วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 15:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 เม.ย. 2013, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : เนวาจยคามินาปจยคามิโน ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่เป็นเหตุให้ถึงจุติ ปฏิสนธิ และ พระนิพพาน มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ วิปากจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐ เจตสิกที่ประกอบ ๓๘ รูป ๒๘ นิพพาน. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์. วิปากจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์. นิพพาน. เป็นขันธวิมุต

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. วิปากจิต ๓๓ กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๓๖ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน. เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. วิปากจิตที่เหลือ ๒๔ และกริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๖ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๕ (เว้นวีรตี ๓) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. นิพพาน เป็นนิโรธสัจจ์. ผลจิตตุปบาท ๓๗ นิพพาน เป็นสัจจวิมุต

ติกนี้ ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ นิปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2013, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481250812226.jpg
1481250812226.jpg [ 58.71 KiB | เปิดดู 5236 ครั้ง ]
๑๑. เสกฺขติก

ปฐมบท : เสกฺขา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นเสกขบุคคล ๗ หรือที่ชื่อว่าเสกขธรรมมีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ โลกุตตรจิต ๗ (เว้นอรหันตตผลจิต ๑) เจตสิก ๓๖. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. โลกุตตรจิต ๗ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๗ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๗ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ โลกุตตรจิต ๗ เจตสิก ๓๖ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 เม.ย. 2013, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : อเสกฺขา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นของอเสกขบุคคลหรือที่ชื่อว่าอเสกขธรรม มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท ได้แก่ อรหันตตผลจิต ๑ เจตสิก ๓๖. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. อรหันตผลจิต ๑ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ อรหันตผลจิต ๑ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ อรหันตผลจิต ๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมธาตุ.

ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 เม.ย. 2013, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : เนวเสกฺขา นาเสกขา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่ของเสกขบุคคล ๗ และอเสกขบุคคล
หรือที่ไม่ชื่อว่าเสกขธรรมและอเสกขธรรม มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพาน. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. โลกียจิต ๘๑ เป็นวิญญาณขันธ์. นิพพาน. เป็นขันธวิมุต

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. โลกียจิต ๘๑ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน. เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. โลกียจิตที่เหลือ ๖๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ โลกียจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.นิพพาน เป็นนิโรธสัจจ์.

ติกนี้ ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ นิปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 เม.ย. 2013, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481250945072.jpg
1481250945072.jpg [ 73.9 KiB | เปิดดู 5236 ครั้ง ]
๑๒. ปริตฺตติก

ปฐมบท : ปริตฺ ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอานุภาพน้อย มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ กามจิต ๕๔ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. กามจิต ๕๔ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. กามจิต ๕๔ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. กามจิตที่เหลือ ๔๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ กามจิต ๕๔ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : มหคฺคตา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่เข้าถึงความประเสริฐ หรือที่ฌานลาภีบุคคลผู้ประเสริฐทั้งหลายเข้าถึงได้ มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ มหัคคจิต ๒๗ เ จตสิก ๓๕ ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๕ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๓ เป็นสังขารขันธ์. มหัคคตจิต ๒๗ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ มหัคคตจิต ๒๗ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๓๕ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ มหัคจิต ๒๗ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๕ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ มหัคตจิต ๒๗ เจตสิก ๓๕ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 เม.ย. 2013, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : อปฺปมาณา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลส มีราคะเป็นต้น ซึ่งย่อมกระทำให้ประมาณ มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. โลกุตตรจิต ๘ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็นมนายตนะ เจตสิก ๓๖ ที่ประกอบ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๖ ที่ประกอบ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ นิพพาน เป็นนิโรธสัจจ์. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมรรคจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์.
มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต.

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ นิปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481251135428.jpg
1481251135428.jpg [ 86.93 KiB | เปิดดู 5236 ครั้ง ]
๑๓. ปริตฺตารมฺมณติก

ปฐมบท : ปริตฺตารมฺณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอารมณ์เป็นปริตตธรรมอย่างเดียว (เอกนฺต) หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์(อเนกนฺต) มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓ สัณตีรณจิต ๓ มหาวิบาก ๘ หสิตุปบาทจิต ๑ เจตสิก ๓๓ ที่กระทำปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์โดยแน่นอน และอกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๕๐ (เว้นอัปปมัญญา) ในขณะที่กระทำปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ แล้วได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๕๐ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๓ เป็นสังขารขันธ์. ปริตตารัมณจิต ๕๖ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ ปริตตารัมณจิต ๕๖ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๐ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๘ คือ ปริตตารัมณจิต ๕๖ เป็นวิญญาณธาตุ ๗. เจตสิก ๕๐ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ ปริตตารัมณจิต ๕๖ เจตสิก ๔๙ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : มหคฺคตารมฺณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอารมณ์เป็นมหัคคธรรมอย่างเดียว (เอกนฺต) หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำมหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์(อเนกนฺต) มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ วิญญาณัญจายตนะจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนะจิต ๓ เจตสิก ๓๐ ที่กระทำมหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์โดยแน่นอน และอกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากริยาจิต ๘ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๔๗ (เว้น วีรตี อัปปมัญญา) ในขณะที่กระทำมหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ แล้วได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๔๗ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๓ เป็นสังขารขันธ์. มหัคคตจิต ๓๗ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ มหัคคตารัมมณจิต ๓๗ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๔๗ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ มหัคคตารัมมณจิต ๓๗ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๔๗ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ มหัคคตารัมมณจิต ๓๗ เจตสิก ๔๖ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 เม.ย. 2013, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : อปฺปมาณารมฺณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอารมณ์เป็นอัปปมาณธรรมอย่างเดียว (เอกนฺต) หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำมอัปปมาณธรรมให้เป็นอารมณ์(อเนกนฺต) มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ ที่กระทำอัปปมาณธรรมให้เป็นอารมณ์โดยแน่นอน มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๓๓ (เว้น วีรตี อัปปมัญญา) ในขณะที่กระทำอัปปมาณธรรมให้เป็นอารมณ์. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ แล้วได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. โลกุตตรจิต ๘ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ โลกียอัปปมาณารัมมณจิต ๑๑ เจตสิก ๓๓ เป็นทุกขสัจจ์. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗
ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต

รูปาวจรจิต ๑๕ (เว้นอภิญญา) อากาสานัญจายตนฌานจิต ๓ อากิญจัญญายตนฌานจิต ๓ เจตสิก ๓๕ ที่กระทำบัญญัติธรรมให้เป็นอารมณ์โดยแน่นอนและอกุศลจิต ๑๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๔๙ (เว้นวีรตี) ในขณะที่กระทำบัญญัติธรรมให้เป็นอารมณ์ รูป ๒๘ นิพพาน เป็นติกวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ สปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481251351395.jpg
1481251351395.jpg [ 62.18 KiB | เปิดดู 5236 ครั้ง ]
๑๔. หีนาติก

ปฐมบท : หีนา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เลวหรือลามก มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๗. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ แล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๒๗ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๒๕ เป็นสังขารขันธ์. อกุศลจิต ๑๒ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๒๗ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๒๗ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ อกุศลจิต ๑๒ เจตสิก ๒๖ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 เม.ย. 2013, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : มชฺฌิมา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอย่างกลาง หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นไปในระหว่างธรรมที่ลามกและที่ปราณีต มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูป ๒๘ ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ แล้ว ได้ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๓๘ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๖ เป็นสังขารขันธ์. โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ เจตสิก ภ๘ รูป ๒๘ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิตที่เหลือ ๒๐ กริยาจิต ๑๙ ที่เหลือ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๘ รูป ๒๘ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ โลกียกุศลจิต ๑๗ โลกียวิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๓๘ รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 เม.ย. 2013, 17:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : ปณีตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่ประเสริฐหรือปราณีต มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิก ๓๖ นิพพาน. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ แล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. โลกุตตรจิต ๘ เป็นวิญญาณขันธ์. นิพพาน เป็นขันธวิมุติ

อายตนะ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๓๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ โลกุตตรจิต ๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๓๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ เจตสิก ๓๖ เป็นทุกขสัจจ์. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗
ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาท ๓๗ นิพพาน เป็นสัจจวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ นิปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2013, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481251797285.jpg
1481251797285.jpg [ 75.89 KiB | เปิดดู 5236 ครั้ง ]
๑๕. มิจฺฉตฺตติก

ปฐมบท : มิจฺฉตฺตนิยตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีสภาพเป็นความชั่ว และให้ผลแน่นอนในลำดับแห่งจุติติดต่อกันไม่มีระหว่างคั้น มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบทบท
ได้แก่ ชวนะดวงที่ ๗ ของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เจตสิกที่ประกอบ ๒๑ และชวนะดวงที่ ๗ ของโทสมูลจิต ๒ ที่เกิดขึ้นด้วบอำนาจแห่งปัญจานันตริยกรรม คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหัฯตฆาต โลหิตุปบาท สังฆเภท เจตสิกที่ประกอบ ๒๒. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ แล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๒๕ เป็น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๒๓ เป็นสังขารขันธ์. อกุศลจิต ๖ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ อกุศลจิต ๖ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๒๕ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ อกุศลจิต ๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๒๕ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๒ คือ อกุศลจิต ๖ เจตสิก ๒๔ (เว้นโละ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2013, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : สมฺมตฺตนิยตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีสภาพเป็นความชั่ว และให้ผลแน่นอนในลำดับแห่งจุติติดต่อกันไม่มีระหว่างคั้น มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ มรรคจิต ๔ เจตสิก ๓๖ ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ แล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๖ เป็น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๒๓ เป็นสังขารขันธ์. มรรคจิต ๔ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ มรรคจิต ๔ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๒ คือ มรรคจิต ๔ เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก ๓๖ เป็นธัมมธาตุ

สัจจะ ๑ คือ มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ เป็นสัจจวิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร