วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 18:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2013, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


การเห็นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัย ๔ อย่างมาประชุมพร้อมกัน เช่น
๑. ต้องมีตาดี
๒. รูปารมณ์ดี (ต้องอยู่ในระยะที่พอเหมาะ)
๓. ต้องมีแสงสว่าง
๔. ต้องมีมนสิการ (คือความตั้งใจดู)
ทั้ง ๔ อย่างนี้ถ้าขาดสิ่งหนึ่งใดการเห็นจะเกิดขึ้ไม่ได้เลย
เมื่อการเห็นเกิดขึ้นเราจะเข้าใจได้ว่าการเห็นั้นมิใช่เราเห็น การเห็นเกิดขึ้นได้เพราะปัจจัย
เมื่อเข้าใจได้ดังนี้ก็เพื่อละคำว่าเราเห็น คือ ตัว อุปาทาน และ ทิฎฐิ ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2013, 15:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:
student เข้าไปเห็นการทำงานของประสาทตาที่มีอาการไหวตามการโพกัส นั่นคือจิต student อยู่ที่ประสาทตาแต่เห็นวัตถุชัดเจนไม่ใช่อาการเหม่อลอย


การเข้าไปรู้สึกถึงอาการไหว

ผัสสะของลูกตา ไม่ใช่แค่ การรับรู้แสงเป็น-รูปารมณ์
ยังรับรู้ถึง สัมผัส ซึ่งเป็น โผฏฐัพพะ ด้วย เช่น อาการเคืองตา ต่าง ๆ

อ้างคำพูด:
เลยลงความหมายว่าแสง กรณีเช่นนี้เรียกว่าอะไร

เป็นสิ่งที่จิตเข้าไปรับรู้เช่นกัน จิตมันไว


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 14 มี.ค. 2013, 20:41, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2013, 18:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.ajsupee.com/document/pdf/sua ... ajitta.pdf

ก็เป็นบทความที่ดีนะ

....

:b1:

อ้างคำพูด:
จิตมีความฉลาดเป็นพื้นฐานของมันอยู่ เป็นความฉลาดแบบสัญชาตญาณซึ่งมีอำนาจ
ของอวิชชาอยู่ หน้าที่ของเราคือเพียรฝึกฝนให้จิตได้เรียนรู้ความจริงของกายของใจ ของ
ธรรมชาติต่างๆ
พอเรียนรู้ไปจิตก็จะฉลาดขึ้น เกิดศีล เกิดสมาธิ เกิดปัญญา พอจิตเกิดปัญญา เกิด
วิชชา จิตก็ละความเห็นผิด ละความยึดมั่นถือมั่นไป ทุกอย่างเป็นเรื่องของจิตหมด ไม่ใช่เรื่อง
ของเรา ไม่มีเรื่องของเรา เพราะว่า “เรา” ทั้งหมด คือ “ไม่ใช่” นี่เราฝึกให้รู้อย่างนี้
จิตก็เหมือนนักเรียนคนหนึ่ง นักเรียนมีหน้าที่เรียน เรียนรู้เรื่องธรรมชาติไป ถ้าจะ
เรียนเรื่องป่าดงดิบก็ต้องไปศึกษาที่ป่าดงดิบ
หากเราจะศึกษากาย ศึกษาใจ ก็คอยดู คอยสังเกตไปว่า กายเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวหายใจ
เข้าเดี๋ยวหายใจออก เดี๋ยวท้องพอง เดี๋ยวท้องยุบ เดี๋ยวนั่ง เดี๋ยวยืน เดี๋ยวเดิน เดี๋ยวนอน เดี๋ยว
ปวดหลัง ปวดแข้งปวดขา ส่วนใจก็รู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ เดี๋ยวสุข เดี๋ยวทุกข์ เดี๋ยวฟุ้งซ่าน
เดี๋ยวอิจฉา พอเห็นหน้าคนนี้ก็ด่าเขา บางทีเห็นแล้วก็ชอบก็มี แล้วแต่ นี่ให้เห็นกายใจมัน
ทำงาน เป็นนักศึกษากายนักศึกษาใจ
เดี๋ยวเราก็คิดว่า เราสำคัญ เดี๋ยวก็คิดว่า เราดี ก็ให้ดูไปว่า มันรู้สึกอย่างนี้ คิดอย่างนี้
ศึกษาไปจนเข้าใจ ไม่ได้ศึกษาเพื่อจะเอาอะไร แต่ศึกษาเพื่อให้รู้ว่า ที่คิดว่าใช่ทั้งหมดนั้น มัน
ไม่ใช่ จำได้ง่ายนิดเดียวว่า ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ จบเลย

ที่ยากคือจิตไม่ยอมรับ แล้วบางคนก็ไปทำให้มันยากกว่าเดิมด้วย คือไปปรุงให้มันมี
เรื่องมากกว่าเดิม ไปปรุงอันที่ไม่ใช่มากไปเรื่อยๆ เช่น เป็นคนดีมากขึ้น สงบมากขึ้น นิ่งมาก
ขึ้น ใกล้หลุดพ้นมากขึ้น
จริงๆ ต้องรู้ว่า กุศลก็ไม่ใช่เรา อกุศลก็ไม่ใช่เรา อัพยากตะก็ไม่ใช่เราอีกเหมือนกัน
เป็นธรรมะ เป็นธาตุ นี่ให้เรียนเพื่อให้เข้าใจอย่างนี้ เราเรียนแยกแยะเยอะๆ เพื่อให้รู้ว่า ไม่มี
ตัวเรา

ถาม – แล้วตัวรู้ล่ะ
ตอบ – ตัวรู้ก็ไม่ใช่เราอีกเหมือนกัน
ดูไปเรื่อยๆ มีอะไรก็ให้รู้ อย่าไปคิดให้ซับซ้อนมาก
การเรียนจึงไม่ยาก ศึกษากายศึกษาใจไปเรื่อยๆ แล้วก็จะรู้เอง หมายถึงจิตจะรู้เองนะ
ฟังคนอื่นหรือฟังผมนี่ก็ไม่รู้เรื่องหรอก คิดไปเองว่ารู้ และตัวที่คิดว่ารู้ก็ไม่ใช่เหมือนกัน
เพราะมันไม่ใช่เราทั้งหมด มันเป็นอนัตตา เป็นสิ่งว่างเปล่าจากตัวตน เมื่อไหร่เรารู้ว่า
ความรู้สึกว่ามีความรู้ก็ดี ความสงสัยก็ดี ไม่ใช่เรา มันจึงจะไม่เกิดการปรุงแต่งอะไรขึ้นมา
ใหม่ ถ้าเรายังไม่ยอมรับก็ยังเหมือนเดิม ได้ความรู้มาก็งงเหมือนเดิม
การศึกษาธรรมะในขั้นแรก จึงเป็นเรื่องให้เรารู้ทันการปรุงแต่งต่างๆ ที่ยึดขันธ์ 5 ว่า
เป็นตัวเรา ก็จะละความเห็นผิดนี้ไปได้


-----------------------------------------


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 26 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร