วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 06:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2010, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ค. 2009, 09:26
โพสต์: 1517

แนวปฏิบัติ: วิปัสสนาภาวนา
อายุ: 39
ที่อยู่: ลำพูน

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ ๖

ฌานาทิกํ นิวาเรนฺตีติ นิวรณานิฯ ธรรมเหล่าใดที่ขัดขวางกุสลธรรม มีฌาน เป็นต้นไม่ให้เกิดขึ้น ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า นิวรณ

มีความหมายว่า นิวรณ เป็นเครื่องขัดขวางในการกระทำความดีเป็นเครื่องกั้น เครื่องห้ามไม่ให้ ฌาน มัคค ผล อภิญญา สมาบัติ เกิดขึ้นได้

นิวรณ มี ๖ ประการ คือ

๑. กามฉันทนิวรณ ขัดขวางไว้เพราะความชอบใจอยากได้ในกามคุณอารมณ์ เมื่อชอบใจและต้องการแต่ในกามคุณอารมณ์แล้ว ก็ย่อมขาดสมาธิในอันที่จะทำ ความดี มีฌานและมัคคผลเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก ที่ในโลภมูลจิต ๘

๒. พยาปาทนิวรณ ขัดขวางไว้เพราะความไม่ชอบใจในอารมณ์ เมื่อจิตใจ มีแต่ความขุ่นเคืองไม่ชอบใจแล้ว ก็ย่อมขาดปีติความอิ่มใจในการกระทำความดี มี ฌานเป็นต้น องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก ที่ในโทสมูลจิต ๒

๓. ถีนมิทธนิวรณ ขัดขวางไว้เพราะความหดหู่ท้อถอยในอารมณ์ เมื่อจิตใจ หดหู่ท้อถอยเสียแล้ว ก็ย่อมขาดวิตก คือไม่มีแก่ใจที่จะนึกคิดให้ติดอยู่ในอารมณ์ที่จะ กระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก ที่ในอกุสลสสังขาริกจิต ๕

๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ ขัดขวางไว้เพราะคิดฟุ้งซ่าน รำคาญใจ เมื่อจิตใจ เป็นดังนี้ ก็ย่อมขาดความสุขใจในอันที่จะกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ อุทธัจจ เจตสิก กุกกุจจเจตสิก ที่ในอกุสลจิต ๑๒

๕. วิจิกิจฉานิวรณ ขัดขวางไว้เพราะความสงสัย ลังเลใจ เมื่อจิตใจเกิดความ ลังเลสงสัยเสียแล้ว ก็ย่อมขาดวิจารในอันที่จะพินิจพิจารณาในการกระทำความดี องค์ธรรมได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก ที่ในวิจิกิจฉาสหคตจิต ๑

๖. อวิชชานิวรณ ขัดขวางไว้เพราะความไม่รู้ มีการทำให้หลงลืม ก็ย่อมขาด สติ ไม่ระลึกถึงความดีที่ตนจะกระทำ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิกที่ในอกุสลจิต ๑๒

รวมนิวรณ มี ๖ แต่องค์ธรรมมีถึง ๘ คือ โลภเจตสิก โทสเจตสิก ถีนเจตสิก มิทธเจตสิก อุทธัจจเจตสิก กุกกุจจเจตสิก วิจิกิจฉาเจตสิก และ โมหเจตสิก

ถีนมิทธนิวรณนี้ เป็นเจตสิก ๒ ดวงคือ ถีนเจตสิกดวงหนึ่ง และมิทธเจตสิก อีกดวงหนึ่ง แต่เมื่อจัดเป็นนิวรณนับเป็นนิวรณเดียว ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถีนก็ดี มิทธก็ดี เมื่อว่าโดยกิจ คือ หน้าที่การงาน ก็มีหน้าที่ทำให้จิตหดหู่ ท้อถอยต่อ อารมณ์ ไม่จับอารมณ์ ไม่ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เมื่อว่าโดยอาการ คือเหตุ ก็เป็นเหตุ ให้เกียจคร้าน เมื่อว่าโดยวิโรธปัจจัย คือข้าศึก ก็เป็นปฏิปักษ์กับวิริยะ เหมือน ๆ กัน ดังนั้นจึงจัด เป็นนิวรณเดียวกัน

อุทธัจจะ และกุกกุจจะ ที่จัดเป็นนิวรณเดียว ก็ด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน กล่าวคือ ว่าโดยกิจ ก็ทำให้ไม่สงบ ว่าโดยอาการ ก็เพราะเหตุที่คิดถึง พยสนะ ๕ ประการ ว่าโดยวิโรธปัจจัย ก็เป็นศัตรูกับความสุข คือ ถ้าไม่สงบ ก็ไม่เป็นสุข ต่อเมื่อสงบก็เป็นสุข เมื่อมีสุขเวทนาก็เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เอกัคคตา คือการตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว การตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างแน่แน่ว ก็เรียกว่า สมาธิ

พยสนะ ๕ ประการ เรียกว่า วิบัติ ๕ ก็ได้นั้น ได้แก่ ญาติพยสนะ ความพินาศไปแห่งญาติ โภคพฺยสน ความพินาศไปแห่งทรัพย์สมบัติ โรคพฺยสน โรคภัยเบียดเบียน สีลพฺยสน ความทุสีล เสื่อมสีล สิกขาบทที่รักษาอยู่นั้นขาดไป ทิฏฐิพฺยสน ความเห็นผิด ทำให้สัมมาทิฏฐิพินาศไป

ในการเจริญสมถภาวนา ข่มนิวรณเพียง ๕ ประการ คือ ประการที่ ๑ ถึง ๕ ไว้ได้ โดยวิขัมภนปหาน ก็สามารถถึงฌานได้

ส่วนการเจริญวิปัสสนาภาวนา ต้องประหารนิวรณทั้ง ๖ ประการ โดย สมุจเฉทปหาน จึงจะบรรลุมัคคผล

    โสดาปัตติมัคค ประหาร วิจิกิจฉานิวรณ

    อนาคามิมัคค ประหาร กามฉันทนิวรณ กุกกุจจนิวรณและพยาปาทนิวรณ

    อรหัตตมัคค ประหาร นิวรณที่เหลือนั้นได้หมดเลย

อนึ่ง ใคร่จะกล่าวแทรกไว้ในที่นี้ด้วยว่า ถีนมิทธเจตสิก นั้นเป็นนิวรณ เป็น กิเลส แต่ ถีนมิทธ ที่เป็นธรรมประจำกาย นั้น ไม่ใช่นิวรณและไม่เป็นกิเลส

กายานุคตธรรม ธรรมประจำกายนั้น มี ๑๐ ประการ คือ ๑. สีต เย็น , ๒. อุณฺห ร้อน, ๓. ชิฆจฺฉา หิว, ๔. ปิปาส กระหาย, ๕. อุจฺจาร ถ่ายหนัก, ๖. ปสฺสาว ถ่ายเบา, ๗. ถีนมิทฺธ การหลับนอน, ๘. ชรา แก่, ๙. พยาธิ เจ็บไข้ ได้ป่วย, ๑๐.มรณ ตาย

.....................................................
"ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา..."
"... ไม่เที่ยง เกิดดับ ..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ส.ค. 2011, 14:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ก.ค. 2011, 09:53
โพสต์: 12


 ข้อมูลส่วนตัว


การประหาณนิวรณ์ ๖ โดยมรรคทั้ง ๔
กุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงประหาณโดยโสดาปัตติมรรค
กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ พึงประหาณโดย อนาคามิมรรค
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ พึงประหาณโดยอรหัตตมรรค
ขอบคุณค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2012, 23:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 พ.ค. 2012, 17:02
โพสต์: 18


 ข้อมูลส่วนตัว


เคยได้ยินแต่นิวร ๕ เพิ่งเคยได้ยินว่ามีข้อ ๖ อีก
คนโง่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ต.ค. 2012, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


pipat เขียน:
เคยได้ยินแต่นิวร ๕ เพิ่งเคยได้ยินว่ามีข้อ ๖ อีก
คนโง่

นิวรณ์มี ๖ ถูกต้องแล้วครับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 ต.ค. 2012, 06:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 เม.ย. 2007, 05:03
โพสต์: 214

ที่อยู่: ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมครับ จากพระอภิธัมมัตถสังคหะ

นิวรณ์ของฌาน
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p1/054.htm

นิวรณ์อันเป็นเครื่องกีดขวางไม่ให้เกิดฌานได้นั้น มี ๕ ประการ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ และวิจิกิจฉานิวรณ์

๑. กามฉันทนิวรณ์ คือความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้อง ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ระคนด้วยสี ถ้ามัวไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้เป็นไม่ได้ฌานแน่ ต้องใช้เอกัคคตาเผากามฉันทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๒. พยาปาทนิวรณ์ ความมุ่งจะปองร้ายผู้อื่น ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน ถ้ามัวแต่ครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ ฌานจิตก็เกิดไม่ได้ ต้องใช้ปิติเผาพยาปาทนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่ ถ้าใจท้อถอยคลายความใส่ใจในอารมณ์ที่เพ่งนั้นแล้ว ย่อมไม่เกิดผลให้ถึงฌานได้ ต้องใช้วิตกเผาถีนมิทธนิวรณ์อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจเลื่อนลอยซัดส่ายอยู่เรื่อย ๆ แล้วก็ไม่เป็นฌานจิต ต้องใช้สุขเผาอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลไม่แน่ใจ ซึ่งเปรียบไว้ว่าเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งอยู่ในที่มืด ถ้าเกิดลังเลใจไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็เป็นอันว่าไม่ทำให้ถึงฌานได้อยู่ตราบนั้น ต้องใช้วิจารเผาวิจิกิจฉานิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์นี้เสีย

---------------------------------------------

การเผานิวรณ์
http://www.abhidhamonline.org/aphi/p1/055.htm

การเผา การข่ม การทำลายหรือการประหารนิวรณ์ กล่าวสรุปอย่างสั้น ๆ ก็ต้องใช้

วิตก เผา ถีนมิทธนิวรณ์

วิจาร เผา วิจิกิจฉานิวรณ์

ปิติ เผา พยาปาทนิวรณ์

สุข เผา อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์

เอกัคคตา เผา กามฉันทนิวรณ์

นิวรณ์ทั้ง ๕ อันเป็นปฏิปักษ์ธรรมอันเป็นเครื่องขัดขวางมิให้เกิดฌาน ต้องเผาให้หมดทั้ง ๕ ก่อน ฌานจิตจึงเกิดขึ้นได้ ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ยังคงอยู่แม้แต่อย่างเดียว ฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย

เหตุนี้ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา จึงเป็นปัจจัยส่วนสำคัญยิ่งที่ให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียกธรรม ๕ ประการ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา นี้ว่าเป็น องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌานจิต

การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งฌานนี้ เรียกว่า วิขัมภนปหาน เป็นการประหารไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม ซึ่งเปรียบเหมือนหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อม นิวรณ์ก็ไม่มีโอกาสจะกำเริบขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็เสื่อมไปเมื่อนั้น

---------------------------------------------

สมถะ(ฌาน,สมาธิ) ที่เป็นบาทของวิปัสสนา
viewtopic.php?f=2&t=21049


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2013, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


๗๔๘] ธรรมเป็นนิวรณ์ เป็นไฉน?
นิวรณ์ ๖ คือ กามฉันทนิวรณ์. พยาปาทนิวรณ์. ถีนมิทธนิวรณ์. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์.
วิจิกิจฉานิวรณ์. อวิชชานิวรณ์.

ขอยกข้อสุดท้ายที่หายไป
อวิชชานิวรณ์นี้ต้องประด้วยมรรค ไม่สามารถประหารได้ด้วยองค์ฌาน

[๗๕๔] อวิชชานิวรณ์ เป็นไฉน?
ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในทุกขสมุทัย ความไม่รู้ในทุกขนิโรธ ความไม่รู้ในทุกข-
*นิโรธคามินีปฏิปทา ความไม่รู้ในส่วนอดีต ความไม่รู้ในส่วนอนาคต ความไม่รู้ในส่วนอดีตและ
ส่วนอนาคต ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปปาทธรรมว่า เพราะธรรมนี้เป็นปัจจัยธรรมนี้จึงเกิดขึ้น
ความไม่รู้ ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้โดยสมควร ความไม่รู้ตามความเป็นจริง
ความไม่แทงตลอด ความไม่ถือเอาให้ถูกต้อง ความไม่หยั่งลงโดยรอบคอบ ความไม่พินิจ ความ
ไม่พิจารณา ความไม่ทำให้ประจักษ์ ความมีปัญญาทราม ความโง่เขลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความลุ่มหลง ความหลงใหล อวิชชา โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ มีลักษณะเช่นว่านี้ อันใด นี้เรียกว่า
อวิชชานิวรณ์.
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นนิวรณ์.

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... ode=%5B%5D

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ต.ค. 2016, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านพบในเนตติฏิปปนี หน้า ๑๓๕
อวิชชาเป็นหนึ่งในนิวรณ์ ฉะนั้น คำตอบว่า อวิชฺชาย นิวุโต โลโก (สัตว์โลกถูกอวิชชาครอบงำ)
จึงจัดอยู่ในนิวรณ์ ถามว่า ทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสอย่างเดียว ต่อคำถามข้อนี้ให้เหตุผลว่า "อวิชฺชานีวรณา หิ สพฺเพหิ สตฺตาหิ เป็นความจริงที่ว่า สตฺตา
สัตว์ทั้งหลาย สพฺเพ ทั้งปวง อวิชฺชานีวรณา มีอวิชชาเป็นนิวรณ์ หรือมีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกไข่ ตราบใดที่ยังไม่กระเทาะออกจากเปลือกไข่
กระเปาะไข่ก็ยังถือว่ามีอวิชชาอยู่
ฉันใด สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม ในทำนองเดียวกันฉันนั้น

นี้เรียกว่าเป็นการสนับสนุนโดยประโยค นีวรเณหิ นิวุตฺโต ประโยคนี้กล่าวมาลอย แต่ประโยคหลัง(อวิชฺชานีวรณา หิ สพฺเพ สตฺตา)
เป็นคำสนับสนุนยืนยันว่า "โลก" ถูกความไม่รู้ปกปิดจริง เพราะในทางหลักบพระอภิธรรม มีการยอมรับว่า ในสัตว์ทั้งปวงมีอวิชชาเป็นนิวรณ์

จะสังเกตุว่าตอนที่พระพุทธองค์ทรงตอบอชิตะมานพ พระองค์ตอบว่า อวิชชาห่อหุ้มโลก แต่ในที่นี้ท่านกำลังจะอธิบายว่า
อวิชชามันห่อหุ้มแบไหน เพราะจริงๆ แล้วตัวที่ห่อหุ้มโลกไม่ใช่ตัวอวิชชาตัวเดียว ทั้งนี้เพราะนิวรณ์ ๕ องค์ธรรมก็มีมากกว่าหัวข้อ
เพราะมีแยกอุทธัจจะออกจากกุกกุจจะ มิทธะก็แยกออกจากถีนะ จึงทำให้องค์ธรรมมีมากกว่า

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 20 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร