วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2012, 08:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
:b44: :b44: :b44:

ในกระทู้นี้จะมี 2 ส่วนคือ
๑. ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
๒. ปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ



:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัฏฐานในชีวิตประจำวัน

๔-๕
อนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
ธรรมที่เพิ่งดับไปก็มีพลังส่งให้ธรรมกลุ่มเดียวกันเกิดขึ้นได้


ปัจจยธรรม ได้แก่ จิตทั้งหลายที่เกิดก่อนแล้วเพิ่งดับไปโดยไม่มีกลุ่มจิตประเภทอื่นเกิดมาคั่นในระหว่าง

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ จิตทั้งหลายที่เกิดขึ้นภายหลังจากปัจจยธรรมนั้น โดยที่ยังไม่มีกลุ่มจิตประเภทอื่นมาคั่นในระหว่าง

พระพุทธองค์ทรงแสดงกฏแห่งธรรมข้อนี้ไว้ว่า "เมื่อจิตดวงก่อนๆ ดับย่อมเห็นปัจจัยให้จิตดวงหลังๆ ที่เป็นประเภทเดียวกันเกิดขึ้นต่อๆ กันไป อย่างชนิดที่ไม่มีจิตประเภทอื่นใดมาคั่น ทำให้มองเห็นราวกะว่า กลุ่มจิตเหล่านั้นเป็นดวงเดียวกันฉันนั้น นี้แล คือ กฏแห่งอนันตรปัจจัย"

ธรรมดาว่าจิตใจของมนุษย์ ย่อมหลุกหลิก ไม่นิ่ง ไม่สงบ เหมือนกับลิงจากต้นโน้นไปสู่ต้นนี้ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา จากอารมณ์นี้ไปหาอารมณ์โน้น จากอารมณ์โน้นมาหาอารมณ์นี้ วอกแวกอยู่ตลอดเวลา

เดี๋ยวเป็นบุญ เดี๋ยวก็เป็นบาป เดี๋ยวคิดดี ประเดี๋ยวคิดชั่ว แม้แต่ในเวลาบริจาคทาน ก็อาจแวบเกิดความตระหนี่ขึ้นเอาดื้อๆ นี้แลคือธรรมชาติของจิตนั่นก็คือ "ลหุปริวตฺติตํ เปลี่ยนแปลงง่าย" เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย

บางท่าน พยายามหักดิบบาปแล้วปลูกสร้างจิตสำนึกที่ดีเป็นบุญเป็นกุศลให้เจริญงอกงามไพบูลย์ในขันธสันดานของตน

แม้ในการทำบุญกุศล ก็อาจทำให้เราทั้งหลายเกิดความท้อใจได้ เช่น เราพยายามทำดี แต่ไม่ได้ดี ข้อนี้อาจทำให้เราท้อได้เช่นกัน เมื่อดีไม่ดีก็อาจทำให้เกิดแนวคิดที่ผิดขึ้นมา เช่น อาจคิดว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" ดังนี้เป็นต้น ในที่สุด จิตที่คิดจะทำดี ก็อาจมลายสูญสิ้นไปจากขันธสันดานของบุคคลนั้นเลยก็ได้

ด้วย เหตุนี้ ท่านทั้งหลายจึงควรมีโยนิโนสมนสิการ มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมโลก ตั้งจิตอุทิศและหมั่นบำเพ็ญสาธารณกุศลให้มั่นคงอย่าได้ไหวหวั่นต่อลมปากคำ พูดถากถางของคนอื่น มุ่งมั่นทำความดีตามที่ตนเห็นว่าดีและมีประโยชน์ เพราะนี่คือการทำดีที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างแท้จริง

เมื่อเห็นประโยชน์เช่นนี้แล้ว ก็จงกล้าที่จะเผชิญกับความทุกข์ยากและอุปสรรคนานัปการ สมดังที่พระพุทธองค์ท่านทรงแสดงไว้ว่า"อตฺถวสิเกน ภิกฺขเว อลํ อุปคนฺตํุ ดู ก่อนภิิิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเห็นว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นี้มีประโยชน์จริง ก็จงอย่าท้อ จงกล้าที่จะเผชิญและกล้าที่จะยอมรับกับความทุกข์ยากอันอาจเกิดขึ้นได้เพราะ การบำเพ็ญประโยชน์นั้นเถิด"

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้สามารถขจัดปัดเป่าทั้งจิตเก่าจิตใหม่ที่ไม่ดี ให้กลับกลายสภาพเป็นจิตดีมีพลังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ดุจกระแสสายธารแห่งคงคาที่ไหลบ่าอยู่อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีวันหยุดเถิด

............................................................................


สหชาตปัจจัย
ธรรมที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ธรรมที่เกิดร่วม


ปัจจยธรรม ได้แก่ ธรรมที่ให้การอุปการะแก่ผลซึ่งเกิดพร้อมกับตน

ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ธรรมที่รับการอุปการะจากสหชาตของตน

พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า "ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จนั้น การทำหน้าที่ของตนๆ ตามทีู่ถูกมอบหมายด้วยความรับผิดชอบอยู่นั่นแหละ ได้ชื่อว่าเป็นการเกื้อกูลด้วยสหชาตปัจจัย

พูดตรงๆ ตามหลักอภิธรรม ก็คือ ในการทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น การเข้าร่วมทำงานกับธรรมทั้งหลาย เช่น เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ดี การขับเคลื่อนของรูปขันธ์ไปตามกิจนั้นๆ ก็ดี ได้ชื่อว่าเป็นลักษณะของการเกื้อกูลด้วยสหชาตปัจจัย แม้ในการทำบาป ก็พึงทราบโดยทำนองเดียวกันนี้แล

ในร่างกายหรือรูปขันธ์ ซึ่งเกิดจากธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นพึงทราบว่า การปฏิบัติงานร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงกันของธาตุทั้ง ๔ จนทำให้ร่างกายนั้น มีพละกำลังแข็งแรงมีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข ก็เป็นผลของการเกื้อกูลกัน

ในฐานะผู้เกิดร่วมกันที่มีการร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งหากธาตุทั้งสี่ ไม่สม่ำเสมอกัน อาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยอาพาธได้ ซึ่งนั่นก็เป็นผลที่มาจากสหชาตปัจจัย เช่นกัน

ดังนั้น ท่านทั้งหลายจึงควรใช้ชีวิตเป็นอยู่โดยพยายามปรับสภาพธาตุทั้งสี่ให้มีความสมดุลย์เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

ความเป็นสหชาตปัจจัยนั้น สามารถอุปมาเหมือนกับการก่อตั้งองค์กรหรือสมาคม ซึ่งโครงสร้างที่ประกอบด้วยคณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ต่างๆ ซึ่งตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานร่วมกันเป็นทีม ก็การร่วมด้วยช่วยกันแบบทำงานเป็นทีมนั้นแลชื่อว่า เป็นลักษณะของการทำงานตามระบบของสหชาตปัจจัย

ท่านทั้งหลายจึงควรทำความเข้าใจถึงระบบการทำงานของสหชาตปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการทำกองกุศลให้บังเกิดขึ้น ก็ดี การใช้ชีวิตให้ธาตุทั้ง ๔ เป็นไปอย่างสมดุลย์ ก็ดี หรือการร่วมด้วยช่วยกันทำคุณประโยชน์อย่างพร้อมเพรียงกัน ก็ดี ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

จงทำีดีแต่อย่าเด่น จะเป็นภัย จงร่วมกายร่วมใจช่วยกันขยันทำความดี หลบลี้หนีความชั่ว และมีจิตมั่นคง ตั้งมั่นในกุศลทั้งปวงเถิด

............................................................................


อัญญมัญญปัจจัย
ธรรมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


ปัจจยธรรม+ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ กลุ่มธรรมที่เป็นทั้งเหตุและผล สลับกันไปมา ให้กับกันและกัน

การเกิดโดยความเป็นเหตุเป็นผลต่อกันและกัน ระหว่างเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณทั้งหลาย ซึ่งได้แสดงไปแล้วในสหชาตปัจจัยนั้น พระพุทธองค์ท่านทรงเรียกว่า "การเกื้อกูลในรูปแบบของอัญญมัญญปัจจัย"

เมื่อเกิดสัมผัส ก็เกิดเวทนาความรู้สึก สัญญาทำหน้าที่บันทึกข้อมูลนั้นไว้ ยิ่งเจ็บ ยิ่งจำ ยิ่งจำ ก็ยิ่งเจ็บ นี้แหละคือตัวอย่างของความเป็นอัญญมัญญปัจจัยระหว่าเวทนากับสัญญา

ในการทำงานของคนเรา ก็เช่นเดียวกัน คือ ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ความมีเหตุผล จนสามารถแยกแยะว่า อะไรควรทำ ไม่ควรทำ ความสามารถในการตัดสินวินิจฉัย การมีเจตนามุ่งมั่นในการทำงานให้มีประสิทธิภาพจนก่อให้เกิดประสิทธิผล กล่าวคือ ความสำเร็จในการงานต่างๆ นั้น ก็พึงทราบว่าเป็นลักษณะความถึงพร้อมแห่งอัญญมัญญปัจจัยนั่นเอง

คนเราเกิดมาต้องพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นี่ก็เป็นลักษณะของอัญญมัญญปัจจัย ซึ่งหากเป็นไปในทางที่ดีเป็นบุญเป็นกุศล ก็กล่าวได้ว่าเป็นอัญญมัญญปัจจัยในทางที่ดี (กุศลอัญญมัญญปัจจัย) แต่ถ้าหากเป็นไปในทางที่ไม่ดี ร่วมกันทำความชั่ว ก็จะเป็นลักษณะของอกุศลอัญญมัญญปัจจัย

สรุปว่า ในสังคมโลกปัจจุบันนั้น การร่วมด้วยช่วยกัน การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นในหน้าที่การงาน หรือความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจในการช่วยเหลือสังคม ช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยความมุ่งมั่น โดยไม่เห็นแ่ก่ความเหน็ดเหนื่อยใดๆ กิจกรรมเหล่านี้ก็ล้วนแต่เป็นการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของความเป็นอัญญมัญญปัจจัยทั้งสิ้น

อย่างน้อยๆ การช่วยเหลือกันระหว่างบุคคลในครอบครัว เช่น พ่อช่วยแม่ แม่ช่วยพ่อทำงาน ลูกช่วยพ่อแม่ พ่อแม่ช่วยเหลือลูก สามีช่วยภรรยา ภรรยาช่วยสามี ทำหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบโดยไม่ขาดตกบกพร่อง เหล่านี้ก็ล้วนเป็นลักษณะของอัญญมัญญปัจจัยทั้งสิ้น

จึงขอให้ท่านทั้งหลาย จงเข้าใจและซาบซึ้งในการเกื้อกูลซึ่งกันและกันด้วยว่า บนโลกใบนี้ไม่มีใครเก่งกว่าใคร อย่าลืมว่าธรรมชาติสร้างพวกเรามาก็เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน คนเราจึงมีความถนัดและเก่งกล้าสามารถไม่เหมือนกัน

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำพาโลกให้อยู่อย่างสงบร่มเย็นเถิด

............................................................................

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัฎฐานในชีวิตประจำวัน พระอาจารย์นันทสิริ ธัมมาจริยะ ปาฬิปารคู ....เขียน
จำรูญ ธรรมดา ธัมมาจริยะ, B.Ed. หัวหน้าฝ่ายวางแผนและวิชาการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย...แปล

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51: :b51:

:b42: ปัจจัย ๒๔

อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ


๔.
อนันตรปัจจัย


อนนฺตรปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่น

อนัตตระ แปลว่า ไม่ช่องว่างในระหว่าง ไม่มีอะไรมาคั่น

อนันตรปัจจัย หมายความว่า จิตเจตสิกที่เกิดขึ้นก่อน เป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกที่เกิดหลังๆ เกิดขึ้น
สืบต่อกับจิตดวงก่อนโดยไม่มีอะไรมาคั่น และจิตเจตสิกที่เกิดหลังนี้ ก็กลับเป็นปัจจัยให้เกิด
จิตเจตสิกดวงใหม่โดยไม่มีอะไรมาคั่น

เมื่อจิตดวงที่ ๑ ดับไป จิตดวงที่ ๒ ก็เกิดขึ้น
เมื่อจิตดวงที่ ๒ ดับไป จิตดวงที่ ๓ ก็เกิดขึ้น


ดับ - เกิด - ดับ - เกิด ......ติดต่อกันไปไม่ขาดสายในสังสารวัฏอันยาวนานหาประมาณไม่ได้
เมื่อจุติจิตดับลง ปฏิสนธิจิตก็เกิดขึ้นทันที ยกเว้นจุติจิตของพระอรหันต์ ไม่มีปฏิสนธิจิตต่อ
เพราะพระอรหันต์ไม่เกิดอีก สังสารวัฏของท่านสิ้นสุดแล้ว

การดับ - เกิดติดต่อกันไปของจิตโดยไม่มีระหว่างคั่นนี้ เป็นไปตามจิตตนิยาม คือ เป็นไปในลำดับ
ของตนๆ ไม่สับสนกัน เช่น ในจักขุทวารวิถี
เมื่อ อตีตภวังค์.................ดับลง ภวังคจลนะ.................ก็เกิดขึ้น
เมื่อ ภวังคจลนะ................ดับลง ภวังคุปัจเฉทะ..............ก็เกิดขึ้น
เมื่อ ภวังคุปัจเฉทะ..............ดับลง ปัญจทวาราวัชชนะ.........ก็เกิดขึ้น
เมื่อ ปัญจทวาราวัชชนะ.........ดับลง จักขุวิญญาณ...............ก็เกิดขึ้น
เมื่อ จักขุวิญญาณ...............ดับลง สัมปฏิจฉนะ................ก็เกิดขึ้น
ฯลฯ

จิตจะดับ - เกิดตามลำดับของตนๆ โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่นมาเปลี่ยนลำดับได้เลย
ท่านจึงอุปมาอันนตรปัจจัยว่า

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
พระเจ้าจักรพรรดิที่ทรงสละราชสมบัติออกผนวช เมื่อพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้อยู่ครองราชสมบัติแล้ว
โอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้นก็ครองราชสมบัติสืบต่อแทนทันที และการสืบต่อราชสมบัตินี้ ก็ต้อง
ได้แก่ โอรสองค์ที่ ๑ ก่อน จะข้ามไปให้แก่โอรสองค์ที่ ๒ หรือองค์ที่ ๓ นั้นย่อมเป็นไปไม่ได้
ต่อเมื่อโอรสองค์ที่ ๑ ไม่ได้ครองแล้ว องค์ที่ ๒ จึงจะรับสืบต่อได้ตามลำดับกันไป ดังนี้

:b39: :b39: :b39:

๕.
สมนันตรปัจจัย


สมนนฺตรปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความติดต่อกันไม่มีระหว่างคั่นทีเดียว

สมนันตร = สํ + อนนฺตร
สํ = อย่างดี ทีเดียวเป็นอย่างนี้โดยแน่นอน

สมนันตรปัจจัย เนื้อความเหมือนกับอนันตรปัจจัย ต่างกันแต่พยัญชนะ แต่ได้แสดงต่อจาก
อนันตรปัจจัยเพื่อย้ำถึงการดับ - เกิดติดต่อกันของจิตว่าเรียงลำดับตามจิตตนิยามโดยแน่นอน
ไม่มีจิตอื่นมาคั่นเปลี่ยนลำดับของจิตได้เลย

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
พระเจ้าจักรพรรดิที่สวรรคตไปแล้ว พระราชโอรสของพระเจ้าจักรพรรดินั้นต้องสืบราชสมบัติ
แทนพระราชบิดาต่อไปอย่างแน่นอน บุคคลอื่นไม่สามารถที่จะเข้ามาคั่นตำแหน่งนี้ได้เลย

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอนัตตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย

การดับ - เกิดของจิตที่ติดต่อกันไปโดยไม่มีระหว่างคั่นด้วยอำนาจอนันตรปัจจัยและสมนันตรปัจจัย
ทำให้เห็นสภาวะไตรลักษณ์ชัดเจน ทั้งความไม่เที่ยง ความผันแปร - ไม่อาจทนอยู่ในสภาพเดิม
และความเป็นอนัตตะ - เป็นไปตามกฏแห่งธรรมคือจิตตนิยาม

ชีวิตที่เรายึคถือเป็นตัวตน เป็นเราเป็นของเรา มีเรื่องราวมากมายในความคิดนึกปรุงแต่ง แท้จริงชีวิต
คือ ขณะอันแสนสั้นของความรับรู้ซึ่งเกิดดับสืบเนื่องกันไป ไม่มีเรา ไม่ตัวตนของเราอย่างที่หลง

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง
เรียบเรียงเนื้อหา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2013, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


๖.
สหชาตปัจจัย

สหชาตปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อมกัน

ลัำกษณะของ สหชาตปัจจัย คือ ธรรมที่เป็นปัจจัยธรรมเกิดพร้อมกันกับปัจจยุปบันธรรม ได้แก่
:b49: ในจิตแต่ละดวง จิตกับเจตสิกเกิดพร้อมกันและเป็นปัจจัยช่วยอุปการะแก่กันและกัน จิตกับเจตสิก
ที่จะเกิดพร้อมกันได้ ต้องเป็นประเภทเดียวกัน เช่น เป็นกุศลเหมือนกัน เป็นอกุศลเหมือนกัน
:b49: มหาภูตรูป ๔ (ปฐวี อาโป เตโช วาโย) เกิดพร้อมกันและช่วยอุปการะแก่กันและกัน
:b49: ปัญจโวการปฏิสนธิจิต และปฏิสนธิหทัยวัตถุ เกิดพร้อมกันและช่วยอุปการะแก่กันและกัน
:b49: จิต ๗๕ เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิตตชรูป และช่วยอุปการะแก่จิตตชรูป
:b49: มหาภูตรูป ๔ เกิดพร้อมกับอุปาทายรูป และช่วยอุปการะแก่อุปาทายรูป

รูปภาพ

:b51: อุปมาเหมือน
ดวงไฟกับแสงไฟ ซึ่งเมื่อมีดวงไฟเกิดขึ้นแล้ว แสงไฟก็ย่อมเกิดขึ้นด้วย จะว่าดวงไฟ
เกิดก่อน แสงไฟเกิดทีหลังก็ไม่ใช่ เพราะดวงไฟกับแสงไฟนั้นย่อมเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
ในที่นี้ดวงไฟเป็นปัจจัยช่วยอุดหนุนแก่แสงไฟซึ่งเกิดพร้อมกับดวงไฟนั้น

:b44: การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับสหชาตปัจจัย

พึงศึกษาให้ชัดเจนว่า จิตเจตสิกใดเกิดพร้อมกันบ้าง เพื่อจะได้ปฏิบัติละจิตเจตสิกฝ่ายอกุศล
และเจริญจิตเจตสิกฝ่ายกุศล ตัวอย่างเช่น
ในจิตฝ่ายอกุศลทุกดวง มีอกุศลเจตสิก ๔ ดวงเกิดพร้อมด้วยเสมอคือ
โมหะ - ความไม่รู้ตามเป็นจริง
อหิริก - ความไม่ละอายบาป
อโนตตัปปะ - ความไม่เกรงกลัวบาป
อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน
เจตสิก ๔ ดวงนี้ จักนำเจตสิกฝ่ายอกุศลอื่นเข้ามาเกิดพร้อมกับตน เช่น โลภมูลจิตมีโลภเจตสิก
และมานะเจตสิกหรือทิฏฐิเจตสิก ที่เกิดพร้อมด้วย ส่วนโทสมูลจิต มีโทสะเจตสิก หรือ
มัจฉริยะเจตสิก หรือกุกกุจจะเจตสิก ที่เกิดพร้อมด้วย เป็นต้น

เจตสิกฝ่ายกุศลก็ทำนองเดียวกัน คือ มีโสภณเจตสิกมากมายเกิดร่วมในกุศลจิตแต่ละดวง

การศึกษาให้รู้ว่าธรรมอะไรเกิดพร้อมกันบ้าง และเมื่อเกิดพร้อมกันแล้วมีผลอย่างไร
เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นต้น จักทำให้รู้ว่า ควรละธรรมอะไรที่เป็นสหชาตธรรมเกิดพร้อมกันใน
ฝ่ายอกุศล โดยเจาะจงละอกุศลเจตสิกที่มีอำนาจนำพวกพ้องในกลุ่มของตนมารวมกันได้

เมื่อรู้ว่ากุศลจิตแต่ละดวง มีเจตสิกใดบ้างที่เป็นสหชาตธรรม ก็จะรู้ว่าควรเจริญโสภณเจตสิกใด
ที่มีอำนาจนำเจตสิกฝ่ายกุศลที่เป็นสหชาตธรรมมาร่วมเกิดได้

เมื่อรู้ว่ามรรคจิตที่จะประหาณกิเลส มีเจตสิกใดบ้างที่เป็นสหชาตธรรม ก็จะรู้ว่าควรเจริญธรรมใด
ที่จะทำใ้ห้ลุถึงมรรคผลได้

:b47: :b47: :b47:

๗.
อัญญมัญญปัจจัย

อญฺญมญฺญปจฺจโย
ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเป็นปัจจัยแก่กันและกัน

อัญญมัญญปัจจัย หมายความว่า ธรรมที่เป็นปัจจัยและปัจจยุปบันนั้น ต่างต้องอาศัยกันและกัน
จึงเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้

การช่วยอุปการะในลักษณะอาศัยกันและกันของอัญญมัญญปัจจัย มี ๓ ประการ ตรงกับ ๓ ประการ
ของสหชาตปัจจัย

รูปภาพ

อุปมาเหมือน
โต๊ะ ๓ ขา หรือขาหยั่งซึ่งอาศัยด้วยไม้ ๓ อันค้ำจุนอยู่ ซึ่งโต๊ะ ๓ ขาก็ดี หรือไม้ขาหยั่งก็ดี
ถ้าขาดไปขาหนึ่งขาใดแล้ว โต๊ะและขาหยั่งนั้นก็ไม่สามารถจะตั้งอยู่ได้
การที่โต๊ะและไม้ขาหยั่งนั้นตั้งอยู่ได้ก็ต้องพร้อมเพรียงด้วยขาทั้ง ๓ ค้ำจุนซึ่งกันและกันอยู่

การค้ำจุนซึ่งกันและกันระหว่างจิตเจตสิก นอกจากจะค้ำจุนในลักษณะอุปการะการเกิดขึ้นและการตั้ง
อยู่ของจิตเจตสิกที่เกิดร่วมกันแล้วยังส่งเสริมกำลังแก่กันและกันด้วย เช่น

ถ้า โมหะ - ความไม่รู้ตามเป็นจริง เช่น ไม่รู้เรื่องกรรมและผลของกรรมมีกำลังมาก
อหิริ - ความไม่ละอายบาป
อโนตตัปปะ - ความไม่เกรงกลัวบาป
โลภะ - ความโลภ
ทิฏฐิ - ความเห็นผิด
ก็จักมีกำลังมากขึ้นตามกำลังของโมหะ

ขณะเดียวกัน อหิริ อโนตตัปปะ โลภะ ทิฏฐิ ก็อุดหนุนกำลังแก่โมหะ และอุดหนุนกำลังแก่กันและกันด้วย

ในฝ่ายกุศลก็ทำนองเดียวกัน เช่น ถ้า สติ มีกำลังมาก ก็อุดหนุนในธรรมฝ่ายกุศลที่เป็นสหชาตธรรม
กับตน เช่น สัทธา อโลภะ อโทสะ เป็นต้น มีกำลังมากขึ้น ขณะเดียวกัน สัทธา เป็นต้น ก็อุดหนุน
แก่ สติ และเจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกัน

การศึกษาปฏิบัติที่เนื่องกับอัญญมัญญปัจจัย
๑. การศึกษาเพื่อปฏิบัติให้ถูกทางว่า
ถ้าจะละอกุศลใด จะต้องเอาจิตเจตสิกที่เป็นพวกพ้องและค้ำจุนอกุศลซึ่งกันและกันใดออก
ถ้าจะเจริญกุศลใด จะต้องนำหรือพัฒนาจิตเจตสิกใดที่เป็นพวกพ้องมาค้ำจุนซึ่งกันและกัน

๒. เจตสิกที่เป็นฝ่ายอกุศลหรือฝ่ายชั่วมีจำนวนน้อยและแตกแยกไม่สามัคคีกัน เช่น
ขณะที่โลภมูลจิตเกิด โทสมูลจิต ไม่เกิด
ขณะที่โทสมูลจิตเกิด โลภมูลจิต ไม่เกิด
ขณะที่มีวิจิกิจฉา โลภะโทสะ ไม่เกิด

ส่วนเจตสิกที่เป็นฝ่ายกุศลหรือฝ่ายดี มีจำนวนมากและสมัครสามัคคีกัน ฉะนั้นเมื่อพัฒนาเจตสิก
ฝ่ายกุศลตัวใดตัวหนึ่ง เจตสิกฝ่ายกุศลอื่นๆ จำนวนมากจะเข้าร่วมด้วย

ความจริงข้อนี้ย่อมเป็นกำลังใจว่า ธรรมฝ่ายกุศลมีพวกพ้องมาก โอกาสที่จะเจริญกุศลให้มีกำลังน่า
ที่จะมีมากด้วย ที่สำคัญคือ จะต้องมีสติปัญญา และความเพียร เจริญกุศลให้ต่อเนื่อง อย่าให้อกุศล
มาแทรกได้ ต้องให้ธรรมในฝ่ายกุศลค้ำจุนกันอย่างต่อเนื่องและมีกำลังสม่ำเสมอกัน เหมือนขาโต๊ะ
หรือไม้ ๓ อันที่จะค้ำจุนกันได้ ต้องมีลักษณะเท่ากัน

:b8: :b8: :b8:
จากหนังสือปัจจัย ๒๔ อุปมา และ การศึกษาปฏิบัติ
พระมหาไพโรจน์ ญาณกุสโล
อาจารย์จำรูญ ธรรมดา
แปลคำอธิบายใต้ภาพอุปมาจากภาษาพม่าเป็นภาษาไทย
แม่ชีสุภาพรรณ ณ บางช้าง เรียบเรียงเนื้อหา

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ส.ค. 2013, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สรุป
อนันตรปัจจัย, สมนันตรปัจจัย (น-->น)
จิต๘๙ เจ.๕๒ ที่เกิดก่อนๆ --> จิต๘๙ เจ.๕๒ ที่เกิดหลังๆ

สหชาตปัจจัย (นามรูป -->นามรูป)
๑. จิต๘๙ เจ.๕๒ <--> จิต๘๙, เจ.๕๒
๒. มหาภูตรูป๔ <--> มหาภูตรูป๔
๓. ปฏิสนธิจิต๑๕ เจ.๓๕ หทยวัตถุ <--> ปฏิสนธิจิต๑๕ เจ.๓๕ หทยวัตถุ
๔. จิต๗๕ เจ.๕๒ --> จิตตชรูป, ปฏิสนธิกัมมชรูป
๕. มหาภูตรูป๔ --> อุปาทายรูป๒๔

อัญญมัญญปัจจัย
เหมือนสหชาตปัจจัย ข้อ ๑, ๒, ๓

:b44: สำหรับท่านที่ต้องการสวดคัมภีร์มหาปัฏฐานให้ได้ปากเปล่าโดยไม่ต้องดูบทสวด

:b44: ย่อ-ท่องจำ จากหนังสือบทสวดมนต์คัมภีร์มหาปัฏฐาน โดย อาจารย์ธนเดช เพ็ญทวี (ม.ค.๔๗)

อนนฺตรปจฺจโยติ, สมนนฺตรปจฺจโยติ
๑. จกฺขุวิญญาณธาตุ ตํสมฺปยุตฺตกา จ ธมฺมา มโนธาตุยา ตํสมฺปยุตฺตกานญฺจ ธมฺมานํ
อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย
๒. มโนธาตุ..........มโนวิญฺญาณธาตุยา.........
๓. โสต
๔. มโนธาตุ
๕. ฆาน
๖. มโนธาตุ
๗. ชิวฺหา
๘. มโนธาตุ
๙. กาย
๑๐. มโนธาตุ
๑๑. ปุริมา ปุริมา กุสลา ธมฺมา ปจฺฉมานํ ปจฺฉมานํ กุสลานํ ธมฺมานํ อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย
๑๒. กุ-อพฺ
๑๓. อกุ-อกุ
๑๔. อกุ-อพฺ
๑๕ อพฺ-อพฺ
๑๖. อพฺ-กุ
๑๗. อพฺ-อกุ
๑๘. เยสํ เยสํ ธมฺมานํ อนนฺตรา เย เย ธมฺมา อุปฺปชฺชนฺติ จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา
เต เต ธมฺมา เตสํ เตสํ ธมฺมานํ อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย

สหชาตปจฺจโยติ
๑. จตฺตาโร ขนฺธา อรูปิโน อญฺญมญฺญํ สหชาตปจฺจเยน ปจฺจโย
๒. จตฺตาโร มหาภูตา
๓. โอกฺกนฺติกฺขเณ นามรูปํ
๔. จิตฺตเจตสิกา ธมฺมา จิตฺตสมุฏฐานานํ รูปานํ สหชาตปจฺจเยน ปจฺจโย
๕. มหาภูตา อุปาทารูปานํ
๖. รูปิโน ธมฺมา อรูปีนํ ธมฺมานํ กิญฺจิ กาเล สหชาตปจฺจเยน ปจฺจโย
กิญฺจิ กาเล น สหชาตปจฺจเยน ปจฺจโย

อญฺมญฺปจฺจโยติ
เหมือนข้อ ๑, ๒, ๓ ของสหชาตปัจจัย


:b8: :b8: :b8:

:b46: เชิญอ่านต่อ ปัจจัยที่ ๘
ปัฎฐานในชีวินประจำวัน + อุปมา และการศึกษาปฏิบัติ กระทู้ที่ ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=41817

:b46: บทสวดและคำแปล
viewtopic.php?f=66&t=44892&p=320378#p320378

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 12 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร