วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 16:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2013, 04:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติบท : อนิยตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีสภาพไม่แน่นอนโดยอาการทั้ง ๒ อย่างนั้น มีอยู่
องค์ธรรมของตติบท
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒(ชวนะดวงที่ ๗ ของทิฏฐิคตสัมปยุตตจิต ๔ ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม และชวนะดวงที่ ๗ ของโทสมูลจิต ๒ ที่เกิดขึ้นด้วบอำนาจแห่งปัญจานันตริยกรรม คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหัฯตฆาต โลหิตุปบาท สังฆเภท ) โลกียกุศลจิต ๑๗ วิปากจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพาน. ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ แล้ว ได้ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ ในรูป ๒๘ เป็นรูปขันธ์. เจตสิก ๕๒ เป็น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ วิปากจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ วิปากจิต ๓๖ กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๓๖ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. วิปากจิตที่เหลือ ๒๔ และกริยาจิตที่เหลือ ๑๙ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๖ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ วิปากจิต ๓๒ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็น สมุทัยสัจจ์. นิพพาน เป็นนิโรธสัจจ์. ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ นิปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2013, 06:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481251976764.jpg
1481251976764.jpg [ 102.78 KiB | เปิดดู 6087 ครั้ง ]
๑๖. มคฺคารมฺมณติก

ปฐมบท : มคฺคารมฺมณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอารมณ์เป็นมรรคอย่างเดียว หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์ มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ กุศลอภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระโสดาบันบุคคลที่กระทำโสตาปัตติมรรคให้เป็นอารมณ์

- มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ กุศลอภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระสกทาคามีบุคคลที่กระทำโสตาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรคให้เป็นอารมณ์

- มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ กุศลอภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระอนาคามีบุคคลที่กระทำโสตาปัตติมรรค สกทาคามีมรรค และอนาคามิมรรค ให้เป็นอารมณ์

- มโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔ กุศลอภิญญาจิต ๑ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระอรหันต์บุคคลที่กระทำมรรคทั้ง ๔ ให้เป็นอารมณ์

ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๓ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๑ เป็นสังขารขันธ์. มัคคารัมมณจิต ๑๑ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ มัคคารัมมณจิต ๑๑ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๓๓ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ มัคคารัมมณจิต ๑๑ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๓ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ มัคคารัมมณจิต ๑๑ เจตสิก ๓๓ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2013, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : มคฺคเหตุกา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีเหตุคือมรรคมีองค์ ๘ หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่มีเหตุซึ่งประกอบด้วยมรรค หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่มีเหตุตั้งอยู่แล้วในมรรค มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ มัคคจิต ๔ เจตสิก ๒๘ (เว้นมรรคมีองค์ ๘) ตามนัยที่ ๑
หรือ มัคคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้นปัญญา) ตามนัยที่ ๒
หรือ มัคคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้นปัญญา) ตามนัยที่ ๓
ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๕ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๓ เป็นสังขารขันธ์. มัคคจิต ๔ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ มัคคจิต ๔ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๓๕ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ มัคคจิต ๔ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๕ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ มัคคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ เป็นทุกขสัจจ์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 เม.ย. 2013, 07:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : มคฺคาธิปติโน ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีปัจจัยเป็นอารัมมณาธีบดีคือมรรค
หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่มีสหชาตาธิบดีคือมรรค
หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นสหชาตาธิปติปัจจัยคือมรรคนั้นเอง มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระโสดาบันบุคคลที่กระทำโสตาปัตติมรรคให้เป็นอารมณ์ โดยความเป็นอธิบดี

- มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระสกทาคามีบุคคลที่กระทำ สกทาคามิมรรคให้เป็นอารมณ์ โดยความเป็นอธิบดี

- มหากุศลญาณสัมปยุตจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา)ของพระอนาคามีบุคคลที่กระทำอนาคามิมรรค ให้เป็นอารมณ์ โดยความเป็นอธิบดี

- มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ เจตสิก ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา) ของพระอรหันตตบุคคลที่กระทำอรหัตตมรรคให้เป็นอารมณ์โดยความเป็นอธิบดี ตามนัยที่ ๑
หรือมัคคจิต ๔ เจตสิก ๓๕ (เว้นวิรียะในชณะที่วิริยะเป็นอธิบดี หรือเว้นปัญญาเจตสิกในขณะเป็นอธิบดี) ตามนัยที่ ๒
หรือวิริยเจตสิกและปัญญาเจตสิกในขณะเป็นอธิบดี ตามนัยที่ ๓

ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๓๓ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๑ เป็นสังขารขันธ์. โลกียมัคคาธิปติจิต ๘ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ คือ มัคคาธิปติจิต ๘ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๓๓ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ มัคคาธิปติจิต ๘ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๓๓ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ มัคคาธิปติจิต ๘ เจตสิก ๓๓ เป็นทุกขสัจจ์. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมัคคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ เป็นสัจจวิมุต

อกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นมโนทวาราวัชชนจิต) มหากุศลจิตญาณวิปปยุตตจิต ๔ มหาวิปากจิต ๘ มหากิริยาวิปปยุตตจิต ๔ รูปาวจรจิต ๑๕ (เว้นอภิญญาจิต ๒) อรูปาวจรจิต ๑๒ ผลจิต ๔ เจตสิก ๕๒ ที่ไม่มีอารมณ์เป็นมรรคแน่นอน และมโนทวาราวัชชนจิต ๑ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต ๔ มหากิริยาญาณสัมปยุตตจิต ๔ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๓๘ ขณะที่ไม่ได้กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์ รูป ๒๘ นิพพาน เป็นติกวิมุต
ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และสปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 เม.ย. 2013, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481252125759.jpg
1481252125759.jpg [ 62.65 KiB | เปิดดู 6087 ครั้ง ]
๑๗. อุปฺปนฺนติก

ปฐมบท : อุปฺปนฺนา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่กำลังถึงซึ่งขณะทั้ง ๓ มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ที่กำลังเกิดขึ้นปรากฎอยู่. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ รูปที่กำลังเกิดขึ้นปรากฎอยู่. เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. จิต ๘๙ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. จิต ๘๙ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๕๒ รูปที่กำลังปรากฎขึ้น. เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูปที่กำลังปรากฎขึ้นนั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. จิตที่เหลือ ๗๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ รูปที่กำลังปรากฎขึ้น เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.
มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 เม.ย. 2013, 07:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : อนุปฺปนฺนา ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่ไม่ใช่ถึงแล้วและกำลังถึงซึ่งขณะทั้ง ๓ มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ กริยาจิต ๒๐ เจตสิก ๕๒ จิตตชรูป ๑๗ อุตุชรูป ๑๕ อาหารชรูป ๑๔ ที่จะเกิดขึ้น. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๗ ธาตุ ๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ . ติชรูป เป็นรูปขันธ์. ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ กริยาจิต ๒๐ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๗ คือ ในติชรูปนั้น รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็น รสายตนะ. (ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ กริยาจิต ๒๐ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๐-๑๒ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๘ คือ ในติชรูปนั้น รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. อกุศลจิต ๑๒ กุศลจิต ๒๑ กริยาจิต ๑๙ ป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๐-๑๒ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ อกุศลจิต ๑๒ โลกียกุศลจิต ๑๗ กริยาจิต ๒๐ จตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) และติชรูป เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ เป็นสัจจ์วิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 06:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : อุปฺปาทิโน ธมฺมา.
สภาวธรรมทั้งหลายที่จะเกิดโดยแน่นอนเพราะมีเหตุที่สำเร็จแล้ว มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ วิปากจิต ๓๖ เจตสิก ๓๘ กัมมรูป ๒๐ ที่จะเกิด. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๑ ธาตุ ๑๗ สัจจะ ๑

ขันธ์ ๕ คือ กัมมรูป ๒๐ เป็นรูปขันธ์. ในเจตสิก ๓๖ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๓๔ เป็นสังขารขันธ์. วิปากจิต ๓๖ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๑ คือ ในกัมมชรูป ๒๐ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. วิปากจิต ๓๖ เป็น มนายตนะ เจตสิก ๓๕. เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๗ คือ ในกัมมชรูป ๒๐ นั้นโอฬาริกรูป ๑๑ (เว้นสัททธ) เป็นโอฬาริกายตนะ ๙ วิปากจิต ๓๖ เป็นวิญญาณธาตุ ๗ . เจตสิก ๓๘ กัมมชรูป ๙-๑๑ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๑ คือ โลกียวิปากจิต ๓๒ เจตสิก ๓๕ กัมมรูป ๒๐ เป็นทุกขสัจจ์. ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต. นิพพาน เป็นติกวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และ สปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481252489709.jpg
1481252489709.jpg [ 57.75 KiB | เปิดดู 6087 ครั้ง ]
๑๘. อตีตติก

ปฐมบท : อตีตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอดีต มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ทีเป็นอดีตกาล. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ ที่เป็นอดีตกาล. เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. จิต ๘๙ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. จิต ๘๙ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ ที่เป็นอดีตกาลนั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. จิตที่เหลือ ๗๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ ที่เหลือ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.
มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 07:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : อนาคตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นอนาคต มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ทีเป็นอนาคตกาล. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ ที่เป็นอนาคตกาล. เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. จิต ๘๙ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. จิต ๘๙ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ ที่เป็นอนาคตกาลนั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. จิตที่เหลือ ๗๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ ที่เหลือ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.
มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 เม.ย. 2013, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติบท : อตีตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน มีอยู่
องค์ธรรมของตติบท
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ทีเป็นอดีตกาล. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ ที่เป็นปัจจุบันกาล. เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. จิต ๘๙ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. จิต ๘๙ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ ที่เป็นปัจจุบันกาลนั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. จิตที่เหลือ ๗๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ ที่เหลือ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.
มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต
นิพพานเป็นติกวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธ นามติก และ สปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 เม.ย. 2013, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481252284146.jpg
1481252284146.jpg [ 96.29 KiB | เปิดดู 6087 ครั้ง ]
๑๙. อตีตารมฺมณติก

ปฐมบท : อตีตารมฺมณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอารมณ์เป็นอดีตอย่างเดียว หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำอดีตธรรมให้เป็นอารมณ์
มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ เจตสิก ๓๐ ที่กระทำอดีตธรรมให้เป็นอารมณ์แน่นอน และมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เจตสิกที่ประกอบ ๔๗ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา) ขณะที่กระทำอดีตธรรมให้เป็นอารมณ์
ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๔๗ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๔๕ เป็นสังขารขันธ์. วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ และมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๔๗ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๔๗ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนฌานจิต ๓ เนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิต ๓ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๔๖ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 เม.ย. 2013, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : อนาคตารมฺมณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำอนาคตธรรมให้เป็นอารมณ์ มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เจตสิกที่ประกอบ ๕๐ (เว้น อัปปมัญญา) ขณะที่กระทำอนาคตธรรมให้เป็นอารมณ์
ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๒ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๕๐ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๔๘ เป็นสังขารขันธ์. มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๕๐ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๒ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๐ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เจตสิก ๔๙ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2013, 06:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ตติยบท : ปจฺจุปฺปนฺนารมฺมณา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่มีอารมณ์เป็นปัจจุบันอย่างเดียว
หรือสภาวธรรมทั้งหลายที่กระทำปัจจุบันธรรมให้เป็นอารมณ์ มีอยู่
องค์ธรรมของตติยบท
ได้แก่ ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ มโนธาตุ ๓ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะ ปีติ ฉันทะ) ที่กระทำปัจจุบันธรรมให้เป็นอารมณ์โดยแน่นอน และมโนทวาราวัชชนจิต ๑ กามชวนจิต ๒๙ ตทาลัมพณจิต ๑๑ อภิญญาจิต ๒ เจตสิกที่ประกอบ ๕๐ (เว้น อัปปมัญญา) ขณะที่กระทำปัจจุบันธรรมให้เป็นอารมณ์,
ธรรมเหล่านี้เมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ ขันธ์ ๔ อายตนะ ๒ ธาตุ ๘ สัจจะ ๒

ขันธ์ ๔ คือ ในเจตสิก ๕๐ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๔๘ เป็นสังขารขันธ์. ปัจจุบันนารัมมณจิต ๕๖ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๒ ปัจจุบันนารัมมณจิต ๕๖ เป็นมนายตนะ. เจตสิก ๕๐ เป็นธัมมายตนะ.

ธาตุ ๘ คือ ปัจจุบันนารัมมณจิต ๕๖ เป็นวิญญาณธาตุ ๗ . เจตสิก ๕๐ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๒ คือ ปัจจุบันนารัมมณจิต ๕๖ เจตสิก ๔๙ (เว้นโลภะ) เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์

บัญญัตตารัมมณจิต เอกันตะ ๒๑ เจตสิกที่ประกอบ ๓๕ บัญญัตตารัมมณจิต อเนกันตธ ๓๑ เจตสิกที่ประกอบ ๔๙ (เว้นวีรตี) และอัปปมาณารัมมณจิต เอกันตะ ๘ เจตสิกที่ประกอบ ๓๖ อัปปมาณารัมมณจิต อเนกันตะ ๑๑ เจตสิกที่ประกอบ ๓๓ (เว้นวีรตี อัปปมัญญา) รูป ๒๘ นิพพาน เป็นติกวิมุต

ติกะนี้ชื่อว่า อาทิลทฺธนามติก และสปฺปเทสติก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2013, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




1481252666918.jpg
1481252666918.jpg [ 63.89 KiB | เปิดดู 6087 ครั้ง ]
๒๐. อชฺฌตฺตติก

ปฐมบท : อชฺฌตฺตา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นภายในสันดานแห่งตน มีอยู่
องค์ธรรมของปฐมบท
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ ทีเป็นภายในสันดานแห่งตน. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๓

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ ที่เป็นภายในแห่งตน. เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. จิต ๘๙ เป็นวิญญาณขันธ์.

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. จิต ๘๙ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ ที่เป็นภายในแห่งตนนั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. จิตที่เหลือ ๗๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ ที่เหลือ เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๓ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.
มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต
นิพพานเป็นติกวิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 เม.ย. 2013, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุติยบท : พหิทฺธา ธมฺมา
สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอกสันดานแห่งตน มีอยู่
องค์ธรรมของทุติยบท
ได้แก่ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ นิพพาน ทีเป็นภายนอกสันดานแห่งตน. ธรรมเหล่าเมื่อจำแนกโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะแล้ว ได้ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔

ขันธ์ ๕ คือ รูป ๒๘ ที่เป็นภายนอกแห่งตน. เป็นรูปขันธ์ ในเจตสิก ๕๒ นั้น เวทนาเจตสิก เป็นเวทนาขันธ์. สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์. เจตสิกที่เหลือ ๕๐ เป็นสังขารขันธ์. จิต ๘๙ เป็นวิญญาณขันธ์.
นิพพาน เป็นขันธวิมุต

อายตนะ ๑๒ คือ ในรูป ๒๘ นั้น จักขุปสาท เป็น จักขายตนะ. โสตปสาท เป็น โสตายตนะ. ฆานปสาท เป็น ฆานายตนะ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหายตนะ. กายปสาท เป็น กายายตนะ. รูปารมณ์ เป็น รูปายตนะ. สัทธารมณ์ เป็น สัททายตนะ. คันธารมณ์ เป็น คันธายตนะ. รสารมณ์ เป็นรสายตนะ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพายตนะ. จิต ๘๙ เป็น มนายตนะ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมายตนะ

ธาตุ ๑๘ คือ ในรูป ๒๘ ที่เป็นภายนอกแห่งตนนั้น จักขุปสาท เป็น จักขุธาตุ. โสตปสาท เป็น โสตธาตุ. ฆานปสาท เป็น ฆานธาตุ. ชิวหาปสาท เป็น ชิวหาธาตุ. กายปสาท เป็น กายธาตุ. รูปารมณ์ เป็น รูปธาตุ. สัทธารมณ์ เป็น สัททธาตุ. คันธารมณ์ เป็น คันธาตุ. รสารมณ์ เป็นรสธาตุ.(ปถวี เตโช วาโย) โผฏฐัพพารมณ์ เป็น โผฏฐัพพธาตุ. จักขุวิญญาณจิต ๒ เป็นจักขุวิญญาณธาตุ. โสตวิญญาณจิต ๒ เป็นโสตวิญญาณธาตุ. ฆานวิญญาณจิต ๒ เป็นฆานวิญญาณธาตุ. ชิวหาวิญญาณจิต ๒ เป็น ชิวหาวิญญาณธาตุ. กายวิญญาณจิต ๒ เป็นกายวิญญาณธาตุ. ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ สัมปฏิจฉนจิต ๒ เป็นมโนธาตุ. จิตที่เหลือ ๗๖ เป็นมโนวิญญาณธาตุ. เจตสิก ๕๒ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน เป็นธัมมธาตุ.

สัจจะ ๔ คือ จิต ๘๙ เจตสิก ๕๑ (เว้นโลภะ) รูป ๒๘ เป็นทุกขสัจจ์. โลภะเจตสิก เป็นสมุทัยสัจจ์.
นิพพาน เป็นนิโรธสัจจะ. มรรคมีองค์ ๘ หรือ ๗ ที่ในมัคคจิต ๔ เป็นมรรคสัจจ์. มัคคจิตตุปบาทที่เหลือ ๒๙ ผลจิตตุปบาท ๓๗ เป็นสัจจ์วิมุต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 69 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร