วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 22:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มิ.ย. 2013, 08:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b42: จากหนังสือ กัมมจตุกกะ และ มรณุปปัตติจตุกกะ หลักสูตรชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะตรี

วิธีแก้ไขอกุศลกรรมไม่ให้มีโอกาสส่งผลคือให้เป็น อโหสิกรรม

ผู้ที่มีความเชื่อในกรรมและผลของกรรมเหล่านี้ กล่าวได้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่กล้าทำบาปก็จริง แต่ในบาง
คราวก็กระทำลงไป มีการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ เป็นต้น ด้วยอาศัยกิเลสต่างๆ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
และเมื่อได้กระทำลงไปแล้ว ก็รู้สึกกลัวในการที่จะต้องได้รับผลแห่งการกระทำอกุศลของตนนั้น
ทำให้เกิดความเสียใจ กลุ้มใจยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ยิ่งทำให้อกุศลเพิ่มขึ้น และมีกำลังมากขึ้นอีก
สามารถส่งผลได้แน่นอนทั้งในภพนี้และภพหน้า ตลอดจนภพต่อๆ ไปอีกด้วย การกระทำอกุศลกรรม
ของบุคคลชนิดนี้ไม่มีโอกาสที่จะกลายเป็นอโหสิกรรมไปได้


วิธีแก้ไขอกุศลกรรมที่ตนได้กระทำไปแล้ว ให้กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้นั้นคือ หลังจากที่ตนได้กระทำ
อกุศลกรรมไปแล้ว และมีความรู้สึกผิดชอบเกิดขึ้น ต้องทำการอธิษฐานใจตนว่า เราจะไม่ทำทุจริตหรือ
ทุราชีพเช่นนี้อีกต่อไป แล้วไม่ต้องหวลกลับไปคิดถึงเรื่องนั้นอีก และพยายามสร้างกุศลอาจิณณกรรมให้
เกิดขึ้นอยู่เสมอ คือมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม หรืออ่านหนังสือธรรมะเสมอๆ หรือสวดมนต์ไหว้พระ
ใส่บาตร แผ่ส่วนบุญ แผ่เมตตาเสมอๆ หรือรักษาศีล๕ ศีล๘ บวชเป็นชี เป็นเณร เป็นพระหรือมีการ
เจริญสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานอยู่เสมอ ถ้าปฏิบัติดังกล่าวมาแล้วนี้จนตลอดชีวิตแล้ว
อกุศลทิฐธัมมเวทนียกรรม และอุปปัชชเวทนียกรรม ที่นอกจากครุกกรรมย่อมไม่มีโอกาสส่งผล กลายเป็น
อโหสิกรรมไปได้ สำหรับอกุศลอปราปริยเวทนียกรรมนั้น แม้จะไม่กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ก็จริง
แต่ก็ทำให้การส่งผลของอกุศลกรรมชนิดนี้เบาบางลงไปได้ด้วยอำนาจแห่งกุศลอาจิณณกรรมนั้นเอง

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 15:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ก.ค. 2013, 21:44
โพสต์: 173

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับอกุศลอปราปริยเวทนียกรรมนั้น แม้จะไม่กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ก็จริง
แต่ก็ทำให้การส่งผลของอกุศลกรรมชนิดนี้เบาบางลงไปได้ด้วยอำนาจแห่งกุศลอาจิณณกรรมนั้นเอง
อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ทำไมถึงอโหสิกรรมไม่ได้หรอค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ก.ค. 2013, 16:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




rtublog5.gif
rtublog5.gif [ 20.12 KiB | เปิดดู 4488 ครั้ง ]
Quote Tipitaka:
สำหรับอกุศลอปราปริยเวทนียกรรมนั้น แม้จะไม่กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ก็จริง
แต่ก็ทำให้การส่งผลของอกุศลกรรมชนิดนี้เบาบางลงไปได้ด้วยอำนาจแห่งกุศลอาจิณณกรรมนั้นเอง
อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ทำไมถึงอโหสิกรรมไม่ได้หรอค่ะ

กรรมที่ให้ผลมี ๓ กาล
ให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธัมมเวทนียกรรม ได้แก่ ชวนะดวงที่ ๑
ให้ผลในชาติหน้า เรียกว่า อุปปัชชทเวทนียกรรม ได้แก่ ชวนะดวงที่ ๗
ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงนิพพาน ได้แก่ ชวนะ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖
เรียกว่าอปราปริยเวทนียกรรม

ถาม อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ทำไมถึงอโหสิกรรมไม่ได้หรอค่ะ

ตอบ อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม เป็นอโหสิกรรมได้เมื่อผู้นั้นได้เข้านิพพานไปแล้ว
คือไม่มีที่จะให้ผล อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ก็ต้องเป็นอโหสิกรรมไป


(รอเจ้าของกระทู้มาตอบอีกทีหนึ่ง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับอกุศลอปราปริยเวทนียกรรมนั้น แม้จะไม่กลายเป็นอโหสิกรรมไปได้ก็จริง
แต่ก็ทำให้การส่งผลของอกุศลกรรมชนิดนี้เบาบางลงไปได้ด้วยอำนาจแห่งกุศลอาจิณณกรรมนั้นเอง
อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ทำไมถึงอโหสิกรรมไม่ได้หรอค่ะ

กรรมที่ให้ผลมี ๓ กาล
ให้ผลในชาตินี้ เรียกว่า ทิฎฐธัมมเวทนียกรรม ได้แก่ ชวนะดวงที่ ๑
ให้ผลในชาติหน้า เรียกว่า อุปปัชชทเวทนียกรรม ได้แก่ ชวนะดวงที่ ๗
ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้นไปจนกว่าจะถึงนิพพาน ได้แก่ ชวนะ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖
เรียกว่าอปราปริยเวทนียกรรม

ถาม อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ทำไมถึงอโหสิกรรมไม่ได้หรอค่ะ

ตอบ อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม เป็นอโหสิกรรมได้เมื่อผู้นั้นได้เข้านิพพานไปแล้ว
คือไม่มีที่จะให้ผล อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ก็ต้องเป็นอโหสิกรรมไป

(รอเจ้าของกระทู้มาตอบอีกทีหนึ่ง)


:b8: ขออนุโมทนาบุญในการตอบคำถามค่ะลุง ขอบคุณค่ะลุง เมื่อวานไปสยาม รถติดต้องรีบไปค่ะ

ชวนะดวงที่๑ กับดวงที่ ๗ นั้นมีกำลังอ่อน เพราะดวงที่๑ เกิดขึ้นใหม่ยังไม่ค่อยมีกำลังและดวงที่ ๗
ก็เป็นดวงสุดท้ายกำลังจะดับก็กำลังอ่อน ในอเสวนปัจจัยนั้น
ดวงที่๑เป็นปัจจัยได้แต่เป็นปัจจยุบันไม่ได้ ดวงที่๑ให้ผลในชาตินี้เท่านั้น
ดวงที่๗เป็นปัจจยุบันได้แต่เป็นปัจจัยไม่ได้ ดวงที่๗จึงให้ผลในชาติหน้าชาติต่อไปเท่านั้น
ดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๗ จึงมีเงื่อนไขของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง คือถ้าดวงที่๑ ไม่ให้ผลชาตินี้ก็เป็น
อโหสิกรรมไป ถ้าดวงที่๗ ไม่ให้ผลในชาติต่อไปก็เป็นอโหสิกรรมไปเช่นกัน มีเงื่อนไขเวลาเข้ามา
จึงสามารถเป็นอโหสิกรรมได้

ส่วนกุศลและอกุศลที่เป็นอปราปริยเวทนียกรรม เป็นอโหสิกรรมไม่ได้นั้นก็เพราะอยู่ในชวนะดวงที่๒
ถึงดวงที่๖ มีกำลังแรงเป็นทั้งปัจจัยและปัจจยุบันได้ในอเสวนปัจจัย ฉะนั้นจึงไม่สามารถเป็นอโหสิกรรม
ได้ จะส่งผลในชาติที่๓ ไปจนถึงกว่าจะถึงชาติสุดท้ายที่เป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานเมื่อไรเมื่อนั้นแหล่ะ
หนีอปราปริยเวทนียกรรมพ้น
ในวิถีจิตหนึ่งๆ นั้นเราจะสร้างกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็ทำกรรมกันอยู่ตรง
ชวนะ๗ขณะนี้แหล่ะค่ะ เมื่อสร้างเหตุก็ต้องมีผลให้ได้รับ เพราะฉะนั้นเราจึงหนีวิปากยาก แม้ว่าชวนะ
ดวงที่๑ จะเป็นอโหสิกรรมได้ แต่ก็ใช่ว่าจะหนีกันง่ายๆ ยามใดที่กรรมที่เคยทำไว้แต่ชาติก่อนส่งผล
เช่นเป็นโรคร้ายแรง ทิฎฐธัมมเวทนียกรรม ได้แก่ ชวนะดวงที่ ๑ที่สร้างกรรมชั่วไว้ในชาตินี้ก็จะได้
โอกาสตามมาสมทบซ้ำเติมให้ได้รับผลที่หนักขึ้น คือทิฎฐธัมมเวทนียกรรมก็เฝ้ารอโอกาสส่งผลอย่าง
จดจ่ออยู่เหมือนกันในชาตินี้ เมื่อไรมีโอกาสก็ไม่เคยละเว้นให้มันตกไปเป็นอโหสิกรรมง่ายๆ ค่ะ

แต่ทุกอย่างก็มีช่องทางให้หลีกเลี่ยงได้บ้างเหมือนกัน แม้แต่อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม ก็สามาถ
หนีให้มันไล่ตามไม่ทันได้ แต่ต้องอาศัยอินทรีย์ที่แก่กล้าจริงๆ ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ ประการ
นับตั้งแต่ชาติที่๑ เป็นต้นไป คือถ้าจะหนีก็เร่งทำในชาตินี้เป็นต้นไป แต่มีข้อจำกัดคือ ผู้นั้นจะต้องมี
-ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา การเป็นผู้สร้างสมกุศลไว้แต่ปางก่อนประการหนึ่ง
-ปฏิรูปเทสวาส การได้อยู่ในถิ่นฐานที่ประกอบด้วยศีลธรรมอย่างหนึ่ง
-สปฺปุริสูปนิสฺสย การได้คบหาสมาคมกับพวกสัปบุรุษอย่างหนึ่ง
-สทฺธมฺมสวน การได้ฟังพระสัทธรรมอย่างหนึ่ง
-อตฺตสมฺมาปณิธิ การตั้งตนไว้ในทางที่ถูกต้องอย่างหนึ่ง
ก็ต้องมีคุณสมบัติถึงพร้อม ๕ อย่างนี้ทุกๆ ชาติไปจึงจะหนีพ้น และในการที่จะหนีพ้นด้วย
การมีคุณสมบัติครบทั้ง ๕ ได้นั้นที่สำคัญ ก็อยู่ที่การกระทำในภพนี้ คือ
๑. ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา อยู่เสมอ แล้วตั้งความปราถนาไว้ว่าขอให้การบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้านี้จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยไปทุกๆ ชาติด้วย
๒. มีความพอใจอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรม และตั้งความปราถนาว่าขอให้ได้เกิดอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรมทุกๆ ชาติไป
๓. ในการสมาคมต้องไม่เกลือกกลั้วกับคนพาล พยายามคบหาสมาคมกับผู้มีความรู้และมีศีลธรรม
และตั้งความปราถนาว่าขอให้ได้พบกับสัปบุรุษทุกๆ ชาติไป
๔. ต้องสนใจฟังและศึกษาในธรรมะที่มีประโยชน์และถูกต้อง (แนะนำเรียนพระอภิธรรมค่ะ) พร้อม
ทั้งตั้งความปราถนาว่าด้วยอำนาจแห่งการฟังการศึกษาธรรมะของข้าพเจ้านี้ของจงเป็นพลวปัจจัย
ให้ข้าพเจ้าได้โอกาสฟังและเรียนธรรมะที่ถูกต้องทุกๆ ชาติไปด้วยเทอญ
๕. มีการรักษากาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นไปในทางสุจริตอยู่เสมอ และตั้งความปราถนาว่า
ด้วยอำนาจแห่งการที่ข้าพเจ้าได้ประพฤติกาย วาจา ใจ ในทางสุจริตนี้ขอจงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้
ข้าพเจ้าได้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม และได้ประพฤติอยู่แต่ในทางสุจริตทุกๆ ชาติไป

การปฏิบัติได้ครบ ๕ ข้อนี้ ต้องเป็นผู้ที่มีอินทรีย์ ๕ แก่กล้าครบถ้วน คือมี ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ
ปัญญา ครบคือมีอินทรีย์ ๕ แก่กล้านั่นเองก็อาจสามารถทำให้ผู้นั้นได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติทั้ง
๕ ประการ ในทุกภพทุกชาติต่อๆ ไปจนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน ถ้าทำได้อย่างนี้ อกุศลอปราปริยเวทนี-
ยกรรมนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะส่งผลได้ กลายเป็นอโหสิกรรมไปทันทีที่ปรินิพานแล้ว แต่ทำยากมากเพราะ
จะต้องเป็นคนที่มีบารมีแก่กล้าเท่านั้นจึงจะทำให้สำเร็จได้

แม้แต่พระพุทธเจ้าในครั้งที่ยังไม่ได้ดับขันธ์ปรินิพานก็ยังทรงต้องรับอปราปริยเวทนียกรรมอยู่
ในครั้งที่ใกล้จะปรินิพานทรงกระหายน้ำ แต่พระอานนท์ก็ยังไม่ตักน้ำมาให้พระองค์เพราะน้ำยังขุ่น
อยู่ พระองค์ต้องรับวิปากให้ทรงกระหายน้ำอยู่นานกว่าจะได้ดื่มน้ำ

คลิ๊กอ่าน นานาปัญหาที่๗. พระพุทธเจ้าได้เคยทำกรรมชั่วอะไรไว้บ้างในอดีต
http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=7

:b42: ครั้งต่อไป จะนำคาถาที่ทำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ มาให้อ่านกันค่ะ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2013, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


:b45: อปราปริยเวทนียกรรมนี้ บางท่านอาจจะเข้าใจว่า
ย่อมสามารถส่งผลซ้ำๆ กันได้หลายครั้ง เพราะย่อมส่งผลในปวัตติกาลได้
ตั้งแต่ภพที่ ๓ เป็นต้น ไปจนถึงเข้าสู่พระนิพพาน ซึ่งตามความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น
เพราะอปราปริยเวทนียกรรมอันใดส่งผลในปวัตติกาลแล้ว อปราปรเวทนียกรรมอันนั้น
ก็เป็นอันว่าหมดอำนาจในส่งผลแม้แต่จะยังไม่ถึงภพที่เข้าสู่ปรินิพพานก็ตาม

ส่วนอปราปริยเวทนียกรรมอันใดที่ยังไม่มีโอกาสส่งผลในปวัตติกาล
ก็ยังมีโอกาสติดตามให้ผลต่อไปจนถึงเข้านิพพาน

ดังมีวจนัตถะในเนมิราชชาดกอรรถกถา แสดงว่า
อปราปรเวทนียํ ปน วิปากํ อทตฺวา น นสฺสติ
อปราปริยเวทนียกรรม ย่อมไม่สูญหายไปไหน ถ้ายังมิได้ส่งผล
หรือส่งผลแล้วก็ย่อมสูญหายไป :b38: :b38:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.ค. 2013, 18:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


คาถาแนะแนวทางออกจากสังสารวัฏ
ปฏิสงฺขาย ปเนตมทฺธุวํ อธิคนฺตฺวา ปทมจฺจุตํ พุธา
สุสมุจฺฉินฺนสิเนหพนฺธนา สมเมสฺสนฺติ จิราย สุพฺพตา ฯ

แนวทางปฏิบัติที่ให้ขาดจากสังสารวัฏนั้นมีอยู่ว่า ผู้มีปัญญาเป็นปกติ คือผู้ที่ปฏิสนธิด้วยไตรเหตุทั้งหลาย
มีความประพฤติปฏิบัติชอบ คือ รักษาศีล บำเพ็ญธุดงค์เจริญสมาธิมาเป็นเวลานาน พิจารณาเห็นแจ้งถึง
ความเป็นไปแห่งจิตและเจตสิกว่าเป็นของไม่เที่ยง แล้วจะได้บรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นธรรมที่ไม่ตาย
โดยมรรคญาณ ผลญาณ ถอนเครื่องผูกมัด คือ ตัณหาเสียได้แล้วจักเข้าถึงซึ่งพระนิพพานอันสงบ
ตัดขาดจากสังขารธรรมทั้งปวงแน่แท้ ฯ

:b8: :b8: :b8:

เวลาคนตายแล้วนั้น จุติแล้วไม่มีวิญญาณออกจากร่างไปแสวงหาที่เกิดใหม่นะคะ
ถ้าคิดเห็นแบบนี้เป็น สัสสตทิฏฐิที่เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วค่ะ ขวางทางนิพพาน แต่ไม่ขวางทางสวรรค์
ในขณะที่ตาย จิต เจตสิก และรูป ดับพร้อมกัน จุติแล้วปฏิสนธิทันทีนั้น
ปฏิสนธิวิญญาณ เป็นวิปากที่เป็นผลจากเหตุที่เคยกระทำไว้นำเกิดแล้วก็หมดกำลังลง
เกิดจากเหตุปัจจัยใหม่แล้ว วิญญาณในภพใหม่ไม่ใช่วิญญาณจากภพเก่าล่องลอยมาสู่รูปใหม่

:b49: :b49: :b49: :b49: :b49: :b49:

ขอเชิญอ่านค่ะ .... การอดทนต่อทุกข์ จากเฟรสบุ๊ควัดท่ามะโอ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A ... ion=stream

วัดท่ามะโอ ( wattamaoh )

การอดทนต่อทุกข์

ตามปกติเมื่อเราพบกับโลกธรรมที่ไม่น่าชอบใจ เช่น การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา และความทุกข์ คนที่ขาดสติมักตีอกชกหัว โทษว่าตัวเองที่ทำผิดไป หรือโทษผู้อื่นที่มา่ล่วงเกิน หรือมิฉะนั้นก็โทษฟ้าดินลำเอียง

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้เราอดทดต่อสิ่งเลวร้ายเหล่านั้น อย่าปล่อยให้ความเร่าร้อนกังวลใจมาทำร้ายใจของเรา อย่าพูดหรือทำสิ่งอะไรๆ ที่จะทำร้ายคนอื่น เพราะนั่นจะทำให้เราเป็นทุกข์มากขึ้น ไม่ทำให้เราสบายใจขึ้นได้เลย

เราควรพิจารณาว่าเป็นกรรมเก่าของเราที่ต้องชดใช้ แล้วอดทนทำสิ่งที่ควรทำต่อไป ไม่สร้างกรรมใหม่ที่จะก่อให้เกิดทุกข์แก่เราในภพต่อไป การอดทนเช่นนี้อาจทำได้ยาก เราต้องฝืนใจทำ แต่เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เราสบายใจได้

ให้คิดว่าอะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด อะไรจะมา ก็ต้องมา เราหลีกเลี่ยงเวรกรรมไม่ได้ แต่เราจะพยายามทำกรรมในปัจจุบันให้ดีที่สุด เพื่อลดแรงของกรรมเก่าให้น้อยลง

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2024, 15:30 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2863


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 13 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร