วันเวลาปัจจุบัน 28 มี.ค. 2024, 17:19  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 14:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




--_1_~1.JPG
--_1_~1.JPG [ 89.83 KiB | เปิดดู 15684 ครั้ง ]
เจตสิกคืออะไร

เจตสิกคือธรรมชาติสิ่งหนึ่ง ซึ่งประกอบกับจิต และปรุงแต่งจิตให้ประพฤติเป็นไปตามนั้น
อาการที่ประกอบกับจิตนั้น เรียกว่า เจโตยุตฺตลกฺขณํ คือมีสภาพที่ประกอบกับจิต
บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๔ ประการคือ

เอกุปฺปาท เกิดพร้อมกับจิต
เอกนิโรธ ดับพร้อมกับจิต
เอกาลมฺพณ มีอารมณ์เดียวกับจิต
เอกวตฺถุก อาศัยวัตถุเดียวกับจิต


ดังมีคาถาสังคหะที่ ๑ แสดงว่า
๑. เอกุปฺปาทนิโรธา จ เอกาลมฺพณ วตฺถุกา
เจโตยุตฺตา ทฺวิปญฺญาส ธมฺมา เจตสิกา มตา

แปลความว่า สภาวธรรมที่เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต
และมีวัตถุที่อาศัยเกิดก็เป็นอัน เดียวกับจิต ธรรมชาตินั้นเรียกว่า เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง


--------------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง >> http://www.thepathofpurity.com

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


เจตสิกมี ลักษณะ ( คือคุณภาพหรือเครื่องแสดง ) ,
รสะ ( กิจการงาน หรือหน้าที่ ) ,
ปัจจุปัฏฐาน ( อาการปรากฏ หรือ ผล ) ,
ปทัฏฐาน ( เหตุใกล้ให้เกิด )
เป็น ๔ ประการ ซึ่งรวมเรียก ลักขณาทิจตุกะ นั้น ดังนี้

จิตฺตนิสฺสิตลกฺขณํ อาศัยจิตเกิดขึ้น เป็นลักษณะ
อวิโยคุปฺปาทนรสํ เกิดร่วมกับจิต เป็นกิจ
เอกาลมฺพณปจฺจุปฏฺฐานํ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต เป็นผล
จิตฺตุปฺปาทปทฏฺฐานํ มีการเกิดขึ้นแห่งจิต เป็นเหตุใกล้

อนึ่งเจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ปรุงแต่งจิต ให้จิตประพฤติเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม
แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด

เจตสิกทั้ง ๕๒ แบ่งเป็น ๓ ประเภท

เจตสิกทั้งหมด มีจำนวน ๕๒ ดวง ซึ่งแต่ละดวงก็มีลักษณะแตกต่างกัน ไม่เหมือนกันเลย ถึงกระนั้นก็ยัง
แบ่งเจตสิก ๕๒ ดวงนี้ ได้เป็น ๓ ประเภท ดังมีคาถาสังคหะ แสดงว่า

คาถาสังคหะที่ ๒ แสดงว่า

๒. เตรสญฺญสมานา จ จุทฺทสากุสลา ตถา
โสภณา ปญฺจวีสาติ ทวิปญฺญาส ปวุจฺจเร ฯ


แปลความว่า เจตสิก ๕๒ ดวง จัดเป็น ๓ ประเภท คือ
อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง
โสภณเจตสิก ๒๕ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 14:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 29.21 KiB | เปิดดู 15682 ครั้ง ]
อัญญสมานาเจตสิก
อัญญสมานาเจตสิก เป็นเจตสิกที่เสมอเหมือนกับสภาพอื่นได้ หมายความว่า
เป็นเจตสิกที่ประกอบกับธรรมที่เป็นอกุศล หรือเป็นกุศล หรือเป็นอพยากตะได้ทุกชนิด
เมื่อประกอบกับธรรมชนิดใด ก็มีสภาพเป็นชนิดนั้นไปด้วย กล่าวคือ
ถ้าเกิดร่วมกับ อกุศลก็นับเป็นอกุศลไปด้วย
ถ้าเกิดร่วมกับกุศล ก็จัดเป็นกุศลไปด้วย
เมื่อเกิดร่วมกับอพยากตะ ก็เรียกว่าเป็นอพยากตะไปด้วย

อัญญสมานาเจตสิก มีจำนวน ๑๓ ดวง ชื่ออะไรบ้าง มีแจ้งอยู่ที่หน้าต้นนั้นแล้ว
ในจำนวน ๑๓ ดวงนี้ ยังจัดออกได้เป็น ๒ พวก คือ
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มีจำนวน ๗ ดวง
ปกิณณกเจตสิก มีจำนวน ๖ ดวง
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก
สัพพจิตสาธารณเจตสิก เป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมดหมายความว่า จิตทั้งหมดซึ่งมีจำนวน
นับอย่างย่อ ๘๙ ดวง หรือนับอย่างพิศดารก็มี ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อจิตดวงใดเกิดขึ้น เจตสิกทั้ง ๗ ดวงนี้
ย่อมเกิดประกอบกับจิตนั้นพร้อมกันทั้ง ๗ ดวงเสมอไป ไม่มีเว้นเลย ดังนั้นจึงว่าเป็นเจตสิกที่สาธารณะแก่จิตทั้งหมด สมกับชื่อที่ว่า สัพพจิตตสาธารณเจตสิก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 29.21 KiB | เปิดดู 15682 ครั้ง ]
สัพพจิตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง มีดังนี้

ผัสสเจตสิก

๑. ผัสสเจตสิก คือ การกระทบอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

ผุสนลกฺขโณ มีการกระทบอารมณ์ เป็นลักษณะ
สงฺฆฏฏฺนรโส มีการประสานอารมณ์ วัตถุ วิญญาณ เป็นกิจ
สนฺนิปาตปจฺจุปฏฺฐาโน มีการประชุมพร้อมกัน เป็นผล
อาปาถคตวิสยปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ปรากฏ เป็นเหตุใกล้

ความหมายของผัสสเจตสิกนี้ ไม่ได้หมายเพียงแต่ว่า ของสองสิ่งกระทบกันเท่านั้น แต่หมายถึงว่าต้องมี
ธรรม ๓ ประการมาประชุมร่วมพร้อมกัน จึงจะเรียกว่าผัสสเจตสิก ธรรม ๓ ประการนั้น คือ อารมณ์ ๑
วัตถุ ๑ ธรรม ๒ ประการนี้กระทบ กัน และทำให้เกิดวิญญาณอีก ๑ ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงว่ากระทบกันเฉยๆ

เวทนาเจตสิก

๒. เวทนาเจตสิก คือการเสวยอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็คือ ความรู้สึก รู้สึกว่าสบาย
หรือไม่สบาย แยกตาม ประเภทแห่งความเป็นใหญ่ในการรู้สึก เป็น ๕ อย่าง ได้แก่

ก. สุขเวทนาเจตสิก คือความสุขสบายทางกาย มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ดีเป็นลักษณะ
สมฺปยุตตฺตานํ พยูหนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเจริญ เป็นกิจ
กายิกอสฺสาทปจฺจุปฏฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางกาย เป็นผล
กายินฺทฺริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

ข. ทุกขเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ยากลำบากกาย มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
อนิฏฺฐโผฏฺฐพฺพานุภวนลกฺขณา มีการสัมผัสถูกต้องกับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ มิลาปนรสา มีการทำให้สัมปยุตตธรรมเศร้าหมอง เป็นกิจ
กายิกาพาธปจฺจุปฏฺฐานา มีความอาพาธทางกาย เป็นผล
กายินฺทริยปทฏฺฐานา มีกายประสาท เป็นเหตุใกล้

ค. โสมนัสเวทนาเจตสิกคือความสุขความสบายใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ดี เป็นลักษณะ
อิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการทำจิตให้อยู่ร่วมกับอารมณ์ที่ดี เป็นกิจ
เจตสิกอสฺสาทปฏฺจุปจฺฐานา มีความชื่นชมยินดีทางใจ เป็นผล
ปสฺสทฺธิปทฏฺฐานา มีความสงบกายสงบใจ เป็นเหตุใกล้

ง. โทมนัสเวทนาเจตสิกคือความทุกข์ใจ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
อนิฏฺฐารมฺมณานุภวนลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นลักษณะ
อนิฏฺฐาการสมฺโภครสา มีการเสวยอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นกิจ
เจตสิกาพาธปจฺจุปฏฐานา มีความอาพาธทางใจ เป็นผล
หทยวตฺถุปทฏฺฐานา มีหทัยวัตถุ เป็นเหตุใกล้

จ. อุเบกขาเจตสิก คือความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้
มชฺฌตฺตเวทยิตลกฺขณา มีการเสวยอารมณ์ปานกลาง เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ นาติอุปพยูหนมิลาปนรสา มีการักษาสัมปยุตตธรรม ไม่ให้เจริญ ไม่ให้เศร้าหมอง เป็นกิจ
สนฺตภาวปจฺจุปฏฺฐานา มีความเฉยๆ เป็นผล
นิปฺปิติกจิตฺตปทฏฺฐานา มีจิตที่ไม่ยินดีเป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญาเจตสิก

๓. สัญญาเจตสิก คือ ความจำหมายอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สญฺชานน ลกฺขณา มีความจำ เป็นลักษณะ
ปุนสญฺชานน ปจฺจยนิมิตฺตกรณ รสา มีการหมายไว้และจำได้ เป็นกิจ
ยถาคหิต นิมิตฺตวเสน อภินิเวสกรณ ปจฺจุปฏฺฐานา มีความจำได้ในสิ่งที่หมายไว้ เป็นผล
ยถาอุปฏฺฐิตวิสยปทฏฺฐานา มีอารมณ์ที่ปรากฏ เป็นเหตุใกล้

เจตนาเจตสิก

๔. เจตนาเจตสิก คือการแสวงหาหรือขวนขวายที่จะให้เป็นไปในอารมณ์ หรือความตั้งใจ หรือความสำเร็จ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

เจตนาภาวลกฺขณา มีการชักชวน เป็นลักษณะ
อายูหนรสา มีการขวนขวาย เป็นกิจ
สํวิธาน ปจฺจุปฏฺฐานา มีการจัดแจง เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้

เอกัคคตาเจตสิก

๕. เอกัคคตาเจตสิก คือการตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อวิกฺเขปลกฺขณา มีการไม่ฟุ้งซ่าน เป็นลักษณะ
สหชาตานํ สมฺปิณฺฑนรสา มีการรวบรวมสหชาตธรรม เป็นกิจ
อุปสมปจฺจุปฏฺฐานา มีความสงบ เป็นผล
สุขปทฏฺฐานา มีสุขเวทนา เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 15:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตินทรียเจตสิก

๖. ชีวิตินทรียเจตสิก คือการรักษาธรรมที่เกิดร่วมด้วยตนให้ตั้งอยู่ตามอายุของตน มีลักขณาทิจตุกะดังนี้
สหชาตานํ อนุปาลนลกฺขณํ มีการเลี้ยงรักษาสหชาตธรรม เป็นลักษณะ
เตสํ ปวตฺตนรสํ มีความตั้งอยู่และเป็นไปได้ เป็นกิจ
เตสญฺเญวฐปนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการทรงอยู่ได้ซึ่งสหชาตธรรม เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานํ มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญานขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้

มนสิการเจตสิก

๗. มนสิการเจตสิก คือการกระทำอารมณ์ให้แก่จิต หรือความใส่ใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

สารณลกฺขโณ มีการทำให้สัมปยุตตธรรมใส่ใจในอารมณ์ เป็นลักษณะ
สมฺปยุตฺตานํ อารมฺมเณ สํโยชนรโส มีการทำให้สัมปยุตตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
อารมฺมณาภิมุขีภาวปจฺจุปฏฺฐาโน มีการทำให้สัมปยุตตธรรมให้มีหน้าที่เฉพาะอารมณ์ เป็นผล
อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

มนสิการเจตสิก คือ ความใส่ใจในอารมณ์นี้ ถ้ามีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอัน แยบคาย คือใส่ใจให้ถูกต้องตรงตามสภาวะแห่ง ความเป็นจริงแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ดีงาม
ความใส่ใจเป็นอันดีเรียกว่า โยนิโสมนสิการ
ถ้าไม่มีความใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ หรือใส่ใจในอารมณ์ด้วยอุบายอันไม่แยบคายแล้ว ย่อมก่อให้เกิดจิตที่ไม่ดี จิตที่ ชั่วที่บาป ความไม่ใส่ใจเป็นอันดีนี้ เรียกว่า อโยนิโสมนสิการ

สาเหตุที่จะให้เกิด โยนิโสมนสิการ คือ

๑. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา เคยทำบุญไว้แต่ปางก่อน
๒. ปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่สมควร คือประเทศที่มีสัปบุรุษ
๓. สปฺปุริสูปนิสฺสย คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. สทฺธมฺมสฺสวน ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตาสมฺนาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ

ส่วนสาเหตุที่จะให้เกิด อโยนิโสมนสิการ ก็ตรงกันข้าม คือ

๑. ปุพฺเพ อกตปุญฺญตา ไม่ได้สร้างสม บุญไว้แต่ปางก่อน
๒. อปฺปฏิรูปเทสวาส อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร (คือไม่มีสัปบุรุษ)
๓. อสปฺปุริสูปนิสฺสย ไม่ได้คบหาสมาคมกับสัปบุรุษ
๔. อสทฺธมฺมสฺสวน ไม่ได้ฟังธรรมของสัปบุรุษ
๕. อตฺตมิจฉาปณิธิ ตั้งตนไว้ผิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 29.21 KiB | เปิดดู 15682 ครั้ง ]
ปกิณณกเจตสิก

ปกิณณกเจตสิก เป็นเจตสิกเบ็ดเตล็ด ไม่ประกอบกับจิตทั่วไปแต่ประกอบได้เป็นบางดวง
ปกิณณกเจตสิกมี ๖ ดวง ดังต่อไปนี้

วิตกเจตสิก

๑. วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญ ก็คือการคิด การนึกถึงอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อภินิโรปนกฺขโณ มีการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เป็นลักษณะ
อาหนปริยาหนรโส มีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นกิจ
อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยนปจฺจุปฏฺฐาโน มีจิตที่ทรงอยู่ในอารมณ์ เป็นผล
เสสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้

วิตกเจตสิก คือการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์นี้ มีความหมายใกล้เคียงกับเจตนาเจตสิก ความตั้งใจในอารมณ์ และมนสิการ เจตสิก ความใส่ใจในอารมณ์ เพื่อให้เกิดความแตกต่างกัน จึงมีอุปมาด้วยเรือแข่งว่า
เจตนาเจตสิก อุปมาดังคนพายหัว ต้องคว้าธงให้ได้ อันหมายถึงความสำเร็จ คือชัยชนะ
มนสิการเจตสิก อุปมาดังคนถือท้าย ต้องคัดวาดเรือให้ตรงไปยังธงอันเป็นหลักชัย
วิตกเจตสิก อุปมาดังคนพายกลางลำ มุ่งหน้าจ้ำพายไปแต่อย่างเดียว

วิจารเจตสิก

๒. วิจารเจตสิก คือ การประคองจิตให้อยู่ในอารมณ์ กล่าวอย่างธรรมดาสามัญก็ว่า คิดบ่อยๆ นั่นเอง
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อารมฺมณานุมชฺชนลกฺขโณ มีการพิจารณาอารมณ์บ่อยๆ เป็นลักษณะ
ตตฺถ สหชาตานุโยชนรโส มีการทำให้สหชาตธรรมประกอบในอารมณ์ เป็นกิจ
จิตฺตอนุปฺปพนฺธปจฺจุปฏฺฐาโน มีการตกแต่งจิตให้อยู่ในอารมณ์ เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ ( เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ) เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 15:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อธิโมกขเจตสิก

๓. อธิโมกขเจตสิก มีการตัดสินอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

สนฺนิฏฺฐานลกฺขโณ มีการสันนิษฐานอารมณ์ เป็นลักษณะ
อสํสปฺปนรโส มีการไม่โยกไม่คลอน เป็นกิจ
วินิจฺฉยปจฺจุปฏฺฐาโน มีการตัดสิน เป็นผล
สนฺนิฏเฐยฺยธมฺมปทฏฺฐาโน มีการสันนิษฐานธรรม เป็นเหตุใกล้

วิริยเจตสิก

๔. วิริยเจตสิก คือ ความเพียรเพื่อให้ได้อารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อุสฺสาหนลกฺขณํ มีความอุตสาหะ เป็นลักษณะ
สหชาตานํ อุปตฺถมฺภนรสํ มีการอุดหนุนค้ำชูสหชาตธรรม เป็นกิจ
อสํสีทนปจฺจุปฏฺฐานํ มีการไม่ย่อท้อถดถอย เป็นผล
สํเวคปทฏฺฐานํ มีความสลด เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 15:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ปีติเจตสิก

๕. ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้ม หรืออิ่มใจในอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

สมฺปิยายนลกฺขณา มีความอิ่มใจ เป็นลักษณะ
กายจิตฺตปีฬนรสา มีการทำกายและใจอิ่มเอิบ เป็นกิจ
โอทคฺยปจฺจุปฏฺฐานา มีกายและใจเฟื่องฟู เป็นผล
เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐานา มีนามขันธ์ทั้ง ๓ ที่เหลือ (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์) เป็นเหตุใกล้

ปีติเจตสิก คือ ความปลาบปลื้มใจ อิ่มใจในอารมณ์นั้นมี ๕ ประการ

๑. ขุทฺทกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อยพอรู้สึกขนลุก
๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะเกิดขึ้นบ่อยๆ
๓. โอกฺกนฺติกาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๔. อุพฺเพงฺคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนถึงกับตัวลอย
๕. ผราณาปีติ ปลาบปลื้มใจจนนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วทั้งกายและใจ

ปีติ ที่เป็นองค์ฌานนั้น ต้องถึง ผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับเป็นองค์ฌาน เพราะยังเป็นของหยาบอยู่
อนึ่ง ปีติ กับ สุข ต่างกัน คือ ปีติ เป็นสังขารขันธ์ สุข เป็นเวทนาขันธ์ และเมื่อมี ปีติ จะต้องมีสุขเสมอแน่นอน แต่ว่า เมื่อมีสุข อาจจะไม่มีปีติด้วยก็ได้

ฉันทเจตสิก

๖. ฉันทเจตสิก คือความพอใจในอารมณ์ ความปลงใจที่จะทำ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กตฺตุกมฺยตา ลกฺขโณ มีความปรารถนาเพื่อจะกระทำ เป็นลักษณะ
อารมฺมณปริเยสนรโส มีการแสวงอารมณ์ เป็นกิจ
อารมฺมเณน อตฺถิกตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาอารมณ์ เป็นผล
อารมฺมณปทฏฺฐาโน มีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.ค. 2013, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว




cats.jpg
cats.jpg [ 56.51 KiB | เปิดดู 15682 ครั้ง ]
อกุศลเจตสิก

อกุศลเจตสิก คือ เจตสิกที่ชั่ว ที่บาป ที่หยาบ ที่ไม่งาม ที่ไม่ฉลาด อกุศลเจตสิกนี้
เมื่อประกอบกับจิตแล้ว ก็ทำให้จิตเศร้าหมองเร่าร้อน และทำให้เสียศีลธรรม

อกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น
ไม่ประกอบกับจิตอย่างอื่นเลย และเพราะเหตุว่าอกุศลเจตสิก ประกอบกับอกุศลจิต
ดังนั้นจึงได้ชื่อว่าอกุศลเจตสิก ไม่ชื่อว่าอโสภณเจตสิก เพราะถ้าชื่อว่า

อโสภณเจตสิกแล้ว ก็จะมีความหมายไปว่า ต้องประกอบกับอโสภณจิตได้ทั้งหมด
กล่าวคือต้องประกอบกับอเหตุกจิตด้วย

อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง แบ่งออกเป็น ๕ พวก คือ

ก. โมจตุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกมีโมหะมี ๔ ดวงด้วยกัน คือ
โมหเจตสิก อหิริกเจตสิก อโนตตัปปเจตสิก และอุทธัจจเจตสิก โมจตุก นี้
ประกอบกับอกุศลเจตสิกได้ทั้งหมดทั้ง ๑๒ ดวง ดังนั้นจึงมีชื่ออีกชื่อว่า
สัพพากุศลสาธารณเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกที่สาธารณแก่อกุศลจิต ทั้งหมด

ข. โลติกเจตสิก หมายความว่าเป็นเจตสิกพวกโลภะ มี ๓ ดวงด้วยกัน คือ โลภเจตสิก ทิฏฐิเจตสิก
และมานะเจตสิก โลติกนี้ประกอบได้เฉพาะแต่โลภมูลจิต ๘ ดวงเท่านั้น

ค. โทจตุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกโทสะมี ๔ ดวงด้วยกัน คือ โทสเจตสิก อิสสาเจตสิก มัจฉริยเจตสิก และกุกกุจจเจตสิก โทจตุก นี้ประกอบได้แต่เฉพาะโทสมูลจิต ๒ ดวงเท่านั้น

ง. ถีทุกเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกพวกถีนะ มี ๒ ดวงด้วยกัน คือ ถีนเจตสิก และมิทธเจตสิก
ถีทุก นี้ ประกอบได้เฉพาะแต่อกุศลจิตที่เป็นสสังขาริก ๕ ดวงเท่านั้น

จ. วิจิกิจฉาเจตสิกไม่มีพวก มีแต่ตัวดวงเดียว และประกอบได้เฉพาะแต่ โมหมูลจิตที่เป็นวิจิกิจฉา
ดวงเดียวเท่านั้น เอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โมหเจตสิก
๑. โมหเจตสิก คือ ความหลง ความไม่รู้จริงตามสภาวะของอารมณ์ มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อญาณลกฺขโณ มีการไม่รู้ เป็นลักษณะ
อารมมฺมณสภาวจฺฉาทนรโส มีการปกปิดไว้ซึ่งสภาวะแห่งอารมณ์ เป็นกิจ
อนฺธการปจฺจุปฏฺฐาโน มีความมืดมน เป็นผล
อโยนิโสมนสิการปทฏฺฐาโน มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีก่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

ที่ว่า ไม่รู้นั้น หมายความว่าไม่รู้ในการสิ่งควรรู้ แต่ไม่รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้
ความไม่รู้ในที่นี้ หมายเฉพาะ ไม่รู้ในธรรม ๘ ประการ คือ

(๑) ทุกฺเข อญาณํ ไม่แจ้งในทุกข์
(๒) ทุกฺขสมุทเย อญาณํ ไม่แจ้งเหตุให้เกิดทุกข์
(๓) ทุกฺขนิโรเธ อญาณํ ไม่แจ้งการดับทุกข์
(๔) ทุกฺขนิโรธคามินิปฏิปทาย อญาณํ ไม่แจ้งหนทางที่จะดับทุกข์
(๕) ปุพฺพนฺเต ยญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทริย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นส่วนอดีต
( อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อเหตุ )
(๖) อปรนฺเต อญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทรีย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นส่วน อนาคต ( อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญและนัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล )
(๗) ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญาณํ ไม่แจ้งในขันธ์ อายตน ธาตุ อินทรีย์ สัจจ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งที่เป็นส่วนในอดีตและในอนาคต ( อกริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล )
(๘) อธิปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญาณํ ไม่แจ้งในธรรมที่มีเหตุให้เกิดผลอันต่อเนื่องกัน
( อัตตทิฏฐิเชื่อว่าเป็นตัวเป็นตน )

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


อหิริกเจตสิก

๒. อหิริเจตสิก คือ ความไม่ละอายต่อการทำบาป ไม่ละอายต่อการทำอกุศล มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

กายทุจฺจริตาทีหิอชิคุจฺฉนลกฺขณํ มีการไม่เกลียดต่อกายทุจริต เป็นต้น เป็นลักษณะ
ปาปานํกรณรสํ มีการกระทำบาป เป็นกิจ
อสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่เกลียดต่อบาปธรรม เป็นผล
อตฺตอคารวปทฏฺฐานํ มีการไม่เคารพตน เป็นเหตุใกล้

ที่ไม่เคารพตน เพราะ
ก. ไม่ละอายต่อ วัย
ข. ไม่ละอายต่อ เพศ
ค. ไม่ละอายต่อ ตระกูล
ง. ไม่ละอายต่อ อกุศล

อโนตตัปปเจตสิก

๓. อโนตตัปเจตสิก คือ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำบาป ไม่สะดุ้งกลัวต่อการทำอกุศล
มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อนุตฺตาสลกฺขณํ มีการไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป เป็นลักษณะ
ปาปานํกรณรสํ มีการทำบาป เป็นกิจ
อสงฺโกจนปจฺจุปฏฺฐานํ มีความไม่เกลียดต่อบาปธรรม เป็นผล
ปรอคารวปทฏฺฐานํ ไม่มีการเคารพผู้อื่น เป็นเหตุใกล้

อุทธัจจเจตสิก

๔. อุทธัจจเจตสิก คือความฟุ้งซ่าน ไม่สงบ คิดฟุ้งไปในอารมณ์ต่างๆ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อวูปสมลกฺขณํ มีความไม่สงบ เป็นลักษณะ
อนวตฺถานรสํ มีการไม่มั่นในอารมณ์เดียว เป็นกิจ
ภนฺตตฺถ ปจฺจุปฏฺฐานํ มีความหวั่นไหว เป็นผล
อโยนิโสมนสิการ ปทฏฺฐานํ มีการไม่เอาใจใส่เป็นอันดีต่ออารมณ์นั้น เป็นเหตุใกล้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


โลภเจตสิก

๕. โลภเจตสิก คือ ความรัก ความอยากได้ ความติดใจในอารมณ์ทั้ง ๖ มีลักขณาทิจตุกะ ดังนี้

อารมฺมณคหณลกฺขโณ มีการยึดมั่นซึ่งอารมณ์ เป็นลักษณะ
อภิสงฺครโส มีการติดในอารมณ์ เป็นกิจ
อปริจฺจาคปจฺจุปฏฺฐาโน มีการไม่บริจาค เป็นผล
สํโยชนิธมฺเมสุ อสฺสาททสฺสนปทฏฺฐาโน มีการดูด้วยความยินดีในสังโยชน์ เป็นเหตุใกล้

อรรถของโลภะโดยปริยาย ในไวยกรณ์ ตามบาลีในปรมัตถทีปนีฎีกา ได้จำแนกออกไป ๑๐ ประการ คือ
(๑) ตัณหา ความต้องการ (๒) ราคะ ความกำหนัด
(๓) กามะ ความใคร่ (๔) นันทิ ความเพลิดเพลิน
(๕) อภิชฌา ความเพ่งเล็ง (๖) ชเนตติ ความก่อให้เกิดกิเลส
(๗) โปโนพภวิก ความนำให้เกิดในภพใหม่ (๘) อิจฉา ความปรารถนา
(๙) อาสา ความหวัง (๑๐) สังโยชน์ ความเกี่ยวข้อง ความผูกพันธ์ ผูกมัด รัดไว้ ล่ามไว้

ปริตสฺสตีติ ตณฺหาฯ (วิสุทธิมัคค)

ความกระหายอยากได้ซึ่งอารมณ์นั้นเรียกว่า ตัณหา
กาโม จ โสตณฺหา จาติ กามตณฺหา ฯ (ปรมัตถทีปนีฎีกา)

ความกำหนัดที่อยากได้ซึ่งกามคุณอารมณ์นั้น เรียกว่า กามตัณหา
สสฺสตทิฏฐิ สหคโต หิ ราโค ภวตณฺหาติ วุจฺจติฯ (วิสุทธิมัคค)

ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย สัสสตทิฏฐิ เรียกว่า ภวตัณหา
อุจฺเฉททิฏฐิ สหคโต หิ ราโค วิภวตณฺหา วุจฺจติ (วิสุทธิมัคค)

ตัณหาที่เกิดพร้อมด้วย อุจเฉททิฏฐิ เรียกว่า วิภวตัณหา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


ทิฏฐิเจตสิก

๖. ทิฏฐิเจตสิก คือ ความเห็นผิดจากความเป็นจริงในสภาวธรรม มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อโยนิโส อภินิเวส ลกฺขณา มีการถือมั่นด้วยหาปัญญามิได้ เป็นลักษณะ
ปรามาส รสา มีการถือผิดจากสภาวะ เป็นกิจ
มิจฺฉาภินิเวสปจฺจุปฏฺฐานา มีการยึดถือความเห็นผิด เป็นผล
อริยานํ อทสฺสน กามตาทิ ปทฏฺฐานา ไม่ต้องการ เห็นพระอริยะ เป็นต้น เป็นเหตุใกล้

คำว่า ทิฏฐิ แปลตามพยัญชนะ คือ ตามตัวอักษร ตามศัพท์ ก็แปลว่าความเห็น ไม่เจาะจงว่าเป็นความเห็นผิดหรือ ความเห็นถูกต้องตามสภาวะ
แต่โดยอรรถ คือ ตามความหมายแห่งธรรมแล้ว ถ้าใช้ลอยๆ ว่า ทิฏฐิ เฉยๆ ก็หมายว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดเสมอไป เว้นไว้แต่ในที่ใดบ่งว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ จึงมีความหมายว่าเป็นความเห็นชอบความเห็นถูกโดยเฉพาะ ทิฏฐิเจตสิก เป็นความเห็นผิดเสมอไป และทิฏฐินี้แบ่งเป็นหยาบๆ เป็น ๒ คือ ทิฏฐิสามัญ และทิฏฐิพิเศษ


ทิฏฐิสามัญ ได้แก่สักกายทิฏฐิ คือ เห็นเป็นตัวตนบุคคลเราเขา อันเป็นความเห็นผิด แต่ที่จัดเป็นสามัญ เพราะทิฏฐิ ชนิดนี้ มีประจำทั่วทุกตัวสัตว์เป็นปกตวิสัย (เว้นพระอริยบุคคล)

ทิฏฐิพิเศษ ได้แก่ นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๓ คือ อเหตุกทิฏฐิ ไม่เชื่อ เหตุ นัตถิกทิฏฐิ ไม่เชื่อผล อกิริยทิฏฐิ ไม่เชื่อทั้งเหตุทั้งผล และสัสสตทิฏฐิ เห็นว่าเที่ยงแท้แน่นอน อุจเฉททิฏฐิ เห็นว่าสูญ ตลอดทั้งทิฏฐิ ๖๒ ที่จัดเป็นทิฏฐิพิเศษ ก็เพราะว่าทิฏฐิชนิดนี้บางคนก็มี บางคนก็ไม่มี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2013, 05:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8123


 ข้อมูลส่วนตัว


มานเจตสิก

๗. มานเจตสิก คือ ความถือตนความทะนงตน มีลักขณาทิจตุกะดังนี้

อุณฺณติ ลกฺขโณ มีการทะนงตน เป็นลักษณะ
สมฺปคฺค รโส มีการยกย่องสัมปยุตตธรรม เป็นกิจ
เกตุกมฺยตาปจฺจุปฏฺฐาโน มีความปรารถนาสูง เป็นผล
ทิฏฺฐิวิปฺปยุตฺตโลภ ปทฏฺฐาโน มีโลภจิตที่เป็นทิฏฐิวิปปยุตต เป็นเหตุใกล้

มานะ นี้ท่านจัดไว้ ๙ ประการ คือ
(๑) เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
(๒) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
(๓) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคุณตัวว่า เลวกว่าเขา
(๔) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
(๕) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
(๖) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา
(๗) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา
(๘) เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เสมอเขา
(๙) เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา

อติมานะ=ดูหมิ่นท่าน,สารัมภะ=แข่งดี,ถัมภะ=หัวดื้อ,สาเถยยะ=โอ้อวด เหล่านี้จัดเป็นมานะทั้งสิ้น
ข้อควรสังเกต คือถ้าเกิดมีการเปรียบเทียบเรากับเขาขึ้นเมื่อใดก็เป็นมานะเมื่อนั้น ไม่ว่าการเปรียบเทียบนั้นจะเป็นการเปรียบเทียบด้วย ชาติ โคตร สกุล รูป สมบัติ ทรัพย์ ศิลปะวิทยา การงาน หรือ ความเฉลียวฉลาด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กระทู้นี้ถูกล็อก คุณไม่สามารถแก้ไขข้อความ หรือ ตอบกลับในกระทู้นี้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 16 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร