าอย่ายึคค่ะ เคารพท่านนะคะ
แต่อย่าเพิ่งยึคคำสอน เปิดใจรับฟังอาจารย์ท่านอื่นบ้างค่ะ ขอเถอะนะคะ
(อ่านดูนะคะว่า บรรพบุรุษของเราเก็บรักษาพระธรรมกันอย่างไร
หนักหนาสาหัสเท่าใด ควรหรือไม่ที่เราจะเข้าใกล้พระธรรมอย่างถูกต้อง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=47257)

เพราะถ้ายึคในตัวบุคคลแล้ว ถ้าท่านสอนเราผิด เราเสียหายทั้งชาติ ก็ขออย่าให้ผิดแล้วผิดเลยนะคะ

ตอนนี้นะคะ มีการสอนผิดๆ จากสภาวะ จากขั้นตอนการปฏิบัติ มากมายเหลือเกิน

ขอท่านได้โปรดฟังครูอาจารย์ท่านอื่น ที่นอกเหนือจากคณะครูอาจารย์ของท่านด้วยค่ะ

แปลกอย่างหนึ่งในยุคนี้ อาจารย์บางท่านความประพฤติไม่เหมาะสมมีข่าวต่างๆ เกิดขึ้น ทำให้ไม่น่าเลื่อมใส แต่ปรากฏว่าสามารถสอนคนสื่อให้เข้าถึงปรมัตถ์ได้ค่ะ

แต่อาจารย์บางท่านความประพฤติงดงาม แต่สอนแบบจูงมือกันลงเหวค่ะ

สิทธิ์ของท่านนะคะที่จะเลือกเฟ้นธรรม อย่าทำลายสิทธิ์ของตนเอง สังสารวัฏฏ์นี้ยาวนานนัก

ถ้าปฏิบัติผิดแล้วก็จะสั่งสมต่อไป ในภพชาติต่อไปด้วยค่ะ

:b8: :b8: :b8:

อาจารย์ที่สอนดิฉันได้เคยอธิบายไว้ว่า พระพุทธเจ้าเมื่อจะตรัสสอนเรื่อง ไตรลักษณ์นั้น ถ้าจะกล่าวถึงอนัตตานั้น พระพุทธองค์จะทรงยกอนิจจังขึ้นก่อน แล้วก็ตามด้วยทุกขัง แล้วจึงตรัสถึงอนัตตาในลำดับสุดท้าย เพราะการเข้าใจอนัตตานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับคนธรรมดาอย่างพวกเรา

อาจารย์ยกตัวอย่างให้ฟังอีกว่า อยู่ดีๆ จะบอกว่า แก้วใบนี้มันเป็นอนัตตา ถามว่ามีใครเข้าถึงอนัตตาได้หรือไม่ ปัญญาธรรมดาอย่างเราๆ ก็ไม่สามารถเข้าใจได้เลย

ดังนั้นพระพุทธองค์ทรงยก อนิจจังขึ้นก่อน แล้วตามด้วยทุกขัง และจบลงด้วยอนัตตา อาจารย์อธิบายต่อไปว่า แก้วที่แตกเป็นชิ้นๆ มันบอกถึงความไม่เที่ยงบอกว่ารูปไม่เที่ยงเพราะมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไปในที่สุด มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยการเกิดดับ มันจึงไม่ได้อยู่ในอำนาจที่ใครจะบังคับบัญชาให้มันคงอยู่ตลอดไปได้ มันจึงเป็นอนัตตา

เมื่อไม่กี่วันมานี้ พระคุณเจ้าท่านหนึ่งได้กล่าวถึง พระสูตรพระสูตรหนึ่ง ซึ่งขณะนั้นดิฉันไม่สามารถจดได้ทัน ท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนอนัตตาขึ้นก่อนในการสอนครั้งนั้น เพราะว่ามีแต่พระโสดาบันฟัง และพระโสดาบันก็เป็นพระอริยะแล้ว พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนอนัตตาในลำดับแรกก่อนได้เลย ไม่ต้องเริ่มจาก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหมือนคนธรรมดาอย่างพวกเราค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2014, 10:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2014, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

:b8: จะขอนำเอาข้อความบางส่วนของท่านเรวตภิกขุ จากหนังสือ ตื่นเถิด ชาวโลก! มาให้อ่านค่ะ

เรื่อง สุพรหมเทวบุตร จาก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ดิฉันขอนำเอาตอนที่ท่านสุพรหมเทวบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ทราบหนทางรอดจากอเวจีนรก เพราะนับจากวันที่ท่านเทพบุตรทูลถามพระพุทธองค์ไปอีก ๗ วันนั้น ท่านและเหล่านางฟ้าอีก ๕๐๐ ที่เหลือต้องทำกาละไปบังเกิดในอเวจีนรก ยังความสลดสังเวชใจให้ท่านมากราบทูลถามพระพุทธองค์ว่า หนทางรอดคือทำอย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

"นอกจากปัญญาและความเพียร
นอกจากความสำรวมอินทรีย์
นอกจากความสละวางโดยประการทั้งปวง
เรายังไม่เห็นความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลายฯ"

อรรถกถาอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนให้ถือเอาอินทรียสังวร สมาทานตปคุณกล่าวคือธุดงค์เข้าป่าเจริญกัมมัฏฐาน ย่อมทำโพชฌงค์ให้เกิดมีพร้อมกับวิปัสสนา อริยมรรคทำนิพพานธรรมอันใดเป็นอารมณ์แล้ว ย่อมเกิดขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปลี่ยนเทศนาเป็นสัจจะ ๔ เมื่อจบเทศนาเทพบุตรและเหล่าเทพธิดา ๕๐๐ ที่เหลือก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล หลุดพ้นจากทุกข์ในอบายภูมิตลอดไป พระอริยมรรคละกิเลสที่นำไปเกิดในอบายภูมิ ๔ ได้เด็ดขาด ช่างวิเศษจริงหนอ!

:b8: :b8: :b8:

พระกัมมัฏฐานาจารย์นั้นจะสอนให้เจริญสมถะ (แม้จะไม่ได้ฌานก็ตาม) และวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ไปทีละขั้นอย่างเป็นระบบ ถ้าบารมีเก่าผนวกกับความเพียรในปัจจุบันนั้นมีกำลังมากพอ และวิปัสสนาญาณถึงความแก่กล้า มัคคญาณและผลญาณจะบังเกิดขึ้น

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

คนสมัยปัจจุบันยังสั่งสมบารมีได้ไม่สูงเท่าคนระดับสมัยพุทธกาล ในสมัยนั้น มีชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็นพระอริยบุึคคล ได้แก่ พระโสดาบัน เป็นต้น หลังจากเพียงสดับคำตรัสสอนของพระศาสดา ในปัจจุบันนี้ยากที่จะพบผู้เปี่ยมบารมีเช่นนั้นจริงๆ ถ้ากล่าวในเชิงปฏิบัติแล้วหมายความว่า บรรพชิตและคฤหัสถ์ในยุคนี้ไม่อาจจะบรรลุมัคคญาณ และผลญาณโดยแค่การสดับพระธรรมเทศนา คนสมัยปัจจุบันจำเป็นต้องปฏิบัติกัมมัฏฐานไปทีละขั้นอย่างเป็นระบบ

เมื่ออาตมาไปสอนกัมมัฏฐานที่สิงคโปร์ ฆราวาสชายท่านหนึ่งถามว่า "จำเป็นต้องเจริญกัมมัฏฐานอย่างเป็นระบบ แบบนี้ด้วยหรือครับ? ในสมัยพุทธกาลชนเป็นอันมากได้บรรลุเป็นพระอริยะหลังจากสดับคำตรัสสอนสั้นๆ ท่านเหล่านั้นได้ปฏิบัติธรรมทีละขั้นอย่างเป็นระบบหรือครับ?

จำเป็นต้องปฏิบัติ ศีลสิกขา สมาธิสิกขา และปัญญาสิกขา อย่างเป็นระบบหรือครับ?

อาตมาตอบว่า "ใช่" และอธิบายว่า เราไม่เหมือนกับคนสมัยพุทธกาลเราอยู่ในยุึคปัจจุบัน นี่เป็นยุคที่เราจำต้องทำให้ถูกต้อง ตามปฏิปทาอันแท้จริงของพระไตรสิกขา และปฏิบัติไปทีละขั้น อย่างเป็นระบบ

แม้แต่ที่พะอ็็อก ตอยะ ลูกศิษย์บางท่านก็ถามอาตมาว่า "จำเป็นต้องปฏิบัติรูปกัมมัฏฐานด้วยหรือครับ? ไม่เห็นมีใครสอน นอกจากที่พะอ็อก" ผู้ที่เคยตั้งคำถามนี้ ขณะนี้กำลังยิ้มและตอนนี้เขากำลังปฏิบัติรูปกัมมัฏฐาน

คำตอบก็เป็นเช่นเดิมอีกคือ "ใช่" ในยุึคปัจจุบันโปรดอย่าหวังจะได้เห็นพระนิพพานโดยปราศจากการปฏิบัติตามคำสอนทีละขั้นอย่างเป็นระบบ

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

ข้อความบางส่วนจากอาจารย์พรชัย
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=47227

ถ้าจัดเรียงตามลำดับของมรรคปฏิปทา คือ ตอนที่รู้กรรม รู้ผลของกรรม ได้ฟังเรื่องกรรม เรื่องผลของกรรม เรื่องภพชาติ เรื่องสังสารวัฏ เรื่องกัป แล้วเกิดความเข้าใจเห็นภัย เห็นโทษของสังสารวัฏ นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

ความดำริที่อยากจะพ้นออกไปจากสังสารวัฏ รอดตัวในสังสารวัฏเรียก สัมมาสังกัปปะ

ศีลที่สมาทานไป เรียกว่า สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

ความเพียรประคองจิต เรียกว่า สัมมาวายามะ

การมีสติปัฏฐาน เรียกว่า สัมมาสติ

ความตั้งมั่นจากการเจริญสติ เรียกว่า สัมมาสมาธิ

จนถึงภาวนามยปัญญา ญาณ วิปัสสนาญาณ คือ สัมมาญาณ สัมมาวิมุตติ
นี่คือเส้นทางของมรรคมีองค์ ๘


:b53: ดังนั้นการปฏิบัติ จะเริ่มที่ สัมมาวายามะ ความพยายามอันชอบ หรือ ถ้ากล่าวถึงองค์ของการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงการปฏิบัติ ตามลำดับคือ สีลสังวร อินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา
ชาคริยานุโยค...๔ ประการนี้ สีลสังวร คือที่สมาทานไป

อินทรียสังวร คือมีสติ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เดินจงกรม นั่งปฏิบัติธรรม...ชาคริยานุโยค คือ ทำความเพียร ประคองจิต ถ้าขณะปฏิบัติ มีองค์แห่งอินทรียสังวร สลับกับ ชาคริยานุโยค ลำดับต่อไปจะเป็นขั้นของสติเป็นประธาน ถ้าวิริยะเป็นประธาน เรียกว่าสัมมาวายามะก็ตาม เรียกชาคริยานุโยคก็ตาม อยู่ในระดับอธิศีล ถ้าสติเป็นประธาน เรียกว่าสติปัฏฐานหรือสัมมาสติ ถ้ามีขั้นสติบ่อยๆ จะมีขั้นสมาธิมาอุดหนุน สมาธิเรียก อธิจิตตสิกขา หรือเรียกว่าสัมมาสมาธิ จะเป็นเหตุแห่งขั้นอธิปัญญาสิกขา หรือ การรู้ การประจักษ์การเห็นในสภาวะธรรม นี่คือลำดับขั้นของการปฏิบัติธรรมโดยคร่าวๆ ก่อน

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:
ไตรสิกขา
ศีล = สัมมาวาจา , สัมมากัมมันตะ , สัมมาอาชีวะ
สมาธิ= สัมมาวายมะ , สัมมาสติ , สัมมาสมาธิ
ปัญญา = สัมมาทิฏฐิ , สัมมาสังกัปปะ


วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )
28 สิงหาคม 2556

ไตรสิกขา

สิกขา คือ ความประพฤติ เป็นการเรียนรู้ชนิดหนึ่งที่ศึกษาจากประสบการณ์ของตนเอง ไม่ใช่การฟังจากผู้อื่น หรือคิดนึกพิจารณาหาเหตุผล

พระพุทธองค์สอนให้เราประพฤติไตรสิกขา ๓ ได้แก่

๑. ศีล ความสำรวมกายและวาจาให้เรียบร้อยสงบเสงี่ยม ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าเป็นนักบวชก็รวมไปถึงการไม่ล่วงละะเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

ศีลทำให้เราไม่เดือดร้อนใจว่าทำผิดศีล ส่งผลให้เกิดความเคารพตนเอง ผู้ที่ยังไม่เคารพตนเองจะเป็นที่เคารพนับถือของผู้อื่นได้อย่างไร ดังพระพุทธดำรัสว่า สีลํ อวิปฺปฏิสาราย (ศีลมีประโยชน์เพื่อความไม่เดือดร้อนใจ) ความไม่เดือดร้อนใจดังกล่าวจะก่อให้เกิดปราโมทย์ ปีติ ความสงบ ความสุข สมาธิ และญาณทัศนะเป็นต้นตามลำดับ

๒. สมาธิ การตั้งใจมั่น คือ การมีใจสงบไม่ขุ่นมัวด้วยนิวรณ์ที่ปิดกั้นความดีอันได้แก่สมาธิและปัญญา

เมื่อจิตตั้งมั่นโดยมีศีลเป็นเหตุ ปัญญาที่เกิดร่วมกับสมาธิจะค่อยๆ ชัดเจนยิ่งตามลำดับ เหมือนบุรุษอยู่ที่ริมสระน้ำใส ย่อมสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในน้ำใสสะอาดได้ชัดเจน

๓. ปัญญา การรู้เห็นตามความเป็นจริง คือ การรู้แจ้งเห็นประจักษ์รูปนามตลอดจนถึงไตรลักษณ์ของรูปนามตามที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันขณะอย่างแท้จริง

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

สังวร ๕
๑. ปาติโมกขสังวร = สำรวมในสิกขาบท
๒. สติสังวร = สำรวมด้วยสติ
๓. ญาณสังวร = สำรวมด้วยปัญญา
๔. ขันติสังวร = สำรวมด้วยความอดทน
๕. วิริยะสังวร = สำรวมด้วยความเพียร

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2014, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

วัดท่ามะโอ (wattamaoh)
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖

ขุมทรัพย์ ๔ แห่งภายในตน


สุภาษิตว่า ค้นตนพบธรรม หมายความว่า ถ้าเราค้นหาตนภายในร่างกายที่กว้างศอกยาววาหนาคืบ ก็จะพบธรรมที่เปรียบดั่งขุมทรัพย์ ๔ แห่งภายในร่างกายนี้ คือ

๑. หม้อทองคือทาน รับหน้าที่ดูแลทรัพย์สมบัติของเราให้มั่งคั่งล้นหลาม ทำให้เราไม่เดือดร้อนตลอดสังสารวัฏอันยาวนาน

๒. หม้อทองคือศีล รับหน้าที่ดูแลร่างกายให้แข็งแรง มีสุขภาพดี ไร้โรคภัย และพ้นจากอบายภูมิ ๔

๓. หม้อทองคือสมาธิ รับหน้าที่ดูแลจิตให้สงบปลอดภัย เพราะจิตที่ถูกนิวรณ์รบกวนบีบคั้นอยู่เสมอย่อมไม่เป็นสุข แม้มีเงินทองก็หวาดหวั่นไม่รู้สึกปลอดภัุย ไม่สงบร่มเย็น

๔. หม้อทองคือปัญญา รับหน้าที่ดูแลจิตให้เห็นกระจ่างแจ่มใส ไม่ถูกตัณหา มานะ และทิฏฐิครอบงำให้ยึดติดผูกพันในตัุวตนและของตน

:b53: สรุปความว่า ทรัพย์สิน ร่างกาย และชีวิตของเรา ไม่ใช่มีไว้เพื่อครอบครอง แต่มีไว้เพื่อเสียสละ เมื่อสละสิ่งเหล่านั้นไป เราก็จะได้สิ่งที่มีค่ามากกว่านั้น ซึ่งก็คือขุมทรัพย็์ ๔ แห่งภายในตนนั้นเอง

:b8: :b8: :b8:

พระไตรลักษณ์

พระไตรลักษณ์ คือ ลักษณะ๓ ประการของสังขารทั้งปวง คือ
๑. อนิจจตา ความไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
๓. อนัตตา ความเป็นของไม่ใช่ตน

:b50: ความหมายของสังขาร
คำว่าสังขาร หมายถึงสิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งให้เป็นไปต่างๆ ด้วยอำนาจสภาวะ คือ หนาวร้อนเป็นต้น คือสิ่งใดก็ตามที่ตกอยู่ภายใต้ลักษณะ ๓ ประการคือ
๑. อุปปาทะ เกิดขึ้น
๒. ฐิติ ตั้งอยู่
๓. ภังคะ ดับไป
สิ่งนั้นเรียกว่าสังขารทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จึงเป็นสังขาร เพราะมีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปในที่สุด

:b49: ธรรมนิยามสูตร
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมนิยามสูตรว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายจะทรงนิยาม ๓ ประการ ก็มีอยู่แล้วในโลกนี้ แต่พระตถาคตเจ้าเป็นแต่เพียงผู้ชี้แจงแสดงออกให้ทราบ

:b50: ธรรมนิยาม ๓ ประการนั้น คือ
๑. สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง
๒. สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์
๓. สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

คำว่า "ธรรม" ในที่นี้ มีความหมายกว้างกว่าสังขาร คือ หมายถึงพระนิพพานด้วย เพราะพระนิพพานนั้นไม่ใช่สังขาร แต่จัดเป็นวิสังขาร คือ ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง คือไม่มีลักษณะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แต่เป็นสภาวะที่เที่ยงแท้แน่นอน และเป็นสุขตลอดกาล แต่พระนิพพานก็เป็นอนัตตา คือไม่มีตัวตน และหาเจ้าของไม่ได้

ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"
และ สังขารทั้งปวงเท่านั้นที่เป็น จิต เจตสิก รูป มีความ "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา"

:b49: สังขาร ๒ เป็นสังขารในพระไตรลักษณ์
๑. อุปาทินนกสังขาร สังขารที่มีใจครอง
๒. อนุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง

:b49: สังขาร ๒
๑. อุปาทินนกสังขาร = สิ่งผสมปรุงแต่งที่มีวิญญาณครอง
๒. อนุปาทินนกสังขาร = สิ่งผสมปรุงแต่งที่ไม่มีวิญญาณครอง
หรือ
๑. อสังขาริกจิต = จิตไม่มีสังขาร คือ ความเพียรพยายามของตนและผู้อื่น
๒. สสังขาริกจิต = จิตมีสังขาร คือ ความเพียรพยายามของตนและของผู้อื่น

:b49: อภิสังขาร ๓
๑. ปุญญาภิสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร และ รูปาวจร
๒. อปุญญาภิสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนา ทั้งหลาย
๓. อาเนญชาภิสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร๔

:b50: สังขาร ๓
๑. กายสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย กายสัญเจตนา คือความจงใจทางกาย
๒. วจีสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา วจีสัญเจตนา คือความจงใจทางวาจา
๓. มโนสังขาร = สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ มโนสัญเจตนา คือความจงใจทางใจ

ปรมัตถ์ธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์

๑. จิต ได้แก่ วิญญาณขันธ์
๒. เจตสิก ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
๓. รูป ได้แก่ รูปขันธ์
:b53: จิต เจตสิก รูป ทั้งสามข้อนี้รวมเรียกว่า ขันธโลก
๔. นิพพาน ได้แก่ ขันธวิมุตติ

:b47: ขันธโลก หรือขันธ์ห้า จัดเป็น สังขตธรรม
คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
จึงตกอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์ คือ

ขันธโลก หรือขันธ์ห้า จัดเป็น สังขตธรรม คือ ธรรมที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
จึงตกอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์ คือ
อนิจจัง = ไม่เที่ยงเพราะเกิดดับ ถูกปิดบังด้วย สันตติ
ทุกขัง = เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้น ถูกปิดบังด้วย อิริยาบถ
อนัตตา = ไม่ใช่ตัวตนเพราะบังคับไม่ได้ ถูกปิดบังด้วย ฆนะสัญญา

ขันธวิมุติ หรือพระนิพพาน จัดเป็น อสังขตธรรม
คือ ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง มีลักษณะเป็น
นิจจัง = เที่ยง
สุขัง = เป็นสุข
อนัตตา = ไม่ใช่ตัวตน

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 938&Z=5108

๔. รถวินีตสูตร

ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร

[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อ
แก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศจำนวนมาก จำพรรษาแล้ว
ในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชาติภูมิประเทศ
ภิกษุรูปไหนหนอ ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องอย่างนี้ว่า ตนเอง
เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำพรรณนา ความมักน้อย ความสันโดษ
ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ
ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้โอวาท แนะนำชี้แจง
ชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ให้อาจหาญ ร่าเริง.

ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติภูมิประเทศ
ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องว่า ตนเอง
เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำพรรณนาความมักน้อย ความ
สันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้โอวาท แนะนำ
ชี้แจง ชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้อาจหาญ ร่าเริง.

[๒๙๓] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้ จึงดำริว่า เป็น
ลาภของท่านปุณณมันตานีบุตร ความเป็นมนุษย์อันท่านปุณณมันตานีบุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุ
เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน กล่าวยกย่องพรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา และ
พระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาซึ่งการกระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านปุณณมันตานีบุตรแล้ว
สนทนาปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง.

[๒๙๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามสำราญพระอัธยาศัย
เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี.

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่
ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจึงเก็บงำ
เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังพระนครสาวัตถี ถึงพระวิหาร
เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มี
พระภาค จึงทรงชี้แจงท่านพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย
ธรรมีกถา.

ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค
ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพัก
ในกลางวัน.
พระปุณณมันตานีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์

[๒๙๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วแจ้งข่าวว่า ข้าแต่ท่าน
พระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตร ที่ท่านได้สรรเสริญอยู่เนืองๆ นั้น บัดนี้ พระผู้มีพระภาค
ทรงชี้แจงให้ท่านเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม
อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ
หลีกไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักในกลางวัน.

ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่านพระปุณณมันตานีบุตรไป
ข้างหลังๆ พอเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่ง
พักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรก็เข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว ก็นั่งพักกลางวัน
อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน.
พระสารีบุตรสนทนากับพระปุณณมันตานีบุตร

[๒๙๖] ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตรถึงสำนัก ได้ปราศรัยกับท่านพระปุณณมันตานีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมัน
ตานีบุตรดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ?
ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้มีอายุ?
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสีลวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ ท่าน
ผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ
ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสน
วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อปฏิปทาญาณทัสสน
วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ
หรือ ท่านผู้มีอายุ?

ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ?
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ
สีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ใน
พระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือเพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่านก็ตอบผมว่าไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออะไรเล่า?

ปุ. ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
สา. ท่านผู้มีอายุ สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน?
ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ.
สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานจิตตวิสุทธิ
หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ
เป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณ
ทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่
นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อ
เป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า?

[๒๙๗] ปุ. ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทา
ปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน. ถ้าจักทรงบัญญัติ
จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ
ญาณทัสสนวิสุทธิว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่า
เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่า ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว
ปุถุชน จะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้ ท่านผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่าน
ฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา.
อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด

[๒๙๘] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือน พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในพระนคร
สาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับ
เมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จออกจาก
พระนครสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวังไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วย
รถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึง
รถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถ
พระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่ง
ผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่ง
ผลัดที่สี่ ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถพระที่นั่ง
ผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก
เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก
ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด

ถ้าพวกมิตรอำมาตย์ หรือพระญาติสาโลหิต จะพึงทูลถามพระองค์ซึ่งเสด็จถึงประตูพระราชวังว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาจากพระนครสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถ
พระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะเป็น
อันตรัสตอบถูกต้อง?

สา. ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบ
ถูกต้อง คือ เมื่อฉันกำลังอยู่ในนครสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต
ก็ในระหว่างนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้น ฉันจึงออกจาก
นครสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง
ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม ด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม
ไปถึงรถผลัดที่สี่ ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้า
ด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก ด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อย
รถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด ด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถ
ผลัดที่เจ็ด ไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะ
ต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง.

ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น
สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ

จิตตวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ

ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ

กังขาวิตรณวิสุทธิเป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ

มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ

ญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน

ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
กล่าวชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน

[๒๙๙] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า
ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักท่านว่าอย่างไร?

ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อปุณณะ แต่พวกภิกษุเพื่อน
พรหมจรรย์ รู้จักผมว่ามันตานีบุตร. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่
เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้นมากล่าวแก้ ด้วยปัญญาอัน
ลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าว
แก้ ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์ได้
ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะ
เทิดท่านพระปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับ
ว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่งนับว่าเป็นลาภ
มากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร.

[๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามดังนี้ว่า
ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระสารีบุตร
ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักผมว่าสารีบุตร. ท่านพระ
ปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับ
พระศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ท่านชื่อสารีบุตร ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไป
เพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้ เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง
อันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว
รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์
ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้
หากว่า เพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระสารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้าจึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้
แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง
นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้พระสารีบุตร.

พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ รถวินีตสูตรที่ ๔
-----------------------------------------------------

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

เหตุของวิปัสสนา
(หนังสือ วิปัสสนาภาวนา โดย ท่านฐิตวณฺโณ ภิกขุ)

เหตุของวิปัสสนานั้นมีอยู่ ๒ ชนิด
๑. เหตุใกล้
๒. เหตุไกล

เหตุใกล้ของวิปัสสนา คือสมาธิ ถ้าผู้ใดได้สมาธิก็แสดงว่าผู้นั้นใกล้ต่อการบำเพ็ญวิปัสสนาได้ดีขึ้น
เหตุที่ไกลออกไปหน่อยก็คือศีล ศีลนี้เป็นเหตุของวิปัสสนาเหมือนกันแต่ยังไกลกว่าสมาธิ สมาธินี้เป็นเหตุใกล้ที่สุด เพราะฉะนั้น ศีลและสมาธิจึงเป็นเหตุของวิปัสสนา คนจะทำวิปัสสนาจำเป็นจะต้องมีศีลและสมาธิ คือ ได้สีลวิสุทธิ และจิตตวิสุทธิ

ให้ทำความเข้าใจอย่างนี้ว่า ผู้ที่จะทำวิปัสสนา
ถ้าไม่มีศีล ไม่มีสมาธิ ไม่มีทางทำได้ เพราะไม่มีเหตุจะให้เกิด
ซึ่งบางคนอาจจะพูดว่า การบำเพ็ญวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องมีศีล ไม่จำเป็นต้องมีสมาธิ ผู้ใดทำได้ถูกวิธีก็เกิดบรรลุมรรคผลขึ้นได้ นั้นเป็นการเข้าใจผิด


จริงอยู่ บางคนไม่เคยมีศีล ไม่เคยมีสมาธิมาก่อน พอฟังธรรมของพระพุทธเจ้าก็ได้ตรัสรู้ทันที นั้นก็แสดงว่า
ศีลและสมาธินั้นเกิดในขณะฟังธรรม คือเกิดในขณะนั้น เพราะศีลและสมาธิ บางครั้งต้องเกิดมาก่อน แต่บางครั้งก็เกิดในขณะนั้นนั่นเอง เช่น พระพาหิยะ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าขณะที่อยู่บนถนนในเมือง ไม่ได้มีศีลและสมาธิมาก่อน แต่การฟังธรรม ฟังขณะนั้นพิจารณาไป ศีลสมาธิและปัญญา เกิดขึ้นในขณะนั้น ก็ได้บรรลุธรรมเหมือนกัน ในกรณีเช่นนี้มีไม่มากนัก เว้นไว้แต่ท่านผู้มีบุญเป็นพิเศษเท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้วจะต้องมีศีลและสมาธิมาก่อน คนที่มีศีลและสมาธิขึ้นในขณะนั้นก็มี แต่ก็มีไม่มากดังกล่าวแล้ว แต่ศีลและสมาธิจะต้องเป็นเหตุของวิปัสสนาแน่นอน

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2014, 17:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


อายุขัยของมนุษย์ตอนนี้คือ 75 ปี(แต่ถ้านับจริงๆ เหลือ 74.5) บางคนก็ตายก่อนอายุขัย ใครอยู่เกินก็ทำมาเยอะก็พิจารณาว่า อยู่อย่างไรบุญหรือบาปหล่อเลี้ยงให้อายุเกินไป

เวลาที่พระอาทิตย์ส่องพื้นโลก มี 12 ชั่วโมงคือ ตั้งแต่ 6.00-18.00 น.

เราอายุเท่าไหร่แล้ว สมมุติ 50 ปี เทียบเวลาแล้วก็คือประมาณ บ่าย2โมง
คุณดูสิถ้าบ่าย2โมงนี้มันก็ใกล้ตะวันจะตกดินแล้วนะ อีกแป๊บก็เย็นแล้วค่ะ

เราต้องใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่า อย่าเสียเวลากับเรื่องที่อย่างไรเสียเราก็ต้องจากไป

เมื่อเวลาจากโลกนี้ไปแล้ว ไม่มีใครช่วยเราได้ เราผจญภัยตามลำพังจริงๆ สิ่งที่พึ่งได้คือพระรัตนตรัย ถึงพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว เรายังมีพระธรรมที่มีอยู่ขณะนี้ที่จะขัดเกลาจิตใจเราให้กิเลสเบาบางลง ทำให้เราไม่ลำบากในภพชาติต่อไป ทำให้เรามีโอกาสที่จะทำความเพียรต่อไปจนพ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

เอาเรื่องรักษาใจของเราไว้ มีศีล สมาธิ ปัญญา
จะทำให้เรารอดค่ะ ดิฉันก็พยายามอยู่ค่ะไม่ได้ดีไปกว่าใครหรอกค่ะ รู้แต่ว่าตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน

ฟังคำครูอาจารย์ของท่านสอนแล้ว ขอได้โปรดฟังหรืออ่านอาจารย์สอนฝ่ายพระอภิธรรมตัวจริงบ้างค่ะ
จะได้แยกแยะเหตุผล และหลักเหตุผลที่ตรงตามสภาวะ ตรงตามความเป็นจริงค่ะ
สำนักใดสอนอย่างไร ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงอย่างไร สอนได้เก่งแค่ไหน คนนับถือมากมายอย่างไร ก็อย่าพึงไว้ใจค่ะ หากท่านเหล่านั้นสอนในส่วนใดผิด ท่านก็จะได้เลือกปฏิบัติส่วนที่ถูกแค่นั้นพอค่ะ ถ้าเหมาเอาหมด ท่านสอนอย่างไร เหมาเอาหมด ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นแก่เราค่ะ

เราควรช่วยกันค่ะ ทำหน้าที่พุทธบริษัท4 ไปด้วย ช่วยกันรักษาพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ให้ถูกต้อง ให้สืบทอดอย่างถูกต้องและยาวนานที่สุดค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2014, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
:b44: :b44: :b44:

:b27: มาอ่านธรรมะพระพุทธเจ้า เรื่องพระไตรลักษณ์ โดยอาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ
อาจารย์สอนพระอภิธรรมที่สอนได้อย่างตรงตามความเป็นจริงค่ะ


ไตรลักษณ์ มิใช่สภาวะ คือ ไม่ใช่ปรมัตถ์
ขณะรู้ปรมัตถ์ รู้สภาวะ ยังไม่ได้เห็นไตรลักษณ์ ต้องเห็นพิเศษกว่านี้ จึงจะเห็นอาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอีกระดับหนึ่ง

ดังนั้น ในคำว่า รู้การประหาณก็ตาม หรืออีกโวหารหนึ่งว่า รู้การดับนิวรณ์ก็ตาม หมายถึงผู้ปฏิบัติจะต้องทำองค์แห่งการปฏิบัติด้วยศีลบ้าง ด้วยสมาธิบ้าง ด้วยปัญญาบ้าง และเลยไปถึงอริยมัคค์ อริยผล แล้วสามารถหยุดระงับนิวรณ์เหล่านี้ได้ ในระดับต่างๆ คือ

ถ้ามีสติอินทรียสังวร หยุดได้ระดับหนึ่ง ถ้าไม่มีสติก็กลับมามีนิวรณ์ได้อีก

วิริยะ ก็หยุดได้ระดับหนึ่ง ถ้าไม่มีวิริยะ ก็กลับมามีนิวรณ์ได้อีก

สติปัฏฐาน หยุดได้
สมาธิ หยุดได้มากขึ้น
ปัญญา หยุดได้นานขึ้นอีก ไกลขึ้นอีก

ถ้าอริยมัคค์ หยุดได้เด็ดขาด
อริยผล สงบไปแล้ว ไม่มีไปแล้ว
นิพพาน ไกลออกไปแล้ว ไม่หวนมาอีกแล้ว
นี่คือ คำว่า " ดับ" นี้คือคำว่า "ปหาณ"
ถ้าไม่มีกิจในการประหาณ เมื่อนั้นไม่เรียกว่าดับ ไม่เรียกว่ารู้ในการดับ ไม่ได้ดำเนินปฏิปทา เพื่อดับ
เข้าใจคำว่า "ดับ" ไหม?

:b53: ถ้าเรามองตรงไป แล้วเห็นรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อเราหันหน้าไปทางอื่น ก็ไม่เห็นรูปนั้น อย่างนี้ไม่เรียกว่า เห็นรูปดับ หรือขณะวางมือกระทบโต๊ะ รู้สัมผัส เมื่อยกมือขึ้นก็ไม่รู้สัมผัสนั้น ไม่ได้เรียกว่าเห็นความดับ

ลมพัดมาถูกตัว รู้สึกเย็น ลมหยุดพัด ก็ไม่รู้สึกเย็น ไม่ได้เรียกว่าเห็นการดับ ไม่ได้ตื้นขนาดนั้น ต้องมีองค์ของศีล สมาธิ ปัญญา มาเป็นลำดับก่อน จึงจะถึงญาณ วิปัสสนาญาณได้

ทำนองเดียวกัน การละนิวรณ์ก็มีในระดับต่างๆ กัน คือ ระดับศีล... อินทรียสังวร ก็หยุดกระแสนิวรณ์ได้ระดับหนึ่ง...ถ้าชาคริยานุโยค เมื่อเป็นกุศลแล้วอยู่กับกุศลนานขึ้น ไม่ย้อนกลับมา ดับอย่างนี้ หมายความว่า ภาวะแห่งนิวรณ์ไม่ปรากฏขึ้น ณ ภายในจิต เป็นการดับโดยที่ไม่มีภาวะนั้น นี้เรียกว่า ตทังคนิโรธ ซึ่งจะต่างจากความรู้สึกของบุคคลทั่วไป คือ ถ้าเราเห็นคนอื่นอยู่ เมื่อเขาเดินไปแล้ว ก็คล้ายกับไม่มีคนนั้นแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าเขาดับไป จะดับได้อย่างไรในเมื่อไม่มีเขาอยู่แล้ว

การเห็นความดับหมายความว่า ยังเห็นสิ่งนั้นอยู่ แล้วเห็นพิเศษ เห็นความเกิดดับยิ่งกว่าคนอื่น จึงจะเป็นวิปัสสนา แต่ถ้าไม่มีสิ่งนั้นแล้ว ก็ไม่มีสภาวะ จะมีความดับได้อย่างไร เป็นเพียงการคิดย้อนกลับว่า เมื่อครู่นี้มี ขณะนี้ไม่มี แล้วเอาความดับเข้าไปใส่ เป็นสัญญาล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ.....ถ้าเราได้ยินเสียงนกร้อง เมื่อหยุดร้องก็ไม่มีเสียง ก็ไม่ได้ยิน ไม่เสียงดับ ขณะได้ยินคือได้ยิน แต่มีสัญญาจำว่า "นก" เมื่อเสียงหายไปคือไม่มีเสียง เป็นระดับสัญญาทั้งสิ้น ไม่มีปรมัตถ์ใดๆ รองรับเลย เป็นความคิดไปเอง...หรือถ้าปกติจิตเราฟุ้งซ่านคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้ทั้งวัน การหยุดคิดเรื่องหนึ่ง แล้วเปลี่ยนไปคิดเรื่องใหม่ ไม่ใช่การเห็นจิตเกิดดับ เป็นการติดบัญญัติ แล้วมาย้อนทวนว่าเมื่อครู่จิตเราคิดเรื่องโน้น แล้วมาคิดเรื่องนี้ ทึกทักเอาเองว่าเห็นจิตเกิดดับ เป็นสัญญาทั้งหมด ไม่มีองค์ของศีล สมาธิ ปัญญาใดๆ ถ้าเข้าใจผิดว่าเป็นวิปัสสนา จะไม่มีแม้แต่อินทรียสังวร จะปล่อย อารมณ์ใดมากระทบก็รู้หมด คิดว่าจะได้เกิดวิปัสสนา บางครั้งเอาคำสูงมาใช้ เช่น "ธัมม์ทั้งปวงเป็นอนัตตา" สติก็เป็นอนัตตา สติจะเกิดเมื่อไรเป็นเรื่องของสติ บังคับบัญชาไม่ได้ ดังนั้นไม่ต้องฝึกสติ

อนัตตา เป็นปัญญา
แต่ สติอินทรียสังวร เป็นขั้นศีล

ถ้ามีปัญญาจริง ศีลต้องสมบูรณ์ก่อน ถ้าศีลยังไม่เกิด แสดงว่าเป็นปัญญาเทียม
ขอยืมคำ "อนัตตา" มาเป็นข้ออ้างว่า เราจะไม่ฝึกตามวิธีใดๆ เราจะปล่อย เพราะเราไม่ยึคมั่นถือมั่นแล้ว
จะเป็นคนที่ไร้ระเบียบในการปฏิบัติ ไม่สามารถฝึกฝนตนด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ได้อีกแล้ว

ดังนั้นในการปฏิบัติ ถ้าบุคคลยึคการปฏิบัติโดยทิฏฐิ แล้วจิตไม่เป็นไปตามนั้น ก็ยกเอาคำที่เป็นคำสูงมาคิดมาใช้ เพื่อที่จะปฏิเสธงานหรือกิจในเบื้องต้นที่จะต้องกระทำ...ความเจริญใดๆ ในธรรมะจะไม่มีเลยตลอดชีวิตของผู้นั้น

คำว่า "กามฉันทะที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย การละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว จะมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย กามฉันทะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้นด้วย"
ในข้อความเหล่านี้ บุคคลต้องเข้าใจ ปหาณ ๕ หรือ นิโรธ ๕ คือการดับนิวรณ์ หรือการดับกิเลสใดๆ ก็ตาม ในระดับทั้ง ๕ คือ ตทังคะ การหยุด การระงับนิวรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ทำให้บุคคลนั้นต้องเข้าใจว่า ...ระดับศีลทำอย่างไร...ระดับสมาธิทำอย่างไร...ระดับปัญญาเป็นอย่างไร เข้าใจการดับนิวรณ์ด้วย ฌาน สมาธิ รู้วิธีเจริญฌานสมาธิเพื่อดับ และรู้ปฏิปทาให้เข้าถึงอริยมัคค์ อริยผล นิพพาน

หรือแม้แต่บุคคลที่รู้ปฏิปทาขั้นต้น อันเป็นตทังคปหาน คือรู้ว่า ถ้ามีภาวะแห่งศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น ณ ภายในจิต ก็ย่อมหยุดระงับนิวรณ์ได้ เมื่อคำนึงถึงปหานที่ยิ่งขึ้น คือที่คุณสูงยิ่งๆ ขึ้นไป ก็จะเกิดศรัทธาปสาทะอย่างมั่นคงได้ว่า แม้เบื้องต้นก็ยังไม่ประหาณได้ระงับได้ ...ถ้าขั้นสูงกว่านี้ ก็ต้องระงับได้ดีกว่านี้ยิ่งกว่านี้ จะเป็นเหตุให้ผู้ที่ปฏิบัติ มีความมั่นคงต่อปฏิปทาเส้นทาง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

การที่บุคคลจะดับหรือประหาณกิเลส ตัณหา อุปาทาน ด้วยศีล สมาธิ ปัญญานั้น ถ้าจะกล่าวในหมวดธัมม์อื่น เช่น อริยมัคค์มีองค์๘ ว่า ดับ หรือประหาณด้วยอริยมัคค์มีองค์๘ ก็เป็นการกล่าวอีกโวหารหนึ่ง แล้วแต่บุคคลนั้นๆ ที่จะเข้าใจ เข้าถึงข้อปฏิบัติเหล่านั้น ถ้าตามลำดับว่าประหาณด้วยอริยมัคค์มีองค์๘ คือ ถ้ารู้ว่ากรรมใดทำแล้วเป็นเหตุให้ไปอบาย กรรมใดทำแล้วเป็นเหตุให้ไปสู่สุคติภูมิ ถ้ารู้ว่าอกุศลทุจริตทั้งปวงนำไปสู่อบาย กุศลสุจริตทั้งปวงนำไปสู่สุคติ แล้วรู้สึกว่า เรามีความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้ามีปัญญาตัดสินได้ว่า นี้คือกุศล นี้เป็นโทษ จะเป็นเหตุแห่งความเสื่อม ความทุกข์ แล้วหยุดระงับได้ แม้ระดับเท่านี้ คือ ระดับการศึกษา รู้ว่าสิ่งใดเป็นคุณ สิ่งใดเป็นโทษก็สามารถวินิจฉัยได้ และละได้ระดับหนึ่ง แม้ยังไม่มีองค์ของการปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ชัดเจน ก็หยุดระงับได้ เพราะเห็นว่า นี่่เป็นสิ่งไม่ดี อย่างนี้คือละด้วยสัมมาทิฏฐิ การรู้กรรม รู้ผลของกรรม แม้เพียงเบื้องต้น

ระดับสัมมาสังกัปปะ คือ หยุดระงับวิตก ความตรึกที่เป็นไปพร้อมด้วยโลภะ โทสะ โมหะ มีความตรึกที่จะระงับเป็นไปพร้อมด้วยโลภะ โทสะ โมหะ มีความตรึกที่จะระงับบาปกิเลสทั้งหลาย นี่ก็เพราะ :b42: สัมมาทิฏฐิเป็นปัจจัย จึงเกิดสัมมาสังกัปปะ

:b42: ส่วนระดับการปฏิบัติ นับที่ สัมมาวายามะ ความเพียรละกิเลสนิวรณ์และเพียรรักษากุศลนั้นไว้

สัมมาสติ ความมีสติ ความไม่เผลอ

สัมมาสมาธิ ความตั้งมั่น ความไม่ซัดส่ายไป

และระดับปัญญา อันเป็น สัมมาญาณ ญาณ วิปัสสนาญาณ

ระดับ อริยมัคค์ อริยผล อันเป็น สัมมาวิมุตติ


เส้นทางเหล่านี้ ละกิเลสได้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ตามคุณอานิสงส์ของกุศลนั้นๆ ปฏิปทานั้นๆ

การที่บุคคลมีสติหยุดกระแสของกิเลสก็ตาม นิวรณ์ก็ตาม หมายความว่า ถ้าไม่มีสติ กามฉันทะก็เกิดต่อเนื่องนานไป จนกว่าจะหยุดหายไปเอง หรือพยาบาท ก็โกรธต่อเนื่องนานไป จนกว่าจะหยุดโกรธไปเอง แต่เมื่อมีสติ สติก็หยุดกระแสกามฉันทะบ้าง พยาบาทบ้าง ให้สั้นลง นั้นเรียกว่า ปหาน ไม่ได้รอให้ดับไปเอง แต่นี่มีสติ เรียกว่า ปหาน ถ้ารอให้ดับไปเอง ดูไปเรื่อยๆ จะดับเมื่อไรเป็นเรื่องของนิวรณ์ ไม่เกี่ยวกับเรา กลายเป็นมองดูนิวรณ์ ว่าเราเห็นนิวรณ์แล้ว เราไม่ยึคแล้ว อย่างนี้เป็นเพียงโวหาร ยักย้ายไปเองด้วยทิฏฐิ การแต่งคำพูด หาสาระไม่ได้ ไม่คุณ ณ ภายในจิต

การประหาณ หรือ ปหาน จึงหมายถึง ถ้ามีอยู่หยุดระงับ นั่นมีคุณระดับหนึ่ง คือ กระทำให้สั้นลง เมื่อหยุดได้บ่อยๆ ก็จะรู้จักนิวรณ์ ขณะนิวรณ์จะเริ่มเกิดขึ้นเพราะเหตุใดจะรู้ชัดว่า ถ้ามองไปเดี๋ยวจะเกิดนิวรณ์อย่างนี้ ถ้าฟังต่อ เดี๋ยวจะเกิดนิวรณ์อย่างนี้ แล้วหยุดระงับเหตุนั้นๆ ได้ ต่อไปก็ไม่ต้องให้นิวรณ์เกิด เพราะรู้ว่าจะเกิด จึงไม่ปล่อยให้เกิด ด้วยการหยุดระงับเหตุไว้ ....ถ้าเกิดแล้ว ก็ระงับให้สั้นลง หยุด ณ ขณะนั้น ถ้ายังไม่เกิด ก็ยั้งไว้

:b47: ดังนั้น สติที่มีลักษณะหยุด ก็เป็นอย่างหนึ่ง คือ มีแล้วแต่หยุดสิ่งนั้น เพราะสิ่งนั้นเป็นโทษ

:b47: กับสติที่ยั้ง คือ สิ่งนั้นยังไม่มา แต่รู้ว่ากำลังจะมา ถ้ามาแล้วจะเป็นโทษ จึงยั้งไว้

นี่คือสติ ขั้นแรกสุดต้องมีอย่างนี้ ถ้าขั้นนี้ไม่ทำงาน อกุศลอะไรมาก็ปล่อยให้เกิดไป ไม่ทำอะไร อย่าพึงหวังความเจริญในธรรมะ

:b8: :b8: :b8:

:b48: อ่านอาจารย์สายตรงพระอภิธรรมสอนแล้ว ท่านคิดว่า สติควรฝึกหรือไม่ สติเปรียบเหมือนรอยเท้าช้าง รอยเท้าสัตว์ต่างๆ ก็สามารถลงได้ในรอยเท้าช้างฉันใด สติก็ลงอยู่ในการปฏิบัติธรรมทุกเมื่อ ไม่มีงานปฏิบัติธรรมใดเลยที่ขาดสติ ต้องอาศัยสติทุกงาน

ความเพียรของมนุษย์ เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ธรรมเป็นใหญ่สูงสุด

สติฝึกได้ค่ะ การฝึกก็คือความเพียรให้สติเกิดเป็นอันดับแรกนั่นเอง
"วิริเยน ทุกขมัจเจติ" บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียรค่ะ

:b48: :b48: :b48:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2014, 16:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 11:12
โพสต์: 421

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:
สาธุ สาธุ สาธุ

อ่านแต่ละครั้ง...แต่ละวัน...ได้มุมมอง ข้อคิดเห็น ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป.....ต้องฝึก บ่อยๆๆ อ่านมากขึ้น ซ้ำๆๆๆ ให้ถ่องแท้.....ขอบพระคุณค่ะ.....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2014, 13:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


กล้วยไม้ม่วง เขียน:
:b8: :b8: :b8:
สาธุ สาธุ สาธุ

อ่านแต่ละครั้ง...แต่ละวัน...ได้มุมมอง ข้อคิดเห็น ความรู้สึกที่แตกต่างกันไป.....ต้องฝึก บ่อยๆๆ อ่านมากขึ้น ซ้ำๆๆๆ ให้ถ่องแท้.....ขอบพระคุณค่ะ.....

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

:b8: ขอบพระคุณทุกๆ ท่านค่ะที่เข้ามาอ่าน
จริงค่ะ ต้องอ่านย้ำไปย้ำมา ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตลอดไปค่ะ คือ ทฤษฎี กับ ปฏิบัติ ส่วนผลการปฏิบัติจะมาภายหลัง
ในวันหนึ่งๆ นั้นปัญญาเกิดขึ้นง่ายที่สุดในการทำบุญกุศล คือ การอ่านการฟังธรรม(ข้อ8), การแสดงธรรม(ข้อ9), ก็เป็นเหตุใ้ห้มีความเห็นที่ตรงถูกต้อง(ข้อ10)

ในบุญกิริยาวัตถุ10 นั้นคือการทำบุญให้เกิดขึ้นได้ 10อย่างและ ข้อ 8,9,10 เกิดกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาง่ายที่สุด
และข้อ 8,9 ก็เป็นเหตุให้ข้อ 10 เกิดขึ้นได้อีกด้วยค่ะ

:b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50: :b50:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2014, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:
จากหนังสือ อภิธัมมาวตาร รจนาโดย พระพุทธทัตตเถระ

ดูกรมาร ท่านเชื่ออะไรว่าเป็นสัตว์เล่า ความเชื่อของท่านเป็นความเห็นผิด สิ่งนี้เป็นเพียงกองสังขารล้วนๆ
ไม่มีสัตว์ในโลกนี้

อุปมาดั่งคำว่า รถ ย่อมมีด้วยหมู่แห่งองค์ประกอบ ฉันใด เมื่อขันธ์มีอยู่ จึงมีสมมุติว่าสัตว์ ฉันนั้น

:b8: :b8: :b8:




.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 เม.ย. 2014, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2014, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
:b44: :b44: :b44:

จากหนังสือ อภิธัมมาวตาร

เหตุในการบรรลุปฏิสัมภิทาญาณ

๑๑๙๑. ปริยตฺติปริปุจฺฉาหิ สวนาธิคเมหิ จ
ปุพฺพโยเคน คจฺฉนฺติ ปเภทํ ปฏิสมฺภิทา.


"ปฏิสัมภิทาญาณย่อมถึงความแตกฉานด้วยปริยัติ(การเรียนพระพุทธพจน์)
ปริปุจฉา(การไต่ถาม) สวนะ(การฟัง) อธิคมะ(การบรรลุมรรค)
และปุพพโยคะ(การเจริญวิปัสสนาจนใกล้ถึงอนุโลม และโคตรภูในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน) "




:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2024, 09:43 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 15 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร