วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 02:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี 2 ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

เหตุปัจจัย

ปัจจัยที่เป็นมูลเหตุเสมือนรากเหง้าของสรรพสิ่ง


ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่เป็นฝ่ายมูลเหตุ "ผู้ให้อุปการะหรือการเกื้อกูล" ในที่นี้ หมายเอา เหตุ ๖ ประกอบด้วย โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ธรรมที่เป็นฝ่ายผล "ผู้รับอุปการะหรือรับการเกื้อกูล" ในที่นี้หมายเอา (๑) ส่วนที่เป็นนามธรรมกล่าวคือ จิตใจที่เป็นส่วนที่โลภะ โทสะ โมหะเข้าครอบงำ ซึ่งเรียกว่า "อกุศลจิต" และจิตใจที่เป็นส่วนที่นำโดย อโลภะ อโทสะ อโมหะ ซึ่งเรียกว่า "กุศลจิต" (๒) ส่วนที่เป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยจิตใจนั้น

โลภะ คือ ความโลภ, ความอยาก, ความเห็นแก่ตัว
โทสะ คือ ความโกรธ, ความเคียดแค้น, ความเครียด, ความเสียใจ
โมหะ คือ ความหลง, การไม่รู้ความจริง, การรู้ผิด, ความโง่เขลา
อโลภะ คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่, ความโอบอ้อมอารี
อโทสะ คือ ความไม่โกรธ, การมีเมตตาต่อผู้อื่น, ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
อโมหะ คือ ญาณปัญญา, การรู้แจ้งเห็นจริง

ธรรมดาว่า ต้นไม้ทั้งหลาย จะเจริิิญงอกงามผลิตดอกออกผลได้ ก็ต้องอยู่ที่มูลรากฉันใด บาปอกุศลและผลอันเป็นทุกข์ ย่อมถือกำเนิดเกิดขึ้นเพราะธรรมที่เป็นมูลเหตุซึ่งเปรียบเสมือนรากเหง้า ๓ ประการ คือ
โลภะ โทสะและ โมหะ บุญกุศลและผลอันเป็นสุข ย่อมถือกำเนิดเกิดขึ้นเพราะธรรมที่เป็นมูลเหตุซึ่งเปรียบเสมือนรากเหง้า ๓ ประการ คือ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ฉันนั้น นี่คือพระธรรมเทสนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้ในนามของความเป็นเหตุปัจจัยในคัมภีร์ปัฏฐาน

เพราะรากเหง้ากล่าวคือ โลภะเป็นเหตุ จึงก่อให้เกิดต้นไม้ที่ไม่ดี มีพิษ กล่าวคือ อทินนาทานคือการทำทุจริต ไม่ว่าจะเป็นการลักขโมย การฉ้อโกง การต้มตุ๋นสารพัด ทั้งโดยมโนกรรม(คิดวางแผนทุจริต ลักขโมย ฯลฯ) กายกรรมและวจีกรรม (การพูดจากหลอกลวง เป็นต้น)

เพราะรากเหง้ากล่าวคือ โทสะเป็นเหตุ จึงก่อให้เกิดต้นไม้ที่ไม่ดีมีพิษ กล่าวคือการเบียดเบียนทำร้ายซึ่งกันและกัน การกล่าววาจาหยาบช้ารดราดใส่กัน, ความเครียด, ความเขม่นกันและกัน, ความไม่สบายใจ, การลักขโมย, การหลอกลวงต้มตุ๋นกันและกัน, การพูดจาเพ้อเจ้อไร้สาระ

เพราะรากเหง้ากล่าวคือ โมหะเป็นเหตุ จึงก่อให้เกิดต้นไม้ที่ไม่ดีมีพิษมากมายหลากหลายชนิด กล่าวคือบาปอกุศลกรรมทั้งหมดทั้งปวง

ด้วยเหตุนี้ จึงขอให้สาธุชนทั้งหลายจงมีความเพียรพยายามกำจัดถอนรากเหง้ากล่าวคือ โลภะ โทสะ และโมหะ ๓ ประการนี้ให้จงได้ แล้วจงหมั่นปลูกรากงาม ๓ ประการ กล่าวคือ อโลภะ อโทสะ และ อโมหะ ให้เจริญงอกงามไพบูลย์ไว้ในขันธสันดานของตนๆ เถิด
......................................................................................................


อารัมมณปัจจัย

ธรรมที่เป็นอารมณ์ของจิตใจ

ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่เป็นฝ่ายอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้โดยจิตใจ) นั่นก็คืออารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส(โผฎฐัพพะ) และธรรมารมณ์

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ธรรมที่เป็นฝ่ายอารัมมณิกะ(จิตใจตัวที่รับรู้อารมณ์) นั่นก็คือ จิตที่เห็น, จิตที่ได้ยิน, จิตที่รู้กลิ่น, จิตที่รู้รส, จิตที่สัมผัส และจิตที่รู้ธัมมารมณ์

พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็นอารัมมณปัจจัยไว้ดังนี้ว่า "เพราะการปรากฎเกิดขึ้นแห่งอารมณ์ มีรูปารมณ์ เป็นต้น จึงทำให้เกิดจิตวิญญาณตัวรับรู้ เช่น เพราะการปรากฎแห่งรูป จึงทำให้เกิดการเห็น เพราะมีเสียงจึงทำให้ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

ทุกครั้งที่เกิดการบรรจบหรือกระทบกับอารมณ์ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ก็ให้เราฝึกฝนใช้สติพิจารณา(มองดู)อารมณ์นั้นด้วยหลักโยนิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักของการมองโลกในแง่ดี หากเรามองโลก(อารมณ์ที่มากระทบ)ในแง่ดีจิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบุญ เป็นกุศล หรือเป็นจิตที่งดงาม แต่ตรงข้าม หากเรามองโลกด้วยอโยสิโสมนสิการ ซึ่งเป็นหลักการมองโลกในแง่ร้าย จิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบาป เป็นอกุศล เป็นจิตมาร หรือกลายเป็นจิตเน่า

ยกตัวอย่าง ในเวลาที่เห็นพระพุทธปฎิมาหรือพระพุทธรูปซึ่งงดงามเหลืองอร่ามไปด้วยสีแห่งทองคำ นำมาซึ่งความน่าเสื่อมใสยิ่ง บางคนอาจเกิดจิตศรัทธาเลื่อมใส แต่บางคนอาจเกิดจิตทรามอยากจะไปลักขโมยขูดเอาทองคำไปขายก็ได้

บางคนอาจชื่นชมผู้ที่บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ แต่บางคนอาจมองในแง่ร้ายไม่พึงพอใจต่อบุคคลนั้น ก็ได้

ท่านทั้งหลายลองคิดดูซิว่า ความจริงแล้ว อารมณ์ก็อยู่ตามธรรมชาติของเขา ไม่สามารถมีอิทธิพลต่อความงามและความต่ำทรามให้กับจิตใจของเราได้ แต่เราเองไปปรุงแต่งจนเกิดเป็นจิตงามหรือไม่ก็จิตทราม ด้วยเหตุนี้การภาวะจิตไวม่ว่าจะดีหรือชั่ว จึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเราทั้งหลายเป็นสำคัญ (คือ หากเรามองอารมณ์นั้นในแง่ดี จิตเราก็จะดี หากมองในแง่ร้าย จิตใจก็จะร้าย)

ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะไปโทษอารมณ์ภายนอกใดๆ เพราะแม้จะมีรูปารมณ์อยู่ แต่หากเราไม่ดู เราก็ไม่เห็น แม้จะมีเสียง หากเราไม่เอาใจใส่ เราก็จะไม่ได้ยิน ดังนี้ เป็นต้น

สรุปว่า หากเราไม่เอาใจใส่ต่ออารมณ์ใดๆ แล้วไซร้ อารมณ์นั้นๆ ก็จะไม่มีบทบาทสำคัญหรือมีอิทธิพลเหนือจิตใจของเราได้ จึงควรที่จะโทษตัวเองเสียดีกว่าในฐานะที่ไม่สำรวมระวังด้วยสติสัมปชัญญะในการรับอารมณ์นั้นๆ

ด้วยเหตุนี้ เราท่านทั้งหลาย จงตระหนักให้ดีว่า อารมณ์มิได้เป็นผู้เนรมิตให้จิตเราดีหรือไม่ดี แต่โยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการต่างหากที่มันปรุงแต่งจิตใจของเรา เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราท่านทั้งหลาย จึงควรเลือกโยนิโสมนสิการมาใช้ในทุกครั้งทุกขณะที่จิตรับรู้อารมณ์ (ทั้งนี้ยกเว้นเวลานอน) เพื่อให้จิตมีสภาวะปกติไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ที่มากระทบนั่นเอง

พุทธคาถาเตือนใจ

ผุฎฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เขมํ เอตํ มงฺคลมุตฺตมํ.
........................................................................................................


อธิปติปัจจัย

ธรรมที่เป็นอธิบดีเกื้อหนุน


ปัจจยธรรม ได้แก่ อธิบดีธรรม ซึ่งประกอบด้วย อารมณ์ทั้งดีและไม่ดี ฉันทะที่รุนแรง และวิริยะอันยิ่งยวด จิตใจที่มุ่งมั่นและปัญญาที่เฉียบคม

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ สิ่งที่เป็นผลอันเนื่องมาจากอธิบดีธรรมนั้น เช่น การวางจิตไว้อย่างลุ่มลึกและความสำเร็จประการต่างๆ

อารมณ์ประเภทดีและประเภทที่ไม่ดีนั้น ท่านเรียกว่า "อารัมมณาธิปติ" อธิบดีอารมณ์(อารมณ์ผู้เป็นใหญ่) พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "การเกิดจิตดีหรือจิตเลวนั้น อาศัยอธิบดีอารมณ์เกิดขึ้น"

ในอธิบติปัจจัยนี้ ก็พึงทราบว่า มีลักษณะคล้ายกันกับในอารัมมณปัจจัยนั่นก็คือ เมื่อประสบกับอารมณ์ชนิดใดๆ ก็ตาม การที่เราเกิดอกุศลจิตนั้น มิได้ขึ้นอยู่กับอารมณ์เหล่านั้นแต่อย่างใด แต่ขึ้นอยู่กับกายและจิตของตนเท่านั้น ดังนั้น หากเราทั้งหลายได้ทำการสำรวมด้วยความระมัดระวัง (สติ+สัมปชัญญะ) แล้วไซร้่ ไม่ว่าจะประสบพบกับอารมณ์ชนิดใดก็ตาม ก็จะไม่มีจิตผูกโกรธ มีแต่จิตงามเท่านั้นที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การได้หรือการประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีฉันทะแรงกล้า มีวิริยะอย่างยิ่งยวด มีจิตใจมุ่งมั่นเต็มร้อย มีปัญญาแหลมคมนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า "สหชาตาธิบดี" [ธรรมที่เกิดร่วมกับธรรมอื่นและทำหน้าที่เป็นหัวหน้านำทางธรรมอื่นๆ]

สำหรับผู้ที่มีฉันทะ วีระยะ จิต และปัญญา(หรือวีมังสา) ที่ย่อหย่อนนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ไม่อาจประสบผลสำเร็จได้ ด้วยเหตุนี้ หากท่านทั้งหลายต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต จำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรม ๔ ประการดังกล่าว ให้เจริญงอกงามในขันธสันดานของตนให้มากๆ

ในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อเราได้เห็นพระพุทธรูปที่ถึงพร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ และได้มีโอกาสสวดสาธยายพระพุทธคุณแล้ว น้อมจิตเจริญรอยบำเพ็ญบารมีตามพระบรมศาสดาผู้ทรงเป็นพระจอมไตรในภพทั้ง ๓ ผู้ทรงผ่านการบำเพ็ญพระบารมีมาแล้วอย่างโชกโชน แต่ก็ไม่เคยทรงย่อท้อ ตรงข้ามกลับทรงมีพระฉันทะ พระวิริยะ อันแรงกล้า ทรงมีพระหทัยมุ่งมั่นเกินร้อย ทรงมีพระปรีชาญาณอันแหลมคม

นี่คือตัวอย่างการใช้อธิบติปัจจัยธรรมสร้างความสำเร็จแก่ตนเอง โดยยึคพระพุทธองค์เป็นต้นแบบ ในส่วนของศาสนิกชนอื่นๆ ก็พึงสร้างอธิบดีธรรมอันนำความซึ่งความสำเร็จโดยยึคการบำเพ็ญประโยชน์ การเสียสละของศาสดาของตนๆ เป็นแบบอย่างได้เช่นกัน

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้สามารถในการเอาชนะอารมณ์ร้ายทั้งปวง สามารถแปลงให้เป็นอารมณ์อันงดงามเท่านั้นเถิด

ขอให้ท่านทั้งหลายจงหมั่นเพาะปลูกดูแลประคบประหงมต้นไม้น้อย ๔ ต้น คือ ต้นฉันทะ ต้นวิริยะ ต้นจิต และต้นวีมังสา ให้เจริญเติบโตงอกงามไพบูลย์ มั่นคงสถาพรอยู่ในขันธสันดานของตนๆ เถิด

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัฎฐานในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์นันทสิริ ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู ....เขียน
จำรูญ ธรรมดา ธัมมาจริยะ, B.Ed. หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย...แปล

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2013, 09:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัจจัย ๒๔

อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


๑.
เหตุปัจจัย

เหตุปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นเหตุ

เหตุ มี กุศลเหตุ อกุศลเหตุ อพยากตเหตุ

อกุศลเหตุ คือ โลภะ โทสะ โมหะ ในอกุศลจิต
กุศลเหตุ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในกุศลจิต
อพยากตเหตุ คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ ในวิปากจิต และ กิริยาจิต

ในปัจจัย ๒๔ พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุปัจจัยไว้เป็นอันดับแรก เพราะธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่จะ
เกิดขึ้นมาในโลกนี้ได้นั้น ก็ต้องอาศัยเกิดขึ้นด้วยเหตุ ถ้าไม่มีเหตุแล้ว บรรดาสัตว์เหล่านั้นก็ย่อมไม่เกิด
ฉะนั้น เหตุนี้จึงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

เหตุเหล่านี้เหมือนรากแก้วของต้นไม้ เพราะเป็นรากเหง้าที่ทำให้ผลเกิดขึ้น ตั้งมั่น และเจริญขึ้น

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ต้นไม้ใหญ่ซึ่งตั้งอยู่้ได้เพราะอาศัยมีรากแก้วยึคไว้ให้ตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคง ถึงแม้ว่าจะมีลมพายุพัดมา
ทางทิศใดก็ตาม ก็ไม่ทำให้ต้นไม้นั้นล้มไปได้ และการที่ต้นไม้เจริญงอกงามขึ้น แตกกิ่งก้านสาขาออก
ดอกออกผลได้ ก็เพราะอาศัยรากแก้วนั้นเองมีหน้าที่ช่วยอุดหนุนให้เจริญงอกงามขึ้น

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับเหตุปัจจัย
อกุศลเหตุ เป็นปหาตัพพธรรม ธรรมที่ควรละ เหตุที่ละอกุศลเหตุได้ คือ กุศลเหตุเท่านั้น
กุศลเหตุ เป็นภาเวตัพพธรรม ธรรมที่ควรเจริญ และกุศลเหตที่ควรเจริญอย่างยิ่ง คือ
กุศลเหตุที่เป็นวิวัฏฏคามินีกุศล พ้นจากทุกข์สิ้นเชิง

อกุศลเหตุ เมื่อหยั่งรากลึกลงในจิตแล้ว ก็เป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรม - กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ก่อทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เช่น เมื่อมีโลภเหตุเป็นรากลึกของจิตแล้ว เมื่อเห็นสิ่งที่ใจทะยานอยาก
ก็เกิดอภิชฌาวิสมโลภะ - เพ่งเล็งอยากได้สิ่งนั้นอย่างไม่สมควร จ้องจะเอาไม่เลือกว่าควรหรือไม่ควร
กระทำการฉ้อฉลทุจริตต่างๆ เพื่อให้ได้สิ่งนั้นมาโดยไม่ชอบธรรม มีการคดโกง เป็นต้น

กุศลเหตุ ถ้าราำกไม่ลึกก็ไม่ปฏิบัติ เช่น ถ้าอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ มีกำลังไม่พอ
การทำทาน การใฝ่ใจศึกษาธรรม เป็นต้น ก็ไม่เกิดขึ้น ต่อเมื่อหยั่งรากลึกลงในจิตแล้ว ก็เป็นเหตุให้
ทำกุศลกรรม - กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต สร้างสรรค์ความสงบสุขแก่ตนเองและผู้อื่น เช่น

เมื่อมีอโลภเหตุเป็นรากลึกของจิต ก็ทำให้ไม่ตระหนี่ ทำทาน ช่วยเหลือแบ่งปัน มีเมตตาปราถนาให้
ผู้อื่นเป็นสุข

เมื่อมีอโทสเหตุเป็นรากลึกของจิต ก็ทำให้มีกรุณาปราถนาให้สรรพชีวิตพ้นจากทุกข์ มีมุทิตายินดี
ในความสำเร็จอันดีของผู้อื่น

เมื่อมีอโมหเหตุ (ปัญญา) เป็นรากลึกของจิต ก็วางจิตเป็นอุเบกขาในเหตุการณ์ต่างๆ ได้ เพราะ
แจ้งชัดว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน

กุศลเหตุ ทำให้กุศลจิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกันมีกำลังมั่นคงในการทำกุศลกรรม ที่เป็นมหากุศล
รูปกุศล อรูปกุศล อันเป็นวัฏฏคามินีกุศล คือ กุศลที่มีผลให้เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ, และที่เป็น
มรรคกุศลอันเป็นวิวัฏฏคามินีกุศล คือ กุศลที่นำออกจากวัฏฏะ

.... :b47: :b47: :b47:....
ไฟ..........เสมอด้วยราคะ........ไม่มี
โทษ.......เสมอด้วยโทสะ........ไม่มี
ทุกข์.......เสมอด้วยขันธ์ ๕.......ไม่มี
สุขอื่น....นอกจากความสงบ.......ไม่มี
(ธัมมบท คาถาที่ ๒๐๒)

จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2013, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๒.
อารัมมณปัจจัย

อารมฺิณปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอารมณ์


ความเป็นไปของชีวิตทุกขณะเริ่มต้นที่จิตรู้อารมณ์

อารมณ์ ในที่นี้มาจากศัพท์บาลีว่า อารมฺมณ แปลว่า เป็นที่ยินดีเป็นที่ยึคเหนี่ยว หมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้
(ไม่ได้หมายถึงอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอย่างที่ใช้ในภาษาไทย)

จิตทุกดวง ไม่มีจิตดวงใดเลยที่เกิดขึ้นโดยไม่มีอารมณ์

จิต จะเกิดขึ้นได้ ต้องมีอารมณ์ที่จิตรับรู้
จะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ - สิ่งที่ถูกต้องสัมผัสทางกาย
หรือธัมมารมณ์ - อารมณ์ทางใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่ยึคเหนี่ยว เช่น ถ้าจิตไม่ได้เหนี่ยวรับรูปารมณ์
จักขุวิญญาณก็เกิดขึ้นไม่ได้, ถ้าจิตไม่ได้เหนี่ยวรับธัมมารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้,
ถ้าจิตไม่ได้เหนี่ยวรับพระนิพพานเป็นอารมณ์ มรรค ผล ความดับทุกข์ ก็ไม่มี

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
บุคคลที่ชราหรือทุพพลภาพ ย่อมต้องอาศัยไม้เท้าหรือเชือกเป็นเครื่องยึคเหนี่ยวพอให้ทรงตัว ลุกขึ้น หรือ
เดินไปได้ ฉันใด

จิตและเจตสิกทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน ต้องมีอารมณ์เป็นเครื่องอาศัยยึคเพื่อเกิดขึ้น ฉันนั้น

:b51: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอารัมมณปัจจัย
๑. การรับรู้อารมณ์ด้วยโยนิโสมนสิการ
เมื่อจิตรับอารมณ์แล้ว จักปรุงแต่งเช่นไร เป็นกุศลหรืออกุศล ขึ้นอยู่กับเหตุ โดยเฉพาะโมหเหตุ
(ความหลง ความไม่รู้ อวิชชา) หรือ อโมหเหตุ (ปัญญา วิชชา)

ถ้าจิตรับรู้อารมณ์ด้วยโมหะ มิได้กระทำโยนิโสมนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาโดยแยบคาย
จิตจักไหลไปตามอารมณ์ เช่น ดูละครเศร้าก็ร้องไห้ ตลกก็ขำ

ถ้าจิตรับอารมณ์ด้วยปัญญา กระทำโยนิโสมนสิการ คือ ใส่ใจพิจารณาโดยแยบคาย มีสติไม่ไหล
ตามอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ที่ปรากฏ จิตจักไหลทวนกระแสไปสู่ความดับทุกข์ได้

ปุถุชนยินดีในการแสวงหาอารมณ์อันวิจิตร ส่วนผู้รู้ธรรมตามเป็นจริง มีความเห็นแจ้งในไตรลักษณ์
เป็นต้น หาไหลไปตามอารมณ์ทั้งหลายไม่ สมด้วยพระพุทธพจน์ที่ว่า

" ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความดำริของบุคคล ชื่อว่า กาม; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลาย
ในโลกไม่ชื่อว่ากาม

ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งความดำริของบุคคลชื่อว่ากาม; อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายใน
โลกยอ่มตั้งอยู่ตามสภาพของตน

ผู้มีปัญญาย่อมกำจัดความยินดีในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น."
(อังคุตตรนิกาย นิ๖ ป๒ ว๑ นิพเพธิกสูตร...มหามกุฏฯ อัง.๓๖/๓๓๔/๗๖๗)

ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดความยินดีในอารมณ์อันวิจิตรทั้งหลาย คือ อริยมรรคมีองค์ ๘

๒. การพัฒนาจิตให้รับอารมณ์ที่นำไปสู่กุศล
ถึงแม้ว่าอารมณ์จะเป็นผล - วิปากของกรรมที่เคยทำมา แต่เราก็สามารถพัฒนาสติปัญญาให้
สามารถรับอารมณ์ใดๆ ก็ตามในลักษณะที่ทำให้เกิดกุศลได้

ในมงคลสูตร พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนไม่ให้คบคนพาล ให้คบบัณฑิต ให้อยู่ในสถานที่ที่จะทำให้
ได้รับอารมณ์ที่ดี เพื่อจะได้รู้ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรทำให้แจ้ง อะไรเป็นข้อที่ควร
ประพฤติทางกาย วาจา ใจ ที่จะทำให้ชีวิตพ้นจากทุกข์ในวัฏฏสงสาร.

:b50: :b50: :b50:
จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2013, 13:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๓.
อธิปติปัจจัย

อธิปติปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นอธิบดี

อธิปติ แปลว่า เป็นใหญ่

อธิปติปัจจัย หมายความว่า มีธรรมที่เป็นใหญ่เป็นปัจจัย
ที่ว่า "เป็นใหญ่" นี้มี ๒ นัยคือ
นัยที่ ๑ เป็นใหญ่กว่าธรรมที่เกิดร่วมกับตน เรียกว่า สหชาตาธิปติปัจจัย
นัยที่ ๒ เป็นใหญ่ในฐานะเป็นอารมณ์ที่ดี (อิฏฐารมณ์) และมีสภาพที่น่าใฝ่ใจเป็นพิเศษ เรียกว่า
อารัมมณาธิปติปัจจัย

:b46: สหชาตาธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติปัจจัย ได้แก่ อธิบดี ๔ คือ
๑. ฉันทาธิปติ มีความพอใจ เป็นใหญ่
๒. วิริยาธิปติ มีความเพียร เป็นใหญ่
๓. จิตตาธิปติ มีจิตมุ่งมั่น เป็นใหญ่
๔. วีมังสาธิปติ มีปัญญา เป็นใหญ่

การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอธิปติปัจจัย
ในพระสูตร ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วีมังสา อยู่ในหมวดธรรมอิทธิบาท - ธรรมที่เป็นเครื่องให้ถึงความสำเร็จ
แห่งผลที่มุ่งหมาย

ในพระอภิธรรม ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วีมังสา ที่เป็นอิทธิบาทเป็นธรรมหมวดหนึ่งในโพธิปักขิยธรรม ๓๗
- ธรรมที่เกื้อกูลแก่การบรรลุมรรคผล ธรรมอันเป็นเครื่องให้รู้แจ้งอริยสัจจ์๔

ส่วนฉันทะ วิริยะ จิตตะ ที่เป็นอธิบดี เป็นปัจจัยให้จิตที่ประกอบกับตน ปรุงแต่งความรู้สึกนึกคิดที่เป็น
กุศลก็ได้ เป็นอกุศลก็ได้ เป็นอพยากตะก็ได้ เช่น วิริยะ - ความเพียร เพียรชั่วก็ได้ เพียรดีก็ได้
ดังนั้น จึงต้องมีปัญญาที่จะให้อธิบดีเหล่านี้เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดสาธิปติชวนะที่เป็นกุศล

ส่วนวีมังสาธิปติ ย่อมเกิดกับกุศลและอพยากตะที่เป็นญาณสัมปยุตต์ คือ ประกอบด้วยปัญญา เช่น
ผู้ศึกษาเล่าเรียนธรรม ใช้ปัญญาพิจารณาธรรมอย่างเต็มที่ วีมังสา (ปัญญา) ก็เป็นอธิบดีช่วยอุปการะ
ให้เกิดมหากุศลญาณสัมปยุตตจิต, พระอรหัต์แสดงธรรมโดยใช้ปัญญาอย่างยิ่งเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความ
เข้าใจ วีมังสาก็เป็นอธิบดีช่วยอุปการะให้เกิด มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต

ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วีมังสา ในขณะที่ทำหน้าที่เป็นอธิบดี มีความเป็นใหญ่แต่ผู้เดียว
ธรรมที่เป็นสหชาตาธิปติทั้ง ๔ นี้ จึงมิได้ทำหน้าที่เป็นอธิบดีพร้อมกัน เมื่อเจตสิกหนึ่งเป็นอธิบดี
เจตสิกอีก ๓ ที่เหลือก็เป็นเพียงเจตสิกที่เกิดร่วมกัน เช่น เมื่อ วิริยะเป็นอธิบดี ฉันทะ จิตตะ วีมังสา
ที่ประกอบก็มิได้ทำหน้าที่เป็นอธิบดี ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอุปมาอธิปติปัจจัยว่า

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ประเทศหนึ่งๆ ต้องมีพระราชาเป็นผู้ปกครองประเทศเพียงองค์เดียว บุคคลที่เหลือเหล่านั้นต้องอยู่
ภายใต้อำนาจของพระราชาทั้งสิ้น ข้อนี้ฉันใด องค์ธรรมที่เป็นอธิบดี ก็ฉันนั้น จะทำหน้าที่เป็นใหญ่
เป็นผู้ปกครองแก่ธรรมทั้งหลายพร้อมกันทีเดียวนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เช่นกัน

อุปมานี้ให้ข้อคิดด้วยว่า ไม่มีใครสิ่งใดเป็นใหญ่ได้ถาวร สมบัติมีไว้ผลัดกันเชยชม พึงใช้สมบัติ
อำนาจหน้าที่ที่กำลังมีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เมื่ีอถึงคราวต้องละสิ่งเหล่านี้ไป ก็พึงละไป
อย่างสง่างามด้วยใจที่รู้จักวาง

:b46: อารัมมณาธิปติปัจจัย
อารัมมณาธิปติปัจจัย หมายถึง อารมณ์ที่น่ายินดีน่าปรารถนาเป็นปัจจัยคือช่วยอุปการะ ทำให้จิตที่
รับรู้อารมณ์นั้น จะเป็นกุศลจิตก็ีดี อกุศลจิตก็ดี มีความฝักใฝ่อย่างยิ่งในอารมณ์นั้น

จิตที่ฝักใฝ่อารมณ์ในลักษณะอกุศล เช่น ขณะฟังธรรม มีราคะลุ่มหลงในเสียงที่ได้ยิน ในบุคคลที่-
กล่าวธรรม

จิตที่ฝักใฝ่อารมณ์ในลักษณะกุศล เช่น ขณะฟังธรรม กระทำโยนิโสมนสิการ ใส่ใจพิจารณาโดย
แยบคายในธรรมที่ฟัง เกิดปัญญาเห็นแจ้งในธรรม บรรลุมรรคผลได้ ฉะนั้น เราพึงพัฒนาจิตให้ฝักใฝ่
ในอารมณ์ที่ยังให้เกิดกุศล

อารมณ์ที่ประเสริฐสูงสุด คือ พระนิพพาน

มรรคจิตมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมประหาณกิเลส ถอนรากถอนโคนเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ได้

.... :b50: :b50: :b50: ....
จิตของผู้ใด เปรียบดังภูเขาหิน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว
ไม่กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ไม่โกรธเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความโกรธเคือง
จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่ไหน
(มหามกุฏฯ อุทาน ๔๔/๙๖/๔๒๖)

จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.ค. 2013, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป

เหตุปัจจัย (น-->นร)
เหตุ๖ --> สเหตุกจิต๗๑, เจ.๕๒(เว้นโมเจ.ที่ในโม.๒), สเหตุกจิตตชรูป, สเหตุกปฏิสนธิกัมมชรูป

อารัมมณปัจจัย (บนร-->น)
จิต๘๙, เจ.๕๒, รูป๒๘ นิพพาน, บัญญัติ --> จิต๘๙, เจ.๕๒

อธิปติปัจจัย (นร-->นร)
:b46: สหชาตาธิปติ (น-->นร)
อธิบดีองค์ธรรม๔ --> สาธิปติชวนะ๕๒ (คือชวนะ๕๕เว้นโมห.๒หสิ.๑), เจ.๕๑, สาธิปติจิตตชรูป

:b46: อารัมมณาธิปติ (นร-->น)
อฎิฐนิปผันนรูป๑๘, จิต๘๔, เจ.๔๗, นิพพาน --> โลภ.๘, มหากุ.๘, มหากิ.สํ๔, โลกุต๘, เจ.๕๕

:b44: :b44: :b44:

:b42: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐานโดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)

๑. เหตุปัจฺจโยติ
เหตู เหตุสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฐานานญฺจ รูปานํ เหตุปจฺจเยน ปจฺจโย.
........บทนี้ต้องจำหมด

๒. อารมฺมณปจฺจโยติ
๑. รูปายตนํ จกฺขุวิญฺญาณธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ อารมฺมณปจฺจเยน ปจฺจโย.
........จำข้อ ๑. ไว้เป็นหลัก และนำมาขยาย ข้อ.๒-๗ ในคำสวดสีนี้ข้อ ๑.
๒. สทฺทา-โสต... ๓. คนฺธา-ฆาน... ๔. รสา-ชิวฺหา... ๕. โผฏฺ-กาย...
๖. รูปา สทฺทา คนฺธา รสา โผฎ-มโนธาตุยา....
๗. สพฺเพ ธมฺมา มโนวิญฺญาณธาตุยา....
๘. ยํ ยํ ธมฺมํ อารพฺภ เย เย ธมฺมา อุปฺปชฺชนฺติ จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา เต เต ธมฺมา, เตสํ เตสํ ธมฺมานํ อารมฺมณปจฺเยน ปจฺจโย.

๓. อธิปติปจฺจโยติ

๑. ฉนฺทาธิปติ ฉนฺทาสมฺปยุตฺตกานํ ธมฺมานํ ตํสมุฏฺฐานานญฺจ รูปานํ อธิปติปจฺจเยน ปจฺจโย.
..........จำข้อ ๑. ไว้เป็นหลัก และนำมาขยาย ข้อ.๒-๔ ในคำสวดสีนี้ข้อ ๑.
๒. วีริยาธิปติ........๓. จิตฺตาธิปติ......๔.วีมํสาธิปติ
๕. ยํ ยํ ธมฺมํ ครุ ํ กตฺวา เย เย ธมฺมา อุปฺปชฺชนฺติ จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา, เต เต ธมฺมา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ อธิปติปจฺจเยน ปจฺจโย.
(ครุํํ ํ อ่าน คะรุง)


:b8: :b8: :b8:

บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

เชิญอ่านต่อ ปัจจัยที่ ๔
ปัฎฐานในชีวินประจำวัน + อุปมา และการศึกษาปฏิบัติ กระทู้ที่ ๓
viewtopic.php?f=66&t=41816


:b42: เชิญคลิ๊กดูภาพแสดงภาพอุปมาทั้ง 24 ปัจจัย
http://beibay.wordpress.com/

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร