วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 00:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ม.ค. 2013, 14:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
อยากได้รับผลที่ดี เราก็มีสิทธิ์ทำได้
โดย....พระอาจารย์วรฤทธิ์ โอภาโส (หน้าเพจ)

เจริญพร วันนี้จะได้เขียนเรื่อง กรรมวิบาก ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายท่านให้ความสนใจ และอยากทราบในหลายเรื่อง เช่น การตัดกรรมทำได้หรือไม่ และอยากให้กรรมวิบากที่ไม่ดีหมดไปจะต้องทำอย่างไร สิ่งแรก เราต้องรู้จักกับคำ ๓ คำ คือ คำว่า กิเลส กรรม วิบาก เสียก่อน กิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดีที่ปรุงแต่งจิตของเราให้เป็นอกุศลและทำให้เราทำกรรมใหม่ขึ้นมา ส่วนกรรม คือการกระทำในสิ่งใหม่ที่เราทำขึ้นมา มีสองฝ่ายคือกุศลกรรมและอกุศลกรรม ซึ่งเมื่อทำแล้วจะส่งเป็นวิบากที่ดีและไม่ดีในอนาคตต่อไป ดังนั้นวิบากจึงเป็นผลที่เกิดมาจากกรรมที่เราได้ทำสำเร็จแล้วนั่นเอง หวังว่าคงพอเข้าใจ เมื่อเขียนเรื่องนี้แล้วจึงมีอีกเรื่องที่ควรทำความเข้าใจ คือ ในอดีตเราได้กระทำกรรมไว้แล้วทั้งกุศลหรืออกุศลและกรรมเหล่านั้นได้ชื่อว่าเป็น อดีตเหตุ อดีตเหตุของทุกคนจึงมีทั้งที่ดีและไม่ดี ต่อมาอดีตเหตุนี่เองส่งผลมาในปัจจุบันทำให้ประสบกับวิบากที่ดีหรือไม่ดีชื่อว่า ปัจจุบันผล เมื่อเรารับปัจจุบันผลที่ดีหรือไม่ดีแล้ว เรารู้สึกอย่างไรกับผลที่ได้รับ เมื่อจิตใจรู้สึกดีเราจึงทำกุศลกรรมใหม่ แต่ถ้ารู้สึกไม่ดีเราจึงทำอกุศลกรรมใหม่ ทั้งกุศลหรืออกุศลที่ทำใหม่ในปัจจุบันนี้ชื่อว่า ปัจจุบันเหตุ แล้วปัจจุบันเหตุนี้แหละจะรอเวลาไปส่งผลในอนาคตชื่อว่า อนาคตผล ต่อไป ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเห็นว่าอดีตเหตุสำเร็จแล้ว แม้ว่าถ้าเราอยากแก้ไขก็ทำไม่ได้ ส่วนปัจจุบันผลเป็นวิบากที่กำลังเกิดขึ้นได้รับอยู่ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องทำใจยอมรับ ตั้งสติรับให้ดีทั้งผลดีหรือผลไม่ดีก็ตาม ส่วนอนาคตผลเราเลือกให้เป็นผลที่ดีได้โดยการทำปัจจุบันเหตุให้ดีแล้วผลก็จะดีตาม ดังนั้นจะเห็นว่า สิ่งที่เราจะทำให้ดีที่สุดมีได้อย่างเดียว คือทำปัจจุบันเหตุให้ดีที่สุดเพื่อให้อนาคตของเราได้รับผลดีต่อไป แต่บุคคลต่างๆในปัจจุบันเมื่อได้รับผลที่ไม่ดีมักจะทนไม่ได้ โวยวายและไม่พอใจ มักต้องการให้วิบากที่ไม่ดีหมดไปและอยากให้สิ่งต่างๆหรือบุคคลต่างๆเป็นไปตามที่เราต้องการ ทั้งๆที่ขนาดตัวเรายังไม่สามารถบังคับตัวเราให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ แล้วเราจะไปบังคับคนอื่นให้เป็นไปตามที่ใจเราต้องการยิ่งเป็นสิ่งที่ยากยิ่งกว่าเสียอีก

ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เตรียมใจเสมอว่าแม้เราจะได้รับผลที่ดีหรือไม่ดีครั้งใดเราจะต้องทำใจของเราให้เป็นกลางที่สุด ไม่ยินดีพอใจหลงระเริงกับสิ่งดีๆที่ได้รับ ไม่รู้สึกผิดหวังเสียใจกับสิ่งที่ไม่ดีที่ได้รับ ต้องฝึกหัดทำใจอยู่เสมอ แล้วเราจะมีชีวิตที่เป็นสุขไม่ว่าเราจะกำลังได้รับสิ่งที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม นอกจากนี้ต้องตั้งใจไว้ว่า ไม่ว่าเราจะได้รับสิ่งดีหรือไม่ดีก็ตาม เราจะต้องมีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้นเป็นฝ่ายดีคือ เป็นกุศลจิตโดยส่วนเดียว คล้ายๆนางเอกในละครน้ำเน่าของเมืองไทย เพราะนางเอกเหล่านั้นไม่ว่าใครจะปองร้ายหรือทำร้ายนางเอกหนักหนาสาหัสเพียงใด แต่สุดท้ายแล้วนางเอกก็จะให้อภัยเสมอและคอยช่วยเหลือหวังดีกับเขาเสมอไป ซึ่งในปัจจุบันหลายท่านบอกว่าใช้ไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน เพราะปัจจุบันนี้ต้องตาต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันศีลธรรมและคุณธรรมของบุคคลต่างๆลดน้อยลงไป ให้อภัยกันไม่ได้ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้าสอนให้เราให้อภัยกันว่าเป็นการให้ที่ประเสริฐที่สุด และเรามีละครที่เรามักเรียกว่าน้ำเน่าเป็นตัวอย่างให้เห็นแท้ๆแต่ไม่ทำตาม และยังกล่าวหาว่าบุคคลเหล่านั้นที่อดทนไม่โต้ตอบบุคคลอื่นว่าเป็นคนที่ขี้ขลาด อ่อนแอ แล้วอย่างนี้ชีวิตจะมีความสุขได้อย่างไร ชีวิตที่มีความสุขต้องเป็นชีวิตที่ร่ำรวย มีครอบครัวอบอุ่นหรืออย่างไร ไม่ใช่เลย ชีวิตที่มีความสุขคือชีวิตที่เราพอใจและยอมรับกับสิ่งที่เราได้รับเสมอไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม มีความสุขกับสิ่งที่กำลังได้รับอยู่ และทำสิ่งใหม่ให้ดีที่สุด

ซึ่งการทำสิ่งใหม่จะดีหรือไม่ดีก็เพราะกิเลสที่เรายังมีกันอยู่ กิเลสนี้อาจจะพาเราไปทำกุศลหรืออกุศลก็ได้ ซึ่งโดยส่วนมากมักพาเรากระทำอกุศล ดังนั้นเราจึงต้องมาปรับปรุงตรงนี้ ตรงที่จะต้องทำให้กิเลสนั้นพาเราไปทำสิ่งที่ดีเป็นกุศลให้ได้ ซึ่งกุศลหรืออกุศลที่เราทำนั่นแหละชื่อว่า กรรม และกรรมที่ทำแล้วจะส่งเป็นวิบากในอนาคต จะเห็นได้ว่า เพราะมีกิเลสจึงทำกรรม เพราะทำกรรมจึงได้รับวิบาก เมื่อได้รับวิบากจึงเกิดกิเลส วนเวียนอย่างนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่า วัฏฏะ นั่นเอง กิเลสที่อยู่คู่กับตัวเราเป็นต้นเหตุของการเวียนว่ายตายเกิดและเป็นต้นเหตุของการกระทำกรรมและการได้รับวิบากนั่นเอง บุคคลทั้งหลายจึงยังเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร เพราะยังมีกิเลสนั่นเอง หวังว่าบทความนี้จะช่วยกระตุ้นเตือนให้ทุกท่านมีสติและหันกลับมาสำรวจดูใจของตนเพื่อระมัดระวังไม่ให้กิเลสในใจตนพาให้ตัวเรามีความทุกข์ แต่ต้องพาให้เรามีความสุขโดยอยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด วิบากที่ได้รับในปัจจุบันต้องตั้งสติยอมรับให้ได้มากที่สุดและทำกรรมใหม่ในปัจจุบันนี้ให้เป็นกุศลให้มากที่สุด แล้วในอนาคตย่อมได้รับผลดีดังที่เราต้องการ ขอให้ทุกท่านจงได้รับประโยชน์จากการอ่านบทความนี้ให้มากที่สุดด้วย เจริญพร

:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 14 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร