วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 09:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2013, 07:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




15356493_1041339799328984_7213167862997314607_n.jpg
15356493_1041339799328984_7213167862997314607_n.jpg [ 209.53 KiB | เปิดดู 10034 ครั้ง ]
ขอกราบนอบน้อมนมัสการพระอาจารย์ สัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ
ผู้ก่อตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ไว้ในประเทศไทย ให้นักศึกษาทั้งหลายได้ศึกษาเล่าเรียนกันอย่างกว้างขวาง


ข้าพเจ้ากราบขออนุญาตคัดลอกเป็นบางตอนที่ท่านได้รจนาไว้
เพื่อให้นักศึกษาที่สนใจที่จะศึกษากัน

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

๑. กุสลา ธมฺมา. อกุสลา ธมฺมา. อพฺยากตา ธมฺมา
๒. สุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา. ทุกฺขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา.
อทุกฺขมสุขาย เวทนาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา
๓. วิปาก ธมฺมา. วิปากธมฺมธมฺมา. เนววิปากนวิปากธมฺมธมฺมา.
๔. อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา. อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา. อนุปาทินฺนอนุปาทานิยา ธมฺมา.
๕. สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา. อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา. อสงฺกิลิฏฺฐอสงฺกิเลสิกา ธมฺมา.
๖. สวิตกฺกสวิจารา ธมฺมา. อวิตกฺกสวิจารมตฺตา ธมฺมา. อวิตกฺกอวิจารา ธมฺมา.
๗. ปิติสหคตา ธมฺมา. สุขสหคตา ธมฺมา. อุเปกฺขาสหคตา ธมฺมา.
๘. ทสฺสเนน ปหาตพฺพา ธมฺมา. ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา.
เนวทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพา ธมฺมา
๙. ทสฺสเนน ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา. ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา.
เนวทสฺสเนน น ภาวนาย ปหาตพฺพเหตุกา ธมฺมา.
๑๐. อาจยคามิโน ธมฺมา. อปจยคามิโน ธมฺมา. เนวาจยคามินาปจยคามิโน ธมฺมา.
๑๑. เสกฺขา ธมฺมา. อเสกฺขา ธมฺมา. เนวเสกฺขา นาเสกฺขา ธมฺมา.
๑๒. ปริตฺตา ธมฺมา. มหคฺคตา ธมฺมา. อปฺปมาณา ธมฺมา.
๑๓. ปริตฺตารมฺมณา ธมฺมา. มหคฺคตารมฺมณา ธมฺมา. อปฺปมาณารมฺมณา ธมฺมา.
๑๔. หีนา ธมฺมา. มชฺฌิมา ธมฺมา. ปณีตา ธมฺมา
๑๕. มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา. สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา. อนิยตา ธมฺมา
๑๖. มคฺคารมฺณา ธมฺมา. มคฺคเหตุกา ธมฺมา. มคฺคาธิปติโน ธมฺมา.
๑๗. อุปฺปนฺนา ธมฺมา. อนุปฺปนฺนา ธมฺมา. อุปฺปาทิโน ธมฺมา.
๑๘. อตีตา ธมฺมา. อนาคตา ธมฺมา. ปจฺจุปฺปนฺนา ธมฺมา.
๑๙. อตีตารมฺมณา ธมฺมา. อนาคตารมฺมณา ธมฺมา. ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา.
๒๐. อชฺฌตฺตา ธมฺมา. พหิทฺธา ธมฺมา. อชฺฌตฺตพหิทฺธา ธมฺมา.
๒๑. อชฺฌตฺตารมฺมณา ธมฺมา. พหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา. อชฺฌตฺตพหิทฺธารมฺมณา ธมฺมา.
๒๒. สนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา. อนิทสฺสนสปฺปฏิฆา ธมฺมา. อนิทสฺสนอปฺปฏิฆา ธมฺมา.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 มี.ค. 2013, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481202604625.jpg
1481202604625.jpg [ 55.57 KiB | เปิดดู 10055 ครั้ง ]
๑. กุสลติก

ปฐมบท. กุสลาธมฺมา.
ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะ(นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา) ซึ่งมีลักษณะไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุขมีอยู่ (สํวิชฺชนฺติ)
องค์ธรรมของปฐมบท.
ได้แก่ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๓๘ ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๘ นั้น เวทนาเจตสิกเป็นเวทาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์ กุศลจิต ๒๑ เป็นวิญญาณขันธ์

อายตนะ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๓๘ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๓๘ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ โลกียกุศลจิต ๑๗ เจตสิก ๓๘ เป็นทุกขสัจจ์ มรรคมีองค์ ๘ ที่ในปฐมฌานมรรคมีองค์ ๗ (เว้นสังกัปปะมรรค) ที่ในทุติยฌานมรรคขึ้นไปเป็นมรรคสัจจ์ มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ เป็นสัจจวิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2013, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : อกุสลา ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะ(นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา)
ซึ่งมีลักษณะเป็นไปพร้อมด้วยโทษ ให้ผลเป็นความทุกข์มีอยู่ (สํวิชฺชนฺติ)

องค์ธรรมของทุติบท.
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗ ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๒๗ นั้น เวทนาเจตสิกเป็นเวทาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๒๕ เป็นสังขารขันธ์ อกุศลจิต ๑๒ เป็นวิญญาณขันธ์

อายตนะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๒๗ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๒๗ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์ โลภะเจตสิกเป็น สมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2013, 14:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : อพฺยากตา ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่ชีวิต เป็นแต่สภาวะ(นิสฺสตฺต นิชฺชีว สภาวา) ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ได้แสดงโดยความเป็น กุศล และ อกุศล แต่ได้แสดงเป็นอย่างอื่น มีอยู่ (สํวิชฺชนฺติ)

องค์ธรรมของตติบท.
ได้แก่ วิปากจิต ๓๖ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูป ๒๘ นิพพาน. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๓๘ นั้น เวทนาเจตสิกเป็นเวทาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์ วิปากจิตจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์. นิพพานเป็นขันธวิมุต

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. วิปากจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๓๘ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. วิปากจิตที่เหลือ ๒๔ และกริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๘ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ โลกียะจิต ๓๒ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๕ (เว้นวีรตี) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. นิพพานเป็นนิโรธสัจ์ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต

ติกกนี้ชื่อ อาทิลทฺธนามติก เพราะอาศัยคำว่ากุศล ที่ตั้งอยู่ในบทแรกเป็นหลักตั้งชื่อ และชื่อว่า นิปฺปเทสติก เพราะแสดงปรมัตถธรรมทั้งหมดไม่มีเหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2013, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481202802849.jpg
1481202802849.jpg [ 55.72 KiB | เปิดดู 10055 ครั้ง ]
๒. เวทนาติก

ปฐมบท : สุขาย เวทาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วยสุขเวทนา โดยลักษณะทั้ง ๔ มีเอกุปฺปาทตา เป็นต้น มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ สุขสหคตจิต ๖๓ เจตสิกที่ประกอบ ๔๖(เว้นเวทนา) ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์
อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้วได้ ขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๓ คือ ในเจตสิก ๔๖ นั้น สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๔๕ เป็นสังขารขันธ์ สุขสหคตจิต ๖๓ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ สุขสหคตจิต ๖๓ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๔๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๓ คือ สุขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ เป็นกายะวิญญาณธาตุ.
สุขสหคตจิตที่เหลือ ๖๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๔๖ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ โลกียสุขสหคตจิต ๓๑ เจตสิก ๔๕ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์.
โลภะเจตสิกเป็นสมุทัยสัจจ์ มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคสุขสหคตจิต ๑๖ เป็นมัคคสัจจ์
มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๘ ผลจิตตุปบาท ๓๖ เป็นสัจจวิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2013, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติบท : ทุกฺขาย เวทาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ประกอบด้วย ทุกฺขเวทนา โดยลักษณะทั้ง ๔ มีเอกุปฺปาทตา เป็นต้น มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ ทุกฺขสหคตจิต ๓ เจตสิกที่ประกอบ ๒๑ (เว้นเวทนา) ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์
อายตนะ ธาตุ สัจจะ แล้วได้ ขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๓ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๓ คือ ในเจตสิก ๒๑ นั้น สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์
เจตสิกที่เหลือ ๒๐ เป็นสังขารขันธ์ ทุกขสหคตจิต ๓ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ ทุกขสหคตจิต ๓ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๒๑ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๓ คือ ทุกขสหคตกายวิญญาณจิต ๑ เป็นกายะวิญญาณธาตุ.
โทสมูลจิต ๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๒๑ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ ทุกขสหคตจิต ๓ เจตสิก ๒๑ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2013, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : อทุกฺขมสุขาย เวทาย สมฺปยุตฺตา ธมฺมา.
ธรรมทั้งหลายที่ที่ประกอบด้วยอุเบกขาเวทนา ซึ่งไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข โดยมีลักษณะ ๔
มี เอกุปฺปาทตา เป็นต้น มีอยู่
องค์ธรรมของตติบท.
ได้แก่ อุเบกขาสหคตจิต ๕๕ เจตสิกที่ประกอบ ๔๖ (เว้นเวทนา) ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๓ อายตนะ ๒ ธาตุ ๗ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๓ คือ ในเจตสิก ๔๖ นั้น สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๔๕ เป็นสังขารขันธ์. อุเบกขาสหคตจิต ๕๕ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ อุเบกขาสหคตจิต ๕๕ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๔๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๗ คือ ในอุเบกสหคจิต ๕๕ นั้น จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. อุเบกขาสหคตจิตที่เหลือ ๔๔ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๔๖ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจ์ ๓ คือ โลกียอุเบกขาสหคตจิต ๔๗ เจตสิก ๔๕ (เว้นโลภะ)เป็นทุกขสัจจ์.
โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์ มรรคมีองค์ ๗ (เว้นสัมมาสังกัปปะ) ที่ในมัคคอุเบกขาสหคตจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์.
มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๖ ผลจิตตุปบาท ๓๓ เป็นสัจจวิมุต.
สุขเวทนาเจตสิก ๖๓ ทุกขเวทนาเจตสิก ๓ อุเบกขาเวทนาเจตสิก ๕๕ รูป ๒๘ นิพพาน เป็นติกวิมุต

ติกะนี้ชื่อ สพฺพลทฺธนามติก เพราะอาศัยคำว่า เวทนา ที่ตั้งอยู่ในบททั้ง ๓ เป็นหลักตั้งชื่อ
และชื่อว่า สปฺปเทสติก เพราะแสดงปรมัตถธรรมไม่หมดยังมีเหลืออยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2013, 07:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481247847966.jpg
1481247847966.jpg [ 63.29 KiB | เปิดดู 10036 ครั้ง ]
๓. วิปากติก

ปฐมบท : วิปากา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นผลของกุศลและอกุศล ซึ่งพิเศษกว่ากันและกัน มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ วิปากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๘ นั้น เวทนาเจตสิกเป็นเวทาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์. วิปากจิตจิต ๓๖ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ วิปากจิต ๓๖ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๓๘ เป็น ธัมมายตนะ

ธาตุ ๘ คือ ในวิปากจิต ๓๖ นั้น จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. วิปากจิตที่เหลือ ๒๔ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๘ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ โลกียะวิปากจิต ๓๒ (เว้นมัค ๔) เจตสิก ๓๕ (เว้นวีรตี) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2013, 05:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : วิปากาธมฺม ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีสภาพให้ผลเกิดขึ้น มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ เจตสิก ๕๒. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์.
เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. กุศลจิต ๒๑ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๒ เป็น ธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ กุศลจิต ๒๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ เจตสิก ๕๑ (เว้นมัค โลภะ)เป็นทุกขสัจจ์.
โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์ มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมรรคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์.
มรรคจิตตุปบาท ๒๙ เป็นสัจจวิมุต.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2013, 05:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : เนววิปากนวิปากธมฺม ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่เป็นผลของกุศลและอกุศล ซึ่งพิเศษกว่ากันและกัน
และไม่มีสภาพให้ผลเกิดขึ้น มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๕. รูป ๒๘ นิพพาน. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๓ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๓๕ นั้น เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๓ เป็นสังขารขันธ์. กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์. นิพพานเป็นขันธวิมุต

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๓๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๓ คือ ในรูป ๒๘ นั้น โอฬาริกรูป ๑๒ เป็นโอฬาริกธาตุ ๑๐ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ เป็นมโนธาตุ. กริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๕ รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. นิพพานเป็นนิโรธสัจจ์

ติกกนี้ชื่อ อาทิลทฺธนามติก เพราะอาศัยคำว่า วิปาก ที่ตั้งอยู่ในบทแรก เป็นหลักตั้งชื่อ และชื่อว่า นิปฺปเทสติก เพราะแสดงปรมัตถธรรมทั้งหมดไม่มีเหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2013, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481248195301.jpg
1481248195301.jpg [ 60.62 KiB | เปิดดู 10036 ครั้ง ]
๔. อุปาทินฺนติก

ปฐมบท ; อุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่กรรม (อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติดโดยอาการกระทำให้เป็นอารมณ์นั้น)
ยึดไว้โดยความเป็นผลและเป็นอารมณ์ของ อุปาทานได้ มีอยู่

องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ โลกียวิปากจิต ๓๒ เจตสิก ๓๕ กัมมชรูป ๒๐ ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑ ธาตุ ๑๗ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๕ คือ กัมมรูป ๒๐ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๓๒ นั้น เวทนาเจตสิกเป็นเวทาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๐ เป็นสังขารขันธ์. โลกียวิปากจิตจิต ๓๒ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๑ คือ ในกัมมรูป ๒๐ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. เจตสิก ๓๕ สุขุมรูป ๙ หรือ ๑๑ (ได้แก่ อาโป. อิตถีสภาวะ. ปุริสภาวะ. หทยะ. ชีวิตะ. อาหาระ. ปริจเฉทะ. อุปัจจยะ. สันตติ หรือและ ชราตา อนิจจตา) เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๗ คือ ในกัมมรูป ๒๐ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. โลกียวิปากจิตที่เหลือ ๒๐ และกริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๕ สุขุมรูป ๙ หรือ ๑๑ (ได้แก่ อาโป. อิตถีสภาวะ. ปุริสภาวะ. หทยะ. ชีวิตะ. อาหาระ. ปริจเฉทะ. อุปัจจยะ. สันตติ หรือและ ชราตา อนิจจตา)เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ โลกียะวิปากจิต ๓๒ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๕ กัมมรูป ๒๐ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2013, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท ; อนุปาทินฺนุปาทานิยา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่กรรม (อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติดโดยอาการกระทำให้เป็นอารมณ์นั้น)ไม่ไดยึดไว้โดยความเป็นผลแต่เป็นอารมณ์ของ อุปาทานได้ มีอยู่

องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป ๑๗ อุตุชรูป ๑๕ อาหารชรูป ๑๔ ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๗ ธาตุ ๘ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๕ คือ ติชรูป เป็นรูปขันธ์. ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. โลกียกุศลจิต ๑๗ กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๗ คือ ติชรูปนั้น รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๒๗กริยาจิต ๒๐ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๐ หรือ ๑๒ (ได้แก่ อาโป. อาหาระ. ปริจฺเฉทะ. กายวิญญัติ. วจีวิญญัติ. ลหุตา มุทุตา. กัมมัญญตา. อุปัจจยะ. สันตติ หรือและ ชราตา อนิจจตา) เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๘ คือ ในติชรูปนั้น รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นมโนธาตุ. อกุศลจิต ๑๒โลกียกุศลจิต ๑๗ กริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๐ หรือ ๑๒ (ได้แก่ อาโป. อาหาระ. ปริจเฉทะ. กายวิญญัติ. วจีวิญญัติ. ลหุตา มุทุตา. กัมมัญญตา. อุปัจจยะ. สันตติ หรือและ ชราตา อนิจจตา)เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ)
และติชรูป เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็สมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มี.ค. 2013, 14:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท ; อนุปาทินฺนอนุปาทานิยา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่กรรม (อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปติดโดยอาการกระทำให้เป็นอารมณ์นั้น)ไม่ได้ยึดไว้โดยความเป็นผลและไม่เป็นประโยชน์ คือไม่เป็นอารมณ์ของ อุปาทาน มีอยู่

องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. โลกุตตรจิต ๘ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๓๖ ที่ประกอบ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๖ ที่ประกอบ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ นิพพาน เป็นนิโรธสัจจ์. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมรรคจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์.
มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ นิปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2013, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481248656326.jpg
1481248656326.jpg [ 72.09 KiB | เปิดดู 10036 ครั้ง ]
๕. สงฺกิลิฏฺฐติก

ปฐมบท : สงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ถูกทำให้กิเลสเศร้าหมองเร่าร้อน และเป็นที่อาศัยเกิดของกิเลส
หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสได้ มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๒๗ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๒๕ เป็นสังขารขันธ์. อกุศลจิต ๑๒ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๒๗ ที่ประกอบ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๒๗ ที่ประกอบ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 มี.ค. 2013, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : อสงฺกิลิฏฺฐสงฺกิเลสิกา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ถูกทำให้กิเลสเศร้าหมองเร่าร้อน และเป็นที่อาศัยเกิดของกิเลส
หรือเป็นอารมณ์ของกิเลสได้ มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปาก ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘. รูป ๒๘. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว
ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๓๘ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทาขันธ์ สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์. โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๓๘ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. โลกียกูศลจิต ๑๗ วิปากจิตที่เหลือ ๒๔ และกริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๘ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ โลกียกุศลจิต. ๑๗ โลกียวิปาก ๓๒ กิริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร